Iced Matcha Latte มัทฉะลาเต้เย็น

เปลี่ยนชาเขียวเย็นให้กลายเป็นพรีเมียมมัทฉะลาเต้ เมนูยอดฮิตของร้านที่อร่อยจนต้องบอกต่อ!!

ผงมัทฉะคุณภาพดีจะให้สีเขียวที่สวยงาม เมื่อเทราดลงบนนมสดจะเห็นเป็นชั้นสีเขียวมรกต ค่อยๆซึมลงมาด้านล่างซึ่งวิธีทำก็ไม่ยาก ยิ่งถ้ามีอุปกรณ์ช่วยจะใช้เวลาชงไม่นานเลย เราไปดูวัตถุดิบและวิธีชงกันเลยดีกว่าครับ ^^

อุปกรณ์ช่วยละลาย

วัตถุดิบสำหรับแก้ว 16 Oz.

  1. ผงมัทฉะ MATCHAZUKI เกรด Excellent           3  กรัม (~1.5 ช้อนชา)
  2. น้ำอุ่น                                                40   ml
  3. นมสด                                              150   ml
  4. น้ำเชื่อม                                              10   ml (~2 ช้อนชา)
  5. น้ำแข็ง

ขั้นตอนการชง

1. ละลายผงมัทฉะให้เข้ากับน้ำอุ่น โดยการร่อนผงมัทฉะผ่านกระชอนใส่ถ้วยหรือชาม แล้วค่อยเทน้ำอุ่นตามลงไปแล้วใช้ Chasen หรือเครื่องตีฟองนม ตีให้ผงชาละลายเข้ากับน้ำ แล้วพักเอาไว้

2. เติมน้ำแข็งใส่แก้วอีกใบ

3. เติมน้ำเชื่อมตามความหวานที่ต้องการ

4. เทนมสดลงไป คนให้เข้ากับน้ำเชื่อม

5. ราดมัทฉะที่ละลายน้ำไว้แล้วลงบนนมสดอีกที

หรือสามารถดู VDO วิธีชงได้ที่นี่ครับ ^^

*** ถ้าไม่มีอุปกรณ์ช่วยละลายให้ลองใช้วิธีนี้ดูนะครับ

1. ใส่ผงชาเขียวมัทฉะกับน้ำตาลทรายลงไปในถ้วย
2. เอียงถ้วยแล้วใช้ช้อนบดส่วนผสมให้เกร็ดน้ำตาลไปบดผงชาเขียวมัทฉะ จนแตกตัวไม่จับเป็นก้อน
3. ค่อยๆเติมน้ำอุ่นลงไป เอียงถ้วยแล้วใช้ช้อนบดผงชาเขียวมัทฉะกับข้างถ้วย คนจนละลายหมด

———————————-

MATCHAZUKI – Crafted for matcha lover
“เพราะเราเลือกมัทฉะ อย่างคนที่รักมัทฉะ”⠀⠀
マッチャラブユー

ทำความรู้จักกระบวนการผลิตชา (Tea Processing)

กระบวนการผลิตชาถือได้ว่าเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง เพราะการควบคุมการผลิตอย่างใกล้ชิด และด้วยความประณีตทุกขั้นตอนการผลิตจะทำให้ได้ชาหลากหลายชนิดและรสชาติที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ใบชาแห้ง หรือที่เรียกว่า Withering ผ่านการ Rolling และการหมักหรือการทำปฏิกิริยาออกไซด์ ทุกขั้นตอนล้วนมีความสำคัญต่อรสชาติของชา ซึ่งการผลิตที่จะได้ใบชาที่ดี ต้องผ่านปลูกในคุณภาพดีเช่นกัน เพราะส่วนสำคัญมาจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติทั้งภูมิประเทศและภูมิอากาศ และยังมีอีกหลายเรื่องที่เป็นข้อควรรู้ของการปลูกชาเขียว ( อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3eRNXRU ) ที่ญี่ปุ่นเองก็มีไม่กี่ที่ ที่สามารถปลูกชาเขียวได้ผลผลิตดี ที่รู้จักกันดีจะเป็นบริเวณ เมืองอูจิ เกียวโตที่เกษตรกรมีประสบการณ์ทั้งเทคนิค การปลูกและการเก็บเกี่ยวTea Processing

ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวใบชาจะเริ่มในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม เมื่อใบอ่อนได้รับการคัดเลือกอย่างพิถีพิถันจากต้นชาโดยยอดอ่อนที่ดีที่สุดนั้น เรียกว่า “ichibancha (一番茶)” โดยผู้เชี่ยวชาญจะคัดเลือกเฉพาะส่วนที่เป็นใบอ่อนที่สุดและเขียวที่สุดของเพื่อเป็น namacha (生茶) หรือ “ชาสด” นั่นเอง ก่อนนำใบชาเข้าสู่ขั้นตอนหลักๆในการผลิต ดังนี้

  1. การทำให้ใบแห้ง (Withering) กระบวนการนี้ทำโดยนำใบชาสดมาสลัดความชุ่มชื้นที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 8-24 ชั่วโมง (แล้วแต่ชนิดของชาที่ต้องการกระผลิต) โดยตากใบที่เพิ่งเก็บให้แห้งเพื่อลดส่วนประกอบน้ำในใบชา 50-60% ลักษณะใบชาที่ได้ ใบอ่อนนิ่ม และดัดงอง่าย เพื่อจะนำไปผ่านกระบวนการขั้นต่อไปTea Processing
  2. การหมุนกลิ้ง (Rolling) โดยการรีดใบให้แห้งโดยทำให้บิดงอและยุ่ย ในการหมุนกลิ้งจะมีใบที่แตกหักบ้างถือเป็นเรื่องปกติ หากไม่มีเครื่องบางที่อาจใช้การเขย่าหรือใช้มือก็ได้ โดยในระหว่างกระบวนการหมุนกลิ้งจะมีน้ำมันออกจากใบชา ทำให้ชามีกลิ่นหอมพิเศษเฉพาะ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางเคมีจะเกิดช่วงเวลาสั้นๆผ่านการหมุนกลิ้งจะ จะทำให้ได้ใบชาที่รสดีและกลิ่นหอม  หลังจากนั้นจะถูกส่งเข้าเครื่องร่อน เพื่อแยกประเภทชา ใบที่เล็กจะไปสู่ขั้นตอนต่อไป ในขณะใบที่ใหญ่และแข็งกว่าจะถูกตีกลับไปหมุนกลิ้งครั้งที่ 2Tea Processing
  3. การหมักหรือการทำปฏิกิริยาออกไซด์ (Oxidation/Fermentation) เป็นกระบวนการทางเคมีที่ออกซิเจนถูกดูดซึมเพื่อปลดปล่อยเอนไซม์ที่ทำปฏิกิริยากับอากาศ โดยจะเริ่มต้นเมื่อเยื่อบุผิวใบแตกหักระหว่างการทำปฏิกิริยาออกไซด์ส่งผลให้ใบเปลี่ยนเป็นสีทองสว่าง ขั้นนี้เองเป็นปัจจัยสำคัญที่ตัดสินว่าชาจะเป็นชนิดใด ระหว่างชาเขียว ชาดำ หรือชาอู่หลง เป็นระยะหัวเลี้ยวหัวต่อที่ส่งผลต่อกลิ่นหอม สี หากขั้นตอนนี้หยุดเร็วเกินไปชาก็จะมีสีเขียว และอาจมีรสชาติคล้ายโลหะ ถ้าหมักนานเกินไปมันจะค่อยๆ หวานและสูญเสียทั้งคุณภาพและกลิ่นหอมไปนั้นเอง
  4. การทำให้แห้งหรือการก่อไฟ  ขั้นตอนนี้จะทำให้ใบแห้งเสมอกันทั่วทั้งใบ โดยใช้ความร้อนประมาณ 120-200 องศาฟาเรนไฮต์ต่อเนื่อง เพื่อหยุดกระบวนการหมักของปฏิกิริยาออกไซด์ ซึ่งการหยุกกระบวนการหมักของปฏิกิริยาออกไซด์สามารถกระทำได้ 2 วิธี คือ การอบไอน้ำโดยใช้ความร้อน หรือโดยการคั่ว จะทำการวางใบชาไว้ในอ่างเหล็กขนาดใหญ่ประมาณ 20-30 วินาที และให้ความร้อนถึง 100 องศาเซลเซียส เป็นการหยุดการทำลายเอนไซม์ที่เป็นสาเหตุของการหมัก ใบชาจึงยังคงเขียว ส่วนการทำให้แห้งโดยการคั่วจะส่งผลให้ใบชาเปลี่ยนเป็นสีดำและแห้ง คงเหลือความชุ่มชื้นเพียง 2-3% อย่างไรก็ตาม ความร้อนมากเกินไปอาจทำให้ชาสูญเสียรสชาติ สี และกลิ่นหอมได้
  5. การแบ่งระดับ เป็นขั้นตอนที่มีการแบ่งระดับใบโดยใช้เครื่องร่อนแยกหรือตะแกรงร่อนที่มีปากกระบอกขนาดต่างกัน
    Tea Processingซึ่งขั้นตอนทั้งหมดข้างต้น ไม่ได้หมายถึงชาทุกชนิดต้องผ่านขั้นตอนนี้ แต่เป็นเพียงภาพรวมของกระบวนการแปรรูปใบชาเท่านั้น การผลิตชาแต่ละชนิดจะมีจุดต่างกันอยู่เพียงเล็กน้อย ก็ได้รสชาติที่ต่างกัน เช่น การผลิตชาขาวมีขั้นตอนที่สั้นที่สุด เนื่องจากไม่ต้องผ่านกระบวนการหมุนกลิ้งและกระบวนการหมักหรือการทำปฏิกิริยาออกไซด์ ยอดใบชาที่ยังอ่อนๆ จะถูกเก็บและนำมาตากไว้ให้แห้ง ก่อนจะนำมาเข้าสู่ขั้นตอนการทำแห้งโดยใช้ความร้อนอบไอน้ำทันที เนื่องจากชาขาวไม่มีกระบวนการหมัก ทำให้สีของใบชายังออกเป็นสีเขียวขาวอยู่หากพูดถึงการผลิตชาดำ เป็นชาที่ผ่านขั้นตอนการแปรรูปมากที่สุด ใบชาที่เก็บจะผ่านกระบวนการหมักเต็มที่ ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอนพื้นฐานข้างต้น โดยช่วงที่นำไปทำให้แห้ง จะทำให้ใบแห้งถึง 80% นั่นเองถึงจะได้เป็นชาดำ แต่ถ้าทำให้แห้งมากเกินไปอาจจะไม่มีกลิ่นหอม ซึ่งวิธีทำชาอู่หลงจะคล้ายกับชาดำ แต่ความแตกต่างอยู่ที่ใบถูกตากแดดโดยตรง โดยใช้เวลา 6 ชั่วโมง จากนั้นจึงเขย่าใบในตะกร้าไม้ไผ่เพื่อทำให้ขอบใบมีตำหนิ ในขณะที่ส่วนกลางยังคงสีเขียว เวลาที่ใช้ในการหมักจะประมาณครึ่งหนึ่งของชาดำ การทำปฏิกิริยาออกไซด์ถูกหยุดโดยการก่อไฟ สำหรับชาอูหลง ใบผ่านความร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่า เนื่องจากมีส่วนผสมน้ำต่ำกว่านั่นเองTea Processing

