จัดแคมเปญร้านชายังไง ให้ส่งท้ายปีแบบปังๆ

เริ่มเข้าสู่สิ้นปี ช่วงที่ทุกคนชื่นชอบ ช่วงเวลาแห่งการจับจ่ายใช้สอย ให้รางวัลตัวเองและซื้อของฝากคนที่รัก ร้านค้า คาเฟ่ต่างๆหลังจากรีวิวผลประกอบการภาพรวมตรวจเช็คทุกไอเท็มในร้านชา( ดูเพิ่มได้ที่ shorturl.at/ckos8 ) แล้ว ก็เข้าสู่ช่วงโหมกระหน่ำจัดโปรโมชั่นลด แลก แจก แถม เพื่อเป็นการเพิ่มยอดขาย แต่นอกจากการทำโปรโมชั่นลดหนักๆแล้ว

ช่วงสิ้นปีแบบนี้ยังสามารถจัดกิจกรรมเพิ่มเติมให้ร้านชาของคุณมีสีสันได้มากขึ้นด้วยการ…..

1.เริ่มจากจัดตกแต่งร้าน นอกจากการเอาต้นคริสมาสต์มาวางและตกแต่งจุดอื่นๆให้มีกลิ่นอายความเป็นคริสมาต์ก็ถือว่าช่วยสร้างบรรยากาศการซื้อได้แล้ว แต่หากอยากให้เป็นภาพจำกับลูกค้าได้ง่ายขึ้น ควรวางคอนเซ็ปต์ตั้งแต่การตกแต่งแรกเลย เพื่อให้ทุกจุดในร้านมีความสอดคล้องกัน

ตกแต่งร้าน

การวางคอนเซ็ปต์ ต้องคำนึงถึงสีสัน ว่าจะเป็นคริสมาต์เน้นแดงเขียว หรือเน้นโทนสีทองสีเงิน เพื่อให้ภาพร้านเป็นไปในทิศทางเดียวกันรวมไปถึงป้ายตามจุดต่างๆด้วย เช่น ป้ายโปรโมชั่น ป้ายราคา รวมถึงแพ็คเกจจิ้งของสินค้า หากใครนึกภาพไม่ออก ลองนึกถึงสตาบัคส์ ที่มีการเปลี่ยนป้าย เพิ่มการตกแต่งและออกแพคเกจช่วงคริสมาสต์ทุกปี ให้ลูกค้าได้สนุกกับการรอลุ้นว่าปีนี้แก้วจะออกมาสีอะไร

แพ็คเกจจิ้ง แพ็คเกจจิ้ง

อย่างไรก็ตามการตกแต่งและทำทุกจุดในร้านให้เป็นธีมเดียวกัน อาจจะต้องใช้ Budget จำนวนหนึ่ง ซึ่งร้าน SME หรือธุรกิจเล็กๆ อาจจะยังมีงบไม่เพียงพอ ก็สามารถลดทอน แล้วเน้นเฉพาะการจัดตกแต่งบริเวณ Display จุดเดียวที่ร้านก็ได้

2.หลังจากบรรยากาศภายในร้านแล้ว ก็มาถึงตัวสินค้าที่ต้องคำนึงถึงว่า จะสร้างสีสันใหม่ๆ ครีเอทอะไรเพิ่มเติมเพื่อให้เมนูเดิมๆ กลายเป็นเมนูที่สร้างรอยยิ้มช่วงความสุขได้ เช่น มัทฉะลาเต้ร้อน จากเดิมที่เสิร์ฟเพียวๆ เพิ่มท้อปปิ้งด้วยมาชแมลโลว์ snowman น่ารักๆลงไป หรือออกรสชาติใหม่ไปเลย ที่เน้นการตกแต่งด้วยสีเขียวแดง เพราะชาเขียวสามารถเป็นของขวัญทุกเทศกาลได้อยู่แล้วตามความเชื่อของคนญี่ปุ่นอ่านเพิ่มเติมได้ที่ shorturl.at/dsGI8

Festive

การเพิ่มไอเท็มเล็กๆน้อยๆลงไปในเมนูเดิม ถือว่าประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการทดลองเมนูใหม่ได้ดีทีเดียว และยังสร้างความแปลกใหม่ให้ลูกค้าได้สัมผัสและสนุกไปกับช่วงเวลาพิเศษแบบนี้

3.การจัดชุดของขวัญเป็นGift Setที่รวมอุปกรณ์ชงชา หรือจัดเซ็ตของขวัญผงชา หรือเครื่องดื่มเบเกอรี่ที่ร้าน ให้เป็นชุดเซ็ตที่เหมาะกับการส่งมอบให้ช่วงปีใหม่

Gift Set Gift Set

แต่จะเพิ่มความน่าสนใจ ทำให้ลูกค้าสนุกมากขึ้นนอกจากการซื้อชุดของขวัญปกติ คือ ปรับ Gift Set ให้เป็น ชุด Lucky bagตามแบบคนญี่ปุ่น ที่หลายๆร้นจะจัดเซ็ตถุงโชคดีนี้ขายในราคาที่ถูกกว่ามูลค่าของจริงในถุง โดยที่จะไม่เห็นสินค้าภายในถุงว่ามีอะไรบ้าง เป็นการเสี่ยงโชคที่ได้รับของขวัญแน่นอนแต่ลุ้นแค่ว่า ได้อะไร

Lucky bag

4. จัดเวิร์คช็อปในธีมคริสมาสต์ เอาใจสาวๆที่ชอบการ D.I.Y. อยากทำของของขวัญ เช่น ทำคุ้กกี้คริสมาต์ชาเขียว  เป็นเมนูที่ทำไม่ยากและสามารถตัดแต่งคุ้กกี้ให้เป็นลวดลายสนุกได้ตามชอบ ยิ่งมีวัตถุดิบหลักเป็นผงชาเขียวด้วยแล้ว สีสันคุ้กกี้แบบต้นคริสมาต์ ยิ่งทำได้ไม่ยาก

workshop

5. ลุ้นรับของรางวัลด้วย Lucky Draw แน่นอนว่า การสุ่ม หรือเสี่ยงโชคเป็นสิ่งที่คนไทยชื่นชอบ ยิ่งแจกของช่วงสิ้นปีแบบนี้ ยิ่งเพิ่มความสนุกให้ลูกค้า เหมือนเป็นการคืนกำไรให้ลูกค้าได้ ทั้งนี้อาจจะต้องกำหนดยอดซื้อขั้นต่ำ และกฎเกณฑ์ในการจับฉลากเพื่อไม่ให้ที่ร้านขาดทุนจนเกินไป และของขวัญจากการจับฉลาก ควรเป็นสินค้า หรือบริการของที่ร้านเลย เช่น คูปองรับฟรีเครื่องดื่ม คูปองแลกซื้อผงชาเขียวไปชงเองที่บ้าน เป็นต้น

lucky draw

6. ทำการตลาดทั้ง 2 ช่องทาง ทั้ง online to offline และ offline to onlineเพราะในยุคนี้ ออนไลน์ถือเป็นสื่อแรกๆที่จะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้วงกว้าง กล่าวคือ อาจจะมีการโพสต์แจกคูปองส่วนลดในเพจ เพื่อให้ลูกค้าที่ไม่เคยมที่ร้าน ได้กดรับสิทธิ์และแวะมาใช้ส่วนลดที่หน้าร้านได้ หรือจะเป็นกรณีที่ลูกค้ามาซื้อชาที่หน้าร้าน ให้โพสต์ในช่องทางออนไลน์ และติดแท็ก หรือ# กลับมาที่เพจของร้าน ก็ช่วยประชาสัมพันธ์ได้ดีทีเดียว ในราคาประหยัดด้วย เนื่องจากร้นเครื่องดื่มทุกวันนี้มีเยอะมาก บางร้านมาไวไปไวตามกระแส เพราะฉะนั้นการทำให้ลูกค้าใหม่เข้าถึงร้านชาของเราได้ง่าย มีส่วนลดตั้งแต่ครั้งแรกที่เข้าไป จะทำให้การตัดสินใจซื้อเป็นไปได้ง่ายขึ้น

สิ่งที่สำคัญที่สุดของการจัดแคมเปญร้านชาให้ปัง คือ การมองเห็นภาพรวมในทุกๆจุด ให้เป็นแคมเปญที่มีภาพจำเดียวกัน มากกว่าการทำโปรโมชั่นแบบฉาบฉวย หลังจากจบแคมเปญสิ่งที่ขาดไม่ได้ของการจัดแคมเปญสิ้นปีแบบนี้ คือ การประเมินและวัดผล ว่ายอดขายที่เพิ่มขึ้นมาจากจุดไหนบ้างเพื่อรีวิวแคมเปญและต่อยอดสู้การทำแคมเปญต่อไปในปีหน้าๆได้

ที่มา

https://twitter.com/nopstudio/status/674596615391350787

www.paperandtea.com

thekitchenmccabe.com

rawpixel.com

Marthastewart.com

บทความจาก : Fuwafuwa

ตรวจเช็คไอเท็มร้านชา “ถึงเวลาเก่าไปใหม่มารึยัง”

สิ้นปีแบบนี้ หลายๆร้านโฟกัสไปที่แผนของปีถัดไป ว่าจะทำอะไรใหม่ๆให้ที่ร้านดี ซึ่งถือว่าเป็นการวางแผนที่มองการณ์ไกลที่สำคัญ แต่อย่าลืมที่จะมารีวิวสิ่งต่างๆภายในร้าน ไล่ตรวจเช็คทุกไอเท็มว่าถึงเวลาเปลี่ยนรึยัง เพื่อสร้างภาพลักษณ์ใหม่ๆ แถมยังเป็นการจัดระเบียบร้านชาของคุณ ให้ใช้งานง่ายขึ้นไปอีกขั้น เริ่มจาก……..

