ช้อนไม้ไผ่ Chashaku (茶杓) จำเป็นจริงหรอ?
|

ช้อนไม้ไผ่ Chashaku (茶杓) จำเป็นจริงหรอ?

ช้อนตักผงชามัทฉะ หรือที่เรียกว่า Chashaku (茶杓)มีที่มาจากในสมัยก่อนช่วงที่ชาเขียวจากจีนถูกนำเข้ามาสู่ญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นใช้ช้อนตักชาที่ทำจากงาช้าง นำเข้าจากประเทศจีน แต่พอเข้าสู่ช่วงหลังๆมา ช้อนตักชาที่ทำจากไม้ไผ่ปลายดัดก็เริ่มมีปรากฏให้เห็น โดยมีการคาดกันว่าผู้ที่คิดค้นรูปร่างฉะชะขุแบบในปัจจุบันขึ้นมา คือ มุราตะ จุโค ผู้พัฒนาพิธีชงชาแบบเซนเป็นคนแรก ซึ่งเหตุผลที่เลือกใช้ไม้ไผ่แทนงาช้าง เพราะว่า ต้องการให้ช้อนตักผงชานั้นมีความเรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อหรูหราแบบงาช้าง เพราะนิกายเซน มีพื้นฐานแนวคิดอย่างเรียบง่ายมาจากศาสนาพุทธแบบเซนนั่นเอง ลักษณะที่ดีของ Chashaku ส่วนมากจะทำจากไม้ไผ่ มีปลายช้อนกว้าง 1 ซม. เพื่อให้การตักผงชา 1 ครั้งได้ในปริมาณที่เหมาะสม คือ ประมาณ 1 กรัม ซึ่งในพิธีชงชาจะใช้ชา 2 กรัม กล่าวคือ ตักชาด้วย Chashaku 2 รอบนั่นเองโดยไม่ต้องผ่านการใช้เครื่องชั่ง นอกจากนี้ตัวด้ามควรยาว 19 ซม. เป็นความยาวที่พอดีกับการใช้ในพิธีชงชาของญี่ปุ่น การตักผงชาเขียวเพื่อชงชานั้น จริงๆสามารถใช้ช้อนสแตนเลส หรือช้อนประเภทอื่นได้เช่นกัน ไม่จำเป็นจะต้องใช้ Chashaku ก็ได้ แต่จะเห็นว่าหลายๆร้านคาเฟ่ และตามพิธีชงชาของญี่ปุ่นเอง จะนิยมใช้ Chashaku เพราะด้วยคุณสมบัติของไม้ไผ่…

รู้หรือไม่ทำไมชาเป็นตะกอนเมื่อเย็น?
|

รู้หรือไม่ทำไมชาเป็นตะกอนเมื่อเย็น?

เคยทานชาเขียวแล้วมีผงชาเขียวนอนก้นเป็นตะกอนกันมั้ยคะ? ตะกอนที่เห็นอยู่นั้นแท้จริงแล้ว คือ ผงชาที่ละลายไม่หมด เป็นผลมาจากการชงที่ไม่ดีส่วนนึง เพราะผงมัทฉะที่ดีจะค่อนข้างละเอียดมาก ไม่สามารถละลายได้หมดด้วยน้ำร้อนจากการใช้ช้อนคนธรรมดา แต่ควรใช้แปรงชา หรือที่เรียกว่า ฉะเซ็นในการชง จะทำให้ละลายได้ง่ายกว่า หรือถ้าร้านไหนที่ไม่มีฉะเซ็น สามารถลองใส่พวกกระบอกเชคเกอร์ หรือใช้ตระกร้อมือคนแทนก็พอคนให้ผงชาละลายได้อยู่ อย่างไรก็ตามในการบางครั้งที่ใช้ฉะเซ็นในการชงแล้ว บางคนอาจจะพบว่า เมื่อทิ้งไว้ระยะหนึ่งก็จะเกิดการแยกชั้นได้ ไม่เว้นแม้กระทั่งชาเขียวที่บรรจุขายทั่วไป เราจะได้เห็นข้างขวดเขียนไว้เสมอว่า “อาจมีตะกอนตามธรรมชาติ ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย” จึงถือว่าเป็นเรื่องปกติมากที่ชาแต่ละขวดหลังจากชงแล้วอาจจะมีตะกอนหลุดรอดออกมานั่นเอง พูดถึงตัวผงฝุ่นในชาเป็นผลมาจากการตกตะกอน ซึ่งเรียกว่า ‘ครีมชา’ จะเกิดขึ้นเมื่อชามีอุณหภูมิเย็นลงต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส สารประกอบในชา อย่างระหว่างคาเฟอีนและโพลีฟีนอลจะจับตัวกันอย่างอ่อนๆ ซึ่งหากชาเมนูไหนที่มีการใส่นม ก็จะเกิดปฏิกิริยาระหว่างโปรตีนในนม และ โพลีฟีนอลต่างๆ มีผลให้เกิดตะกอนมากขึ้นนั่นเอง อย่างไรก็ตาม การผสมชาและน้ำใหม่ที่ต้มแล้วเข้าด้วยกัน จะทำให้ใบชาตกตะกอนอยู่ด้านล่างของกาที่ใช้ชงชาได้เช่นกัน เพื่อเป็นการลดการสัมผัสระหว่างใบชาและน้ำ แนะนำให้ทำการคนชาทุกครั้งเพื่อกระตุ้นชาและทำให้มีการละลายที่เหมาะสม กรณีที่ชาของบางร้านไม่ตกตะกอนเลย จึงอาจเป็นที่น่าสงสัยได้ว่า ร้านนั้นไม่ได้ใช้ผงมัทฉะจริงๆ แต่ อาจจะเป็นการใช้เป็นไซรัปรสชาเขียวแทน หรืออาจใช้ผงชงสำเร็จรูปเพื่อลดระยะเวลาในการชง ซึ่งทำให้ราคาก็จะลดหลั่นกันไปตามวัตถุดิบที่ใช้นั่นเอง นอกจากตะกอนที่มักเกิดที่ก้นถ้วยแล้ว ในบางครั้งจะเจอกรณีที่กากชา หรือ ใบชาสีเข้ม ที่ลอยอยู่ด้านบนของชาที่ชงแล้วแทนนอนก้น กรณีดังกล่าว เป็นผลของส่วนประกอบน้ำหนักโมเลกุลที่สูง เกิดจากแคลเซียม…

