เลือกใช้ Pantone สีชายังไงให้เป๊ะ

ทำไมเราจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการทำสื่อและการถ่ายภาพเมนูของที่ร้านมากๆ  ???

เพราะ สี คือ ส่วนสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในงานออกแบบ เพราะสีจะกำหนดความรู้สึกและสร้างอารมณ์ของผู้รับชม ไม่ว่าจะเป็นสีโทนเดียว(monochromatic), สดใส(bright), สดชื่น(cool), อบอุ่น(warm), หรือการเติมเต็มเฉดสีที่หลากหลายให้ทำหน้าที่ที่แตกต่างกันในหนึ่งชิ้นงานออกแบบ

tea pantone tea pantone

ชาแต่ละชนิด ให้สีที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีเก็บเกี่ยวและผลิต สเน่ห์ของสีชาที่ไม่ฉูดฉาด ดูแล้วสบายตาตามธรรมชาติ เช่น มัทฉะ ให้สีเขียวเข้ม ชาโฮจิฉะให้สีน้ำตาลแดงที่เกิดจากการนำชาเขียวไปคั่ว หรือชาอู่หลงที่ค่อนออกไปทางสีเหลืองทอง สีเหล่านี้ หากมาอยู่ในโปสเตอร์ หรือแพคเกจของร้าน การดึงจุดเด่นและเลือกใช้คู่สีที่เหมาะกัน เลือกใช้ชุดสี Pantone ที่ช่วยกันส่งเสริมให้ภาพดูเต็ม จะช่วยทำให้ภาพนั้นๆดูแล้วสบายตา ดึงดูดได้ง่ายขึ้น และที่สำคัญหากมีชุดสีในใจจะช่วยให้คุณบรีฟงานกราฟฟิคดีไซน์ที่ออกแบบไม่ว่าจะเป็นเมนูชา แพคเกจจิ้งของที่ร้าน เข้าใจไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น

หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าPantone ที่ว่าหมายถึงอะไร ??

Pantone คือ ชื่อบริษัทที่ทำธุรกิจการพิมพ์และการออกแบบในสหรัฐอเมริกา หลายคนจะรู้จักกันในนามผู้ที่กำหนดมาตรฐานการเทียบสีที่เรียกว่า Pantone Matching System (PMS) เพื่อใช้ในโรงพิมพ์ทั่วโลก

เวลาเราพิมพ์โปสเตอร์ ทำฉลากออกมา หรือหาคู่สีสำหรับการทำสื่อของผลิตภัณฑ์ชาเขียว เชื่อว่าหลายคนคงเจอปัญหาที่ว่าเลือกยังไง สีชาก็เพี้ยนไม่ตรงตามต้องการอยู่ดี การมี Pantone ไว้เทียบสีที่ชอบสักชุด ก็จะช่วยให้ได้งานที่เป๊ะมากขึ้น เพราะบางทีหากเราดูงานพิมพ์จากหน้าจอ แต่ละหน้าจอ ความสว่างจะไม่เท่ากัน สีอาจจะเพี้ยนได้ง่ายซึ่งการเลือกใช้สีนี้ สามารถนำเทคนิคไปปรับกับการจัดเซ็ตองค์ประกอบภาพเพื่อถ่ายภาพได้เช่นเดียยวกัน

ประเด็นแรกที่ต้องคำนึงในการเลือกใช้สีคือ สีที่เยอะเกินไป อาจจะทำให้งานของดูสับสน ไม่ดึงดูดเท่าที่ควร วิธีที่คนส่วนมากแนะนำกันคือ เลือกใช้สีสัก 2 – 3 สีในงานออกแบบนั้นๆ ใช้เทคนิคประสว่างสีให้เข้มอ่อนจาก 2-3 สีนั้น จะทำให้งานชิ้นนั้นมีมิติมากขึ้น ลองใช้ color wheel เลือกดูได้เลย รับรองว่างานของคุณจะออกมาดูสะอาด สำหรับพื้นที่ว่างลองเพิ่ม  textures ลองไปสักนิด จะได้ออกมาไม่เรียบจนเกินไป หากเน้นขายเมนูชาโฮจิฉะ ที่มีสีน้ำตาลของชา ก็ควรใช้สีโทนส้ม คู่กันและปรับความเข้มอ่อนของสีชาลง

