How to Become a Tea Expert (ผู้เชี่ยวชาญด้านชา)

เชื่อว่าใครหลายคนที่ชื่นชอบชา ย่อมอยากจะได้ชื่อว่าเป็น ผู้เชี่ยวชาญด้านชา ( Tea expert / Tea Sommelier ) ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ สามารถแยกชนิด ประเภทของชาได้ รู้ถึงอุณหภูมิ หรือประเภทของน้ำที่ต้องใช้ในการชงชาแต่ละชนิดเพื่อให้ได้รสชาติที่ดีที่สุด 

หากมีความรู้ความเข้าใจด้านการชงชาอย่างแท้จริงแล้ว ไม่ได้แค่เพียงได้เป็น Tea expert แต่ยังสามารถเอาความรู้เหล่านี้ไปต่อยอดทางธุรกิจได้ เช่น เป็นผู้ให้คำปรึกษาตามร้านชา ร้านอาหาร ช่วยในการออกแบบจับคู่เมนูอาหาร ขนม กับชา ที่ช่วยส่งเสริมรสชาติกันให้ออกมาดีที่สุดนั่นเอง ดังนั้นมาลองไล่เช็คลิสต์กันดูว่าการจะเป็น Tea expert ได้นั้น ต้องมีความรู้อะไรบ้าง

Tea cuppingการชงชา ที่มีวิธีการชงหลากหลายแบบ เช่น การใช้ฉะเซนชงชาที่ทำมาจากผงชาเขียว ( ดูเพิ่มเติมได้ที่ shorturl.at/desuL ) หรือการชาด้วยการสกัดเย็น ( ดูเพิ่มเติมได้ที่ shorturl.at/gAV57 ) เป็นต้น ซึ่งรูปแบบการชงชาก็ยังมีอีกหลายแบบมากที่ควรรู้

Tea cultureรู้ถึงวัฒนธรรมการดื่มชาของแต่ละประเทศ เพื่อสามารถครีเอทเรื่องราวของชาที่ต้องการนำเสนอได้

Different brewing and presentation techniques of teaที่การชงชาและวิธีการจัดเสิร์ฟชาแต่ละประเภทให้น่าทานมากยิ่งขึ้นควรทำยังไง หรือควรจับคู่กับเมนูอาหาร ขนมสไตล์ไหน

Blending and flavoring tea ว่าด้วยเรื่องของการเบลนด์ชาเอง เรียนรู้ว่าการผสมชาระหว่าง 2 ชนิดเข้าด้วยกัน หรือผสมกับดอกไม้ หรือสมุนไพรชนิดอื่นๆ จะได้ชาที่มีกลิ่นหรือรสชาติแบบใหม่ออกมาได้อย่างไร

เทคนิคการชงและการนำเสนอชา รูปแบบการเสิร์ฟชาสไตล์ญี่ปุ่น กับชาสไตล์อังกฤษก็มีความแตกต่างกัน การจีดเสิร์ฟด้วยภาชนะที่ถูกต้องหรือใช้พร็อพตกแต่งเสริมจะช่วยเพิ่มความสุนทรียะให้การดื่มชาได้มากยิ่งขึ้น

เข้าใจถึงวิธีการปลูกชา การเก็บเกี่ยวชา เพื่อให้ได้ใบชา และผงชาที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการปลูชาแบบออร์แกนิค หรือจะเป็นการทดลองปลูกเองง่ายๆที่บ้านว่าต้องอาศัยปัจจัยใดบ้างในการปลูกชาเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีที่สุด 

อย่างไรก็ตามการจะเป็น Tea Expert ได้ไม่เพียงแต่ต้องมีความรู้อย่างลึกซึ้งแล้ว แต่ต้องอาศัยประสบการณ์ การทดลองซ้ำๆ ที่จะทำให้ประสาทสัมผัสด้านการชงชาดีขึ้น ทั้ง กลิ่น รสชาติ และการรับรู้สีสันของชานั่นเอง ซึ่งนอกจากความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชาที่ต้องมีแล้ว หากมีความรู้เพิ่มเติมเรื่องการตลาด หรือการจัดการธุรกิจร้านชา ก็จะยิ่งช่วยส่งเสริมให้ร้านชามีแผนการตลาด และเทคนิคการขายที่ดียิ่งขึ้น

ที่มา  

becauseimaddicted.net

eatingwell.com

 

บทความจาก : Fuwafuwa

 

ทำความรู้จักเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กล่องเก็บชา

คนรักชาเขียวส่วนมากจะทราบกันอยู่แล้วว่าผงชา นอกจากควรเก็บในกล่องที่ปิดมิดชิด ทึบแสงและกันอากาศเข้า ยังควรเก็บผงชาให้ห่างจากแสงแดด หรือความร้อนเป็นเวลานานๆ และควรเก็บชาไว้ในที่เย็น อย่างไรก็ตาม หลังเอาออกมาจากตู้เย็น ก็ควรทิ้งไว้สักพักให้หายเย็นก่อนเปิดภาชนะ เพื่อป้องกันไม่ให้ชาชื้น 

เมื่อผงชามีความไวต่อแสงและมีวิธีเก็บที่ละเอียดอ่อน กล่องที่เก็บชา จึงควรมีลักษณะที่ถูกต้องมากที่สุด เพื่อรักษาคุณภาพชา และเป็นการปกป้องผงชาจากอากาศ ดังนั้น ขวดแก้ว ขวดใส จึงไม่เหมาะสมสำหรับการเก็บผงชา กล่องเก็บผงชานี้ ภาษาญี่ปุ่น เรียกว่า棗 หรือ natsume(Tea caddy )

ที่มาของกล่องเก็บชานั้นมาจากฝั่งยุโรป เพราะสมัยก่อน ชามีราคาแพงมาก วัฒนธรรมการบริโภคชาของชาวอังกฤษได้รับการเผยแพร่จากจีนในช่วงกลางศตวรรษที่ 17 ในช่วงนั้น มีความเชื่อว่า ชาสามารถรักษาโรคได้และมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากๆ ชาเป็นที่รู้จักในภาคตะวันออกมานานหลายพันปี คนอังกฤษจึงให้คุณค่ากับชามาก เพราะชาสมัยนั้นมีราคาแพง จึงจำเป็นต้องถูกจัดเก็บล็อคกุญแจเป็นอย่างดี กล่องที่ใช้เก็บผงชามักมีราคาแพงและมีการตกแต่งเพื่อให้เข้ากับบรรยากาศภายในห้องรับแขกหรือห้องรับรองอื่นๆ ที่จะมีการเสิร์ฟน้ำชาบริเวณนั้นๆ ซึ่งกล่องเก็บชามีหลายวัสดุ เช่น ไม้ โดยทำมาจากทำจากไม้มะฮอกกานีและไม้ชิงชันเป็นที่นิยม และยังมีรูปลักษณ์ที่หลากหลายกันออกไปทั้ง 6 เหลี่ยม 8 เหลี่ยม พัฒนาเรื่อยมามีทั้งกล่องจากดินเผา สแตนเลส หลากทรง หลายดีไซน์ แต่ลักษณะที่เห็นได้ชัดคือกล่องทุกแบบจะมีลักษณะทึบแสงนั้นเอง หากตอนนี้ใครใส่ในกล่องพลาสติกใส แม้จะมีฝาปิดตัวล็อคมิดชิด ก็ควรเปลี่ยนมาใส่กล่องที่มีลักษณะที่ถูกต้องจะดีกว่า

ดังนั้นในการเลือกกล่องเก็บชา สามารถเลือกได้ทั้งที่เป็นสแตนเลส หรือไม้ เพียงแค่ต้องมีฝาปิดให้สนิก ยิ่งถ้ามีที่ล็อคปิดให้แน่นยิ่งขึ้นยิ่งช่วยยืดระยะเวลาของผงชานั้นๆได้ หากใครที่มองหากล่องเก็บผงชา ลองเลือกดูได้จาก htps://matchazuki.com/product/canister/

ที่มา

https://matchazuki.com/product/canister/

 

บทความจาก : Fuwafuwa

How to take care of your teaware

หากพูดถึงการชงมัทฉะแล้ว อุปกรณ์ที่ต้องนึกถึง คงหนีไม่พ้น ฉะเซ็น ช้อนไม้ไผ่ ฉะชะคุ หรือ แท่นวางฉะเซ็น ซึ่งวิธีใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าว สามารถศึกษาได้จากในเว็บไซต์มากมาย แต่การใช้งานอุปกรณ์ที่ถูกต้อง จำเป็นต้องมีการเก็บรักษาที่ถูกต้องด้วยเช่นกัน มาดูกันว่าอุปกรณ์ชงชาแต่ละชนิด ควรเก็บรักษายังไงบ้าง