1. สภาพวัตถุดิบภายในร้านตัวที่ค้างสต็อกมานาน ขายไม่ได้ หมดอายุรึยัง พวกนมสด ครีม หรือเนยที่เอาไว้ทำขนมในร้าน มักจะมีวันหมดอายุอยู่แล้ว แต่อย่างพวกผงมัทฉะ ผงชาโฮจิฉะ ที่ผลิตในญี่ปุ่น อาจจะดูแล้วไม่แน่ใจว่าวันหมดอายุคือตัวไหนแต่อาจจะสังเกตได้จากสีของผงชาที่เปลี่ยนไป เพราะความจริงแล้วในภาษาญี่ปุ่นคำว่าวันหมดอายุมี 2 แบบ คือ 1. วันหมดอายุควรบริโภค (消費期限)หมายถึง เราจะทานได้ถึงแค่วันที่ระบุไว้เท่านั้น เลยจากนั้นจะบูดเสีย และ 2. วันหมดอายุรสชาติ (賞味期限)หมายถึง สินค้าของเราจะอร่อยถึงแค่วันนี้เท่านั้น ต่อจากนั้นก็ไม่อร่อยแล้วนะ โดยมากผลิตภัณฑ์อาหารมักจะเขียนแบบที่ 2 เพื่อไม่ให้ลูกค้าติงได้ว่ากินก่อนวันหมดอายุควรบริโภคแล้วไม่อร่อย สำหรับผงชาทั้งหลายก็มักจะเป็นแบบที่ 2 กล่าวคือ ถึงจะเลยวันหมดอายุแล้วก็ยังชงดื่มได้อยู่นั่นเอง แต่รสชาติ กลิ่น จะหายไปเรื่อยๆนั่นเอง

Matcha

อย่างไรก็ตามวันหมดอายุดังกล่าว เป็นกรณีที่ ชานั้นถูกเก็บรักษาในอุณภูมิปกติโดยที่ยังไม่แกะซองนั่นเอง แปลว่า ถ้าเราแกะซองแล้วมันจะหมดอายุรสชาติเร็วขึ้นเนื่องจากสัมผัสกับอากาศและความชื้น ประกอบกับวิธีเก็บชาที่เปลี่ยนไปก็ทำให้อายุหดหรือยืดได้เช่นกัน ถ้าเก็บไว้ในที่อุณหภูมิสูงก็จะอายุสั้นลงอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ถ้ายังไม่เปิดซองใบชาให้จับแช่ตู้เย็นช่องแข็งจะยืดอายุใบชาได้ถึง 2 ปีทีเดียว ใบชาส่วนใหญ่มีอายุ 1 ปีนับจากบรรจุซองหรือก็คือถ้าแช่ช่องแข็งก็จะบวกอายุไปอีก 1 ปี แน่นอนว่าสามารถใส่ช่องเย็นธรรมดาก็ได้เหมือนกันแต่จะอยู่ได้ไม่นาน แนะนำให้แบ่งใส่ถุงหลายๆถุง เพื่อช่วยให้ยืดการเสื่อมของรสชาติได้เพราะหากเราเก็บชาไว้ในที่เดียว ทุกครั้งที่เปิดมาชง อากาศก็จะเข้าๆออกๆ ทุกครั้ง ทำให้รสชาติใบชาเสื่อมลงเรื่อยๆ แต่ถ้าเราเก็บไว้หลายส่วน ชาส่วนที่แบ่งไว้จะสัมผัสอากาศน้อยครั้งกว่า พอชงที่แบ่งไว้ส่วนหนึ่งหมดแล้วไปเปิดอีกส่วนหนึ่ง ใบชาส่วนนั้นที่สัมผัสอากาศแค่ครั้งเดียว ย่อมจะคงรสชาติได้นานกว่าใบชาที่โดนอากาศหลายครั้ง สำหรับชาที่ใส่ไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา ก่อนเปิดถุงควรเอามาตั้งทิ้งไว้ข้างนอกสักพักเพื่อให้อุณหภูมิในถุงเท่ากับอุณหภูมิห้อง

2. อุปกรณ์แตกพังบิ่นไปบ้างรึยัง ทั้งถ้วยชงชา ฉะเซน รีเช็คสภาพและวิธีการเก็บรักษาของพนักงานในร้าน โดยเฉพาะฉะเซ็นที่ทำจากไม้ไผ่จะกรอบและหักง่าย การเก็บรักษาที่ถูกต้องจะช่วยยืดระยะเวลาการใช้งานของอุปกรณ์นั้นๆ เพราะข้อควรระวังในการเก็บเพียงแค่ต้องไม่ชื้นและแห้งจนเกินไปครับ วางฉะเซ็นไว้ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกก็พอส่วนถ้วยชงชา หากมีการแตกร้าว หรือยังพอซ่อมแซมได้ อาจจะลองใช้การทำคินสึงิ ที่คล้ายๆการลงรักทองของคนญี่ปุ่น ก็ช่วยเพิ่มกลิ่นอายความเป็นญี่ปุ่นได้ แต่ถ้าหากใครไม่ถนัดงานฝีมือ แนะนำเป็นซื้อใบใหม่ ที่สร้างความแตกต่างจากใบเดิมไปเลยจะดีกว่า

อุปกรณฺ์

3. การตกแต่งภายในร้านโดยเฉพาะร้านที่เปิดมานานแล้ว สีสัน การตกแต่งต่างๆอาจจะหดความน่านใจหรือตกเทรนด์ไปแล้ว ลองปรับสไตล์ร้าน ปรับโทนสี หรือรีโนเวทบางส่วนของร้านรับเทรนด์ใหม่ๆที่กำลังมา

ร้านชา ร้านชา

นอกจากการตกแต่งร้านด้วยสี เราอาจจะเพิ่มความแปลกตาด้วยอุปกรณ์ชงเครื่องดื่มแบบใหม่ๆ ก็ช่วยสร้างความตื่นตาตื่นใจให้ลูกค้าขาประจำได้ทีเดียว

ร้านชา ร้านชา

4. ปรับผังเมนูที่ร้านและสื่อต่างๆ การปรับเมนูในที่นี่ ไม่ใช่แค่การเปลี่ยนดีไซน์ป้ายให้ดูใหม่ สวยงาม แต่เป็นการปรับผังทราเป็นเรื่องจำเป็นของทุกร้าน ที่ต้องเอาข้อมูลการขายของสินค้าแต่ละตัวมาดูว่า แต่ละเมนูขายดีแค่ไหนค่าเฉลี่ยว่าแต่ละวัน แต่ละเดือน เราขายแต่ละเมนูได้กี่แก้วใช้ข้อมูลย้อนหลังอย่างน้อย 30 วัน หรืออาจจะเปรียบเทียบย้อนไป 3 เดือน หรือเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าด้วย เพื่อประกอบการตัดสินใจ นอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงว่า แต่ละเมนูทำกำไรมากน้อยแค่ไหน เทียบกับต้นทุนวัตถุดิบแต่ละเมนูให้ชัดเจน เราจะเห็นอย่างชัดเจนดังนี้

  • เมนูที่ทำกำไรมาก และได้รับความนิยมมากสมควรเก็บไว้อย่างยิ่ง แล้วควรโปรโมทให้เป็นเมนูแนะนำ เชียร์ขายให้สุด
  • เมนูนั้นกำไรน้อย แต่ได้รับความนิยมมากอาจจะลองเพิ่มราคา แต่แน่นอนว่าลูกค้าบางรายย่อมไม่พอใจ และอาจทำให้เมนูนั้นราคาโดดสูงกว่าเมนูอื่นๆ มากเกินไป ดังนั้นจึงไม่ใช่วิธีที่แนะนำ หรือจะลองออกเมนูใหม่ที่ใกล้เคียงกัน แต่ได้กำไรมากกว่า แล้วเชียร์ขายเมนูใหม่ หรือจัดโปรโมชั่น เพื่อให้ลูกค้าสั่งเมนูเก่าน้อยลง หันมาสั่งเมนูใหม่แทน เมื่อลูกค้าติดเมนูใหม่ จึงค่อยๆ ถอดเมนูที่ไม่ทำกำไรออกไปในภายหลัง
  • เมนูนั้นกำไรมาก แต่ได้รับความนิยมน้อยต้องค้นหาให้เจอว่า เพราะอะไรลูกค้าจึงสั่งเมนูนี้น้อย เพราะพนักงานเชียร์ขายน้อย ตำแหน่งที่อยู่ในเมนูไม่โดดเด่นเตะตาลูกค้า รสชาติไม่ถูกปาก หรือเป็นเพราะเราตั้งราคาสูงเกินไปจริงๆ ลูกค้ารู้สึกว่าไม่คุ้มค่าที่จะสั่ง
  • เมนูนั้นกำไรน้อย และได้รับความนิยมน้อยหากลองเช็คในเมนูโดยภาพรวมแล้วเห็นว่าเมื่อตัดเมนูดังกล่าวทิ้ง ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อยอดขายโดยรวม หรือกระทบต่อลูกค้า ก็ตัดทิ้งได้

นอกจากการรีวิวเมนูเดิมแล้ว อย่าลืมที่จะเพิ่มเมนูใหม่ๆ ที่มีสีสันแปลกตา การจัดเสิร์ฟที่ไม่เหมือนเดิม อย่างเช่นการจัดเสิร์ฟซอฟท์ครีมชาเขียวในถ้วยปกติ อาจจะเปลี่ยนไปใส่ในปลาไทยากิ หรือการเอาเค้กชาเขียวไปทานคู่กับมูสซากุระ ก็สร้างสีสันให้กับขนมได้มากทีเดียว

Matcha Menu Matcha Menu

ธุรกิจเครื่องดื่ม และคาเฟ่ช่วงนี้มาไว้ไปไว้มาก ก่อนจะวางแผนให้ธุรกิจไปข้างหน้า อย่าลืมที่จะตรวจเช็คสิ่งเดิมๆที่มีอยู่แล้วเพื่อปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการให้ดีขึ้นไปพร้อมๆกับการประยุกต์สิ่งใหม่ๆเข้าไป

ที่มา

https://thietkenoithat.org.vn/blog/dich-vu-thiet-ke-va-thi-cong-quan-cafe-tron-goi-tai-quan-bac-tu-liem/

http://tendencee.com.br/2016/09/casquinhas-de-sorvete-em-formato-de-peixe/#_Uwg5wY

https://www.100-vegetal.com/2013/03/petits-gateaux-vert-cerise-battle-food.html

https://www.pinterest.com/pin/27092035248199711/

https://avantcha.com/product-category/iced-tea/

http://on.forbes.com/64968R2Ti

บทความจาก : Fuwafuwa

ชาเขียวใส่นม ดื่มแล้วไม่ดีต่อสุขภาพจริงมั้ย?

