“ชาเขียว“ ของขวัญทุกเทศกาลของคนญี่ปุ่น
|

“ชาเขียว“ ของขวัญทุกเทศกาลของคนญี่ปุ่น

ชาวญี่ปุ่นมักจะมีของฝากเล็กๆน้อยๆถือติดไม้ติดมือมอบให้กันอยู่เรื่อยๆไม่ว่าจะเป็นโอกาไหนๆ เช่น หากต้องเดินทางไปต่างถิ่นหรือแม้กระทั่งทริปเล็กๆ โดยทั่วไปก็จะนิยมซื้อของฝาก หรือในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “โอมิยาเกะ”มาให้ โดยของฝากมีทั้งเป็นห่อคุกกี้น่ารักๆ ช็อกโกแลต ชาเขียว หรือของหวานญี่ปุ่นชนิดต่างๆ ไม่เพียงแค่การซื้อของฝากจากการไปท่องเที่ยว แต่การมอบของขวัญให้แก่กันทได้เป็นวัฒนธรรมที่ฝังรากลึกลงไปของคนญี่ปุ่น อย่างเช่น วันปีใหญ่ แต่งงาน คลอดบุตร ฯลฯ ซึ่ง”ชา”ถือว่าเป็นของขวัญที่นิยมมากๆเลยก็ว่าได้ การมอบชาเขียวให้กันนั้นก็จะแฝงความหมายที่แตกต่างตามวาระโอกาสที่ให้ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความยินดี การทักทาย หรือแสดงความขอบคุณ เพราะ”ชา”เป็นสิ่งที่ชาวญี่ปุ่นดื่มกันทุกวันอยู่แล้ว นอกจากจะดีต่อสุขภาพแล้ว ให้ความรู้สึกถึงความมีคุณภาพ มีราคา ยิ่งส่งมอบให้กันเป็นชุด gift set หรือ ห่อด้วยผ้าฟุโรชิกิด้วยแล้ว ยิ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กลายเป็นเซ็ตชาที่ถูกใจผู้รับแน่นอน อีกเหตุผลที่นิยมให้ชาเป็นของขวัญ เพราะนอกจากนั้นยังเก็บรักษาได้นาน และมีขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป ทานได้ทุกเพศทุกวัย ชายังแฝงความหมายที่ดีและเป็นมงคลที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ด้วย เช่น คำว่า ฉะเมียว (茶寿)ที่สะกดด้วยตัว茶ที่แปลว่า ชา อยู่ในคำนั้นด้วย ฉะเมียว ในความหมายคนญี่ปุ่น หมายถึง “การแสดงความยินดีฉลองอายุครบ 108 ปี” การมอบชาเป็นของขวัญจึงถือเป็นการอวยพรขอให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง อายุยืนยาว ในงานแต่งงานของคนญี่ปุ่นบางพื้นที่ ได้แก่ ภูมิภาคคิวชู รวมถึง…