เริ่มจาก การเก็บรักษาฉะเซ็น (Chasen) หรือแปรงชงชาอุปกรณ์สำคัญที่สุดในการชงชา หลังจากใช้งานเสร็จ ควรนำไปแกว่งในน้ำอุ่น โดยเน้น แกว่งเฉพาะส่วนที่สัมผัสกับมัทฉะ ไม่ต้องเอาไปล้างน้ำทั้งอัน พอแกว่งเสร็จสักสองน้ำก็นำมาตั้งไว้ให้แห้ง ถ้าใครมีที่พักฉะเซ็น แนะนำให้เอาไปเสียบไว้ รอให้แห้ง จะดีกว่า เพราะที่พักฉะเซ็นนี้มีข้อดีคือ น้ำไม่ไหลเข้าส่วนที่เป็นที่จับ แล้วก็ช่วยรักษารูปทรงของฉะเซ็น หลังจากฉะเซ็นต์แห้งให้เก็บไว้ในกล่อง หรือในที่ๆอุณหภูมิพอดี ไม่ร้อน ไม่เย็น อากาศถ่ายเทได้สะดวก และที่สำคัญต้องไม่ชื้นและแห้งจนเกินไป เพราะถ้าร้อน หรือแห้งมาก ไม้ไผ่จะกรอบและหักง่าย และควรระวังเรื่องความชื้นนิดนึง ไม่งั้นไม้ไผ่จะขึ้นราเอาได้ครับ ส่วนที่พักฉะเซ็นเซรามิคที่ช่วยให้ฉะเซ็นแห้งเร็ว และยังรักษาทรงไม้ไผ่ ป้องกันการขึ้นรา แค่เพียงค่อยสังเกตว่าเลอะเป็นคราบบางหรือไม่ ถ้าเลอะก็เพียงล้างและ พึ่งให้แห้งเท่านั้น เนื่องจากไม่ได้เลอะอะไรมาก แต่หากใช้งานนานๆ ก็ไม่ควรละเลยที่จะคอยสอดส่องว่ายังสภาพดีเหมาะกับการใช้งานหรือไม่

ส่วนฉะชะขุ หรือช้อนไม้ไผ่มีวิธีเก็บรักษาที่ง่ายมากๆ เพียงแค่ หลังจากใช้ตักมัทฉะแล้ว “ห้ามล้าง” หรือ “ห้ามโดนน้ำ” เด็ดขาด เพราะว่า ฉะชะขุ คือ อุปกรณ์ที่สัมผัสกับมัทฉะโดยตรง หากนำไปล้าง ฉะชะขุจะมีความชื้น เวลานำไปตักมัทฉะ ความชื้นก็จะวิ่งไปหามัทฉะที่อยู่ในภาชนะเก็บ ทำให้มัทฉะจับตัวกันเป็นก้อนนั่นเอง อีกทั้งการล้างฉะชะขุบ่อยๆ จะทำให้ไม้ไผ่เสียทรง และเก่าเร็วขึ้น จึงแนะนำเป็นใช้กระดาษทิชชู่แห้งๆ ค่อยๆเช็ดผงมัทฉะออก แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว

Chawan หรือถ้วยชงชา หลังจากใช้แล้วให้ล้างออกด้วยน้ำเบาๆ ไม่แนะนำให้ล้างด้วยเครื่องล้างจานหรือเครื่องอบผ้า และไม่ควรใช้สก็อตไบร์ถูถ้วยแรงจนเกินไป หลีกเลี่ยงการใช้นำยาล้างจาน ควรใช้แบบออร์แกนิคที่กลิ่นไม่แรงนัก หลังจากล้างแล้วไม่แนะนำให้วางไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิสูงเช่น ไมโครเวฟ เตาอบ หรือเตา แต่ประเด็นที่สำคัญที่สุด คือ Chawan มีไว้เพื่อใช้สำหรับชงชามัทฉะเท่านั้น ไม่ควรนำไปใช้ปนกับการใส่อย่างอื่น มิฉะนั้นอาจจะติดกลิ่นได้

ยังมีอุปกรณ์บางชนิดที่ก่อนใช้ครั้งแรกให้ล้างออกด้วยน้ำร้อนแล้วปล่อยให้แห้งสนิทก่อน นั่นคือ กาน้ำชาเซรามิก ซึ่งหลังจากใช้งานแล้วก็ไม่แนะนำให้ใช้เครื่องล้างจาน เครื่องอบผ้ าหรือสบู่ล้างจาน ส่วนบริเวณที่กรองในตัวให้รีดน้ำออกจากพวยกา ใช้แปรงสีฟันหรือไม้จิ้มฟันเพื่อนำใบชาที่ติดอยู่ในกระชอนออก หลังใช้งานควรปล่อยให้แห้งสนิทเสมอเพราะหากเก็บไว้ในขณะที่ยังเปียกอยู่อาจทำให้เกิดกลิ่นอับชื้นหรือเชื้อราได้

ที่มา

https://www.worldmarket.com/product/matcha-bowl-and-whisk-tea-gift-sets-set-of-2.do

thediscoverer.com

fitteaandsushi.blogspot.com

บทความจาก : Fuwafuwa

ทำความรู้จัก 茶巾, chakin ผ้าสำหรับเช็ดถ้วยชา

พิธีชงชาหรือที่เรียกว่า ชะโด (Chadou) มาจากคำว่า ชะ (Cha) แปลว่า “ชา” และ โด (Dou) แปลว่า “วิถี” รวมกันจึงหมายถึง “วิถีแห่งชา” ซึ่งจุดมุ่งหมายสูงสุดของพิธีชงชา คือ การแสดงออกถึงความงามในการต้อนรับผู้มาเยือน และการชื่นชมคุณค่าและความงามของสิ่งต่างๆ รอบตัว และมิตรภาพระหว่างเจ้าบ้านและแขกผู้มาเยือนนั่นเอง ซึ่งอุปกรณ์พื้นฐานสำหรับพิธีชงชาแบบครบชุด ได้แก่

  1. คะมะ (Kama) กาน้ำสำหรับใช้ต้มน้ำใส่ชา
  2. นัทสึเมะ (Natsume) โถสำหรับใส่ผงชามัทฉะ
  3. ชะอิเระ (Chaire) โถใส่ชา
  4. ชะฉะคุ (Chashaku) ช้อนตักผงชา มีลักษณะยาว ปลายแหลมเล็ก ทำจากไม้ไผ่ ดูเพิ่มเติมได้ที่ shorturl.at/alIZ1
  5. ชะเซน (Chasen) อุปกรณ์สำหรับคนชา ทำจากไม้ไผ่ ดูเพิ่มเติมได้ที่ shorturl.at/sDGIT หรือ shorturl.at/aqBT2
  6. ชะวัง (Chawan) ถ้วยชาขนาดใหญ่ แตกต่างไปตามฤดูกาล
  7. ชะคิง (Chakin) ผ้าสำหรับเช็ดทำความสะอาดถ้วยชา
  8. ฮิชะคุ (Hishaku) กระบวยสำหรับตักน้ำชงชา

ซึ่ง Matchazuki เราก็ได้พาไปรู้จักอุปกรณ์ชงชามาหลายแบบแล้ว รอบนี้จะพาไปรู้จักกับผ้าผืนเล็กๆ ที่เรียกว่า Tea cloth (茶巾, chakin)  ผ้า chakinส่วนมากจะเป็นผ้าลินินสีขาว แต่ในยุคปัจจุบันก็มีการทำแบบมีลวดลายเพิ่มมากขึ้น ขนาดจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการใช้งานและรูปแบบ แต่มักเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดประมาณ 30.3 x 15.2 ซม. ซึ่งผ้านี้จะถูกพับในลักษณะเฉพาะและวางไว้ในภาชนะขนาดเล็กหรือทรงกระบอกที่เรียกว่า kintō (巾筒) ซึ่งผ้า chakin นี้นิยมใช้เช็ด chawan หรือถ้วยชงชา หลังจากล้างเสร็จ ซึ่งวิธีการใช้ผ้า chakin นี้ จะต้องมีการพับอย่างสวยงาม เพื่อการใช้งานที่ง่าย และเป็นระเบียบ เวลาอยู่ในพิธีชงชาจะได้ดูสง่าสงาม 

สามารถดูวิธีพับเพิ่มเติมได้ที่https://www.youtube.com/watch?v=Uv-wxLKVxuI&ab_channel=KoheiYamamoto

