จัดแคมเปญร้านชายังไง ให้ส่งท้ายปีแบบปังๆ
|

จัดแคมเปญร้านชายังไง ให้ส่งท้ายปีแบบปังๆ

เริ่มเข้าสู่สิ้นปี ช่วงที่ทุกคนชื่นชอบ ช่วงเวลาแห่งการจับจ่ายใช้สอย ให้รางวัลตัวเองและซื้อของฝากคนที่รัก ร้านค้า คาเฟ่ต่างๆหลังจากรีวิวผลประกอบการภาพรวมตรวจเช็คทุกไอเท็มในร้านชา( ดูเพิ่มได้ที่ shorturl.at/ckos8 ) แล้ว ก็เข้าสู่ช่วงโหมกระหน่ำจัดโปรโมชั่นลด แลก แจก แถม เพื่อเป็นการเพิ่มยอดขาย แต่นอกจากการทำโปรโมชั่นลดหนักๆแล้ว ช่วงสิ้นปีแบบนี้ยังสามารถจัดกิจกรรมเพิ่มเติมให้ร้านชาของคุณมีสีสันได้มากขึ้นด้วยการ….. 1.เริ่มจากจัดตกแต่งร้าน นอกจากการเอาต้นคริสมาสต์มาวางและตกแต่งจุดอื่นๆให้มีกลิ่นอายความเป็นคริสมาต์ก็ถือว่าช่วยสร้างบรรยากาศการซื้อได้แล้ว แต่หากอยากให้เป็นภาพจำกับลูกค้าได้ง่ายขึ้น ควรวางคอนเซ็ปต์ตั้งแต่การตกแต่งแรกเลย เพื่อให้ทุกจุดในร้านมีความสอดคล้องกัน การวางคอนเซ็ปต์ ต้องคำนึงถึงสีสัน ว่าจะเป็นคริสมาต์เน้นแดงเขียว หรือเน้นโทนสีทองสีเงิน เพื่อให้ภาพร้านเป็นไปในทิศทางเดียวกันรวมไปถึงป้ายตามจุดต่างๆด้วย เช่น ป้ายโปรโมชั่น ป้ายราคา รวมถึงแพ็คเกจจิ้งของสินค้า หากใครนึกภาพไม่ออก ลองนึกถึงสตาบัคส์ ที่มีการเปลี่ยนป้าย เพิ่มการตกแต่งและออกแพคเกจช่วงคริสมาสต์ทุกปี ให้ลูกค้าได้สนุกกับการรอลุ้นว่าปีนี้แก้วจะออกมาสีอะไร อย่างไรก็ตามการตกแต่งและทำทุกจุดในร้านให้เป็นธีมเดียวกัน อาจจะต้องใช้ Budget จำนวนหนึ่ง ซึ่งร้าน SME หรือธุรกิจเล็กๆ อาจจะยังมีงบไม่เพียงพอ ก็สามารถลดทอน แล้วเน้นเฉพาะการจัดตกแต่งบริเวณ Display จุดเดียวที่ร้านก็ได้ 2.หลังจากบรรยากาศภายในร้านแล้ว ก็มาถึงตัวสินค้าที่ต้องคำนึงถึงว่า จะสร้างสีสันใหม่ๆ ครีเอทอะไรเพิ่มเติมเพื่อให้เมนูเดิมๆ กลายเป็นเมนูที่สร้างรอยยิ้มช่วงความสุขได้ เช่น มัทฉะลาเต้ร้อน จากเดิมที่เสิร์ฟเพียวๆ…

ตรวจเช็คไอเท็มร้านชา “ถึงเวลาเก่าไปใหม่มารึยัง”
|

ตรวจเช็คไอเท็มร้านชา “ถึงเวลาเก่าไปใหม่มารึยัง”

