4 เหตุผลของการตีชาเขียวแล้วไม่เกิดฟอง
|

4 เหตุผลของการตีชาเขียวแล้วไม่เกิดฟอง

ปกติของการชงชาเขียวด้วยผงชาเขียวนั้น จะมีการใช้ฉะเซ็น หรือ ที่ตีฟองนมช่วยในการตีชาให้ละลายไปกับน้ำ บางครั้งตีผงชาด้วยอุปกรณ์และเทคนิคแบบเดิม กลับได้ผลลัพธ์ที่ไม่เหมือนเดิม ผงชาอาจจะไม่ละลาย ตีแล้วไม่ขึ้นฟองที่สวยงาม ทำให้เวลาถ่ายภาพเมนูอาหารไม่น่าทาน สาเหตุเกิดจากอะไรนั้น ลองมาสังเกตไปพร้อมๆกัน 1. ไม่ได้กรองชาเขียวก่อนตีโดยทั่วไปแล้วผงมัทฉะไม่จำเป็นต้องผ่านการร่อน แต่ถ้าต้องการให้เกิดฟองที่สวยงามในตอนตี ควรจะผ่านการร่อนสักรอบเหมือนก่อนที่เราจะนำแป้งมาใช้ทำขนม เพาะ ผงชา และแป้งพวกนี้เมื่อถูกเก็บอยู่ในภาชนะนานๆ อาจเกิดการจับตัวเป็นก้อนได้อีกครั้ง การร่อนก่อนที่จะตีจะช่วยให้คุณได้เครื่องดื่มชาเขียวที่นุ่มขึ้น และยังทำให้ได้ฟองเป็นชั้นๆสวยงาม 2.ปริมาณน้ำกับชาไม่ได้สัดส่วนกัน  หากใส่น้ำในปริมาณที่มากเกินไปฟองมัทฉะก็ทำได้ยาก และอาจจะได้ฟองอากาศขนาดใหญ่จำนวนมากซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการ เพราะการชงมัทฉะที่สวยงามน่าทานจะต้องเป็นฟองน้อยๆ หากใส่ผงมัทฉะในปริมาณที่มากเกินไปคุณจะได้ชาเขียวที่เข้มข้นมาก ๆ แต่มักจะเกิดกรณีที่เมื่อใช้ผงมัทฉะมากขึ้นเพื่อรสชาติที่เข้มขึ้น แต่ปริมาณของเหลว คือ น้ำ อยู่ในเรทเท่าเดิม ซึ่งไม่เพียงพอต่อการทำละลายของผงมัทฉะ จึงเป็นเรื่องยาก โดยปกติแล้วปริมาณความเข้มข้นของชาจะขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน แต่อัตราส่วนทั่วไปในการตีผงชามัทฉะคือ ไม้ไผ่ 2 ช้อน (หรือ 1 ช้อนชา) ต่อน้ำ 2-3 ออนซ์ หากต้องการปรับระดับความเข้นข้นเอง อย่าลืมที่จะเติมน้ำมากขึ้นตามระดับที่สามารถทำละลายผงชาได้ 3. อุณหภูมิของน้ำต่ำลงเกินไปหากน้ำเย็นเกินไปการพักมัทฉะในน้ำจะเป็นเรื่องยาก ซึ่งจะส่งผลให้มีการจับตัวเป็นก้อนมากกว่าฟอง อุณหภูมิของน้ำขึ้นไม่ได้มีสูตรบังคับตายตัว เพียงแต่มีคำแนะนำ เพื่อรสชาติที่ดีท่สุดเท่านั้นตามแบบฉบับของแต่ละร้านว่าควรใช้อุณหภูมิที่เท่าไหร่ ซึ่งแน่นอนว่า การใช้น้ำร้อนเกินไปก็ไม่ได้ทำให้การตีผงชาละลายได้ดีที่สุด…