ส่วนชาเขียวเริ่มต้นจากการทำให้ใบชาแห้งเหี่ยวเป็นอันดับแรก หลังจากนั้นวางบนกระทะก่อไฟหรือนำใบชามาอบไอน้ำ เพื่อป้องกันปฏิกิริยาออกไซด์ สุดท้ายคือ การหมุนกลิ้งใบและทำให้แห้งอย่างรวดเร็วครั้งสุดท้าย ด้วยวิธีการดังกล่าว จึงทำให้ใบชายังคงมีสีเขียว จากกระบวนการผลิตที่ง่ายและน้อยขั้นตอน ทำให้ชาเขียวยังคงมีสารในพืชที่มีประโยชน์หลงเหลืออยู่มากกว่าชาชนิดอื่นๆนั่นเอง ทั้งนี้ชาเขียวเองยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ชาเขียวอบไอน้ำและชาเขียวคั่ว

1.1 ชาเขียวอบไอน้ำ เป็นการหยุดกระบวนการทางเคมีในใบชาด้วยการอบไอน้ำในช่วงเวลาสั้นๆ คือ เมื่อเก็บยอดชาต้องนำมานึ่งด้วยไอที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 0.7 นาที เพื่อหยุดกิจกรรมของเอนไซม์ พอลิฟีนอล ออกซิเดส เสร็จแล้วนำไปนวดอบไอร้อนเพื่อลดปริมาณความชื้นในใบลง ต่อจากนั้นนำมานวดในห้องอุณหภูมิปกติเพื่อทำให้เซลล์แตก และนวดด้วยความร้อนอีก เพื่อทำให้ใบชาม้วนตัวสวยงาม แล้วนำไปอบแห้งให้ความชื้นในใบชาลดเหลือ 4 % ชาเขียวอบไอน้ำส่วนใหญ่ มีการแปรรูปในประเทศญี่ปุ่น สีของน้ำชาประเภทนี้จะมีสีเขียวถึงเขียวอมเหลือง เนื่องจากยังมีคลอโรฟิลล์อยู่

1.2 ชาเขียวคั่ว เป็นชาที่หยุดกระบวนการทางเคมีในยอดชาด้วยการคั่วด้วยกระทะร้อนที่อุณหภูมิสูงประมาณ 300-350 องศาเซลเซียส แล้วนำไปนวดให้เซลล์แตกจนม้วนตัว และอบแห้ง ชาเขียวคั่วสามารถแยกได้เป็น 2 แบบ คือ ชาเขียวคั่วหมักอ่อน และชาเขียวที่ไม่มีการหมัก สีน้ำชามีสีเขียวอ่อนอมเหลือง

จากกระบวนการผลิตชาหลากหลายขั้นตอนข้างต้นสามารถสรุปให้เข้าใจได้ง่ายๆตามแผนภาพนี้

Tea Processing chart

เชื่อว่า คนรักชา ถ้าได้อ่านบทความนี้แล้ว หลายๆคนเริ่มจะสนใจอยากเข้าไปทั่วชมไร่ชาที่ญี่ปุ่นกันอย่างแน่นอน ^^

ที่มา

http://www.refresherthai.com/article/teaMade.php

http://www.ocha.tv/how_tea_is_made/process/schedule_ryokucha/

บทความจาก : Fuwafuwa

10 เรื่องของการปลูกชาเขียวที่คุณ(อาจ)ไม่เคยรู้

Growing Tea Leaves

ชาเขียวเปรียบเสมือนหัวใจสำคัญของวัฒนธรรมญี่ปุ่น ตั้งแต่การเก็บเกี่ยวและการเตรียมใบชา ทุกขั้นตอนมีความพิถีพิถัน ซับซ้อนและฝังรากลึกลงไป ซึ่งชาเขียวที่เก็บเกี่ยวในญี่ปุ่นมีรสชาติและคุณค่าทางสารอาหารบางชนิดแตกต่างจากชาประเทศจีนและพื้นที่อื่น ๆ ของโลก และนี่คือ 10 สิ่งเกี่ยวกับชาเขียวญี่ปุ่นที่คุณ (อาจ) ไม่รู้

  1. การเก็บเกี่ยวครั้งแรกแห่งปี ใบชาจะมีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นที่ต้องการมากที่สุด การเก็บเกี่ยวครั้งแรก เริ่มในเดือนพฤษภาคมและกินเวลาหลายสัปดาห์จนถึงเดือนมิถุนายน การเก็บเกี่ยวนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าผลิตใบชาเขียวที่มีคุณภาพสูงสุดโดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเจริญเติบโตที่ช้าในช่วงเดือนที่หนาวเย็นทำให้ใบมีสารอาหารหนาแน่นส่งผลให้มีรสชาติดีขึ้น ใบไม้ที่เก็บในช่วงฤดูใบไม้ผลิจึงมีปริมาณแอล-ธีอะนีนมากถึงสามเท่าของปริมาณที่ผลิตในการเก็บเกี่ยวในภายหลัง ใบชาล็อตแรกนี้จึงมีรสหวานและรสละมุน
  1. การเก็บเกี่ยวครั้งที่สองของปีในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม ช่วงที่อากาศร้อนมาก เพราะเป็นฤดูร้อนทำให้การเก็บเกี่ยวเป็นเรื่องยากมาก ซึ่งใบชาช่วงนี้ก็จะเติบโตเร็วและมีคุณภาพต่ำลง รสขมมากขึ้น ทำให้ต้องใช้การบริหารจัดการทั้งพนักงานและการควบคุมการเก็บเกี่ยวอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  1. KANREISHA CURTAIN หรือม่านสีดำที่นิยมใช้คลุมดิน สามารถเอามาใช้เพื่อปกป้องต้นชาจากแสงแดดได้โดยตรง ประมาณหนึ่งเดือนก่อนการเก็บเกี่ยวแต่ละครั้งต้นชาจะถูกปกคลุมด้วยม่านเพื่อจำกัดปริมาณแสงแดด ไม่ให้โดนต้นชาโดยตรง ซึ่งผ้าม่านที่ใช้ในญี่ปุ่นมี 2 ประเภท คือ การใช้ผ้าคลุมต้นไม้โดยตรงและการใช้แบบกันสาดเพื่อบังแสงแดด แต่ละไร่ชาจะมีการใช้ที่แตกต่างกันไป บางแห่งใช้ทั้ง 2 แบบเลย ต้นชาที่ถูกคลุมด้วยม่านดังกล่าว ก่อนการเก็บเกี่ยว จะช่วยให้ชาเกิดรสหวาน

Growing Tea Leaves

  1. ใบชาทุกใบจะได้รับการคัดจากคนเก็บใบชาที่ผ่านการคัดอย่างพิถีพิถัน หากเทียบกันแล้วใบชาที่คัดด้วยเครื่องจะได้คุณภาพไม่สูงเท่าที่หยิบด้วยมือ ใบชาที่หยิบด้วยมือ รสชาติจะกลมกล่อมและมีกลิ่นหอมที่ละเอียดอ่อนกว่า ซึ่งเวลาที่ดีที่สุดในการเลือกใบคือ เมื่อมีต้นอ่อนตั้งแต่สามถึงห้าต้นและใบมีขนาดที่เหมาะสมพอดี การเก็บเกี่ยวเร็วเกินไปหมายถึงผลผลิตที่น้อยลง การเก็บเกี่ยวช้าเกินไปส่งผลต่อคุณภาพของชา แม้แต่วันเดียวก็สามารถสร้างความแตกต่างและส่งผลให้ใบขมได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องเลือกเก็บใบชาในเวลาที่เหมาะสม และต้องหยิบอย่างรวดเร็วทั้งหมดในคราวเดียว ดังนั้นคนงานแต่ละคนต้องใช้ประสบการณ์ในการถอนใบอย่างรวดเร็ว และประณีต
  1. จริงๆแล้วญี่ปุ่นผลิตชาได้น้อยกว่าประเทศอื่น แม้จะมีวัฒนธรรมชาเขียวที่เด่นชัด แต่ญี่ปุ่นสามารถผลิตชาเขียวเพียง 7% ของโลกเท่านั้น ส่วนใหญ่บริโภคในญี่ปุ่นและมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ คนญี่ปุ่นบริโภคชา 95% ของการผลิตชาทั้งหมดในประเทศ จึงมีเพียง 5% เท่านั้นที่ส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ
  1. วิธีที่นิยมมากที่สุดในการเก็บใบชายังคงเป็นการใช้ตะกร้าไม้แบบดั้งเดิม แม้จะมีเครื่องจักรและเทคโนโลยีเข้ามาใช้กันแพร่หลาย แต่ตะกร้าไม้แบบดั้งเดิมยังคงใช้เก็บชาอยู่

