Tea & Travel ชาของประเทศต่างๆ

tea&travel

เบื่อกันมั้ยกับการต้อง Work from home ทานเครื่องดื่มแต่แบบเดิมๆ จะออกเที่ยวต่างประเทศก็ไปไม่ได้ โอกาสในการจะได้ไปเรียนรู้วัฒนธรรมเครื่องดื่มชาของแต่ละประเทศด้วยตนเองเลยต้องอดไป วันนี้ MATCHAZUKI จะพาไปทำความรู้จักกับเอกลักษณ์ ความต่างและจุดเด่นของชาแต่ละประเทศแทนการบินลัดฟ้าไปชิมเอง มาดูกันว่าชา เครื่องดื่มสากลของแต่ละประเทศมีจุดเด่นยังไง เป็นชาประเภทไหน

เริ่มที่ ชาตุรกี ชาที่ถูกเสิร์ฟในแก้วขนาดเล็ก พร้อมน้ำตาลก้อน นิยมดื่มชาร้อนกันมาก โดยดื่มกันได้ทุกเวลา ทุกโอกาส กาน้ำชาแบบตุรกี จะเป็นกาน้ำร้อนแบบสองชั้น โดยชั้นล่างใส่น้ำร้อน (น้ำเปล่า) ด้านบนใส่ใบชาและน้ำร้อน (น้ำชา) โดยตั้งกาบนเตาใส่น้ำเปล่าลงในกาล่าง และใส่ใบชาแห้งลงในกาบน ยังไม่ต้องใส่น้ำร้อนลงไป รอจนน้ำในกาล่างเดือดปุดๆ หลังจากนั้นรินน้ำร้อนจากกาล่างลงในกาบน โดยใส่ให้ท่วมใบชา แล้วตั้งกาบนไว้บนกาล่าง จากนั้นหรี่ไฟลงและตั้งไปเรื่อยๆ เป็นอันเสร็จวิธีชงชา ส่วนการรินน้ำชานั้นทำได้โดย รินน้ำชาจากการบนลงในแก้วน้ำชาครึ่งแก้ว แล้วเติมน้ำร้อนจากกาล่างลงไป ใครชอบเข้มอ่อนแค่ไหน ก็กะเอาตามใจชอบ จากนั้นเติมน้ำตาลก้อนลงไปแล้วเวลาคนให้น้ำตาลละลาย ควรจะคนให้มีเสียงดังของช้อนและแก้วกระทบกันถึงจะได้อรรถรสในการดื่มชา ตุรกีมีใบชาหลายแบบ ที่นิยมก็ชาดำทั่วไป และชาแอปเปิ้ล รวมทั้งชาคาโมมายด์

ชาตุรกี

ชาวโมร็อกโกจะเพลิดเพลินกับชาเขียวสดชื่นที่ดื่มพร้อมกับใบมินท์ ซึ่งเป็นชาที่มีชื่อเสียงหวานดังนั้นอย่าลืมน้ำตาลและชาโมร็อกโกนิยมเสิร์ฟพร้อมกับอาหารผลไม้แห้งและถั่วอาร์เรย์ของหวาน

ชาวคูเวตชื่นชอบชาดำผสมกับกระวานและหญ้าฝรั่น ส่วนชาทิเบตทำด้วยนม เนยจามรีและเกลือ รสชาติของมันจะมีรสขม จึงกลายเป็นที่ดื่มกันทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ และเป็นเครื่องดื่มบำรุงจิตใจของผู้ปฏิบัติธรรม ปกติชาทิเบตเป็นประเภทชาดำ เก็บด้วยการอัดเป็นก้อน ในเขตที่มีการเลี้ยงจามรี จะมีการดื่มชาแบบนี้โดยต้มกับนม ในภาคกลางและบางส่วนของแคว้นคามเช่นที่เมืองเกียลทัง (เชียงกริลา) นิยมใส่เนย แล้วเหยาะเกลือเล็กน้อย ตำในกระบอกไม้ไผ่ จนกลายเป็นเครื่องดื่มที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ของทิเบตที่เรียกว่า ชาเนย (butter tea) แต่ในเขตที่ไม่ได้เลี้ยงสัตว์ หานมสดยาก จะใส่เกลือในชาดำ ที่น่าสนใจ ชาทิเบตนี้เมื่อเก็บไว้ในหนังจามรีเป็นเวลานานเป็นสิบปี จะกลายเป็น “ชาหมัก” ที่กลายเป็นชาสุขภาพ ชาแบบนี้ยิ่งเก่ายิ่งมีคุณค่าและมีราคา

