ผงมัทฉะ กับ 3 ท้อปปิ้งขนมญี่ปุ่นยอดนิยม

“โยคัง วาราบิโมจิ ดังโงะโมจิ” ขนมญี่ปุ่น 3 ชนิดนี้ เห็นได้ทั่วไปในร้านขนมญี่ปุ่น บางร้านก็เสิร์ฟแบบเดี่ยวๆ บางร้านก็เสิร์ฟคู่ชาเขียวร้อนๆ ตามร้านคาเฟ่ จะถูกนำมาเป็นท้อปปิ้งบนพาร์เฟต์ ไอศครีม หรือน้ำแข็งใส เพื่อให้ขนมจานนั้นได้กลิ่นอายและสัมผัสรสชาติความเป็นญี่ปุ่น

ในปัจจุบันได้มีการดัดแปลงปรับสูตรให้รสชาติของขนมทั้ง 3 ชนิดนี้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น และมีวิธีจัดเสิร์ฟแบบทันสมัยแต่ได้กลิ่นอายความเป็นวากาชิ หรือขนมญี่ปุ่น หลากหลายไอเดียและวิธีทำขนมแบบง่ายๆให้คนรักมัทฉะเอาไปปรับสูตรทำเองที่ร้านได้

Matcha YokanMatcha Yokan

เริ่มจาก “โยคัง”(羊羹) โยคังเป็นวุ้นถั่วแดงกวน ปกติจะมีรูปทรงเป็นแท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้า สีน้ำตาลแดงจากถั่วรสชาติหวานจัด ส่วนใหญ่จะทานคู่กับชาเขียวร้อนในพิธีชงชารสชาติจะตัดกัน เดิมทีมีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน เป็นขนมที่ทำด้วยเจลาตินจากเนื้อแกะ ในยุคคามาคุระมีนักบวชศาสนาพุทธนิกายเซน เป็นผู้นำขนมโยคังเข้ามาเผยแพร่ในญี่ปุ่น แต่เนื่องจากศาสนาพุทธห้ามการฆ่าสัตว์ จึงมีการเปลี่ยนจากเจลาตินจากสัตว์ มาเป็นแป้ง ถั่วแดง และวุ้น และมีการใช้วุ้นเข้ามาผสมในภายหลัง จนกลายมาเป็นโยคังในปัจจุบัน

โยคังเป็นวุ้นญี่ปุ่นซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน มีลักษณะเป็นก้อนสี่เหลี่ยมสีน้ำตาลแดงโดยทำจากถั่วแดงกวน (Anko) ถ้าเป็นโยคังสีเขียวก็ทำจากชาเขียว ที่มีวิธีทำแสนง่าย

  1. นำถั่วแดงบดเนื้อเนียน 225 กรัมและน้ำตาลทรายขาว 70 กรัมผสมลงในหม้อ นำไปต้มด้วยไฟกลาง คอยคนตลอดด้วยไม้พายเพื่อไม่ให้ไหม้
  2. ต้มไปซักพัก แล้วลองลากไม้พายลงไปตรงกลางแล้วยังเหลือเป็นรอยลาก คือถั่วแดงไม่ไหลกลับมากลบรอยก็ถือว่าโอเค จากนั้นตักออกมาแผ่บนถาดเพื่อให้เย็นลง
  3. ในหม้อต้มอีกใบผสมน้ำ 180 มล. + ผงชาเขียว 5 กรัม กับผงวุ้นหรือผงคันเทน 2 กรัม  ต้มจนเดือดแล้วจึงลดเป็นไฟเบา ต้มต่ออีก 2 นาทีแล้วจึงปิดไฟ
  4. ผสมน้ำตาลทรายแดง  20 กรัม และ (2) ลงไปใน (3) ผสมจนเข้ากัน นำไปต้มจนเดือดแล้วจึงลดเป็นไฟเบา ต้มต่ออีก 2 นาที
  5. เทใส่พิมพ์แล้วนำไปแช่เย็น 30 นาที เอาออกมาหั่นเสิร์ฟเป็นชิ้นๆ อาจเสิร์ฟคู่กับถั่วแดงเชื่อมด้านบน

คุณสมบัติอีกอย่างที่คาดไม่ถึงของขนมโยคัง คือ เก็บไว้ได้นาน อย่างเช่นมากถึง 5 ปี 6 เดือน เพื่อสามารถเก็บเป็นอาหารยามฉุกเฉินเวลามีเหตุภัยพิบัติธรรมชาติ นอกจากนี้ร่างกายยังดูดซึมสารอาหารได้ง่าย และเก็บไว้ในอุณหภูมิปกติได้แม้ไม่ได้นำเข้าตู้เย็น

