ปรับร้านชาเพื่อรองรับเทรนด์ผู้สูงอายุ

ในยุคของ Aging Society ที่ผู้สูงอายุเริ่มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งคนกลุ่มนี้จะมีกำลังซื้อที่สูง เนื่องจากมีสถานะทางการเงินที่ดีกว่ากลุ่มอายุอื่น และพร้อมที่จะจ่ายเพื่อให้ได้สิ่งที่มีคุณภาพ การบริการที่ดี อาหารเครื่องดื่มที่อร่อย จึงเป็นสิ่งที่ทำให้ลูกค้าที่เป็นผู้สูงอายุนี้ประทับใจและรู้สึกผูกพันกับร้านค้าได้ง่าย เพราะหากดึงดูดลูกค้ากลุ่มนี้ได้ ที่ได้กลับมาจะไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุ แต่ยังรวมถึงลูกหลานที่พาครอบครัวมารับประทานอาหารในโอกาสต่างๆ หรือซื้อเพื่อนำกลับไปฝากผู้ใหญ่ที่บ้านด้วย ดังนั้นผู้ประกอบการธุรกิจอาหารจึงไม่ควรมองข้าม ลูกค้าผู้สูงอายุกลุ่มนี้ เพราะอาจเป็นโอกาสทองสำหรับธุรกิจของคุณในอนาคตก็เป็นได้

Aging Society

การเจาะตลาดลูกค้ากลุ่มผู้สูงอายุ แม้จะต้องมุ่งเน้นไปที่ความรู้สึกคุ้มค่าผู้สูงอายุส่วนมากตัดสินใจอย่างถี่ถ้วนก่อนซื้อ และมีแนวโน้มที่จะซื้อสิ่งที่รู้สึกคุ้มค่ามากกว่า การจะซื้อเครื่องดื่ม  1 แก้ว หากร้านมีบรรยากาศที่ดี มีกรบริการที่ดี จอดรถง่าย เข้าออกสบาย ไม่โหวกเหวกเสียงดังเกินไป มีมุมผ่อนคลายสำหรับผู้สูงอายุ ก็จะเป็นสิ่งอำนวนความสะดวกเล็กๆน้อยๆที่ทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้รู้สึกคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น หรืออาจจะชูโรงเมนูเครื่องดื่มด้วยสรรพคุณของชาที่มีต่อผู้สูงอายุเพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าคุ้มค่า ดีต่อสุขภาพก็น่าสนใจทีเดียว

Matcha Matcha

เพราะนักวิจัยญี่ปุ่นจาก Graduate School of Biomedical Engineering มหาวิทยาลัยโทโฮคุ  ได้มีรายงานว่า การดื่มชาเขียวบ่อยๆ ช่วยชะลออาการซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุ ทั้งหญิงและชายได้ จากข้อมูลของผู้สูงอายุทั้งหญิงและชาย (อายุ 70 ปีขึ้นไป) ที่มีอัตราการดื่มชาเขียววันละไม่ต่ำกว่า 4 ครั้งและนำมาเปรียบเทียบกับผู้สูงอายุที่ดื่มเพียงวันละ 1 ครั้ง หรือน้อยกว่า พบว่า ผู้สูงอายุกลุ่มแรกนั้น มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าน้อยกว่ากลุ่มที่สองถึง 44% เลยทีเดียว

ผู้ทำการศึกษาวิจัยดังกล่าวเปิดเผยว่า มีงานวิจัยมากมายที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของชาเขียว ในแง่ของการลดความกังวลใจ ทำให้จิตใจสงบ แต่ยังไม่มีเรื่องในประเด็นของการลดภาวะซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุ เขาและทีมงานจึงสนใจที่จะศึกษาในประเด็นดังกล่าว และยังได้กล่าวอีกด้วยว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะกรดอะมิโน theanine ซึ่งเป็นส่วนประกอบของชาเขียวนั้นมีผลโดยตรงต่อสมอง ทำให้สมองปลอดโปร่ง และจิตใจผ่อนคลายจากความตึงเครียด จึงเป็นข้อดีที่ช่วยลดภาวะซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุได้นั่นเอง

นอกจากนี้ชาเขียวยังช่วยป้องกันภาวะความเสื่อมต่างๆของร่างกายได้ ช่วยชะลอภาวะแก่ก่อนวัยและป้องกันโรคภัยต่างๆที่มักเกิดกับผู้สูงอายุ เพราะสารต้านอนุมูลอิสระในชาเขียวอย่าง Catechins เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์แรงกว่าวิตามินซีถึง 100 เท่า และแรงกว่าวิตามินอีถึง 25 เท่า ทำให้สามารถเข้าไปกำจัดอนุมูลอิสระได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลทำให้ร่างกายปราศจากสารพิษหรืออนุมูลอิสระต่างๆ ผิวพรรณจะสดใสเปล่งปลั่ง ไร้ริ้วรอยก่อนวัย ช่วยลดภาวะการแก่ก่อนวัยได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ ชาเขียวยังมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงในการเป็นโรคความจำเสื่อมในผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่ต้องการได้รับประโยชน์ต่างๆจากการรับประทานชาเขียว ต้องดื่มชาเขียวให้ได้ประมาณ 5-10 ถ้วยต่อวัน

จะเห็นได้ว่าสรรพคุณของชาเขียวต่อผู้สูงอายุมีมากเพียงพอที่จะสร้าง Content ให้เป็นจุดขายต่อคนกลุ่มนี้ได้ โดยอีกสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญกับรายละเอียดเล็กๆน้อยๆของร้าน คือ การทำให้ร้านชาเป็นมากกว่าที่นั่งดื่มชากล่าวคือ เมื่อเกษียณจากการทำงานแล้ว ผู้สูงอายุหลายๆ คนอาจจะเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย เหงา หรือแม้แต่รู้สึกรู้สึกลดคุณค่าในตนเอง ทำให้เสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า หากลองจัดกิจกรรมที่น่าสนใจ เพื่อให้ร้านอาหารของคุณเป็นสถานที่ในการรวมกลุ่มและมีกิจกรรมร่วมกันของผู้สูงอายุ เพื่อสร้างความรู้สึกอบอุ่น ผูกพันกับร้าน และอาจจะนำไปสู่ฐานลูกค้าประจำได้ เช่น ในระหว่างนั่งดื่มชา อาจจะมีหมากกระดานให้เล่น มีหนังสือหรือแผ่นพับเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะทำให้ลูกค้าสนใจร้านของคุณ และยังแสดงถึงความจริงใจ ใส่ใจที่คุณมีต่อลูกค้ากลุ่มผู้สูงอายุอีกด้วย

Aging Society

กลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มคนที่ต้องการความใส่ใจและดูแลเป็นพิเศษ การบริการดุจดูแลญาติผู้ใหญ่ของคุณเอง อาจจะทำให้ร้านประสบความสำเร็จ และได้ใจลูกค้ากลุ่มนี้ได้ในเวลาอันสั้นเช่นกัน เช่น การเลือกชุดถ้วยชา กาชาแบบคลาสสิค ให้เหมาะกับกลุ่มผู้สูงอายุ ไม่เลือกที่เป็นลายกร์ตูน หรือแฟชั่นมาก หรือมุมโต๊ะเก้าอี้สำหรับผู้สูงอายุที่มีการจัดวางอย่างลงตัว จะทำให้ลูกค้ารู้สึกได้ถึงรายละเอียดเล็กๆน้อยๆตรงนี้

Matcha Matcha

จะเห็นได้ว่า ชา เป็นเครื่องดื่มที่ดื่มได้ทุกเพศทุกวัยก็จริง แต่ร้านเครื่องดื่มทุกวันนี้ มุ่งเน้นไปที่ร้านสำหรับวัยรุ่นและกลุ่มคนทำงานเท่านั้น โดยลืมมองไปถึงกลุ่มคนอีกเจนเนอร์ชั่นหนึ่ง ที่สามารถดื่มชาได้ และมีกำลังซื้อที่มากพอ จึงเป็นไอเดียใหม่ๆให้ผู้ประกอบการหลายคนที่อาจจะเจอทางตันของธุรกิจ หันมาลองทำร้านชาเพื่อผู้สูงอายุดู ก็ช่วยเพิ่มยอดขายและฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ๆได้เช่นกัน

ที่มา

https://www.firstlighthomecare.com/home-healthcare-temecula-valley/why-firstlight/services-quality-affordable-home-care-2/

บทความจาก : Fuwafuwa

ทำยังไงให้ลูกค้ารู้สึกว่าชาที่ร้านคุ้มค่าสมราคา

ร้านขายชาเหมือนกัน แต่มีราคา และรสชาติที่ต่างกันตามวัตถุดิบที่ใช้ บางร้านขายราคาสูง กลับมีลูกค้าที่พอใจมาใช้บริการแทนที่จะไปร้านที่ราคาถูกกว่า สิ่งที่สามารถยกระดับร้านชานั้นขึ้นมา ให้ลูกค้าชื่นชอบและเพิ่มมูลค่าได้ นั้นคือ “การสร้างแบรนด์”เพราะแบรนด์ที่มีจุดยืนที่ชัด ถ่ายทอดให้ลูกค้าได้เข้าใจและยอมรับในแบรนด์นั้นได้ จะยิ่งช่วยให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่ากับการซื้อ ง่ายต่อการตัดสินใจโดนใจ เรียกว่าถูกใจแล้วราคาเท่าไหร่ก็คุ้มค่า

แล้วการสร้างแบรนด์ของร้านชาปัจจุบันนี้ทำยังไงได้บ้าง??