เปิดกรุประวัติศาสตร์ ชาเขียวในไทย
|

เปิดกรุประวัติศาสตร์ ชาเขียวในไทย

การดื่มชาได้เริ่มขึ้นในประเทศจีน คาดว่าไม่น้อยกว่า 2,167 ปีก่อนคริสตกาล ตำนานการเริ่มต้นของการดื่มชามีหลายตำนาน บ้างก็กล่าวว่าจักรพรรดิเสินหนิงของจีน (Shen Nung) ค้นพบวิธีชงชาโดยบังเอิญ เมื่อพระองค์ทรงต้มน้ำดื่มใกล้ๆ กับต้นชา ขณะรอคอยให้น้ำเดือด กิ่งชาได้หล่นลงในหม้อชา สักพักหนึ่งกลิ่นหอมกรุ่นก็โชยออกมา เมื่อพระองค์เอากิ่งชาออกแล้วทรงดื่ม ก็พบว่า มันทำให้สดชื่น การดื่มชาจึงแพร่หลายมากขึ้นในเวลาต่อมา นอกจากทรงค้นพบสรรพคุณของชาแล้ว พระองค์ยังทรงค้นคว้าและทดสอบสมุนไพรชนิดต่างๆ กว่า 200 ชนิด จนได้มีการเผยแพร่ไปยังประเทศต่างๆ ทั้งญี่ปุ่น อินเดีย รวมถึงที่ไทยเอง ในสมัยสุโขทัยช่วงที่มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีน พบว่าได้มีการดื่มชากัน แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่านำเข้ามาอย่างไร และเมื่อใด แต่จากจดหมายของท่านลาลูแบร์ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้กล่าวไว้ว่า คนไทยได้รู้จักการดื่มน้ำชาแล้ว โดยนิยมชงชาเพื่อรับแขก การดื่มชาของคนไทยสมัยนั้นดื่มแบบชาจีนไม่ใส่น้ำตาล แต่บางตำราก็บอกว่าคนสมัยนั้นจะอมน้ำตาลกรวดใส่ปากก่อน แล้วจิบน้ำชาร้อนๆตาม ระหว่างนั้นเจ้าบ้านก็จะรินน้ำชาใส่ถ้วยให้เรื่อยๆ ถ้าแขกดื่มพอแล้วก็ให้คว่ำถ้วยชาลงเป็นการส่งสัญญาณว่าน้ำตาลในปากละลายหมดเกลี้ยง แต่น้ำชาร้อนก็ไม่ได้เป็นเครื่องดื่มที่นิยมกันทุกบ้านทุกครัวเรือน เพราะคนไทยชอบกินน้ำเย็นดับร้อนอย่างน้ำฝนมากกว่า น้ำชาร้อนจึงจัดเสิร์ฟเฉพาะในจวนข้าราชการหรือถวายพระเท่านั้น แต่ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดนักว่าเป็นชาสายพันธุ์ไหน แล้วมีปลูกที่ไทยหรือเป็นเพียงชาที่ทูตใช้ชงดื่มกันในราชสำนัก หลักฐานที่เห็นได้ชัดอีกประการ คือ ชาที่ปลูกในเมืองไทย เริ่มเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประภาสยุโรปเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกล่าอาณานิคมจากชาวยุโรป เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านได้เสด็จประพาสยุโรปโดยเฉพาะที่อังกฤษ ที่นั่นนิยมดื่มชาและ…

ทำความรู้จักใบชา สำหรับคั่วชาโฮจิฉะ
|

ทำความรู้จักใบชา สำหรับคั่วชาโฮจิฉะ

อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าชาโฮจิฉะ คือ ชาเขียวคั่วด้วยอุณหภูมิที่สูงจนมีกลิ่นหอม เป็นชาที่ทิ้งรสชาติและความหอมให้ยังคงหลงเหลือในปากหลังดื่ม จึงทำให้ชาชนิดนี้นิยมดื่มหลังอาหาร หรือระหว่างมื้ออาหาร ด้วยวิธีการคั่วนี้เองจึงทำให้สารคาเทชินซึ่งเป็นสารที่ทำให้มีรสฝาดและคาเฟอีนน้อยลง ชาประเภทนี้จึงอ่อนโยนต่อร่างกาย สามารถดื่มได้ทั้งเด็ก คนท้อง และผู้ใหญ่ทั่วไป และยังสามารถดื่มก่อนนอนได้อีกด้วยเพราะมีปริมาณคาเฟอีนในชาที่ต่ำมาก โดยใบชาที่นิยมนำมาคั่วเป็นโฮจิฉะมี 3 ชนิด ได้แก่ เซนฉะ (煎茶) บังฉะ (番茶) และคุคิฉะหรือชาที่ทำจากก้านชา (茎茶) แต่ละชนิดที่นำมาคั่วก็มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน หากใครอยากลองที่จะคั่วชาเขียวให้เป็นชาโฮจิฉะ มาทำความรู้จัก ชาทั้ง 3 ชนิดนี้ก่อนว่าแตกต่างกันยังไง เริ่มที่ เซนฉะ (煎茶) ชาเขียวที่ชาวญี่ปุ่นดื่มในชีวิตประจำวัน ไม่ต้องเลี้ยงในร่ม สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี เป็นชาที่ผลิตเยอะที่สุดในญี่ปุ่น เพราะ เก็บใบชาได้ปีละ 4 ครั้ง โดยเริ่มเก็บตั้งแต่ เดือนพฤษภาคมโดยเก็บยอดอ่อน 3 ใบแรก และใช้กรรไกรตัด เซนฉะจะถูกแบ่งเกรด 3 ระดับ คือ เกรดสูง เกรดกลาง และ เกรดธรรมดา หลังจากเก็บใบชาจะนำมาเป่าให้แห้ง และปั่นใบชาให้เป็นเกลียว และม้วนภายในระยะเวลาที่สั้นที่สุด เพื่อหยุดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของเอนไซม์…

ดื่มชาเขียวร้อนดีกว่าชาเขียวเย็นจริงมั้ย ?
|

ดื่มชาเขียวร้อนดีกว่าชาเขียวเย็นจริงมั้ย ?

