ข้อควรระวังในการดื่มชา ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้
หลายคนคงทราบกันอยู่แล้วว่า การดื่มชามีประโยชน์มากมาย แต่น้อยคนนักจะรู้ว่าการดื่มชามากจนเกินไปจะมีผลเสียต่อร่างกายไม่น้อยเลยทีเดียว
หลายคนคงทราบกันอยู่แล้วว่า การดื่มชามีประโยชน์มากมาย แต่น้อยคนนักจะรู้ว่าการดื่มชามากจนเกินไปจะมีผลเสียต่อร่างกายไม่น้อยเลยทีเดียว
เครื่องดื่มแก้วนี้…เหมาะกับน้ำแข็งชนิดไหน?? น้ำแข็งต่างชนิด ต่างรูปร่าง ก็มีความเหมาะสมกับเครื่องดื่มแต่ละแก้วที่แตกต่างกันไป
มาดู 5 เทคนิคการเสิร์ฟเมนูชาเขียวให้ดูญี่ปุ่นมากขึ้น ช่วยสร้างความแตกต่างของเมนูชาเขียวที่ร้านได้ง่ายๆ ไม่ซ้ำร้านไหน
ไม่มีเตาอบก็ไม่ต้องกังวล สำหรับสูตรนี้ ได้ความอร่อยแบบฉบับญี่ปุ่นแท้ๆ แถมเหมาะกับคนที่ชอบทานขนม แต่แพ้นม ไข่ เนย ถือว่าเป็นสูตรที่ทำง่าย และอร่อย ตามแบบฉบับเค้กญี่ปุ่นเลย
หลายคนจะเข้าใขว่าชาเขียวจะต้องมีแต่สีเขียวเท่านั้น ถ้าเป็นชาสีอื่นก็จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้วชาเขียวยังมีสีอื่น ที่ไม่ใช่สีเขียว แต่มีต้นกำเนิดจากชาเขียวเหมือนกัน เพียงแต่ต่างกันที่กระบวนการผลิต เวลาในการเก็บใบชา กระบวนการคั่วชา ทำให้ชาเขียวที่ปกติสีเขียว หรือที่เราคุ้นในชื่อของ “มัทฉะ” ที่มักนิยมใช้ผงชามัทฉะในการชงเครื่องดื่มเป็นมัทฉะลาเต้ หรือนำไปทำขนมต่างๆที่ให้ให้สีเขียวเป็นหลัก แต่เมื่อผ่านกระบวนกรรมวิธีการผลิต จะกลายเป็นสีน้ำตาลได้ ชื่อที่เรียกกันอย่างคุ้นหู คือ ชาโฮจิฉะ นั้นเอง ปกติแล้วชาเขียวมัทฉะ มาจากชาเทนฉะที่ถูกเลี้ยงในที่ร่มเหมือนชาเกียวคุโระก่อนจะนำไปบดเป็นผงด้วยหินอย่างพิถีพิถัน มักจะใช้ในพิธีชงชา มีหลายเกรด เช่น สำหรับทำขนม เครื่องดื่ม ชงในงานพิธีการ เป็นต้น สามารถสังเกตได้จากสีของมัทฉะ ยิ่งมัทฉะสีเข้มเท่าไหร่ คุณภาพก็ยิ่งดี หากดื่มมัทฉะ 1 ถ้วย จะได้รับสารอาหารเท่ากับดื่มชาเขียวประเภทอื่น 10-15 แก้วเลยทีเดียว ส่วนชาเขียวที่สีไม่เขียว….ชาโฮจิฉะ คือใบชาที่เก็บเกี่ยวในช่วงสุดท้าย เป็นใบชาที่โตแล้ว ไม่ใช่ใบชาอ่อน จึงมีขนาดใบชาที่ใหญ่ และนับว่ามีคุณภาพรองลงมาจากชาเขียวเซนฉะ แต่โฮจิฉะมีความพิเศษ คือ ชาที่ผ่านการคั่วทำให้ชามีสีน้ำตาลอมแดง กลิ่นหอม ได้รสชาติที่เข้มข้ม รสชาเขียวแท้ๆ ได้กลิ่นหอมให้ชวนดื่มมากกว่ามัทฉะ รสชาติมักจะถูกเปรียบเทียบกับคาราเมล ชาร์โคล หรือถั่วคั่ว ราคาจะถูกกว่าชาเขียวอื่น ๆ…