ตามทฤษฎีแล้ว Branding คือ จุดยืน บุคลิกภาพลักษณ์ และความเป็นตัวตนของแบรนด์ที่เราต้องการถ่ายทอดให้ถึงลูกค้า ผ่านการออกแบบโลโก้ สื่อโฆษณา คอนเทนต์ในสื่อออนไลน์ต่างๆ โดยการสร้างแบรนด์นี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสื่อสารให้แก่ลูกค้าว่า ร้านเราขายอะไร แตกต่างจากร้านอื่นยังไง เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคนั่นเอง

ถ้าจะยกตัวอย่างง่ายๆให้เห็นได้ชัด คงหนีไม่พ้น แบรนด์เครื่องดื่มชื่อดังอย่าง Starbucks ที่มีการสร้างแบรนด์ เป็นจุดเด่นให้ลูกค้าอยากจะถือแก้วของที่ร้านถ่ายรูปลงโซเชียล ออกเมนูเครื่องดื่มใหม่ทุกซีซั่นเพื่อสร้างความตื่นตาตื่นใจให้ทั้งลูกค้าเก่าและใหม่ได้ลอง มีการนำเมนูใหม่ให้ลูกค้าได้ทดลองชิมเพื่อต่อยอดเป็นเมนูที่ร้าน มีการทำสื่อประชสัมพันธ์ที่ชุดเจนเป็นภาพเดียวกันในทุกสาขา เพื่อสร้างภาพจำให้ลูกค้าและผู้ที่เดินผ่านไปมาเกิดความรู้สึกอยากลอง

Starbucks Matcha

ถึงแม้ว่าความอร่อยกลายเป็นพื้นฐานที่ทุกร้านควรมี แต่สิ่งที่ Starbucks จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อ ก็คือ “ความรู้สึก”ที่ ไม่ว่าจะเป็น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และจินตนาการ ล้วนแล้วแต่ถูกถ่ายทอดผ่านแบรนด์ทั้งนั้น ความครีเอทจากเมนูชาเขียวแบบเดิมๆ ก็มีการผสมผสานเอาวัตถุดิบตัวอื่นมาเสริม ให้คนรักชาได้รู้สึกว้าวได้ตลอด อย่าง Starbucks’ Matcha Lemonade หรือ Matcha Espresso Fusion Calories ที่มีเบสเป็นชาเขียว ซึ่ง Starbucs ก็เอาใจกลุ่มลูกค้าที่ทานที่ร้านแล้วติดใจในรสชาติ ด้วยการออกสินค้าพร้อมดื่มให้ไปชงทานต่อที่บ้านเองได้ในราคาที่ถูกลง เป็นการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ทุกรูปแบบ

Starbucks Matcha

นอกจากการสร้างแบรนด์แล้ว ถ้าถ่ายทอดไม่ดี ก็ไม่อาจสร้างความรู้สึกร่วมให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่ากับสิ่งที่ต้องจ่ายไปได้ การสร้างการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) ก็เป็นสิ่งที่จะทำให้ลูกค้าได้เข้าถึงสินค้าเรามากขึ้น เช่น ชาที่ร้านเป็นชาเขียวพรีเมี่ยมอย่างดี นำเข้าจากญี่ปุ่น ทำให้ราคาค่อนข้างสูง ดังนั้นเราต้องสร้างแบรนด์ให้เห็นชัดเจน อาจจะด้วยบรรยากาศภายในร้าน เครื่องถ้วยชามที่ทำให้เห็นถึงความเป็นญี่ปุ่น และอาจจะมีการเสิร์ฟแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม คือ เสิร์ฟคู่ขนมวากาชิ  หรือการชงชด้วยกรใช้ฉะเซน ตามแบบต้นฉบับวัฒนธรรมญี่ปุ่น เพื่อให้ลูกค้าได้รู้สึกถึงกลิ่นอายอย่างชัดเจน

Brand Awareness Brand Awareness

อย่างไรก็ตาม เพราะ Brand Awareness คือ การสร้างรับรู้ต่อแบรนด์ ผ่านการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก เน้นย้ำถึงจุดเด่นของแบรนด์ผ่านทุกองค์ประกอบภายในร้าน เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุด ร้านชาบางร้านจึงเลือกจับกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นหรือ First Jobber เพื่อมุ่งเน้นไปที่ไลฟ์สไตล์ การจัดตกแต่งที่สวยงาม น่าทาน ดูมีชีวิตชีวา ทำอยู่ในรูปแบบคอนเทนท์หลายๆแบบ เพื่อให้เกิดกระแส มาที่ร้านเพื่อถ่ายรูปลงโซเชียล ได้ภาพสวยๆจากอาหารน่าทานนั่นเอง

Brand Awareness Brand Awareness

นอกจากเรื่องแบรนด์ดิ้งแล้ว การสร้างประสบการ์แปลกใหม่ หรือความตื่นเต้นให้ลูกค้ารู้สึกอินกับเครื่องดื่มที่ร้าน จนประทับใจ ถูกใจยอมที่จะจ่ายในราคาที่สูงขึ้น เพื่อสัมผัสความพิเศษที่แตกต่าง ก็เป็นอีกไอเดียที่เป็นจุดขายให้ที่ร้านได้ไม่มากก็น้อย อย่างเช่น การเสิร์ฟชาในภาชนะที่แปลกตา อาจจะเป็นแก้ว 2 ชั้น เพื่อให้เห็นสีและของในแก้ว หรือจะเป็นเอาใจคอเบเกอรี่ด้วยการเสิร์ฟชาเขียวลาเต้อุ่นๆในถ้วยที่ทำจากคุ้กกี้ เป็นการสร้างความรู้สึกใหม่ๆให้ลูกค้ารู้สึกดีได้ ซึ่งภาพลักษณ์ของร้านที่ดีนี้ จะช่วยส่งผลต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าทั้งใหม่และเก่า

Matcha

การทำให้ลูกค้ารู้สึกดีต่อร้าน สามารถเริ่มทำได้ง่ายมาก อาจเริ่มต้นจากการนำคอมเมนต์ดีๆจากลูกค้าเก่า มาบอกเล่าประสบการณ์ผ่านสื่อของร้าน หรืออาจจะเป็นการทำ CSR ก็จะช่วยให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจร้านเรามากขึ้นนั่นเอง

ที่มา

shorturl.at/eiISU

shorturl.at/jsMR1

thestayathomechef.com

http://matchalatteicetea.blogspot.com

บทความจาก : Fuwafuwa

“ชาเขียว“ ของขวัญทุกเทศกาลของคนญี่ปุ่น

ชาวญี่ปุ่นมักจะมีของฝากเล็กๆน้อยๆถือติดไม้ติดมือมอบให้กันอยู่เรื่อยๆไม่ว่าจะเป็นโอกาไหนๆ เช่น หากต้องเดินทางไปต่างถิ่นหรือแม้กระทั่งทริปเล็กๆ โดยทั่วไปก็จะนืยมซื้อของฝาก หรือในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “โอมิยาเกะ” มาให้ โดยของฝากมีทั้งเป็นห่อคุกกี้น่ารักๆ ช็อกโกแลต ชาเขียว หรือของหวานญี่ปุ่นชนิดต่างๆ

ไม่เพียงแค่การซื้อของฝากจากการไปท่องเที่ยว แต่การมอบของขวัญให้แก่กันทได้เป็นวัฒนธรรมที่ฝังรากลึกลงไปของคนญี่ปุ่น อย่างเช่น วันปีใหญ่ แต่งงาน คลอดบุตร ฯลฯ ซึ่ง”ชา”ถือว่าเป็นของขวัญที่นิยมมากๆเลยก็ว่าได้ การมอบชาเขียวให้กันนั้นก็จะแฝงความหมายที่แตกต่างตามวาระโอกาสที่ให้ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความยินดี การทักทาย หรือแสดงความขอบคุณ เพราะ”ชา”เป็นสิ่งที่ชาวญี่ปุ่นดื่มกันทุกวันอยู่แล้ว นอกจากจะดีต่อสุขภาพแล้ว ให้ความรู้สึกถึงความมีคุณภาพ มีราคา ยิ่งส่งมอบให้กันเป็นชุด gift set หรือ ห่อด้วยผ้าฟุโรชิกิด้วยแล้ว ยิ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กลายเป็นเซ็ตชาที่ถูกใจผู้รับแน่นอน อีกเหตุผลที่นิยมให้ชาเป็นของขวัญ เพราะนอกจากนั้นยังเก็บรักษาได้นาน และมีขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป ทานได้ทุกเพศทุกวัย ชายังแฝงความหมายที่ดีและเป็นมงคลที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ด้วย เช่น


  • คำว่า ฉะเมียว (茶寿) ที่สะกดด้วยตัว 茶 ที่แปลว่า ชา อยู่ในคำนั้นด้วย ฉะเมียว ในความหมายคนญี่ปุ่น หมายถึง “การแสดงความยินดีฉลองอายุครบ 108 ปี” การมอบชาเป็นของขวัญจึงถือเป็นการอวยพรขอให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง อายุยืนยาว
  • ในงานแต่งงานของคนญี่ปุ่นบางพื้นที่ ได้แก่ ภูมิภาคคิวชู รวมถึง จังหวัดนีกาตะและฟุคุชิมะ จะมีการมอบ “ชุดชา” เป็นของขวัญสำหรับงานหมั้น เพราะต้นชามีอายุยืนยาว หยั่งรากลึกลงในดิน ยากที่จะถอนแล้วนำไปปลูกใหม่อีกครั้ง แสดงถึง “การแต่งงานออกเรือนของเจ้าสาวเพียงครั้งเดียว และยึดมั่นในคู่ครองไปตลอดชีวิต”
  • ในวันขึ้นปีใหม่ของญี่ปุ่นจะมีธรรมเนียมการดื่มชา ไดฟุคุฉะ (大福茶) เป็นชาที่ดื่มเพื่อขอให้ในปีนี้ปลอดภัยจากภัยพิบัติ และโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ โดยเฉพาะที่เกียวโต สืบเนื่องมาจากในสมัยก่อนที่มีนักบวชเอาชาไปแจกให้ผู้ป่วยติดเชื้อดื่ม และอาการหายเป็นปกติ การรับประทานชุดอาหารโอเซจิ (おせち料理) ในวันขึ้นปีใหม่ พร้อมดื่มไดฟุคุฉะกับบ๊วยแห้งและสาหร่ายคอมบุ วัฒนธรรมที่สืบทอดต่อกันมายาวนาน
  • คำว่า เมเดไต (めでたい) ที่แปลว่า “น่ายินดี” ในภาษาญี่ปุ่น พ้องเสียงกับคำว่า เมเดไต (芽出たい) ที่แปลว่า “ต้องการแตกหน่อ(ของยอดชา)” ดังนั้นการมอบชาเป็นของขวัญจึงมีความเป็นสิริมงคลที่คนญี่ปุ่นเชื่อว่า หมายถึง การแสดงความยินดีต่อผู้รับนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม บางตำรากล่าวว่ากชาเป็นเครื่องดื่มที่ญี่ปุ่นรับมาจากประเทศจีนพร้อมกับศาสนาพุทธ จึงให้ภาพพจน์ที่เกี่ยวข้องกับพิธีทางพุทธศาสนา ซี่งส่วนมากจะเป็นพิธีศพ จึงควรหลีกเลี่ยงที่จะให้ชาเป็นของขวัญ แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ความเชื่อนั้นก็ได้หายไป และยังมีความนิยมส่งชินชะ (新茶) ซึ่งเป็นชาแรกของฤดูที่ทำจากยอดอ่อนที่เก็บได้ครั้งแรก ให้เป็นของขวัญตามฤดูกาลมากขึ้น
นอกจากโอกาสมงคลต่างๆ ที่เราส่งมอบชากันเป็นของขวัญแล้ว ยังมีวัฒนธรรมการดื่มชาอื่นๆที่คนญี่ปุ่นจะดื่มกันอีก เช่น

  • ซากุระยุ (桜湯) ที่ได้จากการชงน้ำร้อนกับกลีบดอกซากุระที่ปรุงรสด้วยเกลือ แทนชาเขียว นิยมดื่มในโอกาสมงคล คู่กับขนมฮิกาชิ เป็นขนมแห้ง ชิ้นเล็กมีลวดลายและสีสันงดงาม คล้ายขนมผิงบ้านเรา
  • ในฤดูร้อนนิยมดื่ม มุงิชะ (麦茶) ชาข้าวบาร์เลย์เย็นๆ คลายร้อน
  • ถ้าใช้รับรองแขก จะนิยมเสิร์ฟเกียวกุโระ ( 玉露 ) หรือ เซ็นชะ ( 煎茶 ) คู่กับขนมวากาชิ
  • แต่ในชีวิตประจำวันจะนิยมดื่มโฮจิฉะ ( ほうじ茶 ) บันชะ ( 番茶 ) เก็นไมฉะ ( 玄米茶 ) คู่กับขนมเซมเบ้