ส่งต่อความอร่อย เพิ่มยอดขายด้วยกลยุทธ์ OEM
|

ส่งต่อความอร่อย เพิ่มยอดขายด้วยกลยุทธ์ OEM

ในยุคที่เศรษฐกิจไม่ค่อยดี ร้านค้าหลายร้านก็ถูกปิดตัวลง ร้านที่ยังอยู่รอดก็พยายามงัดหลากหลายกลวิธี ทั้งออกสินค้าใหม่ จัดกิจกรรม จัดโปรโมชั่นต่างๆ เพื่อดึงดูดลูกค้าให้กลับเข้าร้านมากขึ้น แต่มีอีกวิธีหนึ่งที่หลายแบรนด์อาจจะมองข้ามไป นั่นคือ การรับผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่างๆ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ OEM OEM ย่อมาจาก Original Equipment Manufacturer คือ การที่ร้านค้าไหน หรือแบรนด์ใดที่มีจุดเด่นในเรื่องการผลิตสินค้าสามารถเข้ารับจ้างผลิตสินค้าให้กับบริษัทอื่นๆได้ โดยเป็นลักษณะของการ Collaboration หรืออาจจะเป็นการผลิตให้แบรนด์อื่นๆเพื่อไปขายในแบรนด์ของตัวลูกค้าเองขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าโดยการใช้กระบวนการผลิตของโรงงานหรือร้านค้าเองตั้งแต่ฝ่ายผลิต ไปจนถึง เครื่องจักรต่างๆสำหรับการผลิต ซึ่งลูกค้าที่มาจ้างร้านค้าหรือโรงงานผลิต อาจจะมีความเชี่ยวชาญไม่มากพอในการทำสินค้าชนิดนั้นๆ หรือเล็งเห็นถึงความสามารถและเอกลักษณ์ของโรงงานหรือร้านค้านั่นๆว่าสามารถผลิตสินค้าตามเสปคได้  ในมุมมองลูกค้าหรือแบรนด์อื่นๆที่มาจ้าง ถือว่าช่วยลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงได้เพราะสามารถย้ายฐานการผลิตไปที่อื่นๆที่ต้นทุนต่ำกว่าได้ตลอด เจ้าของแบรนด์ไม่ต้องมีโรงงานเป็นของตัวเอง ง่ายต่อการเปลี่ยนลักษณะหรือกลยุทธ์ทางธุรกิจ มีผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาทางการผลิตคอยดูแลให้ ได้วัจถุดิบตามมาตรฐานที่ต้องการโดยไม่ต้องลงแรงในการเสาะหาเองตั้งแต่ขั้นแรก แต่ถ้ามองในมุมมองของร้านค้าหรือโรงงานที่รับผลิตสินค้าให้ มีร้ายได้อีกช่องทางเพิ่มมากขึ้นโดยที่ไม่ต้องลงทุนคิดสินค้าเองตั้งแต่ต้นจนจบ เพราะมีสูตรจากทางผู้ว่าจ้างมาให้แล้ว ประหยัดต้นทุนทางการตลาดในการโฆษณาสินค้านั้นๆ เพราะผู้ผลิตไม่ได้เป็นคนขายสินค้าเอง ไม่ต้องคำนึงถึงการบริหารจัดการสต็อกสินค้าเอง เพียงแค่ทำตามออเดอร์ที่แบรนด์อื่นๆมาว่าจ้างให้ผลิต อย่างไรก็ตามการรับทำ OEM ให้แบรนด์อื่นๆ นอกจจากจะต้องคิดต้นทุนให้รอบคอบก่อนนำเสนอราคาขายให้แบรนด์ที่มาว่าจ้างแล้ว ยังต้องคำนึงถึงราคาที่แบรนด์นั้นๆจะไปขายต่อผู้บริโภคด้วย เพราะถ้าเราตั้งไว้สูงตั้งแต่แรก เจ้าของแบรนด์เขาต้องไปบวกราคาเพิ่มอีกกว่าจะถึงลูกค้า สินค้าชิ้นนั้นๆอาจจะราคาสูงเกิน ทำให้ยอดขายไม่ดีได้เช่นกัน นอกจากนั้นแล้วการรับ OEM ต้องคำนวนถึงค่าขนส่งสินค้า ด้วยเช่นกันว่า ราคาที่เราตั้งนั้นรวมถึงค่าขนส่งหรือยัง…

