How to เบลนด์ชาเขียวเองได้ด้วยตัวเอง

“ชาที่ดี ใบชาตั้งต้นต้องดี”  หัวใจสำคัญแรกเริ่มเลย ก่อนจะรู้จักการเบลนด์ชาเอง ใบชาตั้งตั้นที่กล่าวถึงนี้ ก็คือชาดำ ชาเขียว และชาอู่หลง พอได้ใบชาตั้งต้นดีแล้ว จะเอามาเบลนด์กับอะไร รสชาก็จะอร่อย หอมตามไปด้วย กล่าวคือ ชาเขียวที่เหมาะกับการนำมาเบลนด์เองได้นั้น ควรเป็นชาที่ปลูกในที่ภูเขาสูง อากาศเย็น อย่างที่ญี่ปุ่น ที่นั่นเขาจะดื่มชากันสดมากๆ เพราะผลิตผลเขาดีมาก ชาที่ดี จึงมักมีจุดตัดกันที่ แหล่งที่มาของชา การปลูก ดิน แหล่งชาไหนจะสร้างชามาได้เลิศกว่ากัน

แหล่งชา แหล่งชา แหล่งชา

เมื่อเราได้ชาตั้งต้นที่ดี ความสนุกและซับซ้อนของชายังอยู่ที่การเบลนด์ส่วนผสมอื่นเข้าไปเพื่อให้มีกลิ่นและรสที่มีมิติน่าสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะสมุนไพรที่นอกจากจะมีกลิ่นรสเฉพาะตัว ยังมีสรรพคุณดีๆ ที่ช่วยเรื่องสุขภาพอีกด้วย เช่น หากเลือก ดอกลาเวนเดอร์และกุหลาบตากแห้งดอกจิ๋วๆ ที่เติมความน่ารักให้ชา จะช่วยบำรุงระบบหมุนเวียนโลหิต พร้อมทั้งคลายเครียด ดอกคำฝอยช่วยลดไขมันในเส้นเลือด แถมยังช่วยให้ชาสีสวย หากใครหลับยาก ถ้าเป็น ดอกคาโมมายล์และดอกหอมหมื่นลี้ช่วยให้ผ่อนคลายและหลับสบายขึ้นดอกเก๊กฮวยแก้ร้อนใน ดีต่อหัวใจ หรือถ้าเลือกผสม ดอกอัญชันแห้งก็จะช่วยบำรุงสายตาและเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกายใบเตยแห้งช่วยลดไข้ บำรุงผิว และแก้ท้องผูก ตะไคร้แห้งช่วยขับลมและแก้คลื่นไส้ นอกจากนี้ยังมีส่วนผสมตัวอื่นๆที่น่าลอง เช่น หญ้าหวาน ข้าวเหนียวดำ ขิง มะม่วง กระเจี๊ยบ ซินนาม่อน

การเบลนด์ชา การเบลนด์ชา

พอรู้จักสรรพคุณของชาแล้ว มาลองเริ่มเบลนด์ชากันเองดีกว่า หลักการง่ายๆ ของการเบลนด์ชาเบื้องต้น เริ่มต้นง่ายๆ จากการเลือกชาและสมุนไพรที่ชอบก่อน ต้องออกแบบรส และกลิ่นไว้คร่าวๆ ก่อนว่าต้องการรสแบบไหน ประมาณไหน อยากได้รสหลักเป็นอะไร แล้วค่อยๆ ใส่ลูกเล่นเข้าไปเพิ่ม หลักการง่ายๆ คือการค่อยๆ ปรับแก้จนได้รสที่ใกล้เคียงสิ่งที่คิดไว้ สัดส่วนใบชาและสมุนไพรที่แนะนำคือ ใบชา 3 ส่วน ต่อสมุนไพร 1 ส่วนใส่ลงถุงชา หรือที่กรองชา โดยลองสกัดชาที่เบลนด์แล้วด้วยน้ำร้อนอุณหภูมิประมาณ 95 องศาเซลเซียส เทน้ำลงไปชาเหมือนเวลาชงชาปกติ เพราะจะได้ชาที่มีรสชาติพอดิบพอดี

สิ่งที่ต้องดูนอกจากรสชาติ คือ ดูสีสัน และกลิ่นที่เข้ากันได้ เช่น ไม่ควรใส่ดอกไม้ที่กลิ่นหอมทั้งคู่ กลิ่นจะตีกัน เช่น กุหลาบ กับ ลาเวนเดอร์ หรือควรจับคู่กลิ่นรสที่เสริมกัน เช่น ใบเตยกับตะไคร้ จะยิ่งให้ความสดชื่นในตอนดื่ม หากไม่แน่ใจ จะลองชงดื่มดูก่อนก็ได้ว่าได้กลิ่น สี และรสอย่างที่ต้องการหรือไม่

แต่การเบลนด์ชาก็ไม่ใช่ว่าจับอันนั้นผสมอันนี้ก็เสร็จ เพราะเรื่องสัดส่วนเป็นเรื่องสำคัญ สมุนไพร ดอกไม้บางชนิดกว่าจะแช่ในน้ำร้อนให้กลิ่นและสี ชาเขียวก็อาจจะถูกแช่จนขมไปหมด ส่วนที่ยากของการเบลนด์ชาคือ ไม่มีทางตัดสินได้ว่ารสชานั้นจะออกมาเป็นอย่างไรในการผสมของแห้ง สุดท้ายชาต้องถูกแช่ในน้ำร้อน กลิ่นและรสก็จะเปลี่ยนแปลงไปอีกจากที่เราชอบ กว่าจะได้ชา 1 เบลนด์ต้องผ่านการลองผิดลองถูกซ้ำแล้วซ้ำเล่าไม่รู้กี่ครั้ง จนได้จุดที่สมดุลที่สุด

ส่วนร้านที่เริ่มเบลนด์ชาเองได้จนเชี่ยวชาญแล้ว สามารถต่อยอดชุดชาเบลนด์ เป็นชุดของขวัญ รวมชาสรรพคุณดีๆ กลิ่นหอมๆ ใส่โหลผูกโบ หรือแพ็คลงกล่องอย่างสวยงาม แทนกระเช้าอาหารแปรรูปที่วางขายอยู่ทั่วไป ก็น่าสนใจและบ่งบอกถึงความตั้งใจในการคัดเลือกชาคุณภาพให้ผู้รับประทับใจ

ชุดชาเบลนด์ ชุดชาเบลนด์

ที่มา

http://www.lovecreatecelebrate.com/homemade-peppermint-tea/

https://creationsbyfc.com/products/tea-sampler-gift-set-10pc

https://www.anthropologie.com/wellness-teas-coffees-elixirs

http://www.womansday.com/health-fitness/10-healing-herbs-used-in-teas-75249

https://www.anthropologie.com/wellness-teas-coffees-elixirs

บทความจาก : Fuwafuwa

ทำยังไงให้ลูกค้ารู้สึกว่าชาที่ร้านคุ้มค่าสมราคา

ร้านขายชาเหมือนกัน แต่มีราคา และรสชาติที่ต่างกันตามวัตถุดิบที่ใช้ บางร้านขายราคาสูง กลับมีลูกค้าที่พอใจมาใช้บริการแทนที่จะไปร้านที่ราคาถูกกว่า สิ่งที่สามารถยกระดับร้านชานั้นขึ้นมา ให้ลูกค้าชื่นชอบและเพิ่มมูลค่าได้ นั้นคือ “การสร้างแบรนด์”เพราะแบรนด์ที่มีจุดยืนที่ชัด ถ่ายทอดให้ลูกค้าได้เข้าใจและยอมรับในแบรนด์นั้นได้ จะยิ่งช่วยให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่ากับการซื้อ ง่ายต่อการตัดสินใจโดนใจ เรียกว่าถูกใจแล้วราคาเท่าไหร่ก็คุ้มค่า

แล้วการสร้างแบรนด์ของร้านชาปัจจุบันนี้ทำยังไงได้บ้าง??