เลือกชาให้ถูกประเภท ถูกเทศกาล การส่งมอบของขวัญด้วยชา จะทำให้ผู้รับประทับใจมากยิ่งขึ้น


ที่มา

https://www.hibiki-an.com/index.php/cPath/26
https://www.ooigawachaen.co.jp/blog/2015/12/16/249
https://www.alfemminile.com/none/none-s4002149.html

By : Contrary To Popular Belief

โมเดลร้านชา ทางเลือกใหม่ของธุรกิจเครื่องดื่ม

ช่วงนี้ธุรกิจเกิดใหม่เกิดขึ้นเยอะ โดยเฉพาะแวดวงอาหาร สร้างความท้าทายอย่างมากให้กับเจ้าของกิจการเพื่อปรับตัวเข้าหาผู้บริโภค อีกทั้งยังมีปัญหามากมายไม่ว่าจะเป็นจำนวนลูกค้าหรือกำลังซื้อที่ลดลง ร้านอาหารแบรนด์ดังๆหลายร้านเริ่มหาโมเดลใหม่ๆให้ธุรกิจตัวเอง เพราะทำอะไรแบบเดิมๆ ธุรกิจก็ไม่อาจเพิ่มยอดขายต่อไปได้ การทดลองทำโมเดลใหม่ๆ เพิ่มช่องทางหารายได้ จึงเป็นโมเดลที่น่าทดลองทั้งกับผู้ประกอบการรายใหม่และรายเดิม เริ่มที่คุ้นเคยๆกันอย่าง

โมเดลร้านชา

Food Truck ที่ดัดแปลงรถให้กลายเป็นร้านขายอาหาร หรือเครื่องดื่มแบบเคลื่อนที่ได้ จุดเด่นของโมเดลนี้คือการใช้พื้นที่น้อย ยืดหยุ่นในด้านทำเลเพราะเคลื่อนย้ายได้ง่าย บริการเสิร์ฟในรูปแบบขายร้านคีออสปกติ แต่สามารถขับเคลื่อนเข้าหากลุ่มลูกค้าได้ทุกที่ที่ต้องการไม่ว่าจะเป็นตามงานอีเว้นต์ หรือบริเวณที่อยากทดลองขายโดยไม่เสียค่าเช่าที่ เพื่อเน้นการเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น โดยเฉพาะลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งวิธีทำไม่ซับซ้อน ใช้เวลาทำรวดเร็วเพื่อเน้นจำนวนลูกค้าและปริมาณการขายที่มาก ซึ่งรถ Food Truck จะเป็นลักษณะครัวเปิด โดดเด่นเรื่องกลิ่นหอม ยิ่งถ้าขายเครื่องดื่มอย่างชา กาแฟ ยิ่งสามารถดึงความหอมมาดึงดูดลูกค้าได้ อีกทั้งยังเป็นตัวกระตุ้นความสนใจของลูกค้าให้เข้ามาซื้อได้อีกทาง หลายๆ ร้านที่ญี่ปุ่น ก็เริ่มต้นจากการทำโมเดลนี้ สร้างแบรนด์และขยายธุรกิจให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น

Food Truck Food Truck

Meal Kits เริ่มจากจากกระแสการทำอาหารทานเองที่บ้านในช่วงโควิดที่หลายคนผันตัวมาเข้าครัวมากขึ้น ทำให้การขาย Meal Kits หรือชุดวัตถุดิบอาหารพร้อมปรุงเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยในชุดที่ส่งไปจะมีส่วนผสมให้พร้อมใยเมนูขั้นตอนวิธีการทำอาหารจัดส่งให้ลูกค้าไปทำทานเองที่บ้าน นอกจากจะช่วยให้มือใหม่เข้าครัวได้ง่ายๆแล้ว ยังอำนวนความสะดวกให้กับคนที่ไม่อยากออกจากบ้านไปหาซื้อวัตถุดิบ และยังประหยัดเวลาด้วย ซึ่งการจัดชุดเครื่องดื่มชา ยังไม่เป็นที่นิยมนัก จึงเป็นช่องว่างในธุรกิจเครื่องดื่มที่น่าสนใจสำหรับร้านที่มีเมนูเป็นเอกลักษณ์ แล้วสามารถนำส่วนผสมมาจัดชุดได้ เพราะการขายแบบนี้  สามารถลดต้นทุนในด้านต่างๆได้ เช่น พนักงานหน้าร้าน ค่าดูแลรักษาร้านคาเฟ่ เพียงแค่จัดชุดวัตถุดิบใบเมนูสูตรจัดส่งเดลิเวอรี่ ก็ขยายกลุ่มลูกค้าได้มากและเป็นกลุ่มที่กว้างขึ้น เช่นในชุดประกอบไปด้วยฉะเซ็น ผงชา ถ้วยชงชา วิธีการชงชา เป็นต้น ให้ลูกค้าได้สร้างบรรยากาศแบบญี่ปุ่นๆได้เองที่บ้าน

Meal Kits  Meal Kits

หรือจะเป็นชุดอุปกรณ์ทำขนมจากผงมัทฉะก็น่าสนใจไม่น้อย เพราะยุคนี้ใครๆก็เข้าครัวได้ ถ้ามีอุปกรณ์ทำขนมที่ถ้าหาซื้อเองแล้วดูจะวุ่นวาย ไม่รู้ว่าต้องใช้ผงมัทฉะความเข้มระดับไหน อุปกรณ์ก็เยอะ ทุกอย่างจะง่ายขึ้นเพียงคุณรวมชุดให้ลูกค้าเลย ทั้งแป้ง น้ำตาล เนย ผงมัทฉะ แม่พิมพ์ขนม และอุปกรณ์อื่นๆ พร้อมใบสูตร เมื่อได้ลงมือทำขนมเอง แน่นอนว่า ก็จะเกิดการถ่ายรูป แชร์ต่อในโลกโซเชียล เป็นการกระจายการรับรู้ของแบรนด์ในมุมที่กว้างขึ้นได้

Cloud Kitchen Cloud Kitchen

Ghost Kitchen หรือ Cloud Kitchen เป็นร้านอีกรูปแบบที่ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน มีแค่ครัวสำหรับทำอาหารส่งทางเดลิเวอรีเท่านั้นได้ เป็นความร่วมมือทางธุรกิจของสองแบรนด์ในการใช้ครัวกลางที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากจะช่วยลดต้นทุนแล้ว ละช่วยให้ลูกค้าออเดอร์อาหารได้หลากหลายจากที่เดียวและยังเป็นการเพิ่มประสบการณ์ให้พ่อครัว ที่สำคัญที่สุด คือ การประหยัดเรื่องต้นทุนค่าเช่าหน้าร้าน ยิ่งหากใครมีร้านชาอยู่แล้วอยากขยายสาขาแต่ไม่มีเงินทุน ก็สามารถใช้การเปิดแบบ Cloud Kitchen แทนได้ง่ายๆ

Cloud Kitchen Cloud Kitchen

โมเดลร้านชายุคนี้จึงไม่จำเป็นต้องมีแต่หน้าร้านให้เลือกซื้อและดื่มด่ำได้อย่างเดียว แต่กลับสามารถชงดื่มเองได้จากที่บ้านในรสชาติที่เหมือนกับมานั่งทานคาเฟ่ เพียงแค่ลองมุมกว้างๆดูจะเห็นโมเดลการทำธุรกิจชาอีกหลายรูปแบบที่น่าลอง

ที่มา

https://www.kenkotea.com.au/blogs/news/59665541-matcha-green-tea-fruity-parfait-recipe

https://www.gatherandfeast.com/matcha-coconut-cacao-protein-balls

http://fraeuleinanker.de/porto-hipster-coffee-guide/

บทความจาก : Fuwafuwa

สิ่งที่คนมักพลาด! เมื่อเปิดร้านชา

ร้านคาเฟ่ หรือ ร้านเครื่องดื่ม เป็นหนึ่งในธุรกิจในฝันของใครหลายคน เนื่องจากคิดว่าเป็นธุรกิจที่เปิดง่าย กำไรสูง แค่ทำเลดี ชงเครื่องดื่มอร่อย แต่งร้านให้สวยเก๋ ก็น่าจะไปรอด แต่รู้หรือไม่ว่า เปิดร้านเครื่องดื่มปัจจุบันนี้ ในตลาดที่มีการแข่งขันกันสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นการเปิดร้านก็ควรที่จะคิดคำนวนดีดี ก่อนที่จะเริ่มต้นกิจการนั้นๆ ดังนั้นก่อนที่จะเปิดร้าน หรือตัดสินใจใดๆ มาพิจารณาปัจจัยเหล่านี้ก่อน ว่าคุณพลาดอะไรไปบ้าง

1.รู้จักสิ่งที่จะขายยังไม่ดีพอ ข้อนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเลย ไม่ว่าจะเป็นใบชา ผงชา แต่ละประเภท มีที่มาจากประเทศไหน ไร่ชานั้นปลูกชา ผ่านกรรมวิธีอะไรบ้าง หากเรามีข้อมูลเหล่านี้จะทำให้เราสามารถตอบคำถามลูกค้าได้อย่างมั่นใจว่าแบรนด์เรามีจุดแข็งที่อะไร อย่าลืมศึกษาทำการทดลองถึงชนิดของชา รสชาติ กลิ่น และคุณสมบัติว่าต่างกันยังไง ใช้น้ำอุณหภูมิเท่าไหร่ในการชง สื่อที่ใช้ในการนำเสนอลูกค้าถึงความต่างของชาที่ร้าน

เมนูชาเป็นเมนูที่ร้านไหนๆก็ทำได้ แต่ทำให้แตกต่างและได้รสชาติที่คงที่นั้น เป็นเรื่องที่ต้องผ่านการฝึกฝน และเทคนิคเฉพาะตัว

Matcha Cafe Matcha Cafe

2. แบรนด์ไม่ชัดเจน เกิดจากการเห็นแบรนด์อื่นทำแล้วดี เลยทำบ้าง โดยไม่ได้ศึกษาให้ถี่ถ้วนถึงปัจจัยแวดล้อม อย่างร้านชานมไข่มุกที่เปิดเยอะมากๆในช่วงนี้ ชื่อคล้ายกัน เมนูที่เหมือนๆกัน ต่างกันที่ราคา ไม่มีเอกลักษณ์ของแบรนด์ตัวเองที่ชัดเจน จะทำให้ร้านประเภทนี้โดนกลืนได้ ก่อนเปิดร้านควรตอบให้ได้ว่า เพราะอะไรลูกค้าถึงต้องซื้อชาที่ร้านคุณ ไม่ซื้อของคู่แข่ง อาจจะเป็นเรื่องการบริการของพนักงานในร้าน เช่นมีการเสิร์ฟผ้าเย็นเช็ดมือก่อนเมื่อมาถึงที่ร้านเหมือนร้านอาหารญี่ปุ่น หรือจุดเล็กๆน้อยๆที่เราควรใส่ใจในรายละเอียด เพื่อเอามาเป็นจุดแข็งของที่ร้าน อย่างเช่นวิธีการนำเสนอการชงชาที่เคาน์เตอร์ อาจจะเป็นการดริปชา ชงด้วยกาน้ำแบบดั้งเดิม หรือชงด้วยฉะเซ็นตามแบบฉบับญี่ปุ่น  หรือใช้การ shake หรือตีด้วยที่ตีฟองนมตามแบบคนที่เร่งรีบ

