Chasen หนึ่งในอุปกรณ์สำคัญในการชงมัทฉะ
|

Chasen หนึ่งในอุปกรณ์สำคัญในการชงมัทฉะ

Chasen (茶筅 หรือที่เรียกว่า ที่ตีฟองชา) เป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญในการชงตีผงมัทฉะให้ละลาย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีลักษณะแปรงและคุณภาพที่เหมาะสมเพื่อให้ได้มัทฉะที่ดี ซึ่งฉะเซ็นมีหลายประเภท ที่มีความแตกต่างแค่เล็กน้อยในวัสดุ และรูปร่าง และลักษณะการใช้งาน โดยวัสดุหลักที่ใช้คือ ไม้ไผ่ ซึ่งไม้ไผ่ที่ใช้ทำมี 3 ชนิดหลัก ได้แก่ ไผ่ Hachiku, ไผ่ Susudake, และไผ่ดำ Kurodake โดยไผ่ Hachiku เป็นวัสดุที่นิยมใช้มากที่สุดในการทำฉะเซ็น เพราะเนื้อไม้มีความเนียน และอ่อน ทำให้แกะง่าย แต่ในขณะเดียวกันก็มีความทนทานต่ำและแตกง่ายเช่นกัน หากใช้ไผ่ Susudakeจะมีความทนทานกว่า แต่จะหาไผ่ชนิดนี้ค่อนข้างยาก ส่วนไม้ไผ่ Kurodakeเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักมากที่สุดในการทำฉะเซ็น อยู่ได้นานกว่าไม้ไผ่ Hachiku 3 เท่า แต่ไม้ชนิดไผ่ Kurodakeจะแกะสลักได้ยากเป็นพิเศษ ไผ่ที่ใช้ทำฉะเซ็นมักมีอายุประมาณ 3 ปีและเก็บเกี่ยวในฤดูหนาว หลังจากการเก็บเกี่ยวไม้ไผ่จะแห้งเป็นเวลาหนึ่งปี ขั้นแรกในช่วงฤดูหนาวจะทำด้านนอกโดยปล่อยให้สภาพอากาศในฤดูหนาวเป็นไม้จากนั้นนำไปเก็บไว้ในที่เก็บของแห้งและทิ้งไว้ที่นั่นตลอดทั้งปี เมื่อไม้ไผ่พร้อมแล้วจะเลือกไม้ไผ่ที่เหมาะสม สภาพสมบูรณ์ที่สุด มาตัดเป็นชิ้นยาว 9-12 ซม. และแกะสลักด้วยมือเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่พร้อมใช้งานโดยเด็กฝึกงาน และถูกส่งกลับไปยังต้นทางผู้ชำนาญการแกะสลักอีกครั้งเพื่อทำการปรับแต่งอย่างละเอียดซึ่งประกอบด้วยการโค้งงอและเกลียว รูปร่างสุดท้ายของฉะเซ็นถูกกำหนดขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆมากมาย เช่น Chu-araho ฉะเซ็นที่มีขนแปรงหยาบกว่า…

ความต่างของ”กาน้ำชา”
|

ความต่างของ”กาน้ำชา”