ตามทฤษฎีแล้ว Branding คือ จุดยืน บุคลิกภาพลักษณ์ และความเป็นตัวตนของแบรนด์ที่เราต้องการถ่ายทอดให้ถึงลูกค้า ผ่านการออกแบบโลโก้ สื่อโฆษณา คอนเทนต์ในสื่อออนไลน์ต่างๆ โดยการสร้างแบรนด์นี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสื่อสารให้แก่ลูกค้าว่า ร้านเราขายอะไร แตกต่างจากร้านอื่นยังไง เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคนั่นเอง

ถ้าจะยกตัวอย่างง่ายๆให้เห็นได้ชัด คงหนีไม่พ้น แบรนด์เครื่องดื่มชื่อดังอย่าง Starbucks ที่มีการสร้างแบรนด์ เป็นจุดเด่นให้ลูกค้าอยากจะถือแก้วของที่ร้านถ่ายรูปลงโซเชียล ออกเมนูเครื่องดื่มใหม่ทุกซีซั่นเพื่อสร้างความตื่นตาตื่นใจให้ทั้งลูกค้าเก่าและใหม่ได้ลอง มีการนำเมนูใหม่ให้ลูกค้าได้ทดลองชิมเพื่อต่อยอดเป็นเมนูที่ร้าน มีการทำสื่อประชสัมพันธ์ที่ชุดเจนเป็นภาพเดียวกันในทุกสาขา เพื่อสร้างภาพจำให้ลูกค้าและผู้ที่เดินผ่านไปมาเกิดความรู้สึกอยากลอง

Starbucks Matcha

ถึงแม้ว่าความอร่อยกลายเป็นพื้นฐานที่ทุกร้านควรมี แต่สิ่งที่ Starbucks จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อ ก็คือ “ความรู้สึก”ที่ ไม่ว่าจะเป็น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และจินตนาการ ล้วนแล้วแต่ถูกถ่ายทอดผ่านแบรนด์ทั้งนั้น ความครีเอทจากเมนูชาเขียวแบบเดิมๆ ก็มีการผสมผสานเอาวัตถุดิบตัวอื่นมาเสริม ให้คนรักชาได้รู้สึกว้าวได้ตลอด อย่าง Starbucks’ Matcha Lemonade หรือ Matcha Espresso Fusion Calories ที่มีเบสเป็นชาเขียว ซึ่ง Starbucs ก็เอาใจกลุ่มลูกค้าที่ทานที่ร้านแล้วติดใจในรสชาติ ด้วยการออกสินค้าพร้อมดื่มให้ไปชงทานต่อที่บ้านเองได้ในราคาที่ถูกลง เป็นการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ทุกรูปแบบ

Starbucks Matcha

นอกจากการสร้างแบรนด์แล้ว ถ้าถ่ายทอดไม่ดี ก็ไม่อาจสร้างความรู้สึกร่วมให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่ากับสิ่งที่ต้องจ่ายไปได้ การสร้างการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) ก็เป็นสิ่งที่จะทำให้ลูกค้าได้เข้าถึงสินค้าเรามากขึ้น เช่น ชาที่ร้านเป็นชาเขียวพรีเมี่ยมอย่างดี นำเข้าจากญี่ปุ่น ทำให้ราคาค่อนข้างสูง ดังนั้นเราต้องสร้างแบรนด์ให้เห็นชัดเจน อาจจะด้วยบรรยากาศภายในร้าน เครื่องถ้วยชามที่ทำให้เห็นถึงความเป็นญี่ปุ่น และอาจจะมีการเสิร์ฟแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม คือ เสิร์ฟคู่ขนมวากาชิ  หรือการชงชด้วยกรใช้ฉะเซน ตามแบบต้นฉบับวัฒนธรรมญี่ปุ่น เพื่อให้ลูกค้าได้รู้สึกถึงกลิ่นอายอย่างชัดเจน

Brand Awareness Brand Awareness

อย่างไรก็ตาม เพราะ Brand Awareness คือ การสร้างรับรู้ต่อแบรนด์ ผ่านการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก เน้นย้ำถึงจุดเด่นของแบรนด์ผ่านทุกองค์ประกอบภายในร้าน เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุด ร้านชาบางร้านจึงเลือกจับกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นหรือ First Jobber เพื่อมุ่งเน้นไปที่ไลฟ์สไตล์ การจัดตกแต่งที่สวยงาม น่าทาน ดูมีชีวิตชีวา ทำอยู่ในรูปแบบคอนเทนท์หลายๆแบบ เพื่อให้เกิดกระแส มาที่ร้านเพื่อถ่ายรูปลงโซเชียล ได้ภาพสวยๆจากอาหารน่าทานนั่นเอง

Brand Awareness Brand Awareness

นอกจากเรื่องแบรนด์ดิ้งแล้ว การสร้างประสบการ์แปลกใหม่ หรือความตื่นเต้นให้ลูกค้ารู้สึกอินกับเครื่องดื่มที่ร้าน จนประทับใจ ถูกใจยอมที่จะจ่ายในราคาที่สูงขึ้น เพื่อสัมผัสความพิเศษที่แตกต่าง ก็เป็นอีกไอเดียที่เป็นจุดขายให้ที่ร้านได้ไม่มากก็น้อย อย่างเช่น การเสิร์ฟชาในภาชนะที่แปลกตา อาจจะเป็นแก้ว 2 ชั้น เพื่อให้เห็นสีและของในแก้ว หรือจะเป็นเอาใจคอเบเกอรี่ด้วยการเสิร์ฟชาเขียวลาเต้อุ่นๆในถ้วยที่ทำจากคุ้กกี้ เป็นการสร้างความรู้สึกใหม่ๆให้ลูกค้ารู้สึกดีได้ ซึ่งภาพลักษณ์ของร้านที่ดีนี้ จะช่วยส่งผลต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าทั้งใหม่และเก่า

Matcha

การทำให้ลูกค้ารู้สึกดีต่อร้าน สามารถเริ่มทำได้ง่ายมาก อาจเริ่มต้นจากการนำคอมเมนต์ดีๆจากลูกค้าเก่า มาบอกเล่าประสบการณ์ผ่านสื่อของร้าน หรืออาจจะเป็นการทำ CSR ก็จะช่วยให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจร้านเรามากขึ้นนั่นเอง

ที่มา

shorturl.at/eiISU

shorturl.at/jsMR1

thestayathomechef.com

http://matchalatteicetea.blogspot.com

บทความจาก : Fuwafuwa

ไอเดียเมนูเบเกอรี่ชาเขียวแบบไม่ง้อเตาอบ

การทำเบเกอรี่อาจจะดูเป็นเรื่องยุ่งยากของใครหลายๆคน ทั้งด้วยเรื่องอุปกรณ์ที่ต้องลงทุนเพิ่มมากมาย เตาอบก็กินพื้นที่ในร้าน แถมการอบขนมก็ยังควบคุมคุณภาพยากไปสำหรับมือใหม่หัดลองทำขนม ลองมาดุไอเดียดีๆของขนม”ไม่อบ” ทำง่าย ใช้เวลาไม่กี่นาทีเท่านั้นเอง แถมเพิ่มเทคนิคในการจัดตกแต่ง ทำให้ขนมไม่อบที่แสนง่าย สวยน่าทาน ดูมีมูลค่ามากขึ้น

เริ่มจาก เมนูแสนง่ายอย่างเครปเค้กชาเขียวที่ใช้เพียงกระทะ ในการทำแผ่นแป้งเครป สามารถครีเอทเมนูน่าทานได้

เครปเค้กชาเขียว เครปเค้กชาเขียว

เริ่มจากนำไข่ 3 ฟอง +  นม 1 ½ ถ้วย + น้ำตาล 1 3/4 ช้อนโต๊ะ + แป้ง 1 ถ้วย + ผงมัทฉะ 1 ช้อนโต๊ะ + ผงฟู 1 ช้อนชา และ เนยละลาย 2 ช้อนโต๊ะ  ผสมให้เข้ากัน เทส่วนผสมทั้งหมดหลังจากคนเข้ากันแล้ว ผ่านกระชอนและพักไว้ในตู้เย็น 2 ชั่วโมง เอาออกมาทอดบนกระทะ บางๆ ให้สุกทั่ว แล้ววางพักไว้ให้เย็น ต่อที่การทำครีมสดแสนอร่อย เพียงนำ วิปปิ้งครีม 3/4 ถ้วย + น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ + เหล้ารัม 1 ช้อนโต๊ะมาตีด้วยตะกร้อมือจนตั้งยอดแข็ง แช่เย็นพักไว้

นำแป้งมาาวาง สลับกับการปาดครีมสดลงไปบาางๆที่ละชั้นซ้อนกันจนสูงเท่าท่ต้องการห่อด้วยพลาสติกให้แน่นและแช่แข็งเป็นเวลา 4 ชั่วโมง เอามาตกแต่งตามสไตล์ที่ชอบ เช่น เทช็อกโกแลตลงบนเครปแล้วปล่อยให้แห้ง

โรยด้วยผงมัทฉะและทองคำเปลว หรือจะครีเอทไปอีกตั้งแต่ตอนวางแป้งเครป จากการวางซ้อนกัน ให้เป็นการวางเป็นวงกลมแทน ก็จะได้ขนมไม่อบในรูปแบบเก๋ไก๋ ไม่ซ้ำร้านไหนเลย

มูสชาเขียว

นอกจากเครปเค้ก การทำมูสชาเขียว ก็เป็นขนมอีกประเภทที่นิยมทำกัยสำหรับครัวที่ไม่มีเตาอบ เพิ่มความแตกต่างหลากหลายด้วยการจัดตกแต่งที่ทำให้ขนมดูสวย น่าทาน สามารถดูวิธีทำมูสชาเขียวได้ที่ https://matchazuki.com/matcha-mousse-pie/