Matcha Cafe Matcha Cafe

3. ลงทุนในสิ่งที่ไม่จำเป็นมากเกินไป เพราะเจ้าของร้านยุคนี้ จะโฟกัสว่าร้านต้องสวย มีมุมที่เก๋ให้ถ่ายรูปลงโซเชียลได้ สิ่งเหล่านี้ทำให้งบค่าตกแต่งร้านค่อนข้างสูงมาก จนบางครั้งอาจทำให้งบประมาณบานปลาย จริงๆ แล้วความคิดนี้ไม่ใช่เรื่องผิด แต่อย่าลืมว่า ยิ่งคุณลงทุนมากเท่าไร ระยะเวลาคืนทุนก็นานขึ้นเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้น หากคุณมีงบประมาณจำกัด แต่ลงทุนในส่วนที่ไม่จำเป็นมากเกินไป จะกระทบกับจำนวนเงินทุนที่จะนำไปสร้างรายได้เข้าร้านได้ เพราะอย่าลืมว่านอกจากการตกแต่งแล้วยังมีรายจ่ายอื่นๆ เช่น อุปกรณ์ชงชา วัตถุดิบดีๆ หรือค่าจ้างพนักงานที่มีประสิทธิภาพ การแบ่งสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะสมจึงต้องเริ่มทำตั้งแต่แรก หรือถ้าใครไม่มีไอเดียในการตกแต่ง ลองดูตามสไตล์ญี่ปุ่นที่เน้นความเรียบง่าย ดื่มชาในสวนสวยๆเงียบๆเรียบๆไม่ต้องตกแต่งหวือหวา เพิ่มบรรยากาศสไตล์ญี่ปุ่นด้วยนิตยสารภาพญี่ปุ่น ก็ทำให้เต็มอิ่มกับบรรยากาศในร้านได้

Matcha Cafe Matcha Cafe Matcha Cafe

4.เลือกทำเลผิด ไม่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย หรือเลือกทำเลในย่านที่มีคู่แข่งเยอะมากๆ หรือกำลังจะมีคู่แข่งในอนาคต คู่แข่ง เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้ยอดขายที่วางไว้ไม่ถึงเป้า อย่าลืมวิเคราะห์ว่า ละแวกนั้นมีกลุ่มเป้าหมายของเราอยู่มากน้อยแค่ไหน มีกำลังซื้อหรือเปล่า เช่นย่านนั้นเป็นย่านโรงเรียน แต่ตั้งขายชาในราคาสูงเกินอาจจะไม่เหมาะ วิเคราะห์คู่แข่งแต่ละเจ้าตั้งราคาเท่าไร มีจุดอ่อน จุดแข็งอะไรบ้าง และกลับมามองตัวเองว่าเราสามารถเอาชนะพวกเขาได้อย่างไรบ้าง

5.ลืมคำนวนต้นทุนวัตถุดิบ waste และต้นทุนแฝงอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในแต่ละวัน อย่างเช่นที่ต้องระวังมากๆสำหรับใครที่ใช้ใบชานำเข้าจากญี่ปุ่น หรือประเทศอื่นๆ อย่าลืมคำนวนค่าขนส่ง ภาษีการซื้อใบชาตรงนี้ด้วย ว่าส่งวิธีไหนมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่บ้าง วัตถุดิบบางตัวที่เสียง่าย หากซื้อมาใช้ไม่หมด อาจจะทำให้เกิด waste ได้โดยไม่รู้ตัว เช่น พวก นม น้ำแข็ง ครีม ไหนจะค่าสวัสดิการ ค่าอาหาร ค่า OT จิปาถะ นอกจากนี้ยังมีค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเสื่อมของอุปกรณ์ต่างๆ ค่าแก้ว ค่าทิชชู่ ฯลฯ ซึ่งเมื่อนำมาคำนวณแล้ว กำไร 1 แก้ว จะเหลือกี่ %

6.ขาดประสบการณ์และความรู้ ต้องระวังตั้งแต่เรื่องบัญชีรายรับ รายจ่าย และการแบ่งเงินส่วนตัว กับเงินที่ร้านออกจากกัน เพื่อดูกำไรขาดทุน งบดุลต่างๆ การบริหารจัดการพนักงานรวมทั้งระบบการรับออเดอร์ การตัดสต๊อกวัตถุดิบต่างๆ ที่จำเป็นต้องเรียนรู้ เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จ

ที่มา

https://www.pinterest.com/pin/491596115581630781/

http://rover.ebay.com

https://www.morimatea.com/

บทความจาก : Fuwafuwa

เพิ่มสีสันในร้านชาด้วยไอเดีย Workshop เก๋ๆ

เปิดร้านคาเฟ่ขายอาหาร ขนม เครื่องดื่มอย่าางเดียวยุคนี้อาจจะไม่เพียงพอ คู่แข่งที่มากขึ้น บางทีก็อาจจะรู้สึกว่าร้านเงียบๆไป จัดโปรโมชั่นอย่างเดียวก็ไม่เพียงพอ การจัดกิจกรรม workshopเล็กๆในร้าน เป็นอีกไอเดีย ที่สร้างสีสันและบรรยากาศในร้านให้แปลกใหม่ขึ้น นอกจากจะช่วยสร้างประสบการณ์ให้กลุ่มลูกค้าแล้ว ยังเป็นการเพิ่มกลุ่มลูกค้าใหม่ที่อาจจะไม่เคยมาที่ร้าน แต่ชื่นชอบการ workshop ให้มาร่วมสนุกที่ร้านอีกทางหนึ่ง

5 ไอเดียกิจกรรม workshop เก๋ๆ ที่จัดได้ง่ายๆภายในร้าน ได้แก่

1.การจัด workshop ชงชาสไตล์ญี่ปุ่น ควบคู่ไปกับการทำขนมวากาชิเพราะเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมชงชาญี่ปุ่นที่ไม่เหมือนการทำขนมเบเกอรี่ ผู้ที่ชื่นชอบการทำขนมหลายคนจึงอยากลองมาเปิดประสบการณ์การทำขนมวากาชิ ที่ต้องใช้ถั่วขาวและความประณีตในการดีไซน์ขนมขึ้นมา รวมถึงการชงชาแบบญี่ปุ่นแบบเต็มรูปแบบที่คนรักการดื่มชาเขียวจะรู้สึกว่าอยากมีประสบการณ์การได้จับฉะเซ็นตีชาเขียวแก้วโปรดของคุณด้วยตัวเอง ซึ่งในระหว่างการ workshop สามารถสอดแทรกเกร็ดความรู้เรื่องชาเขียว เช่น ประโยชน์ของชา ปรัชญาการใช้ชีวิตที่ได้จากการชงชา เป็นต้น

workshop workshop

2.การทำ Tea tasting ให้คนรักชามาอินๆฟินๆกัน ไอเดียนี้เหมาะกับร้านที่มีเครื่องดื่มประเภทชาหลายแบบทั้งชาเขียว ชาโฮจิฉะ ชาเก็นไมฉะ หรือแม้กระทั่งร้านที่มีชาเขียวที่มีความเข้มข้นที่แตกต่างกัน นำชาแต่ละชนิดมาชงให้ชิมและดมกลิ่น เพื่อให้ฝึกสังเกตความแตกต่างของรสชาเนื่องจากสภาพภูมิอากาศภูมิประเทศกระบวนการผลิตชาแต่ละชนิดที่แตกต่างกัน เลยให้รสสัมผัสที่ต่างกัน การฝึกลิ้มรสและมีการให้เกร็ดความรู้กับลูกค้าในแต่ละประเภทชา เป็นกิจกรรมที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนรักชาตัวจริง อาจจะดูวิชาการไปหน่อย แต่ถ้าที่ร้านสร้างบรรยากาศให้ดูผ่อนคลาย และให้ข้อมูลแต่ละประเภทชาที่ชัดเจน จะยิ่งแสดงให้เห็นว่าร้านเรา specialist ด้านชาตัวจริง

workshop workshop

3.การทำขนมจากชาเขียว กิจกรรมนี้ทำได้ง่ายมากๆ ไม่ต้องมีความเชี่ยวชาญเจาะลึกเหมือนกิจกรรมอื่น เพียงแค่ร้านคุณมีเบเกอรี่ ที่ทำจากชาเขียว ก็สามารถเปิด Workshop เล็กๆ ให้กับคนที่อยากลองเข้าครัวเปิดเตาทำขนม แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไงได้มีโอกาสได้ลองทำขนมจากชาเขียวที่ชื่นชอบโดยมีร้านคุณคอยให้คำแนะนำตลอด อาจจัดให้แต่ละสัปดาห์ เมนูขนมจากชาเขียว หรือชาโฮจิฉะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เพื่อดึงกลุ่มฐานลูกค้าที่ติดใจวนกลับมาทำได้อีกไม่ซ้ำเมนู เช่น ทำไอศครีมชาเขียว คุ้กกี้ชาเขียว พุดดิ้งชาโฮจิฉะ เป็นต้น

workshop

4.การห่อผ้าฟุโระชิกิสไตล์ญี่ปุ่นสำหรับการมอบผงชาเป็นของขวัญอีเว้นต์นี้จะเหมาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลอย่างวาเลนไทน์ วันพ่อ วันแม่ และช่วงคริสต์มาสต์ ปีใหม่ ช่วงที่ทุกคนส่งมอบของขวัญให้แก่กัน ให้ลูกค้าของคุณมาอินกับวัฒนธรรมญี่ปุ่น ด้วยการห่อของขวัญที่ซื้อมา หรือจะเป็นซื้อชุดผงชาของที่ร้าน มาจัดแพคเกจรักษ์โลก ไม่ใช้ถุงพลาสติก ด้วยผ้าเก๋ๆ อาจจะทำเป็นมีผ้าหลายลวดลายให้ลูกค้าเลือกตามบุคลิคของผู้รับ

workshop

5.การเพ้นถ้วยชา หรือการทำคินสึงิกิจกรรมสำหรับสายอาร์ต ที่เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น ด้วยปรัชญาที่ได้จากถ้วยชาพวกนี้ได้เริ่มเป็นกระแสมากขึ้น แน่นอนว่าถ้วยชา เป็นภาชนะคู่ใจของคนเลิฟชา หากได้ลองเพ้นลวดลาย หรือรู้จักการทำเทคนิคลงรักเชื่อมถ้วยชาที่แตกได้เอง จะยิ่งทำให้อินกับการดื่มชามากขึ้นแน่นอน

workshop

ลูกค้าที่สนใจมาร่วมกิจกรรมเหล่านี้ ทางร้านสามารถตั้งเงื่อนไขได้หลายแบบเลย เช่น

  • ต้องซื้อสินค้าภายในร้านก่อน เพื่อรับสิทธิ์ workshop ในราคาที่ถูกลง หรือ
  • เข้าร่วมฟรีได้เลย หากมียอดซื้อถึง XX บาท