ชาเขียว เครื่องดื่มที่อุดมด้วยคุณค่าทางสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย สามารถดื่มได้ทั้งแบบร้อนและแบบเย็น แต่ในทางกลับกันการดื่มชาเขียวอาจไม่ได้ช่วยให้เกิดประโยชน์อะไรต่อร่างกายเลยหากดื่มไม่ถูกวิธี ซึ่งที่ทุกคนทราบกันอย่างแน่ชัด คือ การดื่มน้ำชาไม่ว่าจะชาร้อนหรือชาแช่เย็น ไม่ควรแต่งรสด้วยน้ำตาล หรือ นมทุกชนิด ไม่ว่าจะนมสด นมข้นหรือนมผง เพราะโปรตีนในนมจะไปจับกับสารสำคัญในชา และทำลายประสิทธิภาพสารออกฤทธิ์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพ จึงควรดื่มน้ำชาล้วนๆไม่ปรุงแต่ง อย่างไรก็ตาม แม้จะดื่มชาเขียวเพียวๆ แต่ก็มีคนเข้าใจว่าการดื่มชาเขียวเย็นไม่เกิดประโยชน์แล้วกลับทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย เพราะชาเขียวเย็น ก่อให้เกิดการเกาะตัวแน่นของสารพิษที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง นอกจากนี้ชาเขียวเย็นยังส่งผลให้ไขมันในร่างกายก่อตัวมากขึ้นตามผนังหลอดเลือด และอุดตันตามผนังลำไส้ ทำให้เกิดโรคร้ายตามมา เช่น หลอดเลือดหัวใจอุดตัน มะเร็งลำไส้ เส้นเลือดตีบ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานการวิจัยยืนยันอย่างชัดเจนว่าชาเขียวเย็นส่งผลเสียแบบนั้นจริงมั้ย บางกระแสก็บอกว่า หากดื่มแบบเย็นที่มีน้ำแข็งผสม ความเย็นจากน้ำแข็งจะทำให้ประสิทธิภาพของชาเขียวเจือจางไปพร้อมน้ำแข็ง แทนที่จะได้รับประโยชน์แบบเต็มที่ก็ทำให้ได้รับคุณประโยชน์น้อยกว่า แต่สำหรับใครที่อยากดื่มชาเขียวแบบเย็นก็สามารถทำได้ เพียงให้ดื่มชาที่ชงด้วยตัวเองแล้วนำไปแช่เย็นไว้ แค่ไม่ใส่น้ำแข็งไปผสมเพิ่มก็พอ และเพื่อให้สารต้านอนุมูลอิสระจากในชาเขียวยังคงมีอยู่ ในทางกลับกัน มีสมมติฐานที่ยังคงเป็นที่ถกเกียงกันว่าการดื่มชาเขียวร้อนที่ว่ากันว่าช่วยยับยั้งการเกิดมะเร็งได้ เพราะยอดใบชาจะมีสารต้านอนุมูลอิสร แต่ก็ยังไม่ได้มีวิจัยที่ชัดเจน และบางคนก็เชื่อว่าการดื่มชาเขียวร้อน ยิ่งเสี่ยงมะเร็งหลอดอาหาร แม้จะยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน แต่คนเลิฟชาเขียวก็ควรดื่มชาในปริมาณที่พอเหมาะ และดื่มอย่างถูกวิธี เพื่อให้ได้คุณค่าทางสารอาหารมากที่สุด สำหรับผู้ที่นิยมดื่มน้ำชาร้อนๆ สารสำคัญที่เป็นประโยชน์ คือ คาเทคชินส์ (Catechins) จะถูกความร้อนทำลายไปเกือบหมด คงเหลือแต่ความหอมและรสชาติ ถ้าต้องการให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายแต่ยังนิยมชาร้อนๆ…