Warabi MochiWarabi Mochi

ส่วน” วาราบิโมจิชาเขียว “เป็นขนมญี่ปุ่นที่ทำด้วยแป้งจากต้นวาราบิ เนื้อแป้งหนึบ ๆ คล้ายกับแป้งโมจิ นิยมนำไปคลุกกับ คินาโกะ (Kinako) ซึ่งเป็นผงถั่วเหลืองได้กลิ่นหอม ๆ แบบถั่วคั่ว หรือทานคู่ซอสน้ำตาลทรายแดง เรียกว่า คุโรมิสึ (Kuromitsu) หรือโรยผงชาเขียว ก็เป็นขนมที่ได้รับความนิยมมากๆ ในช่วงหน้าร้อน ตามร้านคาเฟ่จะมีวาราบิโมจิเป็นท้อปปิ้งบนพาร์เฟต์ ไอศครีม วิธีทำก็ไม่ยาก เริ่มจาก

  1. ผสมแป้งวาราบิโมจิเขียว100 กรัม นํ้าตาล 50 กรัม ผงมัทฉะ  1 ช้อนชา นํ้าเปล่า 500 มล. ในอ่างผสม
  2. เอาหม้อใส่นํ้าต้มให้เดือด วางอ่างผสมลงไปด้านบน กวนไปเรื่อยๆ พอแป้งเริ่มสุก ก็ยกลงกวนต่อจนแป้งสุกและใสทั่ว เป็นเนื้อเดียวกัน โรยผงถั่วบนถาดหรือภาชนะที่จะใช้ใส่วาราบิโมจิ เสร็จแล้ววางในอ่างที่ใส่นํ้าแข็ง ทิ้งไว้ให้เย็นและเซ็ตตัว ประมาณ 20 นาที
  3. เทออกมาหั่น สังเกตจากแป้ง แป้งจะนุ่ม ใส และไม่คงรูป หั่นแล้วไม่เป็นชิ้นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าเป็นเพราะแป้งนุ่มมากๆ ทำเสร็จแล้วรีบทานให้หมด
  4. หากใครอยากทานกับน้ำตาลคุโรมิทสึ ให้เอาน้ำตาลดำ หรือน้ำตาลทรายแดงบ้านเรา 50 กรัม ต้มละลายกับน้ำ 200 มล.  ปริมาณน้ำขึ้นอยู่กับความหวานที่ต้องการ เพียงเท่านี้ก็เหมือนได้ไปคาเฟ่ที่ญี่ปุ่นเลย

Warabi Mochi

ขนมตัวสุดท้าย “ดังโงะโมจิชาเขียว” ขนมที่ทำจากแป้งโมจิ ปั้นเป็นก้อนกลมๆ รสชาติเค็มๆ แต่ก็มีบางสูตรอาจเติมเนื้อเต้าหู้เข้าไปผสมด้วย แล้วนำไปนึ่ง หรือ ต้มในน้ำเดือดจนสุกก่อน ย่างบนเตาถ่าน ก่อนจะราดด้วยสารพัด หน้าต่างๆ เช่น โชยุ มิโสะ ถั่วแดงกวน มันเทศหวาน งาดำบด หรือ ซอสชาเขียว ด้วยรสสัมผัสนุ่ม หนุบหนับ ทำให้เป็นที่ชื่นชอบของคนส่วนใหญ่ แม้วิธีการเสิร์ฟจะเปลี่ยนไปแค่ไหน แต่ขนมดังโงะก็ยังถือได้ว่าเป็นขนมที่ได้รับความนิยมมาโดยตลอด เพราะเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงขนบธรรมเนียมและประเพณีอันเก่าแก่ในอดีตของญี่ปุ่นมานับร้อยๆปี มาลงมือทำดังโงะตามสไตล์คนรักชาเขียวกันดีกว่า โดยสามารถผสมผงชาเขียวลงไปในแป้งเลยก้ได้เพื่อให้ได้แป้งสีเขียว หรือที่เห็นกันทั่วไปจะทำเป็นลูกสีขาวธรรมดา แต่ตกแต่งด้วยท้อปปิ้ง หรือซอสแบบต่างๆ

DangoDango

  1. เริ่มจากผสมแป้งข้าวเหนียว 100 g. แป้งข้าวจ้าว 100 g. และน้ำตาล 2 ช้อนชา เข้าด้วยกัน
  2. เติมน้ำ ⅔ ส่วน ในส่วนผสม ค่อยๆนวดจน เป็นเนื้อเนียน แล้วปั้นแป้งเป็นก้อนๆ เล็กใหญ่ตามต้องการ
  3. ค่อยๆย่อนลงต้มในน้ำเดือด ประมาณ 1 นาที หรือจนตัวดังโงะลอยขึ้น จากนั้นตักขึ้นแล้วนำมาน็อคด้วยน้ำเย็นจัด
  4. ปล่อยให้สะเด็ดน้ำแล้วนำมาเสียบไม้ แล้วนำไปย่าง ประมาณ 4 นาทีแล้วเอาขึ้น
  5. ส่วนน้ำซอสหรือท้อปปิ้งที่ใช้ราดดังโงะ สามารถดัดแปลงได้ตั้งแต่ใช้ถั่วขาวผสมผงชาเขียว หรือราดด้วยซอสมิทาราชิ ที่ทำจากน้ำตาล 5 ช้อนโต๊ะ + ซอสถั่วเหลือง 1 ช้อนโต๊ะ + มิริน 1 ช้อนโต๊ะ + น้ำเปล่า 5 ช้อนโต๊ะ + แป้งข้าวโพด 1 ช้อนโต๊ะ เคี่ยวจนเข้ากัน หรือจะทานคู่กับไอศรีมชาเขียวก็เป็นมื้ออร่อยของเด็กๆอย่างแน่นอน