ปรัชญาของคนญี่ปุ่นที่แฝงแนวคิด จาก ถ้วยชา
|

ปรัชญาของคนญี่ปุ่นที่แฝงแนวคิด จาก ถ้วยชา

เคยสังเกตมั้ยว่า ถ้วยชงชาญี่ปุ่น เมื่อเทียบกับของทางฝั่งยุุโรป จะมีลักษณะที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก ถ้วยชาญี่ปุ่น จะไม่เรียบ 100% ลักษณะส่วนมากเป็นถ้วยชาจากการปั้นด้วยมือ มีความขรุขระบ้าง ลวดลายสีสันที่ดูเป็นงานคราฟต์ บางใบดูดีๆจะเห็นว่าเป็นถ้วยที่แตกแล้ว แต่ถูกประสานด้วยทองจนเนียนเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของลวดลายถ้วยชานั้นๆ ซึ่งวิธีการทำแบบนี้เราเรียกว่า การทำคินสึงิ (Kintsugi)นั่นเอง คินสึงิ มีประวัติศาตร์อันยาวนาน ย้อนไปในศตวรรษที่ 15 โชกุนของญี่ปุ่นที่มีชื่อว่า อาชิกางะ โยชิมาสะ (Ashikaga Yoshimasa) ได้ส่งถ้วยชาที่เสียหายไปยังประเทศจีนเพื่อซ่อมแซม และมันก็ถูกส่งกลับมาในสภาพที่มีตัวเย็บเหล็กที่ไม่สวยงาม ทำให้โชกุนต้องคิดค้นหาวิธีที่ดีกว่าในการซ่อมแซมสิ่งที่พังไป ช่างฝีมือของเขาจึงมองหาวิธีอันงดงามในการประกบเครื่องปั้นดินเผาอีกครั้งด้วยการใช้ครั่งผสมทอง เทคนิคนี้เป็นการเชื่อมรอยต่ออันงดงามที่ถูกพูดถึงกันมากในประวัติศาสตร์ จึงเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว นักสะสมจำนวนมากรู้สึกชื่นชอบเทคนิคนี้มากถึงขั้นตั้งใจทุบเครื่องปั้นดินเผาอันมีค่า เพื่อที่จะได้ซ่อมแซมมันโดยใช้เทคนิคคินสึงิซึ่งแน่นอนว่าเครื่องปั้นเซรามิคมีความวิจิตรงดงามมากยิ่งขึ้นหลังจากการซ่อมแซมทุกครั้ง การซ่อมแซมภาชนะที่แตกบิ่นเสียหายด้วยวิธีคินสึงิแบบนี้ อีกนัยนะหนึ่งเกิดจากการที่ชาวญี่ปุ่นเชื่อกันว่า ถ้วยชามที่แตกบิ่นนั้นไม่ควรทิ้งขว้าง แต่ควรซ่อมมันด้วยรักทองเพื่อให้พวกมันกลับคืนมามีชีวิตอีกครั้ง เหมือนกับชีวิตของเราทุกคนนั้นล้วนหลีกหนีความเจ็บปวดทางใจไม่พ้น เช่น การสูญเสียผู้เป็นที่รักหรือสิ่งที่เป็นที่รัก เผชิญกับอาการเจ็บป่วยร้ายแรงหรืออุบัติเหตุที่ส่งผลต่อชีวิต แม้แต่ความเจ็บปวดที่ต่อเนื่องมาจากอดีต บาดแผลทางใจเหล่านี้ควรได้รับการเยียวยาและสมานให้กลับมาดีดังเดิม ดังนั้นปรัชญาคินสึงิจึงถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อซ่อมแซมบาดแผลทางใจที่หนักหนาและค้างคา เพื่อที่เราจะได้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากขึ้น เข้มแข็งมากขึ้น และเข้าใจผู้ที่ยังเจ็บปวดคนอื่นๆ มากขึ้นนั่นเอง ปรัชญาของคนญี่ปุ่นที่แฝงถึงแนวคิดที่ว่า ไม่มีชีวิตใดที่สมบูรณ์แบบอย่างหลักคินสึงิ คือ การทำให้ตัวเองเข้าใจถึงความแตกหัก เปราะบางภายในจิตใจของตัวเอง เป็นการสร้างความแข็งแกร่งจากภายในสู่ภายนอก ทำให้มีสภาวะจิตใจที่ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ เพราะการซ่อมแซมถ้วยที่แตกร้าวอย่างใส่ใจและเต็มไปด้วยความรักจะทำให้เราเข้าใจว่าเราควรยอมรับ,…