ชา ทำ cold brew ได้มั้ยนะ…?
|

ชา ทำ cold brew ได้มั้ยนะ…?

หลายคนอาจจะคุ้นชินกับกาแฟ Cold Brew ซึ่งเป็นกาแฟที่มีความหวานมากกว่ากาแฟที่ชงด้วยวิธีอื่นเนื่องจากมีกรดต่ำ เพราะใช้น้ำเย็นสกัดระดับคาเฟอินในปริมาณต่ำเมื่อเทียบกับกาแฟที่ชงด้วยน้ำร้อน ซึ่งคอชาเลยอาจจะสงสัยว่า ชา สามารถนำไปผ่านกรรมวิธีเช่นเดียวกับการทำ Cold Brew กาแฟได้มั้ยนะ? หลักของการทำ Cold Brew คือ การสกัดเย็น สามารถใช้ได้ทั้งน้ำที่อุณหภูมิห้อง หรือจะใช้น้ำเย็น 5-15 องศาก็ได้ ตามปกติแล้ว ถ้าเราใช้น้ำร้อนชงชา คาเตชินและคาเฟอีนในใบชาจะออกมากับน้ำร้อน เพราะสารสองตัวนี้ละลายที่อุณหภูมิสูง ราว 80-90 องศาขึ้นไป สารสองตัวนี้จะให้รสขม ในขณะที่รสอุมามิของชาที่หลายคนชอบดื่มด่ำ ซึ่งเกิดจากกรดอะมิโน จะละลายที่อุณหภูมิตั้งแต่ 60 องศาขึ้นไป ดังนั้น พวกชาเขียวที่อุดมไปด้วยรสอุมามิ อย่างเกียวขุโระ จึงต้องชงด้วยน้ำอุณหภูมิ 40-60 องศา ดังนั้นหากเราแช่ใบชาในน้ำเย็น รสขมของชาจะออกมาน้อยกว่าการชงแบบร้อน เหมาะสำหรับคนชอบดื่มชารสนุ่มๆ แบบอูมามินั่นเอง วิธีการทำชา cold brewทั้งชาดำ ชาอู่หลง ใช้ใบชา 4 กรัม ต่อน้ำ 200-250 มล นำใบชาใส่ถุงชาใช้แล้วทิ้ง นำถุงชาที่ใส่ใบชาแล้วแช่ลงไปในน้ำ…

ชาที่ต้มแล้ว เอามาต้มซ้ำได้มั้ยนะ??
|

ชาที่ต้มแล้ว เอามาต้มซ้ำได้มั้ยนะ??