เปิดร้านคาเฟ่ขายอาหาร ขนม เครื่องดื่มอย่าางเดียวยุคนี้อาจจะไม่เพียงพอ คู่แข่งที่มากขึ้น บางทีก็อาจจะรู้สึกว่าร้านเงียบๆไป จัดโปรโมชั่นอย่างเดียวก็ไม่เพียงพอ การจัดกิจกรรม workshopเล็กๆในร้าน เป็นอีกไอเดีย ที่สร้างสีสันและบรรยากาศในร้านให้แปลกใหม่ขึ้น นอกจากจะช่วยสร้างประสบการณ์ให้กลุ่มลูกค้าแล้ว ยังเป็นการเพิ่มกลุ่มลูกค้าใหม่ที่อาจจะไม่เคยมาที่ร้าน แต่ชื่นชอบการ workshop ให้มาร่วมสนุกที่ร้านอีกทางหนึ่ง 5 ไอเดียกิจกรรม workshop เก๋ๆ ที่จัดได้ง่ายๆภายในร้าน ได้แก่ 1.การจัด workshop ชงชาสไตล์ญี่ปุ่น ควบคู่ไปกับการทำขนมวากาชิเพราะเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมชงชาญี่ปุ่นที่ไม่เหมือนการทำขนมเบเกอรี่ ผู้ที่ชื่นชอบการทำขนมหลายคนจึงอยากลองมาเปิดประสบการณ์การทำขนมวากาชิ ที่ต้องใช้ถั่วขาวและความประณีตในการดีไซน์ขนมขึ้นมา รวมถึงการชงชาแบบญี่ปุ่นแบบเต็มรูปแบบที่คนรักการดื่มชาเขียวจะรู้สึกว่าอยากมีประสบการณ์การได้จับฉะเซ็นตีชาเขียวแก้วโปรดของคุณด้วยตัวเอง ซึ่งในระหว่างการ workshop สามารถสอดแทรกเกร็ดความรู้เรื่องชาเขียว เช่น ประโยชน์ของชา ปรัชญาการใช้ชีวิตที่ได้จากการชงชา เป็นต้น 2.การทำ Tea tasting ให้คนรักชามาอินๆฟินๆกัน ไอเดียนี้เหมาะกับร้านที่มีเครื่องดื่มประเภทชาหลายแบบทั้งชาเขียว ชาโฮจิฉะ ชาเก็นไมฉะ หรือแม้กระทั่งร้านที่มีชาเขียวที่มีความเข้มข้นที่แตกต่างกัน นำชาแต่ละชนิดมาชงให้ชิมและดมกลิ่น เพื่อให้ฝึกสังเกตความแตกต่างของรสชาเนื่องจากสภาพภูมิอากาศภูมิประเทศกระบวนการผลิตชาแต่ละชนิดที่แตกต่างกัน เลยให้รสสัมผัสที่ต่างกัน การฝึกลิ้มรสและมีการให้เกร็ดความรู้กับลูกค้าในแต่ละประเภทชา เป็นกิจกรรมที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนรักชาตัวจริง อาจจะดูวิชาการไปหน่อย แต่ถ้าที่ร้านสร้างบรรยากาศให้ดูผ่อนคลาย และให้ข้อมูลแต่ละประเภทชาที่ชัดเจน จะยิ่งแสดงให้เห็นว่าร้านเรา specialist ด้านชาตัวจริง 3.การทำขนมจากชาเขียว…
ปกติของการชงชาเขียวด้วยผงชาเขียวนั้น จะมีการใช้ฉะเซ็น หรือ ที่ตีฟองนมช่วยในการตีชาให้ละลายไปกับน้ำ บางครั้งตีผงชาด้วยอุปกรณ์และเทคนิคแบบเดิม กลับได้ผลลัพธ์ที่ไม่เหมือนเดิม ผงชาอาจจะไม่ละลาย ตีแล้วไม่ขึ้นฟองที่สวยงาม ทำให้เวลาถ่ายภาพเมนูอาหารไม่น่าทาน สาเหตุเกิดจากอะไรนั้น ลองมาสังเกตไปพร้อมๆกัน 1. ไม่ได้กรองชาเขียวก่อนตีโดยทั่วไปแล้วผงมัทฉะไม่จำเป็นต้องผ่านการร่อน แต่ถ้าต้องการให้เกิดฟองที่สวยงามในตอนตี ควรจะผ่านการร่อนสักรอบเหมือนก่อนที่เราจะนำแป้งมาใช้ทำขนม เพาะ ผงชา และแป้งพวกนี้เมื่อถูกเก็บอยู่ในภาชนะนานๆ อาจเกิดการจับตัวเป็นก้อนได้อีกครั้ง การร่อนก่อนที่จะตีจะช่วยให้คุณได้เครื่องดื่มชาเขียวที่นุ่มขึ้น และยังทำให้ได้ฟองเป็นชั้นๆสวยงาม 2.