จะสังเกตวิธีการใช้ chakin ในการเช็ดถ้วยชา (chawan) ได้ตามตัวอย่างในภาพข้างต้น ซึ่งหลังจากพับเรียบร้อยแล้วจะวางพักไว้ในถ้วยชงชา ( chawan ) ก่อนเริ่มพิธีตามตัวอย่างด้านล่างนี่เอง หากร้านไหน มีการจัดกิจกรรมพิธีชงชาที่ร้านเพื่อให้ลูกค้าได้สัมผัสประสบการณ์พิธีชงชาแบบญี่ปุ่นจริงๆ อย่าลืมนำผ้า chakin มาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดกิจกรรมดังกล่าว

ที่มา

https://www.facebook.com/MatsuKazeTea/photos/a.563146407056813/3132182870153141/shorturl.at/abqHN

บทความจาก : Fuwafuwa

บิงซู&คากิโกริชาเขียว อร่อยได้ง่ายๆที่บ้าน

เชื่อว่าพอเข้าหน้าร้อน ขนมที่ทุกคนต้องนึกถึงคงหนีไม่พ้น น้ำแข็งใส หรือในภาษาญี่ปุ่น ที่เรียกว่า คากิโกริ ซึ่งกล่าวกันว่า การกินน้ำแข็งไสมีมาตั้งแต่สมัยเฮอัน (Heian Period) โดยในสมัยนั้นจะเอาน้ำแข็งก้อนที่ได้จากธรรมชาติมาฝนด้วยมีดและเหล็กจนกลายเป็นเกล็ด แล้วนำมากินคู่กับน้ำหวานจากผลไม้และดอกไม้ ซึ่งลักษณะเด่นของคากิโกริ คือ เกล็ดน้ำแข็งของคากิโกริจะมีความละเอียดนุ่ม ส่วนใหญ่จะไม่มีรสชาติ แต่จะเน้นการเติมนมหรือไซรัปรสชาติต่างๆ เพื่อให้มีความหวานหอมจัดจนทั่ว ด้านบนนิยมเป็นครีมรสชาติต่างๆ ตกแต่งด้วยผลไม้สด หรือเผือกกวน ถั่วกวน ส่วนข้างในก็จะมีไส้ความอร่อยซุกซ่อนอยู่ตามแต่จะครีเอต ราดด้วยซอสรสต่างๆ มาเพิ่มรสชาติ

ส่วนบิงซูของชาวเกาหลีที่ได้รับวัฒนธรรมการกินจากชาวญี่ปุ่น คือ น้ำแข็งไส ที่มีลักษณะเด่นๆ คือ ต้องมี 3 ส่วนผสมหลัก ได้แก่ ถั่วแดง แป้งต๊อก (เค้กข้าวเกาหลีสีขาวเหนียวๆ ) และผงแป้งที่ทำจากถั่วและธัญพืช นับเป็นขนมหวานเย็นเพื่อสุขภาพของชาวเกาหลี บิงซู จะมีลักษณะเป็นเกล็ดน้ำแข็งนุ่มคล้ายปุยหิมะขาวโพลนไม่ต่างกัน อาจจะมีการทำน้ำแข็งให้เป็นรสชาติต่างๆบ้าง รสชาติน้ำแข็งจะมีรสหวานนมอ่อนกว่า เพราะต้องกินกับท็อปปิ้งนานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นซอสนมข้น ผลไม้สด ไอศกรีม ชีส ครีมสด ผงแป้งหลากรสชาติ และที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ “แป้งต๊อก” ที่ต้องซ่อนอยู่ ร่วมด้วย ส่วนซอสก็มีนมให้ราดด้วยเหมือนกัน หรืออาจจะเป็นน้ำเชื่อมรสต่างๆ น้ำผลไม้ เรื่อยไปจนถึงค็อกเทล

หากจะเทียบกันชัดๆก็คากิโกริดูเรียบง่ายคล้ายกับภูเขาขนาดย่อมที่ซ่อนความอร่อยหอมหวาน ขณะที่บิงซูจะมีความวาไรตี้และไร้แบบแผน นั่นเอง หากใครที่ชอบกินชาเขียว แน่นอนว่าคากิโกริ และบิงซูชาเขียวต้องเป็นอีกหนึ่งเมนูที่อยากลองทำทานเอง วิธีทำแค่เพียง ผสมผงมัทฉะ 1 ช้อนโต๊ะ และน้ำตาล 50 กรัมให้เข้ากันในภาชนะ เทน้ำร้อนตามลงไป 60 ml. และตีให้เข้ากัน เตรียมน้ำแข็งใสที่ปั่นจากเครื่องให้พร้อม และราดมัทฉะไซรัปลงไปได้เลย ตกแต่งได้ตามใจชอบเลย ว่าจะเสิร์ฟคู่กับแป้งต็อกราดนมสไตล์บิงซู หรือถ้าสไตล์ญี่ปุ่นต้องเสิร์ฟคู่ถั่วแดง โมจิ และไอศครีมรสชาเขียว จะเข้ากันดีที่สุด

อีกสูตรที่แนะนำให้ลองเป็นคากิโกริชาเขียวทีรามิสุ ที่ชงชาเขียวลาเต้แบบปกติก่อน แล้วนำไปเทลงแม่พิมพ์น้ำแข็ง แช่จนแข็งดี ผสมครีมมัทฉะทีรามิสุโดยเท ชีสมาสคาโปน 100 กรัม + ผงชาเขียวมัทฉะ 1 ช้อนโต๊ะ + น้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ + ครีมสด 100 มล แล้วใช้ตะกร้อคนให้เข้ากัน หลังจากนั้นนำน้ำแข็งชาเขียวลาเต้ที่ทำไว้ออกมาเข้าเครื่องบดน้ำแข็ง ใส่ชามให้เรียบร้อย จึงค่อยราดด้วยครีมชาเขียวทีรามิสุ ตกแต่งด้วยผงมัทฉะ หรือเสิร์ฟคู่กับผลไม้สดก็อร่อยตัดรสกันได้ดี

ลองทำทานดูที่บ้านแล้วเปลี่ยนท้อปปิ้งที่ทานคู่กับน้ำแข็งไสชาเขียวไปเรื่อยๆ อาจจะเป็นขนมปังบ้าง ไอศครีม โยคัง วาราบิโมจิหรือ ขนมประเภทต่างๆ ก็อาจจะเจอรสชาติใหม่ที่ลงตัว

ที่มา 

trip.kyoto.jp

reddit.com

fashion-press.net

letempsduthe.fr

บทความจาก : Fuwafuwa

ประโยชน์ของชาเขียว กับสุขภาพช่องปาก

เคยได้ยินว่า การดื่มชา กาแฟ จะทำให้ฟันเหลือง หลายคนเลยเลี่ยงที่จะดื่มชา ซึ่งการที่จะช่วยลดการเกิดคราบฟันเหลืองนั้น ทำได้โดยการพยายามกลั้วปากหลังดิ่มชา หรือแปรงฟัน เพื่อให้ลดปัญหากรเกิดครบดังกล่าว แต่จริงๆแล้ว ชาเขียวยังมีประโยชน์กับสุขภาพในช่องปากมากกว่าที่คุณคิด เพราะชาเขียวญี่ปุ่นไม่เพียงแต่ให้รสชาติที่อร่อยและสดชื่นโดยเฉพาะหลังมื้ออาหาร แต่ยังช่วยบรรเทาอาการอักเสบ ส่งเสริมสุขภาพช่องปากที่ดีในระยะยาวและอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระสารสกัดจากชาเขียวจะช่วยในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ช่วยกำจัดจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ภายในช่องปากได้ เช่น ป้องกันฟันผุ ป้องกันอาหารเป็นพิษ ช่วยลดสาเหตุการเกิดมะเร็งในช่องปากและยังช่วยฆ่าแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดคราบในช่องปากได้อีกด้วยเพราะสารโพลีฟีนอล (Polyphenols) ในชาเขียวมีคุณสมบัติเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ที่ช่วยป้องกันคราบฟัน ลดการเกิดฟันผุให้น้อยลง ช่วยลดอาการเหงือกอักเสบได้นั่นเอง

นอกจากนี้ ยังมีสารช่วยต่อต้านการอักเสบของเหงือก มีรายงานวิจัยพบว่าผู้ที่ดื่มชาเขียวเป็นประจำจะมีสุขภาพเหงือกดีกว่าคนที่ไม่ได้ดื่มนอกจากนี้ยังพบว่าบุคคลดังกล่าวมีโอกาสน้อยที่จะประสบปัญหาฟันหลุดและมีเลือดออกที่เหงือก

