ซะโด พิธีชงชาที่แฝงปรัชญาการใช้ชีวิต
|

ซะโด พิธีชงชาที่แฝงปรัชญาการใช้ชีวิต

พิธีชงชาญี่ปุ่นเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างของประเทศญี่ปุ่นว่าด้วยการใช้เวลาอย่างสุนทรีย์ ซะโดมีลักษณะที่เป็นแบบแผน ได้พัฒนาภายใต้อิทธิพลของพุทธศาสนานิกายเซ็น จุดประสงค์ของพิธีนี้ คือ เพื่อทำวิญญาณให้บริสุทธิ์โดยการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ ใช้แนวคิด ความงามในความเรียบง่ายและความสงบ อย่างอุปกรณ์ชงชาอย่างกาต้มน้ำ ถ้วยชา เป็นสิ่งเรียบง่าย นอกจากนี้เพื่อที่จะค้นหาความงามในความไม่สมบูรณ์ ของถ้วยชามที่ขรุขระ การชงชาแบบญี่ปุ่นจึงเป็นพิธีกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ทรงคุณค่าฝั่งรากลึกมานาน ซะโดยังมีบทบาทสำคัญในด้านศิลปะของชาวญี่ปุ่น เกี่ยวข้องกับการชื่นชมห้องที่ประกอบพิธี ส่วนที่ติดอยู่ในห้องนั้น เครื่องใช้ในการชงชา เครื่องประดับบริเวณพิธี เช่น ภาพแขวนหรือการจัดดอกไม้ สถาปัตยกรรมญี่ปุ่น การจัดสวน เครื่องปั้นดินเผาเซรามิก สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้รับอิทธิพลมาจากพิธีชงชา และความเป็นพิธีการที่ถือปฏิบัติในพิธีชงชาได้มีอิทธิพลต่อการพัฒนามารยาทของชาวญี่ปุ่นในลักษณะที่เป็นพื้นฐาน พระ Rikyu ถือเป็นอาจารย์แห่งพิธีชงชา ได้ทำให้ผู้คนรอบข้างประหลาดใจ ด้วยการเสนอไอเดียใหม่เกี่ยวกับการเลือกใช้ชามในพิธีชงชาที่เรียกว่า “koma”หรือความมืด ใช้ถ้วยชงชาสีดำอันเป็นงานฝีมือของช่างชาวญี่ปุ่น แทนที่จะใช้ภาชนะที่นำเข้าจากจีน เพื่อสื่อให้เห็นถึงความเรียบง่ายอันเป็นหัวใจของ“wabi-cha” วิถีแห่งความสงบเรียบง่ายแห่งชา หลายคนอาจจะพอรู้ขั้นตอนพิธีการดื่มชาญี่ปุ่นอยู่แล้ว จะรู้สึกว่าเป็นพิธีที่ยุ่งยาก ขั้นตอนเยอะ ไหนจะต้องหมุนชาม ไหนจะต้องโค้งคำนับ แต่ถ้าใครมีโอกาสได้ภาพยนตร์ญี่ปุ่นเมื่อสิ้นปีที่ผ่านมาเรื่อง Every Day a Good Day หัวใจ ใบชา ความรัก จะได้ซึมซับถึงเสน่ห์ของศิลปะการชงชา และเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าการชงชาเป็นเรื่องที่ไม่รีบร้อนและต้องใช้เวลาในการเข้าใจถึงแก่นแท้มีความเกี่ยวข้องผสานเข้ามาอยู่รวมกันกับอิคิไกความหมายของการมีชีวิตอยู่ เป็นนัยยะว่า…