ปริมาณน้ำกับชาไม่ได้สัดส่วนกัน หากใส่น้ำในปริมาณที่มากเกินไปฟองมัทฉะก็ทำได้ยาก และอาจจะได้ฟองอากาศขนาดใหญ่จำนวนมากซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการ เพราะการชงมัทฉะที่สวยงามน่าทานจะต้องเป็นฟองน้อยๆ หากใส่ผงมัทฉะในปริมาณที่มากเกินไปคุณจะได้ชาเขียวที่เข้มข้นมาก ๆ แต่มักจะเกิดกรณีที่เมื่อใช้ผงมัทฉะมากขึ้นเพื่อรสชาติที่เข้มขึ้น แต่ปริมาณของเหลว คือ น้ำ อยู่ในเรทเท่าเดิม ซึ่งไม่เพียงพอต่อการทำละลายของผงมัทฉะ จึงเป็นเรื่องยาก โดยปกติแล้วปริมาณความเข้มข้นของชาจะขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน แต่อัตราส่วนทั่วไปในการตีผงชามัทฉะคือ ไม้ไผ่ 2 ช้อน (หรือ 1 ช้อนชา) ต่อน้ำ 2-3 ออนซ์ หากต้องการปรับระดับความเข้นข้นเอง อย่าลืมที่จะเติมน้ำมากขึ้นตามระดับที่สามารถทำละลายผงชาได้ 3. อุณหภูมิของน้ำต่ำลงเกินไปหากน้ำเย็นเกินไปการพักมัทฉะในน้ำจะเป็นเรื่องยาก ซึ่งจะส่งผลให้มีการจับตัวเป็นก้อนมากกว่าฟอง อุณหภูมิของน้ำขึ้นไม่ได้มีสูตรบังคับตายตัว เพียงแต่มีคำแนะนำ เพื่อรสชาติที่ดีท่สุดเท่านั้นตามแบบฉบับของแต่ละร้านว่าควรใช้อุณหภูมิที่เท่าไหร่ ซึ่งแน่นอนว่า การใช้น้ำร้อนเกินไปก็ไม่ได้ทำให้การตีผงชาละลายได้ดีที่สุด…
การดื่มชาได้เริ่มขึ้นในประเทศจีน คาดว่าไม่น้อยกว่า 2,167 ปีก่อนคริสตกาล ตำนานการเริ่มต้นของการดื่มชามีหลายตำนาน บ้างก็กล่าวว่าจักรพรรดิเสินหนิงของจีน (Shen Nung) ค้นพบวิธีชงชาโดยบังเอิญ เมื่อพระองค์ทรงต้มน้ำดื่มใกล้ๆ กับต้นชา ขณะรอคอยให้น้ำเดือด กิ่งชาได้หล่นลงในหม้อชา สักพักหนึ่งกลิ่นหอมกรุ่นก็โชยออกมา เมื่อพระองค์เอากิ่งชาออกแล้วทรงดื่ม ก็พบว่า มันทำให้สดชื่น การดื่มชาจึงแพร่หลายมากขึ้นในเวลาต่อมา นอกจากทรงค้นพบสรรพคุณของชาแล้ว พระองค์ยังทรงค้นคว้าและทดสอบสมุนไพรชนิดต่างๆ กว่า 200 ชนิด จนได้มีการเผยแพร่ไปยังประเทศต่างๆ ทั้งญี่ปุ่น อินเดีย รวมถึงที่ไทยเอง ในสมัยสุโขทัยช่วงที่มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีน พบว่าได้มีการดื่มชากัน แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่านำเข้ามาอย่างไร และเมื่อใด