ในทางกลับกัน อาจจะทำส่วนลดพิเศษให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน หลังเสร็จการ workshop เพื่อเทิร์นลูกค้ากลุ่มนี้ให้กลายมาเป็นลูกค้าหน้าร้านได้ด้วยโปรโมชั่นที่ทางร้านตั้งขึ้นนั่นเอง

ที่มา

http://moichizen.exblog.jp/5313611/

http://evergreenhostel.com

http://www.boredpanda.com/flower-14/

บทความจาก : Fuwafuwa

ออกแบบโลโก้ร้านชา ให้ลูกค้าจำได้ง่าย

Logo ถือเป็นส่วนสำคัญที่เปรียบเสมือนหน้าตาของร้าน มีผลต่อการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักได้ โดยเฉพาะในยุคนี้ที่มีร้านของหวานเครื่องดื่มออกใหม่มากมาย โลโก้ที่ติดอยู่บนบรรจุภัณฑ์อาหารถ้ายิ่งจดจำได้ง่าย มีเอกลักษณ์ ก็จะยิ่งช่วยให้ลูกค้าเกิดการบอกต่อได้ง่ายขึ้นด้วย หลักการในการออกแบบโลโก้ที่ดี ให้จดจำง่ายไม่ซ้ำร้านอื่นมีเทคนิคอะไรบ้าง มาดูกัน

เริ่มจากต้องมีเอกลักษณ์ของร้านเพราะโลโก้ของร้านควรจะสื่อสารถึงตัวตนของร้าน สไตล์อาหารที่ขาย มองแล้วรับรู้ทันทีว่านี่คือร้านอาหารอะไร มีลักษณะที่สัมพันธ์กับการตั้งชื่อร้าน ถ้าไม่ไปซ้ำซ้อนกับร้านอื่นๆได้จะยิ่งดีเพราะป้องกันความสับสนของลูกค้า อย่างร้านที่ขายชาเขียวแท้ๆจากญี่ปุ่น ก็อาจจะมีการใช้ภาษาญี่ปุ่น เพื่อสื่อถึงที่มาของวัตถุดิบพระเอกของร้าน หรือใช้ดีไซน์ที่เป็นเหมือนอินตัง ( ตรายาง ) ของคนญี่ปุ่น เพื่อดึงเอกลักษณ์ดีไซน์ความเป็นญี่ปุ่นออกมาสื่อถึงที่มาของวัตถุดิบแท้ๆ

logo logo logo

โลโก้ที่ดีควรสื่อความหมายเพราะโลโก้ที่ดีจะต้องสามารถสื่อความหมายได้มากกว่าแค่บอกชื่อร้าน อย่างเช่นการใช้รูปใบชา ถ้วยชงชา หรือฉะเซ็นที่เป็นอุปกรณ์ชงชา เพื่อบ่งบอกถึงความเชี่ยวชาญในรสชาติของชาที่้ร้าน รูปที่อยู่ในโลโก้ควรจะผ่านการคิดว่ามีความหมายอย่างไร เห็นเข้าใจและจดจำได้ง่าย เพื่อสื่อสารไปให้ถึงลูกค้าได้ตรงประเด็น ซึ่งนอกจากรูปภาพ ที่ใช้ในการสื่อความหมายแล้ว สีของโลโก้ ก็ยังเป็นอีกส่วนสำคัญที่ช่วยให้นึกถึงสินค้าในแบรนด์ได้ง่ายขึ้น  อย่างเช่นการใช้สีเขียวในโลโก้ ทำให้นึกถึงชาเขียวได้ง่ายขึ้น สื่อถึงความเป็นธรรมชาติ ไม่ผ่านการปรุงแต่งจากสารสังเคราะห์

ให้โลโก้สื่ออารมณ์ของร้าน  ต้องรู้ก่อนว่าอยากให้ภาพออกมามีอารมณ์แบบไหน สอดคล้องกับร้านของเราอย่างไร เช่น ร้านขายชา ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้หญิง ไม่ได้เน้นชาที่เข้มข้น แต่เน้นการปรับสูตรไปให้หลากหลาย ผู้หญิงทานง่ายขึ้นและมีขนมอื่นๆที่ทำจากชา จะต้องใช้โลโก้ที่มีโทนสีชมพูปนเข้ามา เพื่อดึงดูดสายตาผู้หญิงที่มีความอ่อนหวาน หรือปรับเป็นโลโก้ที่เรียบๆนิ่งๆ แต่เน้นแพคเกจจิ้งสีหวานเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้หญิง

logo logo

ไม่ใช้สีสันที่มากจนเกินไปจำนวนสีที่ใช้บนโลโก้ควรอยู่ที่ 1 – 3 สี จึงจะพอเหมาะ และไม่ทำให้เกิดความสับสนนอกจากนี้ อารมณ์ของสีที่ใช้ก็เป็นสิ่งสำคัญ เช่น สีเขียว ที่สื่อถึงธรรมชาติ สุขภาพ ความสดใหม่ และการเจริญเติบโต นอกจากนั้นยังให้อารมณ์สดชื่น ผ่อนคลายอีกด้วย

logo logo logo

อย่าลืมที่จะเช็คคู่แข่งบ้างการเข้าไปดูเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดียของแบรนด์อื่นๆ ช่วยให้เราฝึกการคิดวิเคราะห์ได้ ว่าโลโก้นั้นดูดี สื่อความหมาย มีเอกลักษณ์เพียงพอรึยัง เพื่อเอามาปรับที่ร้านให้ดีขึ้น เป็นการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง ของแบรนด์ก็ว่าได้ และอย่าลืมติดตามเทรนด์ของการดีไซน์อยู่เสมอ เช่น ใช้สีแห่งปีอย่างสีม่วงอัลตราไวโอเลต หรือจะใช้การไล่เฉดสีและลูกเล่นในการพิมพ์ก็จะช่วยสร้างความโดดเด่นให้กับโลโก้ของคุณได้

แต่ก็จะเห็นได้ว่าโลโก้มีหลายแบบ ทั้งที่เป็นตัวอักษรปกติ รูปภาพ ลายกราฟฟิค หรือมาสคอต แต่ละแบบก็สื่อความหมายและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้แตกต่างกัน เช่น แบรนด์ที่มีรูปการ์ตูน โลโก้ประเภทนี้จะช่วยดึงดูดกลุ่มลูกค้าเด็กและครอบครัวได้ นอกจากนี้ยังเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการกระตุ้นให้เกิดการมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายได้อีกด้วย หรือสำหรับการใช้แค่เพียงสัญลักษณ์บางอย่าง อย่าง ใบชา ช้อนตักชา หรือฉะเซย ก้เพียงพอที่จะสื่อความหมายได้แล้วว่าร้านนี้เน้นขายชา

logo

หากลองครีเอทมาแล้วแต่ยังไม่แน่ใจว่าควรใช้จริงมั้ย ทดลองเทสต์บนหน้าเว็บไซต์หรือทำเป็นโปรไฟล์ดูก่อน หรือบางทีอาจจะทำโพลขึ้นมาให้คนเข้ามาให้ฟีดแบค เช่น ถามว่ามันดูสวยพอหรือยัง อยากแก้ตรงไหนไหม ดูเข้ากันกับเว็บไซต์หรือเปล่า เผื่อที่จะปรับแก้บางจุดเพื่อให้ลูกค้าจดจำได้ง่ายขึ้นก่อนผลิตสื่อต่างๆจริง

พอจะได้ไอเดียกันแล้วมั้ยคะ สำหรับท่านที่จะลองเปิดกิจการเป็นของตัวเอง ที่นี่ก็เริ่มลงมือออกแบบ โลโก้แบบที่ชอบ แล้วเอาไปต่อยอดลงนามบัตรร้าน แพคเกจสินค้า ในรูปแบบเดียวกันเพื่อให้เป็นภาพจำกับลูกค้า แล้วเกิดความรู้สึกอยากบอกต่อ ได้ง่ายขึ้น

logo logo logo

ที่มา

https://www.freepik.com

https://gdc.jp/archives/category/works/food

https://www.packagingoftheworld.com/2012/07/kotoha-with-yuica.html

https://www.behance.net

บทความจาก : Fuwafuwa

Matcha Breakfast Dish เมนู Matcha Yogurt

หลายคนอาจคิดว่าการได้จิบชาอุ่นๆ ในตอนเช้านั้นเป็นอะไรที่เพอร์เฟ็กต์ แต่ความจริงแล้วตอนเช้าเป็นช่วงที่ท้องกำลังว่าง หากเราดื่มชาเขียวเข้าไปจะกระตุ้นให้เกิดกรดในกระเพาะอาหาร จนอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะได้ แถมคาเฟอีนที่อยู่ในชาเขียวยังจะกระตุ้นให้ร่างกายขับน้ำออกมา อาจทำให้เรารู้สึกขาดน้ำ สมองช้า ไม่สดชื่นอีกด้วย ทางที่ดีควรกินอาหารเช้าให้เรียบร้อยก่อนแล้วค่อยตามด้วยชาเขียวสัก 1 แก้ว หรือถ้าอยากทานชาเขียวจริงๆ ลองเอาไปผสมในซุป โยเกิร์ต หรือเมนูอื่นๆที่เหมาะกับการเป็นมื้อเช้า ทำให้ได้มื้อเช้าแสนอร่อยสไตล์คนเลิฟมัทฉะ และยังเป็นการเพิ่มเมนูมื้อเช้าให้ร้านคาเฟ่ของคุณได้อีกด้วย

เริ่มกันที่เมนูเบาๆง่ายๆไม่หนักท้องและดีต่อสุขภาพ อย่าง Matcha Yogurtเมนูที่หลายคนลืมนึกไปว่าชาเขียวก็ทานคู่กับโยเกิร์ตได้

Matcha Yogurt

เพียงแค่นำโยเกิร์ตรสธรรมชาติ 300 กรัม มาผสมกับผงมัทฉะ 1 ช้อนโต๊ะ เมเปิ้ลไซรัป 2 ช้อนชา คนให้เข้ากันแล้วท้อปปิ้งด้วย กีวี ลูกพีช บลูเบอรี่ แอปเปิ้ล หรือผลไม้อื่นๆตามที่ชอบ

แต่ถ้าใครไม่ชอบทานโยเกิร์ แนะนำเป็น Matcha Breakfast Bowl ที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหาร ด้วยการนำเมล็ดเจีย 2 ช้อนโต๊ะ ผสมกับนมอัลมอนด์ หรือนมแมคคาดีเมีย หรือนมวัวแล้วแต่ชอบในปริมาณ 1 ถ้วย และผงมัทฉะ 2 ช้อนชา ปั่นรวมเข้ากัน สามารถเติมน้ำผึ้งเล็กน้อยเพื่อเพิ่มความหวานได้ตามชอบ หรือถ้าใครอยากเพิ่ม texture สามารถนำอะโวคาโดไปปั่นรวมได้ หลังปั่นแล้วสามารถเก็บในตู้เย็นได้นาน 1 วีค  ตกแต่งท้อปปิ้งด้วยสตอเบอรี่สด อัลมอนด์สไลด์ตามชอบ