หลายคนคงเคยชินกับการชงชาจากถุงชาซ้ำสองถึงสามรอบ หรือใช้ใบชาที่ผ่านการชงแล้วมากกว่า 1 ครั้ง แม้จะมีความสงสัยกับการชงชาว่าหลังจากต้มน้ำแล้ว เอามาชงซ้ำอีกรอบได้มั้ย เพราะดูๆแล้วยังชงดื่มได้อีก สักรอบถึงสองรอบ โดยปกติแล้วผงชา หรือใบชาบดทุกชนิด มีความเข้มข้นในตัวเอง หากมีการนำมาต้ม หรือโดนน้ำร้อน จะทำให้น้ำร้อนสกัดรสชาติและความเข้มข้นของชาออกมา และเมื่อตอนเราบีบน้ำให้ออกมาจากใบชา ยิ่งบีบแรงเท่าไหร่ ก็จะได้ความเข้มข้นของชามากขึ้น เมื่อผงหรือใบชาที่ผ่านการกรองกากมาแล้วหนึ่งครั้ง ในตัวของผงหรือใบชานั้น ก็ยังคงเหลือรสชาติ และความเข้มข้นอยู่ แต่ไม่เข้มเท่าครั้งแรก ยิ่งชงซ้ำหลายครั้ง รสชาติของน้ำชา ก็จะจืดลงไปเรื่อยๆนอกจากนั้นสีและกลิ่นของชาก็จะลดลง โดยเฉพาะชาที่ผสมนมอย่างเช่น ชาไต้หวัน ชาเขียว ชาไทยแล้วความหวานและกลิ่นของนมจะกลบกลิ่นชาไปอีกด้วย นอกจากนี้รสชาติ สีสัน และ ความรู้สึกที่สัมผัสจากการดื่มชานั้นมาจากสององค์ประกอบหลักของชา คือ โพลีฟีนอล และ คาเฟอีนแต่ละส่วนประกอบมีรสฝาดในตัวเอง แต่เมื่อมารวมกันความฝาดก็จะลดลง การต้มน้ำให้เดือดอีกครั้งจะทำการลดระดับของ CO2 ซึ่งมีผลในการลดความเป็นกรดลง มีผลต่อองค์ประกอบของคาเฟอีนและโพลีฟีนอล และจะทำให้เกิดการเปลี่ยนสีรวมทั้งลักษณะของชาที่ชง น้ำที่ต้มสองครั้งจะมีผลต่อรสชาติของชาเท่านั้น ไม่ได้มีอันตรายใดๆ และสารอาหารก็ไม่ได้หายไปไหนอีกด้วย อย่างไรก็ตามเมนูชาเย็นแนะนำใช้ชงครั้งเดียว เพราะเมนูชาเย็น ความอร่อยที่แท้จริง คือ รสชาติต้องเข้มข้น กลิ่นต้องหอมนั้นเอง อย่างไรก็ตามอาจจะมีบางคนที่อ่านบทความนี้แล้วรู้สึกว่างั้นการชงชาแค่ครั้งเดียวแต่ทิ้งไว้ในกาชาให้นานขึ้นเพื่อให้ได้รสชาติที่เข้มข้นเลยน่าจะดีกว่าการเอามาชงซ้ำ ต้องขอบอกก่อนเลยว่าเป็นความคิดที่ไม่ดีนัก เพราะอีกตัวแปรที่ส่งผลต่อกลิ่นและรสชาติของชา…

การผสมชากับนมนั้นมันไม่ดีจริงเหรอ? 
|

การผสมชากับนมนั้นมันไม่ดีจริงเหรอ? 

ชาใส่นม ไม่ว่าจะเป็นมัทฉะลาเต้ หรือ ชานมเย็น ที่เป็นที่ชื่นชอบของหลายๆคน ด้วยความเข้มข้น ของชา และความกลมกล่อมด้วยนมที่ผสมตามสูตรของที่ร้าน ชาจึงกลายเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่มีการบริโภคมากที่สุดในโลกก็ว่าได้ อย่างที่ไทยบ้านเรา ก็มีทั้งชาดำเย็น ชานม หรือฝั่งญี่ปุ่น คนนิยมบริโภคชาเขียว ฝั่งยุโรปยังมีธรรมเนียมในการดื่มชากับขนมหวาน หรือที่เรียกว่า Afternoon tea นอกจากรสชาติที่อร่อยแล้วยังเป็นเพราะชาอุดมด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากๆ อย่างที่รู้กัน เช่น สารคาเทชิน (Catechin) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ช่วยดักจับอนุมูลอิสระ และสารธีอะนิน (Theanine) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ทำงานสัมพันธ์กันกับเส้นประสาท หากดื่มไปแล้วจะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย สงบนิ่งและสมองปลอดโปร่งมากขึ้น ซึ่งการจะได้ประโยชน์จากสารอาหารเหล่านี้อย่างเต็มที่ เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าต้องดื่มแบบไม่ผสมนม หรือน้ำตาล แต่การผสมชากับนมนั้นมันไม่ดีจริงเหรอ?  มีการค้นพบโดย นักวิจัยจากโรงพยาบาลคาริตของมหาวิทยาลัยเบอร์ลิน เยอรมนี ว่า ชาจะหมดประโยชน์ได้ ถ้าหากใส่นม เพราะโปรตีนในนมจะไปยับยั้งการทำงานของสารคาเทซิน ทำให้ประโยชน์ของชาในการปกป้องโรคหัวใจหมดไปการวิจัยดังกล่าวทดลองเปรียบเทียบ ระหว่างสุขภาพของผู้ดื่มน้ำอุ่น ดื่มชา และดื่มชาแบบเติมนม พบว่า “ คนที่ดื่มชาทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้นอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับการดื่มน้ำอุ่น แต่พอมีการเติมนมลงไปในน้ำชาคุณประโยชน์ชาก็จะหายไปทันที ” แต่ถ้าต้องการดื่มชาแบบเติมนมจริงๆ ก็ยังมีการโต้เถียงอีกว่า“ควรใส่ ชาก่อนหรือหลังนม?” บางคนก็เชื่อว่าการเติมนมทีหลังชงชา ทำให้ผู้ดื่มสามารถกะปริมาณนมได้ง่ายกว่า…