ตามเทรนด์ชีสเค้กสไตล์คนเลิฟมัทฉะ
|

ตามเทรนด์ชีสเค้กสไตล์คนเลิฟมัทฉะ

ช่วงนี้หันไปทางไหนก็จะเจอเมนูชีสเเค้กแทบจะทุกร้าน ไม่ว่าจะเป็น Baked Cheesecakeชีสเค้กแบบอบ เพื่อทำให้น้ำจากเนื้อเค้กระเหยออกบางส่วน เค้กมีรสชาติเข้มข้นและสีออกน้ำตาลไหม้ ส่วนหน้าเค้กจะยุบลงพอสมควร หรือจะเป็น นิวยอร์กชีสเค้กชีสเค้กที่อบพร้อมกับด้วยน้ำร้อน  เพื่อทำให้เนื้อเค้กยังคงความชุ่มฉ่ำหนานุ่ม และมีรสเปรี้ยวจากซาวน์ครีมที่โดนเด่น  ส่วนหน้าเค้กมีสีน้ำตาลอ่อนกำลังสวย หรือชชีสเค้กอีกแบบที่เนื้อฟูเบา แถมลายได้ในปาก ชีสเค้กสไตล์นี้ เรียกว่า ซูเฟลชีสเค้กชีสเค้กที่มีส่วนผสมของเมอแรงเนื้อฟูเบา  เมื่อนำไปอบพร้อมกับถ้วยน้ำร้อน  จะได้เนื้อเค้กฟูสวย  และมีสีเหลืองอ่อนคล้ายไข่ไก่  ดูน่ารับประทาน ไม่ว่าจะเป็นชีสเค้กแบบไหน Matcha Basque Cheesecake ( ใช้แม่พิมพ์ 15 cm. ) ชีสเค้กหน้าไหม้ที่นิยมมากที่สุดในช่วงนี้ แต่น้อยคนมากๆที่จะทำชีสเค้กหน้าไหม้เป็นรสชาเขียว รอบนี้เลยเอาสูตรชีสเค้กชาเขียวหน้าไหม้มาให้คนรักขนมได้เปิดเตาลองทำกันดู วัตถุดิบ ครีมชีส 200กรัม น้ำตาลทรายขาวหรือน้ำตาลอ้อย 70 กรัม ไข่แดง 1 ฟอง ไข่ทั้งลูก 2 ฟอง ครีมสด 115 มล. แป้งเค้ก 5 กรัม ผงชาเขียว 4 ช้อนชา วิธีทำ 1. นำครีมชีสกับน้ำตาลมาผสมกัน คลุกจนเป็นเนื้อเดียวกัน…

ขนาดของใบชามีผลต่อคุณภาพของชาหรือไม่?
|

ขนาดของใบชามีผลต่อคุณภาพของชาหรือไม่?

ใบชาที่เราเอามาชงดื่มกันทุกวันนี้ จริงๆแล้วมีหลายเกรดมากๆ ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการผลิตและเก็บเกี่ยวใบชาที่แตกต่างกัน และมีหลากหลายชนิดให้เราได้เลือก ดังนั้นเพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพของชา จึงมีการแบ่งเกรด ของใบชา โดยพิจารณาจากคุณภาพของใบชาที่ผลิตออกมาจากโรงงานหรือไร่ชาในแต่ละที่ การแบ่งเกรด แบ่งเป็น 3 เกรด ดังนี้ เกรดใบชาเต็มใบ (Whole Tea leaf)โดยทั่วไปชาเต็มใบถือว่าเป็นชาเกรดดี แบ่งได้ 4 เกรดย่อย คือ ใบอ่อน คือ ยอดใบอ่อนชั้นบนสุดของชาเต็มใบ ถือว่าเป็นชาที่ดีที่สุดใบชาคู่แรก  เป็นเกรดรองลงมา ขนาดของใบใหญ่ขึ้นมาหน่อยPekoeชาเกรดนี้ ใบจะมีลักษณะหนาและบิดเกลียว Pure Souchongมีลักษณะใบใหญ่ ค่อนข้างเหนียวและหยาบ เวลาผลิตเครื่องจักรจะปั้นใบชาเป็นก้อนกลมๆ เวลาชงก้อนชานี้จะขยายตัวออกให้เห็นลักษณะใบอย่างชัดเจน เกรดใบชาร่วง (Broken Tea Leaf) เป็นใบชาที่ไม่ผ่านการคัดเกรดตาม 4 ขั้นตอนแรก ผู้ผลิตก็จะนำใบชาที่เหลือมาผ่านกรรมวิธี หมัก คั่ว ตามกรรมวิธีของแต่ละโรงงาน เป็นชาที่เหลือจากการคัดเกรด โดยการนำเศษที่เหลือมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปปรุงแต่งเพื่อผลิตขั้นตอนต่อไป โดยคุณสมบัติของชาผง คือ เวลาชงด้วยน้ำร้อนจะขับสีออกเร็วมาก จึงเป็นที่นิยมของผู้ดื่มชา กลิ่น สี และรสชาติขึ้นอยู่กับผู้ผลิต ราคา จึงเหมาะสมสำหรับคนทั่วไป…

ความต่างของ”กาน้ำชา”
|

ความต่างของ”กาน้ำชา”

