เทศกาลไหว้พระจันทร์ของแต่ละประเทศก็มีธรรมเนียมที่ไม่เหมือนกัน อย่างที่ญี่ปุ่น แม้จะได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน แต่ขนมที่ใช้ไหว้ในช่วงเทศกาลนี้กลับแแตกต่างกันออกไป ไม่ได้มีหน้าตาเหมือนชนมไหว้พระจันทร์ที่เราคุ้นเคยเพราะคนญี่ปุ่น มีความเชื่อกิดขึ้นเมื่อมีขุนนางเป็นผู้ที่นำเข้ามาในช่วงสมัยนาระ-สมัยเฮอัน ในวันขึ้น 15 ค่ำ พลังงานที่มาจากดวงจันทร์จะมีสิ่งลี้ลับที่จะสามารถให้พรที่ขอนั้นเป็นจริงขึ้นมาได้ (บางครั้งคนญี่ปุ่นจะจินตนาการเห็นเงาบนพื้นผิวพระจันทร์นั้นเป็นรูปร่างคล้ายกระต่ายที่กำลังตำขนมโมจิ) โดยส่วนใหญ่ชาวนามักจะไหว้เพื่อแสดงการขอบคุณหลังจากที่ได้เก็บเกี่ยวพืชผลที่อุดมสมบูรณ์ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง โดยส่วนใหญ่ชาวนามักจะขอพรจากดวงจันทร์ให้เก็บเกี่ยวได้ผลผลิตที่ดี พืชผลอุดมสมบูรณ์ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและเพื่อขอพรให้ได้พืชผลที่ดีในปีต่อๆไป วันนั้นผู้คนจะเฉลิมฉลองด้วยการเตรียมอาหารประจำฤดูใบไม้ร่วงในการบวงสรวงพระจันทร์ คือขนมไหว้พระจันทร์ซึกิมิ ดังโงะ (月見 団子tsukimi dango)ขนมที่ทำจากแป้งข้าวเจ้าและน้ำตาล นำไปนึ่งพร้อมปั้นเป็นลูกกลมๆ ส่วนมากก็จะปั้นโมจิทรงกลมทั้งหมด 12 ลูกตาม 12เดือนในหนึ่งปี หรือ 15ลูกตามคำเรียก “คืนที่สิบห้า” ซึ่งดังโงะแต่ละพื้นที่ก็มีหน้าตาแตกต่างกันออกไป และขนมสมัยใหม่ ก็มีการดัดแปลงเอาโยคัง หรือเนริกิริมาปั้นให้เป็นรูปร่างกระต่ายมากขึ้น เพื่อให้เข้ากับเทศกาล อย่างไรก็ตามในไทยยึดความเชื่อตามแบบจีนแท้ๆ ที่มีการใช้ขนมไหว้พระจันทร์ หลากหลายไส้ อย่างไส้ยอดนิยมหรือไส้ดั้งเดิมจะเป็น ไส้ทุเรียน , ไส้ลูกบัว เป็นต้น แต่เดี๋ยวนี้มีไส้แปลกใหม่ เช่น ไส้ช็อกโกแลต, ไส้ชาเขียว, ไส้คัสตาร์ด และอีกมากมาย แน่นอนว่าไส้ต่างๆของขนมไหว้พระจันทร์ช่วยสร้างความตื่นเต้นแปลกใหม่ให้กับช่วงเทศกาลเป็นอย่างยิ่ง นอกจากไส้ขนมที่มีมากขึ้นแล้ว หลากหลายร้านก็ยังเพิ่มเติมความแปลกใหม่ให้กับตัวแป้งขนมไหว้พระจันทร์ด้วย ถ้าเป็นขนมไหว้พระจันทร์ต้นตำรับก็ต้องเป็น “แป้งอบ”แต่เดี๋ยวนี้ก็จะมีแป้งขนมไหว้พระจันทร์แบบไม่อบหรือที่หลายคนเรียกว่า “แป้งบัวหิมะ”มาช่วยเพิ่มสีสันด้วย เพราะในแป้งแบบไม่อบนี้สามารถเติมสีสันได้ตามต้องการ ส่วนมากจะนำมาห่อไส้สมัยใหม่หรือไส้ที่ต้องกินแบบเย็นๆ แป้งขนมไหว้พระจันทร์แบบอบไม่มีอะไรที่ซับซ้อนนัก…