เลือกใช้ Pantone สีชายังไงให้เป๊ะ
|

เลือกใช้ Pantone สีชายังไงให้เป๊ะ

ทำไมเราจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการทำสื่อและการถ่ายภาพเมนูของที่ร้านมากๆ  ??? เพราะ สี คือ ส่วนสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในงานออกแบบ เพราะสีจะกำหนดความรู้สึกและสร้างอารมณ์ของผู้รับชม ไม่ว่าจะเป็นสีโทนเดียว(monochromatic), สดใส(bright), สดชื่น(cool), อบอุ่น(warm), หรือการเติมเต็มเฉดสีที่หลากหลายให้ทำหน้าที่ที่แตกต่างกันในหนึ่งชิ้นงานออกแบบ ชาแต่ละชนิด ให้สีที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีเก็บเกี่ยวและผลิต สเน่ห์ของสีชาที่ไม่ฉูดฉาด ดูแล้วสบายตาตามธรรมชาติ เช่น มัทฉะ ให้สีเขียวเข้ม ชาโฮจิฉะให้สีน้ำตาลแดงที่เกิดจากการนำชาเขียวไปคั่ว หรือชาอู่หลงที่ค่อนออกไปทางสีเหลืองทอง สีเหล่านี้ หากมาอยู่ในโปสเตอร์ หรือแพคเกจของร้าน การดึงจุดเด่นและเลือกใช้คู่สีที่เหมาะกัน เลือกใช้ชุดสี Pantone ที่ช่วยกันส่งเสริมให้ภาพดูเต็ม จะช่วยทำให้ภาพนั้นๆดูแล้วสบายตา ดึงดูดได้ง่ายขึ้น และที่สำคัญหากมีชุดสีในใจจะช่วยให้คุณบรีฟงานกราฟฟิคดีไซน์ที่ออกแบบไม่ว่าจะเป็นเมนูชา แพคเกจจิ้งของที่ร้าน เข้าใจไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าPantone ที่ว่าหมายถึงอะไร ?? Pantone คือ ชื่อบริษัทที่ทำธุรกิจการพิมพ์และการออกแบบในสหรัฐอเมริกา หลายคนจะรู้จักกันในนามผู้ที่กำหนดมาตรฐานการเทียบสีที่เรียกว่า Pantone Matching System (PMS) เพื่อใช้ในโรงพิมพ์ทั่วโลก เวลาเราพิมพ์โปสเตอร์ ทำฉลากออกมา หรือหาคู่สีสำหรับการทำสื่อของผลิตภัณฑ์ชาเขียว เชื่อว่าหลายคนคงเจอปัญหาที่ว่าเลือกยังไง สีชาก็เพี้ยนไม่ตรงตามต้องการอยู่ดี การมี Pantone ไว้เทียบสีที่ชอบสักชุด ก็จะช่วยให้ได้งานที่เป๊ะมากขึ้น…

ขนาดของใบชามีผลต่อคุณภาพของชาหรือไม่?
|

ขนาดของใบชามีผลต่อคุณภาพของชาหรือไม่?

ใบชาที่เราเอามาชงดื่มกันทุกวันนี้ จริงๆแล้วมีหลายเกรดมากๆ ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการผลิตและเก็บเกี่ยวใบชาที่แตกต่างกัน และมีหลากหลายชนิดให้เราได้เลือก ดังนั้นเพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพของชา จึงมีการแบ่งเกรด ของใบชา โดยพิจารณาจากคุณภาพของใบชาที่ผลิตออกมาจากโรงงานหรือไร่ชาในแต่ละที่ การแบ่งเกรด แบ่งเป็น 3 เกรด ดังนี้ เกรดใบชาเต็มใบ (Whole Tea leaf)โดยทั่วไปชาเต็มใบถือว่าเป็นชาเกรดดี แบ่งได้ 4 เกรดย่อย คือ ใบอ่อน คือ ยอดใบอ่อนชั้นบนสุดของชาเต็มใบ ถือว่าเป็นชาที่ดีที่สุดใบชาคู่แรก  เป็นเกรดรองลงมา ขนาดของใบใหญ่ขึ้นมาหน่อยPekoeชาเกรดนี้ ใบจะมีลักษณะหนาและบิดเกลียว Pure Souchongมีลักษณะใบใหญ่ ค่อนข้างเหนียวและหยาบ เวลาผลิตเครื่องจักรจะปั้นใบชาเป็นก้อนกลมๆ เวลาชงก้อนชานี้จะขยายตัวออกให้เห็นลักษณะใบอย่างชัดเจน เกรดใบชาร่วง (Broken Tea Leaf) เป็นใบชาที่ไม่ผ่านการคัดเกรดตาม 4 ขั้นตอนแรก ผู้ผลิตก็จะนำใบชาที่เหลือมาผ่านกรรมวิธี หมัก คั่ว ตามกรรมวิธีของแต่ละโรงงาน เป็นชาที่เหลือจากการคัดเกรด โดยการนำเศษที่เหลือมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปปรุงแต่งเพื่อผลิตขั้นตอนต่อไป โดยคุณสมบัติของชาผง คือ เวลาชงด้วยน้ำร้อนจะขับสีออกเร็วมาก จึงเป็นที่นิยมของผู้ดื่มชา กลิ่น สี และรสชาติขึ้นอยู่กับผู้ผลิต ราคา จึงเหมาะสมสำหรับคนทั่วไป…