สิ้นปีแบบนี้ หลายๆร้านโฟกัสไปที่แผนของปีถัดไป ว่าจะทำอะไรใหม่ๆให้ที่ร้านดี ซึ่งถือว่าเป็นการวางแผนที่มองการณ์ไกลที่สำคัญ แต่อย่าลืมที่จะมารีวิวสิ่งต่างๆภายในร้าน ไล่ตรวจเช็คทุกไอเท็มว่าถึงเวลาเปลี่ยนรึยัง เพื่อสร้างภาพลักษณ์ใหม่ๆ แถมยังเป็นการจัดระเบียบร้านชาของคุณ ให้ใช้งานง่ายขึ้นไปอีกขั้น เริ่มจาก…….. 1. สภาพวัตถุดิบภายในร้านตัวที่ค้างสต็อกมานาน ขายไม่ได้ หมดอายุรึยัง พวกนมสด ครีม หรือเนยที่เอาไว้ทำขนมในร้าน มักจะมีวันหมดอายุอยู่แล้ว แต่อย่างพวกผงมัทฉะ ผงชาโฮจิฉะ ที่ผลิตในญี่ปุ่น อาจจะดูแล้วไม่แน่ใจว่าวันหมดอายุคือตัวไหนแต่อาจจะสังเกตได้จากสีของผงชาที่เปลี่ยนไป เพราะความจริงแล้วในภาษาญี่ปุ่นคำว่าวันหมดอายุมี 2 แบบ คือ 1. วันหมดอายุควรบริโภค (消費期限)หมายถึง เราจะทานได้ถึงแค่วันที่ระบุไว้เท่านั้น เลยจากนั้นจะบูดเสีย และ 2. วันหมดอายุรสชาติ (賞味期限)หมายถึง สินค้าของเราจะอร่อยถึงแค่วันนี้เท่านั้น ต่อจากนั้นก็ไม่อร่อยแล้วนะ โดยมากผลิตภัณฑ์อาหารมักจะเขียนแบบที่ 2 เพื่อไม่ให้ลูกค้าติงได้ว่ากินก่อนวันหมดอายุควรบริโภคแล้วไม่อร่อย สำหรับผงชาทั้งหลายก็มักจะเป็นแบบที่ 2 กล่าวคือ ถึงจะเลยวันหมดอายุแล้วก็ยังชงดื่มได้อยู่นั่นเอง แต่รสชาติ กลิ่น จะหายไปเรื่อยๆนั่นเอง อย่างไรก็ตามวันหมดอายุดังกล่าว เป็นกรณีที่ ชานั้นถูกเก็บรักษาในอุณภูมิปกติโดยที่ยังไม่แกะซองนั่นเอง แปลว่า ถ้าเราแกะซองแล้วมันจะหมดอายุรสชาติเร็วขึ้นเนื่องจากสัมผัสกับอากาศและความชื้น ประกอบกับวิธีเก็บชาที่เปลี่ยนไปก็ทำให้อายุหดหรือยืดได้เช่นกัน ถ้าเก็บไว้ในที่อุณหภูมิสูงก็จะอายุสั้นลงอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ถ้ายังไม่เปิดซองใบชาให้จับแช่ตู้เย็นช่องแข็งจะยืดอายุใบชาได้ถึง…

ปรับร้านชาเพื่อรองรับเทรนด์ผู้สูงอายุ
|

ปรับร้านชาเพื่อรองรับเทรนด์ผู้สูงอายุ

ในยุคของ Aging Society ที่ผู้สูงอายุเริ่มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งคนกลุ่มนี้จะมีกำลังซื้อที่สูง เนื่องจากมีสถานะทางการเงินที่ดีกว่ากลุ่มอายุอื่น และพร้อมที่จะจ่ายเพื่อให้ได้สิ่งที่มีคุณภาพ การบริการที่ดี อาหารเครื่องดื่มที่อร่อย จึงเป็นสิ่งที่ทำให้ลูกค้าที่เป็นผู้สูงอายุนี้ประทับใจและรู้สึกผูกพันกับร้านค้าได้ง่าย เพราะหากดึงดูดลูกค้ากลุ่มนี้ได้ ที่ได้กลับมาจะไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุ แต่ยังรวมถึงลูกหลานที่พาครอบครัวมารับประทานอาหารในโอกาสต่างๆ หรือซื้อเพื่อนำกลับไปฝากผู้ใหญ่ที่บ้านด้วย ดังนั้นผู้ประกอบการธุรกิจอาหารจึงไม่ควรมองข้าม ลูกค้าผู้สูงอายุกลุ่มนี้ เพราะอาจเป็นโอกาสทองสำหรับธุรกิจของคุณในอนาคตก็เป็นได้ การเจาะตลาดลูกค้ากลุ่มผู้สูงอายุ แม้จะต้องมุ่งเน้นไปที่ความรู้สึกคุ้มค่าผู้สูงอายุส่วนมากตัดสินใจอย่างถี่ถ้วนก่อนซื้อ และมีแนวโน้มที่จะซื้อสิ่งที่รู้สึกคุ้มค่ามากกว่า การจะซื้อเครื่องดื่ม  1 แก้ว หากร้านมีบรรยากาศที่ดี มีกรบริการที่ดี จอดรถง่าย เข้าออกสบาย ไม่โหวกเหวกเสียงดังเกินไป มีมุมผ่อนคลายสำหรับผู้สูงอายุ ก็จะเป็นสิ่งอำนวนความสะดวกเล็กๆน้อยๆที่ทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้รู้สึกคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น หรืออาจจะชูโรงเมนูเครื่องดื่มด้วยสรรพคุณของชาที่มีต่อผู้สูงอายุเพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าคุ้มค่า ดีต่อสุขภาพก็น่าสนใจทีเดียว เพราะนักวิจัยญี่ปุ่นจาก Graduate School of Biomedical Engineering มหาวิทยาลัยโทโฮคุ  ได้มีรายงานว่า การดื่มชาเขียวบ่อยๆ ช่วยชะลออาการซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุ ทั้งหญิงและชายได้ จากข้อมูลของผู้สูงอายุทั้งหญิงและชาย (อายุ 70 ปีขึ้นไป) ที่มีอัตราการดื่มชาเขียววันละไม่ต่ำกว่า 4 ครั้งและนำมาเปรียบเทียบกับผู้สูงอายุที่ดื่มเพียงวันละ 1 ครั้ง หรือน้อยกว่า พบว่า ผู้สูงอายุกลุ่มแรกนั้น…

