เข้าใจความต่างของผงมัทฉะ Ceremonial grade และ Cooking grade

Matcha Powder

เคยสังเกตมั้ยว่าชาเขียวที่เราซื้อกินตามท้องตลาด หรือจากร้านคาเฟ่ต่างๆมีสีเขียวที่เข้มอ่อนแตกต่างกันไป ทั้งที่เป็นชาเขียวเหมือนกัน นั้นเป็นเพราะผงมัทฉะมีหลายเกรด ซึ่งแต่ละเกรดก็จะมีลักษณะ รสชาติ กลิ่น สี ที่ไม่เหมือนกันเกิดจากใบชาที่ผ่านกระบวนการเก็บเกี่ยวที่แตกต่างกัน ซึ่งผงมัทฉะแต่ละเกรด ก็เหมาะกับการใช้งานที่ไม่เหมือนกัน กล่าวคือ

ผงมัทฉะสามารถแบ่งออกเป็น 2 เกรดกว้างๆ คือ 1. Ceremonial grade ( มัทฉะพิธีการ ) และ  2. Cooking grade หรือ Culinary Grade ( มัทฉะสำหรับทำอาหาร ) ซึ่งการแบ่งผงมัทฉะออกเป็น 2 เกรดนี้ มีลักษณะที่คล้ายกับการแบ่งประเภทไวน์ที่แบ่งเป็นไวน์ชั้นดีสำหรับการดื่มเพียวๆ กับไวน์ที่ใช้ปรุงอาหาร

 

Ceremonial grade ( มัทฉะพิธีการ ) ด้วยรสชาติที่นุ่มนวล และหอมหวานตามธรรมชาติ และไม่มีรสขมเลยของผงมัทฉะที่มีสีเขียวสดใส ให้สีที่ชัดกว่า Cooking Grade มัทฉะพิธีการจึงเป็นชาเกรดสูงจึงเทียบได้กับไวน์ชั้นดี ที่มีรสชาติที่ละเอียดอ่อน แม้ใช้ปริมาณเพียงเล็กน้อยในการชงก็ทำให้ได้รสชาติที่ดีได้ ผงมัทฉะเกรดนี้เนื้อผงชาจะเนียนเหมือนผงแป้ง และให้รสสัมผัสที่ดีมาก จึงเหมาะสำหรับชงดื่มร้อนๆ หรือปรุงรสแบบธรรมดาที่สุด เพื่อให้ได้สัมผัสที่นุ่มนวลพร้อมความหวานเบาๆ คนญี่ปุ่นนิยมใช้ชาเกรดนี้ในพิธีชงชา ตามแบบวัฒนธรรมของญี่ปุ่นดั้งเดิม ไม่นิยมนำไปทำขนมหรืออาหาร เพราะถ้าไปชงเป็นมัทฉะลาเต้ หรือทำขนม รสชาตินุ่มนวล หอมหวาน อาจจะโดนวัตถุดิบอื่นกลบ และที่สำคัญชาเกรดพิธีการนี้ เป็นชาที่ราคาค่อนข้างสูงมาก หากใช้ทำขนมหรือลาเต้อาจจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นด้วย

ส่วน Cooking grade หรือ Culinary Grade ( มัทฉะสำหรับทำอาหาร ) เป็นชาเกรดใช้กับการทำขนม อาหาร สมูตตี้ ไอศครีมและเครื่องดื่มร้อนเย็น เมื่อนำไปปรุงกับส่วนผสมอื่นจะยิ่งทำให้รสชาติของชาเขียวในเมนูนั้นๆโดดเด่นยิ่งขึ้น สีของผงชาเกรดนี้ไม่ได้เขียวสดใสเหมือนมัทฉะพิธีการ เพราะมาจากใบชาที่เก็บเกี่ยวครั้งหลังๆ ซึ่งผงมัทฉะชนิดนี้ก็มีการแตกย่อยลงไปอีก ตามกลิ่น สี และรสชาติของผงชาเพื่อให้เหมาะกับเมนูที่แตกต่างกัน หากใครที่ชื่นชอบความเข้มและออกรสขมของชาเกรดนี้ สามารถเลือกมาชงชาเขียวเพียวๆดื่มได้ แต่จะไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าตัว Ceremonial Grade

Matcha Quality

อย่างไรก็ตาม ชาทั้ง 2 ชนิดจะมีลักษณะที่ต่างกัน เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ดังนี้

  1. การเก็บเกี่ยว มัทฉะพิธีการจะมาใบยอดอ่อนใบแรกของชาที่เป็นใบที่ดีที่สุด ในช่วงประมาณปลายเดือนเมษายนหรือต้นเดือนพฤษภาคมเท่านั้น ซึ่งเป็นการเก็บเกี่ยวครั้งแรก มักจะได้ใบชาที่ดีที่สุดเนื่องจากต้นชายังคงรักษาสารอาหารที่สะสมไว้ในช่วงฤดูหนาว โดยยอดใบชาที่เลือกเก็บจะให้รสชาติที่หวานกว่าใบล่างๆ แต่มัทฉะสำหรับทำอาหารมาจากการเก็บเกี่ยวครั้งที่ 2 ซึ่งใบชาจะมีรสที่ขมกว่า สีไม่สดใสเท่าชาเกรดพิธีการและตัวใบชาจะแข็งกว่าCeremonial grade&Cooking grade
  2. สีของผงชา สีเขียวสดใสเป็นสิ่งสำคัญและบ่งบอกถึงความสดชื่น และคุณภาพของชาเกรดสูง ผงมัทฉะเกรดพิธีการที่มีคุณภาพชาสูง จึงมีสีเขียวสดใสกว่าเมื่อเทียบกับมัทฉะสำหรับทำอาหาร เนื่องจากเป็นใบชาที่เก็บเกี่ยวครั้งแรกซึ่งมีคลอโรฟิลล์และแอล – ธีอะนีนสูงที่สุด ส่วนผงมัทฉะสีเขียวค่อนไปทางเหลือง หรือสีเขียวไม่สดใสแสดงให้เห็นว่ามาจากใบชาที่เติบโตมานานแล้ว เป็นใบที่เก็บเกี่ยวจากด้านล่างของต้นชานั่นเอง อย่างไรก็ตามชาบางสายพันธุ์ของญี่ปุ่นที่ปลูกด้วยดินภูเขาไฟอยู่โดยรอบเยอะ ก็ส่งผลต่อสีของชาเช่นกัน เช่น  พันธุ์ Kagoshima matcha เป็นที่รู้จักกันดีว่า มีสีเขียวเข้มเล็กน้อย แต่ พันธุ์ Seimei จะมีสีเขียวสดใสมาก

Matcha Powder2นอกจากความต่างข้างต้นแล้ว หากใบชามาจากไร่ชาออร์แกนิค ก็จะมีรสชาติที่แตกต่างไปกับไร่ชาปกติที่อาจจะมีการใช้สารเคมีในการปลูกอีกด้วย ข้อควรระวังสำหรับการเลือกใช้มัทฉะสำหรับปรุงอาหารที่มีอยู่ในท้องตลาดทุกวันนี้ หากเลือกเกรดที่ราคาถูกมากๆอาจจะมีรสฝาดเกินไปแทบจะไม่เห็นรสชาติของมัทฉะเลย

Matcha Powder
อย่างไรก็ตามมัทฉะทั้งสองเกรดได้รับการออกแบบมาเพื่อการใช้งานที่แตกต่างกันจึงไม่อาจเอามาเทียบกันได้อย่างชัดเจน ซึ่งผงมัทฉะสำหรับการทำอาหารก็ยังสามารถแบ่งออกเป็นประเภทย่อยๆอีกหลายประเภทได้ ตามลักษณะการใช้งาน ซึ่งการเลือกใช้ผงมัทฉะทั้ง 2 เกรด ขึ้นอยู่กับความชอบและผลลัพธ์ที่เราต้องการให้ออกมามากกว่า ว่าอยากกินเป็นไอศครีม นามะช็อคโกแลต พุดดิ้ง ชีสเค้กที่ได้รสชาติชาและสีชาเขียวที่ค่อนข้างชัด ที่เหมาะกับการใช้ชาเกรดสูงสุดของชาสำรับทำอาหาร ส่วนตัวที่เกรดรองๆลงไปก็ใช้ทำขนมที่ต้องการความเข้มข้นออกขมๆ เช่น บราวนี่ เค้ก หรือเส้นโซบะ หรือถ้าใช้แต่สีไม่เน้นรสชาติชัดเจนมาก็อาจจะใช้ชาเขียวเกรดรองลงมาในการทำขนมปัง ใช้โรยหน้าขนมนั่นเอง แต่หากต้องการชงดื่มกับน้ำเปล่าเพียวๆ เพื่อให้ได้รสอูมามิของชา แนะนำเป็นชาเกรดพิธีการจะเหมาะกว่านอกจากการแบ่งเกรดชาตามระะเก็บเกี่ยวแล้ว ยังสามารถแบ่งออกได้อีก 2 ประเภทตามลักษณะการชงชา เรียกว่า การชงแบบ KOICHA และ USUSHA ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2RrD29N

ที่มา

https://www.matchaeologist.com/blogs/explore/ceremonial-vs-culinary-matcha

https://naokimatcha.com/articles/ceremonial-gradematcha/

http://fullleafteacompany.com/products/matcha

บทความจากFuwafuwa

ทำความรู้จักกระบวนการผลิตชา (Tea Processing)

กระบวนการผลิตชาถือได้ว่าเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง เพราะการควบคุมการผลิตอย่างใกล้ชิด และด้วยความประณีตทุกขั้นตอนการผลิตจะทำให้ได้ชาหลากหลายชนิดและรสชาติที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ใบชาแห้ง หรือที่เรียกว่า Withering ผ่านการ Rolling และการหมักหรือการทำปฏิกิริยาออกไซด์ ทุกขั้นตอนล้วนมีความสำคัญต่อรสชาติของชา ซึ่งการผลิตที่จะได้ใบชาที่ดี ต้องผ่านปลูกในคุณภาพดีเช่นกัน เพราะส่วนสำคัญมาจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติทั้งภูมิประเทศและภูมิอากาศ และยังมีอีกหลายเรื่องที่เป็นข้อควรรู้ของการปลูกชาเขียว ( อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3eRNXRU ) ที่ญี่ปุ่นเองก็มีไม่กี่ที่ ที่สามารถปลูกชาเขียวได้ผลผลิตดี ที่รู้จักกันดีจะเป็นบริเวณ เมืองอูจิ เกียวโตที่เกษตรกรมีประสบการณ์ทั้งเทคนิค การปลูกและการเก็บเกี่ยวTea Processing

ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวใบชาจะเริ่มในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม เมื่อใบอ่อนได้รับการคัดเลือกอย่างพิถีพิถันจากต้นชาโดยยอดอ่อนที่ดีที่สุดนั้น เรียกว่า “ichibancha (一番茶)” โดยผู้เชี่ยวชาญจะคัดเลือกเฉพาะส่วนที่เป็นใบอ่อนที่สุดและเขียวที่สุดของเพื่อเป็น namacha (生茶) หรือ “ชาสด” นั่นเอง ก่อนนำใบชาเข้าสู่ขั้นตอนหลักๆในการผลิต ดังนี้

  1. การทำให้ใบแห้ง (Withering) กระบวนการนี้ทำโดยนำใบชาสดมาสลัดความชุ่มชื้นที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 8-24 ชั่วโมง (แล้วแต่ชนิดของชาที่ต้องการกระผลิต) โดยตากใบที่เพิ่งเก็บให้แห้งเพื่อลดส่วนประกอบน้ำในใบชา 50-60% ลักษณะใบชาที่ได้ ใบอ่อนนิ่ม และดัดงอง่าย เพื่อจะนำไปผ่านกระบวนการขั้นต่อไปTea Processing
  2. การหมุนกลิ้ง (Rolling) โดยการรีดใบให้แห้งโดยทำให้บิดงอและยุ่ย ในการหมุนกลิ้งจะมีใบที่แตกหักบ้างถือเป็นเรื่องปกติ หากไม่มีเครื่องบางที่อาจใช้การเขย่าหรือใช้มือก็ได้ โดยในระหว่างกระบวนการหมุนกลิ้งจะมีน้ำมันออกจากใบชา ทำให้ชามีกลิ่นหอมพิเศษเฉพาะ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางเคมีจะเกิดช่วงเวลาสั้นๆผ่านการหมุนกลิ้งจะ จะทำให้ได้ใบชาที่รสดีและกลิ่นหอม  หลังจากนั้นจะถูกส่งเข้าเครื่องร่อน เพื่อแยกประเภทชา ใบที่เล็กจะไปสู่ขั้นตอนต่อไป ในขณะใบที่ใหญ่และแข็งกว่าจะถูกตีกลับไปหมุนกลิ้งครั้งที่ 2Tea Processing
  3. การหมักหรือการทำปฏิกิริยาออกไซด์ (Oxidation/Fermentation) เป็นกระบวนการทางเคมีที่ออกซิเจนถูกดูดซึมเพื่อปลดปล่อยเอนไซม์ที่ทำปฏิกิริยากับอากาศ โดยจะเริ่มต้นเมื่อเยื่อบุผิวใบแตกหักระหว่างการทำปฏิกิริยาออกไซด์ส่งผลให้ใบเปลี่ยนเป็นสีทองสว่าง ขั้นนี้เองเป็นปัจจัยสำคัญที่ตัดสินว่าชาจะเป็นชนิดใด ระหว่างชาเขียว ชาดำ หรือชาอู่หลง เป็นระยะหัวเลี้ยวหัวต่อที่ส่งผลต่อกลิ่นหอม สี หากขั้นตอนนี้หยุดเร็วเกินไปชาก็จะมีสีเขียว และอาจมีรสชาติคล้ายโลหะ ถ้าหมักนานเกินไปมันจะค่อยๆ หวานและสูญเสียทั้งคุณภาพและกลิ่นหอมไปนั้นเอง
  4. การทำให้แห้งหรือการก่อไฟ  ขั้นตอนนี้จะทำให้ใบแห้งเสมอกันทั่วทั้งใบ โดยใช้ความร้อนประมาณ 120-200 องศาฟาเรนไฮต์ต่อเนื่อง เพื่อหยุดกระบวนการหมักของปฏิกิริยาออกไซด์ ซึ่งการหยุกกระบวนการหมักของปฏิกิริยาออกไซด์สามารถกระทำได้ 2 วิธี คือ การอบไอน้ำโดยใช้ความร้อน หรือโดยการคั่ว จะทำการวางใบชาไว้ในอ่างเหล็กขนาดใหญ่ประมาณ 20-30 วินาที และให้ความร้อนถึง 100 องศาเซลเซียส เป็นการหยุดการทำลายเอนไซม์ที่เป็นสาเหตุของการหมัก ใบชาจึงยังคงเขียว ส่วนการทำให้แห้งโดยการคั่วจะส่งผลให้ใบชาเปลี่ยนเป็นสีดำและแห้ง คงเหลือความชุ่มชื้นเพียง 2-3% อย่างไรก็ตาม ความร้อนมากเกินไปอาจทำให้ชาสูญเสียรสชาติ สี และกลิ่นหอมได้
  5. การแบ่งระดับ เป็นขั้นตอนที่มีการแบ่งระดับใบโดยใช้เครื่องร่อนแยกหรือตะแกรงร่อนที่มีปากกระบอกขนาดต่างกัน
    Tea Processingซึ่งขั้นตอนทั้งหมดข้างต้น ไม่ได้หมายถึงชาทุกชนิดต้องผ่านขั้นตอนนี้ แต่เป็นเพียงภาพรวมของกระบวนการแปรรูปใบชาเท่านั้น การผลิตชาแต่ละชนิดจะมีจุดต่างกันอยู่เพียงเล็กน้อย ก็ได้รสชาติที่ต่างกัน เช่น การผลิตชาขาวมีขั้นตอนที่สั้นที่สุด เนื่องจากไม่ต้องผ่านกระบวนการหมุนกลิ้งและกระบวนการหมักหรือการทำปฏิกิริยาออกไซด์ ยอดใบชาที่ยังอ่อนๆ จะถูกเก็บและนำมาตากไว้ให้แห้ง ก่อนจะนำมาเข้าสู่ขั้นตอนการทำแห้งโดยใช้ความร้อนอบไอน้ำทันที เนื่องจากชาขาวไม่มีกระบวนการหมัก ทำให้สีของใบชายังออกเป็นสีเขียวขาวอยู่หากพูดถึงการผลิตชาดำ เป็นชาที่ผ่านขั้นตอนการแปรรูปมากที่สุด ใบชาที่เก็บจะผ่านกระบวนการหมักเต็มที่ ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอนพื้นฐานข้างต้น โดยช่วงที่นำไปทำให้แห้ง จะทำให้ใบแห้งถึง 80% นั่นเองถึงจะได้เป็นชาดำ แต่ถ้าทำให้แห้งมากเกินไปอาจจะไม่มีกลิ่นหอม ซึ่งวิธีทำชาอู่หลงจะคล้ายกับชาดำ แต่ความแตกต่างอยู่ที่ใบถูกตากแดดโดยตรง โดยใช้เวลา 6 ชั่วโมง จากนั้นจึงเขย่าใบในตะกร้าไม้ไผ่เพื่อทำให้ขอบใบมีตำหนิ ในขณะที่ส่วนกลางยังคงสีเขียว เวลาที่ใช้ในการหมักจะประมาณครึ่งหนึ่งของชาดำ การทำปฏิกิริยาออกไซด์ถูกหยุดโดยการก่อไฟ สำหรับชาอูหลง ใบผ่านความร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่า เนื่องจากมีส่วนผสมน้ำต่ำกว่านั่นเองTea Processing

ส่วนชาเขียวเริ่มต้นจากการทำให้ใบชาแห้งเหี่ยวเป็นอันดับแรก หลังจากนั้นวางบนกระทะก่อไฟหรือนำใบชามาอบไอน้ำ เพื่อป้องกันปฏิกิริยาออกไซด์ สุดท้ายคือ การหมุนกลิ้งใบและทำให้แห้งอย่างรวดเร็วครั้งสุดท้าย ด้วยวิธีการดังกล่าว จึงทำให้ใบชายังคงมีสีเขียว จากกระบวนการผลิตที่ง่ายและน้อยขั้นตอน ทำให้ชาเขียวยังคงมีสารในพืชที่มีประโยชน์หลงเหลืออยู่มากกว่าชาชนิดอื่นๆนั่นเอง ทั้งนี้ชาเขียวเองยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ชาเขียวอบไอน้ำและชาเขียวคั่ว

1.1 ชาเขียวอบไอน้ำ เป็นการหยุดกระบวนการทางเคมีในใบชาด้วยการอบไอน้ำในช่วงเวลาสั้นๆ คือ เมื่อเก็บยอดชาต้องนำมานึ่งด้วยไอที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 0.7 นาที เพื่อหยุดกิจกรรมของเอนไซม์ พอลิฟีนอล ออกซิเดส เสร็จแล้วนำไปนวดอบไอร้อนเพื่อลดปริมาณความชื้นในใบลง ต่อจากนั้นนำมานวดในห้องอุณหภูมิปกติเพื่อทำให้เซลล์แตก และนวดด้วยความร้อนอีก เพื่อทำให้ใบชาม้วนตัวสวยงาม แล้วนำไปอบแห้งให้ความชื้นในใบชาลดเหลือ 4 % ชาเขียวอบไอน้ำส่วนใหญ่ มีการแปรรูปในประเทศญี่ปุ่น สีของน้ำชาประเภทนี้จะมีสีเขียวถึงเขียวอมเหลือง เนื่องจากยังมีคลอโรฟิลล์อยู่

1.2 ชาเขียวคั่ว เป็นชาที่หยุดกระบวนการทางเคมีในยอดชาด้วยการคั่วด้วยกระทะร้อนที่อุณหภูมิสูงประมาณ 300-350 องศาเซลเซียส แล้วนำไปนวดให้เซลล์แตกจนม้วนตัว และอบแห้ง ชาเขียวคั่วสามารถแยกได้เป็น 2 แบบ คือ ชาเขียวคั่วหมักอ่อน และชาเขียวที่ไม่มีการหมัก สีน้ำชามีสีเขียวอ่อนอมเหลือง