Growing Tea LeavesGreen tea

  1. ในฤดูใบไม้ร่วงคนงานไร่ชาจะเริ่มเตรียมฟาร์มสำหรับการเก็บเกี่ยวในปีหน้าแล้ว ต้นชาเขียวจะถูกตัดแต่งในช่วงฤดูใบไม้ร่วงของเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน การตัดแต่งกิ่งในขั้นตอนนี้จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าต้นอ่อนของใบแก่จะไม่ปะปนและลดการเก็บเกี่ยวในฤดูใบไม้ผลิของปีถัดไป การละเลยไม่ตัดแต่งกิ่งในเวลาที่ถูกต้องจะเป็นอันตรายต่อต้นชาและอาจส่งผลให้ต้นชาไม่แข็งแรงก็เป็นได้ ดังนั้นช่วงปลายฤดูร้อนและต้นฤดูใบไม้ร่วง จึงต้องเสริมสร้างดิน ปรับค่า pH ของดินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
  1. มีการท่องเที่ยวเพื่อการเก็บเกี่ยวชา Obubu เป็นภาษาเกียวโต เป็นคำเรียกชาเขียวชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นหนึ่งในชาที่แพงที่สุดในญี่ปุ่นโดยมีราคาประมาณ 14,000 เยนต่อกิโลกรัม เป็นเวลากว่า 800 ปีที่ฟาร์มในจังหวัดเกียวโตในชนบทได้เติบโตขึ้นและได้มีการเปิดให้นักท่องเที่ยว หรือบุคคลทั่วไปสามารถช่วยเข้าไปเก็บเกี่ยวได้ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว โดยจะเริ่มต้นด้วยการเที่ยวชมฟาร์มยามเช้าและโอกาสในการเลือกใบชาของคุณเอง เจ้าหน้าที่จะแสดงวิธีเก็บใบชาและนักท่องเที่ยวจะได้รับตะกร้าไม้แบบดั้งเดิม เพื่อเก็บใบชา ซึ่งใบชาที่เก็บมาก็สามารถนำไปส่งแปรรูป หรือส่งไปคั่วเพื่อให้พร้อมเสิร์ฟเป็นเครื่องดื่มชาจากใบที่คุณเก็บสำหรับถ้วยโอชารสเลิศ
  1. ต้นชาเขียวต้องการการดูแลเป็นพิเศษในช่วงฤดูหนาว ฟางใบไม้แห้งและแกลบไม้ไผ่จะถูกปูไว้ข้างต้นไม้เพื่อช่วยให้ความอบอุ่นในช่วงเดือนที่หนาวเย็นและมีหิมะตก ทำหน้าที่เป็นปุ๋ยและช่วยให้ดินมีความชื้นในปริมาณที่เหมาะสม เพราะต้นไม้หลายชนิดมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคและตายในช่วงฤดูหนาว ดังนั้นจึงต้องดูแลต้นชาอย่างดีเพื่อให้พร้อมสำหรับการเก็บเกี่ยวครั้งต่อไป

Green tea Green tea

  1. การเก็บเกี่ยวในญี่ปุ่นนั้นแตกต่างกับเทคนิคที่ใช้ในจีน เพราะญี่ปุ่นเลือกเก็บบางใบในช่วงเวลาต่างๆของปีในขณะที่จีนมักจะรวบรวมใบไม้ทั้งหมดในคราวเดียว

ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวใบชาเป็นงานที่ซับซ้อนซึ่งใช้เวลาตลอดทั้งปี ตั้งแต่การเก็บเกี่ยวครั้งแรกจนถึงครั้งสุดท้าย เกษตรกรในญี่ปุ่นทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อผลิตชาคุณภาพสูงสุดเท่าที่จะทำได้เพื่อให้ได้ชาที่รสชาติดีที่สุด

ที่มา

https://www.japanesegreenteain.com/blogs/green-tea-and-health/harvesting-green-tea-in-japan-10-surprising-harvesting-things-you-didnt-know

บทความจาก : Fuwafuwa

How to Become a Tea Expert (ผู้เชี่ยวชาญด้านชา)

เชื่อว่าใครหลายคนที่ชื่นชอบชา ย่อมอยากจะได้ชื่อว่าเป็น ผู้เชี่ยวชาญด้านชา ( Tea expert / Tea Sommelier ) ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ สามารถแยกชนิด ประเภทของชาได้ รู้ถึงอุณหภูมิ หรือประเภทของน้ำที่ต้องใช้ในการชงชาแต่ละชนิดเพื่อให้ได้รสชาติที่ดีที่สุด 

หากมีความรู้ความเข้าใจด้านการชงชาอย่างแท้จริงแล้ว ไม่ได้แค่เพียงได้เป็น Tea expert แต่ยังสามารถเอาความรู้เหล่านี้ไปต่อยอดทางธุรกิจได้ เช่น เป็นผู้ให้คำปรึกษาตามร้านชา ร้านอาหาร ช่วยในการออกแบบจับคู่เมนูอาหาร ขนม กับชา ที่ช่วยส่งเสริมรสชาติกันให้ออกมาดีที่สุดนั่นเอง ดังนั้นมาลองไล่เช็คลิสต์กันดูว่าการจะเป็น Tea expert ได้นั้น ต้องมีความรู้อะไรบ้าง

Tea cuppingการชงชา ที่มีวิธีการชงหลากหลายแบบ เช่น การใช้ฉะเซนชงชาที่ทำมาจากผงชาเขียว ( ดูเพิ่มเติมได้ที่ shorturl.at/desuL ) หรือการชาด้วยการสกัดเย็น ( ดูเพิ่มเติมได้ที่ shorturl.at/gAV57 ) เป็นต้น ซึ่งรูปแบบการชงชาก็ยังมีอีกหลายแบบมากที่ควรรู้

Tea cultureรู้ถึงวัฒนธรรมการดื่มชาของแต่ละประเทศ เพื่อสามารถครีเอทเรื่องราวของชาที่ต้องการนำเสนอได้

Different brewing and presentation techniques of teaที่การชงชาและวิธีการจัดเสิร์ฟชาแต่ละประเภทให้น่าทานมากยิ่งขึ้นควรทำยังไง หรือควรจับคู่กับเมนูอาหาร ขนมสไตล์ไหน

Blending and flavoring tea ว่าด้วยเรื่องของการเบลนด์ชาเอง เรียนรู้ว่าการผสมชาระหว่าง 2 ชนิดเข้าด้วยกัน หรือผสมกับดอกไม้ หรือสมุนไพรชนิดอื่นๆ จะได้ชาที่มีกลิ่นหรือรสชาติแบบใหม่ออกมาได้อย่างไร

เทคนิคการชงและการนำเสนอชา รูปแบบการเสิร์ฟชาสไตล์ญี่ปุ่น กับชาสไตล์อังกฤษก็มีความแตกต่างกัน การจีดเสิร์ฟด้วยภาชนะที่ถูกต้องหรือใช้พร็อพตกแต่งเสริมจะช่วยเพิ่มความสุนทรียะให้การดื่มชาได้มากยิ่งขึ้น

เข้าใจถึงวิธีการปลูกชา การเก็บเกี่ยวชา เพื่อให้ได้ใบชา และผงชาที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการปลูชาแบบออร์แกนิค หรือจะเป็นการทดลองปลูกเองง่ายๆที่บ้านว่าต้องอาศัยปัจจัยใดบ้างในการปลูกชาเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีที่สุด 

อย่างไรก็ตามการจะเป็น Tea Expert ได้ไม่เพียงแต่ต้องมีความรู้อย่างลึกซึ้งแล้ว แต่ต้องอาศัยประสบการณ์ การทดลองซ้ำๆ ที่จะทำให้ประสาทสัมผัสด้านการชงชาดีขึ้น ทั้ง กลิ่น รสชาติ และการรับรู้สีสันของชานั่นเอง ซึ่งนอกจากความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชาที่ต้องมีแล้ว หากมีความรู้เพิ่มเติมเรื่องการตลาด หรือการจัดการธุรกิจร้านชา ก็จะยิ่งช่วยส่งเสริมให้ร้านชามีแผนการตลาด และเทคนิคการขายที่ดียิ่งขึ้น

ที่มา  

becauseimaddicted.net

eatingwell.com

 

บทความจาก : Fuwafuwa

 