ชามีบทบาทในพิธีกรรมและกิจกรรมทางสังคมต่างๆ ในพิธีกรรมและกิจกรรมทางสังคมต่างๆ ในหลายวัฒนธรรม การชงชาไม่ได้ชงเพื่อรสชาติเท่านั้น แต่การชงชาได้เป็นการแสดงออกถึงศิลปะความงามอีกประเภทหนึ่ง จึงส่งผลให้การเลือกใช้กาชาของแต่ละคนอาจจะลืมนึกถึงประโยชน์ในการใช้งานไป เวลาเลือกกาน้ำชา บางคนเลือกเพียงจากความสวยงาม และใช้งานถนัดมือ แต่ความจริงแล้ว เราจำเป็นต้องคำนึงว่ากานั้นๆจะใช้ชงชาใบหรือชาซอง หรือใช้แค่ใส่น้ำร้อนเทลงถ้วยชาวังสำหรับตีผงมัทฉะ นอกจากวัตถุประสงค์ในการใช้แล้ว จะเห็นว่า กาน้ำชา สามารถทำได้จากวัสดุที่หลากหลายเช่นกัน ทั้ง หิน ดินเผา แก้ว เหล็กหล่อ เงิน และสเตนเลส วัสดุแต่ละประเภทมีผลต่อรสชาติของชาและก็เหมาะกับการชงชาแต่ละประเภทแตกต่างกันไป หากต้องการชงชาใบตะกร้ากรองชาที่มากับกาน้ำชาก็เป็นสิ่งที่สำคัญที่ต้องดูความถี่ของตะแกรงให้ดี ไม่เช่นนั้น อาจจะมีใบชาเล็ดลอดออกมาตอนเท ทำให้เสียรสชาติการดื่มชาได้ หากเป็นกาชา “เครื่องกระเบื้อง” เป็นเครื่องปั้นดินเผาสีขาวขุ่นคุณภาพดีที่ผ่านการเผาที่อุณหภูมิสูง กาน้ำชาเครื่องกระเบื้องใช้ได้ดีกับชารสอ่อน เช่น ชาเขียว ชาอู่หลง และชาดำอ่อนๆ ยอมชาดาร์จีลิง แต่ถ้าเป็น กาชา”เหล็กหล่อ”เหล็กหล่อถูกใช้เพื่อทำภาชนะสำหรับต้มน้ำด้วยกองไฟเพราะเหล็กจะร้อนได้เร็วและรักษาความร้อนไว้ได้ดีเมื่อมีอุณหภูมิตามที่ต้องการแล้ว การใช้กาน้ำชาแบบเหล็กมาหล่อต้มชาเกิดขึ้นในช่วงที่เซนฉะเริ่มได้รับความนิยมในญี่ปุ่น โดยกาน้ำชาเหล็กหล่อมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับกาน้ำชาดินเผาแบบไม่เคลือบ เพราะมันจะดูดซับรสชาติบางส่วนของชาไว้ดังนั้นจึงไม่ควรใช้น้ำยาล้างจานล้างกาน้ำชาเหล็กหล่อ และควรทำให้แห้งสนิทเพื่อป้องกันสนิม กาชาอีกประเภทที่เห็นทั่วไปคือ กาชา “แก้ว” วัสดุที่ไม่ค่อยจะเหมาะแก่การทำกาน้ำชาเพราะมันเก็บกักความร้อนได้น้อย เปื้อนง่าย และเปราะบาง เหมาะสำหรับการชงชาที่มีความสวยงามโดยเฉพาะชาดอกไม้บานเพราะเราจะเห็นใบชาที่กำลังคลี่ออกอย่างสวยงาม นอกจากนี้คุณยังรู้ด้วยว่าชาของคุณเข้มพอหรือยัง และกาน้ำชาแก้วมักจะมาพร้อมกับเตาอุ่นที่ให้ใส่เทียนเข้าไปด้านล่างเพื่อรักษาให้ชาอุ่น กาชา “ดินเหนียว”  ยิ่งอุณหภูมิที่สูงเท่าไหร่…

“ชาเขียว“ ของขวัญทุกเทศกาลของคนญี่ปุ่น
|

“ชาเขียว“ ของขวัญทุกเทศกาลของคนญี่ปุ่น

ชาวญี่ปุ่นมักจะมีของฝากเล็กๆน้อยๆถือติดไม้ติดมือมอบให้กันอยู่เรื่อยๆไม่ว่าจะเป็นโอกาไหนๆ เช่น หากต้องเดินทางไปต่างถิ่นหรือแม้กระทั่งทริปเล็กๆ โดยทั่วไปก็จะนิยมซื้อของฝาก หรือในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “โอมิยาเกะ”มาให้ โดยของฝากมีทั้งเป็นห่อคุกกี้น่ารักๆ ช็อกโกแลต ชาเขียว หรือของหวานญี่ปุ่นชนิดต่างๆ ไม่เพียงแค่การซื้อของฝากจากการไปท่องเที่ยว แต่การมอบของขวัญให้แก่กันทได้เป็นวัฒนธรรมที่ฝังรากลึกลงไปของคนญี่ปุ่น อย่างเช่น วันปีใหญ่ แต่งงาน คลอดบุตร ฯลฯ ซึ่ง”ชา”ถือว่าเป็นของขวัญที่นิยมมากๆเลยก็ว่าได้ การมอบชาเขียวให้กันนั้นก็จะแฝงความหมายที่แตกต่างตามวาระโอกาสที่ให้ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความยินดี การทักทาย หรือแสดงความขอบคุณ เพราะ”ชา”เป็นสิ่งที่ชาวญี่ปุ่นดื่มกันทุกวันอยู่แล้ว นอกจากจะดีต่อสุขภาพแล้ว ให้ความรู้สึกถึงความมีคุณภาพ มีราคา ยิ่งส่งมอบให้กันเป็นชุด gift set หรือ ห่อด้วยผ้าฟุโรชิกิด้วยแล้ว ยิ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กลายเป็นเซ็ตชาที่ถูกใจผู้รับแน่นอน อีกเหตุผลที่นิยมให้ชาเป็นของขวัญ เพราะนอกจากนั้นยังเก็บรักษาได้นาน และมีขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป ทานได้ทุกเพศทุกวัย ชายังแฝงความหมายที่ดีและเป็นมงคลที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ด้วย เช่น คำว่า ฉะเมียว (茶寿)ที่สะกดด้วยตัว茶ที่แปลว่า ชา อยู่ในคำนั้นด้วย ฉะเมียว ในความหมายคนญี่ปุ่น หมายถึง “การแสดงความยินดีฉลองอายุครบ 108 ปี” การมอบชาเป็นของขวัญจึงถือเป็นการอวยพรขอให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง อายุยืนยาว ในงานแต่งงานของคนญี่ปุ่นบางพื้นที่ ได้แก่ ภูมิภาคคิวชู รวมถึง…