Matcha DangoMatcha DangoMatcha Dango

ที่มา

teanobi.com

8days.sg

http://kyotofoodie.com/kyoto-cafe-jouvencelle-gion/

recetasgratis.net

https://www.flickr.com/photos/bananagranola/2529983071

บทความจากFuwafuwa

ทำความรู้จักกระบวนการผลิตชา (Tea Processing)

กระบวนการผลิตชาถือได้ว่าเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง เพราะการควบคุมการผลิตอย่างใกล้ชิด และด้วยความประณีตทุกขั้นตอนการผลิตจะทำให้ได้ชาหลากหลายชนิดและรสชาติที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ใบชาแห้ง หรือที่เรียกว่า Withering ผ่านการ Rolling และการหมักหรือการทำปฏิกิริยาออกไซด์ ทุกขั้นตอนล้วนมีความสำคัญต่อรสชาติของชา ซึ่งการผลิตที่จะได้ใบชาที่ดี ต้องผ่านปลูกในคุณภาพดีเช่นกัน เพราะส่วนสำคัญมาจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติทั้งภูมิประเทศและภูมิอากาศ และยังมีอีกหลายเรื่องที่เป็นข้อควรรู้ของการปลูกชาเขียว ( อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3eRNXRU ) ที่ญี่ปุ่นเองก็มีไม่กี่ที่ ที่สามารถปลูกชาเขียวได้ผลผลิตดี ที่รู้จักกันดีจะเป็นบริเวณ เมืองอูจิ เกียวโตที่เกษตรกรมีประสบการณ์ทั้งเทคนิค การปลูกและการเก็บเกี่ยวTea Processing

ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวใบชาจะเริ่มในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม เมื่อใบอ่อนได้รับการคัดเลือกอย่างพิถีพิถันจากต้นชาโดยยอดอ่อนที่ดีที่สุดนั้น เรียกว่า “ichibancha (一番茶)” โดยผู้เชี่ยวชาญจะคัดเลือกเฉพาะส่วนที่เป็นใบอ่อนที่สุดและเขียวที่สุดของเพื่อเป็น namacha (生茶) หรือ “ชาสด” นั่นเอง ก่อนนำใบชาเข้าสู่ขั้นตอนหลักๆในการผลิต ดังนี้