สีเขียวๆเหมือนกัน แต่ทำไมเป็นชาเขียวคนละแบบกัน
|

สีเขียวๆเหมือนกัน แต่ทำไมเป็นชาเขียวคนละแบบกัน

ทุกคนน่าจะเคยเห็นชาเขียว ที่สีไม่เขียว อย่างที่รู้จักกันในชื่อของ ชาโฮจิฉะ กันแล้ว แต่ก็อาจจะเคยเห็นชา ที่สีเขียวเหมือนกัน ต่างระดับเข้มอ่อน ซึ่งจริงๆแล้วเป็นการแสดงรสชาติที่มีหลากรสชาติหลายระดับ สิ่งที่ทำให้ชาเขียวแตกต่างจากชาประเภทอื่นๆ อย่างชาแดง และชาอู่หลง คือการ “นึ่ง” ใบชา ที่สามารถช่วยไล่กลิ่นเหม็นเขียวไปพร้อมๆ กับหยุดกระบวนการออกซิเดชัน ทำให้รักษาสีเขียวเอาไว้ได้นั่นเอง สิ่งที่เรียกว่าชาเขียวเองก็ยังแบ่งได้ออกเป็นอีก 4 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ 1.เกียวคุโระ (Gyokuro)ยอดใบชาเขียวชั้นดี ใบชาม้วนเป็นเกลียว สีเขียวเข้ม ปลูกโดยคลุมผ้ากันแสงให้อยู่ในสภาวะเหมาะสมจนเกิดเป็นสีเขียว ผ่านการนึ่ง นวด และทำให้แห้ง ได้ออกมาเป็นชารสไม่ฝาด หวานเล็กน้อย ซึ่งที่มาของรสชาติหวานกลมกล่อมนี้ มาจากการที่ให้ใบชาอยู่ในร่มก่อนการเก็บเกี่ยว ซึ่งการป้องกันแสงแดดนี้จะทำให้สารเธียอะนินที่มีประโยชน์ (ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย) ในใบชาเพิ่มขึ้น แต่ทำให้สาร catechin ที่มาของรสขมในใบชาลดลง ทำให้ได้ชาที่มีรสชาติหวานกลมกล่อมนั่นเองกลิ่นหอม สีชาเกียวคุโระสีเขียวสด จัดเป็นชาเขียวชั้นสูง ผลิตได้ไม่มาก เก็บเกี่ยวได้ทีละน้อย ราคาจึงค่อนข้างแพง ส่วนมากใช้ในงานพิธีการ 2.มัทฉะ (Matcha) ชื่อที่หลายคนคุ้นเคยมากที่สุด ชาตัวนี้ผลิตจากมาจาก เท็นฉะ (Tencha) ซึ่งได้มาจากใบชาที่ปลูกในที่ร่มเหมือนชาเกียวคุโระก่อนจะนำไปบดเป็นผงด้วยหินอย่างพิถีพิถัน มักจะใช้ในพิธีชงชา เพราะมัทฉะรสชาติกลมกล่อมมัทฉะแบ่งเป็นหลายเกรด…