tea&travel

ชาวฮ่องกงจะใส่นมข้นลงในชา และใส่น้ำแข็งลงไป ดูเหมือนกับชาเย็น แต่ถ้าเป็นชาไต้หวันขึ้นชื่อในเรื่องของชาไข่มุกที่ทำจากมันสำปะหลัง ซึ่งเกิดจากการที่ไต้หวัน ได้ใส่ “สาคู” ต้มน้ำตาล เม็ดโตๆ ลงไปในชาเพื่อเพิ่มทั้งรสชาติ และเพิ่มความน่าสนใจของการทานชา จนแพร่ระบาด ดังไปทั่วโลก ไม่ใช่แค่ในเอเชียแต่แม้แต่ฝรั่งหัวทองก็ยังอดทึ่งกับความแปลกใหม่ที่น่าสนใจและรสชาติเริ่ดเว่อร์วังของ “ชานมไข่มุก” แบบไต้หวันนี้ไม่ได้

tea&travel tea&travel

ชาอเมริกัน  ถึงแม้ว่าคนอเมริกันจะดื่มชาไม่มากเท่ากับชาวอังกฤษ  เพราะคนอเมริกันนิยมดื่มกาแฟมากกว่าชา แต่ชาก็มีบทบาทในสังคมอเมริกาไม่น้อย เพราะในช่วงที่สหรัฐเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ใบชาที่จะถูกนำไปยังสหรัฐอเมริกาจะถูกเก็บภาษีจนทำให้เกิดการประท้วงอย่างรุนแรง เป็นประเด็นที่นำไปสู่การประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกาต่ออังกฤษ  นอกจากนั้น ยังกล่าวได้ว่าคนอเมริกาเป็นผู้ปฏิวัติรูปแบบการดื่มชาจนเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลกจนปัจจุบัน  นั่นคือ ชาบรรจุถุง และชาใส่น้ำแข็งหรือชาเย็น อย่างไรก็ตาม  คนอเมริกันก็ยังนิยมดื่มชาดำเช่นเดียวกับคนอังกฤษ และมักจะดื่มชาดำกับมะนาวและน้ำตาล เบกิ้งโซดาก็เป็นอีกส่วนผสมหนึ่งที่ชาวอเมริกันใส่เพื่อให้ชามีรสชาติที่นุ่มขึ้น

tea&travel

ส่วน ชา Masala ของชาวปากีสถานมีส่วนผสมของเครื่องเทศและเนยจากนมวัว เรียกอีกชื่อได้ว่า “Mixed-spiced tea” ชาผสมเครื่องเทศ นิยมใช้ใบชาดำจากรัฐอัสสัมเป็นหลัก และผสมเข้ากับส่วนประกอบเครื่องเทศแบบอินเดียมากมาย เช่น กระวาน, โป๊ยกั๊ก, เมล็ดผักชีล้อม, จันทน์เทศ และกานพลู เดิมใช้เป็นเครื่องดื่มเพื่อการบำบัดร่างกายและอายุเวทมากกว่าหลายพันปีก่อนที่อังกฤษจะทำให้ชาวโลกได้รู้จัก “ชา” เสียอีก  ปัจจุบันชา Masala Chai เป็นที่รู้จักทั่วโลก ในลักษณะชาดำที่ต้มกับนม ชาติตะวันตกนำไปประยุกต์กลายเป็นเมนูชา “Tea Latte” แต่จริงๆแล้ว ชาแบบปากีสถานจะต้องมีความหวานของน้ำตาลโตนด ความมันเข้มข้นของนมสด และความหอมของเครื่องเทศ

tea&travel

จะเห็นได้ว่านอกจากชาเขียวของญี่ปุ่นที่ทุกๆคนคุ้นเคยแล้ว ประเทศอื่นๆก็มีวัฒนธรรมการดื่มชาที่แตกต่างกันออกไป รสชาติชาแบบเดิมๆที่เราดื่มกันก็เปลี่ยนไปตามแต่ละประเทศ หากสถานการณ์โควิดหมดไป เชื่อว่าหลายๆคนคงต้องออกไปเที่ยวชิมชาประเทศต่างๆกันอย่างแน่นอน

 

ที่มา

https://petmaya.com/21-tea-around-the-world-wow

http://theteashelf.com/teas-across-the-world/

http://thewoksoflife.com/2015/08/yuanyang-tea-hong-kong/

https://www.tastesoflizzyt.com/russian-tea/

http://myturkeyfood.blogspot.com/

https://www.flickr.com/photos/61259075@N08/14486900931/

 

บทความจาก : Fuwafuwa

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า