tea pantone tea pantone

เทคนิคการเลือกสีหลัก แล้วหาสีที่เข้าคู่กันลองคิดว่างานที่กำลังออกแบบเป็นงานอะไร เป็นกีฬา, แฟชั่น, ความงาม, หรือธุรกิจ เพราะอารมณ์ของแต่ละงานก็เลือกใช้สีที่ไม่เหมือนกัน อยากจะให้อารมณ์งานออกมาอ่อนนุ่มหรือรุนแรง แล้วลองใส่รายละเอียดเอาไปอีกนิด จะไดู้่สีที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว อย่างเช่น ชาเขียว สีหลักคือสีเขียว สีที่เข้าคู่กันได้คือ สีชมพู ที่จะช่วยให้ภาพดูอ่อนโยน เข้าถึงได้ง่าย เป็นมิตรต่อผู้บริโภค หรือถ้าเป็นสีชาโทนส้มน้ำตาล ก็สามารถนำสีชมพูมาใช้คู่ได้เช่นกัน

tea pantone tea pantone

หรือหากใครคิดไม่ออกจริงๆ ลองเข้า Pinterest แหล่งรวบรวมงานออกแบบมากมาย ที่จะทำให้ได้ไอเดียและกลุ่มโทนสีที่มีการจับคู่ไว้ให้แล้วเพื่อมาใช้ในการจัดองค์ประกอบภาพถ่ายรูปสินค้า และใน Pinterest ก็จะมีค่าสีแสดงอยู่ ง่ายต่อการใช้งานมากขึ้นเพราะเราไม่ต้องมานั่งเทียบเองว่า ชาสีเขียว ต้องใช้เขียวแบบไหน แค่พิมพ์ค่าสีนั้นลงๆไปก็จะได้สีชาที่เป๊ะถูกต้องนั่นเองหรือถ้าไม่แน่ใจว่าต้องใช้ Code สีไหน อีกวิธี ทีจะช่วยให้ได้สีชาที่ใกล้เคียงกับของจริงมากที่สุด คือ การดูดสีเอาจากภาพที่มีสีชาที่เราต้องการ 

เราจึงรวบรวมตัวอย่างโทนสีที่นิยมใช้กันในการทำ Artwork มาให้คนรักชาเขียวเป็นไอเดียในการใช้งานที่ง่ายและสะดวกขึ้น

tea pantone tea pantone tea pantone

tea pantone tea pantone tea pantone tea pantone

ที่มา

https://colorpalettes.net/wp-content/uploads/2014/08/cvetovaya-palitra-478.jpg

http://color.romanuke.com/tsvetovaya-palitra-2164/

บทความจาก : Fuwafuwa

ขนาดของใบชามีผลต่อคุณภาพของชาหรือไม่?

ใบชาที่เราเอามาชงดื่มกันทุกวันนี้ จริงๆแล้วมีหลายเกรดมากๆ ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการผลิตและเก็บเกี่ยวใบชาที่แตกต่างกัน และมีหลากหลายชนิดให้เราได้เลือก ดังนั้นเพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพของชา จึงมีการแบ่งเกรด ของใบชา โดยพิจารณาจากคุณภาพของใบชาที่ผลิตออกมาจากโรงงานหรือไร่ชาในแต่ละที่ การแบ่งเกรด แบ่งเป็น 3 เกรด ดังนี้

ขนาดใบชา ขนาดใบชา

  1. เกรดใบชาเต็มใบ (Whole Tea leaf)โดยทั่วไปชาเต็มใบถือว่าเป็นชาเกรดดี แบ่งได้ 4 เกรดย่อย คือ ใบอ่อน คือ ยอดใบอ่อนชั้นบนสุดของชาเต็มใบ ถือว่าเป็นชาที่ดีที่สุดใบชาคู่แรก  เป็นเกรดรองลงมา ขนาดของใบใหญ่ขึ้นมาหน่อยPekoeชาเกรดนี้ ใบจะมีลักษณะหนาและบิดเกลียว Pure Souchongมีลักษณะใบใหญ่ ค่อนข้างเหนียวและหยาบ เวลาผลิตเครื่องจักรจะปั้นใบชาเป็นก้อนกลมๆ เวลาชงก้อนชานี้จะขยายตัวออกให้เห็นลักษณะใบอย่างชัดเจน
  1. เกรดใบชาร่วง (Broken Tea Leaf) เป็นใบชาที่ไม่ผ่านการคัดเกรดตาม 4 ขั้นตอนแรก ผู้ผลิตก็จะนำใบชาที่เหลือมาผ่านกรรมวิธี หมัก คั่ว ตามกรรมวิธีของแต่ละโรงงาน เป็นชาที่เหลือจากการคัดเกรด โดยการนำเศษที่เหลือมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปปรุงแต่งเพื่อผลิตขั้นตอนต่อไป โดยคุณสมบัติของชาผง คือ เวลาชงด้วยน้ำร้อนจะขับสีออกเร็วมาก จึงเป็นที่นิยมของผู้ดื่มชา กลิ่น สี และรสชาติขึ้นอยู่กับผู้ผลิต ราคา จึงเหมาะสมสำหรับคนทั่วไป