แต่จากจดหมายของท่านลาลูแบร์ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้กล่าวไว้ว่า คนไทยได้รู้จักการดื่มน้ำชาแล้ว โดยนิยมชงชาเพื่อรับแขก การดื่มชาของคนไทยสมัยนั้นดื่มแบบชาจีนไม่ใส่น้ำตาล แต่บางตำราก็บอกว่าคนสมัยนั้นจะอมน้ำตาลกรวดใส่ปากก่อน แล้วจิบน้ำชาร้อนๆตาม ระหว่างนั้นเจ้าบ้านก็จะรินน้ำชาใส่ถ้วยให้เรื่อยๆ ถ้าแขกดื่มพอแล้วก็ให้คว่ำถ้วยชาลงเป็นการส่งสัญญาณว่าน้ำตาลในปากละลายหมดเกลี้ยง แต่น้ำชาร้อนก็ไม่ได้เป็นเครื่องดื่มที่นิยมกันทุกบ้านทุกครัวเรือน เพราะคนไทยชอบกินน้ำเย็นดับร้อนอย่างน้ำฝนมากกว่า น้ำชาร้อนจึงจัดเสิร์ฟเฉพาะในจวนข้าราชการหรือถวายพระเท่านั้น แต่ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดนักว่าเป็นชาสายพันธุ์ไหน แล้วมีปลูกที่ไทยหรือเป็นเพียงชาที่ทูตใช้ชงดื่มกันในราชสำนัก หลักฐานที่เห็นได้ชัดอีกประการ คือ ชาที่ปลูกในเมืองไทย เริ่มเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประภาสยุโรปเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกล่าอาณานิคมจากชาวยุโรป เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านได้เสด็จประพาสยุโรปโดยเฉพาะที่อังกฤษ ที่นั่นนิยมดื่มชาและ…
เทศกาลไหว้พระจันทร์ของแต่ละประเทศก็มีธรรมเนียมที่ไม่เหมือนกัน อย่างที่ญี่ปุ่น แม้จะได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน แต่ขนมที่ใช้ไหว้ในช่วงเทศกาลนี้กลับแแตกต่างกันออกไป ไม่ได้มีหน้าตาเหมือนชนมไหว้พระจันทร์ที่เราคุ้นเคยเพราะคนญี่ปุ่น มีความเชื่อกิดขึ้นเมื่อมีขุนนางเป็นผู้ที่นำเข้ามาในช่วงสมัยนาระ-สมัยเฮอัน ในวันขึ้น 15 ค่ำ พลังงานที่มาจากดวงจันทร์จะมีสิ่งลี้ลับที่จะสามารถให้พรที่ขอนั้นเป็นจริงขึ้นมาได้ (บางครั้งคนญี่ปุ่นจะจินตนาการเห็นเงาบนพื้นผิวพระจันทร์นั้นเป็นรูปร่างคล้ายกระต่ายที่กำลังตำขนมโมจิ) โดยส่วนใหญ่ชาวนามักจะไหว้เพื่อแสดงการขอบคุณหลังจากที่ได้เก็บเกี่ยวพืชผลที่อุดมสมบูรณ์ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง โดยส่วนใหญ่ชาวนามักจะขอพรจากดวงจันทร์ให้เก็บเกี่ยวได้ผลผลิตที่ดี พืชผลอุดมสมบูรณ์ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและเพื่อขอพรให้ได้พืชผลที่ดีในปีต่อๆไป วันนั้นผู้คนจะเฉลิมฉลองด้วยการเตรียมอาหารประจำฤดูใบไม้ร่วงในการบวงสรวงพระจันทร์ คือขนมไหว้พระจันทร์ซึกิมิ ดังโงะ (月見 団子tsukimi dango)ขนมที่ทำจากแป้งข้าวเจ้าและน้ำตาล นำไปนึ่งพร้อมปั้นเป็นลูกกลมๆ ส่วนมากก็จะปั้นโมจิทรงกลมทั้งหมด 