น้ำแข็งแบบไหนเหมาะกับการทำเครื่องดื่มมากที่สุด
|

น้ำแข็งแบบไหนเหมาะกับการทำเครื่องดื่มมากที่สุด

เคยเป็นมั้ยที่ชงเครื่องดื่มออกมาดื่มเพียวๆอร่อยมาก แต่พอเทน้ำแข็งลงไป รสชาติกลับไม่เข้มข้นเหมือนเดิม แม้จะใช้วิธีในการคำนวณแบบง่ายๆที่หลายร้านใช้กันอย่างน้ำแข็งเต็มแก้ว 16 oz จะต้องใส่เครื่องดื่มที่ผสมส่วนผสมตามสูตรแล้วปริมาณ 6 oz หรือ 180 ml ถึงจะได้เครื่องดื่ม และ น้ำแข็ง ที่เต็มแก้วขนาด 16oz พอดิบพอดี แต่ก็กลับเจอปัญหาอีกที่ บางครั้งแค่เปลี่ยนแบบน้ำแข็งที่ใช้ในการชงเครื่องดื่มรสชาติก็เปลี่ยน เพราะหลายคนคิดไม่ถึงว่าน้ำแข็งแต่ละรูปทรงก็ส่งผลต่อรสชาติของเครื่องดื่มได้อย่างไม่น่าเชื่อ น้ำแข็ง วัตถุดิบธรรมดาที่มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน เอาใจใส่รายละเอียดเล็กๆน้อยๆแบบนี้ จะทำให้ร้านคุณมีเอกลักษณ์ และทำให้ลูกค้าประทับใจได้มากขึ้นได้ น้ำแข็งหลอดที่มีรูข้างในทำให้มีผิวสัมผัสเยอะ ก้อนใสไม่มีตะกอน หลายร้านมักซื้อเครื่องทำน้ำแข็งแบบนี้ไว้ที่ร้าน เพราะข้อดี คือ เย็นนานกว่า 3-4 ชม ขึ้นไป หลายๆร้านให้ความนิยมในการใช้ แต่ให้ความเย็นช้ากว่าเล็กน้อย น้ำแข็งสี่เหลี่ยมน้ำแข็งยอดนิยม มีรูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีคุณสมบัติการละลายช้ากว่าน้ำแข็งประเภทอื่นๆ เนื่องจากมีความหนาแน่นสูง สามารถรักษาอุณหภูมิความเย็นไว้ได้นาน แม้จะอยู่ในภาชนะขนาดใหญ่ก็อยู่ได้หลายชั่วโมง และเป็นน้ำแข็งที่มีความสวยงาม ทำให้เครื่องดื่มดู สวยงามน่ารับประทานมากขึ้น เหมาะสำหรับเครื่องดื่มที่ไม่ต้องการให้น้ำแข็งทำลายรสชาติของเครื่องดื่ม เช่น ค็อกเทล, กาแฟเย็น, น้ำหวานชงดื่มชนิดต่างๆ น้ำแข็งเกล็ดกรอบเป็นรูปทรงที่เรามักเห็นบ่อยๆ ในเซเว่น อีเลฟเว่น มีขนาดเล็ก ไม่แข็งมาก…

เคล็ดลับการเลือกดื่มชา เวลาไหนเกิดประโยชน์ที่สุด?
|

เคล็ดลับการเลือกดื่มชา เวลาไหนเกิดประโยชน์ที่สุด?

สำหรับผู้ที่ชอบดื่มชาอาจจะอยากทราบว่า หากต้องการดื่มชาให้ได้ประโยชน์สูงสุด ควรดื่มเวลาไหนดีนะ? เพราะเครื่องดื่มอย่างชา..หากดื่มถูกจังหวะเวลาก็ย่อมทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อร่างกายได้ด้วย แต่ถ้าดื่มมากไปก็อาจจะเกิดผลเสียได้เช่นกัน แล้วช่วงเวลาไหนคือ เวลาที่เหมาะสมสำหรับการดื่ม และเหมาะกับแต่ละคน แนะนำให้ดื่มชาทันที หลังชงเสร็จร้อนๆทันทีไม่ควรปล่อยไว้นานเกินกว่า 2 ชั่วโมง ไม่เช่นนั้น สีของน้ำชาจะคล้ำลง และมีรสชาติฝาด เพราะการดื่มแบบชงร้อนจะทำให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากสารอาหารในชามากกว่า เนื่องจากชามีกรดแทนนินสูง (Tannin) หากคุณดื่มตอนที่มีรสฝาดจะส่งผลกระทบมายังกระเพาะอาหารและลำไส้ ซึ่งมันจะทำให้การดูดซึมสารอาหารไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการดูดซึมธาตุเหล็ก แคลเซียมและแมกนีเซียม ในชายังมีสารสำคัญอย่างคาเทชิน (Catechin) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ช่วยดักจับอนุมูลอิสระ และสารธีอะนิน (Theanine) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ทำงานสัมพันธ์กันกับเส้นประสาท หากดื่มไปแล้วจะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย สงบนิ่งและสมองปลอดโปร่งมากขึ้น หากไม่ดื่มหลังชงร้อนๆเสร็จ ปล่อยน้ำชาไว้ให้เย็น จะทำให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้น้อยลง อย่างไรก็ตามปกติเรามักจะได้ยินคนแนะนำว่าให้รับสิ่งดี ๆ ที่มีประโยชน์เข้าไปในตอนเช้า แต่ว่าอย่าดื่มชาเขียวตั้งแต่เช้าขณะท้องว่างเพราะว่าชาเขียวมีคาเฟอีนจะทำให้ร่างกายขับน้ำออกมา กลายเป็นอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำ ผิวพรรณห่อเหี่ยวไม่สดชื่น สมองก็จะมึนงงได้ แถมชาเขียวยังกระตุ้นให้เกิดกรดในกระเพาะอาหารมากไปจนเกิดแผลตามมาได้ ควรกินอาหารเช้าให้เรียบร้อยก่อนแล้วค่อยตามด้วยชาเขียวร้อนๆสัก 1 แก้วจะดีกว่า ส่วนใครที่ชอบออกกำลังกายมีงานวิจัยทดลองว่าการดื่มชาเขียวก่อนออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที จะช่วยให้เราสดชื่นกระปรี้กระเปร่าและออกกำลังกายได้ต่อเนื่องยาวนานขึ้น ดังนั้นจึงเหมาะมากๆกับคนที่ต้องการจะลดน้ำหนักสลายไขมัน แต่ทั้งนี้ จะต้องเป็นชาเขียวเพียวๆที่ไม่ใส่น้ำตาลและนม สำหรับคนที่ชอบจิบชาแทนน้ำเปล่า หรือคนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบควรหันมาจิบน้ำชาอ่อนๆ ดีกว่า ไม่ควรจิบชาแก่ๆ เพราะจะยิ่งทำให้การหลั่งของกรดออกมามากขึ้น…