จากกระบวนการผลิตชาหลากหลายขั้นตอนข้างต้นสามารถสรุปให้เข้าใจได้ง่ายๆตามแผนภาพนี้

Tea Processing chart

เชื่อว่า คนรักชา ถ้าได้อ่านบทความนี้แล้ว หลายๆคนเริ่มจะสนใจอยากเข้าไปทั่วชมไร่ชาที่ญี่ปุ่นกันอย่างแน่นอน ^^

ที่มา

http://www.refresherthai.com/article/teaMade.php

http://www.ocha.tv/how_tea_is_made/process/schedule_ryokucha/

บทความจาก : Fuwafuwa

ความแตกต่างของ KOICHA และ USUCHA

Making Matcha Usucha and KoichaMaking Matcha Usucha and Koicha

เคยสงสัยมั้ยว่าทำไมชาเขียวบางร้านรสเข้มข้น บางร้านรสจางมาก ทั้งๆที่ใช้ผงมัทฉะตัวเดียวกัน นั้นเป็นเพราะการชงชาเขียวแท้จริงแล้วตามแบบวัฒนธรรมญี่ปุ่นมี 2 แบบ เรียกว่า Usucha และ Koicha เป็นวิธีดั้งเดิมในการเตรียมมัทฉะ ที่มีที่มาที่ไปจากพิธีชะโด พิธีชงชาญี่ปุ่นนั่นเอง

หากแปลจากภาษาญี่ปุ่นง่ายๆตรงตัวเลย Usucha หมายถึง “ชาบาง ๆ ” ในขณะที่ Koicha หมายถึง “ชาเข้มๆ” ซึ่งอ่านแล้วก็อาจจจะยังไม่เข้าใจเท่าไหร่ แต่ความหมายจะตรงตัวเลย กล่าวคือ มัทฉะแบบ Usucha ( อุสุฉะ ) จะมีชั้นฟองที่เข้มข้นที่พื้นผิวซึ่งสามารถทำได้อย่างง่ายดายจากการตีชาด้วยแปรงฉะเซน รสชาติจะนุ่มนวล ตอนดื่มเข้าไปช่วงแรกจะหวานอมขม พอกลืนเข้าไปถึงได้รสชาติอูมามิ เป็นการชงในถ้วยเล็กๆ เพื่อดื่มคนเดียว ชาจึงมีรสอ่อนๆ ขมนิดหน่อย ในพิธีกรรมชงชาสมัยก่อน ชาชนิดนี้จะรับประทานคู่กับขนมญี่ปุ่นแบบ Higashi แต่ปัจจุบันรับประทานคู่กับ นามะกาชิ เช่น พวกโมจิ ดังโงะ เนริคิริ และโยคัง เป็นต้น

Making Matcha Usucha and KoichaMaking Matcha Usucha and Koicha

ในทางกลับกันมัทฉะแบบ Koicha ( โคอิฉะ ) จะมีความเข้มข้นกว่ามาก มีรสชาติอูมามิที่อาจจะหนักเกินไปสำหรับผู้เริ่มต้นดื่มมัทฉะ เพราะโคอิชะต้องใช้ผงมัทฉะในปริมาณประมาณสองเท่าจากปกติและปริมาณน้ำครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับอุสุฉะ เพราะในพิธีชงชานั้นโคอิฉะ ต้องชงในภาชนะใหญ่ ดื่มกันได้หลายคน จึงต้องชงให้มีรสชาติเข้มข้นขึ้น

จะเห็นได้ว่าการชงมัทฉะแบบดั้งเดิมใน 2 รูปแบบนี้ นิยมใช้มัทฉะเกรดคุณภาพสูงในพิธีการ กล่าวคือ ใช้ผงชาที่ใบชาได้รับการคลุมใบ ให้โดนแดดน้อยที่สุดในช่วงเวลาประมาณ 20 วันแรก ช่วงเวลานี้คำนวณจากช่วงที่ดอกตูมแรกเริ่มแตกหน่อ การคลุมเพื่อบังแดดนี้ช่วยป้องกันความหวานในใบไม้และจำกัดความขมที่สามารถผลิตได้ ใบชาจะถูกเก็บเกี่ยวโดยช่างเลือกมือที่มีความชำนาญ เพื่อรักษาคุณภาพของใบชาให้ถึงขั้นสุดท้าย เพราะเมื่อเก็บใบชามาแล้ว จะต้องนำไปนึ่ง เพื่อขัดขวางการเกิดออกซิเดชันของใบชา และรักษาสีเขียวและความสด
จากนั้นนำไปอบแห้งและคัดแยกเพื่อเตรียมสำหรับบดด้วยครกหินแกรนิตขนาดใหญ่  เป็นผงชาละเอียดที่เรียกว่า matcha [抹茶] ไม่ว่าจะหมุนปูนด้วยตนเองหรือด้วยกลไกอัตโนมัติปริมาณผงชาที่สามารถรวบรวมได้ในหนึ่งชั่วโมงเพียงสี่สิบกรัมเท่านั้น ซึ่งใบชาคุณภาพดีที่สุดนั้น ทำมาจากใบอ่อนยอดบนสุด การผลิตจึงต้องใช้แรงงานมาก ทำให้ราคาค่อนข้างสูงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นั่นเอง

ชาเขียว จึงเป็นเครื่องดื่มที่อยู่คู่กับคนญี่ปุ่นมาช้านาน ผ่านพิธีอันเป็นเอกลักษณ์ของงานสำคัญต่างๆ เช่น ต้อนรับแขกคนสำคัญ งานวันเกิด หรือการเปลี่ยนฤดูกาล เพื่อให้ได้สัมผัสอรรถรสการดื่มชาอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามการทำอุสุฉะและโคอิฉะด้วยตัวเอง ไม่ได้ทำให้กิจกรรมนั้นๆ กลายเป็นพิธีชงชามัทฉะที่สมบูรณ์ตามแบบญี่ปุ่นแต่อย่างใด เพราะในพิธีจริงๆมีขั้นตอนอื่นๆอีกหลายขั้นที่ซับซ้อนพอสมควร
ดังนั้นร้านคาเฟ่สมัยนี้บางร้านจะมีการเอาชื่อการชงชา 2 ประเภทนี้มาตั้งเป็นชื่อเมนู เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจถึงรสชาติและความเข้มข้นของชาเพียงเท่านั้น ไม่ได้มีพิธีชงชาตามแบบฉบับญี่ปุ่นในตอนเสิร์ฟแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตามแม้ชาอุสุฉะจะเป็นชารสชาติบางๆไม่เข้มข้นมาก ก็อาจจะยังเข้มไปสำหรับผู้ที่ไม่เคยลองมัทฉะ หากไม่ใช่คนดื่มชาเป็นประจำ มือใหม่หัดดื่มมัทฉะ จะแนะนำให้เริ่มดื่มจากมัทฉะลาเต้ก่อน หรือถ้าเป็นมัทฉะเพียวก็ควรชงที่จางกว่าแบบต้นฉบับของอุสุฉะจะดีที่สุด

Making Matcha Usucha and KoichaMaking Matcha Usucha and Koicha

How to prepare Usucha and Koicha

หากต้องการชงแบบ Usuchaให้ใช้ ผงมัทฉะ 1 ช้อนชา ผสมน้ำร้อน 60 ml แล้วใช้ฉะเซ็นตีเป็นรูปตัว M อย่างรวดเร็วจนละลาย ทำอย่างนี้จนกว่ามัทฉะจะมีฟองโฟมหนาและมีฟองอากาศเล็ก ๆ จำนวนมาก จบด้วยการตีเป็นวงกลมแล้วยกฉะเซนออกจากตรงกลางชาม

การแบบเข้มข้น Koichaให้ใช้ผงมัทฉะ 2 ช้อน กับน้ำร้อน 30 ml แล้วใช้ฉะเซ็นคนเป็นวงกลมอย่างช้า ๆ จนละลาย หลีกเลี่ยงการทำให้เกิดฟอง เพื่อให้ได้มัทฉะเข้มข้นที่มีความสม่ำเสมอของรสชาติ ส่วนน้ำที่ใช้ในการชงชาทั้ง 2 แบบนั้น ควรเป็นน้ำร้อนอุณหภูมิ 85 องศา ก็เพียงพอแล้ว ข้อนี้เป็นอีกข้อพึงระวังเพื่อรักษารสชาติชาให้ดีที่สุด เพราะชาแต่ละแบบก็เหมาะกับน้ำที่แตกต่างกันออกไป ( อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3tWmvZj  ) นอกจากข้อระวังเรื่องอุณหภูมิแล้ว น้ำที่ใช้ชงมัทฉะก็ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำแร่ เพียงแค่ใช้น้ำที่มีค่า pHเป็น กลาง ก็พอแล้ว ( อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3dRldcB)

Making Matcha Usucha and Koicha

ที่มา

https://naokimatcha.com/recipes/usucha-and-koicha-2/

บทความจากFuwafuwa

ชงชาเขียวด้วยไมโครเวฟได้มั้ยนะ??

make matcha by using microwave

วัฒนธรรม ประเพณีการชงชาเขียวแบบญี่ปุ่นนะ จะใช้ฉะเซ็นในการตีผงชาให้ละลาย ซึ่งอุปกรณ์และเทคโนโลยีทุกวันนี้ได้เปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปอย่างมาก บางคนอาจจะเคยอ่านบทความเจอว่า ไม่ต้องใช้ฉะเซ็น แต่ใช้เครื่องตีฟองนม หรือเครื่องปั่นก็สามารถตีผงชาให้ละลายได้แล้ว แล้ว “ไมโครเวฟ” เครื่องใช้ไฟฟ้าที่แสนสะดวกสบาย จะสามารถละลายผงชาได้หรือไม่ ความร้อนของไมโครเวฟร้อนเกินไปจนทำให้คุณค่าทางสารอาหารเสียไปหรือไม่เพียงพอต่อการทำละลายผงชามั้ย มาไขข้อข้องใจกัน