Fine Leaf Teas

  1. เกรดใบชาผง (Fine Leaf Teas) เป็นชาที่เหลือจากการคัดเกรด โดยการนำเศษที่เหลือมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปปรุงแต่งเพื่อผลิตขั้นตอนต่อไป โดยคุณสมบัติของชาผง คือ เวลาชงด้วยน้ำร้อนจะขับสีออกเร็วมาก จึงเป็นที่นิยมของผู้ดื่ม กลิ่น สี และรสชาติขึ้นอยู่กับผู้ผลิต ราคา ก็เหมาะสมสำหรับคนทั่วไป

จะเห็นได้ว่าขนาดของใบชา คุณภาพทางรสชาติของใบชาไม่ได้ขึ้นกับขนาดของใบชาอย่างเดียว แต่ขึ่นอยู่กับลักษณะของใบชาว่าเป็นส่วนยอดใบชา หรือเป็นส่วนไหนของต้นชส ใบชาที่ใหญ่ไม่ได้หมายความว่าจะมีรสชาติที่ดีกว่า หรือแม้แต่ยอดชา ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสุดยอดใบชาคุณภาพดี หากผ่านมือผู้ผลิตชาที่ไม่ดี  รสชาติชาก็อาจจะดร็อปลงได้เช่นกัน เพราะจริงๆแล้วขนาดของใบ ไม่มีการแยกคุณภาพหรือสารอาหารใดๆ แต่จะเกิดจากใบชาที่ขนาดใหญ่จะทำให้เกิดชาที่มีความเข้มข้นน้อยลงซึ่งสาเหตุมาจากพื้นที่ผิวสัมผัสที่มากกว่าเมื่อสัมผัสกับน้ำและทำให้ประสิทธิภาพในการสกัดลดลงนั่นเอง

การเก็บเกี่ยวชา

จุดสำคัญจะอยู่ที่การเก็บเกี่ยวชาเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะการผลิตชาให้ได้คุณภาพดีนั้น ต้องเริ่มจากใบชาสดที่มีคุณภาพ ก่อนซึ่งก็คือ ใบชาที่เก็บจากยอดชาที่ประกอบด้วย 1 ยอด กับ 2 ใบ การเก็บชาจะเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม จนถึงเดือนพฤศจิกายน โดยเฉลี่ยจะเก็บยอดชา 10 วันต่อครั้ง ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวยอดชาจะอยู่ประมาณ 5.00-14.00 น. การเก็บยอดชาจะต้องไม่อัดแน่นในตะกร้า หรือกระสอบเพราะจะทำให้ยอดชาชํ้าและคุณภาพใบชาเสียได้ เนื่องจากความร้อนที่เกิดขึ้นจากการหายใจของใบชา หลังจาเก็บเกี่ยวแล้ว ควรรีบนำ ส่งโรงงานผลิตภายใน 3-4 ชั่วโมง

วิธีการเก็บรักษาใบชา ใบชาจะต้องเก็บรักษาเป็นอย่างดี เพื่อจะคงไว้ซึ่งกลิ่น สีและรสชาติ ภาชนะที่จะใช้บรรจุใบชาจะต้องแห้งและปราศจากกลิ่น อากาศเข้าไม่ได้ สิ่งสำคัญที่มีผลกระทบต่อคุณภาพใบชา คือ ความชื้น อุณหภูมิ และกลิ่น หากกระบวนการผลิต เก็บรักษาที่ไม่ได้มาตรฐาน ขนาดของใบชาจะเล็กจะใหญ่ หรือเก็บจากยอดชาหรือไม่ ก็ทำให้ชาเสื่อมคุณภาพอยู่ดี

วิธีการเก็บรักษาใบชา

ที่มา

https://www.pinterest.com/pin/491596115580846654/

http://www.taotealeaf.com/da-hong-pao-oolong-tea-premium/

บทความ : Fuwafuwa