12 ลูกตาม 12เดือนในหนึ่งปี หรือ 15ลูกตามคำเรียก “คืนที่สิบห้า” ซึ่งดังโงะแต่ละพื้นที่ก็มีหน้าตาแตกต่างกันออกไป และขนมสมัยใหม่ ก็มีการดัดแปลงเอาโยคัง หรือเนริกิริมาปั้นให้เป็นรูปร่างกระต่ายมากขึ้น เพื่อให้เข้ากับเทศกาล อย่างไรก็ตามในไทยยึดความเชื่อตามแบบจีนแท้ๆ ที่มีการใช้ขนมไหว้พระจันทร์ หลากหลายไส้ อย่างไส้ยอดนิยมหรือไส้ดั้งเดิมจะเป็น ไส้ทุเรียน , ไส้ลูกบัว เป็นต้น แต่เดี๋ยวนี้มีไส้แปลกใหม่ เช่น ไส้ช็อกโกแลต, ไส้ชาเขียว, ไส้คัสตาร์ด และอีกมากมาย แน่นอนว่าไส้ต่างๆของขนมไหว้พระจันทร์ช่วยสร้างความตื่นเต้นแปลกใหม่ให้กับช่วงเทศกาลเป็นอย่างยิ่ง นอกจากไส้ขนมที่มีมากขึ้นแล้ว หลากหลายร้านก็ยังเพิ่มเติมความแปลกใหม่ให้กับตัวแป้งขนมไหว้พระจันทร์ด้วย ถ้าเป็นขนมไหว้พระจันทร์ต้นตำรับก็ต้องเป็น “แป้งอบ”แต่เดี๋ยวนี้ก็จะมีแป้งขนมไหว้พระจันทร์แบบไม่อบหรือที่หลายคนเรียกว่า “แป้งบัวหิมะ”มาช่วยเพิ่มสีสันด้วย เพราะในแป้งแบบไม่อบนี้สามารถเติมสีสันได้ตามต้องการ ส่วนมากจะนำมาห่อไส้สมัยใหม่หรือไส้ที่ต้องกินแบบเย็นๆ แป้งขนมไหว้พระจันทร์แบบอบไม่มีอะไรที่ซับซ้อนนัก…
Logo ถือเป็นส่วนสำคัญที่เปรียบเสมือนหน้าตาของร้าน มีผลต่อการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักได้ โดยเฉพาะในยุคนี้ที่มีร้านของหวานเครื่องดื่มออกใหม่มากมาย โลโก้ที่ติดอยู่บนบรรจุภัณฑ์อาหารถ้ายิ่งจดจำได้ง่าย มีเอกลักษณ์ ก็จะยิ่งช่วยให้ลูกค้าเกิดการบอกต่อได้ง่ายขึ้นด้วย หลักการในการออกแบบโลโก้ที่ดี ให้จดจำง่ายไม่ซ้ำร้านอื่นมีเทคนิคอะไรบ้าง มาดูกัน เริ่มจากต้องมีเอกลักษณ์ของร้านเพราะโลโก้ของร้านควรจะสื่อสารถึงตัวตนของร้าน สไตล์อาหารที่ขาย มองแล้วรับรู้ทันทีว่านี่คือร้านอาหารอะไร มีลักษณะที่สัมพันธ์กับการตั้งชื่อร้าน ถ้าไม่ไปซ้ำซ้อนกับร้านอื่นๆได้จะยิ่งดีเพราะป้องกันความสับสนของลูกค้า อย่างร้านที่ขายชาเขียวแท้ๆจากญี่ปุ่น ก็อาจจะมีการใช้ภาษาญี่ปุ่น เพื่อสื่อถึงที่มาของวัตถุดิบพระเอกของร้าน หรือใช้ดีไซน์ที่เป็นเหมือนอินตัง ( ตรายาง ) ของคนญี่ปุ่น เพื่อดึงเอกลักษณ์ดีไซน์ความเป็นญี่ปุ่นออกมาสื่อถึงที่มาของวัตถุดิบแท้ๆ โลโก้ที่ดีควรสื่อความหมายเพราะโลโก้ที่ดีจะต้องสามารถสื่อความหมายได้มากกว่าแค่บอกชื่อร้าน อย่างเช่นการใช้รูปใบชา ถ้วยชงชา หรือฉะเซ็นที่เป็นอุปกรณ์ชงชา เพื่อบ่งบอกถึงความเชี่ยวชาญในรสชาติของชาที่้ร้าน รูปที่อยู่ในโลโก้ควรจะผ่านการคิดว่ามีความหมายอย่างไร