อย่างที่รู้กันอยู่แล้วว่าประโยชน์สูงสุดของการดื่มชาเขียว คือ ต้องดื่มแบบเพียวๆ ไม่ใส่นม น้ำตาล แต่ก็ใช่ว่าการใส่นมลงไป จะทำให้สูญเสียคุณค่าทางอาหารของชาไปทั้งหมด เพราะนมก็มีหลายประเภท ทั้งนมสด นมผง นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ แต่ละชนิดก็ให้ประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป หากคุณต้องการได้รับประโยชน์สูงสุด การดื่มชาเขียวใส่นม จะทำให้คุณประโยชน์ของชาลดลงเท่านั้น แต่จะไม่สามารถขจัดประโยชน์ทั้งหมดได้

ประโยชน์ต่อสุขภาพที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาเขียว คือ ประโยชน์จากคาเทชินซึ่งดีต่อหัวใจการไหลเวียนของเลือด คาเทชินเป็นอาวุธสำคัญของธรรมชาติที่เข้าไปทำหน้าที่ป้องกันการเกิดอนุมูล อิสระ และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งในร่างกาย ชะลอความเสื่อมของร่างกายและช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งอีกด้วย ซึ่งในนมจะมีโปรตีนที่พบ เรียกว่า เคซีน ตัวนี้จะทำปฏิกิริยาทางเคมีกับคาเทชินและลดประโยชน์ต่อสุขภาพ เพียงแค่ลดประโยชน์ที่ดีลง แต่ไม่ได้ผลิตสารเคมีที่ไม่ดีต่อร่างกาย

Soy Milk Soy Milk

ดังนั้น หากจะช่วยเพิ่มประโยชน์ในการดื่มชาเขียวลาเต้แก้วโปรดของคุณ มีทางเลือกอีกมากมายในการใส่นมลงไป เช่น การเลือกนมถั่วเหลืองแทนนมวัว นมถั่วเหลืองมีเลซิตินซึ่งมีโครงสร้างโมเลกุลที่แตกต่างจากเคซีนดังนั้นคุณจะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากคาเทชิน เพียงแค่รสชาติจะแตกต่างกันเล็กน้อยเท่านั้น และยังเป็นทางเลือกสำหรับคนที่แพ้นมวัวอีกด้วย แต่ถ้าาใครไม่ชอบนมถั่วเหลือง ก็ยังมีนมถั่วพิตาชิโอ้ และนมอัลมอนด์ ที่มีคุณค่าทางสารอาหารไม่แพ้กัน

อย่างไรก็ตามสามารถเพลิดเพลินกับการดื่มชาเขียวได้เหมือนเดิม แทนนิน กรดแกลลิก และคาเฟอีน คุณประโยชน์ในชายังคงทำหน้าที่ได้ดีตามปกติเมื่อคุณดื่มชาเขียวใส่นม

Milk

ข้อควรระวังสำหรับการดื่มชาเขียวใส่นมโดยเฉพาะอย่างยิ่งร้านที่ขายเครื่องดื่มชาเขียวในราคาถูกมากๆ อาจจะมีการใช้นมผง แทนนมสด จริงๆแล้วนมผง เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกใหม่ๆที่เก็บรักษาง่ายเพราะเป็นผงไม่ต้องแช่เย็น แต่บางร้านไม่ได้ใช้นมผงแท้ๆ ราคาจึงถูกกว่านมผงทั่วไปก็มีพบได้ในตลาดทุกวันนี้

หากคุณเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการร้านเครื่องดื่มชา กาแฟ นอกจากการเลือกผงมัทฉะที่เป็นองค์ประกอบหลักในการชงเครื่องดื่มแล้ว อย่าลืมที่จะทำความรู้จักกับนม ที่เป็นอีกองค์ประกอบสำคัญด้วย

อย่างนมสดพาสเจอร์ไรซ์ นิยมบรรจุในขวดพาสติก แบบขุ่น กล่องกระดาษ หรือถุงพลาสติก โดยวางจำหน่ายในตู้เย็น หรือ ตู้แช่ ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส เพื่อไม่ให้นมเสีย เป็นนมที่มีคุณค่า ทางอาหารใกล้เคียงกับนมโคสดมากที่สุด นมประเภทนี้จึงเหมาะกับร้านขายเครื่องดื่มอย่างน้ำชา กาแฟมากที่สุด เพราะหาซื้อง่าย และสะดวก ซึ่งแต่ละยี่ห้อก็จะมีความหอม อร่อยที่ต่างกันออกไป และเป็นนมที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ข้อจำกัดของนมชนิดนี้คือ ต้องเก็บเเช่เย็นไว้ตลอดเวลา เมื่อเปิดแล้วต้องใช้ให้ หมดภายใน 2 วัน มิฉะนั้น นมอาจเสียได้

ดังนั้นบางร้านที่ไม่สะดวกใช้นมสด ก็อาจจะใช้นม UHT น้ำนมสดที่ผ่านกระบวนการให้ความร้อนที่สูงมากแต่ใช้เวลาสั้นมากจึงทำให้น้ำนมยังมีกลิ่นและรสที่ดี ไม่มีกลิ่นเป็นนมต้ม (ไหม้) เหมือนนมสดสเตอร์ไรซ์ รสชาติ ความสด อร่อยน้อยกว่า เมื่อเทียบกับนมพาสเจอร์ไรซ์ แต่ก็ยังได้รสชาติที่ดีกว่านมผงนั่นเอง เพราาะนมผง เป็นกระบวนการถนอมรักษานมสด โดยการทำให้เป็นผงแห้ง การแปรรูปเป็นผงโดยการระเหยน้ำส่วนใหญ่ออกจากน้ำนมสด ทำให้ผลิตภัณฑ์แห้งเป็นผง มีน้ำหนักเบา ประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่งและเก็บได้นาน

Milk

หากใครที่ไม่รู้จะเลือกใช้นมแบบไหนดี แนะนำให้คำนึงถึงก่อนว่า นมประเภทที่จะใช้ หาซื้อได้ง่ายไหม / สูตรการชงของร้านเป็นอย่างไร และราคา ต้นทุน เมื่อรวมกันแล้วได้กำไรต่อแก้วละเท่าไหร่

ไม่จำเป็นจะต้องสต็อกนมไว้มาก เพราะต้นทุนไม่สูง นอกจากนมที่ไว้ใส่ในชาแล้ว อย่าลืมคิดต้นทุนนมเผื่อนมที่ไว้ตีฟองนมทำเป็นท็อปปิ้งด้วย หากใช้นมประเภทเดียวกันได้ ก็ถือเป็นการประหยัดต้นทุนได้อีกทาง

ที่มา

https://www.japanesegreenteain.com

https://500px.com/photo/270154585/Iced-matcha-latte-with-milk-pouring-fron-pitcher-in-glass-by-Anna-Ivanova/

https://zibafoods.com/cold-pistachio-milk-with-cardamom-and-rosewater/

http://www.maki.vn/organic-vegan-milk

https://www.alphafoodie.com/simple-homemade-soy-milk-recipe/

บทความจาก : Fuwafuwa

ไขข้อสงสัย ทำไมชาไทย จึงต่างจาก ชาญี่ปุ่น

ดูเผินๆอาจจะไม่รู้ว่า เครื่องดื่มชาเขียวที่เราทานอยู่นั้น มาจากญี่ปุ่นแท้ๆ หรือผลิตจากในไทยกันแน่หากไม่ได้มีการระบุไว้ที่ชัดเจน ก็แยกยากอยู่เช่นกัน เพียงแต่จะสังเกตได้จากลักษณะของการบริโภค กล่าวคือ

1. คนญี่ปุ่นหลายคนยังคงมีความคิดว่า ชาเขียวกับน้ำตาล เป็นสิ่งที่ไม่เข้ากัน และยังนิยมบริโภคชาเขียวรสจืด ซึ่งเป็นรสดั้งเดิมเหมือนเมื่อสมัยโบราณ เป็นชาเขียวเพียวๆที่ดีต่อสุขภาพมากๆ แต่คนไทยจะบริโภคแบบนี้ไม่ค่อยได้กัน ชาเขียวไทย จึงได้มีการใส่น้ำตาลลงไปเพื่อปรับให้เข้ากับความชอบของคนไทย

Matcha Matcha

2. คนญี่ปุ่นมีวิธีชงชาที่พิถีพิถัน จนเกิดเป็นวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ วิธีการดื่มชาของญี่ปุ่นส่วนมากจะดื่มแบบร้อนเท่านั้น แต่ที่ไทย ด้วยความที่อากาศร้อน คนจึงนิยมบริโภคแบบเย็นมากกว่า

Matcha Matcha

3. ในส่วนของกรรมวิธีการปลูกชาเขียวทางภาคเหนือของไทย กับของญี่ปุ่น ด้วยสภาพอากาศ และอุณหภูมิ ความชื้น ความสูงจากระดับน้ำทะเลต่างกัน ย่อมส่งผลให้คุณลักษณะของชา สี กลิ่น รส แตกต่างกันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละที่ การปลูกที่ไทย ส่วนมากจะปลูกช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงที่ดินมีความชุ่มชื้นเพียงพอ แต่ชาเป็นพืชที่ต้องการความชื้นสูง และสม่ำเสมอตลอดทั้งปีเพื่อให้มีการแตกยอด ที่ญี่ปุ่นชาจึงแตกยอดได้ดีกว่าด้วยสภาพภูมิอากาศของประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกียวโต เมืองที่รยล้อมด้วยภูเขา จึงทำให้ไม่ร้อนมากและมีความชื้นอยู่ในปริมาณที่เหมาะ อย่างไรก็ตามสวนชาของไทยส่วนใหญ่ยังอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติเป็นแหล่งสำคัญ ทำให้สวนชามีผลผลิตมากน้อยแตกต่างกันไปตามปริมาณน้ำฝนในแต่ละปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศและปริมาณน้ำฝนนั่นเอง

4. ชาเขียวญี่ปุ่นไม่ได้ถูกนำไปคั่วบนกระทะเหมือนของไทย แต่กลับถูกนำไปผ่านความร้อนโดยการนึ่ง และอบแห้ง ใบชาเขียวญี่ปุ่นจึงมีสีเขียวที่สด และน้ำชาก็มีสีเขียวอ่อนๆตามธรรมชาติ

Matcha

5. ชาเขียวไทยหลายเจ้ามีการผสมแป้ง ลงไปในผงชาด้วย เพื่อให้ได้ปริมาณผงชาที่เยอะขึ้น แต่รสชาติ สี ก็จะเจือจางลงตามเช่นกัน จึงไม่ต้องแปลกใจหากเจอผงชาเขียวที่ผลิตจากญี่ปุ่นแล้วราคสูงกว่าที่ไทยมาก เห็นได้ชัดจากร้านชา เครื่องดื่มตามท้องตลาด หากสั่งที่เป็นเครื่องดื่มชาเยียว จะได้เห็นได้ชัดจากสีที่ของไทยจะอ่อนจนคล้ายสีเขียวมิ้นต์

Matcha Matcha

อย่างไรก็ตาม แม้ชาที่ผลิตในไทยคุณภาพอาจจะไม่ได้เทียบเท่ากับที่ญี่ปุ่น แต่หากมาชงเครื่องดื่มตามสูตรแบบฉบับที่ร้านได้ ก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อย แต่ร้านไหนที่อยากให้ลูกค้าได้ดื่มชาเขียวเข้มข้น กรเลือกใช้ผงชาเขียว วัตถุดิบคุณภาพดีจากต้นกำเนิด ก็จะยิ่งทำให้เมนูที่ร้านน่าทานมากยิ่งขึ้น

ที่มา

https://saihojimatcha.com/pages/saihoji-faqs

https://www.instagram.com/p/BgYv1pfHjgF/

https://nourishedkitchen.com/matcha-tea-latte

บทความจาก : Fuwafuwa

หลายคนอาจสงสัย น้ำแร่ใช้ชงชาได้มั้ย ?

หากพูดถึงน้ำที่ต้องใช้ในการชงชา เชื่อว่าทุกคนต้องนึกถึงอุณหภูมิของน้ำที่ควรใช้ มากกว่าชนิดของน้ำที่ใช้ชงชา เพราะปกติแล้วเราก็จะใช้น้ำสำหรับดื่มทั่วไป อาจจะเป็นน้ำขวดธรรมดาแบบที่วางขายทั่วไป นำมาต้มให้เดือดก็เป็นอันใช้ได้ แต่บางคนอาจจะสงสัยว่า แล้วน้ำแร่สามรถใช้ชงชาได้มั้ย? น้ำแร่ได้ชื่อว่าเป็นน้ำที่มีแร่ธาตุอยู่มาก หากเอามาชงชาแล้ว จะได้ชาที่ยิ่งคุณภาพดีจริงรึเปล่า??