ทำความรู้จักเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กล่องเก็บชา

คนรักชาเขียวส่วนมากจะทราบกันอยู่แล้วว่าผงชา นอกจากควรเก็บในกล่องที่ปิดมิดชิด ทึบแสงและกันอากาศเข้า ยังควรเก็บผงชาให้ห่างจากแสงแดด หรือความร้อนเป็นเวลานานๆ และควรเก็บชาไว้ในที่เย็น อย่างไรก็ตาม หลังเอาออกมาจากตู้เย็น ก็ควรทิ้งไว้สักพักให้หายเย็นก่อนเปิดภาชนะ เพื่อป้องกันไม่ให้ชาชื้น 

เมื่อผงชามีความไวต่อแสงและมีวิธีเก็บที่ละเอียดอ่อน กล่องที่เก็บชา จึงควรมีลักษณะที่ถูกต้องมากที่สุด เพื่อรักษาคุณภาพชา และเป็นการปกป้องผงชาจากอากาศ ดังนั้น ขวดแก้ว ขวดใส จึงไม่เหมาะสมสำหรับการเก็บผงชา กล่องเก็บผงชานี้ ภาษาญี่ปุ่น เรียกว่า棗 หรือ natsume(Tea caddy )

ที่มาของกล่องเก็บชานั้นมาจากฝั่งยุโรป เพราะสมัยก่อน ชามีราคาแพงมาก วัฒนธรรมการบริโภคชาของชาวอังกฤษได้รับการเผยแพร่จากจีนในช่วงกลางศตวรรษที่ 17 ในช่วงนั้น มีความเชื่อว่า ชาสามารถรักษาโรคได้และมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากๆ ชาเป็นที่รู้จักในภาคตะวันออกมานานหลายพันปี คนอังกฤษจึงให้คุณค่ากับชามาก เพราะชาสมัยนั้นมีราคาแพง จึงจำเป็นต้องถูกจัดเก็บล็อคกุญแจเป็นอย่างดี กล่องที่ใช้เก็บผงชามักมีราคาแพงและมีการตกแต่งเพื่อให้เข้ากับบรรยากาศภายในห้องรับแขกหรือห้องรับรองอื่นๆ ที่จะมีการเสิร์ฟน้ำชาบริเวณนั้นๆ ซึ่งกล่องเก็บชามีหลายวัสดุ เช่น ไม้ โดยทำมาจากทำจากไม้มะฮอกกานีและไม้ชิงชันเป็นที่นิยม และยังมีรูปลักษณ์ที่หลากหลายกันออกไปทั้ง 6 เหลี่ยม 8 เหลี่ยม พัฒนาเรื่อยมามีทั้งกล่องจากดินเผา สแตนเลส หลากทรง หลายดีไซน์ แต่ลักษณะที่เห็นได้ชัดคือกล่องทุกแบบจะมีลักษณะทึบแสงนั้นเอง หากตอนนี้ใครใส่ในกล่องพลาสติกใส แม้จะมีฝาปิดตัวล็อคมิดชิด ก็ควรเปลี่ยนมาใส่กล่องที่มีลักษณะที่ถูกต้องจะดีกว่า

ดังนั้นในการเลือกกล่องเก็บชา สามารถเลือกได้ทั้งที่เป็นสแตนเลส หรือไม้ เพียงแค่ต้องมีฝาปิดให้สนิก ยิ่งถ้ามีที่ล็อคปิดให้แน่นยิ่งขึ้นยิ่งช่วยยืดระยะเวลาของผงชานั้นๆได้ หากใครที่มองหากล่องเก็บผงชา ลองเลือกดูได้จาก htps://matchazuki.com/product/canister/

ที่มา

https://matchazuki.com/product/canister/

 

บทความจาก : Fuwafuwa

ประโยชน์ของชาเขียว กับสุขภาพช่องปาก

เคยได้ยินว่า การดื่มชา กาแฟ จะทำให้ฟันเหลือง หลายคนเลยเลี่ยงที่จะดื่มชา ซึ่งการที่จะช่วยลดการเกิดคราบฟันเหลืองนั้น ทำได้โดยการพยายามกลั้วปากหลังดิ่มชา หรือแปรงฟัน เพื่อให้ลดปัญหากรเกิดครบดังกล่าว แต่จริงๆแล้ว ชาเขียวยังมีประโยชน์กับสุขภาพในช่องปากมากกว่าที่คุณคิด เพราะชาเขียวญี่ปุ่นไม่เพียงแต่ให้รสชาติที่อร่อยและสดชื่นโดยเฉพาะหลังมื้ออาหาร แต่ยังช่วยบรรเทาอาการอักเสบ ส่งเสริมสุขภาพช่องปากที่ดีในระยะยาวและอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระสารสกัดจากชาเขียวจะช่วยในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ช่วยกำจัดจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ภายในช่องปากได้ เช่น ป้องกันฟันผุ ป้องกันอาหารเป็นพิษ ช่วยลดสาเหตุการเกิดมะเร็งในช่องปากและยังช่วยฆ่าแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดคราบในช่องปากได้อีกด้วยเพราะสารโพลีฟีนอล (Polyphenols) ในชาเขียวมีคุณสมบัติเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ที่ช่วยป้องกันคราบฟัน ลดการเกิดฟันผุให้น้อยลง ช่วยลดอาการเหงือกอักเสบได้นั่นเอง

นอกจากนี้ ยังมีสารช่วยต่อต้านการอักเสบของเหงือก มีรายงานวิจัยพบว่าผู้ที่ดื่มชาเขียวเป็นประจำจะมีสุขภาพเหงือกดีกว่าคนที่ไม่ได้ดื่มนอกจากนี้ยังพบว่าบุคคลดังกล่าวมีโอกาสน้อยที่จะประสบปัญหาฟันหลุดและมีเลือดออกที่เหงือก

ชาเขียว แม้จะมีรสฝาด  แต่ก็ช่วยทำความสะอาดช่องปากตามธรรมชาติได้ เพราะชาเขียวมีส่วนช่วยฆ่าจุลินทรีย์แบคทีเรียที่นำไปสู่ลมหายใจที่มีกลิ่นเหม็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการศึกษาวิจัย ของคณะทันตแพทยศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบียพบว่า กลุ่มผู้เข้าร่วมการศึกษาที่บริโภคผงชาเขียวมีกลิ่นปากลดลงในอัตราที่สูงกว่าผู้ที่เคี้ยวหมากฝรั่งรสมิ้นต์อีก

นอกจากนี้ชาเขียวมีสารช่วยเคลือบฟันให้แข็งแรง ช่วยให้เวลาทานเครื่องดื่มที่ร้อนจัดหรือเย็นจัด หรืออาหารเครื่องดื่มที่มีกรดเยอะ ฟันจะไม่โดนกัดกร่อนมาก เพราะชาเขียวมีประสิทธิภาพอย่างมากในการช่วยรักษาระดับ pH ในปาก และช่วยควบคุมระดับแบคทีเรียที่นำไปสู่การติดเชื้อด้วย นอกจากนี้ ชาเขียวเป็นสารต้านการอักเสบตามธรรมชาติและช่วยให้เหงือกแข็งแรง ลดการเลือดออกตามเหงือกได้อย่างธรรมชาติ

ที่มา

https://www.japanesegreenteain.com/blogs/green-tea-and-health

https://carriemcguire.com/

https://www.davidstea.com/

https://matchazuki.com/category

บทความจาก : Fuwafuwa

Tea & Travel ชาของประเทศต่างๆ

เบื่อกันมั้ยกับการต้อง Work from home ทานเครื่องดื่มแต่แบบเดิมๆ จะออกเที่ยวต่างประเทศก็ไปไม่ได้ โอกาสในการจะได้ไปเรียนรู้วัฒนธรรมเครื่องดื่มชาของแต่ละประเทศด้วยตนเองเลยต้องอดไป วันนี้ MATCHAZUKI จะพาไปทำความรู้จักกับเอกลักษณ์ ความต่างและจุดเด่นของชาแต่ละประเทศแทนการบินลัดฟ้าไปชิมเอง มาดูกันว่าชา เครื่องดื่มสากลของแต่ละประเทศมีจุดเด่นยังไง เป็นชาประเภทไหน

เริ่มที่ ชาตุรกี ชาที่ถูกเสิร์ฟในแก้วขนาดเล็ก พร้อมน้ำตาลก้อน นิยมดื่มชาร้อนกันมาก โดยดื่มกันได้ทุกเวลา ทุกโอกาส กาน้ำชาแบบตุรกี จะเป็นกาน้ำร้อนแบบสองชั้น โดยชั้นล่างใส่น้ำร้อน (น้ำเปล่า) ด้านบนใส่ใบชาและน้ำร้อน (น้ำชา) โดยตั้งกาบนเตาใส่น้ำเปล่าลงในกาล่าง และใส่ใบชาแห้งลงในกาบน ยังไม่ต้องใส่น้ำร้อนลงไป รอจนน้ำในกาล่างเดือดปุดๆ หลังจากนั้นรินน้ำร้อนจากกาล่างลงในกาบน โดยใส่ให้ท่วมใบชา แล้วตั้งกาบนไว้บนกาล่าง จากนั้นหรี่ไฟลงและตั้งไปเรื่อยๆ เป็นอันเสร็จวิธีชงชา ส่วนการรินน้ำชานั้นทำได้โดย รินน้ำชาจากการบนลงในแก้วน้ำชาครึ่งแก้ว แล้วเติมน้ำร้อนจากกาล่างลงไป ใครชอบเข้มอ่อนแค่ไหน ก็กะเอาตามใจชอบ จากนั้นเติมน้ำตาลก้อนลงไปแล้วเวลาคนให้น้ำตาลละลาย ควรจะคนให้มีเสียงดังของช้อนและแก้วกระทบกันถึงจะได้อรรถรสในการดื่มชา ตุรกีมีใบชาหลายแบบ ที่นิยมก็ชาดำทั่วไป และชาแอปเปิ้ล รวมทั้งชาคาโมมายด์