ทำยังไงให้ลูกค้ารู้สึกว่าชาที่ร้านคุ้มค่าสมราคา
|

ทำยังไงให้ลูกค้ารู้สึกว่าชาที่ร้านคุ้มค่าสมราคา

ร้านขายชาเหมือนกัน แต่มีราคา และรสชาติที่ต่างกันตามวัตถุดิบที่ใช้ บางร้านขายราคาสูง กลับมีลูกค้าที่พอใจมาใช้บริการแทนที่จะไปร้านที่ราคาถูกกว่า สิ่งที่สามารถยกระดับร้านชานั้นขึ้นมา ให้ลูกค้าชื่นชอบและเพิ่มมูลค่าได้ นั้นคือ “การสร้างแบรนด์”เพราะแบรนด์ที่มีจุดยืนที่ชัด ถ่ายทอดให้ลูกค้าได้เข้าใจและยอมรับในแบรนด์นั้นได้ จะยิ่งช่วยให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่ากับการซื้อ ง่ายต่อการตัดสินใจโดนใจ เรียกว่าถูกใจแล้วราคาเท่าไหร่ก็คุ้มค่า แล้วการสร้างแบรนด์ของร้านชาปัจจุบันนี้ทำยังไงได้บ้าง?? ตามทฤษฎีแล้ว Branding คือ จุดยืน บุคลิกภาพลักษณ์ และความเป็นตัวตนของแบรนด์ที่เราต้องการถ่ายทอดให้ถึงลูกค้า ผ่านการออกแบบโลโก้ สื่อโฆษณา คอนเทนต์ในสื่อออนไลน์ต่างๆ โดยการสร้างแบรนด์นี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสื่อสารให้แก่ลูกค้าว่า ร้านเราขายอะไร แตกต่างจากร้านอื่นยังไง เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคนั่นเอง ถ้าจะยกตัวอย่างง่ายๆให้เห็นได้ชัด คงหนีไม่พ้น แบรนด์เครื่องดื่มชื่อดังอย่าง Starbucks ที่มีการสร้างแบรนด์ เป็นจุดเด่นให้ลูกค้าอยากจะถือแก้วของที่ร้านถ่ายรูปลงโซเชียล ออกเมนูเครื่องดื่มใหม่ทุกซีซั่นเพื่อสร้างความตื่นตาตื่นใจให้ทั้งลูกค้าเก่าและใหม่ได้ลอง มีการนำเมนูใหม่ให้ลูกค้าได้ทดลองชิมเพื่อต่อยอดเป็นเมนูที่ร้าน มีการทำสื่อประชสัมพันธ์ที่ชุดเจนเป็นภาพเดียวกันในทุกสาขา เพื่อสร้างภาพจำให้ลูกค้าและผู้ที่เดินผ่านไปมาเกิดความรู้สึกอยากลอง ถึงแม้ว่าความอร่อยกลายเป็นพื้นฐานที่ทุกร้านควรมี แต่สิ่งที่ Starbucks จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อ ก็คือ “ความรู้สึก”ที่ ไม่ว่าจะเป็น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และจินตนาการ ล้วนแล้วแต่ถูกถ่ายทอดผ่านแบรนด์ทั้งนั้น ความครีเอทจากเมนูชาเขียวแบบเดิมๆ ก็มีการผสมผสานเอาวัตถุดิบตัวอื่นมาเสริม ให้คนรักชาได้รู้สึกว้าวได้ตลอด อย่าง Starbucks’…