น้ำแร่ มี 2 ชนิด แบ่งชนิดตามปริมาณของแร่ธาตุแมกนีเซียมและแคลเซียมที่พบในน้ำ ซึ่งถ้ามีปริมาณของแร่ธาตุสูง จะเรียกว่า “น้ำกระด้าง” (Hard Water)เป็นน้ำที่มีหินปูนและแมกนีเซียมละลายอยู่ด้วยค่อนข้างมาก แต่ถ้ามีปริมาณของแร่ธาตุต่ำ ก็จะเรียกว่า “น้ำอ่อน” (Soft Water)ส่วนมากน้ำแร่ นำเข้าจากต่างประเทศจะเป็นน้ำแร่ธรรมชาติแบบน้ำกระด้าง แต่ถ้าในไทยจะเป็นน้ำแร่ธรรมชาติแบบน้ำอ่อน โดยหลักแล้วน้ำทั้ง 2 ชนิด สามารถชงชาได้รสชาติดีเหมือนกัน แต่กลิ่น สีจะแตกต่างกัน

น้ำแร่

ในการชงชา นิยมใช้น้ำอ่อนมากกว่าน้ำกระด้าง เพราะในน้ำมีปริมาณแร่ธาตุน้อย ชาที่ได้จึงมีสีเข้ม รสชาติเข้มกลมกล่อมกว่า ทำให้สามารถดื่มด่ำกับรสชาติของชาได้มากที่สุด ตรงกันข้ามกับการใช้น้ำกระด้าง ซึ่งรสชาติของแร่ธาตุจะไปกลบรสชาติของชา ทำให้เวลาดื่ม นอกจากจะไม่ได้ดื่มด่ำกับรสชาติของชาอย่างเต็มที่แล้ว และอาจมีกลิ่นคล้ายๆกับโลหะเจืออยู่ในน้ำชาอีกด้วย รสชาติและกลิ่นหอมจะอ่อนๆ สีน้ำชาจางๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่สามารถใช้น้ำกระด้างในการชงชาได้เลย เพราะสุนทรียของการดื่มชาของแต่ละคนแตกต่างกันไปตามความชอบนั่นเอง

อย่างไรก็ตามก็มีบางคนที่เน้นความสะดวก นำน้ำประปามาต้มแล้วเอามาใช้ชงชาดื่ม ซึ่งน้ำต้มที่ได้จะมีคลอรีนที่ใช้สำหรับฆ่าเชื้อโรคในน้ำละลายปนอยู่ด้วย จะมีกลิ่นอื่นเจือปนอยู่ ถ้าอยากจะใช้น้ำประปาไปต้มชงชา ควรต้มน้ำในภาชนะที่ไม่มีฝาปิดและควรเพิ่มเวลาต้ม ประมาณ 3-5 นาที เพื่อให้กลิ่นคลอรีนระเหยหมดไป

น้ำแร่

ดังนั้นในการชงชาสามารถใช้น้ำแร่ชงได้ และสามารถใช้น้ำดื่มทั่วไปที่ สด ใหม่ สะอาด บริสุทธิ์ กล่าวคือ น้ำที่ไม่มีกลิ่นอื่นเจือปน ไม่ใช้สารเคมีในการปรับคุณภาพ อีกทั้งไม่ใช่น้ำที่ผ่านการต้มมาแล้วหลายครั้ง เพราะน้ำต้มที่ผ่านการต้อมหลายครั้งจะมีออกซิเจนน้อย หากนำมาชงชาจะทำให้รสชาติชาจืดชืดไป ขาดความนุ่ม และความลึก เป็นไปได้ ควรใช้น้ำที่มีค่าน้ำเป็นกลาง (PH7)ดังนั้นจะเหมาะที่สุด

น้ำแร่ น้ำแร่

ทั้งนี้การใส่ใจกับคุณภาพน้ำอย่งเดียวไม่ได้ส่งผลต่อรสชาติของชา 100% แต่ความอร่อย รสชาติอูมามิของชา ยังต้องคำนึงถึงอุณหภูมิของน้ำ ระยะเวลาที่ใช้ชง คุณภาพใบชา และยังรวมถึงเรื่องของภาชนะที่ใช้ในการชงชาอีกด้วย

ที่มา

eatingwell.com

ourfoodstories.com

บทความจาก : Fuwafuwa

ทำความรู้จักครกหินญี่ปุ่น อุปกรณ์คู่ใจของคนทำผงมัทฉะ

ทุกวันนี้มีการให้ความสำคัญน้อยมากกับเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการสร้างผงมัทฉะ เครื่องมือนั้นคือ “อิชิอุสุ” (石臼: Ishi-usu) หรือ “ครกหิน”นั่นเอง

อิชิอุสุ อิชิอุสุ

“ครกหินญี่ปุ่น” มีลักษณะเป็นหินทรงกระบอกสองชิ้น วางทับกัน โดยมีที่จับสำหรับหมุนที่หินด้านบน สามารใช้สำหรับบดอาหารจำพวกเมล็ดข้าว ธัญพืช และใบชา ซึ่งไม่ว่าจะหมุนด้วยแรงคนหรือพลังงานไฟฟ้า การบดมัทฉะโดยครกอิชิอุสุนั้น ถ้าหมุนโดยไม่หยุดพักเลย 1 ชั่วโมงจะได้ผงมัทฉะออกมาแค่ 40 กรัมเท่านั้น จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้มัทฉะมีราคาแพงกว่าใบชา

อิชิอุสุ มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 1400 ปี สมัยก่อน คนญี่ปุ่นแทบทุกครัวเรือนจะมีอิชิอุสุไว้ใช้ ทั้งบดเมล็ดข้าวเพื่อนำแป้งไปทำเส้นอุด้ง หรือบดถั่วเหลืองเพื่อนำไปทำเต้าหู้ โดยใส่อาหารที่ต้องการบดที่รูด้านบน แล้วหมุนครกไปมา ให้หินสองก้อนเสียดสีกัน และผงที่บดออกมาก็จะตกลงมาที่ถาดรอง การใช้ครกอิชิอุสุต้องใช้แรงเยอะ สมัยก่อน เวลาหนุ่มสาวจีบกัน แม่ฝ่ายหญิงจะให้ฝ่ายชายช่วยบดแป้งจากเมล็ดข้าว แล้วให้ฝ่ายหญิงเอาแป้งที่ได้ไปทำมันจู ( ซาลาเปาญี่ปุ่นลูกเล็กๆ ไส้ทำจากถั่วแดงหรือเกาลัดกวน ) เป็นวิธีการจีบ และเรียนรู้นิสัยซึ่งกันและกันของคนญี่ปุ่นในสมัยก่อน น่าเสียดาย ที่ปัจจุบัน บ้านญี่ปุ่นที่มีครกหินแบบนี้เหลืออยู่น้อยแล้วครับ อีกทั้งครกอิชิอุสุยังมีราคาแพงมาก โดยครกเล็กๆแบบในรูปข้างล่าง มีราคาตั้งแต่ 20,000 ถึง 70,000 กว่าบาท

ศิลปะการบดชาด้วยหินถูกนำเข้ามาในญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกโดยพระในศาสนาพุทธนิกายเซนชื่อ Eisai ในศตวรรษที่ 12 เขาใช้เทคนิคที่เขาสังเกตเห็นจากชาวจีน แม้ว่าวิธีการบดหินนี้ไม่ได้รับความนิยมในประเทศจีน แต่วิธีนี้ยังคงดำเนินต่อไปในญี่ปุ่นตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา ซึ่งผงมัทฉะเข้าเป็นครั้งแรกโดยเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางพุทธศาสนานิกายเซน จากนั้นก็กลายเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับการคัดเลือกจากชนชั้นสูงของสังคมญี่ปุ่นศักดินาและปัจจุบันจนถึงปัจจุบันที่ความชื่นชมของมัทฉะแพร่กระจายไปทั่วโลก

อิชิอุสุ อิชิอุสุ

มีประโยคที่กล่าวว่า“Matcha must be powdered green tea. But notall powdered green tea is matcha…”นั้นเป็นเพราะว่าใบชาที่ดีที่นิยมนำมาบดเป็นผงละเอียดได้ ส่วนใหญ่จะเป็นใบชาเทนฉะ เพราะบดออกมาแล้วจะได้ความละเอียดมากกว่าชนิดอื่น แต่ในยุคสมัยใหม่ เมื่อผงมัทฉะเป็นที่นิยมมากขึ้น เกิดการขายตัดราคากัน ทำให้ผงชาเขียวตามท้องตลาดทุกวันนี้อาจจะมีส่วนผสมของแป้งเพิ่มเข้ามาด้วย ทำให้ผงสีเขียวที่ควรจะเป็นผงชาเขียว 100% กลับไม่ใช่ผงมัทฉะที่แท้ตามแบบฉบับคนญี่ปุ่น จะเห็นได้ชัดหากเรานำผงมัทฉะหลายๆแบรนด์ มาเทเทียบกัน อนุภาคความละเอียดของผงมัทฉะจะเห็นได้ชัดว่ามีสีและความละเอียดท่แตกต่างกันออกไป

อิชิอุสุ

ส่วนที่สำคัญอีกประการของกรบดมัทฉะ คือ วิธีการของช่างฝีมือในการบดเทนฉะ เพราะเมื่อเพิ่มใบเทนชะลงในอิชิอุสุแล้ว วิธีการบดจะควบคุมยากขึ้น เพราะ อิชิอุสุ มักทำจากหินแกรนิต ถือเป็นหินที่ “อ่อน” เนื่องจากไม่เกิดแรงเสียดทานหรือความร้อนมากนัก จึงต้องหมุนโม่หินอย่างช้าๆและเป็นระบบเพื่อให้ได้ผงละเอียด การหมุนเร็วเกินไปส่งผลให้เกิดความร้อนมากเกินไปและใบชาจะออกซิไดซ์และไหม้ได้ บวกกับผงมัทฉะที่ได้อาจจะหยาบเกินไปสำหรับการตีด้วยฉะเซน

การบดอย่างช้าๆสม่ำเสมอ นำไปสู่ผงมัทฉะที่ละเอียดประณีต พร้อมด้วยกลิ่นหอมหวานที่อุดมไปด้วยรสอูมามิ ปัจจุบันนี้ เป็นที่น่าเสียดายที่ใบชาบางที่ถูกบดด้วยลูกเหล็กหรือด้วยเครื่องปั่นพลังสูงซึ่งสามารถทำลายความสมบูรณ์ คุณภาพ สารอาหาร และรสชาติของชามัทฉะได้ เพื่อให้สามารถผลิตมัทฉะได้จำนวนมาก แต่ก็มีหลายๆที่ที่พยายามควบคุมคุณภาพการผลิต ให้คงเดิมตามแบบวัฒนธรรมญี่ปุ่นดั้งเดิมไว้ ตามพิพิธภัณฑ์ ชา ที่ฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น ก็ยังมีการโชว์เครื่องอิชิอุสุ และให้นักท่องเที่ยวสามารถทดลองบดใบชาได้เองอีกด้วย