กว่าจะเป็นผงชามัทฉะ
|

กว่าจะเป็นผงชามัทฉะ

ชาเขียว กับมัทฉะ เป็นเครื่องดื่มที่นิยมของชาวญี่ปุ่น ผลิตจากใบชาจากแหล่งปลูกในญี่ปุ่นที่เหมือนกัน ความเหมือนที่แตกต่างของ “มัทฉะ” และ “ชาเขียว ที่ชัดเจนที่สุด คือ ลักษณะของการใช้ เพราะมัทฉะจะมาในรูปแบบผงละเอียด ในขณะที่ชาเขียวโดยปกติจะมาในรูปแบบของใบชาแห้ง เวลากิน ชงกับน้ำร้อนกินแต่น้ำชา ส่วนใบชากรองออก ส่วนชาเขียวที่เราเรียกมัทฉะ มีลักษณะเป็นผงชาเขียวที่นำใบชามาบดจนละเอียด เวลากินนำผงชาไปผสมกับน้ำร้อน คนให้เข้ากันแล้วดื่มได้ทั้งหมด ไม่ต้องกรองส่วนใดออก ซึ่งกรรมวิธีการแปรรูปจากใบชาเขียว มาเป็นผงมัทฉะต้องอาศัยความละเอียดอ่อนพอสมควร ชาเขียวญี่ปุ่นแท้ เป็นชาที่ไม่ผ่านกระบวนการหมัก เสร็จแล้วนำไปนวดเพื่อให้ใบชาม้วนตัว จากนั้นนำไปอบแห้ง สีของน้ำชาจึงมีสีเขียว ต้นชาที่จะนำมาผลิตเป็นมัทฉะ จะมีการปลูกและดูแลที่ซับซ้อนกว่าชารูปแบบอื่น ช่วงที่ใบชาแตกยอด ก่อนเก็บเกี่ยวต้องคลุมป้องกันไม่ให้ชาได้รับแสดงแดดโดยตรง เพื่อหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดโดยตรง เป็นการลดการสังเคราะห์แสงชะลอการเจริญเติบโตของใบชา เพื่อกระตุ้นการผลิตคลอโรฟิลและกรดอะมิโนใบชาจึงมีสีเขียวเข้ม เหมาะกับการนำไปทำมัทฉะ โดยนำใบชามาบดโดยครกหินที่ทำให้เกิดความร้อนน้อยที่สุด เพื่อรักษารสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ไว้ บดจนออกมาป็นผงละเอียดเหมือนแป้ง ใช้เวลานาน กว่าจะได้ผงชาออกมาจำนวนหนึ่ง ทำให้มัทฉะมีราคาสูงกว่าชาเขียวชนิดอื่นๆ ในสมัยก่อนมัทฉะจึงเป็นชาที่ถูกนำไปใช้ในพิธีชงชาของประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันนิยมนำผงมัทฉะมาชงเครื่องดื่ม ร้อน เย็น ทำขนม หรือไอศกรีม เพราะมัทฉะมีสีเขียวสดสวย อีกทั้งยังมีคุณค่าทางอาหารจากใบชาทั้งใบอีกด้วย ทำให้มัทฉะเป็นที่ได้รับความสนใจจากกลุ่มคนรักสุขภาพมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ชาเขียวสามารถใช้ชงเครื่องดื่ม ร้อน เย็นได้ แต่ไม่เหมาะที่จะไปทำขนม ประโยชน์ของชาเขียว…

ชาชนิดเดียวกัน ทำไมรสชาติถึงแตกต่างกัน?
| |

ชาชนิดเดียวกัน ทำไมรสชาติถึงแตกต่างกัน?