ปรัชญาของคนญี่ปุ่นที่แฝงแนวคิด จาก ถ้วยชา
|

ปรัชญาของคนญี่ปุ่นที่แฝงแนวคิด จาก ถ้วยชา

เคยสังเกตมั้ยว่า ถ้วยชงชาญี่ปุ่น เมื่อเทียบกับของทางฝั่งยุุโรป จะมีลักษณะที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก ถ้วยชาญี่ปุ่น จะไม่เรียบ 100% ลักษณะส่วนมากเป็นถ้วยชาจากการปั้นด้วยมือ มีความขรุขระบ้าง ลวดลายสีสันที่ดูเป็นงานคราฟต์ บางใบดูดีๆจะเห็นว่าเป็นถ้วยที่แตกแล้ว แต่ถูกประสานด้วยทองจนเนียนเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของลวดลายถ้วยชานั้นๆ ซึ่งวิธีการทำแบบนี้เราเรียกว่า การทำคินสึงิ (Kintsugi)นั่นเอง คินสึงิ มีประวัติศาตร์อันยาวนาน ย้อนไปในศตวรรษที่ 15 โชกุนของญี่ปุ่นที่มีชื่อว่า อาชิกางะ โยชิมาสะ (Ashikaga Yoshimasa) ได้ส่งถ้วยชาที่เสียหายไปยังประเทศจีนเพื่อซ่อมแซม และมันก็ถูกส่งกลับมาในสภาพที่มีตัวเย็บเหล็กที่ไม่สวยงาม ทำให้โชกุนต้องคิดค้นหาวิธีที่ดีกว่าในการซ่อมแซมสิ่งที่พังไป ช่างฝีมือของเขาจึงมองหาวิธีอันงดงามในการประกบเครื่องปั้นดินเผาอีกครั้งด้วยการใช้ครั่งผสมทอง เทคนิคนี้เป็นการเชื่อมรอยต่ออันงดงามที่ถูกพูดถึงกันมากในประวัติศาสตร์ จึงเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว นักสะสมจำนวนมากรู้สึกชื่นชอบเทคนิคนี้มากถึงขั้นตั้งใจทุบเครื่องปั้นดินเผาอันมีค่า เพื่อที่จะได้ซ่อมแซมมันโดยใช้เทคนิคคินสึงิซึ่งแน่นอนว่าเครื่องปั้นเซรามิคมีความวิจิตรงดงามมากยิ่งขึ้นหลังจากการซ่อมแซมทุกครั้ง การซ่อมแซมภาชนะที่แตกบิ่นเสียหายด้วยวิธีคินสึงิแบบนี้ อีกนัยนะหนึ่งเกิดจากการที่ชาวญี่ปุ่นเชื่อกันว่า ถ้วยชามที่แตกบิ่นนั้นไม่ควรทิ้งขว้าง แต่ควรซ่อมมันด้วยรักทองเพื่อให้พวกมันกลับคืนมามีชีวิตอีกครั้ง เหมือนกับชีวิตของเราทุกคนนั้นล้วนหลีกหนีความเจ็บปวดทางใจไม่พ้น เช่น การสูญเสียผู้เป็นที่รักหรือสิ่งที่เป็นที่รัก เผชิญกับอาการเจ็บป่วยร้ายแรงหรืออุบัติเหตุที่ส่งผลต่อชีวิต แม้แต่ความเจ็บปวดที่ต่อเนื่องมาจากอดีต บาดแผลทางใจเหล่านี้ควรได้รับการเยียวยาและสมานให้กลับมาดีดังเดิม ดังนั้นปรัชญาคินสึงิจึงถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อซ่อมแซมบาดแผลทางใจที่หนักหนาและค้างคา เพื่อที่เราจะได้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากขึ้น เข้มแข็งมากขึ้น และเข้าใจผู้ที่ยังเจ็บปวดคนอื่นๆ มากขึ้นนั่นเอง ปรัชญาของคนญี่ปุ่นที่แฝงถึงแนวคิดที่ว่า ไม่มีชีวิตใดที่สมบูรณ์แบบอย่างหลักคินสึงิ คือ การทำให้ตัวเองเข้าใจถึงความแตกหัก เปราะบางภายในจิตใจของตัวเอง เป็นการสร้างความแข็งแกร่งจากภายในสู่ภายนอก ทำให้มีสภาวะจิตใจที่ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ เพราะการซ่อมแซมถ้วยที่แตกร้าวอย่างใส่ใจและเต็มไปด้วยความรักจะทำให้เราเข้าใจว่าเราควรยอมรับ,…