เห็นเข้าใจและจดจำได้ง่าย เพื่อสื่อสารไปให้ถึงลูกค้าได้ตรงประเด็น ซึ่งนอกจากรูปภาพ ที่ใช้ในการสื่อความหมายแล้ว สีของโลโก้ ก็ยังเป็นอีกส่วนสำคัญที่ช่วยให้นึกถึงสินค้าในแบรนด์ได้ง่ายขึ้น อย่างเช่นการใช้สีเขียวในโลโก้ ทำให้นึกถึงชาเขียวได้ง่ายขึ้น สื่อถึงความเป็นธรรมชาติ ไม่ผ่านการปรุงแต่งจากสารสังเคราะห์ ให้โลโก้สื่ออารมณ์ของร้าน ต้องรู้ก่อนว่าอยากให้ภาพออกมามีอารมณ์แบบไหน สอดคล้องกับร้านของเราอย่างไร เช่น ร้านขายชา ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้หญิง ไม่ได้เน้นชาที่เข้มข้น แต่เน้นการปรับสูตรไปให้หลากหลาย ผู้หญิงทานง่ายขึ้นและมีขนมอื่นๆที่ทำจากชา จะต้องใช้โลโก้ที่มีโทนสีชมพูปนเข้ามา เพื่อดึงดูดสายตาผู้หญิงที่มีความอ่อนหวาน หรือปรับเป็นโลโก้ที่เรียบๆนิ่งๆ แต่เน้นแพคเกจจิ้งสีหวานเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้หญิง ไม่ใช้สีสันที่มากจนเกินไปจำนวนสีที่ใช้บนโลโก้ควรอยู่ที่ 1 –…
อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าชาโฮจิฉะ คือ ชาเขียวคั่วด้วยอุณหภูมิที่สูงจนมีกลิ่นหอม เป็นชาที่ทิ้งรสชาติและความหอมให้ยังคงหลงเหลือในปากหลังดื่ม จึงทำให้ชาชนิดนี้นิยมดื่มหลังอาหาร หรือระหว่างมื้ออาหาร ด้วยวิธีการคั่วนี้เองจึงทำให้สารคาเทชินซึ่งเป็นสารที่ทำให้มีรสฝาดและคาเฟอีนน้อยลง ชาประเภทนี้จึงอ่อนโยนต่อร่างกาย สามารถดื่มได้ทั้งเด็ก คนท้อง และผู้ใหญ่ทั่วไป และยังสามารถดื่มก่อนนอนได้อีกด้วยเพราะมีปริมาณคาเฟอีนในชาที่ต่ำมาก โดยใบชาที่นิยมนำมาคั่วเป็นโฮจิฉะมี 3 ชนิด ได้แก่ เซนฉะ (煎茶) บังฉะ (番茶) และคุคิฉะหรือชาที่ทำจากก้านชา (茎茶) แต่ละชนิดที่นำมาคั่วก็มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน หากใครอยากลองที่จะคั่วชาเขียวให้เป็นชาโฮจิฉะ มาทำความรู้จัก ชาทั้ง 3 ชนิดนี้ก่อนว่าแตกต่างกันยังไง เริ่มที่ เซนฉะ (煎茶) ชาเขียวที่ชาวญี่ปุ่นดื่มในชีวิตประจำวัน ไม่ต้องเลี้ยงในร่ม สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี เป็นชาที่ผลิตเยอะที่สุดในญี่ปุ่น เพราะ เก็บใบชาได้ปีละ 4 ครั้ง โดยเริ่มเก็บตั้งแต่ เดือนพฤษภาคมโดยเก็บยอดอ่อน 3 ใบแรก และใช้กรรไกรตัด เซนฉะจะถูกแบ่งเกรด 3 ระดับ คือ เกรดสูง เกรดกลาง และ เกรดธรรมดา หลังจากเก็บใบชาจะนำมาเป่าให้แห้ง และปั่นใบชาให้เป็นเกลียว และม้วนภายในระยะเวลาที่สั้นที่สุด เพื่อหยุดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของเอนไซม์…