เชื่อว่าอาจจะเคยได้ยินกันมาว่า การนำน้ำเปล่าเข้าไมโครเวฟ ไม่ควรทำ เพราะน้ำจะปะทุขึ้นมาเมื่อถึงจุดเดือดจนกระจายเต็มไมโครเวฟ ถ้าต้องการใช้น้ำร้อนจริง ๆ แนะนำให้ใช้วิธีอื่น เช่น กระติกต้มน้ำร้อนหรือใช้หม้อต้มบนเตาดีกว่า แต่เป็นที่น่าแปลกใจเมื่องานวิจัยของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่ออสเตรเลีย พบว่า ชาเขียวที่ใช้ไมโครเวฟจะสกัดสารอาหารและคาเฟอีนที่เป็นประโยชน์ได้มากกว่าเมื่อเทียบกับวิธีการสกัดอื่นๆ เช่นการให้ความร้อนแบบเดิม

การดื่มชาร้อนเกินไป จะทำให้สารสำคัญที่มีประโยชน์ อย่าง”คาเทชิน” ถูกความร้อนทำลายไปเกือบหมด จนเหลือแต่รสชาติและความหอม แต่ถ้าต้องการให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากการดื่มชาแบบร้อนๆ ก็ควรดื่มน้ำชาที่เข้มข้นมากขึ้น เพราะความเข้มข้นของใบชาที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ปริมาณของสารคาเทชินเพิ่มขึ้นไปด้วย แม้ว่าสารเหล่านี้จะสลายตัวไปบางส่วนเมื่อถูกความร้อนก็ตาม แต่ก็ยังคงมีบางส่วนที่หลงเหลือพอที่จะให้ประโยชน์ต่อสุขภาพได้บ้าง ยังมีข้อมูลจาก ผอ.สถาบันเวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ ได้ระบุว่า การดื่มชาร้อนนั้นมีผลการวิจัยที่ระบุว่า สารต้านอนุมูลอิสระในชาจะหายไปประมาณ 20% หากโดนความร้อนนานๆ และให้เคล็ดลับการชงชาเขียวเพื่อให้สารต้านอนุมูลอิสระยังคงอยู่ ด้วยการบีบน้ำมะนาวลงไปในระหว่างการชงชานั่นเอง


make matcha by using microwave

make matcha by using microwave

มีการศึกษาทดลองชงชาเขียวด้วยไมโครเวฟ 1 นาที ความร้อน 400 วัตต์ เพื่อแยกคาเทชินออกจากชาเขียว เทียบกับการชงด้วยการให้ความร้อนจากกาต้มน้ำแบบเดิม ที่ทำให้ชาเขียวมีอุณหภูมิอยู่ที่ 80 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 30 นาที พบว่าชาเขียวในไมโครเวฟมีคาเทชินในระดับที่สูงกว่าการให้ความร้อนแบบใช้กาต้มน้ำแบบเดิม

ในการศึกษาทดลอง ยังพบอีกว่าการใช้ไมโครเวฟ จะสามารถรสกัดคาเทชินและโพลีฟีนอลได้ในในระดับที่สูงขึ้น ทำให้ชาเขียวมีรสชาติหวานกว่ามีสีสันกว่า และยังสามารถสกัดคาเทชินได้ประมาณ 80% และคาเฟอีน 92% อีกด้วย

ดังนั้นวิธีชงชาเขียวด้วยไมโครเวฟที่แนะนำ คือทำโดยการใส่ใบชาเขียวลงในถ้วยที่ใช้กับไมโครเวฟแล้วเติมน้ำ นำเข้าไมโครเวฟให้ความร้อนที่ 400W ถึง 500W ประมาณ 1 นาที นำกากใบชาออก เป็นอันเรียบร้อย

การชงชาทั้งชาใบและผงชาเขียว จึงสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความชอบ และจุดประสงค์ในการดื่มชาของแต่ละคน บางคนดื่มเพื่อความสุนทรียะ จะนิยมชงด้วยกาต้มน้ำ หรือ ชงด้วยฉะเซ็น แต่ถ้าคนที่ต้องการความสะดวก เร่งรีบ แน่นอนว่าการใช้ไมโครเวฟเป็นทางเลือกที่ดี

make matcha by using microwave

ที่มา

https://www.japanesegreenteain.com/blogs/green-tea-and-health/is-using-the-microwave-good-for-green-tea

บทความจากFuwafuwa

10 เรื่องของการปลูกชาเขียวที่คุณ(อาจ)ไม่เคยรู้

Growing Tea Leaves

ชาเขียวเปรียบเสมือนหัวใจสำคัญของวัฒนธรรมญี่ปุ่น ตั้งแต่การเก็บเกี่ยวและการเตรียมใบชา ทุกขั้นตอนมีความพิถีพิถัน ซับซ้อนและฝังรากลึกลงไป ซึ่งชาเขียวที่เก็บเกี่ยวในญี่ปุ่นมีรสชาติและคุณค่าทางสารอาหารบางชนิดแตกต่างจากชาประเทศจีนและพื้นที่อื่น ๆ ของโลก และนี่คือ 10 สิ่งเกี่ยวกับชาเขียวญี่ปุ่นที่คุณ (อาจ) ไม่รู้

  1. การเก็บเกี่ยวครั้งแรกแห่งปี ใบชาจะมีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นที่ต้องการมากที่สุด การเก็บเกี่ยวครั้งแรก เริ่มในเดือนพฤษภาคมและกินเวลาหลายสัปดาห์จนถึงเดือนมิถุนายน การเก็บเกี่ยวนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าผลิตใบชาเขียวที่มีคุณภาพสูงสุดโดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเจริญเติบโตที่ช้าในช่วงเดือนที่หนาวเย็นทำให้ใบมีสารอาหารหนาแน่นส่งผลให้มีรสชาติดีขึ้น ใบไม้ที่เก็บในช่วงฤดูใบไม้ผลิจึงมีปริมาณแอล-ธีอะนีนมากถึงสามเท่าของปริมาณที่ผลิตในการเก็บเกี่ยวในภายหลัง ใบชาล็อตแรกนี้จึงมีรสหวานและรสละมุน
  1. การเก็บเกี่ยวครั้งที่สองของปีในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม ช่วงที่อากาศร้อนมาก เพราะเป็นฤดูร้อนทำให้การเก็บเกี่ยวเป็นเรื่องยากมาก ซึ่งใบชาช่วงนี้ก็จะเติบโตเร็วและมีคุณภาพต่ำลง รสขมมากขึ้น ทำให้ต้องใช้การบริหารจัดการทั้งพนักงานและการควบคุมการเก็บเกี่ยวอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  1. KANREISHA CURTAIN หรือม่านสีดำที่นิยมใช้คลุมดิน สามารถเอามาใช้เพื่อปกป้องต้นชาจากแสงแดดได้โดยตรง ประมาณหนึ่งเดือนก่อนการเก็บเกี่ยวแต่ละครั้งต้นชาจะถูกปกคลุมด้วยม่านเพื่อจำกัดปริมาณแสงแดด ไม่ให้โดนต้นชาโดยตรง ซึ่งผ้าม่านที่ใช้ในญี่ปุ่นมี 2 ประเภท คือ การใช้ผ้าคลุมต้นไม้โดยตรงและการใช้แบบกันสาดเพื่อบังแสงแดด แต่ละไร่ชาจะมีการใช้ที่แตกต่างกันไป บางแห่งใช้ทั้ง 2 แบบเลย ต้นชาที่ถูกคลุมด้วยม่านดังกล่าว ก่อนการเก็บเกี่ยว จะช่วยให้ชาเกิดรสหวาน

Growing Tea Leaves

  1. ใบชาทุกใบจะได้รับการคัดจากคนเก็บใบชาที่ผ่านการคัดอย่างพิถีพิถัน หากเทียบกันแล้วใบชาที่คัดด้วยเครื่องจะได้คุณภาพไม่สูงเท่าที่หยิบด้วยมือ ใบชาที่หยิบด้วยมือ รสชาติจะกลมกล่อมและมีกลิ่นหอมที่ละเอียดอ่อนกว่า ซึ่งเวลาที่ดีที่สุดในการเลือกใบคือ เมื่อมีต้นอ่อนตั้งแต่สามถึงห้าต้นและใบมีขนาดที่เหมาะสมพอดี การเก็บเกี่ยวเร็วเกินไปหมายถึงผลผลิตที่น้อยลง การเก็บเกี่ยวช้าเกินไปส่งผลต่อคุณภาพของชา แม้แต่วันเดียวก็สามารถสร้างความแตกต่างและส่งผลให้ใบขมได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องเลือกเก็บใบชาในเวลาที่เหมาะสม และต้องหยิบอย่างรวดเร็วทั้งหมดในคราวเดียว ดังนั้นคนงานแต่ละคนต้องใช้ประสบการณ์ในการถอนใบอย่างรวดเร็ว และประณีต
  1. จริงๆแล้วญี่ปุ่นผลิตชาได้น้อยกว่าประเทศอื่น แม้จะมีวัฒนธรรมชาเขียวที่เด่นชัด แต่ญี่ปุ่นสามารถผลิตชาเขียวเพียง 7% ของโลกเท่านั้น ส่วนใหญ่บริโภคในญี่ปุ่นและมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ คนญี่ปุ่นบริโภคชา 95% ของการผลิตชาทั้งหมดในประเทศ จึงมีเพียง 5% เท่านั้นที่ส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ
  1. วิธีที่นิยมมากที่สุดในการเก็บใบชายังคงเป็นการใช้ตะกร้าไม้แบบดั้งเดิม แม้จะมีเครื่องจักรและเทคโนโลยีเข้ามาใช้กันแพร่หลาย แต่ตะกร้าไม้แบบดั้งเดิมยังคงใช้เก็บชาอยู่