อีกเมนูที่เป็นสูตรหวานน้อย และเป็นที่นิยมในกลุ่มคนรักสุขภาพ คือ การทำ มัทฉะบาร์

มัทฉะบาร์ มัทฉะบาร์

แป้งข้าวโอ๊ต ผงมัทฉะและเกลือ ส่วนผสมสำคัญที่ใช้ในการทำขนมไม่อบตัวนี้ เททั้งหมดลงในชามผสมขนาดใหญ่คนให้เข้ากัน ใส่น้ำเชื่อมเมเปิ้ล เนย นมอัลมอนด์และวานิลลา ผัดจนได้แป้งโดว์ ใช้มือเปียกกดลงในจานอบที่เตรียมไว้ให้เท่าๆ กัน เคลือบช็อกโกแลตโดยใส่ช็อกโกแลตชิพน้ำมันมะพร้าวและเนยลงในชาม เข้าไมโครเวฟ 20 วินาที หรือจนกว่าจะละลาย เทช็อกโกแลตให้ทั่วแท่งแล้วใช้ไม้พายเกลี่ยให้ทั่ว แช่แข็งอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนหั่นเป็นแท่งตามขนาดที่ต้องการ บางร้านใช้การผสมธัญพืชเข้าไปอีกเพื่อให้มีสารอาหารที่มากขึ้น

Matcha Bar

พานาคอตต้าชาเขียวขนมอีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่ต้องใช้เตาอบ ทำง่าย และสามารถเปลี่ยนพิมพ์ได้หลากหลายทรงตามความชอบ และตกแต่งได้หลายแบบ ทั้งราดซอสสตอเบอรี่ โรยถั่วพิตาชิโอ้ ขนมไม่อบ ทานแบบเย็นเหมาะกับอากาศร้อนๆบ้านเรา

พานาคอตต้าชาเขียว พานาคอตต้าชาเขียว

วิธีทำพานาคอตต้าชาเขียวอย่างง่าย เพียงแค่ แช่เจลาติน 8 กรัม ในน้ำเย็นจนนิ่ม เทใส่ครีม 750 มล. + นม 300 มล + น้ำตาลทราย 160 กรัม และกลิ่นวนิลา คนด้วยไฟอ่อนๆ จนเจลาตินละลายหมดแล้วจึงนำออกจากเตา กรองส่วนผสมลงในแม่พิมพ์แล้ว แช่เย็นเป็นเวลา 4 ชั่วโมงหรือข้ามคืน เวลาเสิร์ฟ สามารถเสิร์ฟได้ทั้งพิมพ์ หรือเทออก ก็ได้ตามความชอบ

พาร์เฟต์ชาเขียว พาร์เฟต์ชาเขียว พาร์เฟต์ชาเขียว

อีกหนึ่งเมนูที่เห็นบ่อยที่ญี่ปุ่น คือ พาร์เฟต์ชาเขียวที่ถูกจัดแต่งอย่างสวยงามในแก้วทรงสูง เรียงสลับกับครีมสดหลากหลายรสชาติกันตามสไตล์ของแต่ละร้าน ขนมที่ไม่ต้องใช้เตาอบ และเตรียมวัตถุดิบง่ายที่สุด ท้อปปิ้งด้วย นามะมัทฉะช็อคโกแลต หรือจะเป็นวุ้นชาเขียวญี่ปุ่น ที่เรียกว่า โยคัง ก็ได้ เพิ่มความหนึ่บระหว่างชั้นด้วยโมจิก้อนกลม  แก้เลี่ยนระหว่างชั้นด้วยผลไม้รสเปรี้ยว คอนเฟลค หรือถั่ว เพียงแค่นี้ ก็ได้ขนมแสนอร่อยโดยไม่ต้องใช้เตาอบเลย ถึงแม้ว่าการทำขนมที่อุปกรณ์จะเยอะมากจนหลายคนไม่กล้าที่จะลองทำเมนูใหม่ๆมาขายในร้าน แต่ ขนมไม่อบ ก็เป็นอีกทางเลือกที่ง่าย สะดวก และเหมาะสำหรับมือใหม่หัดทำขนมแน่นอน

ที่มา

https://www.snixykitchen.com/mint-chocolate-mousse-toasted-matcha-meringue/

https://www.hummusapien.com/matcha-protein-bars/

https://balancingandie.com/nobakematchaoatmealbars/

https://www.crazyvegankitchen.com/vegan-matcha-tiramisu-green-tea-tiramisu/

https://www.tastemade.com/videos/matcha-gold-crepe-cakes

บทความจาก : Fuwafuwa

ทำความรู้จักการปลูกชาเขียวแบบออร์แกนิค

ทำไมรสชาติของชาญี่ปุ่นออร์แกนิคจึงมีกลิ่นหอม และหวานละมุน?

Matcha

เพราะการปลูกชาออร์แกนิคเป็นการปลูกชาที่ต้องงดปุ๋ยเคมีหรือยาฆ่าแมลง ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ไม่มีการดัดแปลงพันธุกรรม (ไม่มีจีเอ็มโอ) รวมทั้งเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้ตัดต่อทางพันธุกรรม หรือวัตถุสังเคราะห์ใดๆ ซึ่งการเตรียมหน้าดินก่อนปลูก ต้องทำให้ปลอดสารพิษไม่น้อยกว่า 3 ปี และในกระบวนการผลิตต้องมีการอนุรักษ์ดินและแหล่งน้ำ เพื่อให้ผลผลิตเจริญเติบโตตามธรรมชาติอย่างแท้จริง และปลอดภัยต่อสุขภาพไม่มีสารตกค้างจากสารเคมี เนื่องจากการปลูกชาโดยทั่วไปยังมีการใช้สารเคมีและยาปราบศัตรูพืชซึ่งอาจจะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว

ปัจจุบันแม้ชาส่วนใหญ่ที่ญี่ปุ่นเป็นเพียงชาปลอดสารพิษ มีเปอร์เซ็นต์น้อยมากๆ ที่เป็นออร์แกนิค 100% เพราะเป็นเรื่องยากที่จะสร้างไร่ชาออร์แกนิคนั่นเอง เนื่องจากมีไร่ชาปลอดสารพิษมากมายอยู่ในพื้นที่ติดกัน และมีการแพร่กระจายของปุ๋ยเคมีหรือสารกำจัดศัตรูพืชและสารเคมีที่แทรกซึมผ่านดินจากฟาร์มโดยรอบสามารถเข้าสู่ฟาร์มอินทรีย์ ดังนั้นไร่ชาออร์แกนิคจำเป็นต้องสร้างพื้นที่กันชนหรือที่พักพิงระหว่างไร่ชาออร์แกนิกและไร่ชาปลอดสารพิษ เพื่อให้สภาพดินไร้สารเคมีอย่างแท้จริง

Matcha

ชาออร์แกนิคมีรสชาติที่เรียบง่ายเพราะชาได้รับสารอาหารที่มีอยู่ในดินโดยตรง และรสชาติชาจะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศด้วย การคัดเฉพาะยอดอ่อน 3 ใบบนเท่านั้น และเก็บเฉพาะช่วงเช้าก่อน 7 โมงเช้า เทคนิคที่ทำให้ชาออร์แกนิคมีรสชาติที่ละมุนพิเศษ เพราะใบชาจะผลิใบรับแสงแดดอ่อนๆ อย่างเต็มที่ และมีละอองน้ำค้างที่จะขับกลิ่นหอมและรสชาติหวานละมุนของชาให้ออกมาได้อย่างเต็มที่ในช่วงเวลาเช้านี่เองสภาพอากาศจึงเป็นอีกตัวแปรสำคัญที่ทำให้รสชาติชาเป็นเอกลักษณ์

อีกสาเหตุที่การปลูกชาออร์แกนิคได้รับความนิยมไม่มากนักเพราะว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ให้ออกผลผลิตได้รวดเร็วตามที่ต้องการ ปุ๋ยอินทรีย์จะทำงานช้าเป็นเวลา 3 ถึง 9 เดือน ในทางตรงกันข้ามปุ๋ยเคมีจะทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในเวลาประมาณ 1 เดือนเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับต้นทุนการผลิต ที่ปุ๋ยอินทรีย์จะทำงานช้า ดังนั้นต้นชาอินทรีย์จึงมีภาระมากกว่าต้นชาที่ไม่ใช่ออร์แกนิก ในทางกลับกันปุ๋ยเคมีในไร่ชาปลอดสารพิษทำให้กระบวนการปลูกง่ายขึ้นมาก ออกผลผลิตเร็ว

ดินในไร่ชาออร์แกนิกโดยทั่วไปมีอากาศมากกว่าและนุ่มกว่าดินในไร่ชาที่ไม่ใช่อินทรีย์ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณปุ๋ยที่ใช้ด้วย หากใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในปริมาณมากทำให้ดินนุ่มและโปร่งสบายขึ้น นี่เป็นเรื่องจริงสำหรับทั้งไร่ชาออร์แกนิคและไม่ใช่ออร์แกนิค ดินจะโปร่งสบายเนื่องจากแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในดินและสร้างสารอาหารและสภาพแวดล้อมที่ดีต่อใบชา

