ทำความรู้จักครกหินญี่ปุ่น อุปกรณ์คู่ใจของคนทำผงมัทฉะ
|

ทำความรู้จักครกหินญี่ปุ่น อุปกรณ์คู่ใจของคนทำผงมัทฉะ

ทุกวันนี้มีการให้ความสำคัญน้อยมากกับเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการสร้างผงมัทฉะ เครื่องมือนั้นคือ “อิชิอุสุ” (石臼: Ishi-usu) หรือ “ครกหิน”นั่นเอง “ครกหินญี่ปุ่น” มีลักษณะเป็นหินทรงกระบอกสองชิ้น วางทับกัน โดยมีที่จับสำหรับหมุนที่หินด้านบน สามารใช้สำหรับบดอาหารจำพวกเมล็ดข้าว ธัญพืช และใบชา ซึ่งไม่ว่าจะหมุนด้วยแรงคนหรือพลังงานไฟฟ้า การบดมัทฉะโดยครกอิชิอุสุนั้น ถ้าหมุนโดยไม่หยุดพักเลย 1 ชั่วโมงจะได้ผงมัทฉะออกมาแค่ 40 กรัมเท่านั้น จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้มัทฉะมีราคาแพงกว่าใบชา อิชิอุสุ มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 1400 ปี สมัยก่อน คนญี่ปุ่นแทบทุกครัวเรือนจะมีอิชิอุสุไว้ใช้ ทั้งบดเมล็ดข้าวเพื่อนำแป้งไปทำเส้นอุด้ง หรือบดถั่วเหลืองเพื่อนำไปทำเต้าหู้ โดยใส่อาหารที่ต้องการบดที่รูด้านบน แล้วหมุนครกไปมา ให้หินสองก้อนเสียดสีกัน และผงที่บดออกมาก็จะตกลงมาที่ถาดรอง การใช้ครกอิชิอุสุต้องใช้แรงเยอะ สมัยก่อน เวลาหนุ่มสาวจีบกัน แม่ฝ่ายหญิงจะให้ฝ่ายชายช่วยบดแป้งจากเมล็ดข้าว แล้วให้ฝ่ายหญิงเอาแป้งที่ได้ไปทำมันจู ( ซาลาเปาญี่ปุ่นลูกเล็กๆ ไส้ทำจากถั่วแดงหรือเกาลัดกวน ) เป็นวิธีการจีบ และเรียนรู้นิสัยซึ่งกันและกันของคนญี่ปุ่นในสมัยก่อน น่าเสียดาย ที่ปัจจุบัน บ้านญี่ปุ่นที่มีครกหินแบบนี้เหลืออยู่น้อยแล้วครับ อีกทั้งครกอิชิอุสุยังมีราคาแพงมาก โดยครกเล็กๆแบบในรูปข้างล่าง มีราคาตั้งแต่ 20,000 ถึง 70,000 กว่าบาท…

ปรับร้านชาเพื่อรองรับเทรนด์ผู้สูงอายุ
|

ปรับร้านชาเพื่อรองรับเทรนด์ผู้สูงอายุ

ในยุคของ Aging Society ที่ผู้สูงอายุเริ่มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งคนกลุ่มนี้จะมีกำลังซื้อที่สูง เนื่องจากมีสถานะทางการเงินที่ดีกว่ากลุ่มอายุอื่น และพร้อมที่จะจ่ายเพื่อให้ได้สิ่งที่มีคุณภาพ การบริการที่ดี อาหารเครื่องดื่มที่อร่อย จึงเป็นสิ่งที่ทำให้ลูกค้าที่เป็นผู้สูงอายุนี้ประทับใจและรู้สึกผูกพันกับร้านค้าได้ง่าย เพราะหากดึงดูดลูกค้ากลุ่มนี้ได้ ที่ได้กลับมาจะไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุ แต่ยังรวมถึงลูกหลานที่พาครอบครัวมารับประทานอาหารในโอกาสต่างๆ หรือซื้อเพื่อนำกลับไปฝากผู้ใหญ่ที่บ้านด้วย ดังนั้นผู้ประกอบการธุรกิจอาหารจึงไม่ควรมองข้าม ลูกค้าผู้สูงอายุกลุ่มนี้ เพราะอาจเป็นโอกาสทองสำหรับธุรกิจของคุณในอนาคตก็เป็นได้ การเจาะตลาดลูกค้ากลุ่มผู้สูงอายุ แม้จะต้องมุ่งเน้นไปที่ความรู้สึกคุ้มค่าผู้สูงอายุส่วนมากตัดสินใจอย่างถี่ถ้วนก่อนซื้อ และมีแนวโน้มที่จะซื้อสิ่งที่รู้สึกคุ้มค่ามากกว่า การจะซื้อเครื่องดื่ม  1 แก้ว หากร้านมีบรรยากาศที่ดี มีกรบริการที่ดี จอดรถง่าย เข้าออกสบาย ไม่โหวกเหวกเสียงดังเกินไป มีมุมผ่อนคลายสำหรับผู้สูงอายุ ก็จะเป็นสิ่งอำนวนความสะดวกเล็กๆน้อยๆที่ทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้รู้สึกคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น หรืออาจจะชูโรงเมนูเครื่องดื่มด้วยสรรพคุณของชาที่มีต่อผู้สูงอายุเพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าคุ้มค่า ดีต่อสุขภาพก็น่าสนใจทีเดียว เพราะนักวิจัยญี่ปุ่นจาก Graduate School of Biomedical Engineering มหาวิทยาลัยโทโฮคุ  ได้มีรายงานว่า การดื่มชาเขียวบ่อยๆ ช่วยชะลออาการซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุ ทั้งหญิงและชายได้ จากข้อมูลของผู้สูงอายุทั้งหญิงและชาย (อายุ 70 ปีขึ้นไป) ที่มีอัตราการดื่มชาเขียววันละไม่ต่ำกว่า 4 ครั้งและนำมาเปรียบเทียบกับผู้สูงอายุที่ดื่มเพียงวันละ 1 ครั้ง หรือน้อยกว่า พบว่า ผู้สูงอายุกลุ่มแรกนั้น…