อีกเมนูมื้อเช้าเบาๆสไตล์คนยุโรปอย่างMatcha Pancakeด้วยสูตรแป้งกลูเตนฟรี เหมาะกับคนที่แพ้อาหารกลุ่มแป้งสาลีใช้เวลาทำเพียงแค่ 12 นาที เหมาะกับคนที่เร่งรีบยามเช้า เริ่มด้วยผสมไข่ 2 ฟอง กับนมอัลมอนด์ ⅔ ถ้วย + น้ำมันมะพร้าว ¼ ถ้วยที่ละลายแล้ว กับน้ำตาลอ้อยและกลิ่นวนิลา คนให้เข้ากัน ร่อนแป้งกลูเตนฟรี 1 ถ้วย + ผงมัทฉะ 2 ช้อนโต๊ะ + ผงฟู  1 ช้อนโต๊ะ และเกลือเล็กน้อย ลงไปคนให้เข้ากัน หลังจากนั้น ตั้งกระทะเปิดไฟกลาง ใส่น้ำมันมะพร้าวลงไป  พอกระทะร้อน ตั้งส่วนผสมที่เตรียมไว้ใส่ลงไป ตามขนาดที่ต้องการ พอเริ่มสุกให้พลิกกลับอีกด้านจนเป็นสีเหลืองทอง สุกเท่ากันทั้ง 2 ด้าน เสิร์ฟคู่น้ำผึ้ง ผลไม้สด ตามชอบ มื้อเช้าแสนง่าย อิ่มอยู่ท้อง ^^

Matcha Pancake

เติมความหวานมื้อเช้าได้ง่ายๆกับอีกเมนูสำหรับคนเลิฟของหวานMatcha Sugar Toast ที่ใช้ส่วนผสมแค่ 3 อย่าง ทำเสร็จได้ง่ายๆภายใน 5 นาที ด้วยการนำ ผงชาเขียว ¼ ช้อนชา ผสมกับเนยเค็ม 2 ช้อนโต๊ะโดยเป็นเนยที่อยู่ในอุณหภูมิห้องและน้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ ผสมให้เข้ากัน ไปทาขนมปัง แล้วอบขนมปังในเตาให้กรอบสีสวยตามระดับความชอบ แนะนำที่อุณหภูมิ 175 องศา 2-5 นาที

Matcha Sugar Toast Matcha Sugar Toast

เพิ่มความอร่อยอีกระดับกับ Matcha cashew Butter on Toastเมนูวีแกน ที่ทำง่าย อิ่มอร่อยอยู่ท้องมื้อเช้า และสามารถนำไปทานคู่กับแพนเค้ก วาฟเฟิล หรือ สโคนก็อร่อยไปอีกแบบ เพียงแค่นำเม็ดมะม่วงหิมพานต์สับที่อบแล้ว 2 ถ้วย ผสมกับผงมัทฉะ 3 ช้อนชา กลิ่นวนิลา 1 ช้อนชา เกลือเล็กน้อย เมเปิ้ลไซรัป 2 ช้อนชา และน้ำมันมะพร้าว 3 ช้อนชา ปั่นด้วยเครื่องปั่นอาหารให้เข้ากัน เป็นอันเสร็จเรียบร้อย ทานคู่กับกล้วย โรยเม็ดมะม่วงหิมพานต์สับ และผงซินนาม่อนเล็กน้อย ยิ่งอร่อย

Matcha cashew Butter on Toast

ปิดท้ายด้วยMatcha Soup Tofu ซุปมัทฉะเต้าหู้เริ่มด้วยละลายเนยจืด ½ ถ้วย เปิดไฟกลางใส่่เห็ดหอมและต้นหอมหั่นละเอียดลงไป เติมผงมัทฉะ 2 ช้อนโต๊ะ เติมน้ำสต็อกไก่ประมาณ 8 ถ้วย และครีม 1 ถ้วย พร้อมทั้งเกลือ พริกไทยเล็กน้อย และผักโขม 1 ถ้วย เคี่ยวให้เข้ากัน ตั้งไฟคนประมาณ 10 นาที เสิร์ฟคู่กับเต้าหู้ที่นำไปกริลในกระทะจนสุกแล้ว

Matcha Soup Tofu

หากใครที่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มทำอาหารเช้าทานเองได้ยังไง สามารถลองทำตามสูตรนี้ได้ ก็จะได้เมนูมื้อเช้าอร่อยๆ เหมือนไปทานที่ร้าน 

ที่มา

https://veggiekinsblog.com/2020/01/10/matcha-cashew-butter/

https://www.bbcgoodfood.com/recipes/matcha-breakfast-bowl

https://www.menshealth.com/nutrition/g22552078/best-keto-breakfast-ideas/

https://teasquirrel.com/home/2019/9/25/the-only-matcha-pancakes-recipe-you-will-ever-need?format=amp

บทความจาก : Fuwafuwa

บริหารจัดการผงมัทฉะ ยังไงให้ยอดพุ่ง !

ในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดีแบบนี้ หลายๆร้านคงยอดขายตกลง ยิ่งเจอกับโรคระบาดอย่างโควิดด้วยแล้ว ยิ่งทำให้ลูกค้าออกมาจับจ่ายใช้สอยกันน้อยลง การควบคุมวัตถุดิบที่เคยแพลนไว้อย่างดีของหลายๆร้านอาจจะรวนได้ วัตถุดิบบางตัวราคาค่อนข้างสูง ถ้าไม่บริหารจัดการให้ดีอาจจะทำให้ร้านขาดทุนได้

วิธีง่ายๆกับการจัดการวัตถุดิบของร้านก่อนที่ของจะหมดอายุ


  • รีเช็คสต็อกวัตถุดิบทุกตัว ถึงวันหมดอายุ และวิธีเก็บรักษา อย่างพวก ผงชา ที่โดนแสงไม่ได้ ก็ควรเก็บในที่มิดชิดเข้าตู้เย็นให้ถูกวิธี เพื่อที่จะทำให้ไม่เสียก่อนวลาที่กำหนด หรืออย่างอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆก็สำคัญไม่แพ้กัน ถ้าไม่ใช้ให้ถูกวิธี อาจจะทำให้เสียง่ายต้องเสียค่าซ่อมหรือซื้อใหม่อีก อย่างวิธีตากฉะเซ็น หรือแปรงชงชา ก็ควรเสียบไว้ในที่ตั้งของมัน วางผึ่งลมให้แห้งก่อนเก็บ เพื่อป้องกันการขึ้นรา
  • ดัดแปลง ร้านขนมหวาน เครื่องดื่มหลายร้านช่วงนี้อาจจะกุมหัวคิดหนักกันหน่อย ว่าจะทำยังไงถึงจะขายได้ในเมื่อลูกค้าไม่เข้าที่หน้าร้านสิ่งสำคัญคือ การดัดแปลง ผันตัวมาทำดิลิเวอรี่ให้ได้ รูปแบบในการเสิร์ฟแต่ละเมนูที่ปกติมีความอลังการ อาจจะต้องดัดแปลง เช่น พวกเมนูน้ำ อาจจะใช้เป็นเวอร์ชั่นใส่ขวดส่งแทน ง่ายต่อการดิลิเวอรี่ ลูกค้าได้รับก็ประทับใจ หรือจะอย่างพวกเมนูขนมหวาน ที่ลองดูวิธีการเสิร์ฟ ว่าแบ่งซอส แบ่งองค์ประกอบหลักของขนมใส่กล่องบริการเสิร์ฟยังไงได้บ้าง
  • ต่อยอด จากวัตถุดิบเดิมในร้านให้มากที่สุด วัตถุดิบบางอย่างที่เป็นของสดเสียง่ายอย่างนมสด หรือ ครีม ที่สั่งมาสต็อกไว้แล้ว ต้องดัดแปลงเมนูที่สามารถทำเสิร์ฟลูกค้าให้ได้ ก่อนที่จะเสีย เช่น อาจจะนำนมบางส่วนไปเป็นส่วนผสมของการทำขนมปัง ซึ่งเวลาในการเก็บรักษาขนมปังก็จะยืดได้นานกว่านมสดทั่วไป หรือ ใครที่สต็อกผงชาไว้เยอะ สำหรับทำเมนูต่างๆในร้าน ก็สามารถแบ่งชาออกมาส่วนนึง ผสมกับแป้ง ผงฟู แล้วแพ็คขายเป็น Matcha Pancake Powder สูตรเฉพาะของที่ร้าน เพื่อให้ลูกค้าสามารถสั่งไปทำแพนเค้กทาน เป็นการเพิ่มกิจกรรมทางอ้อมให้ลูกค้าไปสนุกกันเองในช่วงต้องอยู่บ้านนานๆเอง

เพียง 3 เทคนิคง่ายๆ ก็ช่วยให้วัถุดิบในร้าน ถูกใช้อย่างเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด แต่ถ้าใครอยากซื้อวัตถุดิบเข้าร้านเพิ่มเติมก็สามารถสั่งผงชาเขียวมัทฉะ ผงชาโฮจิฉะ และอุปกรณ์ชงชาอื่นๆ เพิ่มได้ที่ https://matchazuki.com/shop/ เรามีบริการส่งถึงหน้าบ้านเลย

ที่มา

https://www.willfrolicforfood.com/blog/grain-free-chickpea-ravioli-with-almond-ricotta-filling

https://www.ohhowcivilized.com/matcha-bubble-tea/

https://kirbiecravings.com/the-best-matcha-powder/

https://www.aarp.org/home-family/friends-family/info-2017/milk-delivery-service.html

By : Contrary To Popular Belief

Share on facebook
Share on twitter

Blogs

เลือกใช้ Pantone สีชายังไงให้เป๊ะ

ทำไมเราจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการทำสื่อและการถ่ายภาพเมนูของที่ร้านมากๆ  ???

เพราะ สี คือ ส่วนสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในงานออกแบบ เพราะสีจะกำหนดความรู้สึกและสร้างอารมณ์ของผู้รับชม ไม่ว่าจะเป็นสีโทนเดียว(monochromatic), สดใส(bright), สดชื่น(cool), อบอุ่น(warm), หรือการเติมเต็มเฉดสีที่หลากหลายให้ทำหน้าที่ที่แตกต่างกันในหนึ่งชิ้นงานออกแบบ

tea pantone tea pantone

ชาแต่ละชนิด ให้สีที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีเก็บเกี่ยวและผลิต สเน่ห์ของสีชาที่ไม่ฉูดฉาด ดูแล้วสบายตาตามธรรมชาติ เช่น มัทฉะ ให้สีเขียวเข้ม ชาโฮจิฉะให้สีน้ำตาลแดงที่เกิดจากการนำชาเขียวไปคั่ว หรือชาอู่หลงที่ค่อนออกไปทางสีเหลืองทอง สีเหล่านี้ หากมาอยู่ในโปสเตอร์ หรือแพคเกจของร้าน การดึงจุดเด่นและเลือกใช้คู่สีที่เหมาะกัน เลือกใช้ชุดสี Pantone ที่ช่วยกันส่งเสริมให้ภาพดูเต็ม จะช่วยทำให้ภาพนั้นๆดูแล้วสบายตา ดึงดูดได้ง่ายขึ้น และที่สำคัญหากมีชุดสีในใจจะช่วยให้คุณบรีฟงานกราฟฟิคดีไซน์ที่ออกแบบไม่ว่าจะเป็นเมนูชา แพคเกจจิ้งของที่ร้าน เข้าใจไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น

หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าPantone ที่ว่าหมายถึงอะไร ??