Matcha Field

ในพื้นที่ไร่ชาที่เมืองอูจิ เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงฤดูร้อน แสงแดดจะร้อนจัดและอากาศชื้น แต่ด้วยความชื้น พร้อมกับปุ๋ยที่อุดมสมบูรณ์นี้ เป็นสภาพแวดล้อมที่ดีมากสำหรับต้นชา แต่ยังเป็นสภาพแวดล้อมที่วัชพืชชื่นชอบด้วยเช่นกัน การกำจัดวัชพืชในไร่ชาออร์แกนิค ต้องใช้การถอนเถาวัลย์ออกจากต้นชา ถือเป็นงานที่ยาก เพราะชาออร์แกนิค กำจัดวัชพืชทำด้วยมือเท่านั้น และต้องกำจัดออกเพื่อป้องกันไม่ให้วัชพืชดูดซับสารอาหารจากปุ๋ยไปหมด

Matcha

ชาออร์แกนิคจะมีรสชาติที่รสชาติอร่อยกว่าชาจากไร่อื่นๆเพราะเติบโตในสภาพอากาศที่เหมาะสมและแหล่งน้ำธรรมชาติ คุณภาพดีเพราะเก็บด้วยมือ แถมยังปลอดภัยต่อสุขภาพในระยะยาว เพราะไม่มีสารเคมีตกค้าง จึงทำให้มีราคาที่สูงกว่าชาทั่วๆไปนั่นเอง

ที่มา

https://www.unclelee.com/article-history-our-tea.html

https://www.hibiki-an.com/contents.php/cnID/19

บทความจาก : Fuwafuwa

“ชาเขียว“ ของขวัญทุกเทศกาลของคนญี่ปุ่น

ชาวญี่ปุ่นมักจะมีของฝากเล็กๆน้อยๆถือติดไม้ติดมือมอบให้กันอยู่เรื่อยๆไม่ว่าจะเป็นโอกาไหนๆ เช่น หากต้องเดินทางไปต่างถิ่นหรือแม้กระทั่งทริปเล็กๆ โดยทั่วไปก็จะนืยมซื้อของฝาก หรือในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “โอมิยาเกะ” มาให้ โดยของฝากมีทั้งเป็นห่อคุกกี้น่ารักๆ ช็อกโกแลต ชาเขียว หรือของหวานญี่ปุ่นชนิดต่างๆ

ไม่เพียงแค่การซื้อของฝากจากการไปท่องเที่ยว แต่การมอบของขวัญให้แก่กันทได้เป็นวัฒนธรรมที่ฝังรากลึกลงไปของคนญี่ปุ่น อย่างเช่น วันปีใหญ่ แต่งงาน คลอดบุตร ฯลฯ ซึ่ง”ชา”ถือว่าเป็นของขวัญที่นิยมมากๆเลยก็ว่าได้ การมอบชาเขียวให้กันนั้นก็จะแฝงความหมายที่แตกต่างตามวาระโอกาสที่ให้ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความยินดี การทักทาย หรือแสดงความขอบคุณ เพราะ”ชา”เป็นสิ่งที่ชาวญี่ปุ่นดื่มกันทุกวันอยู่แล้ว นอกจากจะดีต่อสุขภาพแล้ว ให้ความรู้สึกถึงความมีคุณภาพ มีราคา ยิ่งส่งมอบให้กันเป็นชุด gift set หรือ ห่อด้วยผ้าฟุโรชิกิด้วยแล้ว ยิ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กลายเป็นเซ็ตชาที่ถูกใจผู้รับแน่นอน อีกเหตุผลที่นิยมให้ชาเป็นของขวัญ เพราะนอกจากนั้นยังเก็บรักษาได้นาน และมีขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป ทานได้ทุกเพศทุกวัย ชายังแฝงความหมายที่ดีและเป็นมงคลที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ด้วย เช่น


  • คำว่า ฉะเมียว (茶寿) ที่สะกดด้วยตัว 茶 ที่แปลว่า ชา อยู่ในคำนั้นด้วย ฉะเมียว ในความหมายคนญี่ปุ่น หมายถึง “การแสดงความยินดีฉลองอายุครบ 108 ปี” การมอบชาเป็นของขวัญจึงถือเป็นการอวยพรขอให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง อายุยืนยาว
  • ในงานแต่งงานของคนญี่ปุ่นบางพื้นที่ ได้แก่ ภูมิภาคคิวชู รวมถึง จังหวัดนีกาตะและฟุคุชิมะ จะมีการมอบ “ชุดชา” เป็นของขวัญสำหรับงานหมั้น เพราะต้นชามีอายุยืนยาว หยั่งรากลึกลงในดิน ยากที่จะถอนแล้วนำไปปลูกใหม่อีกครั้ง แสดงถึง “การแต่งงานออกเรือนของเจ้าสาวเพียงครั้งเดียว และยึดมั่นในคู่ครองไปตลอดชีวิต”
  • ในวันขึ้นปีใหม่ของญี่ปุ่นจะมีธรรมเนียมการดื่มชา ไดฟุคุฉะ (大福茶) เป็นชาที่ดื่มเพื่อขอให้ในปีนี้ปลอดภัยจากภัยพิบัติ และโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ โดยเฉพาะที่เกียวโต สืบเนื่องมาจากในสมัยก่อนที่มีนักบวชเอาชาไปแจกให้ผู้ป่วยติดเชื้อดื่ม และอาการหายเป็นปกติ การรับประทานชุดอาหารโอเซจิ (おせち料理) ในวันขึ้นปีใหม่ พร้อมดื่มไดฟุคุฉะกับบ๊วยแห้งและสาหร่ายคอมบุ วัฒนธรรมที่สืบทอดต่อกันมายาวนาน
  • คำว่า เมเดไต (めでたい) ที่แปลว่า “น่ายินดี” ในภาษาญี่ปุ่น พ้องเสียงกับคำว่า เมเดไต (芽出たい) ที่แปลว่า “ต้องการแตกหน่อ(ของยอดชา)” ดังนั้นการมอบชาเป็นของขวัญจึงมีความเป็นสิริมงคลที่คนญี่ปุ่นเชื่อว่า หมายถึง การแสดงความยินดีต่อผู้รับนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม บางตำรากล่าวว่ากชาเป็นเครื่องดื่มที่ญี่ปุ่นรับมาจากประเทศจีนพร้อมกับศาสนาพุทธ จึงให้ภาพพจน์ที่เกี่ยวข้องกับพิธีทางพุทธศาสนา ซี่งส่วนมากจะเป็นพิธีศพ จึงควรหลีกเลี่ยงที่จะให้ชาเป็นของขวัญ แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ความเชื่อนั้นก็ได้หายไป และยังมีความนิยมส่งชินชะ (新茶) ซึ่งเป็นชาแรกของฤดูที่ทำจากยอดอ่อนที่เก็บได้ครั้งแรก ให้เป็นของขวัญตามฤดูกาลมากขึ้น
นอกจากโอกาสมงคลต่างๆ ที่เราส่งมอบชากันเป็นของขวัญแล้ว ยังมีวัฒนธรรมการดื่มชาอื่นๆที่คนญี่ปุ่นจะดื่มกันอีก เช่น

  • ซากุระยุ (桜湯) ที่ได้จากการชงน้ำร้อนกับกลีบดอกซากุระที่ปรุงรสด้วยเกลือ แทนชาเขียว นิยมดื่มในโอกาสมงคล คู่กับขนมฮิกาชิ เป็นขนมแห้ง ชิ้นเล็กมีลวดลายและสีสันงดงาม คล้ายขนมผิงบ้านเรา
  • ในฤดูร้อนนิยมดื่ม มุงิชะ (麦茶) ชาข้าวบาร์เลย์เย็นๆ คลายร้อน
  • ถ้าใช้รับรองแขก จะนิยมเสิร์ฟเกียวกุโระ ( 玉露 ) หรือ เซ็นชะ ( 煎茶 ) คู่กับขนมวากาชิ
  • แต่ในชีวิตประจำวันจะนิยมดื่มโฮจิฉะ ( ほうじ茶 ) บันชะ ( 番茶 ) เก็นไมฉะ ( 玄米茶 ) คู่กับขนมเซมเบ้

เลือกชาให้ถูกประเภท ถูกเทศกาล การส่งมอบของขวัญด้วยชา จะทำให้ผู้รับประทับใจมากยิ่งขึ้น


ที่มา

https://www.hibiki-an.com/index.php/cPath/26
https://www.ooigawachaen.co.jp/blog/2015/12/16/249
https://www.alfemminile.com/none/none-s4002149.html