การปลูกชาเขียว แต่ละไร่ แต่ละที่ก็มีวิธีการเคล็ดลับที่แตกต่างกันออกไป ส่งผลให้รสชาติชาแต่ละที่ไม่เหมือนกัน แต่จริงๆปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อรสชาติ คือ อากาศ ดิน และคนปลูกถ้าปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งมีความต่างกัน กระบวนการผลิต และรสชาติย่อมออกมาแตกต่างกัน แม้ชาที่ใช้ปลูกจะเป็นสายพันธุ์เดียวกันก็ตาม ที่มา http://blog.davidstea.com/en/get-to-know-loose-leaf-tea/ ปัจจัยแรกที่ส่งผลต่อรสชาติชาเป็นอย่างมาก คือ  ดิน เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ชาแต่ละที่มีคุณภาพแตกต่างกับอีกที่ ซึ่งนอกจากดินตามธรรมชาติของแหล่งปลูกแต่ละแหล่งจะมีผลแล้ว  การคัดเลือกดิน รวมถึงการใส่ปุ๋ยแต่ละไร่ชาก็จะมีสูตรพิเศษของตนเองที่ทำให้ชารสชาติออกมาตามที่ต้องการแตกต่างกันสภาพเนื้อดินบนที่สูงจะมีแดงเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเกิดจากการซะล้างและบางพื้นที่เกิดจากการสลายตัวของภูเขาหินปูน ทั้งนี้ดินที่เหมาะสมสำหรับการปลูกชามีค่าความเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง 4.5-5.5 ซึ่งมีสภาพเป็นกรดเล็กน้อย ปัจจัยต่อมา คือ อากาศ  ชาเขียว จำเป็นต้องปลูกในทั้งอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม ควรเป็นพื้นที่มีหมอก ที่เกิดจากอุณหภูมิที่มีความแตกต่างกันสูง ในตอนกลางวันและกลางคืน ถึงแม้ว่าชาสามารถทนอุณหภูมิต่ำได้ดี แต่ก็ไม่ควรให้เกล็ดน้ำแข็งเกาะใบชา จะทำให้ใบชาเสียคุณภาพ จึงจะสังเกตได้ว่าในญี่ปุ่นจะมีพัดลมเป่าความร้อนขนาดใหญ่เกือบทุกไร่ชา เพื่อเป่าไม่ให้เกล็ดน้ำแข็งเกาะใบชาในฤดูหนาวนั้นเอง ซึ่งคุณภาพของใบชาโดยเฉพาะด้านกลิ่นและรสชาติส่วนนึงจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ฉะนั้นจึงมีความเกี่ยวข้องกับสภาพพื้นที่ปลูกอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้พื้นที่ที่มีความสูงมากจะมีอากาศหนาวเย็นและอุณหภูมิคงที่เกือบตลอดทั้งปี จะส่งผลให้ผลผลิตใบชาสดมีคุณภาพแต่จะให้ผลผลิตต่ำ ซึ่งตรงข้ามกับพื้นที่ต่ำ อุณหภูมิสูง จะให้ผลผลิตสูงแต่คุณภาพต่ำ ที่มา http://chaehbae.tumblr.com/post/90942615222/tea-fields-zhejiang-china-awesome-amazing ปัจจัยต่อมาที่สำคัญไม่แพ้กัน คน คือ หัวใจของกระบวนการทั้งหมด ที่นอกจากจะต้องใช้ผู้มีประสบการณ์สูงในแต่ละขั้นตอนแล้ว ยังต้องใช้ความเอาใจใส่ ความละเอียดรอบคอบในการดูแลชาเพื่อให้ได้มาตรฐานที่ควรจะเป็น ที่มา http://www.trekearth.com/gallery/Asia/Indonesia/Java/Jawa_Barat/Ciwalini/photo633381.htm…

ชาเขียว ที่สีไม่เขียว
| |

ชาเขียว ที่สีไม่เขียว

หลายคนจะเข้าใขว่าชาเขียวจะต้องมีแต่สีเขียวเท่านั้น ถ้าเป็นชาสีอื่นก็จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้วชาเขียวยังมีสีอื่น ที่ไม่ใช่สีเขียว แต่มีต้นกำเนิดจากชาเขียวเหมือนกัน เพียงแต่ต่างกันที่กระบวนการผลิต เวลาในการเก็บใบชา กระบวนการคั่วชา ทำให้ชาเขียวที่ปกติสีเขียว หรือที่เราคุ้นในชื่อของ “มัทฉะ”ที่มักนิยมใช้ผงชามัทฉะในการชงเครื่องดื่มเป็นมัทฉะลาเต้ หรือนำไปทำขนมต่างๆที่ให้ให้สีเขียวเป็นหลัก แต่เมื่อผ่านกระบวนกรรมวิธีการผลิต จะกลายเป็นสีน้ำตาลได้ ชื่อที่เรียกกันอย่างคุ้นหู คือ ชาโฮจิฉะ นั้นเอง ปกติแล้วชาเขียวมัทฉะ มาจากชาเทนฉะที่ถูกเลี้ยงในที่ร่มเหมือนชาเกียวคุโระก่อนจะนำไปบดเป็นผงด้วยหินอย่างพิถีพิถัน มักจะใช้ในพิธีชงชา มีหลายเกรด เช่น สำหรับทำขนม เครื่องดื่ม ชงในงานพิธีการ เป็นต้น สามารถสังเกตได้จากสีของมัทฉะ ยิ่งมัทฉะสีเข้มเท่าไหร่ คุณภาพก็ยิ่งดี หากดื่มมัทฉะ 1 ถ้วย จะได้รับสารอาหารเท่ากับดื่มชาเขียวประเภทอื่น 10-15 แก้วเลยทีเดียว       ที่มา https://www.takaski.com/product/ochaski-kyoma-kyoto-organic-matcha-made-japan/ ส่วนชาเขียวที่สีไม่เขียว….ชาโฮจิฉะ  คือใบชาที่เก็บเกี่ยวในช่วงสุดท้าย เป็นใบชาที่โตแล้ว ไม่ใช่ใบชาอ่อน จึงมีขนาดใบชาที่ใหญ่ และนับว่ามีคุณภาพรองลงมาจากชาเขียวเซนฉะ แต่โฮจิฉะมีความพิเศษ คือ ชาที่ผ่านการคั่วทำให้ชามีสีน้ำตาลอมแดง กลิ่นหอม ได้รสชาติที่เข้มข้มรสชาเขียวแท้ๆ ได้กลิ่นหอมให้ชวนดื่มมากกว่ามัทฉะ รสชาติมักจะถูกเปรียบเทียบกับคาราเมล ชาร์โคล หรือถั่วคั่ว…