มาศึกษาต้นกำเนิด ผงชาเขียวมัทฉะ
|

มาศึกษาต้นกำเนิด ผงชาเขียวมัทฉะ

ว่ากันว่า ชาเขียวได้ถูกค้นพบโดยจักรพรรดิเสินหนงซึ่งเป็นบัณฑิตและนักสมุนไพรผู้รักความสะอาดเป็นอย่างมาก ดื่มเฉพาะน้ำต้มสุกเท่านั้น วันหนึ่งขณะที่เสินหนงกำลังพักผ่อนอยู่ใต้ต้นชาในป่า และกำลังต้มน้ำอยู่นั้น ปรากฏว่าลมได้โบกกิ่งไม้ เป็นเหตุให้ใบชาร่วงหล่นลงในน้ำซึ่งใกล้เดือดพอดี เมื่อเขาลองดื่มก็เกิดความรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาก ชาเขียวถูกพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ชาวบ้านก็เริ่มหันมาปลูกชาและพัฒนาต่อกันมาเรื่อยๆ มีทั้งการเติมเครื่องเทศน์ หรือดอกไม้ลงไป เพื่อให้มีกลิ่นและรสชาติที่แตกต่างมากยิ่งขึ้น ซึ่งชาที่ปลูกในจีนทั้งหมดเป็นชาเขียว กระบวนการผลิตชาจะเกิดจากการรวมใบชา นำมานึ่ง และอบแห้ง ซึ่งจะเก็บได้ไม่ดีนัก สูญเสียกลิ่นได้ง่าย และรสชาติไม่ดี ในช่วงศตวรรษที่ 17 มีการค้าขายกับชาวยุโรปการผลิตเพื่อจะรักษาคุณภาพชาให้นานขึ้น โดยการหมักแล้วก็จะนำไปอบ ซึ่งก็เป็นที่มาของชาอูหลง และชาดำ ในประเทศจีน การเข้ามาของชาในประเทศญี่ปุ่นนั้น เริ่มราวต้นสมัยเฮอัน ในสมัยนั้นจีนและญี่ปุ่นเริ่มมีการติดต่อทางด้านศาสนาพุทธและวัฒนธรรมกัน บ้างแล้ว นักบวชญี่ปุ่นได้เดินทางไปเป็นทูตเรียนรู้เรื่องต่างๆ จากประเทศจีนรวมทั้งการศึกษาตัวยาสมุนไพรจากจีนอีกด้วย ชาจีนจึงเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกๆ โดยพระสงฆ์นั่นเอง เริ่มจากนักบวชจากจังหวัดไอจิ ได้นำชาอัดแข็ง (ต้องฝนกับหินก่อนแล้วจึงใส่น้ำร้อนถึงจะดื่มได้) และเมล็ดชาจำนวนไม่มากเข้ามาที่ญี่ปุ่นก่อน เมื่อจักรพรรดิได้เข้ามาเยี่ยมพระที่วัด พระ จึงชงชาใส่ถ้วยนำมาถวาย เมื่อองค์จักรพรรดิได้ดื่มชาก็เกิดความประทับใจในรสชาติ จึงสั่งให้นำเมล็ดชาไปปลูกที่สวนสมุนไพรภายในบริเวณราชวัง ชาได้แพร่หลายไปในแถบภูมิภาคคิงคิ (เกียวโต) แต่ความนิยมยังคงมีอยู่แต่ในเฉพาะกลุ่มชนชั้นสูงเท่านั้น ต่อมาในช่วงตอนต้นสมัยคามาคุระ (Kamakura) นักบวชในพุทธศาสนาเซน ได้นำเมล็ดชามาจากจีนเป็นจำนวนมากพร้อมกับกรรมวิธีการผลิตชากลับมาด้วย วิธีการผลิตดังกล่าวนั่นก็คือ การนำใบชามาบดโดยครกหินที่ทำให้เกิดความร้อนน้อยที่สุด เพื่อรักษารสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ไว้…