By : Contrary To Popular Belief

3 ขนมติดอันดับของคนญี่ปุ่น ที่ชอบทานคู่ชาเขียว

การกินชาเขียวให้อร่อย หลายคนคงทราบอยู่แล้วว่าคนญี่ปุ่นนิยมทานคู่กับขนมหวานญี่ปุ่น หรือที่เรียกว่า วากาชิ แม้ว่าที่จริงแล้วในพิธีชงชามีขนมอื่น ๆ อีกมากมายที่สามารถทานคู่ชาเขียวได้ แต่ขนมที่ติดอันดับคนนิยมกินคู่กับการดื่มชาและคนไทยรู้จักกันดี ได้แก่
อันดับ 1 คือ ไดฟุกุ ขนมแป้งโมจินุ่มหนึบที่พิเศษด้วยไส้ที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นไส้ชาเขียวลาวา ไส้ชาเขียวถั่วแดง บางเจ้าก็ใส่ผลไม้เข้าไปด้วยเพื่อเพิ่มรสชาติความอร่อย ขนมรสชาติออกหวาน ได้ชาเขียวร้อนๆเสิร์ฟคู่กัน เป็นความอร่อยที่ลงตัว
ส่วนใครที่อยากลองปั้นขนมไดฟุกุเอง เสิร์ฟคู่กับชาที่ร้าน เพิ่มสไตล์ความเป็นญี่ปุ่นให้กับเมนูในร้านสามารถทำได้เองง่ายๆ และต่อยอดเปลี่ยนรสชาติแป้งได้ฟุกุ หรือไส้ได้ตามชอบ

เมนู ไดฟุกุชาเขียว สตอเบอรี่

  1. แป้งข้าวเหนียว 100 กรัม
  2. แป้งมัน 20 กรัม ( สำหรับทำแป้งนวล )
  3. ผงมัทฉะ 10 กรัม
  4. น้ำตาลทราย 50 กรัม
  5. น้ำเปล่า 150 มล.
  6. ถั่วขาวกวนสำเร็จ 200 กรัม + ผงชา
  7. เขียว 5 กรัม
  8. สตรอเบอร์รี่

วิธีทำ

  1. แป้งข้าวเหนียว, ผงมัทฉะ, น้ำตาลทราย ผสมให้เข้ากัน ในภาชนะที่เข้าไมโครเวฟได้ ค่อยๆเติมน้ำผสมจนแป้งไม่เป็นเม็ด ลักษณะจะเหลวข้น
  2. นำส่วนผสมแป้งเข้าไมโครเวฟ โดยใช้พลาสติกแรพไว้ หรือ หา ภาชนะปิดไม่ให้แป้งหน้าแห้ง ใช้ไฟแรงสุดนาน 3 นาที นำออกมาเกลี่ยทุกๆ 1 นาที สังเกตแป้ง ถ้าสุกจะเปลี่ยนเป็นแป้งใส และจะจับตัวเป็นก้อน
  3. นำแป้งที่กวนสุกแล้ว คลุกกับแป้งนวล ตัดแบ่งให้เท่าๆกัน แผ่แป้งให้เป็นแผ่นกลม ใส่ไส้ถั่วขาวที่ผสมกันกับผงชาเขียวเป็นเนื้อเดียวกันที่ห่อลูกสตรอเบอร์รี่ไว้ ปั้นเป็นก้อนกลม คลุกแป้งนวลเพื่อไม่ให้ไดฟุกุติดกัน เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

โดยปกติของการเสิร์ฟไดฟุกุ จะมีไม้เล็ก ๆ หรือที่เรียกว่า คุโระโมจิ (黒文字) ก็จะเป็นสัญลักษณ์ว่า ให้ทานขนมโดยการตัดแบ่งให้พอดีคำก่อนทาน ส่วนใหญ่จะเป็นขนมชิ้นไม่ใหญ่มากตัดได้ประมาณ 3-4 ครั้ง นั่นเอง

ต่อมาอันดับ 2 คือ เซมเบ้ ขนมข้าวกรอบที่มีหลายรูปทรง ขนาด และรสชาติ โดยปกติแล้วจะเป็นรสเค็ม(เป็นรสชาติของโชยุ)​ แต่รสหวานก็มีให้เห็น ส่วนใหญ่แล้วเซ็มเบจะรับประทานคู่กับชาเขียว เป็นขนมและจัดให้แขกที่มาเยี่ยมเยียนที่บ้านนั่นเอง โดยปกติแล้วเซ็มเบจะทำโดยการอบ หรือย่างถ่านแบบดั้งเดิม ระหว่างปรุงอาจมีการทาเซ็มเบด้วยซอสปรุงรส ซึ่งส่วนมากทำจากซอสถั่วเหลืองและมิริน จากนั้นอาจห่อด้วยสาหร่ายและปรุงด้วยเกลือ การเสิร์ฟเซมเบ้คู่กับชานั้นจะไม่มีไม้คุโระโมจิเหมือนอย่างไดฟุกุ จะเป็นที่รู้กันว่าให้ใช้มือทานได้เลยไม่เสียมารยาทนั่นเอง


หากร้านไหนอยากลองทำดังโงะเองที่ร้านก็สามารถทำได้ วิธีทำคล้ายกับการปั้นบัวลอยบ้านเราเลยทีเดียว
วัตถุดิบ ได้แก่ เต้าหู้ขาว 250 กรัม แป้งข้าวเจ้า (หรือแป้งโมจิ) + น้ำตาล 200 กรัม

วิธีทำแสนง่าย : ก่อนอื่นให้ใช้มือนวดผสมเต้าหู้และแป้งข้าวเจ้าเข้าด้วยกัน ให้แป้งมีความนุ่มกำลังดี ไม่นิ่มและไม่แข็งจนเกินไป หลังจากนั้นปั้นเป็นก้อนกลม ต้มน้ำในหม้อขนาดใหญ่จนเดือดและใส่ดังโงะก้อนกลมลงไป ต้มไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะลอยขึ้นมา เมื่อลอยขึ้นมาเหนือผิวน้ำแล้วให้ต้มต่อไปอีกประมาณ 2 – 3 นาทีและตักออกมาพักไว้บนจานรองกระดาษ นำไปเสียบไม้ ทานคู่ซอส หรือย่างไฟอ่อนๆก่อนก็ได้ตามชอบ เสิร์ฟคู่ชาเขียวร้อนของที่ร้าน รับรองว่าลูกค้าที่มาที่ร้านต้องรู้สึกเหมือนได้ไปญี่ปุ่นแน่นอน

ที่มา

https://www.pinterest.com/pin/325807354293426536/
https://moichizen.exblog.jp/13348925/
https://www.pinterest.com/pin/14707136267674817/
https://www.japancentre.com/en/recipes/1669-matcha-ganache-filled-strawberry-daifuku

By : Contrary To Popular Belief

โมเดลร้านชา ทางเลือกใหม่ของธุรกิจเครื่องดื่ม

ช่วงนี้ธุรกิจเกิดใหม่เกิดขึ้นเยอะ โดยเฉพาะแวดวงอาหาร สร้างความท้าทายอย่างมากให้กับเจ้าของกิจการเพื่อปรับตัวเข้าหาผู้บริโภค อีกทั้งยังมีปัญหามากมายไม่ว่าจะเป็นจำนวนลูกค้าหรือกำลังซื้อที่ลดลง ร้านอาหารแบรนด์ดังๆหลายร้านเริ่มหาโมเดลใหม่ๆให้ธุรกิจตัวเอง เพราะทำอะไรแบบเดิมๆ ธุรกิจก็ไม่อาจเพิ่มยอดขายต่อไปได้ การทดลองทำโมเดลใหม่ๆ เพิ่มช่องทางหารายได้ จึงเป็นโมเดลที่น่าทดลองทั้งกับผู้ประกอบการรายใหม่และรายเดิม เริ่มที่คุ้นเคยๆกันอย่าง

โมเดลร้านชา

Food Truck ที่ดัดแปลงรถให้กลายเป็นร้านขายอาหาร หรือเครื่องดื่มแบบเคลื่อนที่ได้ จุดเด่นของโมเดลนี้คือการใช้พื้นที่น้อย ยืดหยุ่นในด้านทำเลเพราะเคลื่อนย้ายได้ง่าย บริการเสิร์ฟในรูปแบบขายร้านคีออสปกติ แต่สามารถขับเคลื่อนเข้าหากลุ่มลูกค้าได้ทุกที่ที่ต้องการไม่ว่าจะเป็นตามงานอีเว้นต์ หรือบริเวณที่อยากทดลองขายโดยไม่เสียค่าเช่าที่ เพื่อเน้นการเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น โดยเฉพาะลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งวิธีทำไม่ซับซ้อน ใช้เวลาทำรวดเร็วเพื่อเน้นจำนวนลูกค้าและปริมาณการขายที่มาก ซึ่งรถ Food Truck จะเป็นลักษณะครัวเปิด โดดเด่นเรื่องกลิ่นหอม ยิ่งถ้าขายเครื่องดื่มอย่างชา กาแฟ ยิ่งสามารถดึงความหอมมาดึงดูดลูกค้าได้ อีกทั้งยังเป็นตัวกระตุ้นความสนใจของลูกค้าให้เข้ามาซื้อได้อีกทาง หลายๆ ร้านที่ญี่ปุ่น ก็เริ่มต้นจากการทำโมเดลนี้ สร้างแบรนด์และขยายธุรกิจให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น