  1. การทำให้ใบแห้ง (Withering) กระบวนการนี้ทำโดยนำใบชาสดมาสลัดความชุ่มชื้นที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 8-24 ชั่วโมง (แล้วแต่ชนิดของชาที่ต้องการกระผลิต) โดยตากใบที่เพิ่งเก็บให้แห้งเพื่อลดส่วนประกอบน้ำในใบชา 50-60% ลักษณะใบชาที่ได้ ใบอ่อนนิ่ม และดัดงอง่าย เพื่อจะนำไปผ่านกระบวนการขั้นต่อไปTea Processing
  2. การหมุนกลิ้ง (Rolling) โดยการรีดใบให้แห้งโดยทำให้บิดงอและยุ่ย ในการหมุนกลิ้งจะมีใบที่แตกหักบ้างถือเป็นเรื่องปกติ หากไม่มีเครื่องบางที่อาจใช้การเขย่าหรือใช้มือก็ได้ โดยในระหว่างกระบวนการหมุนกลิ้งจะมีน้ำมันออกจากใบชา ทำให้ชามีกลิ่นหอมพิเศษเฉพาะ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางเคมีจะเกิดช่วงเวลาสั้นๆผ่านการหมุนกลิ้งจะ จะทำให้ได้ใบชาที่รสดีและกลิ่นหอม  หลังจากนั้นจะถูกส่งเข้าเครื่องร่อน เพื่อแยกประเภทชา ใบที่เล็กจะไปสู่ขั้นตอนต่อไป ในขณะใบที่ใหญ่และแข็งกว่าจะถูกตีกลับไปหมุนกลิ้งครั้งที่ 2Tea Processing
  3. การหมักหรือการทำปฏิกิริยาออกไซด์ (Oxidation/Fermentation) เป็นกระบวนการทางเคมีที่ออกซิเจนถูกดูดซึมเพื่อปลดปล่อยเอนไซม์ที่ทำปฏิกิริยากับอากาศ โดยจะเริ่มต้นเมื่อเยื่อบุผิวใบแตกหักระหว่างการทำปฏิกิริยาออกไซด์ส่งผลให้ใบเปลี่ยนเป็นสีทองสว่าง ขั้นนี้เองเป็นปัจจัยสำคัญที่ตัดสินว่าชาจะเป็นชนิดใด ระหว่างชาเขียว ชาดำ หรือชาอู่หลง เป็นระยะหัวเลี้ยวหัวต่อที่ส่งผลต่อกลิ่นหอม สี หากขั้นตอนนี้หยุดเร็วเกินไปชาก็จะมีสีเขียว และอาจมีรสชาติคล้ายโลหะ ถ้าหมักนานเกินไปมันจะค่อยๆ หวานและสูญเสียทั้งคุณภาพและกลิ่นหอมไปนั้นเอง
  4. การทำให้แห้งหรือการก่อไฟ  ขั้นตอนนี้จะทำให้ใบแห้งเสมอกันทั่วทั้งใบ โดยใช้ความร้อนประมาณ 120-200 องศาฟาเรนไฮต์ต่อเนื่อง เพื่อหยุดกระบวนการหมักของปฏิกิริยาออกไซด์ ซึ่งการหยุกกระบวนการหมักของปฏิกิริยาออกไซด์สามารถกระทำได้ 2 วิธี คือ การอบไอน้ำโดยใช้ความร้อน หรือโดยการคั่ว จะทำการวางใบชาไว้ในอ่างเหล็กขนาดใหญ่ประมาณ 20-30 วินาที และให้ความร้อนถึง 100 องศาเซลเซียส เป็นการหยุดการทำลายเอนไซม์ที่เป็นสาเหตุของการหมัก ใบชาจึงยังคงเขียว ส่วนการทำให้แห้งโดยการคั่วจะส่งผลให้ใบชาเปลี่ยนเป็นสีดำและแห้ง คงเหลือความชุ่มชื้นเพียง 2-3% อย่างไรก็ตาม ความร้อนมากเกินไปอาจทำให้ชาสูญเสียรสชาติ สี และกลิ่นหอมได้
  5. การแบ่งระดับ เป็นขั้นตอนที่มีการแบ่งระดับใบโดยใช้เครื่องร่อนแยกหรือตะแกรงร่อนที่มีปากกระบอกขนาดต่างกัน
    Tea Processingซึ่งขั้นตอนทั้งหมดข้างต้น ไม่ได้หมายถึงชาทุกชนิดต้องผ่านขั้นตอนนี้ แต่เป็นเพียงภาพรวมของกระบวนการแปรรูปใบชาเท่านั้น การผลิตชาแต่ละชนิดจะมีจุดต่างกันอยู่เพียงเล็กน้อย ก็ได้รสชาติที่ต่างกัน เช่น การผลิตชาขาวมีขั้นตอนที่สั้นที่สุด เนื่องจากไม่ต้องผ่านกระบวนการหมุนกลิ้งและกระบวนการหมักหรือการทำปฏิกิริยาออกไซด์ ยอดใบชาที่ยังอ่อนๆ จะถูกเก็บและนำมาตากไว้ให้แห้ง ก่อนจะนำมาเข้าสู่ขั้นตอนการทำแห้งโดยใช้ความร้อนอบไอน้ำทันที เนื่องจากชาขาวไม่มีกระบวนการหมัก ทำให้สีของใบชายังออกเป็นสีเขียวขาวอยู่หากพูดถึงการผลิตชาดำ เป็นชาที่ผ่านขั้นตอนการแปรรูปมากที่สุด ใบชาที่เก็บจะผ่านกระบวนการหมักเต็มที่ ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอนพื้นฐานข้างต้น โดยช่วงที่นำไปทำให้แห้ง จะทำให้ใบแห้งถึง 80% นั่นเองถึงจะได้เป็นชาดำ แต่ถ้าทำให้แห้งมากเกินไปอาจจะไม่มีกลิ่นหอม ซึ่งวิธีทำชาอู่หลงจะคล้ายกับชาดำ แต่ความแตกต่างอยู่ที่ใบถูกตากแดดโดยตรง โดยใช้เวลา 6 ชั่วโมง จากนั้นจึงเขย่าใบในตะกร้าไม้ไผ่เพื่อทำให้ขอบใบมีตำหนิ ในขณะที่ส่วนกลางยังคงสีเขียว เวลาที่ใช้ในการหมักจะประมาณครึ่งหนึ่งของชาดำ การทำปฏิกิริยาออกไซด์ถูกหยุดโดยการก่อไฟ สำหรับชาอูหลง ใบผ่านความร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่า เนื่องจากมีส่วนผสมน้ำต่ำกว่านั่นเองTea Processing

ส่วนชาเขียวเริ่มต้นจากการทำให้ใบชาแห้งเหี่ยวเป็นอันดับแรก หลังจากนั้นวางบนกระทะก่อไฟหรือนำใบชามาอบไอน้ำ เพื่อป้องกันปฏิกิริยาออกไซด์ สุดท้ายคือ การหมุนกลิ้งใบและทำให้แห้งอย่างรวดเร็วครั้งสุดท้าย ด้วยวิธีการดังกล่าว จึงทำให้ใบชายังคงมีสีเขียว จากกระบวนการผลิตที่ง่ายและน้อยขั้นตอน ทำให้ชาเขียวยังคงมีสารในพืชที่มีประโยชน์หลงเหลืออยู่มากกว่าชาชนิดอื่นๆนั่นเอง ทั้งนี้ชาเขียวเองยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ชาเขียวอบไอน้ำและชาเขียวคั่ว