อิชิอุสุ

ที่มา

http://www.isetan.co.jp/icm2/jsp/shops/otoriyose/wagashi/2012_04_uzuki/s01.jsp

https://photodune.net

https://mizubatea.com/blogs/news-1/the-ishi-usu-what-using-a-stone-matcha-mill-is-all-about

บทความจาก : Fuwafuwa

ปรับร้านชาเพื่อรองรับเทรนด์ผู้สูงอายุ

ในยุคของ Aging Society ที่ผู้สูงอายุเริ่มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งคนกลุ่มนี้จะมีกำลังซื้อที่สูง เนื่องจากมีสถานะทางการเงินที่ดีกว่ากลุ่มอายุอื่น และพร้อมที่จะจ่ายเพื่อให้ได้สิ่งที่มีคุณภาพ การบริการที่ดี อาหารเครื่องดื่มที่อร่อย จึงเป็นสิ่งที่ทำให้ลูกค้าที่เป็นผู้สูงอายุนี้ประทับใจและรู้สึกผูกพันกับร้านค้าได้ง่าย เพราะหากดึงดูดลูกค้ากลุ่มนี้ได้ ที่ได้กลับมาจะไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุ แต่ยังรวมถึงลูกหลานที่พาครอบครัวมารับประทานอาหารในโอกาสต่างๆ หรือซื้อเพื่อนำกลับไปฝากผู้ใหญ่ที่บ้านด้วย ดังนั้นผู้ประกอบการธุรกิจอาหารจึงไม่ควรมองข้าม ลูกค้าผู้สูงอายุกลุ่มนี้ เพราะอาจเป็นโอกาสทองสำหรับธุรกิจของคุณในอนาคตก็เป็นได้

Aging Society

การเจาะตลาดลูกค้ากลุ่มผู้สูงอายุ แม้จะต้องมุ่งเน้นไปที่ความรู้สึกคุ้มค่าผู้สูงอายุส่วนมากตัดสินใจอย่างถี่ถ้วนก่อนซื้อ และมีแนวโน้มที่จะซื้อสิ่งที่รู้สึกคุ้มค่ามากกว่า การจะซื้อเครื่องดื่ม  1 แก้ว หากร้านมีบรรยากาศที่ดี มีกรบริการที่ดี จอดรถง่าย เข้าออกสบาย ไม่โหวกเหวกเสียงดังเกินไป มีมุมผ่อนคลายสำหรับผู้สูงอายุ ก็จะเป็นสิ่งอำนวนความสะดวกเล็กๆน้อยๆที่ทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้รู้สึกคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น หรืออาจจะชูโรงเมนูเครื่องดื่มด้วยสรรพคุณของชาที่มีต่อผู้สูงอายุเพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าคุ้มค่า ดีต่อสุขภาพก็น่าสนใจทีเดียว

Matcha Matcha

เพราะนักวิจัยญี่ปุ่นจาก Graduate School of Biomedical Engineering มหาวิทยาลัยโทโฮคุ  ได้มีรายงานว่า การดื่มชาเขียวบ่อยๆ ช่วยชะลออาการซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุ ทั้งหญิงและชายได้ จากข้อมูลของผู้สูงอายุทั้งหญิงและชาย (อายุ 70 ปีขึ้นไป) ที่มีอัตราการดื่มชาเขียววันละไม่ต่ำกว่า 4 ครั้งและนำมาเปรียบเทียบกับผู้สูงอายุที่ดื่มเพียงวันละ 1 ครั้ง หรือน้อยกว่า พบว่า ผู้สูงอายุกลุ่มแรกนั้น มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าน้อยกว่ากลุ่มที่สองถึง 44% เลยทีเดียว

ผู้ทำการศึกษาวิจัยดังกล่าวเปิดเผยว่า มีงานวิจัยมากมายที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของชาเขียว ในแง่ของการลดความกังวลใจ ทำให้จิตใจสงบ แต่ยังไม่มีเรื่องในประเด็นของการลดภาวะซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุ เขาและทีมงานจึงสนใจที่จะศึกษาในประเด็นดังกล่าว และยังได้กล่าวอีกด้วยว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะกรดอะมิโน theanine ซึ่งเป็นส่วนประกอบของชาเขียวนั้นมีผลโดยตรงต่อสมอง ทำให้สมองปลอดโปร่ง และจิตใจผ่อนคลายจากความตึงเครียด จึงเป็นข้อดีที่ช่วยลดภาวะซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุได้นั่นเอง

นอกจากนี้ชาเขียวยังช่วยป้องกันภาวะความเสื่อมต่างๆของร่างกายได้ ช่วยชะลอภาวะแก่ก่อนวัยและป้องกันโรคภัยต่างๆที่มักเกิดกับผู้สูงอายุ เพราะสารต้านอนุมูลอิสระในชาเขียวอย่าง Catechins เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์แรงกว่าวิตามินซีถึง 100 เท่า และแรงกว่าวิตามินอีถึง 25 เท่า ทำให้สามารถเข้าไปกำจัดอนุมูลอิสระได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลทำให้ร่างกายปราศจากสารพิษหรืออนุมูลอิสระต่างๆ ผิวพรรณจะสดใสเปล่งปลั่ง ไร้ริ้วรอยก่อนวัย ช่วยลดภาวะการแก่ก่อนวัยได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ ชาเขียวยังมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงในการเป็นโรคความจำเสื่อมในผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่ต้องการได้รับประโยชน์ต่างๆจากการรับประทานชาเขียว ต้องดื่มชาเขียวให้ได้ประมาณ 5-10 ถ้วยต่อวัน

จะเห็นได้ว่าสรรพคุณของชาเขียวต่อผู้สูงอายุมีมากเพียงพอที่จะสร้าง Content ให้เป็นจุดขายต่อคนกลุ่มนี้ได้ โดยอีกสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญกับรายละเอียดเล็กๆน้อยๆของร้าน คือ การทำให้ร้านชาเป็นมากกว่าที่นั่งดื่มชากล่าวคือ เมื่อเกษียณจากการทำงานแล้ว ผู้สูงอายุหลายๆ คนอาจจะเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย เหงา หรือแม้แต่รู้สึกรู้สึกลดคุณค่าในตนเอง ทำให้เสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า หากลองจัดกิจกรรมที่น่าสนใจ เพื่อให้ร้านอาหารของคุณเป็นสถานที่ในการรวมกลุ่มและมีกิจกรรมร่วมกันของผู้สูงอายุ เพื่อสร้างความรู้สึกอบอุ่น ผูกพันกับร้าน และอาจจะนำไปสู่ฐานลูกค้าประจำได้ เช่น ในระหว่างนั่งดื่มชา อาจจะมีหมากกระดานให้เล่น มีหนังสือหรือแผ่นพับเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะทำให้ลูกค้าสนใจร้านของคุณ และยังแสดงถึงความจริงใจ ใส่ใจที่คุณมีต่อลูกค้ากลุ่มผู้สูงอายุอีกด้วย

Aging Society

กลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มคนที่ต้องการความใส่ใจและดูแลเป็นพิเศษ การบริการดุจดูแลญาติผู้ใหญ่ของคุณเอง อาจจะทำให้ร้านประสบความสำเร็จ และได้ใจลูกค้ากลุ่มนี้ได้ในเวลาอันสั้นเช่นกัน เช่น การเลือกชุดถ้วยชา กาชาแบบคลาสสิค ให้เหมาะกับกลุ่มผู้สูงอายุ ไม่เลือกที่เป็นลายกร์ตูน หรือแฟชั่นมาก หรือมุมโต๊ะเก้าอี้สำหรับผู้สูงอายุที่มีการจัดวางอย่างลงตัว จะทำให้ลูกค้ารู้สึกได้ถึงรายละเอียดเล็กๆน้อยๆตรงนี้

Matcha Matcha

จะเห็นได้ว่า ชา เป็นเครื่องดื่มที่ดื่มได้ทุกเพศทุกวัยก็จริง แต่ร้านเครื่องดื่มทุกวันนี้ มุ่งเน้นไปที่ร้านสำหรับวัยรุ่นและกลุ่มคนทำงานเท่านั้น โดยลืมมองไปถึงกลุ่มคนอีกเจนเนอร์ชั่นหนึ่ง ที่สามารถดื่มชาได้ และมีกำลังซื้อที่มากพอ จึงเป็นไอเดียใหม่ๆให้ผู้ประกอบการหลายคนที่อาจจะเจอทางตันของธุรกิจ หันมาลองทำร้านชาเพื่อผู้สูงอายุดู ก็ช่วยเพิ่มยอดขายและฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ๆได้เช่นกัน

ที่มา

https://www.firstlighthomecare.com/home-healthcare-temecula-valley/why-firstlight/services-quality-affordable-home-care-2/

บทความจาก : Fuwafuwa

How to เบลนด์ชาเขียวเองได้ด้วยตัวเอง

“ชาที่ดี ใบชาตั้งต้นต้องดี”  หัวใจสำคัญแรกเริ่มเลย ก่อนจะรู้จักการเบลนด์ชาเอง ใบชาตั้งตั้นที่กล่าวถึงนี้ ก็คือชาดำ ชาเขียว และชาอู่หลง พอได้ใบชาตั้งต้นดีแล้ว จะเอามาเบลนด์กับอะไร รสชาก็จะอร่อย หอมตามไปด้วย กล่าวคือ ชาเขียวที่เหมาะกับการนำมาเบลนด์เองได้นั้น ควรเป็นชาที่ปลูกในที่ภูเขาสูง อากาศเย็น อย่างที่ญี่ปุ่น ที่นั่นเขาจะดื่มชากันสดมากๆ เพราะผลิตผลเขาดีมาก ชาที่ดี จึงมักมีจุดตัดกันที่ แหล่งที่มาของชา การปลูก ดิน แหล่งชาไหนจะสร้างชามาได้เลิศกว่ากัน

แหล่งชา แหล่งชา แหล่งชา

เมื่อเราได้ชาตั้งต้นที่ดี ความสนุกและซับซ้อนของชายังอยู่ที่การเบลนด์ส่วนผสมอื่นเข้าไปเพื่อให้มีกลิ่นและรสที่มีมิติน่าสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะสมุนไพรที่นอกจากจะมีกลิ่นรสเฉพาะตัว ยังมีสรรพคุณดีๆ ที่ช่วยเรื่องสุขภาพอีกด้วย เช่น หากเลือก ดอกลาเวนเดอร์และกุหลาบตากแห้งดอกจิ๋วๆ ที่เติมความน่ารักให้ชา จะช่วยบำรุงระบบหมุนเวียนโลหิต พร้อมทั้งคลายเครียด ดอกคำฝอยช่วยลดไขมันในเส้นเลือด แถมยังช่วยให้ชาสีสวย หากใครหลับยาก ถ้าเป็น ดอกคาโมมายล์และดอกหอมหมื่นลี้ช่วยให้ผ่อนคลายและหลับสบายขึ้นดอกเก๊กฮวยแก้ร้อนใน ดีต่อหัวใจ หรือถ้าเลือกผสม ดอกอัญชันแห้งก็จะช่วยบำรุงสายตาและเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกายใบเตยแห้งช่วยลดไข้ บำรุงผิว และแก้ท้องผูก ตะไคร้แห้งช่วยขับลมและแก้คลื่นไส้ นอกจากนี้ยังมีส่วนผสมตัวอื่นๆที่น่าลอง เช่น หญ้าหวาน ข้าวเหนียวดำ ขิง มะม่วง กระเจี๊ยบ ซินนาม่อน