Growing Tea LeavesGreen tea

  1. ในฤดูใบไม้ร่วงคนงานไร่ชาจะเริ่มเตรียมฟาร์มสำหรับการเก็บเกี่ยวในปีหน้าแล้ว ต้นชาเขียวจะถูกตัดแต่งในช่วงฤดูใบไม้ร่วงของเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน การตัดแต่งกิ่งในขั้นตอนนี้จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าต้นอ่อนของใบแก่จะไม่ปะปนและลดการเก็บเกี่ยวในฤดูใบไม้ผลิของปีถัดไป การละเลยไม่ตัดแต่งกิ่งในเวลาที่ถูกต้องจะเป็นอันตรายต่อต้นชาและอาจส่งผลให้ต้นชาไม่แข็งแรงก็เป็นได้ ดังนั้นช่วงปลายฤดูร้อนและต้นฤดูใบไม้ร่วง จึงต้องเสริมสร้างดิน ปรับค่า pH ของดินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
  1. มีการท่องเที่ยวเพื่อการเก็บเกี่ยวชา Obubu เป็นภาษาเกียวโต เป็นคำเรียกชาเขียวชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นหนึ่งในชาที่แพงที่สุดในญี่ปุ่นโดยมีราคาประมาณ 14,000 เยนต่อกิโลกรัม เป็นเวลากว่า 800 ปีที่ฟาร์มในจังหวัดเกียวโตในชนบทได้เติบโตขึ้นและได้มีการเปิดให้นักท่องเที่ยว หรือบุคคลทั่วไปสามารถช่วยเข้าไปเก็บเกี่ยวได้ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว โดยจะเริ่มต้นด้วยการเที่ยวชมฟาร์มยามเช้าและโอกาสในการเลือกใบชาของคุณเอง เจ้าหน้าที่จะแสดงวิธีเก็บใบชาและนักท่องเที่ยวจะได้รับตะกร้าไม้แบบดั้งเดิม เพื่อเก็บใบชา ซึ่งใบชาที่เก็บมาก็สามารถนำไปส่งแปรรูป หรือส่งไปคั่วเพื่อให้พร้อมเสิร์ฟเป็นเครื่องดื่มชาจากใบที่คุณเก็บสำหรับถ้วยโอชารสเลิศ
  1. ต้นชาเขียวต้องการการดูแลเป็นพิเศษในช่วงฤดูหนาว ฟางใบไม้แห้งและแกลบไม้ไผ่จะถูกปูไว้ข้างต้นไม้เพื่อช่วยให้ความอบอุ่นในช่วงเดือนที่หนาวเย็นและมีหิมะตก ทำหน้าที่เป็นปุ๋ยและช่วยให้ดินมีความชื้นในปริมาณที่เหมาะสม เพราะต้นไม้หลายชนิดมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคและตายในช่วงฤดูหนาว ดังนั้นจึงต้องดูแลต้นชาอย่างดีเพื่อให้พร้อมสำหรับการเก็บเกี่ยวครั้งต่อไป

Green tea Green tea

  1. การเก็บเกี่ยวในญี่ปุ่นนั้นแตกต่างกับเทคนิคที่ใช้ในจีน เพราะญี่ปุ่นเลือกเก็บบางใบในช่วงเวลาต่างๆของปีในขณะที่จีนมักจะรวบรวมใบไม้ทั้งหมดในคราวเดียว

ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวใบชาเป็นงานที่ซับซ้อนซึ่งใช้เวลาตลอดทั้งปี ตั้งแต่การเก็บเกี่ยวครั้งแรกจนถึงครั้งสุดท้าย เกษตรกรในญี่ปุ่นทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อผลิตชาคุณภาพสูงสุดเท่าที่จะทำได้เพื่อให้ได้ชาที่รสชาติดีที่สุด

ที่มา

https://www.japanesegreenteain.com/blogs/green-tea-and-health/harvesting-green-tea-in-japan-10-surprising-harvesting-things-you-didnt-know

บทความจาก : Fuwafuwa

5 ข้อผิดพลาดในการชงมัทฉะที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด

ผงมัทฉะเป็นส่วนผสมที่ค่อนข้างพิถีพิถัน ตั้งแต่กระบวนการผลิตตลอดจนการใช้และเก็บรักษา เพราะหากปล่อยให้โดนแสง หรือ อากาศนานเกินไปมันจะเกิดการออกซิไดซ์และเสียรสชาติ หรือตอนชงใช้อุณหภูมิของน้ำที่ไม่ถูกต้องอาจจะทำให้เกิดรสขมได้ มาดูกันว่า “5 ข้อผิดพลาดในการชงมัทฉะที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด” มีอะไรบ้าง

matcha

  1. ใช้อุณหภูมิของน้ำที่ไม่ถูกต้องสำหรับมัทฉะ คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกับการใช้น้ำเดือดเพื่อชงชา เพราะกลัวว่าผงมัทฉะจะไม่ละลาย แต่นี่คือสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงมากที่สุด เพราะน้ำเดือดจะทำให้มัทฉะมีรสขม เพราะในชาเขียวเป็นชาที่มีปริมาณกรดอะมิโนสูง อุณหภูมิของน้ำที่ดีที่สุดสำหรับมัทฉะคือ ใช้น้ำ 80-85 องศาเซลเซียส หากชงด้วยน้ำเดือด 100 องศา ชาจะขับสารแคทิซีนออกมาเป็นจำนวนมากส่งผลให้ชามีรสขม และประเภทน้ำที่ใช้ในการชงชา ควรเป็นน้ำที่มีค่าเป็นกลาง (PH7) ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำแร่แต่อย่างใด

อ่านเพิ่มเติมเรื่องประเภทของน้ำและอุณหภูมิที่เหมาะกับการชงน้ำชาที่ shorturl.at/vyMW7 และ shorturl.at/bBL38

tea utensils

  1. ใส่ผงมัทฉะมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ที่ญี่ปุ่นเราจะใช้ช้อนไม้ไผ่ หรือที่เรียกว่า chashuku ในการตกผงมัทฉะ เป็นอุปกรณ์ในพิธีชงชาแบบเก่าแก่ แต่ช่วยให้ได้ปริมาตรที่เหมาะสม โดย chashaku 1 ช้อนเท่ากับค่าเสิร์ฟตามมาตรฐานที่ครึ่งช้อนชา ตามมาตรฐานการชงชา จะใช้ 2 chashuku ซึ่งเท่ากับ 1 ช้อนชา ถึงแม้ว่าปริมาณ 1 ช้อนชาจะดูเป็นปริมาณที่น้อยมาก บางคนจะคิดว่าต้องได้รสชาติที่ไม่เข้มข้น จึงตักเพิ่มไปอีก แต่จริงๆแล้วการชงมัทฉะด้วยปริมาณ 1 ช้อนชาลงในน้ำน้อยกว่า 6 ออนซ์จะทำให้ได้รสชาติที่เข้มข้นทีเดียว อย่างไรก็ตามหากเป็นคนที่ไม่ชอบความเข้มข้นมากนัก แนะนำให้ชงแบบ USUCHA ของญี่ปุ่นแทน (ชาบาง ๆ )

matcha powder

  1. ใช้มัทฉะผิดประเภท คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับการจัดประเภทผงมัทฉะ 2 อย่างคือ เกรด “Ceremonial” และเกรด “สำหรับชงเครื่องดื่มและทำอาหารทั่วไป” ซึ่งแท้จริงแล้วผงชายังมีการแบ่งเกรดได้มากกว่านั้น โดยเราควรเลือกก่อนว่าเราควรใช้ผงมัทฉะชนิดนั้นๆสำหรับทำอะไร เครื่องดื่มหรือขนมที่เราทำนั้นต้องการให้ออกมาเป็นแบบไหนมากกว่า อย่างผงมัทฉะเกรด Ceremonial เกรดที่ใช้สำหรับพิธีชงชา ที่เกิดจากการคัดเลือกเฉพาะยอดชา 3 ใบแรก ในฤดูกาลเก็บเกี่ยวที่ดีที่สุด จากแหล่งปลูกชาชั้นเยี่ยมในเขต Uji, Kyoto (宇治市) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งปลูกชาชั้นดี คุณภาพสูง ผ่านประสบการณ์การปลูกชามายาวนานกว่า 800 ปี และนำใบชามาบดละเอียดด้วยโม่หินเพื่อให้ได้ผงมัทฉะเนื้อเนียนละเอียด สีเขียวสว่างมรกต และรสชาติเข้มข้นกลมกล่อม จะเหมาะสำหรับการชงแบบบาง (Usucha) มากกว่านำไปทำขนม หากต้องการ รสชาติหอม กลมกล่อม ได้สีเขียวอ่อน ติดรสขมนิดๆ เกรดนี้เหมาะสำหรับการนำมาผสมเครื่องดื่มอื่นๆเช่น มัทฉะลาเต้ หรือ นำไปทำขนม เป็นต้น หากไม่แน่ใจว่าเมนูที่ร้านควรใช้ผงมัทฉะแบบไหน ควรปรึกษาผู้ขายผงมัทฉะก่อนจะดีที่สุด

matcha green tea

  1. ผสมมัทฉะผิดวิธี ด้วยความที่ผงมัทฉะไม่สามารถละลายน้ำได้ง่ายๆด้วยการเทน้ำร้อนใส่แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้ละลายเอง แต่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วยอย่างฉะเซ็น แปรงไม้ไผ่ที่ต้องตีผงมัทฉะจนละลายไปกับน้ำก่อน ถึงจะเอาไปเทผสมกับนม หรือส่วนผสมอื่นได้ ดังนั้นหากใส่นม หรือไซรัปลงไปในผงมัทฉะแล้วคนให้ละลายพร้อมกันเลย จะทำให้การทำละลายทำได้ยากขึ้น ดังนั้นหากต้องการชงเครื่องดื่มจากผงมัทฉะ จึงควรทำละลายผงมัทฉะกับน้ำร้อนก่อน แม้ไม่มีฉะเซ็น ก็สามารถทำได้โดยผสมมัทฉะกับน้ำในขวดน้ำ หรอื shaker ปิดขวดและเขย่าขวดแรงๆสักครู่จนเข้ากัน หรือใช้เครื่องตีฟองแทนก็ได้เช่นกัน

tea plantation

  1. การจัดเก็บมัทฉะผิดวิธี ผงมัทฉะค่อนข้างบอบบางและสามารถเกิดการออกซิไดซ์ได้อย่างรวดเร็วหากทิ้งไว้ในที่โล่งซึ่งจะทำให้มัทฉะเสียรสและกลิ่น รวมถึงสีที่ซีดลง ดังนั้นเพื่อรักษารสชาติที่ละเอียดอ่อน และคงคุณภาพของสีที่เขียวตามธรรมชาตินั้น อย่าลืมให้ความสำคัญกับผงมัทฉะมากขึ้น โดยเก็บมัทฉะของคุณให้ห่างจากความร้อน ห่างจากอากาศที่มีความชื้นและแสงแดด ควรเก็บมัทฉะไว้ในตู้เย็น ช่วยให้มัทฉะสดใหม่ได้นานถึง 6 เดือน หรือดูเพิ่มเติมถึงวิธีการเก็บได้ที่ shorturl.at/bzIO8