1.1 ชาเขียวอบไอน้ำ เป็นการหยุดกระบวนการทางเคมีในใบชาด้วยการอบไอน้ำในช่วงเวลาสั้นๆ คือ เมื่อเก็บยอดชาต้องนำมานึ่งด้วยไอที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 0.7 นาที เพื่อหยุดกิจกรรมของเอนไซม์ พอลิฟีนอล ออกซิเดส เสร็จแล้วนำไปนวดอบไอร้อนเพื่อลดปริมาณความชื้นในใบลง ต่อจากนั้นนำมานวดในห้องอุณหภูมิปกติเพื่อทำให้เซลล์แตก และนวดด้วยความร้อนอีก เพื่อทำให้ใบชาม้วนตัวสวยงาม แล้วนำไปอบแห้งให้ความชื้นในใบชาลดเหลือ 4 % ชาเขียวอบไอน้ำส่วนใหญ่ มีการแปรรูปในประเทศญี่ปุ่น สีของน้ำชาประเภทนี้จะมีสีเขียวถึงเขียวอมเหลือง เนื่องจากยังมีคลอโรฟิลล์อยู่

1.2 ชาเขียวคั่ว เป็นชาที่หยุดกระบวนการทางเคมีในยอดชาด้วยการคั่วด้วยกระทะร้อนที่อุณหภูมิสูงประมาณ 300-350 องศาเซลเซียส แล้วนำไปนวดให้เซลล์แตกจนม้วนตัว และอบแห้ง ชาเขียวคั่วสามารถแยกได้เป็น 2 แบบ คือ ชาเขียวคั่วหมักอ่อน และชาเขียวที่ไม่มีการหมัก สีน้ำชามีสีเขียวอ่อนอมเหลือง

จากกระบวนการผลิตชาหลากหลายขั้นตอนข้างต้นสามารถสรุปให้เข้าใจได้ง่ายๆตามแผนภาพนี้

Tea Processing chart

เชื่อว่า คนรักชา ถ้าได้อ่านบทความนี้แล้ว หลายๆคนเริ่มจะสนใจอยากเข้าไปทั่วชมไร่ชาที่ญี่ปุ่นกันอย่างแน่นอน ^^

ที่มา

http://www.refresherthai.com/article/teaMade.php

http://www.ocha.tv/how_tea_is_made/process/schedule_ryokucha/

บทความจาก : Fuwafuwa

ความแตกต่างของ KOICHA และ USUCHA

Making Matcha Usucha and KoichaMaking Matcha Usucha and Koicha

เคยสงสัยมั้ยว่าทำไมชาเขียวบางร้านรสเข้มข้น บางร้านรสจางมาก ทั้งๆที่ใช้ผงมัทฉะตัวเดียวกัน นั้นเป็นเพราะการชงชาเขียวแท้จริงแล้วตามแบบวัฒนธรรมญี่ปุ่นมี 2 แบบ เรียกว่า Usucha และ Koicha เป็นวิธีดั้งเดิมในการเตรียมมัทฉะ ที่มีที่มาที่ไปจากพิธีชะโด พิธีชงชาญี่ปุ่นนั่นเอง

หากแปลจากภาษาญี่ปุ่นง่ายๆตรงตัวเลย Usucha หมายถึง “ชาบาง ๆ ” ในขณะที่ Koicha หมายถึง “ชาเข้มๆ” ซึ่งอ่านแล้วก็อาจจจะยังไม่เข้าใจเท่าไหร่ แต่ความหมายจะตรงตัวเลย กล่าวคือ มัทฉะแบบ Usucha ( อุสุฉะ ) จะมีชั้นฟองที่เข้มข้นที่พื้นผิวซึ่งสามารถทำได้อย่างง่ายดายจากการตีชาด้วยแปรงฉะเซน รสชาติจะนุ่มนวล ตอนดื่มเข้าไปช่วงแรกจะหวานอมขม พอกลืนเข้าไปถึงได้รสชาติอูมามิ เป็นการชงในถ้วยเล็กๆ เพื่อดื่มคนเดียว ชาจึงมีรสอ่อนๆ ขมนิดหน่อย ในพิธีกรรมชงชาสมัยก่อน ชาชนิดนี้จะรับประทานคู่กับขนมญี่ปุ่นแบบ Higashi แต่ปัจจุบันรับประทานคู่กับ นามะกาชิ เช่น พวกโมจิ ดังโงะ เนริคิริ และโยคัง เป็นต้น

Making Matcha Usucha and KoichaMaking Matcha Usucha and Koicha

ในทางกลับกันมัทฉะแบบ Koicha ( โคอิฉะ ) จะมีความเข้มข้นกว่ามาก มีรสชาติอูมามิที่อาจจะหนักเกินไปสำหรับผู้เริ่มต้นดื่มมัทฉะ เพราะโคอิชะต้องใช้ผงมัทฉะในปริมาณประมาณสองเท่าจากปกติและปริมาณน้ำครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับอุสุฉะ เพราะในพิธีชงชานั้นโคอิฉะ ต้องชงในภาชนะใหญ่ ดื่มกันได้หลายคน จึงต้องชงให้มีรสชาติเข้มข้นขึ้น