ชาตุรกี

ชาวโมร็อกโกจะเพลิดเพลินกับชาเขียวสดชื่นที่ดื่มพร้อมกับใบมินท์ ซึ่งเป็นชาที่มีชื่อเสียงหวานดังนั้นอย่าลืมน้ำตาลและชาโมร็อกโกนิยมเสิร์ฟพร้อมกับอาหารผลไม้แห้งและถั่วอาร์เรย์ของหวาน

ชาวคูเวตชื่นชอบชาดำผสมกับกระวานและหญ้าฝรั่น ส่วนชาทิเบตทำด้วยนม เนยจามรีและเกลือ รสชาติของมันจะมีรสขม จึงกลายเป็นที่ดื่มกันทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ และเป็นเครื่องดื่มบำรุงจิตใจของผู้ปฏิบัติธรรม ปกติชาทิเบตเป็นประเภทชาดำ เก็บด้วยการอัดเป็นก้อน ในเขตที่มีการเลี้ยงจามรี จะมีการดื่มชาแบบนี้โดยต้มกับนม ในภาคกลางและบางส่วนของแคว้นคามเช่นที่เมืองเกียลทัง (เชียงกริลา) นิยมใส่เนย แล้วเหยาะเกลือเล็กน้อย ตำในกระบอกไม้ไผ่ จนกลายเป็นเครื่องดื่มที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ของทิเบตที่เรียกว่า ชาเนย (butter tea) แต่ในเขตที่ไม่ได้เลี้ยงสัตว์ หานมสดยาก จะใส่เกลือในชาดำ ที่น่าสนใจ ชาทิเบตนี้เมื่อเก็บไว้ในหนังจามรีเป็นเวลานานเป็นสิบปี จะกลายเป็น “ชาหมัก” ที่กลายเป็นชาสุขภาพ ชาแบบนี้ยิ่งเก่ายิ่งมีคุณค่าและมีราคา

tea&travel

ชาวฮ่องกงจะใส่นมข้นลงในชา และใส่น้ำแข็งลงไป ดูเหมือนกับชาเย็น แต่ถ้าเป็นชาไต้หวันขึ้นชื่อในเรื่องของชาไข่มุกที่ทำจากมันสำปะหลัง ซึ่งเกิดจากการที่ไต้หวัน ได้ใส่ “สาคู” ต้มน้ำตาล เม็ดโตๆ ลงไปในชาเพื่อเพิ่มทั้งรสชาติ และเพิ่มความน่าสนใจของการทานชา จนแพร่ระบาด ดังไปทั่วโลก ไม่ใช่แค่ในเอเชียแต่แม้แต่ฝรั่งหัวทองก็ยังอดทึ่งกับความแปลกใหม่ที่น่าสนใจและรสชาติเริ่ดเว่อร์วังของ “ชานมไข่มุก” แบบไต้หวันนี้ไม่ได้

tea&travel tea&travel

ชาอเมริกัน  ถึงแม้ว่าคนอเมริกันจะดื่มชาไม่มากเท่ากับชาวอังกฤษ  เพราะคนอเมริกันนิยมดื่มกาแฟมากกว่าชา แต่ชาก็มีบทบาทในสังคมอเมริกาไม่น้อย เพราะในช่วงที่สหรัฐเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ใบชาที่จะถูกนำไปยังสหรัฐอเมริกาจะถูกเก็บภาษีจนทำให้เกิดการประท้วงอย่างรุนแรง เป็นประเด็นที่นำไปสู่การประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกาต่ออังกฤษ  นอกจากนั้น ยังกล่าวได้ว่าคนอเมริกาเป็นผู้ปฏิวัติรูปแบบการดื่มชาจนเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลกจนปัจจุบัน  นั่นคือ ชาบรรจุถุง และชาใส่น้ำแข็งหรือชาเย็น อย่างไรก็ตาม  คนอเมริกันก็ยังนิยมดื่มชาดำเช่นเดียวกับคนอังกฤษ และมักจะดื่มชาดำกับมะนาวและน้ำตาล เบกิ้งโซดาก็เป็นอีกส่วนผสมหนึ่งที่ชาวอเมริกันใส่เพื่อให้ชามีรสชาติที่นุ่มขึ้น

tea&travel

ส่วน ชา Masala ของชาวปากีสถานมีส่วนผสมของเครื่องเทศและเนยจากนมวัว เรียกอีกชื่อได้ว่า “Mixed-spiced tea” ชาผสมเครื่องเทศ นิยมใช้ใบชาดำจากรัฐอัสสัมเป็นหลัก และผสมเข้ากับส่วนประกอบเครื่องเทศแบบอินเดียมากมาย เช่น กระวาน, โป๊ยกั๊ก, เมล็ดผักชีล้อม, จันทน์เทศ และกานพลู เดิมใช้เป็นเครื่องดื่มเพื่อการบำบัดร่างกายและอายุเวทมากกว่าหลายพันปีก่อนที่อังกฤษจะทำให้ชาวโลกได้รู้จัก “ชา” เสียอีก  ปัจจุบันชา Masala Chai เป็นที่รู้จักทั่วโลก ในลักษณะชาดำที่ต้มกับนม ชาติตะวันตกนำไปประยุกต์กลายเป็นเมนูชา “Tea Latte” แต่จริงๆแล้ว ชาแบบปากีสถานจะต้องมีความหวานของน้ำตาลโตนด ความมันเข้มข้นของนมสด และความหอมของเครื่องเทศ

tea&travel

จะเห็นได้ว่านอกจากชาเขียวของญี่ปุ่นที่ทุกๆคนคุ้นเคยแล้ว ประเทศอื่นๆก็มีวัฒนธรรมการดื่มชาที่แตกต่างกันออกไป รสชาติชาแบบเดิมๆที่เราดื่มกันก็เปลี่ยนไปตามแต่ละประเทศ หากสถานการณ์โควิดหมดไป เชื่อว่าหลายๆคนคงต้องออกไปเที่ยวชิมชาประเทศต่างๆกันอย่างแน่นอน

 

ที่มา

https://petmaya.com/21-tea-around-the-world-wow

http://theteashelf.com/teas-across-the-world/

http://thewoksoflife.com/2015/08/yuanyang-tea-hong-kong/

https://www.tastesoflizzyt.com/russian-tea/

http://myturkeyfood.blogspot.com/

https://www.flickr.com/photos/61259075@N08/14486900931/

 

บทความจาก : Fuwafuwa

ทำความรู้จักการชงชาแบบ Steeping

Steeping

      มาทำความรู้จัก รู้จักการชงชาแบบ Steeping กัน หากพูดถึงการชงชาเขียวจากผงมัทฉะ ภาพที่แต่ละคนคิดก็จะชงด้วยฉะเซน ตีผงชาให้ละลาย ส่วนการชงชาใบนั้น ไม่ใช่แค่การเทน้ำผ่านใบชาแล้วจะดื่มได้เลย แต่หากเป็นการ Steeping ชา หรือการแช่ชาไว้ในกาตลอดการดื่ม มีขั้นตอนการชงที่ง่าย ใช้อุปกรณ์น้อย และได้รสชาค่อนข้างคงที่ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความสะดวก และต้องการทานเพื่อประโยชน์โดยเฉพาะ ซึ่งการ  Steeping ชาเป็นกระบวนการสกัดกลิ่นและรสชาติของชาออกมาอย่างเรียบง่ายด้วยการแช่ใบชาไว้ในน้ำที่มีอุณหภูมิและระยะเวลาที่แตกต่างกันออกไปตามประเภทใบชา ข้อสำคัญในการชงแบบนี้คือการหมั่นเติมน้ำเดือด เพื่อรักษาระดับน้ำไม่ให้ต่ำกว่าครึ่งกาหรือเมื่อรู้สึกว่าชานั้นเริ่มจะเข้มเกินไป 

การแช่ชาที่สมบูรณ์แบบต้องมี 2 สิ่ง คือ น้ำ และเวลาในการแช่ที่ถูกต้อง โดยทั่วไป การชงชาแบบจีน จะใช้ชาราว 4-5 กรัม ต่อน้ำ 100 มล. ส่วนการชงชาฝรั่ง หรือชาเบลนด์ จะใช้ชาราว 3 กรัม ต่อน้ำ 200-250 มล.ใช้ระยะเวลาในการแช่ใบชานาน คือ 2.5-3 นาทีขึ้นไป

Steeping

สำหรับชาที่นิยมชงแบบ Steeping เป็นชาตะวันออก ชาธรรมชาติ ที่ไม่ได้เบลนด์ และไม่ได้แต่งกลิ่น ในกรณีที่ชงชาขาว หรือ ชาเขียว  เป็นชาสด จะใช้น้ำที่ไม่เดือดมากในการชง สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะถ้าใช้น้ำเดือดในการชง บางครั้งจะได้กลิ่นสาบเขียวของใบชา คล้ายผักต้ม จึงควรใช้น้ำอุณหภูมิไม่สูงประมาณ 80 องศา จะกำลังพอดี จะไม่นิยมดื่มน้ำแรก เพราะถือว่าเป็นน้ำกระตุ้นใบชา ให้เททิ้งก่อน จะเริ่มดื่มตั้งแต่น้ำที่สองเป็นต้นไป