ที่มา

https://tea-ceremony-kyoto.com/tea-ceremony-blog/

https://naokimatcha.com/articles/5-common-matcha-errors/

บทความจาก : Fuwafuwa

How to Become a Tea Expert (ผู้เชี่ยวชาญด้านชา)

เชื่อว่าใครหลายคนที่ชื่นชอบชา ย่อมอยากจะได้ชื่อว่าเป็น ผู้เชี่ยวชาญด้านชา ( Tea expert / Tea Sommelier ) ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ สามารถแยกชนิด ประเภทของชาได้ รู้ถึงอุณหภูมิ หรือประเภทของน้ำที่ต้องใช้ในการชงชาแต่ละชนิดเพื่อให้ได้รสชาติที่ดีที่สุด 

หากมีความรู้ความเข้าใจด้านการชงชาอย่างแท้จริงแล้ว ไม่ได้แค่เพียงได้เป็น Tea expert แต่ยังสามารถเอาความรู้เหล่านี้ไปต่อยอดทางธุรกิจได้ เช่น เป็นผู้ให้คำปรึกษาตามร้านชา ร้านอาหาร ช่วยในการออกแบบจับคู่เมนูอาหาร ขนม กับชา ที่ช่วยส่งเสริมรสชาติกันให้ออกมาดีที่สุดนั่นเอง ดังนั้นมาลองไล่เช็คลิสต์กันดูว่าการจะเป็น Tea expert ได้นั้น ต้องมีความรู้อะไรบ้าง

Tea cuppingการชงชา ที่มีวิธีการชงหลากหลายแบบ เช่น การใช้ฉะเซนชงชาที่ทำมาจากผงชาเขียว ( ดูเพิ่มเติมได้ที่ shorturl.at/desuL ) หรือการชาด้วยการสกัดเย็น ( ดูเพิ่มเติมได้ที่ shorturl.at/gAV57 ) เป็นต้น ซึ่งรูปแบบการชงชาก็ยังมีอีกหลายแบบมากที่ควรรู้

Tea cultureรู้ถึงวัฒนธรรมการดื่มชาของแต่ละประเทศ เพื่อสามารถครีเอทเรื่องราวของชาที่ต้องการนำเสนอได้

Different brewing and presentation techniques of teaที่การชงชาและวิธีการจัดเสิร์ฟชาแต่ละประเภทให้น่าทานมากยิ่งขึ้นควรทำยังไง หรือควรจับคู่กับเมนูอาหาร ขนมสไตล์ไหน

Blending and flavoring tea ว่าด้วยเรื่องของการเบลนด์ชาเอง เรียนรู้ว่าการผสมชาระหว่าง 2 ชนิดเข้าด้วยกัน หรือผสมกับดอกไม้ หรือสมุนไพรชนิดอื่นๆ จะได้ชาที่มีกลิ่นหรือรสชาติแบบใหม่ออกมาได้อย่างไร

เทคนิคการชงและการนำเสนอชา รูปแบบการเสิร์ฟชาสไตล์ญี่ปุ่น กับชาสไตล์อังกฤษก็มีความแตกต่างกัน การจีดเสิร์ฟด้วยภาชนะที่ถูกต้องหรือใช้พร็อพตกแต่งเสริมจะช่วยเพิ่มความสุนทรียะให้การดื่มชาได้มากยิ่งขึ้น

เข้าใจถึงวิธีการปลูกชา การเก็บเกี่ยวชา เพื่อให้ได้ใบชา และผงชาที่ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการปลูชาแบบออร์แกนิค หรือจะเป็นการทดลองปลูกเองง่ายๆที่บ้านว่าต้องอาศัยปัจจัยใดบ้างในการปลูกชาเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีที่สุด 

อย่างไรก็ตามการจะเป็น Tea Expert ได้ไม่เพียงแต่ต้องมีความรู้อย่างลึกซึ้งแล้ว แต่ต้องอาศัยประสบการณ์ การทดลองซ้ำๆ ที่จะทำให้ประสาทสัมผัสด้านการชงชาดีขึ้น ทั้ง กลิ่น รสชาติ และการรับรู้สีสันของชานั่นเอง ซึ่งนอกจากความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชาที่ต้องมีแล้ว หากมีความรู้เพิ่มเติมเรื่องการตลาด หรือการจัดการธุรกิจร้านชา ก็จะยิ่งช่วยส่งเสริมให้ร้านชามีแผนการตลาด และเทคนิคการขายที่ดียิ่งขึ้น

ที่มา  

becauseimaddicted.net

eatingwell.com

 

บทความจาก : Fuwafuwa

 

ทำความรู้จักเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กล่องเก็บชา

คนรักชาเขียวส่วนมากจะทราบกันอยู่แล้วว่าผงชา นอกจากควรเก็บในกล่องที่ปิดมิดชิด ทึบแสงและกันอากาศเข้า ยังควรเก็บผงชาให้ห่างจากแสงแดด หรือความร้อนเป็นเวลานานๆ และควรเก็บชาไว้ในที่เย็น อย่างไรก็ตาม หลังเอาออกมาจากตู้เย็น ก็ควรทิ้งไว้สักพักให้หายเย็นก่อนเปิดภาชนะ เพื่อป้องกันไม่ให้ชาชื้น 

เมื่อผงชามีความไวต่อแสงและมีวิธีเก็บที่ละเอียดอ่อน กล่องที่เก็บชา จึงควรมีลักษณะที่ถูกต้องมากที่สุด เพื่อรักษาคุณภาพชา และเป็นการปกป้องผงชาจากอากาศ ดังนั้น ขวดแก้ว ขวดใส จึงไม่เหมาะสมสำหรับการเก็บผงชา กล่องเก็บผงชานี้ ภาษาญี่ปุ่น เรียกว่า棗 หรือ natsume(Tea caddy )

ที่มาของกล่องเก็บชานั้นมาจากฝั่งยุโรป เพราะสมัยก่อน ชามีราคาแพงมาก วัฒนธรรมการบริโภคชาของชาวอังกฤษได้รับการเผยแพร่จากจีนในช่วงกลางศตวรรษที่ 17 ในช่วงนั้น มีความเชื่อว่า ชาสามารถรักษาโรคได้และมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากๆ ชาเป็นที่รู้จักในภาคตะวันออกมานานหลายพันปี คนอังกฤษจึงให้คุณค่ากับชามาก เพราะชาสมัยนั้นมีราคาแพง จึงจำเป็นต้องถูกจัดเก็บล็อคกุญแจเป็นอย่างดี กล่องที่ใช้เก็บผงชามักมีราคาแพงและมีการตกแต่งเพื่อให้เข้ากับบรรยากาศภายในห้องรับแขกหรือห้องรับรองอื่นๆ ที่จะมีการเสิร์ฟน้ำชาบริเวณนั้นๆ ซึ่งกล่องเก็บชามีหลายวัสดุ เช่น ไม้ โดยทำมาจากทำจากไม้มะฮอกกานีและไม้ชิงชันเป็นที่นิยม และยังมีรูปลักษณ์ที่หลากหลายกันออกไปทั้ง 6 เหลี่ยม 8 เหลี่ยม พัฒนาเรื่อยมามีทั้งกล่องจากดินเผา สแตนเลส หลากทรง หลายดีไซน์ แต่ลักษณะที่เห็นได้ชัดคือกล่องทุกแบบจะมีลักษณะทึบแสงนั้นเอง หากตอนนี้ใครใส่ในกล่องพลาสติกใส แม้จะมีฝาปิดตัวล็อคมิดชิด ก็ควรเปลี่ยนมาใส่กล่องที่มีลักษณะที่ถูกต้องจะดีกว่า

ดังนั้นในการเลือกกล่องเก็บชา สามารถเลือกได้ทั้งที่เป็นสแตนเลส หรือไม้ เพียงแค่ต้องมีฝาปิดให้สนิก ยิ่งถ้ามีที่ล็อคปิดให้แน่นยิ่งขึ้นยิ่งช่วยยืดระยะเวลาของผงชานั้นๆได้ หากใครที่มองหากล่องเก็บผงชา ลองเลือกดูได้จาก htps://matchazuki.com/product/canister/

ที่มา

https://matchazuki.com/product/canister/

 

บทความจาก : Fuwafuwa

How to take care of your teaware

หากพูดถึงการชงมัทฉะแล้ว อุปกรณ์ที่ต้องนึกถึง คงหนีไม่พ้น ฉะเซ็น ช้อนไม้ไผ่ ฉะชะคุ หรือ แท่นวางฉะเซ็น ซึ่งวิธีใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าว สามารถศึกษาได้จากในเว็บไซต์มากมาย แต่การใช้งานอุปกรณ์ที่ถูกต้อง จำเป็นต้องมีการเก็บรักษาที่ถูกต้องด้วยเช่นกัน มาดูกันว่าอุปกรณ์ชงชาแต่ละชนิด ควรเก็บรักษายังไงบ้าง

เริ่มจาก การเก็บรักษาฉะเซ็น (Chasen) หรือแปรงชงชาอุปกรณ์สำคัญที่สุดในการชงชา หลังจากใช้งานเสร็จ ควรนำไปแกว่งในน้ำอุ่น โดยเน้น แกว่งเฉพาะส่วนที่สัมผัสกับมัทฉะ ไม่ต้องเอาไปล้างน้ำทั้งอัน พอแกว่งเสร็จสักสองน้ำก็นำมาตั้งไว้ให้แห้ง ถ้าใครมีที่พักฉะเซ็น แนะนำให้เอาไปเสียบไว้ รอให้แห้ง จะดีกว่า เพราะที่พักฉะเซ็นนี้มีข้อดีคือ น้ำไม่ไหลเข้าส่วนที่เป็นที่จับ แล้วก็ช่วยรักษารูปทรงของฉะเซ็น หลังจากฉะเซ็นต์แห้งให้เก็บไว้ในกล่อง หรือในที่ๆอุณหภูมิพอดี ไม่ร้อน ไม่เย็น อากาศถ่ายเทได้สะดวก และที่สำคัญต้องไม่ชื้นและแห้งจนเกินไป เพราะถ้าร้อน หรือแห้งมาก ไม้ไผ่จะกรอบและหักง่าย และควรระวังเรื่องความชื้นนิดนึง ไม่งั้นไม้ไผ่จะขึ้นราเอาได้ครับ ส่วนที่พักฉะเซ็นเซรามิคที่ช่วยให้ฉะเซ็นแห้งเร็ว และยังรักษาทรงไม้ไผ่ ป้องกันการขึ้นรา แค่เพียงค่อยสังเกตว่าเลอะเป็นคราบบางหรือไม่ ถ้าเลอะก็เพียงล้างและ พึ่งให้แห้งเท่านั้น เนื่องจากไม่ได้เลอะอะไรมาก แต่หากใช้งานนานๆ ก็ไม่ควรละเลยที่จะคอยสอดส่องว่ายังสภาพดีเหมาะกับการใช้งานหรือไม่