โมเดลร้านชา ทางเลือกใหม่ของธุรกิจเครื่องดื่ม
|

โมเดลร้านชา ทางเลือกใหม่ของธุรกิจเครื่องดื่ม

ช่วงนี้ธุรกิจเกิดใหม่เกิดขึ้นเยอะ โดยเฉพาะแวดวงอาหาร สร้างความท้าทายอย่างมากให้กับเจ้าของกิจการเพื่อปรับตัวเข้าหาผู้บริโภค อีกทั้งยังมีปัญหามากมายไม่ว่าจะเป็นจำนวนลูกค้าหรือกำลังซื้อที่ลดลง ร้านอาหารแบรนด์ดังๆหลายร้านเริ่มหาโมเดลใหม่ๆให้ธุรกิจตัวเอง เพราะทำอะไรแบบเดิมๆ ธุรกิจก็ไม่อาจเพิ่มยอดขายต่อไปได้ การทดลองทำโมเดลใหม่ๆ เพิ่มช่องทางหารายได้ จึงเป็นโมเดลที่น่าทดลองทั้งกับผู้ประกอบการรายใหม่และรายเดิม เริ่มที่คุ้นเคยๆกันอย่าง Food Truck ที่ดัดแปลงรถให้กลายเป็นร้านขายอาหาร หรือเครื่องดื่มแบบเคลื่อนที่ได้ จุดเด่นของโมเดลนี้คือการใช้พื้นที่น้อย ยืดหยุ่นในด้านทำเลเพราะเคลื่อนย้ายได้ง่าย บริการเสิร์ฟในรูปแบบขายร้านคีออสปกติ แต่สามารถขับเคลื่อนเข้าหากลุ่มลูกค้าได้ทุกที่ที่ต้องการไม่ว่าจะเป็นตามงานอีเว้นต์ หรือบริเวณที่อยากทดลองขายโดยไม่เสียค่าเช่าที่ เพื่อเน้นการเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น โดยเฉพาะลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งวิธีทำไม่ซับซ้อน ใช้เวลาทำรวดเร็วเพื่อเน้นจำนวนลูกค้าและปริมาณการขายที่มาก ซึ่งรถ Food Truck จะเป็นลักษณะครัวเปิด โดดเด่นเรื่องกลิ่นหอม ยิ่งถ้าขายเครื่องดื่มอย่างชา กาแฟ ยิ่งสามารถดึงความหอมมาดึงดูดลูกค้าได้ อีกทั้งยังเป็นตัวกระตุ้นความสนใจของลูกค้าให้เข้ามาซื้อได้อีกทาง หลายๆ ร้านที่ญี่ปุ่น ก็เริ่มต้นจากการทำโมเดลนี้ สร้างแบรนด์และขยายธุรกิจให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น Meal Kits เริ่มจากจากกระแสการทำอาหารทานเองที่บ้านในช่วงโควิดที่หลายคนผันตัวมาเข้าครัวมากขึ้น ทำให้การขาย Meal Kits หรือชุดวัตถุดิบอาหารพร้อมปรุงเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยในชุดที่ส่งไปจะมีส่วนผสมให้พร้อมใยเมนูขั้นตอนวิธีการทำอาหารจัดส่งให้ลูกค้าไปทำทานเองที่บ้าน นอกจากจะช่วยให้มือใหม่เข้าครัวได้ง่ายๆแล้ว ยังอำนวนความสะดวกให้กับคนที่ไม่อยากออกจากบ้านไปหาซื้อวัตถุดิบ และยังประหยัดเวลาด้วย ซึ่งการจัดชุดเครื่องดื่มชา ยังไม่เป็นที่นิยมนัก จึงเป็นช่องว่างในธุรกิจเครื่องดื่มที่น่าสนใจสำหรับร้านที่มีเมนูเป็นเอกลักษณ์ แล้วสามารถนำส่วนผสมมาจัดชุดได้ เพราะการขายแบบนี้  สามารถลดต้นทุนในด้านต่างๆได้ เช่น…