ชา กับ กาแฟ เครื่องดื่มที่เป็นที่นิยม
|

ชา กับ กาแฟ เครื่องดื่มที่เป็นที่นิยม

ถ้าพูดถึงเครื่องดื่มที่เป็นที่นิยมทั่วโลก คงหนีไม่พ้น ชาและกาแฟเห็นได้จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่ให้ความนิยมเครื่องดื่ม 2 ชนิดนี้มากขึ้น ไม่ว่าจะไปที่ไหนๆ ก็มีร้านชา หรือกาแฟ เต็มไปหมด แน่นอนว่า ทั้งชาและกาแฟมีคาเฟอีนเหมือนกันทั้งคู่ ซึ่งหลังจากเราดื่มชาหรือกาแฟเข้าไปแล้วจะรู้สึกตื่นตัวด้วยฤทธิ์ของคาเฟอีน และรู้สึกว่ากระหายน้ำ เพราะร่างกายจะพยายามกำจัดคาเฟอีนที่สูงออกไปนั่นเอง หากเปรียบเทียบปริมาณคาเฟอีนระหว่างใน 1 แก้ว ระหว่างชากับกาแฟ กาแฟจะมีปริมาณคาเฟอีนอยู่ที่ 90-170 มิลลิกรัม ส่วนชาจะมีคาเฟอีนอยู่ที่ 25-70 มิลลิกรัม จะเห็นได้ว่าปริมาณในชาพบได้น้อยกว่ามาก ดังนั้นคนที่มองหาตัวเลือกเพื่อสุขภาพ ก็อาจจะเลือกชาเป็นตัวเลือกแรก ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าชา หรือกาแฟอันไหนดีกว่ากัน แต่ตามหลักความเป็นจริงแล้ว ทั้ง 2 ชนิดมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะการดื่มของแต่ละคนด้วย หากดื่มในสัดส่วนที่พอดี จะให้ประโยชน์ต่อร่างกาย แต่หากดื่มในปริมาณมากๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น มะเร็งหลอดอาหารที่มาจากการดื่มชา โรคกระดูกพรุนจากการดื่มกาแฟ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ชาและกาแฟก็มีประโยชน์ต่อร่างกายในด้านอื่นๆเช่นกัน เช่น เมื่อคุณมีอาการหนาว สิ่งที่ควรดื่มคือกาแฟเพราะหลังจากดื่มเพียงแค่ 10 นาที คาเฟอีนในกาแฟจะทำให้มีการเต้นของหัวใจและความดันเลือดที่ดีขึ้น และสิ่งที่ผสมลงไปในกาแฟ เช่น พวกนม น้ำตาล…

กลิ่นหอมที่แตกต่างของ “เก็นไมฉะ”
|

กลิ่นหอมที่แตกต่างของ “เก็นไมฉะ”

ถ้าพูดถึงชาเขียวของญี่ปุ่น หลายคนคงนึกถึง “มัทฉะ” เป็นชื่อแรก เพราะ “มัทฉะ” เป็นชาเขียวชั้นดีที่นิยมใช้ในพิธีชงชาของชนชั้นสูงในญี่ปุ่น ด้วยกรรมวิธีการบดยอดอ่อนใบชาอย่างพิถีพิถัน จนได้รสชาติที่กลมกล่อม ส่วนชาเขียวอีกประเภทหนึ่งที่คนทั่วโลกนิยมดื่มกันมากที่สุด ด้วยรสชาติที่สดชื่น ดื่มง่ายอย่าง “เซนฉะ” แต่มีชาเขียวอีกหนึ่งประเภทที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยกลิ่นหอมที่แตกต่างจากชาประเภทอื่นของ “เก็นไมฉะ” เก็นไมฉะ ( 玄米茶: Genmaicha)  เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอยู่น้อยมาก ถือว่าน้อยกว่าชาเขียวประเภทอื่นๆเลยก็ว่าได้ จึงสามารถดื่มได้ทุกที่ทุกเวลา และทุกเพศทุกวัย แถมราคายังไม่แพงชงง่าย เก็นไมฉะ แตกต่างจากชาเขียวประเภทอื่นที่เห็นได้ชัดอีกประการ คือ กลิ่นหอมที่เกิดจากการเบลนด์ชาร่วมกับข้าวคั่วนั่นเองเห็นได้จากสีของใบชาที่ไม่ได้มีสีน้ำตาลเหมือนสีข้าวคั่ว 100% และก็ไม่ได้เขียวมากเหมือนสีของใบชาเขียวปกติ แต่จะเป็นสีเหลืองทอง ที่เกิดจากข้าวคั่วที่นำมาผสมผสานกันในเก็นไมฉะ ข้าวที่ต้องคัดสรรสายพันธุ์ดีงามของญี่ปุ่น ผ่านกรรมวิธีการคั่วด้วยอุณหภูมิที่เหมาะสม แล้วมาตากแห้งและอบเข้ากับใบชา ในอัตราส่วน 1 : 1  ผสมผสานกันออกมาเป็นชากลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์หาไม่ได้จากชาเขียวประเภทอื่น รสชาติที่ฝาดกำลังดี หวานน้อย การดื่มเก็นไมฉะคู่กับเมนูอื่นๆ ก็นับเป็นตัวเลือกที่เข้ากันได้ดีทีเดียว รสชาติที่ดีของเกนไมฉะ ส่วนนึงมาจากคุณภาพของข้าว มากกว่าคุณภาพของใบชา การนำข้าวกล้องไปคั่วต้องระวังอย่าให้แตก เหมือนกับป็อบคอร์น เรียกว่า “ข้าวตอก” เพราะถ้าแตกมากคุณภาพความอร่อยของชาขะลดลงเมื่อนำไปผสมกับชาเขียว ส่วนคุณค่าทางสารอาหารก็มีเยอะไม่แพ้ชาเขียวประเภทอื่นๆ ไล่มาตั้งแต่เก็นไมฉะมีสารต้านอนุมูลอิสระ…