Food Truck Food Truck

Meal Kits เริ่มจากจากกระแสการทำอาหารทานเองที่บ้านในช่วงโควิดที่หลายคนผันตัวมาเข้าครัวมากขึ้น ทำให้การขาย Meal Kits หรือชุดวัตถุดิบอาหารพร้อมปรุงเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยในชุดที่ส่งไปจะมีส่วนผสมให้พร้อมใยเมนูขั้นตอนวิธีการทำอาหารจัดส่งให้ลูกค้าไปทำทานเองที่บ้าน นอกจากจะช่วยให้มือใหม่เข้าครัวได้ง่ายๆแล้ว ยังอำนวนความสะดวกให้กับคนที่ไม่อยากออกจากบ้านไปหาซื้อวัตถุดิบ และยังประหยัดเวลาด้วย ซึ่งการจัดชุดเครื่องดื่มชา ยังไม่เป็นที่นิยมนัก จึงเป็นช่องว่างในธุรกิจเครื่องดื่มที่น่าสนใจสำหรับร้านที่มีเมนูเป็นเอกลักษณ์ แล้วสามารถนำส่วนผสมมาจัดชุดได้ เพราะการขายแบบนี้  สามารถลดต้นทุนในด้านต่างๆได้ เช่น พนักงานหน้าร้าน ค่าดูแลรักษาร้านคาเฟ่ เพียงแค่จัดชุดวัตถุดิบใบเมนูสูตรจัดส่งเดลิเวอรี่ ก็ขยายกลุ่มลูกค้าได้มากและเป็นกลุ่มที่กว้างขึ้น เช่นในชุดประกอบไปด้วยฉะเซ็น ผงชา ถ้วยชงชา วิธีการชงชา เป็นต้น ให้ลูกค้าได้สร้างบรรยากาศแบบญี่ปุ่นๆได้เองที่บ้าน

Meal Kits  Meal Kits

หรือจะเป็นชุดอุปกรณ์ทำขนมจากผงมัทฉะก็น่าสนใจไม่น้อย เพราะยุคนี้ใครๆก็เข้าครัวได้ ถ้ามีอุปกรณ์ทำขนมที่ถ้าหาซื้อเองแล้วดูจะวุ่นวาย ไม่รู้ว่าต้องใช้ผงมัทฉะความเข้มระดับไหน อุปกรณ์ก็เยอะ ทุกอย่างจะง่ายขึ้นเพียงคุณรวมชุดให้ลูกค้าเลย ทั้งแป้ง น้ำตาล เนย ผงมัทฉะ แม่พิมพ์ขนม และอุปกรณ์อื่นๆ พร้อมใบสูตร เมื่อได้ลงมือทำขนมเอง แน่นอนว่า ก็จะเกิดการถ่ายรูป แชร์ต่อในโลกโซเชียล เป็นการกระจายการรับรู้ของแบรนด์ในมุมที่กว้างขึ้นได้

Cloud Kitchen Cloud Kitchen

Ghost Kitchen หรือ Cloud Kitchen เป็นร้านอีกรูปแบบที่ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน มีแค่ครัวสำหรับทำอาหารส่งทางเดลิเวอรีเท่านั้นได้ เป็นความร่วมมือทางธุรกิจของสองแบรนด์ในการใช้ครัวกลางที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากจะช่วยลดต้นทุนแล้ว ละช่วยให้ลูกค้าออเดอร์อาหารได้หลากหลายจากที่เดียวและยังเป็นการเพิ่มประสบการณ์ให้พ่อครัว ที่สำคัญที่สุด คือ การประหยัดเรื่องต้นทุนค่าเช่าหน้าร้าน ยิ่งหากใครมีร้านชาอยู่แล้วอยากขยายสาขาแต่ไม่มีเงินทุน ก็สามารถใช้การเปิดแบบ Cloud Kitchen แทนได้ง่ายๆ

Cloud Kitchen Cloud Kitchen

โมเดลร้านชายุคนี้จึงไม่จำเป็นต้องมีแต่หน้าร้านให้เลือกซื้อและดื่มด่ำได้อย่างเดียว แต่กลับสามารถชงดื่มเองได้จากที่บ้านในรสชาติที่เหมือนกับมานั่งทานคาเฟ่ เพียงแค่ลองมุมกว้างๆดูจะเห็นโมเดลการทำธุรกิจชาอีกหลายรูปแบบที่น่าลอง

ที่มา

https://www.kenkotea.com.au/blogs/news/59665541-matcha-green-tea-fruity-parfait-recipe

https://www.gatherandfeast.com/matcha-coconut-cacao-protein-balls

http://fraeuleinanker.de/porto-hipster-coffee-guide/

บทความจาก : Fuwafuwa

Chasen หนึ่งในอุปกรณ์สำคัญในการชงมัทฉะ

Chasen (茶筅 หรือที่เรียกว่า ที่ตีฟองชา) เป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญในการชงตีผงมัทฉะให้ละลาย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีลักษณะแปรงและคุณภาพที่เหมาะสมเพื่อให้ได้มัทฉะที่ดี ซึ่งฉะเซ็นมีหลายประเภท ที่มีความแตกต่างแค่เล็กน้อยในวัสดุ และรูปร่าง และลักษณะการใช้งาน โดยวัสดุหลักที่ใช้คือ ไม้ไผ่ ซึ่งไม้ไผ่ที่ใช้ทำมี 3 ชนิดหลัก ได้แก่ ไผ่ Hachiku, ไผ่ Susudake, และไผ่ดำ Kurodake โดยไผ่ Hachiku เป็นวัสดุที่นิยมใช้มากที่สุดในการทำฉะเซ็น เพราะเนื้อไม้มีความเนียน และอ่อน ทำให้แกะง่าย แต่ในขณะเดียวกันก็มีความทนทานต่ำและแตกง่ายเช่นกัน

Susudake

หากใช้ไผ่ Susudakeจะมีความทนทานกว่า แต่จะหาไผ่ชนิดนี้ค่อนข้างยาก ส่วนไม้ไผ่ Kurodakeเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักมากที่สุดในการทำฉะเซ็น อยู่ได้นานกว่าไม้ไผ่ Hachiku 3 เท่า แต่ไม้ชนิดไผ่ Kurodakeจะแกะสลักได้ยากเป็นพิเศษ ไผ่ที่ใช้ทำฉะเซ็นมักมีอายุประมาณ 3 ปีและเก็บเกี่ยวในฤดูหนาว หลังจากการเก็บเกี่ยวไม้ไผ่จะแห้งเป็นเวลาหนึ่งปี ขั้นแรกในช่วงฤดูหนาวจะทำด้านนอกโดยปล่อยให้สภาพอากาศในฤดูหนาวเป็นไม้จากนั้นนำไปเก็บไว้ในที่เก็บของแห้งและทิ้งไว้ที่นั่นตลอดทั้งปี

Chasen

เมื่อไม้ไผ่พร้อมแล้วจะเลือกไม้ไผ่ที่เหมาะสม สภาพสมบูรณ์ที่สุด มาตัดเป็นชิ้นยาว 9-12 ซม. และแกะสลักด้วยมือเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่พร้อมใช้งานโดยเด็กฝึกงาน และถูกส่งกลับไปยังต้นทางผู้ชำนาญการแกะสลักอีกครั้งเพื่อทำการปรับแต่งอย่างละเอียดซึ่งประกอบด้วยการโค้งงอและเกลียว

Chasen Chasen

รูปร่างสุดท้ายของฉะเซ็นถูกกำหนดขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆมากมาย เช่น Chu-araho ฉะเซ็นที่มีขนแปรงหยาบกว่า 70 ถึง 80 ที่ใช้สำหรับโคอิชะ (มัทฉะแบบเข้มข้น) และ Kazuho ฉะเซ็นที่มีขนแปรงละเอียดมากถึง 120 ชนิดที่ใช้เป็นหลักสำหรับอุซึฉะ (มัทฉะแบบเจือจาง)

แม้ว่าจะมีหลายประเทศที่พยายามทำฉะเซ็นขึ้นมา แต่ว่าที่ญี่ปุ่นยังให้คุณภาพที่ดีกว่าอย่างสม่ำเสมอเนื่องจากความใส่ใจในรายละเอียดของช่างฝีมือในแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่การเลือกไม้ไผ่อย่างพิถีพิถันไปจนถึงการตัดและขึ้นรูปในแต่ละครั้ง เพราะคุณภาพไม้ไผ่มีผลอย่างมากต่อความทนทานของฉะเซ็นซึ่งส่งผลต่อให้การตีชาด้วยฉะเซ็นที่ทำจากไม้ไผ่คุณภาพสูงมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น