การชงชาปกติจะใช้เวลา steeping หรือแช่ชาประมาณ 3-5 นาที ยกเว้นการชงชาขาวที่จะใช้เวลาชงแค่ 2-3 นาที ส่วนชาผลไม้ ชาดอกไม้ หรือชาสมุนไพร จะชงนานประมาณ 5-7 นาที แต่ถ้าเป็นชาเซนฉะจะแช่เพียง 30 วินาที – 1 นาที เท่านั้น หากแช่นานเกินกว่านี้จะขม

Steeping Steeping

ส่วนของชาอู่หลง และชาดำควรใช้น้ำเดือดในการชง แต่ถ้าหากเป็นชาดีๆ ควรรอให้อุณหภูมิของน้ำลดลงสักครู่นึง คือ สัก 90 องศา แล้วจึงชง เพื่อหลีกเลี่ยงความขมฝาดที่อาจเกิดขึ้น เพราะความขมต่างๆ มักจะถูกดึงออกมาเมื่ออุณหภูมิของน้ำสูงมากกว่า 90 องศานั่นเอง อย่างไรก็ตามปัจจัยอื่นๆประกอบการชงชาด้วยวิธีการแช่ใบชานั้นยังมีเรื่องของประเภทน้ำที่ควรใช้ในการชงชา เป็นต้น

จะเห็นว่าเทคนิค ปัจจัยในการชงชาแบบ steeping หรือการแช่ชานั้นแตกต่างกันออกไป การทดลองด้วยตัวเองเพื่อให้ได้รถชาติที่ถูกปากที่สุดจึงเป็นเรื่องที่คนรักชาเขียวควรลองศึกษาทดลองเพื่อให้ได้สูตรชาในแบบฉบับของคุณเอง

ที่มา

https://www.thespruceeats.com/tea-brewing-temperature-guide-766367

https://the.republicoftea.com/tea-library/tea-101/how-to-steep-tea/

บทความจาก : Fuwafuwa

Tea pairing จับคู่ชากับอาหารอะไรดี

เป็นที่ทราบกันดีว่า ชาเป็นอีกหนึ่งเครื่องดื่มที่จะช่วยเพิ่มและดึงกลิ่นและรสชาติที่ละเอียดอ่อนของอาหารหลายประเภทออกมาได้ เช่นเดียวกับไวน์ ที่พวกเราจะคุ้นเคยกับกฎพื้นฐานที่ว่า ไวน์แดง จะเสิร์ฟกับอาหารที่มีเนื้อแดง ส่วนไวน์ขาวเสิร์ฟพร้อมกับเนื้อปลาและอาหารมังสวิรัติ ดังนั้นการเรียนรู้ว่า ชาชนิดใดสามารถเติมเต็มรสชาติของอาหารได้บ้าง จึงเป็นศาสตร์ที่คนรักชาควรศึกษาเพิ่มเติมไว้เพื่อช่วยให้รสชาติชาเขียวทำให้เมนูอื่นๆในร้านอร่อยมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

Tea pairing

ชาแต่ละชนิดก็จับคู่กับอาหารอะไรเพื่อช่วยดึงรสชาติได้แตกต่างกัน เช่น ชาดำที่มีกลิ่นรสที่ strong และค่อนข้างเข้มข้นไปจนถึงขม ซึ่งมีความคล้ายกับความ Full-bodied ของไวน์แดง จับคู่ได้ดีกับอาหารเนื้อแน่น รสชาติหนักๆ พวกเนื้อย่าง (วัว, แกะ) พาสต้าเนื้อแน่นอย่างลาซานญ่า ชาขาวรสชาติเบาๆ ควรจับคู่กับอาหารที่เบามากเช่น ปลาเนื้อขาวเช่น ปลากะพงหรือชีสอ่อน ๆ ส่วนชาอู่หลงจะแตกต่างกันออกไป จะเข้ากันได้ดีกับของหวาน ผลไม้ ชีส และเนื้อสัตว์รมควัน แต่ถ้าเป็นชา Earl Grey จะเหมาะกับผลไม้และขนมหวาน เค้ก และดาร์กช็อกโกแลต

จะเห็นว่า ชา นอกจากจะสามารถเพิ่มรสชาติของอาหารบนจานของคุณได้อย่างแท้จริง ในทางกลับกันการจับคู่ผิดก็อาจจะทำให้อาหารและชามื้อนั้นรสชาติแย่ไปเลยก็มี มาดูกันว่าชาเขียว เหมาะกับการจับคู่กับอาหารชนิดใดบ้าง

  1. อาหารญี่ปุ่นและชาเขียว ถือเป็นส่วนผสมที่ดีต่อสุขภาพและเข้ากันที่สุด

อาหารของญี่ปุ่นที่ประกอบด้วยซา ชิมิ ข้าวปั้น ราเมง อาหรกลุ่มนี้จะเข้ากันได้ดีกับชาเขียว โดยเฉพาะเซนฉะที่มีความสมดุลของความเป็นกรดและความหวานที่เข้ากันได้ดีกับรสชาติของอาหารญี่ปุ่นนั่นเอง

  1. อาหารซีฟู้ด ชาเขียวโดยเฉพาะเซนฉะจะเข้ากันได้ดีกับอาหารทะเล เพราะช่วยเพิ่มรสชาติของกันและกัน ซึ่งส่งผลให้เกิดการผสมผสานที่เป็นเอกลักษณ์ในปากและทิ้งรสขมเล็กน้อยที่ค้างอยู่ในปากซึ่งทำให้ต้องการอาหารซีฟู้ดมากขึ้น
  2. ขนมที่ใช้ช็อคโกแลต ช็อคโกแลตมีโกโก้ซึ่งให้รสขม หรือจะเป็นดาร์กช็อกโกแลตที่มีโกโก้มากกว่าเมื่อเทียบกับช็อคโกแลตอื่นๆ ทำให้มีรสขมอย่างเข้มข้น หากจับคู่กับชาเขียวที่ผสมผลไม้ จะได้รสชาติที่ลงตัวจากความขมของโกโก้และความหวานจากชาเขียว หากต้องการทานช็อคโกแลตประเภทหวานๆ เช่น ช็อกโกแลตนม ชาเขียวก็เป็นคู่ที่ดี เพราะรสขมเล็กน้อยของชาเขียวจะช่วยเพิ่มรสหวานของช็อกโกแลต
  3. ไก่ทอดรสชาติที่ได้จากชาเขียวจะเข้ากันได้ดีกับไก่ทอด เพราะชาเขียวจะช่วยลดอาการปากมันเยิ้มที่ได้จากการกินไก่ทอด
  4. ขนมปังโฮลวีตและชาเขียวเป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีเยี่ยมและสามารถทำเป็นอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางโภชนาการได้การจับคู่นี้สามารถกระตุ้นการเผาผลาญได้เป็นอย่างดี

จะเห็นว่าชาเขียวเป็นเครื่องดื่มสารพัดประโยชน์ที่สามารถจับคู่กับอาหารได้เกือบทุกชนิด การทานชาแต่ละชนิดกับอาหารแต่ละอย่างจึงมีรสชาติแตกต่างกันไป ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคลด้วย หากร้านชาไหนที่ไม่มีเมนูของคาวทาานคู่ชาแล้ว ลองดูส่วนผสมอื่นที่มาผสมกับชาเขียวแก้วโปรดของคุณให้ได้รสชาติที่แตกต่างกันออกไป ยิ่งไปกว่านั้นชาเขียวมัทฉะของญี่ปุ่นมักจะมีกลิ่นหอมของแอปเปิ้ลและดอกกุหลาบที่เด่นชัดมากขึ้นเมื่อผสมกับกลิ่นหอมของแตงกวาสีเขียวบางชนิด บางคนผสมกับตะไคร้ ขิง หญ้าฝรั่น แอปเปิ้ล สับปะรด แอปริคอท มะเขือเทศ หรือเหล้ารัม ก็ให้รสชาติที่แตกต่างออกไป เพราะชาเขียวจับคู่กับอะไรก็อร่อย ^^

ที่มา

https://www.teavivre.com/info/how-to-pair-tea-and-food.html

https://www.pinterest.com/pin/100768110397035818/

https://www.letempsduthe.fr

https://www.japanesegreenteain.com

บทความจาก : Fuwafuwa

เปลี่ยนสวนที่บ้านให้เป็นต้นชาเขียวได้มั้ย?