ข้อควรระวังในการดื่มชา ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้
|

ข้อควรระวังในการดื่มชา ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้

หลายคนคงทราบกันอยู่แล้วว่า การดื่มชามีประโยชน์มากมาย แต่น้อยคนนักจะรู้ว่าการดื่มชามากจนเกินไปจะมีผลเสียต่อร่างกายพอสมควรเลยทีเดียว 1. การดื่มน้ำชาไม่ว่าจะชาร้อนหรือชาแช่เย็นไม่ควรแต่งรสด้วยนมสด นมข้นหรือนมผง เพราะโปรตีนในนมจะไปจับกับสารสำคัญในชา ทำลายประสิทธิภาพสารออกฤทธิ์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย วิธีการดื่มชาเขียวให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ จึงควรดื่มน้ำชาล้วนๆไม่ควรปรุงแต่ง นอกจากจะได้สารอาหารที่ครบถ้วนแล้วยังไม่อ้วนจากน้ำตาลที่ปรุงแต่งเข้าไปด้วย 2. ใบชายังมีองค์ประกอบของฟลูออไรด์ในปริมาณที่ค่อนข้างสูงและสูงกว่าปริมาณในน้ำประปา หากดื่มในปริมาณที่มากเกินไป จะเกิดการสะสม มีผลให้ไตวาย เกิดมะเร็งลำไส้ โรคกระดูกพรุน (Osteofluorosis) โรคข้อ และโรคอื่นๆที่เกี่ยวกับกระดูก และยังทำให้ฟันเกิดคราบเหลืองได้ ยิ้มฟันขาวๆจะหายไป แต่ผู้ที่ดื่มไม่มาก ก็คงไม่ต้องกังวล 3. หลีกเลี่ยงชาที่มีส่วนผสมของคอมเฟรย์ (comfrey)ซึ่งมีสารไพโรลิซิดีน อัลคาลอยด์ อันอาจเป็นอันตรายต่อตับ ในบางประเทษดอกคอมเฟรย์เป็นเรื่องต้องห้ามเลย 4. สารออกซาเรท (oxalate) ในชาที่มีอยู่ในปริมาณน้อย แต่หากผู้ที่ชื่นชอบการดื่มชามากจนเกินไปและดื่มบ่อยๆเป็นประจำ จะสะสมสารออกซาเรทในร่างกายได้ อาจส่งผลต่อการทำลายไตได้ 5. ใบชามีคาเฟอีนในปริมาณสูงอาจสูงกว่าในเมล็ดกาแฟด้วยซ้ำไป เพียงแต่การดื่มน้ำชา สารแทนนินจากน้ำชาจะช่วยลดการดูดซึมของคาแฟอีนเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ฤทธิ์การกระตุ้นหัวใจและสมองน้อยกว่ากาแฟมากคาเฟอีน แต่ก็ส่งผลต่อการนอนเช่นเดียวกับกาแฟ ดังนั้นไม่ควรดื่มภายในสามชั่วโมงก่อนเข้านอน 6. สารแทนนินที่มีอยู่ในชาเขียวซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการท้องผูกเพราะสารตัวนี้ทำหน้าที่ยับยั้งการดูดซึมสารอาหารสำคัญอีกหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน เหล็กและโฟลิก เพราะฉะนั้น เพื่อป้องกันปัญหาท้องผูกตามมา แนะนำให้คุณหันมาดื่มชาเขียวแต่เพียงในปริมาณพอดี โดยดื่มวันละไม่ควรเกินกว่า 5 แก้ว…

รู้ไหมว่า…ชงชาเขียวใช้น้ำแบบไหน?
|

รู้ไหมว่า…ชงชาเขียวใช้น้ำแบบไหน?