วิธีแก้ปัญหามัทฉะเป็นก้อนไม่ละลาย
|

วิธีแก้ปัญหามัทฉะเป็นก้อนไม่ละลาย

ปัญหาหนึ่งที่มักเกิดขึ้นและเป็นเรื่องที่นักดื่ม (ชา) หลายคนติเตียนก็คือก้อนมัทฉะผงๆ ที่ไม่ละลายน้ำที่เจอตอนดื่ม ปัญหานี้อยู่ที่คนชงล้วนๆ ครับ ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจว่ามัทฉะไม่เหมือนนมผง เหมือนโกโก้ ความจริงแล้วมันไม่ใช่สิ่งที่ละลายน้ำได้ เพราะมันคือใบชาที่นำมาบด และใบไม้นั้นไม่ละลายน้ำโดยเด็ดขาด เชื่อว่าหลายท่านคงมีวิธีแก้ปัญหากันอยู่แล้วแต่ครั้งนี้ผมอยากแบ่งปันวิธีแก้ปัญหาที่ผมมีให้ทุกคนครับ เอาไปร่อน เรียกได้ว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดก็ว่าได้ มัทฉะที่ปกติจะจับตัวกัน หากเอาไปร่อนเหมือนแป้งจะละเอียดขึ้น ทำให้ผสมน้ำได้ง่ายดาย แถมสัมผัสน้ำชาเวลาดื่มยังนุ่มละมุนกว่าอย่างไม่น่าเชื่อด้วย เสียอย่างเดียวคือวิธีนี้เป็นขั้นตอนที่อาจเสียเวลามาก และพิถีพิถันเกินไปในยามที่เร่งรีบ คนกันน้ำน้อยๆ ให้เข้ากันก่อน ถ้าขี้เกียจร่อนมัทฉะ เราอาจแก้ไขได้ด้วยการใส่น้ำทีละน้อย ค่อยๆ ใส่มัทฉะทีละนิด นึกถึงตอนทำแพนเค้กดูสิครับ ถ้าเราใส่ทุกอย่างไปพรวดเดียวแล้วผสม แป้งจะเป็นก้อนๆ ต้องเสียแรงมากทีเดียวกว่าจะเข้ากันได้ มัทฉะก็เหมือนกันครับ หากใครรู้วิธีชงมัทฉะชนิดข้น (โอะโคอิฉะ) จะใช้วิธีเดียวกันก็ได้ครับ ตักผงชาใส่ถ้วย เติมน้ำร้อนก่อนนิดเดียว ใช้แปรงกวาดซ้ายกวาดขวา นวดๆ ให้เข้ากัน ก็จะได้สสารคล้ายโคลนสีเขียวสดแบบในรูปครับ หลังจากนั้นค่อยเติมน้ำที่เหลือลงไป ใช้กระปุกมัทฉะที่มีฝาแบบร่อนได้ อุปกรณ์นี้ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหานี้อย่างสะดวกรวดเร็วโดยแท้จริง มันก็เหมือนกระปุกเกลือพริกไทยบนโต๊ะอาหารนี่แหละครับ แต่ยังมีปัญหาอีกคือ มัทฉะที่โดนความชื้นไประยะหนึ่งและจับตัวเป็นก้อนจะลงมาด้วยแรงเขย่ายากมาก มัทฉะที่ไม่ได้แกะใหม่สุดท้ายก็ต้องใช้วิธี 1 หรือ 2 อยู่ดีครับ เขย่าด้วยกระบอกเชค เป็นวิธีที่อาจจะง่ายที่สุดในการทำเครื่องดื่มมัทฉะ โดยเฉพาะเมื่อเขย่าผสมกับนมจะได้ฟองปริมาณมาก แถมยังละเอียดสุดๆ…