Pantone คือ ชื่อบริษัทที่ทำธุรกิจการพิมพ์และการออกแบบในสหรัฐอเมริกา หลายคนจะรู้จักกันในนามผู้ที่กำหนดมาตรฐานการเทียบสีที่เรียกว่า Pantone Matching System (PMS) เพื่อใช้ในโรงพิมพ์ทั่วโลก

เวลาเราพิมพ์โปสเตอร์ ทำฉลากออกมา หรือหาคู่สีสำหรับการทำสื่อของผลิตภัณฑ์ชาเขียว เชื่อว่าหลายคนคงเจอปัญหาที่ว่าเลือกยังไง สีชาก็เพี้ยนไม่ตรงตามต้องการอยู่ดี การมี Pantone ไว้เทียบสีที่ชอบสักชุด ก็จะช่วยให้ได้งานที่เป๊ะมากขึ้น เพราะบางทีหากเราดูงานพิมพ์จากหน้าจอ แต่ละหน้าจอ ความสว่างจะไม่เท่ากัน สีอาจจะเพี้ยนได้ง่ายซึ่งการเลือกใช้สีนี้ สามารถนำเทคนิคไปปรับกับการจัดเซ็ตองค์ประกอบภาพเพื่อถ่ายภาพได้เช่นเดียยวกัน

ประเด็นแรกที่ต้องคำนึงในการเลือกใช้สีคือ สีที่เยอะเกินไป อาจจะทำให้งานของดูสับสน ไม่ดึงดูดเท่าที่ควร วิธีที่คนส่วนมากแนะนำกันคือ เลือกใช้สีสัก 2 – 3 สีในงานออกแบบนั้นๆ ใช้เทคนิคประสว่างสีให้เข้มอ่อนจาก 2-3 สีนั้น จะทำให้งานชิ้นนั้นมีมิติมากขึ้น ลองใช้ color wheel เลือกดูได้เลย รับรองว่างานของคุณจะออกมาดูสะอาด สำหรับพื้นที่ว่างลองเพิ่ม  textures ลองไปสักนิด จะได้ออกมาไม่เรียบจนเกินไป หากเน้นขายเมนูชาโฮจิฉะ ที่มีสีน้ำตาลของชา ก็ควรใช้สีโทนส้ม คู่กันและปรับความเข้มอ่อนของสีชาลง

tea pantone tea pantone

เทคนิคการเลือกสีหลัก แล้วหาสีที่เข้าคู่กันลองคิดว่างานที่กำลังออกแบบเป็นงานอะไร เป็นกีฬา, แฟชั่น, ความงาม, หรือธุรกิจ เพราะอารมณ์ของแต่ละงานก็เลือกใช้สีที่ไม่เหมือนกัน อยากจะให้อารมณ์งานออกมาอ่อนนุ่มหรือรุนแรง แล้วลองใส่รายละเอียดเอาไปอีกนิด จะไดู้่สีที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว อย่างเช่น ชาเขียว สีหลักคือสีเขียว สีที่เข้าคู่กันได้คือ สีชมพู ที่จะช่วยให้ภาพดูอ่อนโยน เข้าถึงได้ง่าย เป็นมิตรต่อผู้บริโภค หรือถ้าเป็นสีชาโทนส้มน้ำตาล ก็สามารถนำสีชมพูมาใช้คู่ได้เช่นกัน

tea pantone tea pantone

หรือหากใครคิดไม่ออกจริงๆ ลองเข้า Pinterest แหล่งรวบรวมงานออกแบบมากมาย ที่จะทำให้ได้ไอเดียและกลุ่มโทนสีที่มีการจับคู่ไว้ให้แล้วเพื่อมาใช้ในการจัดองค์ประกอบภาพถ่ายรูปสินค้า และใน Pinterest ก็จะมีค่าสีแสดงอยู่ ง่ายต่อการใช้งานมากขึ้นเพราะเราไม่ต้องมานั่งเทียบเองว่า ชาสีเขียว ต้องใช้เขียวแบบไหน แค่พิมพ์ค่าสีนั้นลงๆไปก็จะได้สีชาที่เป๊ะถูกต้องนั่นเองหรือถ้าไม่แน่ใจว่าต้องใช้ Code สีไหน อีกวิธี ทีจะช่วยให้ได้สีชาที่ใกล้เคียงกับของจริงมากที่สุด คือ การดูดสีเอาจากภาพที่มีสีชาที่เราต้องการ 

เราจึงรวบรวมตัวอย่างโทนสีที่นิยมใช้กันในการทำ Artwork มาให้คนรักชาเขียวเป็นไอเดียในการใช้งานที่ง่ายและสะดวกขึ้น

tea pantone tea pantone tea pantone

tea pantone tea pantone tea pantone tea pantone

ที่มา

https://colorpalettes.net/wp-content/uploads/2014/08/cvetovaya-palitra-478.jpg

http://color.romanuke.com/tsvetovaya-palitra-2164/

บทความจาก : Fuwafuwa

ส่งต่อความอร่อย เพิ่มยอดขายด้วยกลยุทธ์ OEM

ในยุคที่เศรษฐกิจไม่ค่อยดี ร้านค้าหลายร้านก็ถูกปิดตัวลง ร้านที่ยังอยู่รอดก็พยายามงัดหลากหลายกลวิธี ทั้งออกสินค้าใหม่ จัดกิจกรรม จัดโปรโมชั่นต่างๆ เพื่อดึงดูดลูกค้าให้กลับเข้าร้านมากขึ้น แต่มีอีกวิธีหนึ่งที่หลายแบรนด์อาจจะมองข้ามไป นั่นคือ การรับผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่างๆ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ OEM

OEM ย่อมาจาก Original Equipment Manufacturer คือ การที่ร้านค้าไหน หรือแบรนด์ใดที่มีจุดเด่นในเรื่องการผลิตสินค้าสามารถเข้ารับจ้างผลิตสินค้าให้กับบริษัทอื่นๆได้ โดยเป็นลักษณะของการ Collaboration หรืออาจจะเป็นการผลิตให้แบรนด์อื่นๆเพื่อไปขายในแบรนด์ของตัวลูกค้าเองขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าโดยการใช้กระบวนการผลิตของโรงงานหรือร้านค้าเองตั้งแต่ฝ่ายผลิต ไปจนถึง เครื่องจักรต่างๆสำหรับการผลิต ซึ่งลูกค้าที่มาจ้างร้านค้าหรือโรงงานผลิต อาจจะมีความเชี่ยวชาญไม่มากพอในการทำสินค้าชนิดนั้นๆ หรือเล็งเห็นถึงความสามารถและเอกลักษณ์ของโรงงานหรือร้านค้านั่นๆว่าสามารถผลิตสินค้าตามเสปคได้ 

ในมุมมองลูกค้าหรือแบรนด์อื่นๆที่มาจ้าง

  • ถือว่าช่วยลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงได้เพราะสามารถย้ายฐานการผลิตไปที่อื่นๆที่ต้นทุนต่ำกว่าได้ตลอด
  • เจ้าของแบรนด์ไม่ต้องมีโรงงานเป็นของตัวเอง ง่ายต่อการเปลี่ยนลักษณะหรือกลยุทธ์ทางธุรกิจ
  • มีผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาทางการผลิตคอยดูแลให้ ได้วัจถุดิบตามมาตรฐานที่ต้องการโดยไม่ต้องลงแรงในการเสาะหาเองตั้งแต่ขั้นแรก

แต่ถ้ามองในมุมมองของร้านค้าหรือโรงงานที่รับผลิตสินค้าให้

  • มีร้ายได้อีกช่องทางเพิ่มมากขึ้นโดยที่ไม่ต้องลงทุนคิดสินค้าเองตั้งแต่ต้นจนจบ เพราะมีสูตรจากทางผู้ว่าจ้างมาให้แล้ว
  • ประหยัดต้นทุนทางการตลาดในการโฆษณาสินค้านั้นๆ เพราะผู้ผลิตไม่ได้เป็นคนขายสินค้าเอง
  • ไม่ต้องคำนึงถึงการบริหารจัดการสต็อกสินค้าเอง เพียงแค่ทำตามออเดอร์ที่แบรนด์อื่นๆมาว่าจ้างให้ผลิต

อย่างไรก็ตามการรับทำ OEM ให้แบรนด์อื่นๆ นอกจจากจะต้องคิดต้นทุนให้รอบคอบก่อนนำเสนอราคาขายให้แบรนด์ที่มาว่าจ้างแล้ว ยังต้องคำนึงถึงราคาที่แบรนด์นั้นๆจะไปขายต่อผู้บริโภคด้วย เพราะถ้าเราตั้งไว้สูงตั้งแต่แรก เจ้าของแบรนด์เขาต้องไปบวกราคาเพิ่มอีกกว่าจะถึงลูกค้า สินค้าชิ้นนั้นๆอาจจะราคาสูงเกิน ทำให้ยอดขายไม่ดีได้เช่นกัน

นอกจากนั้นแล้วการรับ OEM ต้องคำนวนถึงค่าขนส่งสินค้า ด้วยเช่นกันว่า ราคาที่เราตั้งนั้นรวมถึงค่าขนส่งหรือยัง และจำเป็นจะต้องมองยาวไปถึงเรื่องการที่ของอาจจะแตก พัง เสียหาย ความสูญเสียทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นด้วยว่า ควรมีระบบรับเคลมสินค้า รับประกันสินค้าที่เราผลิตให้อย่างไรบ้าง

หากใครยังไม่เห็นภาพว่าจะเริ่มรับ OEM แบรนด์ไหนได้บ้าง มาลองดูไอเดียตัวอย่างที่เหมาะกับการเริ่มหาลูกค้าในกลุ่ม B2B แบบนี้ดู เช่น

  • ร้านที่เน้นขายขนม เครื่องดื่มสำหรับคนรักสุขภาพโดยเฉพาะ สูตรต่างๆเป็นเมนูหวานน้อย ไม่ใส่น้ำตาล แนะนำให้นำรับผลิตเครื่องดื่มหรือขนมสำหรับผู้แพ้อาหารให้กับโรงพยาบาล หรือ ออกเครื่องดืมชาเพื่อสุขภาพให้กับฟิตเนส ผลิตขนม หรือ ชา โดยให้ตีตราเป็นของโรงพยาบาลหรือฟิตเนสนั้นๆไปเลย