ชามีบทบาทในพิธีกรรมและกิจกรรมทางสังคมต่างๆ ในพิธีกรรมและกิจกรรมทางสังคมต่างๆ ในหลายวัฒนธรรม การชงชาไม่ได้ชงเพื่อรสชาติเท่านั้น แต่การชงชาได้เป็นการแสดงออกถึงศิลปะความงามอีกประเภทหนึ่ง จึงส่งผลให้การเลือกใช้กาชาของแต่ละคนอาจจะลืมนึกถึงประโยชน์ในการใช้งานไป เวลาเลือกกาน้ำชา บางคนเลือกเพียงจากความสวยงาม และใช้งานถนัดมือ แต่ความจริงแล้ว เราจำเป็นต้องคำนึงว่ากานั้นๆจะใช้ชงชาใบหรือชาซอง หรือใช้แค่ใส่น้ำร้อนเทลงถ้วยชาวังสำหรับตีผงมัทฉะ นอกจากวัตถุประสงค์ในการใช้แล้ว จะเห็นว่า กาน้ำชา สามารถทำได้จากวัสดุที่หลากหลายเช่นกัน ทั้ง หิน ดินเผา แก้ว เหล็กหล่อ เงิน และสเตนเลส วัสดุแต่ละประเภทมีผลต่อรสชาติของชาและก็เหมาะกับการชงชาแต่ละประเภทแตกต่างกันไป หากต้องการชงชาใบตะกร้ากรองชาที่มากับกาน้ำชาก็เป็นสิ่งที่สำคัญที่ต้องดูความถี่ของตะแกรงให้ดี ไม่เช่นนั้น อาจจะมีใบชาเล็ดลอดออกมาตอนเท ทำให้เสียรสชาติการดื่มชาได้ หากเป็นกาชา “เครื่องกระเบื้อง” เป็นเครื่องปั้นดินเผาสีขาวขุ่นคุณภาพดีที่ผ่านการเผาที่อุณหภูมิสูง กาน้ำชาเครื่องกระเบื้องใช้ได้ดีกับชารสอ่อน เช่น ชาเขียว ชาอู่หลง และชาดำอ่อนๆ ยอมชาดาร์จีลิง แต่ถ้าเป็น กาชา”เหล็กหล่อ”เหล็กหล่อถูกใช้เพื่อทำภาชนะสำหรับต้มน้ำด้วยกองไฟเพราะเหล็กจะร้อนได้เร็วและรักษาความร้อนไว้ได้ดีเมื่อมีอุณหภูมิตามที่ต้องการแล้ว การใช้กาน้ำชาแบบเหล็กมาหล่อต้มชาเกิดขึ้นในช่วงที่เซนฉะเริ่มได้รับความนิยมในญี่ปุ่น โดยกาน้ำชาเหล็กหล่อมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับกาน้ำชาดินเผาแบบไม่เคลือบ เพราะมันจะดูดซับรสชาติบางส่วนของชาไว้ดังนั้นจึงไม่ควรใช้น้ำยาล้างจานล้างกาน้ำชาเหล็กหล่อ และควรทำให้แห้งสนิทเพื่อป้องกันสนิม กาชาอีกประเภทที่เห็นทั่วไปคือ กาชา “แก้ว” วัสดุที่ไม่ค่อยจะเหมาะแก่การทำกาน้ำชาเพราะมันเก็บกักความร้อนได้น้อย เปื้อนง่าย และเปราะบาง เหมาะสำหรับการชงชาที่มีความสวยงามโดยเฉพาะชาดอกไม้บานเพราะเราจะเห็นใบชาที่กำลังคลี่ออกอย่างสวยงาม นอกจากนี้คุณยังรู้ด้วยว่าชาของคุณเข้มพอหรือยัง และกาน้ำชาแก้วมักจะมาพร้อมกับเตาอุ่นที่ให้ใส่เทียนเข้าไปด้านล่างเพื่อรักษาให้ชาอุ่น กาชา “ดินเหนียว”  ยิ่งอุณหภูมิที่สูงเท่าไหร่…