พูดถึงมัทฉะ ทำไมต้องเป็นอุจิมัทฉะ
|

พูดถึงมัทฉะ ทำไมต้องเป็นอุจิมัทฉะ

ในญี่ปุ่น สินค้าที่เรียงรายในซุปเปอร์มาเก็ต ขนมในร้านขนมต่างๆ ที่ใช้มัทฉะเป็นส่วนผสม ไม่ว่าที่ไหนต่างก็พยายามโฆษณาว่าใช้อุจิมัทฉะทั้งนั้น หมู่นี้ในไทยเองก็คงเริ่มคุ้นเคยกับชื่อ “อุจิ” บ้างแล้ว สงสัยกันบ้างไหมครับ ว่าทำไมถึงต้องเป็นอุจิมัทฉะ ไม่ใช่มัทฉะที่อื่น   นิยามของอุจิมัทฉะ “อุจิ” คือชื่อเมืองหนึ่งในจังหวัดเกียวโต รากฐานของวัฒนธรรมญี่ปุ่นตั้งอยู่ที่นี่มากว่าพันปี เห็นได้จากมรดกโลกอย่างวัดเบียวโดอิน รวมถึงเป็นแหล่งของผู้ผลิตชาในญี่ปุ่นด้วย เมื่อคริสตศตวรรษที่ 12 สมัยราชวงศ์ซ่งของจีน ตอนที่พระภิกษุเอไซนำชาและโม่บดจากจีนมายังญี่ปุ่นครั้งแรก ก็นำมายังเกียวโต กล่าวได้ว่าชาชนิดแรกที่ดื่มกันในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นก็คือมัทฉะนี้เอง ขณะที่จีนได้เลิกวิธีดื่มโบราณนี้และกลายมาเป็นวิธีสกัดร้อน เอาน้ำชาออกจากใบชาอย่างปัจจุบัน แต่ว่า ความจริงแล้ว ชาอุจิในปัจจุบันไม่ได้ปลูกในเมืองอุจิอย่างเดียวหรอกนะครับ สำนักงานกิจการชาจังหวัดเกียวโตให้นิยามชาอุจิไว้ว่า เป็นชาที่ปลูกใน 4 จังหวัดที่มีพัฒนาการมาแล้ว โดยพิจารณาแล้วถึงด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ และสภาพอากาศ อันได้แก่จังหวัดเกียวโต นาระ ชิกะ และมิเอะ ซึ่งทำการแปรรูปชาโดยกิจการชาในจังหวัดเกียวโต ที่จังหวัดเกียวโต นอกจากนี้การขึ้นทะเบียนสินค้าอุจิมัทฉะยังให้นิยามเพิ่มไว้อีกว่า มัทฉะคือชาที่แปรรูปขั้นสุดท้ายจากชาซึ่งผลิตในสี่จังหวัดดังกล่าวภายในจังหวัดเกียวโตด้วยวิธีการอันกำเนิดมาจากอุจิ อีกด้วย ด้วยเหตุนี้ชาอุจิที่ได้รับการนับถือว่าคุณภาพยอดเยี่ยมแท้จริงแล้วอาจประกอบไปด้วยชาจากสี่จังหวัดซึ่งอยู่ติดๆ กันข้างต้น แต่ยังคงความเป็นอุจิไว้ด้วยวิธีการผลิตนั้นเอง   ปริมาณการปลูกมัทฉะอันดับหนึ่งในญี่ปุ่น ในปี 2018 ประเทศญี่ปุ่นผลิตเท็นฉะ (คำเรียกใบชาที่จะนำมาทำมัทฉะ)…