มาศึกษาต้นกำเนิด ผงชาเขียวมัทฉะ
|

มาศึกษาต้นกำเนิด ผงชาเขียวมัทฉะ

ว่ากันว่า ชาเขียวได้ถูกค้นพบโดยจักรพรรดิเสินหนงซึ่งเป็นบัณฑิตและนักสมุนไพรผู้รักความสะอาดเป็นอย่างมาก ดื่มเฉพาะน้ำต้มสุกเท่านั้น วันหนึ่งขณะที่เสินหนงกำลังพักผ่อนอยู่ใต้ต้นชาในป่า และกำลังต้มน้ำอยู่นั้น ปรากฏว่าลมได้โบกกิ่งไม้ เป็นเหตุให้ใบชาร่วงหล่นลงในน้ำซึ่งใกล้เดือดพอดี เมื่อเขาลองดื่มก็เกิดความรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาก ชาเขียวถูกพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ชาวบ้านก็เริ่มหันมาปลูกชาและพัฒนาต่อกันมาเรื่อยๆ มีทั้งการเติมเครื่องเทศน์ หรือดอกไม้ลงไป เพื่อให้มีกลิ่นและรสชาติที่แตกต่างมากยิ่งขึ้น ซึ่งชาที่ปลูกในจีนทั้งหมดเป็นชาเขียว กระบวนการผลิตชาจะเกิดจากการรวมใบชา นำมานึ่ง และอบแห้ง ซึ่งจะเก็บได้ไม่ดีนัก สูญเสียกลิ่นได้ง่าย และรสชาติไม่ดี ในช่วงศตวรรษที่ 17 มีการค้าขายกับชาวยุโรปการผลิตเพื่อจะรักษาคุณภาพชาให้นานขึ้น โดยการหมักแล้วก็จะนำไปอบ ซึ่งก็เป็นที่มาของชาอูหลง และชาดำ ในประเทศจีน การเข้ามาของชาในประเทศญี่ปุ่นนั้น เริ่มราวต้นสมัยเฮอัน ในสมัยนั้นจีนและญี่ปุ่นเริ่มมีการติดต่อทางด้านศาสนาพุทธและวัฒนธรรมกัน บ้างแล้ว นักบวชญี่ปุ่นได้เดินทางไปเป็นทูตเรียนรู้เรื่องต่างๆ จากประเทศจีนรวมทั้งการศึกษาตัวยาสมุนไพรจากจีนอีกด้วย ชาจีนจึงเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกๆ โดยพระสงฆ์นั่นเอง เริ่มจากนักบวชจากจังหวัดไอจิ ได้นำชาอัดแข็ง (ต้องฝนกับหินก่อนแล้วจึงใส่น้ำร้อนถึงจะดื่มได้) และเมล็ดชาจำนวนไม่มากเข้ามาที่ญี่ปุ่นก่อน เมื่อจักรพรรดิได้เข้ามาเยี่ยมพระที่วัด พระ จึงชงชาใส่ถ้วยนำมาถวาย เมื่อองค์จักรพรรดิได้ดื่มชาก็เกิดความประทับใจในรสชาติ จึงสั่งให้นำเมล็ดชาไปปลูกที่สวนสมุนไพรภายในบริเวณราชวัง ชาได้แพร่หลายไปในแถบภูมิภาคคิงคิ (เกียวโต) แต่ความนิยมยังคงมีอยู่แต่ในเฉพาะกลุ่มชนชั้นสูงเท่านั้น ต่อมาในช่วงตอนต้นสมัยคามาคุระ (Kamakura) นักบวชในพุทธศาสนาเซน ได้นำเมล็ดชามาจากจีนเป็นจำนวนมากพร้อมกับกรรมวิธีการผลิตชากลับมาด้วย วิธีการผลิตดังกล่าวนั่นก็คือ การนำใบชามาบดโดยครกหินที่ทำให้เกิดความร้อนน้อยที่สุด เพื่อรักษารสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ไว้…