ส่วนจำนวนสายตะกร้อที่ตียิ่งมีความละเอียดมากเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้มัทฉะแก้วนั้นนุ่มนวลขึ้น ฉะเซ็นทั่วไปที่ขายมีจำนวนซี่ตะกร้อระหว่าง 16 ถึง 120 ซี่ ยิ่งจำนวนสูงเท่าไหร่ก็ยิ่งง่ายต่อการปัดผงชาลงในน้ำ และ ตีมัทฉะให้ขึ้นฟองได้ง่าย ฟองละเอียด แต่ถ้าจำนวนซี่น้อยจะใช้เวลาในการตีนานขึ้น ส่วนวิธีใช้ แนะนำให้วางฉะเซ็นส่วนที่เป็นตะกร้อตีลงในน้ำร้อนสักสองสามวินาทีก่อนเพื่อคลายตัวไม้ไผ่ให้อ่อนลง เคล็ดลับในการตี คือ การงอข้อมือเล็กน้อยในขณะที่ขยับข้อมือเท่านั้น ปัดส่วนผสมให้เร็วที่สุดโดยใช้การเคลื่อนไหวเป็นรูปตัว M หรือ W หลังจากได้ชั้นโฟมที่เท่ากันแล้วให้ค่อยๆเอาที่ปัดในลักษณะหมุนวนอีกครั้งเป็นอันเรียบร้อย

Chasen Chasen

ฉะเซ็นมีหลายประเภท หากนับกันจริงๆแล้วจะพบว่ามีมากถึงหนึ่งร้อยรุ่นเลยทีเดียว ในยุคเริ่มแรกนั้น ฉะเซ็นถูกทำออกมาเพียงแค่รุ่นเดียวเท่านั้น ทว่าหลังจากที่พิธีชงชาญี่ปุ่นเกิดการแพร่หลาย ลูกศิษย์ของเซนโนะริคิวหลายคนต่างก็ออกไปเปิดสำนักชงชาของตนเอง นำความรู้ที่ได้จากการร่ำเรียนกับริคิวไปเผยแพร่ต่อ ซึ่งแต่ละคนต่างก็ได้ดัดแปลงรายละเอียดปลีกย่อยบางอย่างให้เข้ากับอัตลักษณ์และค่านิยมส่วนตน และเมื่อเวลาผ่านไปเรื่อยๆ รายละเอียดที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเหล่านั้นในเริ่มแรกก็ได้แตกแขนงออกไปเรื่อยๆ จนกระทั่งกลายเป็นข้อแตกต่างของแต่ละสำนักชงชาในที่สุด รวมถึงรูปทรงของฉะเซ็นที่แต่ละสำนักใช้ในการชงชาด้วยเช่นกัน

ในส่วนของด้ายที่นำมาพันฉะเซ็น ก็มีข้อแตกต่างไปตามแต่ละรุ่นอีกเช่นกัน ฉะเซ็นปกติจะใช้ด้ายสีดำ ทว่าฉะเซ็นที่ใช้ในโอกาสพิเศษจะถูกพันด้วยด้ายสีแดงหรือสีขาว เพื่อความเป็นศิริมงคล โดยเฉพาะฉะเซ็นรุ่นที่ใช้ในวันขึ้นปีใหม่

Chasen

อยากรู้แปรงชงชาแบบไหนเป็นที่นิยม อ่านต่อได้ที่บทความ >> 10 อันดับ แปรงชงชาเขียว แบบไหนดี ปี 2022

ที่มา

http://japan-web-magazine.com/japanese-tea/japan-japanese-tea-ceremony0.html

https://zhaozhoutea.com/chasen-%E8%8C%B6%E7%AD%85-the-matcha-whiskchasen/

บทความจาก : Fuwafuwa

 

เจาะลึกมาทำความรู้จัก ชาเก็นไมฉะ

ชาเก็นไมฉะที่ทุกคนรู้จักกันว่าเป็นชาข้าวคั่ว รู้มั้ยว่า มีอีกชื่อว่าเป็น Brown Rice Tea หรือ Popcorn Tea ซึ่งชาเก็นไมฉะ เป็นลูกผสมของชาข้าวคั่วและชาเขียวของญี่ปุ่น (Bancha หรือ Sencha ก็ได้) ในสัดส่วนผสม 1: 1 แม้จะเป็นชาลูกผสมแต่ประโยชน์ต่อสุขภาพที่น่าอัศจรรย์ของชาเก็นไมฉะก็มีมากมายไม่แพ้ชาเขียวเลยทีเดียว ซึ่งชาเก็นไมฉะนี้ มีกลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์จากการคั่วข้าวคั่วผสมกับใบชาเขียวทำให้ได้กลิ่นเหมือยป๊อปคอร์นนั่นเอง จึงเป็นที่มาของชื่อ Popcorn Tea ประกอบกับมีเป็นชาที่เป็นลูกผสม จึงมีปริมาณคาเฟอีนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับ ชา Bancha หรือ ชา Sencha ชาเก้นไมฉะ จึงกลายเป็นชาที่เหมาะสำหรับเด็กและผู้สูงอายุด้วย

genmaicha

หากพูดถึงชา Banchaถือเป็นชาเขียวอันดับที่มาจากการเก็บเกี่ยวครั้งที่สองหรือสาม จึงแทบจะไม่มีความขมและรสชาติที่สดชื่น แต่ก็กลายเป็นชาเขียวที่เหมาะสำหรับดื่มในชีวิตประจำวันและไม่มีคาเฟอีนมากไป จึงทำให้เด็กและผู้สูงอายุสามารถเพลิดเพลินได้ ส่วนชา Sencha เป็นชาเขียวของญี่ปุ่นทั่วไปที่ปลูกโดยใช้แสงแดดส่องถึงจนสุดหลังจากที่ดอกตูมใหม่ออกมา มีรสชาติความขมและกลิ่นหอมสดชื่นในปริมาณที่ได้สมดุลกัน เป็นที่ชื่นชอบของทุกเพศทุกวัยในญี่ปุ่น และยังครองตำแหน่งชามากกว่า 80% ในตลาดญี่ปุ่นด้วย และมีปริมาณคาเฟอีนเพียง 1 ใน 30 เมื่อเทียบกับกาแฟ 1 แก้ว

ทั้งชา Bancha และ ชา Sencha จึงเป็นส่วนผสมหลักของชาเก็นไมฉะที่ช่วยส่งเสริมให้ชาเก็นไมฉะให้ประโยชน์ต่อสุขภาพที่ยอดเยี่ยมไม่แพ้ชาตัวอื่นๆ ส่วนข้าวกล้องก็ขึ้นแท่นเป็นข้าวที่หอมที่สุดเมื่อนำมาคั่วเพื่อทำเป้นชาเก็นไมฉะนั่นเอง

สารอาหารหลักของชาเก็นไมฉะ ได้แก่ คาเทชิน ธีอะนิน วิตามินซี วิตามินบีรวม วิตามินอี ซึ่งมีส่วนช่วยในการต่อต้านริ้วรอย เพราะคาเทชิน มีส่วนช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันหรือน้ำตาลส่วนเกินดูดซึมในร่างกายและเพิ่มจำนวนแบคทีเรียที่ดีในลำไส้ เป็นตัวแทนในการต่อต้านแบคทีเรียที่จะป้องกันไม่ให้เป็นหวัดอาหารเป็นพิษหรือมีกลิ่นปาก นอกจากนี้ในชาเก็นไมฉะมีวิตามินแร่ธาตุและเส้นใยอาหารที่ค่อนข้างสูง จึงช่วยป้องกันอาการท้องผูก และเพิ่มการเผาผลาญได้ดี และมีสารGamma-oryzanol ที่มีผลดีในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดอุดตันเบาหวานและโรคอ้วนอีกด้วย และวิตามินบีคอมเพล็กซ์ในเก็นไมฉะ สามารถช่วยให้หายจากความเหนื่อยล้า ความเครียดได้

genmaicha genmaicha

ส่วนช่วงเวลาที่ควรดื่มชาเก็นไมแะนั้น แน่นอนว่าสามารถดื่มได้ทุกเมื่อ แต่ถ้าต้องการลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วงเวลาที่ดีที่สุดคือ ก่อนมื้ออาหาร

หากดื่มในระหว่างมื้ออาหารก็มีผลดีเช่นกัน เพราะช่วยในการควบคุมคอเลสเตอรอลและการเผาผลาญไขมัน เนื่องจากชาเก็นไมฉะจะยิ่งอร่อยสดชื่นยิ่งขึ้นเมื่อทานกับอาหารที่มีความมันบางชนิด