การเบลนด์ชา การเบลนด์ชา

พอรู้จักสรรพคุณของชาแล้ว มาลองเริ่มเบลนด์ชากันเองดีกว่า หลักการง่ายๆ ของการเบลนด์ชาเบื้องต้น เริ่มต้นง่ายๆ จากการเลือกชาและสมุนไพรที่ชอบก่อน ต้องออกแบบรส และกลิ่นไว้คร่าวๆ ก่อนว่าต้องการรสแบบไหน ประมาณไหน อยากได้รสหลักเป็นอะไร แล้วค่อยๆ ใส่ลูกเล่นเข้าไปเพิ่ม หลักการง่ายๆ คือการค่อยๆ ปรับแก้จนได้รสที่ใกล้เคียงสิ่งที่คิดไว้ สัดส่วนใบชาและสมุนไพรที่แนะนำคือ ใบชา 3 ส่วน ต่อสมุนไพร 1 ส่วนใส่ลงถุงชา หรือที่กรองชา โดยลองสกัดชาที่เบลนด์แล้วด้วยน้ำร้อนอุณหภูมิประมาณ 95 องศาเซลเซียส เทน้ำลงไปชาเหมือนเวลาชงชาปกติ เพราะจะได้ชาที่มีรสชาติพอดิบพอดี

สิ่งที่ต้องดูนอกจากรสชาติ คือ ดูสีสัน และกลิ่นที่เข้ากันได้ เช่น ไม่ควรใส่ดอกไม้ที่กลิ่นหอมทั้งคู่ กลิ่นจะตีกัน เช่น กุหลาบ กับ ลาเวนเดอร์ หรือควรจับคู่กลิ่นรสที่เสริมกัน เช่น ใบเตยกับตะไคร้ จะยิ่งให้ความสดชื่นในตอนดื่ม หากไม่แน่ใจ จะลองชงดื่มดูก่อนก็ได้ว่าได้กลิ่น สี และรสอย่างที่ต้องการหรือไม่

แต่การเบลนด์ชาก็ไม่ใช่ว่าจับอันนั้นผสมอันนี้ก็เสร็จ เพราะเรื่องสัดส่วนเป็นเรื่องสำคัญ สมุนไพร ดอกไม้บางชนิดกว่าจะแช่ในน้ำร้อนให้กลิ่นและสี ชาเขียวก็อาจจะถูกแช่จนขมไปหมด ส่วนที่ยากของการเบลนด์ชาคือ ไม่มีทางตัดสินได้ว่ารสชานั้นจะออกมาเป็นอย่างไรในการผสมของแห้ง สุดท้ายชาต้องถูกแช่ในน้ำร้อน กลิ่นและรสก็จะเปลี่ยนแปลงไปอีกจากที่เราชอบ กว่าจะได้ชา 1 เบลนด์ต้องผ่านการลองผิดลองถูกซ้ำแล้วซ้ำเล่าไม่รู้กี่ครั้ง จนได้จุดที่สมดุลที่สุด

ส่วนร้านที่เริ่มเบลนด์ชาเองได้จนเชี่ยวชาญแล้ว สามารถต่อยอดชุดชาเบลนด์ เป็นชุดของขวัญ รวมชาสรรพคุณดีๆ กลิ่นหอมๆ ใส่โหลผูกโบ หรือแพ็คลงกล่องอย่างสวยงาม แทนกระเช้าอาหารแปรรูปที่วางขายอยู่ทั่วไป ก็น่าสนใจและบ่งบอกถึงความตั้งใจในการคัดเลือกชาคุณภาพให้ผู้รับประทับใจ

ชุดชาเบลนด์ ชุดชาเบลนด์

ที่มา

http://www.lovecreatecelebrate.com/homemade-peppermint-tea/

https://creationsbyfc.com/products/tea-sampler-gift-set-10pc

https://www.anthropologie.com/wellness-teas-coffees-elixirs

http://www.womansday.com/health-fitness/10-healing-herbs-used-in-teas-75249

https://www.anthropologie.com/wellness-teas-coffees-elixirs

บทความจาก : Fuwafuwa

ทำยังไงให้ลูกค้ารู้สึกว่าชาที่ร้านคุ้มค่าสมราคา

ร้านขายชาเหมือนกัน แต่มีราคา และรสชาติที่ต่างกันตามวัตถุดิบที่ใช้ บางร้านขายราคาสูง กลับมีลูกค้าที่พอใจมาใช้บริการแทนที่จะไปร้านที่ราคาถูกกว่า สิ่งที่สามารถยกระดับร้านชานั้นขึ้นมา ให้ลูกค้าชื่นชอบและเพิ่มมูลค่าได้ นั้นคือ “การสร้างแบรนด์”เพราะแบรนด์ที่มีจุดยืนที่ชัด ถ่ายทอดให้ลูกค้าได้เข้าใจและยอมรับในแบรนด์นั้นได้ จะยิ่งช่วยให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่ากับการซื้อ ง่ายต่อการตัดสินใจโดนใจ เรียกว่าถูกใจแล้วราคาเท่าไหร่ก็คุ้มค่า

แล้วการสร้างแบรนด์ของร้านชาปัจจุบันนี้ทำยังไงได้บ้าง??

ตามทฤษฎีแล้ว Branding คือ จุดยืน บุคลิกภาพลักษณ์ และความเป็นตัวตนของแบรนด์ที่เราต้องการถ่ายทอดให้ถึงลูกค้า ผ่านการออกแบบโลโก้ สื่อโฆษณา คอนเทนต์ในสื่อออนไลน์ต่างๆ โดยการสร้างแบรนด์นี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสื่อสารให้แก่ลูกค้าว่า ร้านเราขายอะไร แตกต่างจากร้านอื่นยังไง เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคนั่นเอง

ถ้าจะยกตัวอย่างง่ายๆให้เห็นได้ชัด คงหนีไม่พ้น แบรนด์เครื่องดื่มชื่อดังอย่าง Starbucks ที่มีการสร้างแบรนด์ เป็นจุดเด่นให้ลูกค้าอยากจะถือแก้วของที่ร้านถ่ายรูปลงโซเชียล ออกเมนูเครื่องดื่มใหม่ทุกซีซั่นเพื่อสร้างความตื่นตาตื่นใจให้ทั้งลูกค้าเก่าและใหม่ได้ลอง มีการนำเมนูใหม่ให้ลูกค้าได้ทดลองชิมเพื่อต่อยอดเป็นเมนูที่ร้าน มีการทำสื่อประชสัมพันธ์ที่ชุดเจนเป็นภาพเดียวกันในทุกสาขา เพื่อสร้างภาพจำให้ลูกค้าและผู้ที่เดินผ่านไปมาเกิดความรู้สึกอยากลอง

Starbucks Matcha

ถึงแม้ว่าความอร่อยกลายเป็นพื้นฐานที่ทุกร้านควรมี แต่สิ่งที่ Starbucks จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อ ก็คือ “ความรู้สึก”ที่ ไม่ว่าจะเป็น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และจินตนาการ ล้วนแล้วแต่ถูกถ่ายทอดผ่านแบรนด์ทั้งนั้น ความครีเอทจากเมนูชาเขียวแบบเดิมๆ ก็มีการผสมผสานเอาวัตถุดิบตัวอื่นมาเสริม ให้คนรักชาได้รู้สึกว้าวได้ตลอด อย่าง Starbucks’ Matcha Lemonade หรือ Matcha Espresso Fusion Calories ที่มีเบสเป็นชาเขียว ซึ่ง Starbucs ก็เอาใจกลุ่มลูกค้าที่ทานที่ร้านแล้วติดใจในรสชาติ ด้วยการออกสินค้าพร้อมดื่มให้ไปชงทานต่อที่บ้านเองได้ในราคาที่ถูกลง เป็นการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ทุกรูปแบบ

Starbucks Matcha

นอกจากการสร้างแบรนด์แล้ว ถ้าถ่ายทอดไม่ดี ก็ไม่อาจสร้างความรู้สึกร่วมให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่ากับสิ่งที่ต้องจ่ายไปได้ การสร้างการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) ก็เป็นสิ่งที่จะทำให้ลูกค้าได้เข้าถึงสินค้าเรามากขึ้น เช่น ชาที่ร้านเป็นชาเขียวพรีเมี่ยมอย่างดี นำเข้าจากญี่ปุ่น ทำให้ราคาค่อนข้างสูง ดังนั้นเราต้องสร้างแบรนด์ให้เห็นชัดเจน อาจจะด้วยบรรยากาศภายในร้าน เครื่องถ้วยชามที่ทำให้เห็นถึงความเป็นญี่ปุ่น และอาจจะมีการเสิร์ฟแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม คือ เสิร์ฟคู่ขนมวากาชิ  หรือการชงชด้วยกรใช้ฉะเซน ตามแบบต้นฉบับวัฒนธรรมญี่ปุ่น เพื่อให้ลูกค้าได้รู้สึกถึงกลิ่นอายอย่างชัดเจน

Brand Awareness Brand Awareness

อย่างไรก็ตาม เพราะ Brand Awareness คือ การสร้างรับรู้ต่อแบรนด์ ผ่านการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก เน้นย้ำถึงจุดเด่นของแบรนด์ผ่านทุกองค์ประกอบภายในร้าน เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุด ร้านชาบางร้านจึงเลือกจับกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นหรือ First Jobber เพื่อมุ่งเน้นไปที่ไลฟ์สไตล์ การจัดตกแต่งที่สวยงาม น่าทาน ดูมีชีวิตชีวา ทำอยู่ในรูปแบบคอนเทนท์หลายๆแบบ เพื่อให้เกิดกระแส มาที่ร้านเพื่อถ่ายรูปลงโซเชียล ได้ภาพสวยๆจากอาหารน่าทานนั่นเอง

Brand Awareness Brand Awareness

นอกจากเรื่องแบรนด์ดิ้งแล้ว การสร้างประสบการ์แปลกใหม่ หรือความตื่นเต้นให้ลูกค้ารู้สึกอินกับเครื่องดื่มที่ร้าน จนประทับใจ ถูกใจยอมที่จะจ่ายในราคาที่สูงขึ้น เพื่อสัมผัสความพิเศษที่แตกต่าง ก็เป็นอีกไอเดียที่เป็นจุดขายให้ที่ร้านได้ไม่มากก็น้อย อย่างเช่น การเสิร์ฟชาในภาชนะที่แปลกตา อาจจะเป็นแก้ว 2 ชั้น เพื่อให้เห็นสีและของในแก้ว หรือจะเป็นเอาใจคอเบเกอรี่ด้วยการเสิร์ฟชาเขียวลาเต้อุ่นๆในถ้วยที่ทำจากคุ้กกี้ เป็นการสร้างความรู้สึกใหม่ๆให้ลูกค้ารู้สึกดีได้ ซึ่งภาพลักษณ์ของร้านที่ดีนี้ จะช่วยส่งผลต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าทั้งใหม่และเก่า