สารอาหารในมัทฉะและปริมาณมัทฉะที่ดีต่อสุขภาพ
|

สารอาหารในมัทฉะและปริมาณมัทฉะที่ดีต่อสุขภาพ

ก่อนที่จะเฉลยเรามาดูกันผ่านๆ ดีกว่าว่ามัทฉะมีสารอาหารอะไรอยู่บ้าง มัทฉะปริมาณ 100 กรัมมีสารอาหารดังต่อไปนี้ “พลังงาน 324 kcal, น้ำ 5 กรัม, โปรตีน 29.6 กรัม, โปรตีนจากกรดอะมิโน 22.6 กรัม, ไขมัน 5.3 กรัม, 0.68 กรัม, ไตรกลีเซอไรด์ 3.3 กรัม, กรดไขมันอิ่มตัว 0.68 กรัม, กรดไขมันไม่อิ่มตัวพันธะคู่เดี่ยว 0.34 กรัม, กรดไขมันไม่อิ่มตัวพันธะคู่หลายคู่ 2.16 กรัม, คอเรสเตอรอล 0 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 39.5 กรัม, คาร์โบไฮเดรตที่นำไปใช้ได้ 1.6 กรัม, ไฟเบอร์ที่ละลายได้ในน้ำ 6.6 กรัม, ไฟเบอร์ที่ไม่ละลายในน้ำ 31.9 กรัม, ปริมาณไฟเบอร์ทั้งหมด 38.5 กรัม, ปริมาณเถ้า (ส่วนของสารอนินทรีย์ในอาหาร) 7.4…

เรื่องเล็กๆ ที่ทำให้รสชาติชาไม่คงที่
|

เรื่องเล็กๆ ที่ทำให้รสชาติชาไม่คงที่

ไปร้านขายชากาแฟทีไร ผมก็อดไม่ได้ที่จะสั่งมัทฉะนม เดินผ่านทีไรเป็นต้องได้มาสักแก้ว พอกินบ่อยเข้าก็เริ่มสังเกตว่ากลิ่นรสชามันขึ้นๆ ลงๆ เดี๋ยวหอมบ้าง เดี๋ยวฝาดบ้าง แต่ก็ไม่ใช่ชาคนละตัวเสียทีเดียว คุณคิดว่ามันเกิดจากอะไร? แน่นอนว่าพนักงานที่ชงก็มีส่วน ถ้าไม่วัดให้ดี ประมาณความร้อนให้แม่น รสชาติก็คงไม่เหมือนกัน ทำไมล่ะ? มัทฉะอยู่ตรงห้องไหน? เราไปหามัทฉะกันก่อน มัทฉะของคุณอยู่ที่ไหนกันบ้างครับ? ห้องนอนสุดฮิตที่หนึ่งอาจเป็นห้องครัว จะทำอาหารก็ดี ชงชาก็สะดวกใช่ไหมครับ? แท้จริงแล้วห้องนี้เป็นห้องต้องห้ามไม่ว่าสำหรับชาใดๆ เลยทีเดียว เพราะนอกจากห้องครัวจะร้อนจากเตาไฟแล้ว ยังมีทั้งกลิ่น ทั้งควัน ที่กลิ่นอาจมาติดชาได้ง่ายๆ นอกจากนี้ยังมีความชื้นสูงอีกด้วย ความร้อนกับความชื้นทำให้อายุสั้นลง สีซีด ชาจะเสื่อมคุณภาพอย่างรวดเร็วในห้องครัว บางคนที่ทำร้านขายเครื่องดื่มอาจวางไว้ตรงเคาน์เตอร์เลย หยิบง่ายสะดวกดีใช่ไหมครับ? หากใช้มัทฉะได้หมดในเวลาสั้นๆ การเอาไว้ตรงนี้ก็ไม่มีปัญหาครับ แต่ถ้ามีมัทฉะค้างสต๊อกมากแนะนำให้เก็บในตู้เย็นดีกว่าครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเคาน์เตอร์นั้นอยู่ใกล้ประตูหรือหน้าต่าง ทั้งฝนตก แดดออก ล้วนกระทบทั้งสิ้น พอถึงตรงนี้ตู้เย็นคงเป็นคำตอบของคนหลายคน บางคนถึงกับไว้ช่องแข็งเลย เป็นความจริงที่ตู้เย็นช่วยยืดอายุมัทฉะได้นานกว่าอยู่ข้างนอกมาก แต่การใช้ตู้เย็นมีข้อควรระวังอยู่ 2 อย่าง 1. ตู้เย็นที่เหม็นจนกลิ่นติดชาไปด้วย 2. ความชื้นที่มาเกาะตอนเอาออกจากตู้เย็น ทำให้เสื่อมคุณภาพเร็วยิ่งกว่าวางไว้ข้างนอกเสียอีก วิธีแก้ไขคือ ใส่ถุงซิปล็อกอีกทีให้แน่นหนา และวางทิ้งไว้ให้หายเย็นก่อนจะนำมาใช้ สักครึ่งวันคงหายห่วง เอาอะไรเก็บมัทฉะ?…