ส่วนฉะชะขุ หรือช้อนไม้ไผ่มีวิธีเก็บรักษาที่ง่ายมากๆ เพียงแค่ หลังจากใช้ตักมัทฉะแล้ว “ห้ามล้าง” หรือ “ห้ามโดนน้ำ” เด็ดขาด เพราะว่า ฉะชะขุ คือ อุปกรณ์ที่สัมผัสกับมัทฉะโดยตรง หากนำไปล้าง ฉะชะขุจะมีความชื้น เวลานำไปตักมัทฉะ ความชื้นก็จะวิ่งไปหามัทฉะที่อยู่ในภาชนะเก็บ ทำให้มัทฉะจับตัวกันเป็นก้อนนั่นเอง อีกทั้งการล้างฉะชะขุบ่อยๆ จะทำให้ไม้ไผ่เสียทรง และเก่าเร็วขึ้น จึงแนะนำเป็นใช้กระดาษทิชชู่แห้งๆ ค่อยๆเช็ดผงมัทฉะออก แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว

Chawan หรือถ้วยชงชา หลังจากใช้แล้วให้ล้างออกด้วยน้ำเบาๆ ไม่แนะนำให้ล้างด้วยเครื่องล้างจานหรือเครื่องอบผ้า และไม่ควรใช้สก็อตไบร์ถูถ้วยแรงจนเกินไป หลีกเลี่ยงการใช้นำยาล้างจาน ควรใช้แบบออร์แกนิคที่กลิ่นไม่แรงนัก หลังจากล้างแล้วไม่แนะนำให้วางไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิสูงเช่น ไมโครเวฟ เตาอบ หรือเตา แต่ประเด็นที่สำคัญที่สุด คือ Chawan มีไว้เพื่อใช้สำหรับชงชามัทฉะเท่านั้น ไม่ควรนำไปใช้ปนกับการใส่อย่างอื่น มิฉะนั้นอาจจะติดกลิ่นได้

ยังมีอุปกรณ์บางชนิดที่ก่อนใช้ครั้งแรกให้ล้างออกด้วยน้ำร้อนแล้วปล่อยให้แห้งสนิทก่อน นั่นคือ กาน้ำชาเซรามิก ซึ่งหลังจากใช้งานแล้วก็ไม่แนะนำให้ใช้เครื่องล้างจาน เครื่องอบผ้ าหรือสบู่ล้างจาน ส่วนบริเวณที่กรองในตัวให้รีดน้ำออกจากพวยกา ใช้แปรงสีฟันหรือไม้จิ้มฟันเพื่อนำใบชาที่ติดอยู่ในกระชอนออก หลังใช้งานควรปล่อยให้แห้งสนิทเสมอเพราะหากเก็บไว้ในขณะที่ยังเปียกอยู่อาจทำให้เกิดกลิ่นอับชื้นหรือเชื้อราได้

ที่มา

https://www.worldmarket.com/product/matcha-bowl-and-whisk-tea-gift-sets-set-of-2.do

thediscoverer.com

fitteaandsushi.blogspot.com

บทความจาก : Fuwafuwa

ทำความรู้จัก 茶巾, chakin ผ้าสำหรับเช็ดถ้วยชา

พิธีชงชาหรือที่เรียกว่า ชะโด (Chadou) มาจากคำว่า ชะ (Cha) แปลว่า “ชา” และ โด (Dou) แปลว่า “วิถี” รวมกันจึงหมายถึง “วิถีแห่งชา” ซึ่งจุดมุ่งหมายสูงสุดของพิธีชงชา คือ การแสดงออกถึงความงามในการต้อนรับผู้มาเยือน และการชื่นชมคุณค่าและความงามของสิ่งต่างๆ รอบตัว และมิตรภาพระหว่างเจ้าบ้านและแขกผู้มาเยือนนั่นเอง ซึ่งอุปกรณ์พื้นฐานสำหรับพิธีชงชาแบบครบชุด ได้แก่

  1. คะมะ (Kama) กาน้ำสำหรับใช้ต้มน้ำใส่ชา
  2. นัทสึเมะ (Natsume) โถสำหรับใส่ผงชามัทฉะ
  3. ชะอิเระ (Chaire) โถใส่ชา
  4. ชะฉะคุ (Chashaku) ช้อนตักผงชา มีลักษณะยาว ปลายแหลมเล็ก ทำจากไม้ไผ่ ดูเพิ่มเติมได้ที่ shorturl.at/alIZ1
  5. ชะเซน (Chasen) อุปกรณ์สำหรับคนชา ทำจากไม้ไผ่ ดูเพิ่มเติมได้ที่ shorturl.at/sDGIT หรือ shorturl.at/aqBT2
  6. ชะวัง (Chawan) ถ้วยชาขนาดใหญ่ แตกต่างไปตามฤดูกาล
  7. ชะคิง (Chakin) ผ้าสำหรับเช็ดทำความสะอาดถ้วยชา
  8. ฮิชะคุ (Hishaku) กระบวยสำหรับตักน้ำชงชา

ซึ่ง Matchazuki เราก็ได้พาไปรู้จักอุปกรณ์ชงชามาหลายแบบแล้ว รอบนี้จะพาไปรู้จักกับผ้าผืนเล็กๆ ที่เรียกว่า Tea cloth (茶巾, chakin)  ผ้า chakinส่วนมากจะเป็นผ้าลินินสีขาว แต่ในยุคปัจจุบันก็มีการทำแบบมีลวดลายเพิ่มมากขึ้น ขนาดจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการใช้งานและรูปแบบ แต่มักเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดประมาณ 30.3 x 15.2 ซม. ซึ่งผ้านี้จะถูกพับในลักษณะเฉพาะและวางไว้ในภาชนะขนาดเล็กหรือทรงกระบอกที่เรียกว่า kintō (巾筒) ซึ่งผ้า chakin นี้นิยมใช้เช็ด chawan หรือถ้วยชงชา หลังจากล้างเสร็จ ซึ่งวิธีการใช้ผ้า chakin นี้ จะต้องมีการพับอย่างสวยงาม เพื่อการใช้งานที่ง่าย และเป็นระเบียบ เวลาอยู่ในพิธีชงชาจะได้ดูสง่าสงาม 

สามารถดูวิธีพับเพิ่มเติมได้ที่https://www.youtube.com/watch?v=Uv-wxLKVxuI&ab_channel=KoheiYamamoto

จะสังเกตวิธีการใช้ chakin ในการเช็ดถ้วยชา (chawan) ได้ตามตัวอย่างในภาพข้างต้น ซึ่งหลังจากพับเรียบร้อยแล้วจะวางพักไว้ในถ้วยชงชา ( chawan ) ก่อนเริ่มพิธีตามตัวอย่างด้านล่างนี่เอง หากร้านไหน มีการจัดกิจกรรมพิธีชงชาที่ร้านเพื่อให้ลูกค้าได้สัมผัสประสบการณ์พิธีชงชาแบบญี่ปุ่นจริงๆ อย่าลืมนำผ้า chakin มาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดกิจกรรมดังกล่าว

ที่มา

https://www.facebook.com/MatsuKazeTea/photos/a.563146407056813/3132182870153141/shorturl.at/abqHN

บทความจาก : Fuwafuwa

ประโยชน์ของชาเขียว กับสุขภาพช่องปาก

เคยได้ยินว่า การดื่มชา กาแฟ จะทำให้ฟันเหลือง หลายคนเลยเลี่ยงที่จะดื่มชา ซึ่งการที่จะช่วยลดการเกิดคราบฟันเหลืองนั้น ทำได้โดยการพยายามกลั้วปากหลังดิ่มชา หรือแปรงฟัน เพื่อให้ลดปัญหากรเกิดครบดังกล่าว แต่จริงๆแล้ว ชาเขียวยังมีประโยชน์กับสุขภาพในช่องปากมากกว่าที่คุณคิด เพราะชาเขียวญี่ปุ่นไม่เพียงแต่ให้รสชาติที่อร่อยและสดชื่นโดยเฉพาะหลังมื้ออาหาร แต่ยังช่วยบรรเทาอาการอักเสบ ส่งเสริมสุขภาพช่องปากที่ดีในระยะยาวและอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระสารสกัดจากชาเขียวจะช่วยในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ช่วยกำจัดจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ภายในช่องปากได้ เช่น ป้องกันฟันผุ ป้องกันอาหารเป็นพิษ ช่วยลดสาเหตุการเกิดมะเร็งในช่องปากและยังช่วยฆ่าแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดคราบในช่องปากได้อีกด้วยเพราะสารโพลีฟีนอล (Polyphenols) ในชาเขียวมีคุณสมบัติเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ที่ช่วยป้องกันคราบฟัน ลดการเกิดฟันผุให้น้อยลง ช่วยลดอาการเหงือกอักเสบได้นั่นเอง

นอกจากนี้ ยังมีสารช่วยต่อต้านการอักเสบของเหงือก มีรายงานวิจัยพบว่าผู้ที่ดื่มชาเขียวเป็นประจำจะมีสุขภาพเหงือกดีกว่าคนที่ไม่ได้ดื่มนอกจากนี้ยังพบว่าบุคคลดังกล่าวมีโอกาสน้อยที่จะประสบปัญหาฟันหลุดและมีเลือดออกที่เหงือก