จะเห็นได้ว่าการชงมัทฉะแบบดั้งเดิมใน 2 รูปแบบนี้ นิยมใช้มัทฉะเกรดคุณภาพสูงในพิธีการ กล่าวคือ ใช้ผงชาที่ใบชาได้รับการคลุมใบ ให้โดนแดดน้อยที่สุดในช่วงเวลาประมาณ 20 วันแรก ช่วงเวลานี้คำนวณจากช่วงที่ดอกตูมแรกเริ่มแตกหน่อ การคลุมเพื่อบังแดดนี้ช่วยป้องกันความหวานในใบไม้และจำกัดความขมที่สามารถผลิตได้ ใบชาจะถูกเก็บเกี่ยวโดยช่างเลือกมือที่มีความชำนาญ เพื่อรักษาคุณภาพของใบชาให้ถึงขั้นสุดท้าย เพราะเมื่อเก็บใบชามาแล้ว จะต้องนำไปนึ่ง เพื่อขัดขวางการเกิดออกซิเดชันของใบชา และรักษาสีเขียวและความสด
จากนั้นนำไปอบแห้งและคัดแยกเพื่อเตรียมสำหรับบดด้วยครกหินแกรนิตขนาดใหญ่  เป็นผงชาละเอียดที่เรียกว่า matcha [抹茶] ไม่ว่าจะหมุนปูนด้วยตนเองหรือด้วยกลไกอัตโนมัติปริมาณผงชาที่สามารถรวบรวมได้ในหนึ่งชั่วโมงเพียงสี่สิบกรัมเท่านั้น ซึ่งใบชาคุณภาพดีที่สุดนั้น ทำมาจากใบอ่อนยอดบนสุด การผลิตจึงต้องใช้แรงงานมาก ทำให้ราคาค่อนข้างสูงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นั่นเอง

ชาเขียว จึงเป็นเครื่องดื่มที่อยู่คู่กับคนญี่ปุ่นมาช้านาน ผ่านพิธีอันเป็นเอกลักษณ์ของงานสำคัญต่างๆ เช่น ต้อนรับแขกคนสำคัญ งานวันเกิด หรือการเปลี่ยนฤดูกาล เพื่อให้ได้สัมผัสอรรถรสการดื่มชาอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามการทำอุสุฉะและโคอิฉะด้วยตัวเอง ไม่ได้ทำให้กิจกรรมนั้นๆ กลายเป็นพิธีชงชามัทฉะที่สมบูรณ์ตามแบบญี่ปุ่นแต่อย่างใด เพราะในพิธีจริงๆมีขั้นตอนอื่นๆอีกหลายขั้นที่ซับซ้อนพอสมควร
ดังนั้นร้านคาเฟ่สมัยนี้บางร้านจะมีการเอาชื่อการชงชา 2 ประเภทนี้มาตั้งเป็นชื่อเมนู เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจถึงรสชาติและความเข้มข้นของชาเพียงเท่านั้น ไม่ได้มีพิธีชงชาตามแบบฉบับญี่ปุ่นในตอนเสิร์ฟแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตามแม้ชาอุสุฉะจะเป็นชารสชาติบางๆไม่เข้มข้นมาก ก็อาจจะยังเข้มไปสำหรับผู้ที่ไม่เคยลองมัทฉะ หากไม่ใช่คนดื่มชาเป็นประจำ มือใหม่หัดดื่มมัทฉะ จะแนะนำให้เริ่มดื่มจากมัทฉะลาเต้ก่อน หรือถ้าเป็นมัทฉะเพียวก็ควรชงที่จางกว่าแบบต้นฉบับของอุสุฉะจะดีที่สุด

Making Matcha Usucha and KoichaMaking Matcha Usucha and Koicha

How to prepare Usucha and Koicha

หากต้องการชงแบบ Usuchaให้ใช้ ผงมัทฉะ 1 ช้อนชา ผสมน้ำร้อน 60 ml แล้วใช้ฉะเซ็นตีเป็นรูปตัว M อย่างรวดเร็วจนละลาย ทำอย่างนี้จนกว่ามัทฉะจะมีฟองโฟมหนาและมีฟองอากาศเล็ก ๆ จำนวนมาก จบด้วยการตีเป็นวงกลมแล้วยกฉะเซนออกจากตรงกลางชาม