ชาเขียว แม้จะมีรสฝาด  แต่ก็ช่วยทำความสะอาดช่องปากตามธรรมชาติได้ เพราะชาเขียวมีส่วนช่วยฆ่าจุลินทรีย์แบคทีเรียที่นำไปสู่ลมหายใจที่มีกลิ่นเหม็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการศึกษาวิจัย ของคณะทันตแพทยศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบียพบว่า กลุ่มผู้เข้าร่วมการศึกษาที่บริโภคผงชาเขียวมีกลิ่นปากลดลงในอัตราที่สูงกว่าผู้ที่เคี้ยวหมากฝรั่งรสมิ้นต์อีก

นอกจากนี้ชาเขียวมีสารช่วยเคลือบฟันให้แข็งแรง ช่วยให้เวลาทานเครื่องดื่มที่ร้อนจัดหรือเย็นจัด หรืออาหารเครื่องดื่มที่มีกรดเยอะ ฟันจะไม่โดนกัดกร่อนมาก เพราะชาเขียวมีประสิทธิภาพอย่างมากในการช่วยรักษาระดับ pH ในปาก และช่วยควบคุมระดับแบคทีเรียที่นำไปสู่การติดเชื้อด้วย นอกจากนี้ ชาเขียวเป็นสารต้านการอักเสบตามธรรมชาติและช่วยให้เหงือกแข็งแรง ลดการเลือดออกตามเหงือกได้อย่างธรรมชาติ

ที่มา

https://www.japanesegreenteain.com/blogs/green-tea-and-health

https://carriemcguire.com/

https://www.davidstea.com/

https://matchazuki.com/category

บทความจาก : Fuwafuwa

Tea & Travel ชาของประเทศต่างๆ

เบื่อกันมั้ยกับการต้อง Work from home ทานเครื่องดื่มแต่แบบเดิมๆ จะออกเที่ยวต่างประเทศก็ไปไม่ได้ โอกาสในการจะได้ไปเรียนรู้วัฒนธรรมเครื่องดื่มชาของแต่ละประเทศด้วยตนเองเลยต้องอดไป วันนี้ MATCHAZUKI จะพาไปทำความรู้จักกับเอกลักษณ์ ความต่างและจุดเด่นของชาแต่ละประเทศแทนการบินลัดฟ้าไปชิมเอง มาดูกันว่าชา เครื่องดื่มสากลของแต่ละประเทศมีจุดเด่นยังไง เป็นชาประเภทไหน

เริ่มที่ ชาตุรกี ชาที่ถูกเสิร์ฟในแก้วขนาดเล็ก พร้อมน้ำตาลก้อน นิยมดื่มชาร้อนกันมาก โดยดื่มกันได้ทุกเวลา ทุกโอกาส กาน้ำชาแบบตุรกี จะเป็นกาน้ำร้อนแบบสองชั้น โดยชั้นล่างใส่น้ำร้อน (น้ำเปล่า) ด้านบนใส่ใบชาและน้ำร้อน (น้ำชา) โดยตั้งกาบนเตาใส่น้ำเปล่าลงในกาล่าง และใส่ใบชาแห้งลงในกาบน ยังไม่ต้องใส่น้ำร้อนลงไป รอจนน้ำในกาล่างเดือดปุดๆ หลังจากนั้นรินน้ำร้อนจากกาล่างลงในกาบน โดยใส่ให้ท่วมใบชา แล้วตั้งกาบนไว้บนกาล่าง จากนั้นหรี่ไฟลงและตั้งไปเรื่อยๆ เป็นอันเสร็จวิธีชงชา ส่วนการรินน้ำชานั้นทำได้โดย รินน้ำชาจากการบนลงในแก้วน้ำชาครึ่งแก้ว แล้วเติมน้ำร้อนจากกาล่างลงไป ใครชอบเข้มอ่อนแค่ไหน ก็กะเอาตามใจชอบ จากนั้นเติมน้ำตาลก้อนลงไปแล้วเวลาคนให้น้ำตาลละลาย ควรจะคนให้มีเสียงดังของช้อนและแก้วกระทบกันถึงจะได้อรรถรสในการดื่มชา ตุรกีมีใบชาหลายแบบ ที่นิยมก็ชาดำทั่วไป และชาแอปเปิ้ล รวมทั้งชาคาโมมายด์

ชาตุรกี

ชาวโมร็อกโกจะเพลิดเพลินกับชาเขียวสดชื่นที่ดื่มพร้อมกับใบมินท์ ซึ่งเป็นชาที่มีชื่อเสียงหวานดังนั้นอย่าลืมน้ำตาลและชาโมร็อกโกนิยมเสิร์ฟพร้อมกับอาหารผลไม้แห้งและถั่วอาร์เรย์ของหวาน

ชาวคูเวตชื่นชอบชาดำผสมกับกระวานและหญ้าฝรั่น ส่วนชาทิเบตทำด้วยนม เนยจามรีและเกลือ รสชาติของมันจะมีรสขม จึงกลายเป็นที่ดื่มกันทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ และเป็นเครื่องดื่มบำรุงจิตใจของผู้ปฏิบัติธรรม ปกติชาทิเบตเป็นประเภทชาดำ เก็บด้วยการอัดเป็นก้อน ในเขตที่มีการเลี้ยงจามรี จะมีการดื่มชาแบบนี้โดยต้มกับนม ในภาคกลางและบางส่วนของแคว้นคามเช่นที่เมืองเกียลทัง (เชียงกริลา) นิยมใส่เนย แล้วเหยาะเกลือเล็กน้อย ตำในกระบอกไม้ไผ่ จนกลายเป็นเครื่องดื่มที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ของทิเบตที่เรียกว่า ชาเนย (butter tea) แต่ในเขตที่ไม่ได้เลี้ยงสัตว์ หานมสดยาก จะใส่เกลือในชาดำ ที่น่าสนใจ ชาทิเบตนี้เมื่อเก็บไว้ในหนังจามรีเป็นเวลานานเป็นสิบปี จะกลายเป็น “ชาหมัก” ที่กลายเป็นชาสุขภาพ ชาแบบนี้ยิ่งเก่ายิ่งมีคุณค่าและมีราคา

tea&travel

ชาวฮ่องกงจะใส่นมข้นลงในชา และใส่น้ำแข็งลงไป ดูเหมือนกับชาเย็น แต่ถ้าเป็นชาไต้หวันขึ้นชื่อในเรื่องของชาไข่มุกที่ทำจากมันสำปะหลัง ซึ่งเกิดจากการที่ไต้หวัน ได้ใส่ “สาคู” ต้มน้ำตาล เม็ดโตๆ ลงไปในชาเพื่อเพิ่มทั้งรสชาติ และเพิ่มความน่าสนใจของการทานชา จนแพร่ระบาด ดังไปทั่วโลก ไม่ใช่แค่ในเอเชียแต่แม้แต่ฝรั่งหัวทองก็ยังอดทึ่งกับความแปลกใหม่ที่น่าสนใจและรสชาติเริ่ดเว่อร์วังของ “ชานมไข่มุก” แบบไต้หวันนี้ไม่ได้

tea&travel tea&travel

ชาอเมริกัน  ถึงแม้ว่าคนอเมริกันจะดื่มชาไม่มากเท่ากับชาวอังกฤษ  เพราะคนอเมริกันนิยมดื่มกาแฟมากกว่าชา แต่ชาก็มีบทบาทในสังคมอเมริกาไม่น้อย เพราะในช่วงที่สหรัฐเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ใบชาที่จะถูกนำไปยังสหรัฐอเมริกาจะถูกเก็บภาษีจนทำให้เกิดการประท้วงอย่างรุนแรง เป็นประเด็นที่นำไปสู่การประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกาต่ออังกฤษ  นอกจากนั้น ยังกล่าวได้ว่าคนอเมริกาเป็นผู้ปฏิวัติรูปแบบการดื่มชาจนเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลกจนปัจจุบัน  นั่นคือ ชาบรรจุถุง และชาใส่น้ำแข็งหรือชาเย็น อย่างไรก็ตาม  คนอเมริกันก็ยังนิยมดื่มชาดำเช่นเดียวกับคนอังกฤษ และมักจะดื่มชาดำกับมะนาวและน้ำตาล เบกิ้งโซดาก็เป็นอีกส่วนผสมหนึ่งที่ชาวอเมริกันใส่เพื่อให้ชามีรสชาติที่นุ่มขึ้น