นำผงมัทฉะมาประกอบอาหารอย่าง โซบะชาเขียว
|

นำผงมัทฉะมาประกอบอาหารอย่าง โซบะชาเขียว

ใครที่ชื่นชอบชาเขียวเป็นชีวิตจิตใจ ยิ่งได้ชาเขียวพรี่เมี่ยมที่มีทั้งกลิ่น และรสชาติแบบออริจินัลใช้ทำเครื่องดื่มหรือขนมแล้ว เมนูนั้นจะยิ่งพิเศษ ชวนทานมากยิ่งขึ้น แต่หลายคนก็คงสงสัยเหมือนกันว่า ผงมัทฉะ เอาไปทำอย่างอื่นนอกจากเครื่องดื่มและขนมได้มั้ย???? ถ้านึกดีๆแล้ว ที่ญี่ปุ่น เรามักจะเห็นหลายๆร้านมีการนำผงมัทฉะมาประกอบอาหาร แต่เราอาจะลืมคิดไปว่าที่ไทย เมนูของคาวจากชาเขียว มีขายอยู่น้อยมาก ทั้งๆที่บางร้านเองก็ใช้ผงมัทฉะนำเข้าจากญี่ปุ่นเหมือนกัน การนำผงมัทฉะนั้นมาประกอบอาหารบ้างจึงเป็นเรื่องที่ไม่ยากเกินความสามารถแน่นอน แถมยังได้สัมผัสชาเขียวดั้งเดิมอีก ไม่ต้องไปไกลถึงญี่ปุ่น ก็ทำกินเองได้ที่บ้าน แถมยังนำมาใส่ในเมนูของคาวที่ร้านคาเฟ่ได้อีก “เส้นโซบะชาเขียวโฮมเมด” ที่ไม่ต้องผ่านกรรมวิธีทางโรงงานให้ยุ่งยาก ส่วนผสม : แป้งสาลีอเนกประสงค์ 100 กรัม แป้งบัควีต 100 กรัม น้ำ 200 กรัม ผงมัทฉะ 1 ช้อนชา เริ่มจากการผสมแป้งบัควีตกับแป้งสาลีอเนกประสงค์เข้าด้วยกัน ร่อนแป้งลงในอ่างผสม ใส่ผงมัทฉะ แล้วค่อยๆ ใส่น้ำทีละน้อยพร้อมใช้มือคนแป้งไปเรื่อยๆ นวดแป้งให้ค่อยๆ ดูดน้ำ นวดและซุยแป้งจนรู้สึกว่ามีเนื้อสัมผัสคล้ายเม็ดทราย ใส่น้ำให้เหลือประมาณ ¼ ของน้ำทั้งหมด จากนั้นใส่น้ำที่เหลือลงไปพร้อมนวดให้แป้งจับตัวเป็นก้อน ใช้ฝ่ามือนวดแป้งตรงกลางแล้วพับริมแป้งขึ้นมาทับกัน นวดแป้งแบบนี้วนไปเรื่อยๆ จนกว่าแป้งจะนุ่ม (กดแล้วเป็นรอยบุ๋ม) จากนั้นปั้นแป้งให้เป็นก้อนกลม โรยแป้งนวลบนไม้กระดานเล็กน้อย ย้ายก้อนแป้งของเรามาวางไว้ ใช้ฝ่ามือกดก้อนแป้งให้ขยายออก จากนั้นใช้ไม้คลึงรีดแป้งให้เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัสบางประมาณ…

รวมสูตรไอศกรีมชาเขียวสำหรับทุกคน
|

รวมสูตรไอศกรีมชาเขียวสำหรับทุกคน

ไอศกรีมชาเขียวเมนูที่ทำไม่ยาก แต่มีรายละเอียดเล็กน้อยที่ถ้าปรับส่วนผสมแค่เล็กน้อย จะส่งผลต่อรสชาติความเข้มข้นของชาเขียวอย่างร้านไอศกรีมชื่อดังแถวย่านอาซากุสะที่โตเกียวที่มีการทำไอศกรีมชาเขียวหลายระดับขาย แต่รอบนี้ไม่ต้องไปไกลถึงญี่ปุ่นก็เข้าครัวทำไอศกรีมชาเขียวอร่อยๆได้หลายระดับ แถมยังใช้สูตรเดียวกันนี้ไปปรับกับไอศกรีมชาโฮจิฉะได้เช่นกัน สูตรเจือจาง   สูตรธรรมดา  สูตรเข้มข้น ผงชาเขียว               2 g.            8 g.         14 g. น้ำอุ่น                   10 g.          20 g.         40 g….

ชาเขียวจับคู่กับอะไรก็อร่อย
|

ชาเขียวจับคู่กับอะไรก็อร่อย

การเติมสมุนไพร ผลไม้ หรือ ดอกไม้ ลงไปในเครื่องดื่มชา เป็นการต่อยอดเมนูชา จากรสชาติออริจินัล ให้มีสีสัน รสชาติ กลิ่น ที่เปลี่ยนไป เพิ่มความน่าสนใจแปลกใหม่ให้ผู้ที่ชื่นชอบการลองของใหม่ การเติมสิ่งต่างๆเหล่านี้ อาจจะส่งผลต่อการลดคุณประโยชน์ของชาที่ควรได้รับอย่างเต็มที่ลงไปบ้าง แต่เมนูเหล่านี้เหมาะกับการเสิร์ฟในคาเฟ่ที่บรรยากาศดีๆ ให้ลูกค้าได้รู้สึกผ่อนคลายจากความเครียดและความเหนื่อยล้าจากการทำงานได้เป็นอย่างดี เพราะของอร่อยๆย่อมทำให้คนยิ้มได้ มาลองดูกันมานอกจากชาเขียวผสมนมที่เป็นมัทฉะลาเต้แล้ว เมื่อไปมิกซ์กับส่วนผสมอื่นๆอย่างอัญชัน สตอเบอรี่ กุหลาบ หรือสับปะรด จะต้องใช้ส่วนผสม หรือวิธีทำยังไงบ้าง Matcha Hot Chocolate ส่วนผสม : นมจืด 2 ถ้วย ไวท์ช็อคโกแต ½ ถ้วย ผงมัทฉะ 1 ช้อนโต๊ะ น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ เกลือ 1 ช้อนชา มาชแมลโล่เบิร์นไฟเล็กน้อย Start :อุ่นนมมในไฟกลางให้พออุ่น ใส่ไวท์ช็อคโกแลตลงไปคนจนละลาย เติมผงมัทฉะ น้ำผึ้ง เกลือ ลงไปคนให้เข้ากัน เทใส่แก้วเสิร์ฟ หรือจะท็อปปิ้งด้วยมาร์ชแมลโล่เล็กน้อยตามชอบ ก็จะได้ชาร้อนๆพร้อมเสิร์ฟ…