การแบบเข้มข้น Koichaให้ใช้ผงมัทฉะ 2 ช้อน กับน้ำร้อน 30 ml แล้วใช้ฉะเซ็นคนเป็นวงกลมอย่างช้า ๆ จนละลาย หลีกเลี่ยงการทำให้เกิดฟอง เพื่อให้ได้มัทฉะเข้มข้นที่มีความสม่ำเสมอของรสชาติ ส่วนน้ำที่ใช้ในการชงชาทั้ง 2 แบบนั้น ควรเป็นน้ำร้อนอุณหภูมิ 85 องศา ก็เพียงพอแล้ว ข้อนี้เป็นอีกข้อพึงระวังเพื่อรักษารสชาติชาให้ดีที่สุด เพราะชาแต่ละแบบก็เหมาะกับน้ำที่แตกต่างกันออกไป ( อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3tWmvZj  ) นอกจากข้อระวังเรื่องอุณหภูมิแล้ว น้ำที่ใช้ชงมัทฉะก็ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำแร่ เพียงแค่ใช้น้ำที่มีค่า pHเป็น กลาง ก็พอแล้ว ( อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3dRldcB)

Making Matcha Usucha and Koicha

ที่มา

https://naokimatcha.com/recipes/usucha-and-koicha-2/

บทความจากFuwafuwa

Sakura & Matcha : A Perfect Match for Spring

ช่วงนี้ของทุกปี หลายคนคงนึกถึงดอกซากุระสีชมพูบานสะพรั่ง นั่งทานขนมญี่ปุ่นไปเพลินๆ พร้อมจิบชาอุ่นๆ ทั่วญี่ปุ่นก็จะมีขนมที่มีส่วนผสมของซากุระออกใหม่แทบจะทุกร้าน

โดยเฉพาะการจับคู่กับเมนูชาเขียวยิ่งช่วยดึงรสชาติและความกลมกล่อมของซากุระออกมาได้อย่างลงตัว เช่น ซอฟต์ครีมชาเขียวซากุระ ชาเขียวลาเต้ซากุระ หรือจะเป็นโดนัทที่นำซากุระมาเป็นส่วนผสมในเกลซที่เคลือบโดนัท ก็เป็นการปรับสูตรจากเดิมที่ไม่ยากและสามารถทำได้กับทุกเทศกาล อย่างไรก็ตามความสนุกในการดื่มด่ำบรรยากาศเช่นนั้นของปีนี้คงเป็นไปได้ยาก ด้วยสถานการณ์โควิด 19 ที่กำลังระบาด Matchazuki เลยเอาใจคนคิดถึงญี่ปุ่นด้วยสูตรขนมที่ทำไม่ยาก และได้กลิ่นอายซากุระ

Sakura & MatchaSakura & Matcha

เริ่มด้วย “แพนเค้กชาเขียวโมจิไส้ถั่วขาวซากุระถั่วแดง”

Sakura & Matcha

 

เพียงนำน้ำ 150 cc. เทลงไปในแป้งโมจิ หรือแป้งข้าวเหนียว 30 กรัม แล้วคนให้เป็นเนื้อเดียวกัน หลังจากนั้น ร่อนแป้งเค้ก 30 กรัม และเติมผงมัทฉะ 2 กรัม กับน้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะลงไป คนให้เข้ากัน พักไว้ในตู้เย็นประมาณ 30 นาที

หลังจากนั้นทาน้ำมันบางๆ บนกระทะที่อุ่น ตักแป้งที่เตรียมไว้เกลี่ยให้เป็นวงรี ทอดด้วยไฟอ่อน จนสุกทั้ง 2 ด้านเป็นอันเรียบร้อย สอดไส้ด้วยถั่วขาวกวนมาผสมกับผงซากุระ 2 กรัม หรือปรับระดับรสชาติตามชอบ หากใครทำไส้รสชาติซากุระอ่อน แนะนำให้เอาใบซากุระดองเกลือมาห่อและแต่งด้วยดอกซากุระดองเกลืออีกชั้นเป็นอันเรียบร้อย

เมนูถัดมาที่แนะนำเลยคือ “ฮานามิดังโงะ” ดังโงะ 3 สี สีเขียว ขาว ชมพู ดังโงะชนิดนี้นิยมทานช่วงซากุระในระหว่างดูดอกไม้ ซึ่งมีหลายความเชื่อว่าดังโงะ 3 สี แทนการผลิบานของดอกซากุระ โดยสีเขียวแทนใบซากุระ สีขาวแทนดอกซากุระที่กำลังตูม และสีชมพูแทนดอกซากุระที่กำลังบานสะพรั่งนั้นเอง

มาเข้าครัวเริ่มทำกันเลย…..