ปกติแล้วเรามักนิยมแช่ใบชากับน้ำร้อนนานๆ อยากดื่มเมื่อไหร่ก็เทออกมา ซึ่งความคุ้นเคยนี้ทำให้บางครั้งเราไม่ได้รับรสชาที่แท้จริง การชงชาแต่ละชนิดมีความแตกต่างจากหลักการเบื้องต้นไม่มากนัก แต่ก็มีความละเอียดอ่อนที่จะช่วยให้ได้รสอร่อยและประโยชน์ของชาอย่างแท้จริง ใบชาแต่ละชนิด มีสารอาหารอยู่ในปริมาณที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีการผลิต ซึ่งสารอาหารเหล่านี้นี่เอง ที่เป็นตัวกำหนด “รสชาติ” ของชา เช่น ชาที่มีกรดอะมิโนเยอะ ก็จะมีรสกลมกล่อม ชาที่มีสารแคทิซินเยอะ ก็จะมีรสฝาด และขม ซึ่งนอกจากประเภทชาแล้ว “น้ำ”ที่ใช้สำหรับชงชา ดูเผินๆหลายคนคงไม่ได้ให้ความสำคัญกับมันนัก เน้นไปที่เลือกผงชา ใบชา ที่คุณภาพดีไว้ก่อน แต่ความจริงแล้ว การชงชาให้อร่อยชนิดของน้ำที่ชง มีผลต่อรสชาติและกลิ่นของชา ที่มองข้ามไม่ได้เช่นกัน เพราะสารอาหารในชา นอกจากจะมีปริมาณที่ต่างกันแล้ว ยังมีคุณสมบัติละลายในน้ำอุณหภูมิที่ต่างกันอีกด้วย อย่างชาเขียว คือ ชาที่ไม่ผ่านการหมักหากชงด้วยน้ำเดือด 100 องศา ใบชาจะเฉา เหี่ยว และขับสารแคทิซีนออกมาเป็นจำนวนมากส่งผลให้ชามีรสขม เวลาดื่มรสสัมผัสจะน้อยลง เพราะในชาเขียวเป็นชาที่มีปริมาณกรดอะมิโนสูง การจะชงชาให้ได้รสชาติดีที่สุดนั้น จะต้องดึงกรดอะมิโนออกมา โดยที่ในขณะเดียวกันก็ต้องระวังไม่ให้สารแคทิซิน ซึ่งเป็นสารให้ความขมและฝาดออกมา จึงต้องใช้น้ำที่อุณหภูมิระหว่าง 50-60 องศาเซลเซียส เพราะกรดอะมิโน จะเริ่มละลายออกมาในน้ำอุณหภูมิตั้งแต่ 50 องศา ในขณะที่สารแคทิซิน จะละลายออกมาที่น้ำอุณหภูมิสูงกว่า 60…

ชาจีนต่างกับชาญี่ปุ่นอย่างไร
|

ชาจีนต่างกับชาญี่ปุ่นอย่างไร

ไม่ว่าที่ประเทศจีน และที่ญี่ปุ่น ก็มีชาเป็นเครื่องดื่มหลักเหมือนกัน เพราะชา เป็นเครื่องดื่มที่อุดมด้วยสารอาหาร ดีต่อสุขภาพ เช่นเดียวกัน เมื่อพูดถึงชาจีนเรามักเข้าใจว่าเป็นชาเขียวในความเป็นจริงแล้ว ชามีหลายประเภท ตามเวลาในการเก็บใบชา และสถานที่เก็บ โดยชาจีน จะแบ่งเป็น ชาขาว, ชาเขียว, ชาอู่หลง, ชาดำ กรรมวิธีทำชาแต่ละประเภทแตกต่างกัน อย่างเช่นชาขาวและชาเขียว จะทำให้ได้รับความร้อน เพื่อรักษาสารต้านอนุมูลอิสระให้ยังคงอยู่ ส่วนชาอู่หลง ชาดำ พวกนี้ถูกเอาไปหมัก ชาอู่หลงจะหมักให้ถูกอ๊อกซิไดน์เพียงส่วนหนึ่ง ส่วนชาดำจะถูกอ๊อกซิไดน์ทั้งหมด ในทางกลับกันชาเขียวญี่ปุ่นเป็นชาที่เก็บสดๆ เอามา stream ด้วยไอน้ำ เพื่อหยุดออกซิไดซ์ ได้สีเขียวสวย และรสตามธรรมชาติ การที่ใบชาที่ได้นั้นไม่ผ่านขั้นตอนการหมัก จึงทำให้ใบชามีสารประกอบฟีนอล หลงเหลืออยู่มาก จึงทำให้ชาเขียวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากกว่าชาชนิดอื่น และเมื่อเอามาบดผ่านเครื่องจนเป็นผง จึงกลายเป็นผงมัทฉะ ที่เรานิยมใช้ในพิธีชงชา และการทำขนมนั่นเอง นอกจากความต่างของกรรมวิธีการผลิตแล้ว การเสิร์ฟชาของชาจีนและชาญี่ปุ่นก็แตกต่างกัน ประเทศจีนส่วนมากจะใช้กาใหญ่ เมื่อมีแขกเข้าบ้าน ก็ใส่ใบชาในกาและเทน้ำร้อนใส่ลงไป เมื่อแช่ไว้จนได้กลิ่นและสีชาแล้วจึงรินใส่แก้วให้แขกดื่ม แต่ก็มีบางท้องถิ่นของจีนเช่นเมืองจางโจวของมณฑลฮกเกี้ยนจะมีอุปกรณ์กังฮูเต๊ โดยมีเครื่องถ้วยชากาชาเป็นชุดและมีวิธีการชงชาที่พิเศษ จึงทำให้กลาย เป็นศิลปะชาที่มีเอกลักษณ์ของพื้นเมือง ส่วนที่ญี่ปุ่น พิธีการชงชา จะมีลักษณะที่เป็นแบบแผนที่ได้พัฒนาภายใต้อิทธิพลของพุทธศาสนานิกายเซ็น มีขั้นตอนและกรรมวิธีการชงที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนมากกว่าของจีน…