เอาใจคนรักชาเขียว กับการทดลองเปลี่ยนสวนที่บ้านให้เป็นต้นชาเขียว เริ่มด้วยการเพาะเมล็ดในถุงพลาสติก ขนาด 6×8 นิ้ว ใส่ดินผสมไว้ในถุง วางเมล็ดชาที่ดี ไว้กลางถุงให้ด้านตาควํ่าลง แล้วกลบเมล็ดด้วยถ่านแกลบหรือทรายผสมขุยมะพร้าวหนาประมาณ 1 นิ้ว ควรมีการพรางแสงให้ร่มเงา และรดนํ้าอย่างสม่ำเสมอในระหว่างเพาะ ที่ต้องเลือกวิธีการเพาะเมล็ดเพราะไม่กินพื้นที่มากสำหรับสวนบ้าน และการขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นวิธีการที่นิยมใช้กันมากในประเทศไทยด้วย ต้นชาที่เพาะจากเมล็ดจะมีระบบรากแข็งแรง มีรากแก้วสามารถทนต่อความแห้งแล้งได้ดีนั่นเอง

matcha lover

ปัจจัยที่สำคัญในการปลูกชา  คือ สามารถเจริญได้ไม่ว่าอากาศจะร้อนหรือหนาว ยกเว้นในพื้นที่ที่มีนํ้าแข็ง แะยังมีปัจจัยอื่นๆอีก นั่นคือ

  1. ดินชาจะเจริญงอกงามในดินร่วนที่มีการระบายนํ้าได้ดี เป็นกรดเล็กน้อย มี PH 4.5-6.0 ความลาดชันไม่ควรเกิน 45 องศา
  2. ความชื้นและปริมาณนํ้าฝนควรเป็นพื้นทีที่มีฝนตกสม่ำเสมอตลอดปี ปริมาณนํ้าฝนอย่างตํ่า ควรอยู่ในช่วง 1,140-1,270 มิลลิเมตร/ปี เพราะถ้าขาดนํ้าจะทำ ให้ต้นชาชะงักการเจริญเติบโต ไม่แตกยอด ทำ ให้ผลผลิตลดลงนั่นเอง
  1. อุณหภูมิ ชาสามารถเจริญได้ในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน โดยชาจะเจริญเติบโตดีในช่วงอุณหภูมิระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียสและอุณหภูมิค่อนข้างคงที่ตลอดปี ทำให้ชาสร้างยอดใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง
  1. ความสูงจากระดับนํ้าทะเลชาที่ปลูกในพื้นที่สูงตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป มีอากาศเย็นจะทำ ให้ผลผลิตใบชาที่ได้มีคุณภาพสูง ใบชามีกลิ่นและรสชาติดี แต่ปริมาณผลผลิตที่ได้จะตํ่า ส่วนการปลูกชาในที่ตํ่า อากาศค่อนข้างร้อน ชาจะให้ผลผลิตสูงแต่คุณภาพตํ่ากว่าชาที่ปลูกในที่สูง

หลังจากเช็คปัจจัยต่างๆเหล่านี้ครบแล้ว ในทางตรงกันข้ามที่จะเห็นได้ชัดว่า ปัจจัยที่ไม่เหมาะสมในการปลูกชา คือ

  1. ดินชั้นล่างเป็นหิน หรือลูกรัง ทำ ให้ชาหยั่งรากลงไปหาอาหารได้ตื้น
  2. เป็นพื้นที่ที่ไม่มีการระบายนํ้า และ มีหินปูนและมี pH เกินกว่า 6
  3. พื้นที่มีความลาดชันมากเกิน
  4. ดินที่มีอินทรีย์วัตถุน้อย และไม่สามารถเก็บความชุ่มชื้นได้
  5. บริเวณที่มีลมแรง จนไม่สามารถทำ ที่บังลมได้ เพราะต้นชา เป็นพืชที่ต้องการร่มเงาไม้เพื่อบังร่ม และบังลม ช่วยลดอุณหภูมิในช่วงกลางวันลง ลดปริมาณของแสงแดดที่ส่องยังต้นชาโดยตรง ทำ ให้ใบชาสามารถสังเคราะห์แสงได้ดีขึ้น เพราะถ้าต้นชาได้รับแสงแดดจัดเต็มที่โดยตรงจะทำ ให้ใบมีขนาดเล็ก เหลือง หรือทำ ให้เกิดใบไหม้ ใบชาไม่มีการปรุงอาหาร ต้นจะโทรมและตายในที่สุด

การเก็บเกี่ยวชา

การเก็บเกี่ยวชาเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะการผลิตชาให้ได้คุณภาพดีนั้น ต้องเริ่มจากใบชาสดที่มีคุณภาพ ใบชาสดที่มีคุณภาพดีที่สุดคือ ใบชาที่เก็บจากยอดชาที่ประกอบด้วย 1 ยอด กับ 2 ใบ การเก็บชาจะเริ่มเก็บยอดชาที่ระดับ 60 เซนติเมตร ในช่วงเดือนมีนาคม จนถึงเดือนพฤศจิกายน โดยเฉลี่ยจะเก็บยอดชา 10 วันต่อครั้ง ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวยอดชาจะอยู่ประมาณ 05.00-14.00 น. การเก็บยอดชาจะต้องไม่อัดแน่นในตะกร้า หรือกระสอบเพราะจะทำ ให้ยอดชาชํ้าและคุณภาพใบชาเสียได้ เนื่องจากความร้อนที่เกิดขึ้นจากการหายใจของใบชานั่นเอง

ส่วนเมล็ดชาที่ดีที่เหมาะกับการปลูก ควรเก็บจากผลชาที่แก่จัดเต็มที่มีสีนํ้าตาล และยังติดบนต้น ไม่ควรเก็บเมล็ดชาที่ร่วงใต้ต้น หลังจากเก็บผลชาที่แก่เต็มที่จากต้นแล้วนำ มากระเทาะเปลือกออกหรือนำ มาใส่กระด้งหรือกระจาด ผึ่งทิ้งไว้ในที่ร่ม ผลชาจะแห้งและแตกเองภายใน 2-3 วัน จากนั้นรีบนำ เมล็ดชาที่ได้ไปเพาะ เนื่องจากเมล็ดชามีปริมาณนํ้ามันภายในเมล็ดสูง ทำ ให้มีอัตราการสูญเสียความงอกเร็วมากก่อนเพาะเมล็ดชาควรนำ เมล็ดที่ได้แช่นํ้าไว้ 12-24 ชั่วโมง เมล็ดชาที่เสียจะลอยนํ้าให้ตัดทิ้งไว้ใช้แต่เมล็ดที่จมนํ้านำไปเพาะต่อไป

หลังจากที่บ้านไหนได้ลองปลูกชาดูเองแล้ว อยากทำเป็นไร่ชาออร์แกนิค ให้ได้ชาที่ปลอดภัยต่อสุขภาพในระยะยาว ไม่มีสารเคมีตกค้าง สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ทำความรู้จักการปลูกชาเขียวแบบออร์แกนิค

ที่มา https://www.japanesegreenteain.com

https://i.pinimg.com/originals/72/ea/da/72eada1447275ef65d7ab82ff6cd381e.jpg

https://www.morimatea.com/

https://www.freepik.com

http://technology-farmmer.blogspot.com/2015/02/blog-post_20.html

บทความจาก : Fuwafuwa

How to เบลนด์ชาเขียวเองได้ด้วยตัวเอง

“ชาที่ดี ใบชาตั้งต้นต้องดี”  หัวใจสำคัญแรกเริ่มเลย ก่อนจะรู้จักการเบลนด์ชาเอง ใบชาตั้งตั้นที่กล่าวถึงนี้ ก็คือชาดำ ชาเขียว และชาอู่หลง พอได้ใบชาตั้งต้นดีแล้ว จะเอามาเบลนด์กับอะไร รสชาก็จะอร่อย หอมตามไปด้วย กล่าวคือ ชาเขียวที่เหมาะกับการนำมาเบลนด์เองได้นั้น ควรเป็นชาที่ปลูกในที่ภูเขาสูง อากาศเย็น อย่างที่ญี่ปุ่น ที่นั่นเขาจะดื่มชากันสดมากๆ เพราะผลิตผลเขาดีมาก ชาที่ดี จึงมักมีจุดตัดกันที่ แหล่งที่มาของชา การปลูก ดิน แหล่งชาไหนจะสร้างชามาได้เลิศกว่ากัน

แหล่งชา แหล่งชา แหล่งชา

เมื่อเราได้ชาตั้งต้นที่ดี ความสนุกและซับซ้อนของชายังอยู่ที่การเบลนด์ส่วนผสมอื่นเข้าไปเพื่อให้มีกลิ่นและรสที่มีมิติน่าสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะสมุนไพรที่นอกจากจะมีกลิ่นรสเฉพาะตัว ยังมีสรรพคุณดีๆ ที่ช่วยเรื่องสุขภาพอีกด้วย เช่น หากเลือก ดอกลาเวนเดอร์และกุหลาบตากแห้งดอกจิ๋วๆ ที่เติมความน่ารักให้ชา จะช่วยบำรุงระบบหมุนเวียนโลหิต พร้อมทั้งคลายเครียด ดอกคำฝอยช่วยลดไขมันในเส้นเลือด แถมยังช่วยให้ชาสีสวย หากใครหลับยาก ถ้าเป็น ดอกคาโมมายล์และดอกหอมหมื่นลี้ช่วยให้ผ่อนคลายและหลับสบายขึ้นดอกเก๊กฮวยแก้ร้อนใน ดีต่อหัวใจ หรือถ้าเลือกผสม ดอกอัญชันแห้งก็จะช่วยบำรุงสายตาและเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกายใบเตยแห้งช่วยลดไข้ บำรุงผิว และแก้ท้องผูก ตะไคร้แห้งช่วยขับลมและแก้คลื่นไส้ นอกจากนี้ยังมีส่วนผสมตัวอื่นๆที่น่าลอง เช่น หญ้าหวาน ข้าวเหนียวดำ ขิง มะม่วง กระเจี๊ยบ ซินนาม่อน

การเบลนด์ชา การเบลนด์ชา

พอรู้จักสรรพคุณของชาแล้ว มาลองเริ่มเบลนด์ชากันเองดีกว่า หลักการง่ายๆ ของการเบลนด์ชาเบื้องต้น เริ่มต้นง่ายๆ จากการเลือกชาและสมุนไพรที่ชอบก่อน ต้องออกแบบรส และกลิ่นไว้คร่าวๆ ก่อนว่าต้องการรสแบบไหน ประมาณไหน อยากได้รสหลักเป็นอะไร แล้วค่อยๆ ใส่ลูกเล่นเข้าไปเพิ่ม หลักการง่ายๆ คือการค่อยๆ ปรับแก้จนได้รสที่ใกล้เคียงสิ่งที่คิดไว้ สัดส่วนใบชาและสมุนไพรที่แนะนำคือ ใบชา 3 ส่วน ต่อสมุนไพร 1 ส่วนใส่ลงถุงชา หรือที่กรองชา โดยลองสกัดชาที่เบลนด์แล้วด้วยน้ำร้อนอุณหภูมิประมาณ 95 องศาเซลเซียส เทน้ำลงไปชาเหมือนเวลาชงชาปกติ เพราะจะได้ชาที่มีรสชาติพอดิบพอดี