เริ่มจากแบ่งชามนวดออกเป็น 3 ชาม

  • ชามที่ 1: นำแป้งโมจิ 40 กรัม, เต้าหู้ 40 กรัม, น้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ ผงซากุระ 2 กรัม มานวดให้เข้ากันจนนิ่ม
  • ต่อมาในชามที่ 2: นำแป้งโมจิ 40 กรัม, เต้าหู้ 40 กรัม, น้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ. ผงมัทฉะ 2 กรัม  มานวดให้เข้ากันจนนิ่ม หรือบางร้านจะใช้เป็นแป้งโมจิผสมโยโมกิเลยก้ได้ (โยโมกิ คือหญ้าญี่ปุ่นชนิดหนึ่ง มีกลิ่นและรสชาติคล้ายผัก นิยมเอามาทำขนมวากาชิ)
  • ส่วนสุดท้ายชามที่ 3: นำแป้งโมจิ 40 กรัม, เต้าหู้ 40 กรัม, น้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ มานวดให้เข้ากันจนนิ่มหลังจากนั้น ต้มน้ำให้เดือด แล้วใส่แป้งดังโงะลงไปต้มให้ดังโงะลอยขึ้นมา(ประมาณ 2-3 นาที) ใช้ตระกร้อช้อนขึ้นมาจากน้ำเดือด แล้วล้างด้วยน้ำเพื่อให้ดังโงะหายร้อน แล้วพักไว้ นำไม้เสียบมาเสียบดังโงะ. 3 ชิ้นต่อไม้ เป็นอันเรียบร้อยพร้อมทาน

Matcha DangoDango

ซึ่งตัวฮานามิดังโงะนั้นที่ญี่ปุ่นนิยมเอาไปเป็นท้อปปิ้งกับพาร์เฟต์ชาเขียว หรือซอฟท์ครีมชาเขียว เป็นการจับคู่ที่กลมกล่อมลงตัว

Sakura & MatchaSakura & Matcha

ต่อด้วย “เครปเค้กชาเขียวซากุระถั่วแดง” ที่เกิดจากเค้กชิฟฟ่อนชาเขียว สลับชั้นกับครีมสด ถั่วแดงและเครปซากุระ ซึ่งวิธีทำเครปซากุระก็ไม่ต่างกับการทำเครปเค้กปกติเลย โดยตีไข่ 4 ฟอง ให้เข้ากัน และใส่น้ำตาลทราย ⅓ ถ้วยลงไปคนพอละลาย ร่อนแป้งสาลี 2½  ถ้วย พร้อมผงซากุระลงไป 2 ช้อนโต๊ะ หลังจากนั้นค่อยๆ เทนม 400 ml. ลงในแป้ง แบ่งใส่ 3-4 รอบ คนให้เข้ากันจนไม่เหลือเม็ดแป้ง

ใส่เนยละลาย ¼ ถ้วย ลงไป คนให้เข้ากัน กรองส่วนผสมทั้งหมด แล้วพักแป้งในตู้เย็นอย่างน้อย 4 ชั่วโมง พอครบเวลาให้คนแป้งก่อนจะนำมาทอด โดยทาเนยที่กระทะเทฟล่อน ใช้ไฟอ่อน หยอดส่วนผสมแป้งเกลี่ยให้เป็นวงกลม วิธีสังเกตว่าแป้งสุก คือ จะมีฟองอากาศใหญ่ ๆ ดันแผ่นแป้ง ทอดจนแป้งหมด หลังจากพักแป้งโดยการนำไปแช่เย็นประมาณ 2-4 ชั่วโมงก็สามารถนำมาประกอบชั้นเป็นเครปเค้กซากุระชาเขียวได้เลย ส่วนวิธีการทำเค้กชาเขียว สามารถใช้ตามสูตรเค้กชาเขียวของ Matchazuki นี้ได้เลย หรือที่ร้านไหนมีสูตรของตัวเองก็เอามา Mix ได้ ( อ่านสูตรเค้กชาเขียวได้ที่ shorturl.at/abuR5 ) แล้วเปลี่ยนพิมพ์ขนมให้เป็นขนาดเดียวกับเครปซากุระที่ทำ ก็เป็นอันเรียบร้อย

Sakura & Matcha

จะเห็นได้ว่า ซากุระที่ใช้ในการทำขนมมีทั้งแบบที่เป็นผงซากุระที่สกัดมาจากซากุระดอง หรือแบบที่เป็นดอกซากุระดองเลยก็มี ขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกใช้แบบไหน และนอกจากสูตรขนมข้างต้นที่ทำให้เราได้สัมผัสกับความกลมกล่อมของชาเขียว และซากุระ คู่ความอร่อยลงตัวแล้ว ยังมีอีกหลากหลายเมนูที่สามารถนำซากุระไปช่วยเพิ่มความอร่อย และได้กลิ่นอายกับ Seasonal นี้ เช่น มาการองชาเขียวครีมสดซากุระ โรลเค้กชาเขียวครีมสดซากุระ หรืออย่างขนมยอดฮิตอย่างไดฟุกุ ก็หยิบจับชาเขียวและซากุระมาผสมผสานกันได้อย่างลงตัว

Sakura & MatchaSakura & Matcha
Sakura & Matcha

ที่มา

http://paogohan.blog42.fc2.com/blog-entry-513.html

https://www.travelsintranslation.com/2015/04/recipe-of-the-month-cherry-blossom-sugars/

https://arigatojapan.co.jp/sakura-and-matcha-a-perfect-match-for-spring/

https://matcha-jp.com/en/1695

https://soranews24.com/2021/03/11/sakura-and-matcha-star-in-new-mister-donut-collection/

https://nagoyafoodie.com/soft-serve-ice-cream-in-japan/

https://constellationinspiration.com/2020/04/dango-mochi.html

บทความจากFuwafuwa