รู้หรือไม่ทำไมชาเป็นตะกอนเมื่อเย็น?
|

รู้หรือไม่ทำไมชาเป็นตะกอนเมื่อเย็น?

เคยทานชาเขียวแล้วมีผงชาเขียวนอนก้นเป็นตะกอนกันมั้ยคะ? ตะกอนที่เห็นอยู่นั้นแท้จริงแล้ว คือ ผงชาที่ละลายไม่หมด เป็นผลมาจากการชงที่ไม่ดีส่วนนึง เพราะผงมัทฉะที่ดีจะค่อนข้างละเอียดมาก ไม่สามารถละลายได้หมดด้วยน้ำร้อนจากการใช้ช้อนคนธรรมดา แต่ควรใช้แปรงชา หรือที่เรียกว่า ฉะเซ็นในการชง จะทำให้ละลายได้ง่ายกว่า หรือถ้าร้านไหนที่ไม่มีฉะเซ็น สามารถลองใส่พวกกระบอกเชคเกอร์ หรือใช้ตระกร้อมือคนแทนก็พอคนให้ผงชาละลายได้อยู่ อย่างไรก็ตามในการบางครั้งที่ใช้ฉะเซ็นในการชงแล้ว บางคนอาจจะพบว่า เมื่อทิ้งไว้ระยะหนึ่งก็จะเกิดการแยกชั้นได้ ไม่เว้นแม้กระทั่งชาเขียวที่บรรจุขายทั่วไป เราจะได้เห็นข้างขวดเขียนไว้เสมอว่า “อาจมีตะกอนตามธรรมชาติ ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย” จึงถือว่าเป็นเรื่องปกติมากที่ชาแต่ละขวดหลังจากชงแล้วอาจจะมีตะกอนหลุดรอดออกมานั่นเอง พูดถึงตัวผงฝุ่นในชาเป็นผลมาจากการตกตะกอน ซึ่งเรียกว่า ‘ครีมชา’ จะเกิดขึ้นเมื่อชามีอุณหภูมิเย็นลงต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส สารประกอบในชา อย่างระหว่างคาเฟอีนและโพลีฟีนอลจะจับตัวกันอย่างอ่อนๆ ซึ่งหากชาเมนูไหนที่มีการใส่นม ก็จะเกิดปฏิกิริยาระหว่างโปรตีนในนม และ โพลีฟีนอลต่างๆ มีผลให้เกิดตะกอนมากขึ้นนั่นเอง อย่างไรก็ตาม การผสมชาและน้ำใหม่ที่ต้มแล้วเข้าด้วยกัน จะทำให้ใบชาตกตะกอนอยู่ด้านล่างของกาที่ใช้ชงชาได้เช่นกัน เพื่อเป็นการลดการสัมผัสระหว่างใบชาและน้ำ แนะนำให้ทำการคนชาทุกครั้งเพื่อกระตุ้นชาและทำให้มีการละลายที่เหมาะสม กรณีที่ชาของบางร้านไม่ตกตะกอนเลย จึงอาจเป็นที่น่าสงสัยได้ว่า ร้านนั้นไม่ได้ใช้ผงมัทฉะจริงๆ แต่ อาจจะเป็นการใช้เป็นไซรัปรสชาเขียวแทน หรืออาจใช้ผงชงสำเร็จรูปเพื่อลดระยะเวลาในการชง ซึ่งทำให้ราคาก็จะลดหลั่นกันไปตามวัตถุดิบที่ใช้นั่นเอง นอกจากตะกอนที่มักเกิดที่ก้นถ้วยแล้ว ในบางครั้งจะเจอกรณีที่กากชา หรือ ใบชาสีเข้ม ที่ลอยอยู่ด้านบนของชาที่ชงแล้วแทนนอนก้น กรณีดังกล่าว เป็นผลของส่วนประกอบน้ำหนักโมเลกุลที่สูง เกิดจากแคลเซียม…

ออกแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม ให้โดนใจลูกค้า

ออกแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม ให้โดนใจลูกค้า

เคยสงสัยมั้ยว่าสินค้าดีมีคุณภาพ บางทีก็อาจจะไม่ดึงดูดใจลูกค้า เพราะในยุคสมัยนี้ Packaging เป็นอีกเรื่องที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญไม่แพ้กัน ยิ่งช่วงนี้ผู้บริโภคหันมาสั่งอาหารดิลิเวอรี่กันมากขึ้น ขวดบรรจุชาพร้อมดื่ม ที่ไว้ใส่เครื่องดื่มให้ลูกค้าที่สั่งดิลิเวอรี่ จึงกลายเป็นอีกสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญไม่แพ้คุณภาพและรสชาติของชาขวดนั้นๆ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบขวดชาพร้อมดื่ม 1. ขวดชาต้องมีเอกลักษณ์ ง่ายต่อการจดจำจะทำให้สินค้าของเราโดดเด่นออกมาจากสินค้าชนิดเดียวกันที่อยู่ตามท้องตลาด อาจใช้สีในการแบ่งแยกประเภทชา เช่นชาเขียว ขวดสีเขียว ชาโฮจิฉะ ชวดสีเทา ชาอู่หลงขวดสีเหลือง หรือการใช้รูปทรงของฉะเซ็นที่ช่วยให้ลูกค้าจำและนึกถึงชาของที่ร้านได้ง่ายขึ้น เป็นต้น 2. ขวดต้องเปิดง่าย ใช้งานได้สะดวก หลายครั้งที่บรรจุภัณฑ์มีฟังก์ชันและลูกเล่นที่โดดเด่น น่าสนุก แต่กลับต้องเสียกลุ่มลูกค้าไปเพราะใช้งานยาก ขนส่งแล้วหก ถือแล้วเปื้อนมือ จะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าสินค้าของเรานั้นเป็นภาระนั่นเอง 3. อย่าลืมเรื่องราวของแบรนด์และสินค้าไม่ว่าจะเป็นแนวคิด แรงบันดาลใจ ภูมิหลัง ถือเป็นกิมมิคเล็กๆ ที่จะช่วยสร้างการรับรู้และทำให้ผู้บริโภครู้จักแบรนด์และสินค้าของเราได้ลึกซึ่งยิ่งขึ้นเอาเรื่องราวมาสร้างสรรค์ด้วยกราฟฟิคดีไซน์บางจุด อาจจะเป็นการใช้ไอค่อนเล่าเรื่องราว หรือเป็นการติดแท็กเพิ่มเติมที่ขวด ก็ช่วยให้ลูกค้าอินไปกับสินค้าเราได้มากขึ้น แทนการเขียนทุกอย่างลงบนขวดชา หลังจากที่คำนึงถึงเรื่องราวนี้แล้ว มาดูในเรื่องของเทรนด์การออกแบบบ้าง 1. Simple or Minimalน้อยแต่มาก เรียบแต่โก้ เป็นหนึ่งเทรนด์การออกแบบบรรจุภัณฑ์มาแรงที่เอาชนะใจลูกค้าได้อย่างดีเยี่ยม เทรนด์นี้เป็นที่นิยมในกลุ่มคาเฟ่ และร้านขนมช่วงนี้ ดีไซน์ที่ขาวสะอาด สีสันสบายตา มีภาพและตัวอักษรน้อยๆ ออกแบบอย่างเรียบง่าย แต่อัปโหลดลงอินสตาแกรมได้อย่างมีสไตล์…