ชาเขียว เครื่องดื่มที่อุดมด้วยคุณค่าทางสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย สามารถดื่มได้ทั้งแบบร้อนและแบบเย็น แต่ในทางกลับกันการดื่มชาเขียวอาจไม่ได้ช่วยให้เกิดประโยชน์อะไรต่อร่างกายเลยหากดื่มไม่ถูกวิธี ซึ่งที่ทุกคนทราบกันอย่างแน่ชัด คือ การดื่มน้ำชาไม่ว่าจะชาร้อนหรือชาแช่เย็น ไม่ควรแต่งรสด้วยน้ำตาล หรือ นมทุกชนิด ไม่ว่าจะนมสด นมข้นหรือนมผง เพราะโปรตีนในนมจะไปจับกับสารสำคัญในชา และทำลายประสิทธิภาพสารออกฤทธิ์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพ จึงควรดื่มน้ำชาล้วนๆไม่ปรุงแต่ง อย่างไรก็ตาม แม้จะดื่มชาเขียวเพียวๆ แต่ก็มีคนเข้าใจว่าการดื่มชาเขียวเย็นไม่เกิดประโยชน์แล้วกลับทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย เพราะชาเขียวเย็น ก่อให้เกิดการเกาะตัวแน่นของสารพิษที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง นอกจากนี้ชาเขียวเย็นยังส่งผลให้ไขมันในร่างกายก่อตัวมากขึ้นตามผนังหลอดเลือด และอุดตันตามผนังลำไส้ ทำให้เกิดโรคร้ายตามมา เช่น หลอดเลือดหัวใจอุดตัน มะเร็งลำไส้ เส้นเลือดตีบ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานการวิจัยยืนยันอย่างชัดเจนว่าชาเขียวเย็นส่งผลเสียแบบนั้นจริงมั้ย บางกระแสก็บอกว่า หากดื่มแบบเย็นที่มีน้ำแข็งผสม ความเย็นจากน้ำแข็งจะทำให้ประสิทธิภาพของชาเขียวเจือจางไปพร้อมน้ำแข็ง แทนที่จะได้รับประโยชน์แบบเต็มที่ก็ทำให้ได้รับคุณประโยชน์น้อยกว่า แต่สำหรับใครที่อยากดื่มชาเขียวแบบเย็นก็สามารถทำได้ เพียงให้ดื่มชาที่ชงด้วยตัวเองแล้วนำไปแช่เย็นไว้ แค่ไม่ใส่น้ำแข็งไปผสมเพิ่มก็พอ และเพื่อให้สารต้านอนุมูลอิสระจากในชาเขียวยังคงมีอยู่ ในทางกลับกัน มีสมมติฐานที่ยังคงเป็นที่ถกเกียงกันว่าการดื่มชาเขียวร้อนที่ว่ากันว่าช่วยยับยั้งการเกิดมะเร็งได้ เพราะยอดใบชาจะมีสารต้านอนุมูลอิสร แต่ก็ยังไม่ได้มีวิจัยที่ชัดเจน และบางคนก็เชื่อว่าการดื่มชาเขียวร้อน ยิ่งเสี่ยงมะเร็งหลอดอาหาร แม้จะยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน แต่คนเลิฟชาเขียวก็ควรดื่มชาในปริมาณที่พอเหมาะ และดื่มอย่างถูกวิธี เพื่อให้ได้คุณค่าทางสารอาหารมากที่สุด สำหรับผู้ที่นิยมดื่มน้ำชาร้อนๆ สารสำคัญที่เป็นประโยชน์ คือ คาเทคชินส์ (Catechins) จะถูกความร้อนทำลายไปเกือบหมด คงเหลือแต่ความหอมและรสชาติ ถ้าต้องการให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายแต่ยังนิยมชาร้อนๆ…