รวมเทคนิคการถ่ายชวนลูกค้าเข้าร้าน
|

รวมเทคนิคการถ่ายชวนลูกค้าเข้าร้าน

ยุคโซเชียลแบบนี้ภาพที่เราใช้โพสต์ลงโซเชียลของร้าน ส่งผลต่อลูกค้าอย่างมาก ยิ่งภาพสวย ดูแล้วน่าทาน ยิ่งทำให้ลูกค้าอยากเข้ามาลองมากขึ้น มาดูเทคนิคการถ่ายภาพที่ใครเห็นแล้วก็อยากเข้าร้าน โดยต้องคำนึงไว้เวลาถ่ายว่า ถ่ายอย่างไรให้เพื่อนหิว ทำได้โดยการเข้าไปใกล้ๆ แล้วดูว่าในจานนี้มีสิ่งใดที่น่าจะยั่วน้ำลายได้ดีที่สุด ซูมถ่ายโดยให้สิ่งสิ่งนั้นเด่นที่สุดไปเลย 1. เน้นใช้สีโทนอุ่นในการถ่าย  ลดแสงสว่างของภาพลงหน่อย แต่อย่าลดมากเกินไปจะทำให้อาหารดูหมอง ไม่เห็นรายละเอียดของสิ่งที่กำลังถ่าย ถ้าจะให้ดีให้ใช้แสงธรรมชาติจะดีที่สุด พยายามเลี่ยงการใช้แฟลชของมือถือที่ใช้ถ่ายภาพ เนื่องจากจะทำให้เกิดเงา และทำให้อาหารดูแบน ไม่มีมิติ หากแสงไม่พอจริงๆ ควรใช้มือถือเครื่องอื่นส่องไฟมาในระยะห่างๆ จะดีกว่า  และให้ความสำคัญกับเงาจกแสงธรรมชาติ เพราะจะทำให้ภาพเูสมจริง น่าค้นหามากขึ้น 2.ถ่ายด้วยมุมที่เรานั่งทานอาหาร และมี Action กับอาหารบ้างเป็นการช่วยเพิ่มชีวิตชีวาและเรื่องราวให้กับภาพถ่าย การจับภาพช่วงเวลาต่างๆ เช่น ขณะกำลังเทนมลงในแก้วชา ขณะที่กำลังจะยกชาขึ้นมาดื่ม เห็นมือ หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายบ้าง จะทำให้ภาพดูมีมิติมากขึ้น 3.ทำขนาดภาพเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสเป็นขนาดอัตราส่วน 1:1 หรือ Square เป็นที่นิยมค่อนข้างมาก เพราะรูปขนาดนี้จะช่วยทำให้เราเห็นดีเทลของอาหารได้ชัดขึ้น เห็นได้ใกล้ขึ้น ก็จะดูน่าทานมากขึ้นไปด้วย 4.ลองเพิ่มองค์ประกอบอื่นๆเข้าไปในภาพ ภาพอาหารแบบที่ใส่ในจานหรือถ้วยแบบเดิมๆอาจจะดูน่าเบื่อเกินไปสำหรับบางคน ลองวางของตกแต่งอื่นๆที่แปลกตาไว้ข้างๆจาน อาจจะเป็นของที่เกี่ยวข้องกันอย่างฉะเซน กาชา ในขณะชงชา หรือ ต้นไม้  ผ้าสวยๆสักผืน…