tea&travel

ส่วน ชา Masala ของชาวปากีสถานมีส่วนผสมของเครื่องเทศและเนยจากนมวัว เรียกอีกชื่อได้ว่า “Mixed-spiced tea” ชาผสมเครื่องเทศ นิยมใช้ใบชาดำจากรัฐอัสสัมเป็นหลัก และผสมเข้ากับส่วนประกอบเครื่องเทศแบบอินเดียมากมาย เช่น กระวาน, โป๊ยกั๊ก, เมล็ดผักชีล้อม, จันทน์เทศ และกานพลู เดิมใช้เป็นเครื่องดื่มเพื่อการบำบัดร่างกายและอายุเวทมากกว่าหลายพันปีก่อนที่อังกฤษจะทำให้ชาวโลกได้รู้จัก “ชา” เสียอีก  ปัจจุบันชา Masala Chai เป็นที่รู้จักทั่วโลก ในลักษณะชาดำที่ต้มกับนม ชาติตะวันตกนำไปประยุกต์กลายเป็นเมนูชา “Tea Latte” แต่จริงๆแล้ว ชาแบบปากีสถานจะต้องมีความหวานของน้ำตาลโตนด ความมันเข้มข้นของนมสด และความหอมของเครื่องเทศ

tea&travel

จะเห็นได้ว่านอกจากชาเขียวของญี่ปุ่นที่ทุกๆคนคุ้นเคยแล้ว ประเทศอื่นๆก็มีวัฒนธรรมการดื่มชาที่แตกต่างกันออกไป รสชาติชาแบบเดิมๆที่เราดื่มกันก็เปลี่ยนไปตามแต่ละประเทศ หากสถานการณ์โควิดหมดไป เชื่อว่าหลายๆคนคงต้องออกไปเที่ยวชิมชาประเทศต่างๆกันอย่างแน่นอน

 

ที่มา

https://petmaya.com/21-tea-around-the-world-wow

http://theteashelf.com/teas-across-the-world/

http://thewoksoflife.com/2015/08/yuanyang-tea-hong-kong/

https://www.tastesoflizzyt.com/russian-tea/

http://myturkeyfood.blogspot.com/

https://www.flickr.com/photos/61259075@N08/14486900931/

 

บทความจาก : Fuwafuwa

ทำความรู้จักการชงชาแบบ Steeping

Steeping

      มาทำความรู้จัก รู้จักการชงชาแบบ Steeping กัน หากพูดถึงการชงชาเขียวจากผงมัทฉะ ภาพที่แต่ละคนคิดก็จะชงด้วยฉะเซน ตีผงชาให้ละลาย ส่วนการชงชาใบนั้น ไม่ใช่แค่การเทน้ำผ่านใบชาแล้วจะดื่มได้เลย แต่หากเป็นการ Steeping ชา หรือการแช่ชาไว้ในกาตลอดการดื่ม มีขั้นตอนการชงที่ง่าย ใช้อุปกรณ์น้อย และได้รสชาค่อนข้างคงที่ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความสะดวก และต้องการทานเพื่อประโยชน์โดยเฉพาะ ซึ่งการ  Steeping ชาเป็นกระบวนการสกัดกลิ่นและรสชาติของชาออกมาอย่างเรียบง่ายด้วยการแช่ใบชาไว้ในน้ำที่มีอุณหภูมิและระยะเวลาที่แตกต่างกันออกไปตามประเภทใบชา ข้อสำคัญในการชงแบบนี้คือการหมั่นเติมน้ำเดือด เพื่อรักษาระดับน้ำไม่ให้ต่ำกว่าครึ่งกาหรือเมื่อรู้สึกว่าชานั้นเริ่มจะเข้มเกินไป 

การแช่ชาที่สมบูรณ์แบบต้องมี 2 สิ่ง คือ น้ำ และเวลาในการแช่ที่ถูกต้อง โดยทั่วไป การชงชาแบบจีน จะใช้ชาราว 4-5 กรัม ต่อน้ำ 100 มล. ส่วนการชงชาฝรั่ง หรือชาเบลนด์ จะใช้ชาราว 3 กรัม ต่อน้ำ 200-250 มล.ใช้ระยะเวลาในการแช่ใบชานาน คือ 2.5-3 นาทีขึ้นไป

Steeping

สำหรับชาที่นิยมชงแบบ Steeping เป็นชาตะวันออก ชาธรรมชาติ ที่ไม่ได้เบลนด์ และไม่ได้แต่งกลิ่น ในกรณีที่ชงชาขาว หรือ ชาเขียว  เป็นชาสด จะใช้น้ำที่ไม่เดือดมากในการชง สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะถ้าใช้น้ำเดือดในการชง บางครั้งจะได้กลิ่นสาบเขียวของใบชา คล้ายผักต้ม จึงควรใช้น้ำอุณหภูมิไม่สูงประมาณ 80 องศา จะกำลังพอดี จะไม่นิยมดื่มน้ำแรก เพราะถือว่าเป็นน้ำกระตุ้นใบชา ให้เททิ้งก่อน จะเริ่มดื่มตั้งแต่น้ำที่สองเป็นต้นไป

การชงชาปกติจะใช้เวลา steeping หรือแช่ชาประมาณ 3-5 นาที ยกเว้นการชงชาขาวที่จะใช้เวลาชงแค่ 2-3 นาที ส่วนชาผลไม้ ชาดอกไม้ หรือชาสมุนไพร จะชงนานประมาณ 5-7 นาที แต่ถ้าเป็นชาเซนฉะจะแช่เพียง 30 วินาที – 1 นาที เท่านั้น หากแช่นานเกินกว่านี้จะขม

Steeping Steeping

ส่วนของชาอู่หลง และชาดำควรใช้น้ำเดือดในการชง แต่ถ้าหากเป็นชาดีๆ ควรรอให้อุณหภูมิของน้ำลดลงสักครู่นึง คือ สัก 90 องศา แล้วจึงชง เพื่อหลีกเลี่ยงความขมฝาดที่อาจเกิดขึ้น เพราะความขมต่างๆ มักจะถูกดึงออกมาเมื่ออุณหภูมิของน้ำสูงมากกว่า 90 องศานั่นเอง อย่างไรก็ตามปัจจัยอื่นๆประกอบการชงชาด้วยวิธีการแช่ใบชานั้นยังมีเรื่องของประเภทน้ำที่ควรใช้ในการชงชา เป็นต้น

จะเห็นว่าเทคนิค ปัจจัยในการชงชาแบบ steeping หรือการแช่ชานั้นแตกต่างกันออกไป การทดลองด้วยตัวเองเพื่อให้ได้รถชาติที่ถูกปากที่สุดจึงเป็นเรื่องที่คนรักชาเขียวควรลองศึกษาทดลองเพื่อให้ได้สูตรชาในแบบฉบับของคุณเอง

ที่มา

https://www.thespruceeats.com/tea-brewing-temperature-guide-766367

https://the.republicoftea.com/tea-library/tea-101/how-to-steep-tea/

บทความจาก : Fuwafuwa

New Normal ธุรกิจร้านชา ช่วงโควิด

ปฏิเสธไม่ได้เลยจริงๆว่าด้วยการแพร่ระบาดของโควิด ทำให้ร้านอาหารเครื่องดื่มช่วงนี้ยอดขายลดลงอย่างแน่นอน ด้วยสถานการณ์โควิดที่ทำให้การใช้ชีวิตเปลี่ยนไปวิถีการใช้ชีวิตของลูกค้ามีไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป ถึงแม้ว่าจะยังคงเปิดให้บริการนั่งทานที่ร้านได้ แต่ข้อจำกัดก็ยังมีมาก ดังนั้นข้อแนะนำในการปรับตัวร้านให้อยู่รอด ควรปรับรูปแบบการให้บริการ ดังนี้

1.ระบบสั่งอาหารไร้สัมผัส (QR Order) เป็นระบบการสั่งอาหารผ่านการสแกน QR Code โดยใช้โทรศัพท์ลูกค้าแสกนโค้ดที่ทางร้านเตรียมไว้ เมนูจะไปแสดงในโทรศัพท์ลูกค้า ถือว่าเป็นการลดการสัมผัสกันเพื่อป้องกันเชื้อโรคที่อาจเกิดขึ้นได้บนใบเมนู นอกจากนี้ยังเป็นการประหยัดงบในการผลิตใบเมนูใหม่ๆทุกครั้งอีกด้วย เพราะหากอยู่ในโทรศัพท์ลูกค้า ร้านก็สามารถเพิ่มเมนูใหม่ๆ หรือเมนูโปรโมชั่นเข้าไปได้ตลอดเพียงอัพเดตลงระบบไม่ต้องปริ้นใหม่เหมือนทุกครั้งไป