How to ใช้ฉะเซ็น ….ใช้ยังไงให้ใช้ได้นาน
|

How to ใช้ฉะเซ็น ….ใช้ยังไงให้ใช้ได้นาน

หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมการชงชามัทฉะ ไม่สามารถใช้ช้อนคนเหมือนเวลาเราชงกาแฟ หรือโกโก้?? คำตอบก็คือ มัทฉะ คือ ผงชาที่บดมาจากใบชา ไม่เหมือนสารละลายที่นำไปผ่านกระบวนการอบให้เป็นผงพร้อมชงอย่างโอวัลตินหรือน้ำตาลทราย จึงไม่มีคุณสมบัติละลายน้ำการใช้แปรงชงชา หรือที่เรียกว่า ฉะเซ็น ในการตีผงชาจะทำให้ผงชาละลายได้หมดและได้กลิ่นและรสชาติแบบต้นตำรับสไตล์ญี่ปุ่นมากกว่านั่นเอง แต่บางคนก็อาจจะใช้ตะกร้อที่ใช้ทำขนมมาตีผงชาแทน แต่มีข้อเสีย คือ ตีมัทฉะออกมาแล้วฟองจะใหญ่ไม่ละเอียด ทำให้มัทฉะดูไม่น่าทาน ฉะเซ็น ปกติจะทำจากไม้ไผ่ มีจำนวนซี่ประมาณ 80 ซี่ หากน้อยกว่านี้ จะเป็นฉะเซ็นที่มีไว้สำหรับการชงโคอิฉะ หรือมัทฉะแบบเข้มข้น ที่จำเป็นต้องใช้ฉะเซ็นในการนวดผงชาให้เป็นเนื้อเดียวกันกับน้ำร้อน ต่างจากการชงอุสึฉะ หรือมัทฉะแบบบางที่จะใช้ฉะเซ็นตีผงชาให้ขึ้นฟอง แต่ฉะเซ็นบางรุ่นที่มีจำนวนซี่เยอะ อย่าง 100 ซี่ หรือ 120 ซี่ มีข้อดีคือตีมัทฉะให้ขึ้นฟองได้ง่ายและฟองละเอียดกว่าในสมัยก่อนฉะเซ็นที่จำนวนซี่เยอะๆ มีไว้สำหรับให้โชกุนหรือขุนนางผู้สูงศักดิ์ใช้เพียงเท่านั้น การใช้งานฉะเซ็นครั้งแรก ควรแช่ฉะเซ็นในน้ำอุ่น 15-30 นาที เพื่อให้เนื้อไม้คลายตัวก่อน นอกจากนนั้น เพื่อยืดอายุการใช้งานฉะเซ็น ทุกๆครั้งก่อนใช้ควรแช่ฉะเซ็นในน้ำอุ่นประมาณ 5-10 นาทีเพื่อให้เนื้อไม้ยืดหยุ่นรับแรงจากการใช้งานโดยไม่แตกหัก และควรใช้งานฉะเซ็นกับถ้วยที่ก้นแบนกว้างทรงเตี้ย หลีกเลี่ยงการใช้กับถ้วยชาทรงสูงปากแคบก้นมีมุมเพราะอาจทำให้ปลายแปรงกระแทกมุมจนแตกหักได้ ที่สำคัญ คือไม่ควรกดแปรงฉะเซ็นกับก้นถ้วย แต่เน้นการสะบัดฉะเซ็นโดยการใช้ข้อมือโดยหลีกเลี่ยงการสะบัดแปรงแรงจนชนข้างถ้วย หลังการใช้งานทุกครั้ง ควรนำไปแกว่งในน้ำอุ่น โดยแกว่งเฉพาะส่วนที่สัมผัสกับมัทฉะ ไม่ต้องล้างน้ำทั้งอัน…