ชา กับ กาแฟ เครื่องดื่มที่เป็นที่นิยม
|

ชา กับ กาแฟ เครื่องดื่มที่เป็นที่นิยม

ถ้าพูดถึงเครื่องดื่มที่เป็นที่นิยมทั่วโลก คงหนีไม่พ้น ชาและกาแฟเห็นได้จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่ให้ความนิยมเครื่องดื่ม 2 ชนิดนี้มากขึ้น ไม่ว่าจะไปที่ไหนๆ ก็มีร้านชา หรือกาแฟ เต็มไปหมด แน่นอนว่า ทั้งชาและกาแฟมีคาเฟอีนเหมือนกันทั้งคู่ ซึ่งหลังจากเราดื่มชาหรือกาแฟเข้าไปแล้วจะรู้สึกตื่นตัวด้วยฤทธิ์ของคาเฟอีน และรู้สึกว่ากระหายน้ำ เพราะร่างกายจะพยายามกำจัดคาเฟอีนที่สูงออกไปนั่นเอง หากเปรียบเทียบปริมาณคาเฟอีนระหว่างใน 1 แก้ว ระหว่างชากับกาแฟ กาแฟจะมีปริมาณคาเฟอีนอยู่ที่ 90-170 มิลลิกรัม ส่วนชาจะมีคาเฟอีนอยู่ที่ 25-70 มิลลิกรัม จะเห็นได้ว่าปริมาณในชาพบได้น้อยกว่ามาก ดังนั้นคนที่มองหาตัวเลือกเพื่อสุขภาพ ก็อาจจะเลือกชาเป็นตัวเลือกแรก ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าชา หรือกาแฟอันไหนดีกว่ากัน แต่ตามหลักความเป็นจริงแล้ว ทั้ง 2 ชนิดมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะการดื่มของแต่ละคนด้วย หากดื่มในสัดส่วนที่พอดี จะให้ประโยชน์ต่อร่างกาย แต่หากดื่มในปริมาณมากๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น มะเร็งหลอดอาหารที่มาจากการดื่มชา โรคกระดูกพรุนจากการดื่มกาแฟ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ชาและกาแฟก็มีประโยชน์ต่อร่างกายในด้านอื่นๆเช่นกัน เช่น เมื่อคุณมีอาการหนาว สิ่งที่ควรดื่มคือกาแฟเพราะหลังจากดื่มเพียงแค่ 10 นาที คาเฟอีนในกาแฟจะทำให้มีการเต้นของหัวใจและความดันเลือดที่ดีขึ้น และสิ่งที่ผสมลงไปในกาแฟ เช่น พวกนม น้ำตาล…

How to ใช้ฉะเซ็น ….ใช้ยังไงให้ใช้ได้นาน

How to ใช้ฉะเซ็น ….ใช้ยังไงให้ใช้ได้นาน

ช่วงเศรษฐกิจไม่ดีแบบนี้ การจับจ่ายใช้สอยแต่ละอย่างจะต้องคิดให้ดี รวมถึงการใช้ของที่มีอยู่แล้วยังไงให้ใช้ได้นานและถูกวิธีที่สุด มาดูกันว่าฉะเซ็น อุปกรณ์คู่ใจของคนรักชา มี How to ใช้ฉะเซ็น ….ใช้ยังไงให้ใช้ได้นานที่สุด ….

รู้ไหมว่า…ชงชาเขียวใช้น้ำแบบไหน?

รู้ไหมว่า…ชงชาเขียวใช้น้ำแบบไหน?

รู้มั้ยว่าการชงชาด้วยน้ำเดือด 100 องศา ใบชาจะเฉา เหี่ยว และขับสารแคทิซีนออกมาเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ชามีรสขม เวลาดื่มรสสัมผัสจะน้อยลง การชงชาเขียว จึงต้องใช้น้ำร้อนอุณหภูมิต่ำกว่า 100 องศา แต่ถ้าเป็นมัทฉะและเซนฉะใช้น้ำร้อน ร้อนแค่ 85 องศา ก็เพียงพอแล้ว

ชาจีนต่างกับชาญี่ปุ่นอย่างไร

ชาจีนต่างกับชาญี่ปุ่นอย่างไร

ไม่ว่าที่ประเทศจีน และที่ญี่ปุ่น ก็มีชาเป็นเครื่องดื่มหลักเหมือนกัน เพราะชา เป็นเครื่องดื่มที่อุดมด้วยสารอาหาร ดีต่อสุขภาพ เช่นเดียวกัน