นอกจากนั้น การดื่มแบบอุ่นๆในระหว่างมื้ออาหารหรือหลังอาหาร จะช่วยย่อยอาหารได้ดียิ่งขึ้น

genmaicha

การชงชาเก็นไมฉะด้วยน้ำต้ม จะทำให้ได้กลิ่นหอมและช่วยให้คาเทชินออกฤทธิ์ดีที่สุด นอกจากนี้ตอนต้มชาเก็นไมฉะ ควรใช้เวลาสั้นที่สุดในการชงเพื่อป้องกันไม่ให้สารแทนนินออกมาซึ่งจะทำให้มีรสขมเกินไป

genmaicha

หากใครที่หลงใหลชาเก็นไมฉะ Matchazuki ก็อยากแนะนำให้เอาไปลองทำขนมดู ก็ได้รสชาติและสัมผัสที่อร่อยไม่แพ้ชาประเภทอื่นๆ ที่สำคัญคือ การใช้เก็นไมฉะมาทำขนมยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก หากร้านไหนต้องการสร้างจุดต่าง อาจจะเริ่มจากการนำไปทำคุ้กกี้ หรือ Topping บน Chocolate Bar ดูก่อนก็น่าสนใจทีเดียว

ที่มา

https://www.ohhowcivilized.com/genmaicha-tea/?utm_source=pinterest&utm_medium=social&utm_campaign=social-pug

7 Health Benefits of Genmaicha and When to Drink

Matcha white chocolate with genmaicha

บทความจาก : Fuwafuwa

ความหวาน กับ เมนูชา

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เครื่องดื่มชาที่ทานง่าย ทานได้ทุกเพศทุกวัย และเป็นที่นิยมมากสำหรับคนไทยนั้น ไม่ใช่ชาเพียวๆ แต่เป็นชาที่มีการใส่สารให้ความหวาน อย่างน้ำตาล น้ำผึ้ง และเพิ่มความกลมกล่อมอีกระดับด้วยนมจืด โดยเฉพาะชาที่บรรจุใส่ขวดขายตามร้านสะดวกซื้อต่างๆ เช่น ชาเขียวลาเต้พร้อมดื่ม หรือแม้ที่ข้างขวดจะระบุว่าเป็นชาเขียวเพียวๆ ล้วนแต่มีส่วนผสมของน้ำตาลในปริมาณที่มาก แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าความหวานเหล่านี้ ทำให้ชา เครื่องดื่มแก้วโปรดของคุณอร่อยขึ้น ให้ความสดชื่นแก่ร่างกายได้นั่นเอง

sweets sweets

ความหวานกับเมนูชา จึงเป็นเหมือนของคู่กัน แต่ทั้งนี้เราเลือกได้ว่าจะให้ความหวานนั้นมาจากอะไรนอกจากน้ำตาล

1. น้ำเชื่อม ( Syrup ) ได้จากการเคี่ยวน้ำตาลกับน้ำที่ไฟปานกลาง มีสีใส ที่เห็นกันบ่อยๆ คือใช้ราดขนมหวานไทยคู่กับน้ำกะทิ หรือใช้ตามร้านกาแฟเพิ่มเพิ่มความหวานให้เครื่องดื่มอย่างชาและกาแฟ  และบาร์เทนเดอร์ใช้ผสมเครื่องดื่มค็อกเทล เป็นต้น น้ำเชื่อม จึงอาจหมายถึง การนำน้ำตาลมาละลายกับน้ำจนเกิดความหวานด้วยความเข้มข้นระดับต่างๆ เป็นตัวให้ความหวานที่นิยมใช้มากที่สุดในท้องตลาด ไม่ว่าจะร้านคาเฟ่ ร้านชาทั่วไป เพราะสะดวกต่อการชง และง่ายต่อการเก็บรักษา แต่ต้องเพิ่งระวังว่า การกดน้ำเชื่อมเพียงแค่ปั๊มเดียว ที่ดูเหมือนน้อยนิด แต่ให้ความหวานที่มากจนน่าตกใจ จึงเป็นตัวเลือกที่ไม่ดีสำหรับคนรักสุขภาพ

2. น้ำเชื่อมเมเปิ้ล ( Maple Syrup )ได้จากน้ำเลี้ยงของต้นเมเปิ้ลนำมาต้มจนได้น้ำเชื่อมเข้มข้น มักใช้ราดบนขนมหวานแทนน้ำผึ้ง แต่น้ำเชื่อมเมเปิ้ลแท้ๆ นั้นมีน้อย ที่เราเห็นกันมักเป็นน้ำเชื่อมแต่งกลิ่นเมเปิ้ลสังเคราะห์ หากจะใช้ในการชงชาเขียว จะเป็นสัดส่วนตามนี้ นม 4 ถ้วย + ผงชาเขียว 1 ช้อนโต๊ะ + เมเปิ้ลไซรัป 1 ช้อนโต๊ะนำมาต้มเข้าด้วยกัน แล้วราดด้วยฟองนมอีกทีด้านบน รสชาติจะไม่ได้ต่างจากการใช้น้ำตาลมากนัก เพียงแต่จะได้กลิ่นที่ต่างกันออกไป และเป็นความหวานที่เบาลงไม่หวานแหลมเหมือนไซรัปนั่นเอง

sweets

3. น้ำผึ้ง  ความหวานตามธรรมชาติ ให้ความหวานไม่แพ้น้ำตาลทราย และมีโปรตีน ให้พลังงานที่ทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า มีวิตามินและเกลือแร่ แต่หากรับประทานมากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคอ้วนได้ ในน้ำผึ้งจะประกอบด้วยน้ำตาลกลูโคส และฟรักโทส ซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ร่างกายจะสามารถดูดซึมและนำไปใช้ได้เลย น้ำผึ้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ และยังทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายดีขึ้นอีกด้วย ที่สำคัญ น้ำผึ้งยังให้ความหวาน และกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์

หากลองชงด้วยสูตรนี้จะช่วยให้เมนูชาร้านของคุณโดดเด่นจากความหวานของน้ำผึ้ง หรือจะยกระดับเมนูด้วยการใช้นมมะพร้าวแทนนมวัว เพื่อให้เหมาะกับคนที่แพ้นมวัวด้วยก็ได้ โดยการนำผงมัทฉะ 1 ช้อนชา + น้ำร้อน 1/2 ถ้วย + นมมะพร้าว 1 ถ้วย + น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา

sweets sweets

4. น้ำตาลมะพร้าวเครื่องปรุงให้ความหวานแทนน้ำตาลทรายได้ดีมากๆ เพราะเป็นน้ำตาลที่ได้จากธรรมชาติ ไม่ผ่านการแปรรูปหลายขั้นตอน ส่วนเรื่องสีก็คล้ายกับน้ำตาลทรายแดง แต่มีเนื้อหยาบกว่า มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง ก่อนใช้ปรุงอาหารควรนำไปผสมกับของเหลวก่อน หากนำไปชงชาเขียวลาเต้ จะใช้ในสัดส่วน ผงมัทฉะ ½ ช้อนชา + น้ำตาลมะพร้าว 2 ช้อนชา + เนยมะพร้าว 1 ช้อนชา + น้ำร้อน 10 ออนซ์ คนเข้าด้วยกัน แต่ถ้าไม่อยากใส่เนยก็ได้เช่นกันเพราะสตรนี้ที่ต้องใส่เนยเพื่อให้ชาเขียวลาเต้มีความกลมกล่อมเหมือนบางสูตรใช้ครีม หรือนมข้นนั้นเอง

sweets sweets

นอกจากสารให้ความหวานข้างต้นแล้วยังมีตัวเลือกอื่นๆที่สามารถใช้ในการชงชาได้เช่นกันไม่ว่าจะเป็นนมข้นหวาน ที่ให้ความหวานมันกลมกล่อมตามสไตล์คนไทยชอบ หรือจะเป็นน้ำตาลทรายแดงเคี่ยวเป็นไซรัปที่ให้กลิ่นและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์สไตล์ญี่ปุ่น ก็ยังมีหญ้าหวาน  จัดได้ว่าเป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลทรายที่เป็นธรรมชาติที่สุดและดีที่สุด เพราะให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายถึง 300 เท่า แต่ให้พลังงานน้อย สามารถนำหญ้าหวานมาปรุงอาหารได้หลากหลายเมนู หรือชงกับเครื่องดื่มพวกชา กาแฟ ซึ่งมักพบว่าร้านขายเครื่องดื่มได้นำหญ้าหวานมาเป็นจุดขายทำให้ลูกค้ามั่นใจว่าจะไม่อ้วนได้ง่าย แต่ก็ต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมด้วย

sweets sweets

เลือกความหวานกับเมนูชาให้เหมาะสมกับสไตล์ของที่ร้าน สร้างเอกลักาณ์เมนูชาให้โดดเด่นจากร้านอื่นๆง่ายๆด้วยเรื่องเล็กๆที่หลายร้านอาจจะมองข้ามไป

ที่มา http://www.byrdie.com/weight-loss-tips?utm_campaign=article-share&utm_source=social-pinterest-button&utm_medium=earned-social

https://www.livestrong.com/recipes/matcha-almond-milk-honey/

https://maplefromquebec.ca/recipes/maple-matcha-tea-latte/

https://www.cleaneatingkitchen.com/dairy-free-green-tea-matcha-latte/

บทความจาก : Fuwafuwa