QR Order

2. การชำระเงินแบบไร้สัมผัส (Contactless  Payment) ด้วยสถานการณ์ที่ต้องลดการสัมผัสกัน และต้องรักษาความสะอาดเป็นพิเศษ การชำระเงินโดยไม่ใช้เงินสดจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการชำระผ่านคิวอาร์โค้ด หรือการโอนเงินด้วยแอพพลิเคชั่นนั่นเอง ร้านไหนที่ยังมีแต่การรับเงินสดอย่างเดียว คงถึงเวลาที่ต้องเริ่มหาวิธีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ช่วงนี้กัน

Contactless Payment

3. Drive-up หรือ walk-up windows หรือการสั่งอาหารแบบแยกจุด Pick upเป็นอีกวิธีที่สะดวกตอบโจทย์คนหิวที่อยาก Social distancing ซึ่งในบ้านเราจะเห็นระบบนี้ชัดๆกัยร้าน KFC หรือ Mc Donald แต่ในอนาคตเราอาจจะได้เห็นเห็นเทรนด์การออกแบบร้านที่เว้นระยะห่างระหว่างลูกค้ากับพนักงานมากขึ้น เช่น นอกจากจะมีพื้นที่สำหรับจอดรถสั่งและรับอาหารโดยเฉพาะแล้ว ยังมีฉากกั้นหรือแบ่งเป็นห้องสั่งที่เป็นสัดส่วนมากขึ้น เพื่อความรวดเร็วในการทำ-แพ็คและจัดส่งอาหาร และยังสะดวกต่อพนักงานเดลิเวอรี่ที่เข้ามารับอาหารด้วย ซึ่งร้านเครื่องดื่มบางร้านอย่าง Starbuck ก็มีบางสาขาในต่างประเทศที่เริ่มทำระบบนี้แล้ว ดังนั้น ร้านชาของใครที่พอมีพื้นที่เป็นสัดส่วนสามารถประยุกต์หน้าร้านให้เป็นจุด Pick Up สินค้าได้เร็วๆ โดยไม่ต้องรอนาน หรืออาจจะทำเป็นระบบให้้โทรสั่งแล้วให้พนักงานเดินออกมาให้ที่ริมถนนเมื่อลูกค้ามาถึงหน้าร้าน

Drive-up

4. บริการส่งอาหาร ผ่าน Deliveryนอกจากพนักงานส่งอาหารต้องใส่หน้ากากตลอดเวลาขณะปฏิบัติงาน รักษาระยะห่างกับลูกค้าไม่น้อยกว่า 1 เมตรแล้ว ในส่วนของร้านชาที่ต้องทำ คือ ต้องคิดว่าทำอย่างไรที่จะทำเมนูเครื่องดื่มในแอพพลิเคชั่นต่างๆให้อ่านง่าย มีรายละเอียดให้ลูกค้าเข้าใจว่าเครื่องดื่มแต่ละแก้วมีส่วนผสมอะไร พิเศษยังไง แต่ละหมวดหมู่ไม่ควรมีจำนวนมากเกินไป จะทำให้ลูกค้ารู้สึกสับสน ไม่รู้ว่าควรจะเลือกเมนูไหนดี และอย่าลืมอัพเดตเมนูพิเศษใหม่ๆ หรือทำโปรโมชั่นในแอพพลิเคชั่น เพื่อให้ลูกค้าได้รู้สึกเหมือนซื้อทานที่หน้าร้าน เป็นการเพิ่มความตื่นเต้นให้กับลูกค้า

5. หากร้านไหนที่ยังคงเปิดให้บริการตามปกติ ควรเพิ่มระบบจองคิวให้ลูกค้า โดยเฉพาะร้านชาที่มีขนาดเล็กมีไม่กี่ที่นั่ง เพื่อลดการรอคิวที่แออัดหน้าร้าน ลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคนั่นเอง

Delivery

6. จำนวนบิลที่ลดลง เพราะที่ร้านจำกัดจำนวนลูกค้า ทำอย่างไรที่จะเพิ่มยอดขายต่อบิลได้นั้น เป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึงโดยเฉพาะร้านชาบางร้านที่เน้นขายเครื่องดื่ม เมนูในร้านไม่ได้หลากหลายมาก การเพิ่มยอดขายจากลูกค้าที่มาคนเดียวทำได้หลายวิธี เช่น เพิ่มเมนูGrab&Go ที่หยิบขายง่ายๆไม่ต้องรอนาน หรือจะเป็นการจัดชุดเมนูชาเครื่องดื่มสุดคุ้ม เป็นต้น

Open Kitchen

7. Open Kitchen เทรนด์ครัวเปิด โชว์ความสะอาด และเพื่อลดความกังวลของลูกค้า การทำครัวเปิดให้ลูกค้าได้เห็นภาพการทำชงชาโดยตรง จะสร้างความรู้สึกเปิดกว้าง จริงใจ ช่วยทำให้ลูกค้ารู้สึกไว้วางใจร้าน และยังเป็นการโชว์ความน่าสนใจและลีลาการชงเครื่องดื่มให้กับร้านอีกด้วย

ที่มา

https://www.behance.net/gallery/53948421/Starbucks-Drive-Thru-(Keele-North)

https://www.pinterest.com/pin/491596115582901369/

บทความจาก : Fuwafuwa

E-commerce แบบไหนเหมาะกับร้านชา

พูดถึง E-commerce ก็ขออธิบายเพิ่มเติมก่อนว่า E-Commerce ย่อมาจากคำว่า Electronic Commerceเป็นการทำธุรกิจโดยซื้อขายสินค้าหรือโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่นิยมใช้งานมากที่สุดในปัจจุบันก็คือ อินเทอร์เน็ต โดยสามารถใช้ทั้งข้อความ เสียง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ซึ่งการทำ E-commerce สามารถเข้าถึงลูกค้าได้กว้างขวางและช่วยลดค่าใช้จ่ายต่างๆได้พอสมควร

E-commerce

E-commerce

ปัจจุบัน ผู้คนสามารถเข้าถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ในโลกออนไลน์ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และการใช้งานอินเตอร์เน็ตถือได้ว่าเป็นกิจกรรมหลักในชีวิตประจำวันของผู้คนส่วนใหญ่ อีกทั้ช่วงสถานการณ์โควิดที่หน้าร้านบางร้านอาจจะเปิดขายได้ไม่เหมือนเดิม การหันมาพึ่งโลกโซเชียลในการขายจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกร้านควรหาลู่ทางในแบบที่ร้านตัวเองสามารถทำได้ ซึ่ง E-commerce เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง นอกจากพวกระบบดิลิเวอรี่อย่าง Line Man , Grab Food, Food Panda