ชาเขียว แม้จะมีรสฝาด  แต่ก็ช่วยทำความสะอาดช่องปากตามธรรมชาติได้ เพราะชาเขียวมีส่วนช่วยฆ่าจุลินทรีย์แบคทีเรียที่นำไปสู่ลมหายใจที่มีกลิ่นเหม็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการศึกษาวิจัย ของคณะทันตแพทยศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบียพบว่า กลุ่มผู้เข้าร่วมการศึกษาที่บริโภคผงชาเขียวมีกลิ่นปากลดลงในอัตราที่สูงกว่าผู้ที่เคี้ยวหมากฝรั่งรสมิ้นต์อีก

นอกจากนี้ชาเขียวมีสารช่วยเคลือบฟันให้แข็งแรง ช่วยให้เวลาทานเครื่องดื่มที่ร้อนจัดหรือเย็นจัด หรืออาหารเครื่องดื่มที่มีกรดเยอะ ฟันจะไม่โดนกัดกร่อนมาก เพราะชาเขียวมีประสิทธิภาพอย่างมากในการช่วยรักษาระดับ pH ในปาก และช่วยควบคุมระดับแบคทีเรียที่นำไปสู่การติดเชื้อด้วย นอกจากนี้ ชาเขียวเป็นสารต้านการอักเสบตามธรรมชาติและช่วยให้เหงือกแข็งแรง ลดการเลือดออกตามเหงือกได้อย่างธรรมชาติ

ที่มา

https://www.japanesegreenteain.com/blogs/green-tea-and-health

https://carriemcguire.com/

https://www.davidstea.com/

https://matchazuki.com/category

บทความจาก : Fuwafuwa

Tea & Travel ชาของประเทศต่างๆ

เบื่อกันมั้ยกับการต้อง Work from home ทานเครื่องดื่มแต่แบบเดิมๆ จะออกเที่ยวต่างประเทศก็ไปไม่ได้ โอกาสในการจะได้ไปเรียนรู้วัฒนธรรมเครื่องดื่มชาของแต่ละประเทศด้วยตนเองเลยต้องอดไป วันนี้ MATCHAZUKI จะพาไปทำความรู้จักกับเอกลักษณ์ ความต่างและจุดเด่นของชาแต่ละประเทศแทนการบินลัดฟ้าไปชิมเอง มาดูกันว่าชา เครื่องดื่มสากลของแต่ละประเทศมีจุดเด่นยังไง เป็นชาประเภทไหน

เริ่มที่ ชาตุรกี ชาที่ถูกเสิร์ฟในแก้วขนาดเล็ก พร้อมน้ำตาลก้อน นิยมดื่มชาร้อนกันมาก โดยดื่มกันได้ทุกเวลา ทุกโอกาส กาน้ำชาแบบตุรกี จะเป็นกาน้ำร้อนแบบสองชั้น โดยชั้นล่างใส่น้ำร้อน (น้ำเปล่า) ด้านบนใส่ใบชาและน้ำร้อน (น้ำชา) โดยตั้งกาบนเตาใส่น้ำเปล่าลงในกาล่าง และใส่ใบชาแห้งลงในกาบน ยังไม่ต้องใส่น้ำร้อนลงไป รอจนน้ำในกาล่างเดือดปุดๆ หลังจากนั้นรินน้ำร้อนจากกาล่างลงในกาบน โดยใส่ให้ท่วมใบชา แล้วตั้งกาบนไว้บนกาล่าง จากนั้นหรี่ไฟลงและตั้งไปเรื่อยๆ เป็นอันเสร็จวิธีชงชา ส่วนการรินน้ำชานั้นทำได้โดย รินน้ำชาจากการบนลงในแก้วน้ำชาครึ่งแก้ว แล้วเติมน้ำร้อนจากกาล่างลงไป ใครชอบเข้มอ่อนแค่ไหน ก็กะเอาตามใจชอบ จากนั้นเติมน้ำตาลก้อนลงไปแล้วเวลาคนให้น้ำตาลละลาย ควรจะคนให้มีเสียงดังของช้อนและแก้วกระทบกันถึงจะได้อรรถรสในการดื่มชา ตุรกีมีใบชาหลายแบบ ที่นิยมก็ชาดำทั่วไป และชาแอปเปิ้ล รวมทั้งชาคาโมมายด์

ชาตุรกี

ชาวโมร็อกโกจะเพลิดเพลินกับชาเขียวสดชื่นที่ดื่มพร้อมกับใบมินท์ ซึ่งเป็นชาที่มีชื่อเสียงหวานดังนั้นอย่าลืมน้ำตาลและชาโมร็อกโกนิยมเสิร์ฟพร้อมกับอาหารผลไม้แห้งและถั่วอาร์เรย์ของหวาน

ชาวคูเวตชื่นชอบชาดำผสมกับกระวานและหญ้าฝรั่น ส่วนชาทิเบตทำด้วยนม เนยจามรีและเกลือ รสชาติของมันจะมีรสขม จึงกลายเป็นที่ดื่มกันทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ และเป็นเครื่องดื่มบำรุงจิตใจของผู้ปฏิบัติธรรม ปกติชาทิเบตเป็นประเภทชาดำ เก็บด้วยการอัดเป็นก้อน ในเขตที่มีการเลี้ยงจามรี จะมีการดื่มชาแบบนี้โดยต้มกับนม ในภาคกลางและบางส่วนของแคว้นคามเช่นที่เมืองเกียลทัง (เชียงกริลา) นิยมใส่เนย แล้วเหยาะเกลือเล็กน้อย ตำในกระบอกไม้ไผ่ จนกลายเป็นเครื่องดื่มที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ของทิเบตที่เรียกว่า ชาเนย (butter tea) แต่ในเขตที่ไม่ได้เลี้ยงสัตว์ หานมสดยาก จะใส่เกลือในชาดำ ที่น่าสนใจ ชาทิเบตนี้เมื่อเก็บไว้ในหนังจามรีเป็นเวลานานเป็นสิบปี จะกลายเป็น “ชาหมัก” ที่กลายเป็นชาสุขภาพ ชาแบบนี้ยิ่งเก่ายิ่งมีคุณค่าและมีราคา

tea&travel

ชาวฮ่องกงจะใส่นมข้นลงในชา และใส่น้ำแข็งลงไป ดูเหมือนกับชาเย็น แต่ถ้าเป็นชาไต้หวันขึ้นชื่อในเรื่องของชาไข่มุกที่ทำจากมันสำปะหลัง ซึ่งเกิดจากการที่ไต้หวัน ได้ใส่ “สาคู” ต้มน้ำตาล เม็ดโตๆ ลงไปในชาเพื่อเพิ่มทั้งรสชาติ และเพิ่มความน่าสนใจของการทานชา จนแพร่ระบาด ดังไปทั่วโลก ไม่ใช่แค่ในเอเชียแต่แม้แต่ฝรั่งหัวทองก็ยังอดทึ่งกับความแปลกใหม่ที่น่าสนใจและรสชาติเริ่ดเว่อร์วังของ “ชานมไข่มุก” แบบไต้หวันนี้ไม่ได้

tea&travel tea&travel

ชาอเมริกัน  ถึงแม้ว่าคนอเมริกันจะดื่มชาไม่มากเท่ากับชาวอังกฤษ  เพราะคนอเมริกันนิยมดื่มกาแฟมากกว่าชา แต่ชาก็มีบทบาทในสังคมอเมริกาไม่น้อย เพราะในช่วงที่สหรัฐเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ใบชาที่จะถูกนำไปยังสหรัฐอเมริกาจะถูกเก็บภาษีจนทำให้เกิดการประท้วงอย่างรุนแรง เป็นประเด็นที่นำไปสู่การประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกาต่ออังกฤษ  นอกจากนั้น ยังกล่าวได้ว่าคนอเมริกาเป็นผู้ปฏิวัติรูปแบบการดื่มชาจนเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลกจนปัจจุบัน  นั่นคือ ชาบรรจุถุง และชาใส่น้ำแข็งหรือชาเย็น อย่างไรก็ตาม  คนอเมริกันก็ยังนิยมดื่มชาดำเช่นเดียวกับคนอังกฤษ และมักจะดื่มชาดำกับมะนาวและน้ำตาล เบกิ้งโซดาก็เป็นอีกส่วนผสมหนึ่งที่ชาวอเมริกันใส่เพื่อให้ชามีรสชาติที่นุ่มขึ้น

tea&travel

ส่วน ชา Masala ของชาวปากีสถานมีส่วนผสมของเครื่องเทศและเนยจากนมวัว เรียกอีกชื่อได้ว่า “Mixed-spiced tea” ชาผสมเครื่องเทศ นิยมใช้ใบชาดำจากรัฐอัสสัมเป็นหลัก และผสมเข้ากับส่วนประกอบเครื่องเทศแบบอินเดียมากมาย เช่น กระวาน, โป๊ยกั๊ก, เมล็ดผักชีล้อม, จันทน์เทศ และกานพลู เดิมใช้เป็นเครื่องดื่มเพื่อการบำบัดร่างกายและอายุเวทมากกว่าหลายพันปีก่อนที่อังกฤษจะทำให้ชาวโลกได้รู้จัก “ชา” เสียอีก  ปัจจุบันชา Masala Chai เป็นที่รู้จักทั่วโลก ในลักษณะชาดำที่ต้มกับนม ชาติตะวันตกนำไปประยุกต์กลายเป็นเมนูชา “Tea Latte” แต่จริงๆแล้ว ชาแบบปากีสถานจะต้องมีความหวานของน้ำตาลโตนด ความมันเข้มข้นของนมสด และความหอมของเครื่องเทศ

tea&travel

จะเห็นได้ว่านอกจากชาเขียวของญี่ปุ่นที่ทุกๆคนคุ้นเคยแล้ว ประเทศอื่นๆก็มีวัฒนธรรมการดื่มชาที่แตกต่างกันออกไป รสชาติชาแบบเดิมๆที่เราดื่มกันก็เปลี่ยนไปตามแต่ละประเทศ หากสถานการณ์โควิดหมดไป เชื่อว่าหลายๆคนคงต้องออกไปเที่ยวชิมชาประเทศต่างๆกันอย่างแน่นอน

 

ที่มา

https://petmaya.com/21-tea-around-the-world-wow

http://theteashelf.com/teas-across-the-world/

http://thewoksoflife.com/2015/08/yuanyang-tea-hong-kong/

https://www.tastesoflizzyt.com/russian-tea/

http://myturkeyfood.blogspot.com/

https://www.flickr.com/photos/61259075@N08/14486900931/

 

บทความจาก : Fuwafuwa