Matcha

การทำให้ลูกค้ารู้สึกดีต่อร้าน สามารถเริ่มทำได้ง่ายมาก อาจเริ่มต้นจากการนำคอมเมนต์ดีๆจากลูกค้าเก่า มาบอกเล่าประสบการณ์ผ่านสื่อของร้าน หรืออาจจะเป็นการทำ CSR ก็จะช่วยให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจร้านเรามากขึ้นนั่นเอง

ที่มา

shorturl.at/eiISU

shorturl.at/jsMR1

thestayathomechef.com

http://matchalatteicetea.blogspot.com

บทความจาก : Fuwafuwa

ไอเดียเมนูเบเกอรี่ชาเขียวแบบไม่ง้อเตาอบ

การทำเบเกอรี่อาจจะดูเป็นเรื่องยุ่งยากของใครหลายๆคน ทั้งด้วยเรื่องอุปกรณ์ที่ต้องลงทุนเพิ่มมากมาย เตาอบก็กินพื้นที่ในร้าน แถมการอบขนมก็ยังควบคุมคุณภาพยากไปสำหรับมือใหม่หัดลองทำขนม ลองมาดุไอเดียดีๆของขนม”ไม่อบ” ทำง่าย ใช้เวลาไม่กี่นาทีเท่านั้นเอง แถมเพิ่มเทคนิคในการจัดตกแต่ง ทำให้ขนมไม่อบที่แสนง่าย สวยน่าทาน ดูมีมูลค่ามากขึ้น

เริ่มจาก เมนูแสนง่ายอย่างเครปเค้กชาเขียวที่ใช้เพียงกระทะ ในการทำแผ่นแป้งเครป สามารถครีเอทเมนูน่าทานได้

เครปเค้กชาเขียว เครปเค้กชาเขียว

เริ่มจากนำไข่ 3 ฟอง +  นม 1 ½ ถ้วย + น้ำตาล 1 3/4 ช้อนโต๊ะ + แป้ง 1 ถ้วย + ผงมัทฉะ 1 ช้อนโต๊ะ + ผงฟู 1 ช้อนชา และ เนยละลาย 2 ช้อนโต๊ะ  ผสมให้เข้ากัน เทส่วนผสมทั้งหมดหลังจากคนเข้ากันแล้ว ผ่านกระชอนและพักไว้ในตู้เย็น 2 ชั่วโมง เอาออกมาทอดบนกระทะ บางๆ ให้สุกทั่ว แล้ววางพักไว้ให้เย็น ต่อที่การทำครีมสดแสนอร่อย เพียงนำ วิปปิ้งครีม 3/4 ถ้วย + น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ + เหล้ารัม 1 ช้อนโต๊ะมาตีด้วยตะกร้อมือจนตั้งยอดแข็ง แช่เย็นพักไว้

นำแป้งมาาวาง สลับกับการปาดครีมสดลงไปบาางๆที่ละชั้นซ้อนกันจนสูงเท่าท่ต้องการห่อด้วยพลาสติกให้แน่นและแช่แข็งเป็นเวลา 4 ชั่วโมง เอามาตกแต่งตามสไตล์ที่ชอบ เช่น เทช็อกโกแลตลงบนเครปแล้วปล่อยให้แห้ง

โรยด้วยผงมัทฉะและทองคำเปลว หรือจะครีเอทไปอีกตั้งแต่ตอนวางแป้งเครป จากการวางซ้อนกัน ให้เป็นการวางเป็นวงกลมแทน ก็จะได้ขนมไม่อบในรูปแบบเก๋ไก๋ ไม่ซ้ำร้านไหนเลย

มูสชาเขียว

นอกจากเครปเค้ก การทำมูสชาเขียว ก็เป็นขนมอีกประเภทที่นิยมทำกัยสำหรับครัวที่ไม่มีเตาอบ เพิ่มความแตกต่างหลากหลายด้วยการจัดตกแต่งที่ทำให้ขนมดูสวย น่าทาน สามารถดูวิธีทำมูสชาเขียวได้ที่ https://matchazuki.com/matcha-mousse-pie/

อีกเมนูที่เป็นสูตรหวานน้อย และเป็นที่นิยมในกลุ่มคนรักสุขภาพ คือ การทำ มัทฉะบาร์

มัทฉะบาร์ มัทฉะบาร์

แป้งข้าวโอ๊ต ผงมัทฉะและเกลือ ส่วนผสมสำคัญที่ใช้ในการทำขนมไม่อบตัวนี้ เททั้งหมดลงในชามผสมขนาดใหญ่คนให้เข้ากัน ใส่น้ำเชื่อมเมเปิ้ล เนย นมอัลมอนด์และวานิลลา ผัดจนได้แป้งโดว์ ใช้มือเปียกกดลงในจานอบที่เตรียมไว้ให้เท่าๆ กัน เคลือบช็อกโกแลตโดยใส่ช็อกโกแลตชิพน้ำมันมะพร้าวและเนยลงในชาม เข้าไมโครเวฟ 20 วินาที หรือจนกว่าจะละลาย เทช็อกโกแลตให้ทั่วแท่งแล้วใช้ไม้พายเกลี่ยให้ทั่ว แช่แข็งอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนหั่นเป็นแท่งตามขนาดที่ต้องการ บางร้านใช้การผสมธัญพืชเข้าไปอีกเพื่อให้มีสารอาหารที่มากขึ้น

Matcha Bar

พานาคอตต้าชาเขียวขนมอีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่ต้องใช้เตาอบ ทำง่าย และสามารถเปลี่ยนพิมพ์ได้หลากหลายทรงตามความชอบ และตกแต่งได้หลายแบบ ทั้งราดซอสสตอเบอรี่ โรยถั่วพิตาชิโอ้ ขนมไม่อบ ทานแบบเย็นเหมาะกับอากาศร้อนๆบ้านเรา

พานาคอตต้าชาเขียว พานาคอตต้าชาเขียว

วิธีทำพานาคอตต้าชาเขียวอย่างง่าย เพียงแค่ แช่เจลาติน 8 กรัม ในน้ำเย็นจนนิ่ม เทใส่ครีม 750 มล. + นม 300 มล + น้ำตาลทราย 160 กรัม และกลิ่นวนิลา คนด้วยไฟอ่อนๆ จนเจลาตินละลายหมดแล้วจึงนำออกจากเตา กรองส่วนผสมลงในแม่พิมพ์แล้ว แช่เย็นเป็นเวลา 4 ชั่วโมงหรือข้ามคืน เวลาเสิร์ฟ สามารถเสิร์ฟได้ทั้งพิมพ์ หรือเทออก ก็ได้ตามความชอบ

พาร์เฟต์ชาเขียว พาร์เฟต์ชาเขียว พาร์เฟต์ชาเขียว

อีกหนึ่งเมนูที่เห็นบ่อยที่ญี่ปุ่น คือ พาร์เฟต์ชาเขียวที่ถูกจัดแต่งอย่างสวยงามในแก้วทรงสูง เรียงสลับกับครีมสดหลากหลายรสชาติกันตามสไตล์ของแต่ละร้าน ขนมที่ไม่ต้องใช้เตาอบ และเตรียมวัตถุดิบง่ายที่สุด ท้อปปิ้งด้วย นามะมัทฉะช็อคโกแลต หรือจะเป็นวุ้นชาเขียวญี่ปุ่น ที่เรียกว่า โยคัง ก็ได้ เพิ่มความหนึ่บระหว่างชั้นด้วยโมจิก้อนกลม  แก้เลี่ยนระหว่างชั้นด้วยผลไม้รสเปรี้ยว คอนเฟลค หรือถั่ว เพียงแค่นี้ ก็ได้ขนมแสนอร่อยโดยไม่ต้องใช้เตาอบเลย ถึงแม้ว่าการทำขนมที่อุปกรณ์จะเยอะมากจนหลายคนไม่กล้าที่จะลองทำเมนูใหม่ๆมาขายในร้าน แต่ ขนมไม่อบ ก็เป็นอีกทางเลือกที่ง่าย สะดวก และเหมาะสำหรับมือใหม่หัดทำขนมแน่นอน

ที่มา

https://www.snixykitchen.com/mint-chocolate-mousse-toasted-matcha-meringue/

https://www.hummusapien.com/matcha-protein-bars/

https://balancingandie.com/nobakematchaoatmealbars/

https://www.crazyvegankitchen.com/vegan-matcha-tiramisu-green-tea-tiramisu/

https://www.tastemade.com/videos/matcha-gold-crepe-cakes

บทความจาก : Fuwafuwa

ทำความรู้จักการปลูกชาเขียวแบบออร์แกนิค

ทำไมรสชาติของชาญี่ปุ่นออร์แกนิคจึงมีกลิ่นหอม และหวานละมุน?

Matcha

เพราะการปลูกชาออร์แกนิคเป็นการปลูกชาที่ต้องงดปุ๋ยเคมีหรือยาฆ่าแมลง ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ไม่มีการดัดแปลงพันธุกรรม (ไม่มีจีเอ็มโอ) รวมทั้งเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้ตัดต่อทางพันธุกรรม หรือวัตถุสังเคราะห์ใดๆ ซึ่งการเตรียมหน้าดินก่อนปลูก ต้องทำให้ปลอดสารพิษไม่น้อยกว่า 3 ปี และในกระบวนการผลิตต้องมีการอนุรักษ์ดินและแหล่งน้ำ เพื่อให้ผลผลิตเจริญเติบโตตามธรรมชาติอย่างแท้จริง และปลอดภัยต่อสุขภาพไม่มีสารตกค้างจากสารเคมี เนื่องจากการปลูกชาโดยทั่วไปยังมีการใช้สารเคมีและยาปราบศัตรูพืชซึ่งอาจจะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว

ปัจจุบันแม้ชาส่วนใหญ่ที่ญี่ปุ่นเป็นเพียงชาปลอดสารพิษ มีเปอร์เซ็นต์น้อยมากๆ ที่เป็นออร์แกนิค 100% เพราะเป็นเรื่องยากที่จะสร้างไร่ชาออร์แกนิคนั่นเอง เนื่องจากมีไร่ชาปลอดสารพิษมากมายอยู่ในพื้นที่ติดกัน และมีการแพร่กระจายของปุ๋ยเคมีหรือสารกำจัดศัตรูพืชและสารเคมีที่แทรกซึมผ่านดินจากฟาร์มโดยรอบสามารถเข้าสู่ฟาร์มอินทรีย์ ดังนั้นไร่ชาออร์แกนิคจำเป็นต้องสร้างพื้นที่กันชนหรือที่พักพิงระหว่างไร่ชาออร์แกนิกและไร่ชาปลอดสารพิษ เพื่อให้สภาพดินไร้สารเคมีอย่างแท้จริง