หากถามถึงการทำ E-commerce ที่เหมาะกับร้านชา มี 3 ช่องทางใหญ่ ได้แก่

  1. Marketplaceเป็นช่องทางที่ทุกคนคุ้นเคยดี มีผู้เล่นใหญ่ๆ อย่าง Lazada, Shopee ซึ่งหากร้านชาร้านไหนมีใบชา ผงชา หรือสินค้าอื่นๆที่สามารถลงในแพลตฟอร์มเหล่านี้ได้ ก็ควรลองเปิดร้านค้าทิ้งไว้เช่นกัน เนื่องจากแพลตฟอร์มเหล่านี้มีสินค้าที่หลากหลาย และกลุ่มลูกค้าก็กว้าง ระบบโลจิสต์ติกส์ การชำระเงินครบวงจร จึงเหมาะกับร้านชาที่มีสินค้าแห้งๆอย่างวัตถุดิบส่วนผสมในกรชงเครื่องดื่ม หรืออาจะทำเป็นชุด Meal kit, Giftset วางขายในระบบแทนก็น่าสนใจเช่นกัน ดูโมเดลร้านชาใหม่ๆได้ที่ shorturl.at/bruEX
  2. E-Retailer เป็นกลุ่มธุรกิจค้าปลีกที่มีการขยายช่องทางออนไลน์ จากเดิมที่มีแค่หน้าร้าน ก็เพิ่มในส่วนของอีคอมเมิร์ซเข้ามา เช่น เทสโก้ โลตัส, บิ๊กซี, เซ็นทรัล และเดอะมอลล์ เป็นต้น ก็เปรียบเหมือนการที่เราไปออกบูทในห้างนั้นเอง เพียงแต่สินค้าที่ขายอาจะขายได้ไม่หลากหลายและมีข้อจำกัดพอสมควร ซึ่งร้านค้าปลีกบางร้านอาจจะมีค่าแรกเข้าที่ราคาค่อนข้างสูง จึงไม่ค่อยแนะนำกับแพลตฟอร์มนี้มากนัก
  3. Direct to Consumerคือการที่ร้านชาสร้างเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นของตัวเองเพื่อให้มีฐานข้อมูลลูกค้าอยู่ในมือ และสามารถนำข้อมูลลูกค้าไปต่อยอดทำ Royalty Program ในอนาคตได้ ซึ่งการทำเว็บไซต์ E-Commerce ทีดีควรประกอบไปด้วย
    • หน้าเว็บไซต์ต้องเป็นระเบียบ นอกจากความสวยงามแล้ว เว็บไซต์จะต้องใช้งานง่าย มีการแบ่งหมวดหมู่สินค้าอย่างเป็นระบบ ไม่ซับซ้อน
    • ระบบเว็บไซต์หรือระบบหลังร้านต้องจัดการและควบคุมได้ง่าย เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ขาย
    • มีรายละเอียดของสินค้าครบถ้วนชัดเจน ทั้งรูปภาพ ข้อความอธิบาย ราคา นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มส่วนของรีวิวจากลูกค้าก็ได้เพื่อช่วยในการตัดสินใจซื้อ
    • สถานะสินค้าต้องแสดงแบบ Real Time กล่าวคือ ถ้าสินค้าหมด หรือเหลือจำนวนน้อย ต้องขึ้นแสดงให้ลูกค้าเห็น เพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจซื้อ
    • มีขั้นตอนการสั่งซื้อที่ง่าย ไม่ยุ่งยาก มีการระบุชัดเจนว่าต้องทำอย่างไรบ้าง
    • อำนวยความสะดวกในการสั่งซื้อด้วยระบบตะกร้าสินค้า (Shopping Cart) ที่สามารถจดจำข้อมูลและจำนวนสินค้าของลูกค้าเอาไว้
    • สามารถสรุปรายการสั่งซื้อให้ลูกค้าได้ เช่น ราคาสินค้าทั้งหมด ค่าจัดส่ง เป็นต้น
    • การชำระเงินต้องมีความปลอดภัย และควรมีช่องทางให้ลูกค้าชำระเงินได้หลายช่องทาง เช่น บัตรเครดิต โอนผ่านธนาคาร เป็นต้น
    • มีระบบการติดตามการจัดส่ง เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า
    • เว็บไซต์ต้องรองรับการทำ SEO (Search Engine Optimization) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้ค้นเจอเว็บไซต์และเพิ่มผู้เข้าชมเว็บไซต์ ซึ่งจะทำให้มีโอกาสขายสินค้าได้มากขึ้น

นอกจากการมีการทำ E-Commerce แล้ว ไม่ว่าจะทำด้วยแพลตฟอร์มของร้านเองหรืออาศัยเจ้าอื่นต้องอย่าลืมที่จะใช้กลยุทธ์การตลาดทั้งเรื่องการอัพเดตภาพเมนูใหม่ๆ การทำโปรโมชั่นในการโปรโมทสินค้าทางช่องทางออนไลน์ด้วยเหมือนเวลาที่เราเปิดขายหน้าร้านนั่นเอง

การทำเว็บไซต์ของร้านชาเอง จึงถือเป้นแพลตฟอร์มที่ค่อนข้างเหมาะกับผู้ประกอบการร้านชาทั้ง SMEและร้านที่ขายเครื่องดื่ม ขนม ที่ต้องมีการบอกเล่าเรื่องราว เอกลักษณ์ของแบรนด์ ผ่านหน้าเว็บไซต์ที่สวยๆ ซึ่งเว็บสำเร็จรูปฟรีที่สามารถให้ทดลองใช้ก็มีหลายตัว เช่น wordpress, wix.com หรือแบบเสียค่าแพคเกจในราคาถูก แต่ครีเอทเว็บสวยๆได้ก็มีมากมาย ซึ่งหลังจากครีเอทแล้ว แนะนำให้สร้ง Line@ ของที่ร้านเพื่อรับออเดอร์ และจัดส่งเองผ่านทาง Lineman, Grab หรือลาลามูฟ ก็เป็นวิธีที่เหมาะสม รวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่ายและสามารถส่งอาหาร เครื่องดื่ม ขนม ได้ทุกเมนูของที่ร้าน

อีกสิ่งที่แม้ว่าเราจะหันไปรับลูกค้าทาง W-commerce แทนหน้าร้าน ก็อย่าลืมที่จะใช้การให้บริการเฉกเช่นเดียวกับการขายหน้าร้านเหมือนเดิมด้วยหลักของ Emotional Value 

ที่มา

https://brandinside.asia/e-commerce-thai-marketer-need-to-know/

https://guru.sanook.com/3871/

https://dribbble.com/shots/6623948-Matcha-cafe-app

บทความจาก : Fuwafuwa

Tea pairing จับคู่ชากับอาหารอะไรดี

เป็นที่ทราบกันดีว่า ชาเป็นอีกหนึ่งเครื่องดื่มที่จะช่วยเพิ่มและดึงกลิ่นและรสชาติที่ละเอียดอ่อนของอาหารหลายประเภทออกมาได้ เช่นเดียวกับไวน์ ที่พวกเราจะคุ้นเคยกับกฎพื้นฐานที่ว่า ไวน์แดง จะเสิร์ฟกับอาหารที่มีเนื้อแดง ส่วนไวน์ขาวเสิร์ฟพร้อมกับเนื้อปลาและอาหารมังสวิรัติ ดังนั้นการเรียนรู้ว่า ชาชนิดใดสามารถเติมเต็มรสชาติของอาหารได้บ้าง จึงเป็นศาสตร์ที่คนรักชาควรศึกษาเพิ่มเติมไว้เพื่อช่วยให้รสชาติชาเขียวทำให้เมนูอื่นๆในร้านอร่อยมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

Tea pairing

ชาแต่ละชนิดก็จับคู่กับอาหารอะไรเพื่อช่วยดึงรสชาติได้แตกต่างกัน เช่น ชาดำที่มีกลิ่นรสที่ strong และค่อนข้างเข้มข้นไปจนถึงขม ซึ่งมีความคล้ายกับความ Full-bodied ของไวน์แดง จับคู่ได้ดีกับอาหารเนื้อแน่น รสชาติหนักๆ พวกเนื้อย่าง (วัว, แกะ) พาสต้าเนื้อแน่นอย่างลาซานญ่า ชาขาวรสชาติเบาๆ ควรจับคู่กับอาหารที่เบามากเช่น ปลาเนื้อขาวเช่น ปลากะพงหรือชีสอ่อน ๆ ส่วนชาอู่หลงจะแตกต่างกันออกไป จะเข้ากันได้ดีกับของหวาน ผลไม้ ชีส และเนื้อสัตว์รมควัน แต่ถ้าเป็นชา Earl Grey จะเหมาะกับผลไม้และขนมหวาน เค้ก และดาร์กช็อกโกแลต

จะเห็นว่า ชา นอกจากจะสามารถเพิ่มรสชาติของอาหารบนจานของคุณได้อย่างแท้จริง ในทางกลับกันการจับคู่ผิดก็อาจจะทำให้อาหารและชามื้อนั้นรสชาติแย่ไปเลยก็มี มาดูกันว่าชาเขียว เหมาะกับการจับคู่กับอาหารชนิดใดบ้าง

  1. อาหารญี่ปุ่นและชาเขียว ถือเป็นส่วนผสมที่ดีต่อสุขภาพและเข้ากันที่สุด

อาหารของญี่ปุ่นที่ประกอบด้วยซา ชิมิ ข้าวปั้น ราเมง อาหรกลุ่มนี้จะเข้ากันได้ดีกับชาเขียว โดยเฉพาะเซนฉะที่มีความสมดุลของความเป็นกรดและความหวานที่เข้ากันได้ดีกับรสชาติของอาหารญี่ปุ่นนั่นเอง

  1. อาหารซีฟู้ด ชาเขียวโดยเฉพาะเซนฉะจะเข้ากันได้ดีกับอาหารทะเล เพราะช่วยเพิ่มรสชาติของกันและกัน ซึ่งส่งผลให้เกิดการผสมผสานที่เป็นเอกลักษณ์ในปากและทิ้งรสขมเล็กน้อยที่ค้างอยู่ในปากซึ่งทำให้ต้องการอาหารซีฟู้ดมากขึ้น
  2. ขนมที่ใช้ช็อคโกแลต ช็อคโกแลตมีโกโก้ซึ่งให้รสขม หรือจะเป็นดาร์กช็อกโกแลตที่มีโกโก้มากกว่าเมื่อเทียบกับช็อคโกแลตอื่นๆ ทำให้มีรสขมอย่างเข้มข้น หากจับคู่กับชาเขียวที่ผสมผลไม้ จะได้รสชาติที่ลงตัวจากความขมของโกโก้และความหวานจากชาเขียว หากต้องการทานช็อคโกแลตประเภทหวานๆ เช่น ช็อกโกแลตนม ชาเขียวก็เป็นคู่ที่ดี เพราะรสขมเล็กน้อยของชาเขียวจะช่วยเพิ่มรสหวานของช็อกโกแลต
  3. ไก่ทอดรสชาติที่ได้จากชาเขียวจะเข้ากันได้ดีกับไก่ทอด เพราะชาเขียวจะช่วยลดอาการปากมันเยิ้มที่ได้จากการกินไก่ทอด
  4. ขนมปังโฮลวีตและชาเขียวเป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีเยี่ยมและสามารถทำเป็นอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางโภชนาการได้การจับคู่นี้สามารถกระตุ้นการเผาผลาญได้เป็นอย่างดี