OEM OEM

  • ร้านที่มีจุดเด่นเรื่องการใช้ผงชาเขียวพรี่เมี่ยม สามารถนำวัตถุดิบนี้ในการรับผลิตขนมตามสูตรที่่แบรนด์ต่างๆต้องการเพื่อให้ได้รสชาติชาเขียวออริจินัล ตามแบบที่โรงงานหรืิร้านค้าเราใช้อยู่แล้ว สามารถรับผลิตได้หลากหลายสินค้าเลย เช่น คุกกี้ พุดดิ้ง หรือเมนูเสปรดต่างๆจากชาเขียว ซึ่งไลน์การผลิตขนมหลากหลายรูปแบบนี้ เหมาะกับการทำให้บริษัททัวร์ สายการบิน หรือ โรงแรม หรือแม้แต่ตามร้านอาหารญี่ปุ่นที่ไม่มีเมนูของหวาน เพราะเชี่ยวชาญด้านการทำเมนูของคาวมากกว่า ก็สามารถนำเสนอเมนูขนมหวานแล้วให้ตีตราเป็นแบรนด์ของร้านอาหารนั้นๆไปเลย ก็สามารถทำได้เช่นกัน

OEM

OEM OEM

การเพิ่มยอดขายให้ร้านของคุุณ ไม่ได้มีแต่การลดราคา แจกของแถม แต่มองมุมให้กว้างขึ้น อย่าโฟกัสแต่ผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าปกติ แต่ให้มองถึงกลุ่มบริษัท ร้านอาหาร หรือธุรกิจอื่นๆด้วย ก็จะเจออีกหลายกลยุทธ์ ที่ใช้ส่งต่อความอร่อยได้

ที่มา

https://www.moshimoshi-nippon.jp/115252

https://www.pinterest.com/pin/Ab-c8jUkof2iYtJeTFNSBg58sGUXOAgBICxwy85elSDMHu7Ky4Yqygw/

http://www.thirstyfortea.com/2016/12/18/tea-shortbread-coins/

บทความจาก : Fuwafuwa

นำผงมัทฉะมาประกอบอาหารอย่าง โซบะชาเขียว

ใครที่ชื่นชอบชาเขียวเป็นชีวิตจิตใจ ยิ่งได้ชาเขียวพรี่เมี่ยมที่มีทั้งกลิ่น และรสชาติแบบออริจินัลใช้ทำเครื่องดื่มหรือขนมแล้ว เมนูนั้นจะยิ่งพิเศษ ชวนทานมากยิ่งขึ้น แต่หลายคนก็คงสงสัยเหมือนกันว่า ผงมัทฉะ เอาไปทำอย่างอื่นนอกจากเครื่องดื่มและขนมได้มั้ย????

ถ้านึกดีๆแล้ว ที่ญี่ปุ่น เรามักจะเห็นหลายๆร้านมีการนำผงมัทฉะมาประกอบอาหาร แต่เราอาจะลืมคิดไปว่าที่ไทย เมนูของคาวจากชาเขียว มีขายอยู่น้อยมาก ทั้งๆที่บางร้านเองก็ใช้ผงมัทฉะนำเข้าจากญี่ปุ่นเหมือนกัน การนำผงมัทฉะนั้นมาประกอบอาหารบ้างจึงเป็นเรื่องที่ไม่ยากเกินความสามารถแน่นอน แถมยังได้สัมผัสชาเขียวดั้งเดิมอีก ไม่ต้องไปไกลถึงญี่ปุ่น ก็ทำกินเองได้ที่บ้าน แถมยังนำมาใส่ในเมนูของคาวที่ร้านคาเฟ่ได้อีก “เส้นโซบะชาเขียวโฮมเมด” ที่ไม่ต้องผ่านกรรมวิธีทางโรงงานให้ยุ่งยาก

ส่วนผสม :

แป้งสาลีอเนกประสงค์ 100 กรัม

แป้งบัควีต 100 กรัม

น้ำ 200 กรัม

ผงมัทฉะ 1 ช้อนชา

เริ่มจากการผสมแป้งบัควีตกับแป้งสาลีอเนกประสงค์เข้าด้วยกัน ร่อนแป้งลงในอ่างผสม ใส่ผงมัทฉะ แล้วค่อยๆ ใส่น้ำทีละน้อยพร้อมใช้มือคนแป้งไปเรื่อยๆ นวดแป้งให้ค่อยๆ ดูดน้ำ นวดและซุยแป้งจนรู้สึกว่ามีเนื้อสัมผัสคล้ายเม็ดทราย

ใส่น้ำให้เหลือประมาณ ¼ ของน้ำทั้งหมด จากนั้นใส่น้ำที่เหลือลงไปพร้อมนวดให้แป้งจับตัวเป็นก้อน ใช้ฝ่ามือนวดแป้งตรงกลางแล้วพับริมแป้งขึ้นมาทับกัน นวดแป้งแบบนี้วนไปเรื่อยๆ จนกว่าแป้งจะนุ่ม (กดแล้วเป็นรอยบุ๋ม) จากนั้นปั้นแป้งให้เป็นก้อนกลม

โรยแป้งนวลบนไม้กระดานเล็กน้อย ย้ายก้อนแป้งของเรามาวางไว้ ใช้ฝ่ามือกดก้อนแป้งให้ขยายออก จากนั้นใช้ไม้คลึงรีดแป้งให้เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัสบางประมาณ 0.2 มิลลิเมตร โรยแป้งนวลให้ทั่ว พับแป้งมาประกบกัน จากนั้นใช้มีดหั่นเป็นเส้นเล็กๆ คลุกเส้นด้วยแป้งนวลให้ทั่วอีกครั้ง ห่อด้วยกระดาษทิชชู ใส่ในภาชนะปิดสนิท หรือจะใส่ถุงพลาสติกแล้วรีดเอาอากาศออกให้หมดก็ได้ เก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาได้ประมาณ 1-2 วัน

การลวกเส้นให้ตั้งหม้อน้ำบนไฟกลางจนเดือดจัด ใส่เส้นโซบะที่เราบรรจงหั่นลงต้มประมาณ 1 นาที ตักขึ้นแช่ในอ่างน้ำเย็น 20 วินาที ตักขึ้นพักให้สะเด็ดน้ำ โซบะต้มเสร็จใหม่ๆ ต้องกินทันทีอย่าปล่อยไว้นาน เพราะเส้นจะดูดน้ำเข้าไปทำให้เส้นอืด เละ ไม่อร่อยนั่นเอง

…………………..พอเราได้วิธีทำเส้นโซบะชาเขียวแล้ว มาดูกันว่าเส้นโซบะชาเขียว เอาไปทำอาหารเมนูอะไรได้อีกบ้าง

เริ่มจาก โซบะชาเขียวเย็น ที่คนญี่ปุ่นมักทานคู่กับ วาซาบิ ซอสสียุสำหรับทานกับโซบะ ประมาณ 50 ml. สาหร่ายแผ่นหั่นฝอย หอมญี่ปุ่นซอย โดยบางคนก็ทานคู่กับกุ้งเทมปุระ หรือ ผงเทมปุระทอดกรอบ นิยมทานกันในหน้าร้อน เพื่อเพิ่มความสดชื่น คลายร้อนนั่นเอง

matcha soba

นอกจากโซบะเย็นแล้ว มัทฉะโซบะ ยังสามารถนำไปทำได้อีกหลายเมนูเลยอย่างเช่น

Ginger Miso Soup With Green Tea Soba Noodles

Ginger Miso Soup With Green Tea Soba Noodles

Let’s Cook : ขิงบดละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ + น้ำเปล่า 6 ถ้วย + น้ำมะขาม ¼ ถ้วย เทรวมกันลงหม้อ ต้มไฟอ่อนประมาณ 10 นาที แล้วถึงเติม มิโสะ ¼ ถ้วย ลงไป ต้มต่ออีกประมาณ 3 นาที ไม่ต้องให้เดือดเกินไป เพราะ เวลาเสิร์ฟลูกค้าจะได้ซดน้ำได้ ไม่ลวกปาก

Serve ! ในชามเสิร์ฟจะมีโซบะมัทฉะ ไข่ต้ม 1 ฟอง แบบยังไม่ต้องสุกมาก เพราะไข่จะแห้งเกินไป และเห็ดหอม & บล็อคโคลี่ ย่างปริมาณตามชอบ ตกแต่งเพิ่มเติมด้วย โต้วเหมี่ยว และหอมญี่ปุ่นซอย ปริมาณตามชอบ โรยด้วยงาดำเล็กน้อยด้านบน

มาต่อกันที่อีกเมนูอย่าง

Green Tea Sesame Soba Noodles With Stir Fried Tofu

Let’s Cook : วอร์มเตาอบที่ 180c หั่นเต้าหู้เป็นก้อนสี่เหลี่ยม ขนาดประมาณ 1.5 ซม วางบนแผ่นรองอบ เข้าเต้าอบ 15 นาที แล้วลวกเส้นโซบะชาเขียวพักไว้ ผัดน้ำมันงา 1 ช้อนโต๊ะ + ขิงบด 2 ช้อนชา + น้ำส้มสายชู ½ ช้อนชา ผัดที่ไฟกลางให้หอม แล้วเอาเต้าหู้ที่อบเสร็จแล้วมาใส่ในกระทะ ใส่โชยุ 1 ช้อนโต๊ะ +  วาซาบิ ½ ช้อนโต๊ะ + มิโสะ 2 ช้อนชา ผัดจนเข้ากัน ปิดไฟ

Serve ! นำเต้าหู้ที่ผัดเสร็จแล้วมาใส่ในชามที่มีเส้นมัทฉะโซบะที่ลวกรอไว้แล้ว โรยหน้าตกแต่งด้วยงาขาวอีกที เป็นอันเรียบร้อย

Green Tea Sesame Soba Noodles With Stir Fried Tofu

แต่ถ้าใครอยากสลับเป็ฯใช้เส้นโซบะธรรมดา แต่ทานคู่กับซอสชาเขียว ลองใช้เป็นสูตรนี้แทน

Matcha Soba With Spicy Tofu Nuggets

Matcha Soba With Spicy Tofu Nuggets

Let’s Cook : เริ่มจากใส่น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ เปิดไฟกลาง ใส่หอมใหญ่สับละเอียดปริมาณตามชอบ และกระเทียมสับ 3 กลีบ ผัดจนหอม แล้วเอาไปเทใส่เครื่องปั่น เติมน้ำ 1 ถ้วย +เมเปิ้ลไซรับ 2 ช้อนโต๊ะ + เกลือ 1½ ช้อนชา + น้ำมะนาว 1 ช้อนชา+ ผงมัทฉะ 1 ช้อนชา + เม็ดมะม่วงหิมพานต์ดิบ ½ ถ้วย ปั่นให้เข้ากัน

นำเต้าหู้ หั่นชิ้นสี่เหลี่ยมไทอดในน้ำมันงาให้หอม ข้างนอกกรอบเล็กน้อย

Serve ! นำซอสครีมชาเขียว ไปคลุกกับเส้นโซบะที่ลวกไว้แล้วและเต้าหู้ทอดโรยหน้าด้วยหอมญี่ปุ่นซอย และงาขาวเล็กน้อย เป็นอันเรียบร้ออยอีกเมนูนึง ……อิตาดาคิมัส ทานแล้วนะคะ 🙂

ที่มา

https://foodie.sysco.com/recipes/matcha-soba-with-spicy-tofu-nuggets/

https://www.japancentre.com/en/recipes/1265-cold-green-tea-soba-noodles

shorturl.at/uIRX7

shorturl.at/mnCU2

shorturl.at/bqsxX

บทความจาก : Fuwafuwa