Matcha

ชาออร์แกนิคมีรสชาติที่เรียบง่ายเพราะชาได้รับสารอาหารที่มีอยู่ในดินโดยตรง และรสชาติชาจะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศด้วย การคัดเฉพาะยอดอ่อน 3 ใบบนเท่านั้น และเก็บเฉพาะช่วงเช้าก่อน 7 โมงเช้า เทคนิคที่ทำให้ชาออร์แกนิคมีรสชาติที่ละมุนพิเศษ เพราะใบชาจะผลิใบรับแสงแดดอ่อนๆ อย่างเต็มที่ และมีละอองน้ำค้างที่จะขับกลิ่นหอมและรสชาติหวานละมุนของชาให้ออกมาได้อย่างเต็มที่ในช่วงเวลาเช้านี่เองสภาพอากาศจึงเป็นอีกตัวแปรสำคัญที่ทำให้รสชาติชาเป็นเอกลักษณ์

อีกสาเหตุที่การปลูกชาออร์แกนิคได้รับความนิยมไม่มากนักเพราะว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ให้ออกผลผลิตได้รวดเร็วตามที่ต้องการ ปุ๋ยอินทรีย์จะทำงานช้าเป็นเวลา 3 ถึง 9 เดือน ในทางตรงกันข้ามปุ๋ยเคมีจะทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในเวลาประมาณ 1 เดือนเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับต้นทุนการผลิต ที่ปุ๋ยอินทรีย์จะทำงานช้า ดังนั้นต้นชาอินทรีย์จึงมีภาระมากกว่าต้นชาที่ไม่ใช่ออร์แกนิก ในทางกลับกันปุ๋ยเคมีในไร่ชาปลอดสารพิษทำให้กระบวนการปลูกง่ายขึ้นมาก ออกผลผลิตเร็ว

ดินในไร่ชาออร์แกนิกโดยทั่วไปมีอากาศมากกว่าและนุ่มกว่าดินในไร่ชาที่ไม่ใช่อินทรีย์ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณปุ๋ยที่ใช้ด้วย หากใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในปริมาณมากทำให้ดินนุ่มและโปร่งสบายขึ้น นี่เป็นเรื่องจริงสำหรับทั้งไร่ชาออร์แกนิคและไม่ใช่ออร์แกนิค ดินจะโปร่งสบายเนื่องจากแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในดินและสร้างสารอาหารและสภาพแวดล้อมที่ดีต่อใบชา

Matcha Field

ในพื้นที่ไร่ชาที่เมืองอูจิ เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงฤดูร้อน แสงแดดจะร้อนจัดและอากาศชื้น แต่ด้วยความชื้น พร้อมกับปุ๋ยที่อุดมสมบูรณ์นี้ เป็นสภาพแวดล้อมที่ดีมากสำหรับต้นชา แต่ยังเป็นสภาพแวดล้อมที่วัชพืชชื่นชอบด้วยเช่นกัน การกำจัดวัชพืชในไร่ชาออร์แกนิค ต้องใช้การถอนเถาวัลย์ออกจากต้นชา ถือเป็นงานที่ยาก เพราะชาออร์แกนิค กำจัดวัชพืชทำด้วยมือเท่านั้น และต้องกำจัดออกเพื่อป้องกันไม่ให้วัชพืชดูดซับสารอาหารจากปุ๋ยไปหมด

Matcha

ชาออร์แกนิคจะมีรสชาติที่รสชาติอร่อยกว่าชาจากไร่อื่นๆเพราะเติบโตในสภาพอากาศที่เหมาะสมและแหล่งน้ำธรรมชาติ คุณภาพดีเพราะเก็บด้วยมือ แถมยังปลอดภัยต่อสุขภาพในระยะยาว เพราะไม่มีสารเคมีตกค้าง จึงทำให้มีราคาที่สูงกว่าชาทั่วๆไปนั่นเอง

ที่มา

https://www.unclelee.com/article-history-our-tea.html

https://www.hibiki-an.com/contents.php/cnID/19

บทความจาก : Fuwafuwa

“ชาเขียว“ ของขวัญทุกเทศกาลของคนญี่ปุ่น

ชาวญี่ปุ่นมักจะมีของฝากเล็กๆน้อยๆถือติดไม้ติดมือมอบให้กันอยู่เรื่อยๆไม่ว่าจะเป็นโอกาไหนๆ เช่น หากต้องเดินทางไปต่างถิ่นหรือแม้กระทั่งทริปเล็กๆ โดยทั่วไปก็จะนืยมซื้อของฝาก หรือในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “โอมิยาเกะ” มาให้ โดยของฝากมีทั้งเป็นห่อคุกกี้น่ารักๆ ช็อกโกแลต ชาเขียว หรือของหวานญี่ปุ่นชนิดต่างๆ

ไม่เพียงแค่การซื้อของฝากจากการไปท่องเที่ยว แต่การมอบของขวัญให้แก่กันทได้เป็นวัฒนธรรมที่ฝังรากลึกลงไปของคนญี่ปุ่น อย่างเช่น วันปีใหญ่ แต่งงาน คลอดบุตร ฯลฯ ซึ่ง”ชา”ถือว่าเป็นของขวัญที่นิยมมากๆเลยก็ว่าได้ การมอบชาเขียวให้กันนั้นก็จะแฝงความหมายที่แตกต่างตามวาระโอกาสที่ให้ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความยินดี การทักทาย หรือแสดงความขอบคุณ เพราะ”ชา”เป็นสิ่งที่ชาวญี่ปุ่นดื่มกันทุกวันอยู่แล้ว นอกจากจะดีต่อสุขภาพแล้ว ให้ความรู้สึกถึงความมีคุณภาพ มีราคา ยิ่งส่งมอบให้กันเป็นชุด gift set หรือ ห่อด้วยผ้าฟุโรชิกิด้วยแล้ว ยิ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กลายเป็นเซ็ตชาที่ถูกใจผู้รับแน่นอน อีกเหตุผลที่นิยมให้ชาเป็นของขวัญ เพราะนอกจากนั้นยังเก็บรักษาได้นาน และมีขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป ทานได้ทุกเพศทุกวัย ชายังแฝงความหมายที่ดีและเป็นมงคลที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ด้วย เช่น


  • คำว่า ฉะเมียว (茶寿) ที่สะกดด้วยตัว 茶 ที่แปลว่า ชา อยู่ในคำนั้นด้วย ฉะเมียว ในความหมายคนญี่ปุ่น หมายถึง “การแสดงความยินดีฉลองอายุครบ 108 ปี” การมอบชาเป็นของขวัญจึงถือเป็นการอวยพรขอให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง อายุยืนยาว
  • ในงานแต่งงานของคนญี่ปุ่นบางพื้นที่ ได้แก่ ภูมิภาคคิวชู รวมถึง จังหวัดนีกาตะและฟุคุชิมะ จะมีการมอบ “ชุดชา” เป็นของขวัญสำหรับงานหมั้น เพราะต้นชามีอายุยืนยาว หยั่งรากลึกลงในดิน ยากที่จะถอนแล้วนำไปปลูกใหม่อีกครั้ง แสดงถึง “การแต่งงานออกเรือนของเจ้าสาวเพียงครั้งเดียว และยึดมั่นในคู่ครองไปตลอดชีวิต”
  • ในวันขึ้นปีใหม่ของญี่ปุ่นจะมีธรรมเนียมการดื่มชา ไดฟุคุฉะ (大福茶) เป็นชาที่ดื่มเพื่อขอให้ในปีนี้ปลอดภัยจากภัยพิบัติ และโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ โดยเฉพาะที่เกียวโต สืบเนื่องมาจากในสมัยก่อนที่มีนักบวชเอาชาไปแจกให้ผู้ป่วยติดเชื้อดื่ม และอาการหายเป็นปกติ การรับประทานชุดอาหารโอเซจิ (おせち料理) ในวันขึ้นปีใหม่ พร้อมดื่มไดฟุคุฉะกับบ๊วยแห้งและสาหร่ายคอมบุ วัฒนธรรมที่สืบทอดต่อกันมายาวนาน
  • คำว่า เมเดไต (めでたい) ที่แปลว่า “น่ายินดี” ในภาษาญี่ปุ่น พ้องเสียงกับคำว่า เมเดไต (芽出たい) ที่แปลว่า “ต้องการแตกหน่อ(ของยอดชา)” ดังนั้นการมอบชาเป็นของขวัญจึงมีความเป็นสิริมงคลที่คนญี่ปุ่นเชื่อว่า หมายถึง การแสดงความยินดีต่อผู้รับนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม บางตำรากล่าวว่ากชาเป็นเครื่องดื่มที่ญี่ปุ่นรับมาจากประเทศจีนพร้อมกับศาสนาพุทธ จึงให้ภาพพจน์ที่เกี่ยวข้องกับพิธีทางพุทธศาสนา ซี่งส่วนมากจะเป็นพิธีศพ จึงควรหลีกเลี่ยงที่จะให้ชาเป็นของขวัญ แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ความเชื่อนั้นก็ได้หายไป และยังมีความนิยมส่งชินชะ (新茶) ซึ่งเป็นชาแรกของฤดูที่ทำจากยอดอ่อนที่เก็บได้ครั้งแรก ให้เป็นของขวัญตามฤดูกาลมากขึ้น
นอกจากโอกาสมงคลต่างๆ ที่เราส่งมอบชากันเป็นของขวัญแล้ว ยังมีวัฒนธรรมการดื่มชาอื่นๆที่คนญี่ปุ่นจะดื่มกันอีก เช่น

  • ซากุระยุ (桜湯) ที่ได้จากการชงน้ำร้อนกับกลีบดอกซากุระที่ปรุงรสด้วยเกลือ แทนชาเขียว นิยมดื่มในโอกาสมงคล คู่กับขนมฮิกาชิ เป็นขนมแห้ง ชิ้นเล็กมีลวดลายและสีสันงดงาม คล้ายขนมผิงบ้านเรา
  • ในฤดูร้อนนิยมดื่ม มุงิชะ (麦茶) ชาข้าวบาร์เลย์เย็นๆ คลายร้อน
  • ถ้าใช้รับรองแขก จะนิยมเสิร์ฟเกียวกุโระ ( 玉露 ) หรือ เซ็นชะ ( 煎茶 ) คู่กับขนมวากาชิ
  • แต่ในชีวิตประจำวันจะนิยมดื่มโฮจิฉะ ( ほうじ茶 ) บันชะ ( 番茶 ) เก็นไมฉะ ( 玄米茶 ) คู่กับขนมเซมเบ้

เลือกชาให้ถูกประเภท ถูกเทศกาล การส่งมอบของขวัญด้วยชา จะทำให้ผู้รับประทับใจมากยิ่งขึ้น


ที่มา

https://www.hibiki-an.com/index.php/cPath/26
https://www.ooigawachaen.co.jp/blog/2015/12/16/249
https://www.alfemminile.com/none/none-s4002149.html

By : Contrary To Popular Belief