สิ่งที่ต้องดูนอกจากรสชาติ คือ ดูสีสัน และกลิ่นที่เข้ากันได้ เช่น ไม่ควรใส่ดอกไม้ที่กลิ่นหอมทั้งคู่ กลิ่นจะตีกัน เช่น กุหลาบ กับ ลาเวนเดอร์ หรือควรจับคู่กลิ่นรสที่เสริมกัน เช่น ใบเตยกับตะไคร้ จะยิ่งให้ความสดชื่นในตอนดื่ม หากไม่แน่ใจ จะลองชงดื่มดูก่อนก็ได้ว่าได้กลิ่น สี และรสอย่างที่ต้องการหรือไม่

แต่การเบลนด์ชาก็ไม่ใช่ว่าจับอันนั้นผสมอันนี้ก็เสร็จ เพราะเรื่องสัดส่วนเป็นเรื่องสำคัญ สมุนไพร ดอกไม้บางชนิดกว่าจะแช่ในน้ำร้อนให้กลิ่นและสี ชาเขียวก็อาจจะถูกแช่จนขมไปหมด ส่วนที่ยากของการเบลนด์ชาคือ ไม่มีทางตัดสินได้ว่ารสชานั้นจะออกมาเป็นอย่างไรในการผสมของแห้ง สุดท้ายชาต้องถูกแช่ในน้ำร้อน กลิ่นและรสก็จะเปลี่ยนแปลงไปอีกจากที่เราชอบ กว่าจะได้ชา 1 เบลนด์ต้องผ่านการลองผิดลองถูกซ้ำแล้วซ้ำเล่าไม่รู้กี่ครั้ง จนได้จุดที่สมดุลที่สุด

ส่วนร้านที่เริ่มเบลนด์ชาเองได้จนเชี่ยวชาญแล้ว สามารถต่อยอดชุดชาเบลนด์ เป็นชุดของขวัญ รวมชาสรรพคุณดีๆ กลิ่นหอมๆ ใส่โหลผูกโบ หรือแพ็คลงกล่องอย่างสวยงาม แทนกระเช้าอาหารแปรรูปที่วางขายอยู่ทั่วไป ก็น่าสนใจและบ่งบอกถึงความตั้งใจในการคัดเลือกชาคุณภาพให้ผู้รับประทับใจ

ชุดชาเบลนด์ ชุดชาเบลนด์

ที่มา

http://www.lovecreatecelebrate.com/homemade-peppermint-tea/

https://creationsbyfc.com/products/tea-sampler-gift-set-10pc

https://www.anthropologie.com/wellness-teas-coffees-elixirs

http://www.womansday.com/health-fitness/10-healing-herbs-used-in-teas-75249

https://www.anthropologie.com/wellness-teas-coffees-elixirs

บทความจาก : Fuwafuwa

ทำความรู้จักการปลูกชาเขียวแบบออร์แกนิค

ทำไมรสชาติของชาญี่ปุ่นออร์แกนิคจึงมีกลิ่นหอม และหวานละมุน?

Matcha

เพราะการปลูกชาออร์แกนิคเป็นการปลูกชาที่ต้องงดปุ๋ยเคมีหรือยาฆ่าแมลง ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ไม่มีการดัดแปลงพันธุกรรม (ไม่มีจีเอ็มโอ) รวมทั้งเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้ตัดต่อทางพันธุกรรม หรือวัตถุสังเคราะห์ใดๆ ซึ่งการเตรียมหน้าดินก่อนปลูก ต้องทำให้ปลอดสารพิษไม่น้อยกว่า 3 ปี และในกระบวนการผลิตต้องมีการอนุรักษ์ดินและแหล่งน้ำ เพื่อให้ผลผลิตเจริญเติบโตตามธรรมชาติอย่างแท้จริง และปลอดภัยต่อสุขภาพไม่มีสารตกค้างจากสารเคมี เนื่องจากการปลูกชาโดยทั่วไปยังมีการใช้สารเคมีและยาปราบศัตรูพืชซึ่งอาจจะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว

ปัจจุบันแม้ชาส่วนใหญ่ที่ญี่ปุ่นเป็นเพียงชาปลอดสารพิษ มีเปอร์เซ็นต์น้อยมากๆ ที่เป็นออร์แกนิค 100% เพราะเป็นเรื่องยากที่จะสร้างไร่ชาออร์แกนิคนั่นเอง เนื่องจากมีไร่ชาปลอดสารพิษมากมายอยู่ในพื้นที่ติดกัน และมีการแพร่กระจายของปุ๋ยเคมีหรือสารกำจัดศัตรูพืชและสารเคมีที่แทรกซึมผ่านดินจากฟาร์มโดยรอบสามารถเข้าสู่ฟาร์มอินทรีย์ ดังนั้นไร่ชาออร์แกนิคจำเป็นต้องสร้างพื้นที่กันชนหรือที่พักพิงระหว่างไร่ชาออร์แกนิกและไร่ชาปลอดสารพิษ เพื่อให้สภาพดินไร้สารเคมีอย่างแท้จริง

Matcha

ชาออร์แกนิคมีรสชาติที่เรียบง่ายเพราะชาได้รับสารอาหารที่มีอยู่ในดินโดยตรง และรสชาติชาจะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศด้วย การคัดเฉพาะยอดอ่อน 3 ใบบนเท่านั้น และเก็บเฉพาะช่วงเช้าก่อน 7 โมงเช้า เทคนิคที่ทำให้ชาออร์แกนิคมีรสชาติที่ละมุนพิเศษ เพราะใบชาจะผลิใบรับแสงแดดอ่อนๆ อย่างเต็มที่ และมีละอองน้ำค้างที่จะขับกลิ่นหอมและรสชาติหวานละมุนของชาให้ออกมาได้อย่างเต็มที่ในช่วงเวลาเช้านี่เองสภาพอากาศจึงเป็นอีกตัวแปรสำคัญที่ทำให้รสชาติชาเป็นเอกลักษณ์

อีกสาเหตุที่การปลูกชาออร์แกนิคได้รับความนิยมไม่มากนักเพราะว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ให้ออกผลผลิตได้รวดเร็วตามที่ต้องการ ปุ๋ยอินทรีย์จะทำงานช้าเป็นเวลา 3 ถึง 9 เดือน ในทางตรงกันข้ามปุ๋ยเคมีจะทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในเวลาประมาณ 1 เดือนเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับต้นทุนการผลิต ที่ปุ๋ยอินทรีย์จะทำงานช้า ดังนั้นต้นชาอินทรีย์จึงมีภาระมากกว่าต้นชาที่ไม่ใช่ออร์แกนิก ในทางกลับกันปุ๋ยเคมีในไร่ชาปลอดสารพิษทำให้กระบวนการปลูกง่ายขึ้นมาก ออกผลผลิตเร็ว

ดินในไร่ชาออร์แกนิกโดยทั่วไปมีอากาศมากกว่าและนุ่มกว่าดินในไร่ชาที่ไม่ใช่อินทรีย์ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณปุ๋ยที่ใช้ด้วย หากใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในปริมาณมากทำให้ดินนุ่มและโปร่งสบายขึ้น นี่เป็นเรื่องจริงสำหรับทั้งไร่ชาออร์แกนิคและไม่ใช่ออร์แกนิค ดินจะโปร่งสบายเนื่องจากแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในดินและสร้างสารอาหารและสภาพแวดล้อมที่ดีต่อใบชา

Matcha Field

ในพื้นที่ไร่ชาที่เมืองอูจิ เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงฤดูร้อน แสงแดดจะร้อนจัดและอากาศชื้น แต่ด้วยความชื้น พร้อมกับปุ๋ยที่อุดมสมบูรณ์นี้ เป็นสภาพแวดล้อมที่ดีมากสำหรับต้นชา แต่ยังเป็นสภาพแวดล้อมที่วัชพืชชื่นชอบด้วยเช่นกัน การกำจัดวัชพืชในไร่ชาออร์แกนิค ต้องใช้การถอนเถาวัลย์ออกจากต้นชา ถือเป็นงานที่ยาก เพราะชาออร์แกนิค กำจัดวัชพืชทำด้วยมือเท่านั้น และต้องกำจัดออกเพื่อป้องกันไม่ให้วัชพืชดูดซับสารอาหารจากปุ๋ยไปหมด

Matcha

ชาออร์แกนิคจะมีรสชาติที่รสชาติอร่อยกว่าชาจากไร่อื่นๆเพราะเติบโตในสภาพอากาศที่เหมาะสมและแหล่งน้ำธรรมชาติ คุณภาพดีเพราะเก็บด้วยมือ แถมยังปลอดภัยต่อสุขภาพในระยะยาว เพราะไม่มีสารเคมีตกค้าง จึงทำให้มีราคาที่สูงกว่าชาทั่วๆไปนั่นเอง

ที่มา

https://www.unclelee.com/article-history-our-tea.html

https://www.hibiki-an.com/contents.php/cnID/19

บทความจาก : Fuwafuwa