จะเห็นว่าชาเขียวเป็นเครื่องดื่มสารพัดประโยชน์ที่สามารถจับคู่กับอาหารได้เกือบทุกชนิด การทานชาแต่ละชนิดกับอาหารแต่ละอย่างจึงมีรสชาติแตกต่างกันไป ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคลด้วย หากร้านชาไหนที่ไม่มีเมนูของคาวทาานคู่ชาแล้ว ลองดูส่วนผสมอื่นที่มาผสมกับชาเขียวแก้วโปรดของคุณให้ได้รสชาติที่แตกต่างกันออกไป ยิ่งไปกว่านั้นชาเขียวมัทฉะของญี่ปุ่นมักจะมีกลิ่นหอมของแอปเปิ้ลและดอกกุหลาบที่เด่นชัดมากขึ้นเมื่อผสมกับกลิ่นหอมของแตงกวาสีเขียวบางชนิด บางคนผสมกับตะไคร้ ขิง หญ้าฝรั่น แอปเปิ้ล สับปะรด แอปริคอท มะเขือเทศ หรือเหล้ารัม ก็ให้รสชาติที่แตกต่างออกไป เพราะชาเขียวจับคู่กับอะไรก็อร่อย ^^

ที่มา

https://www.teavivre.com/info/how-to-pair-tea-and-food.html

https://www.pinterest.com/pin/100768110397035818/

https://www.letempsduthe.fr

https://www.japanesegreenteain.com

บทความจาก : Fuwafuwa

เพิ่ม 3 แนวคิดธุรกิจอาหาร ให้ร้านชาโตต่อได้

ในยุคที่ร้านคาเฟ่ผุดขึ้นเยอะมาก การออกเมนูใหม่ โปรโมชั่นใหม่ หรือตกแต่งร้านเพิ่มเติม อาจจะไม่เพียงพออีกต่อไป การโฟกัสถึงเทรนด์ธุรกิจอาหาร จึงเป็นอีกสิ่งที่จะช่วยให้ธุรกิจไปต่อได้  เพราะเทรนด์อาหารสมัยนี้ ไม่ได้เน้นแค่ความอร่อย ยิ่งช่วงนี้ที่โควิดกลับมาระบาดอีกรอบ การสร้างความสะดวกให้ลูกค้าและให้ลูกค้าได้สัมผัสประสบการณ์กับอาหารเครื่องดื่มคุณภาพดี เหมือนได้ไปทานที่ร้านจึงเป็นเทรนด์ที่ร้านค้าต้องหันมาให้ความใส่ใจมากขึ้น มาดู 3 แนวคิดหลักของธุรกิจอาหาร ที่จะช่วยให้ร้านชาของคุณยังเติบโตได้แม้จะมีสถานการณ์โควิดก็ตาม

1. การเพิ่ม Option ให้สั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชั่นที่ทางร้านครีเอทเอง หรือผ่านระบบ Delivery ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ายุคนี้ การสั่งอาหารผ่านช่องทางออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็วมาก ยิ่งสถานการณ์โควิด ที่ทำให้หลายคนหลีกเลี่ยงการเข้าร้านอหาร และหันมาใช้การสั่งอาหารผ่านมือถือแทน ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบาย และเทรนด์การให้บริการในรูปแบบนี้ยังมีโปรโมชั่น สิทธิพิเศษมากมาย การเอาร้านชาเข้าไปอยู่ในแพลตฟอร์มสั่งอาหารดิลิเวอรี่อย่าง Grab Food, Food Panda, Gojek, Line Man จึงยังไปได้ดีอย่างแน่นอน ถึงแม้จะมีการเสีย GP อยู่บ้าง ทำให้บางร้านไม่อยากร่วมกับการทำดิลิเวอรี่แพลตฟอร์มเหล่านี้ แต่หากพิจารณาดีๆแล้วจะพบว่าการขายทางช่องทางดิลิเวอรี่พวกนี้ช่วยให้ร้านสามารถใช้วัตถุดิบที่มีอยู่แล้ว

Delivery

อย่างไรก็ตามสำหรับร้านชา อาจจะกังวลกับการขนส่งสินค้าที่ร้านว่าอาจจะหก เลอะเทอะ ไปถึงลูกค้าอาจจะไม่ได้รับสินค้าที่สมบูรณ์ 100% นั้น ต้องตัดความกังวลนั้นทิ้งแล้วมองหาแพคเกจ อีกทั้งวิธีการที่แตกต่างออกไปในการเสิร์ฟชาแทน เช่น การใช้ขวดใส่น้ำแยกน้ำชาและน้ำแข็งออกจากกัน

2. ปรับเมนูเครื่องดื่ม อาหารเพื่อสุขภาพ และมีความ Creative มากขึ้น อาหารที่ให้มากกว่าความอร่อยสำหรับยุคนี้ ต้องเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และหากมีการนำศาสตร์ชั้นสูงมาสร้างสรรค์เมนูอาหาร หรือใส่ความคิดสร้างสรรค์เข้าไปในเมนู ตลอดจนการนำเสนอในรูปแบบใหม่ๆ ที่ชวนตื่นเต้น ล้วนเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ให้ลูกค้า อย่างการดื่มชาเขียวปกติหากทำเป็นสมูตตี้เพิ่มผลไม้บางตัวเข้าไปให้ชาเขียวมีรสชาติที่แปลกใหม่มากขึ้นและยังดีต่อสุขภาพ ก็เป็นสิ่งที่ช่วยดึงดูดลูกค้าสาวๆได้มากขึ้น หรือจะเป็นโยเกิร์ตธัญพืชที่เป็นกระแสมื้อเช้ายอดนิยมอยู่ช่วงนี้ สามารถเพิ่มรสชาติชาเขียวเข้าไปได้ เพื่อสร้างความเป็นเอกลักษณ์ให้มื้อเช้าที่ร้านของคุณ

Healthy Healthy

อย่างไรก็ตามหากเป็นเมนูเครื่องดื่ม อาหารเพื่อสุขภาพ หรือเป็นเมนูที่ครีเอทมากๆมักจะมีราคาที่สูงทำให้ลูกค้าใหม่น้อยคนนักที่จะกล้าลอง ดังนั้น หากทางร้านสามารถควบคุมต้นทุนให้ได้ในราคาต่ำ จะยิ่งทำให้ราคาขายถูกลงและเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

3. ธุรกิจขายอาหารแบบ 24 ชั่วโมงใครจะไปคิดว่า โมเดลการเปิดร้านอาหารแบบ 24 ชั่วโมงนั้น จะเป็นไปได้ และจะมีผู้ใช้บริการจริง แต่ด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน มีการใช้ชีวิตช่วงกลางคืนมากขึ้น และกลุ่มคนที่ทำงานในช่วงเวลากลางคืนนั้นจะมีโอกาสน้อยมากในการได้รับประทานอาหารเครื่องดื่มอร่อยๆ เหมือนคนที่ใช้ชีวิตช่วงกลางวัน อีกทั้งคนไทยยังมีความเชื่อว่าการบริโภคชา กาแฟที่มีคาเฟอีนช่วงกลางคืนจะทำให้นอนไม่หลับ ร้านค้าที่ขายชากาแฟช่วงดึกจึงมีน้อยมากๆ แต่คนที่ใช้ชีวิตช่วงกลางคืนก็ยังคงต้องการดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้อยู่ โมเดลธุรกิจขายอาหารเครื่องดื่ม 24 ชั่วโมงนี้จึงไปได้ดีกว่าที่คิด ถือเป็นการผลักดันให้ธุรกิจอาหารเติบโตจากการจับไลฟ์สไตล์คนใช้ชีวิตกลางคืนนั่นเอง

ที่มา

https://www.elle.com/culture/career-politics/a31478025/how-to-help-community-coronavirus-pandemic/

https://weheartit.com/entry/320776028

บทความจาก : Fuwafuwa