ปรัชญาของคนญี่ปุ่นที่แฝงแนวคิด จาก ถ้วยชา
|

ปรัชญาของคนญี่ปุ่นที่แฝงแนวคิด จาก ถ้วยชา

เคยสังเกตมั้ยว่า ถ้วยชงชาญี่ปุ่น เมื่อเทียบกับของทางฝั่งยุุโรป จะมีลักษณะที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก ถ้วยชาญี่ปุ่น จะไม่เรียบ 100% ลักษณะส่วนมากเป็นถ้วยชาจากการปั้นด้วยมือ มีความขรุขระบ้าง ลวดลายสีสันที่ดูเป็นงานคราฟต์ บางใบดูดีๆจะเห็นว่าเป็นถ้วยที่แตกแล้ว แต่ถูกประสานด้วยทองจนเนียนเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของลวดลายถ้วยชานั้นๆ ซึ่งวิธีการทำแบบนี้เราเรียกว่า การทำคินสึงิ (Kintsugi)นั่นเอง คินสึงิ มีประวัติศาตร์อันยาวนาน ย้อนไปในศตวรรษที่ 15 โชกุนของญี่ปุ่นที่มีชื่อว่า อาชิกางะ โยชิมาสะ (Ashikaga Yoshimasa) ได้ส่งถ้วยชาที่เสียหายไปยังประเทศจีนเพื่อซ่อมแซม และมันก็ถูกส่งกลับมาในสภาพที่มีตัวเย็บเหล็กที่ไม่สวยงาม ทำให้โชกุนต้องคิดค้นหาวิธีที่ดีกว่าในการซ่อมแซมสิ่งที่พังไป ช่างฝีมือของเขาจึงมองหาวิธีอันงดงามในการประกบเครื่องปั้นดินเผาอีกครั้งด้วยการใช้ครั่งผสมทอง เทคนิคนี้เป็นการเชื่อมรอยต่ออันงดงามที่ถูกพูดถึงกันมากในประวัติศาสตร์ จึงเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว นักสะสมจำนวนมากรู้สึกชื่นชอบเทคนิคนี้มากถึงขั้นตั้งใจทุบเครื่องปั้นดินเผาอันมีค่า เพื่อที่จะได้ซ่อมแซมมันโดยใช้เทคนิคคินสึงิซึ่งแน่นอนว่าเครื่องปั้นเซรามิคมีความวิจิตรงดงามมากยิ่งขึ้นหลังจากการซ่อมแซมทุกครั้ง การซ่อมแซมภาชนะที่แตกบิ่นเสียหายด้วยวิธีคินสึงิแบบนี้ อีกนัยนะหนึ่งเกิดจากการที่ชาวญี่ปุ่นเชื่อกันว่า ถ้วยชามที่แตกบิ่นนั้นไม่ควรทิ้งขว้าง แต่ควรซ่อมมันด้วยรักทองเพื่อให้พวกมันกลับคืนมามีชีวิตอีกครั้ง เหมือนกับชีวิตของเราทุกคนนั้นล้วนหลีกหนีความเจ็บปวดทางใจไม่พ้น เช่น การสูญเสียผู้เป็นที่รักหรือสิ่งที่เป็นที่รัก เผชิญกับอาการเจ็บป่วยร้ายแรงหรืออุบัติเหตุที่ส่งผลต่อชีวิต แม้แต่ความเจ็บปวดที่ต่อเนื่องมาจากอดีต บาดแผลทางใจเหล่านี้ควรได้รับการเยียวยาและสมานให้กลับมาดีดังเดิม ดังนั้นปรัชญาคินสึงิจึงถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อซ่อมแซมบาดแผลทางใจที่หนักหนาและค้างคา เพื่อที่เราจะได้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากขึ้น เข้มแข็งมากขึ้น และเข้าใจผู้ที่ยังเจ็บปวดคนอื่นๆ มากขึ้นนั่นเอง ปรัชญาของคนญี่ปุ่นที่แฝงถึงแนวคิดที่ว่า ไม่มีชีวิตใดที่สมบูรณ์แบบอย่างหลักคินสึงิ คือ การทำให้ตัวเองเข้าใจถึงความแตกหัก เปราะบางภายในจิตใจของตัวเอง เป็นการสร้างความแข็งแกร่งจากภายในสู่ภายนอก ทำให้มีสภาวะจิตใจที่ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ เพราะการซ่อมแซมถ้วยที่แตกร้าวอย่างใส่ใจและเต็มไปด้วยความรักจะทำให้เราเข้าใจว่าเราควรยอมรับ,…