เพิ่มสีสันในร้านชาด้วยไอเดีย Workshop เก๋ๆ
|

เพิ่มสีสันในร้านชาด้วยไอเดีย Workshop เก๋ๆ

เปิดร้านคาเฟ่ขายอาหาร ขนม เครื่องดื่มอย่าางเดียวยุคนี้อาจจะไม่เพียงพอ คู่แข่งที่มากขึ้น บางทีก็อาจจะรู้สึกว่าร้านเงียบๆไป จัดโปรโมชั่นอย่างเดียวก็ไม่เพียงพอ การจัดกิจกรรม workshopเล็กๆในร้าน เป็นอีกไอเดีย ที่สร้างสีสันและบรรยากาศในร้านให้แปลกใหม่ขึ้น นอกจากจะช่วยสร้างประสบการณ์ให้กลุ่มลูกค้าแล้ว ยังเป็นการเพิ่มกลุ่มลูกค้าใหม่ที่อาจจะไม่เคยมาที่ร้าน แต่ชื่นชอบการ workshop ให้มาร่วมสนุกที่ร้านอีกทางหนึ่ง 5 ไอเดียกิจกรรม workshop เก๋ๆ ที่จัดได้ง่ายๆภายในร้าน ได้แก่ 1.การจัด workshop ชงชาสไตล์ญี่ปุ่น ควบคู่ไปกับการทำขนมวากาชิเพราะเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมชงชาญี่ปุ่นที่ไม่เหมือนการทำขนมเบเกอรี่ ผู้ที่ชื่นชอบการทำขนมหลายคนจึงอยากลองมาเปิดประสบการณ์การทำขนมวากาชิ ที่ต้องใช้ถั่วขาวและความประณีตในการดีไซน์ขนมขึ้นมา รวมถึงการชงชาแบบญี่ปุ่นแบบเต็มรูปแบบที่คนรักการดื่มชาเขียวจะรู้สึกว่าอยากมีประสบการณ์การได้จับฉะเซ็นตีชาเขียวแก้วโปรดของคุณด้วยตัวเอง ซึ่งในระหว่างการ workshop สามารถสอดแทรกเกร็ดความรู้เรื่องชาเขียว เช่น ประโยชน์ของชา ปรัชญาการใช้ชีวิตที่ได้จากการชงชา เป็นต้น 2.การทำ Tea tasting ให้คนรักชามาอินๆฟินๆกัน ไอเดียนี้เหมาะกับร้านที่มีเครื่องดื่มประเภทชาหลายแบบทั้งชาเขียว ชาโฮจิฉะ ชาเก็นไมฉะ หรือแม้กระทั่งร้านที่มีชาเขียวที่มีความเข้มข้นที่แตกต่างกัน นำชาแต่ละชนิดมาชงให้ชิมและดมกลิ่น เพื่อให้ฝึกสังเกตความแตกต่างของรสชาเนื่องจากสภาพภูมิอากาศภูมิประเทศกระบวนการผลิตชาแต่ละชนิดที่แตกต่างกัน เลยให้รสสัมผัสที่ต่างกัน การฝึกลิ้มรสและมีการให้เกร็ดความรู้กับลูกค้าในแต่ละประเภทชา เป็นกิจกรรมที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนรักชาตัวจริง อาจจะดูวิชาการไปหน่อย แต่ถ้าที่ร้านสร้างบรรยากาศให้ดูผ่อนคลาย และให้ข้อมูลแต่ละประเภทชาที่ชัดเจน จะยิ่งแสดงให้เห็นว่าร้านเรา specialist ด้านชาตัวจริง 3.การทำขนมจากชาเขียว…

ออกแบบโลโก้ร้านชา ให้ลูกค้าจำได้ง่าย
|

ออกแบบโลโก้ร้านชา ให้ลูกค้าจำได้ง่าย

Logo ถือเป็นส่วนสำคัญที่เปรียบเสมือนหน้าตาของร้าน มีผลต่อการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักได้ โดยเฉพาะในยุคนี้ที่มีร้านของหวานเครื่องดื่มออกใหม่มากมาย โลโก้ที่ติดอยู่บนบรรจุภัณฑ์อาหารถ้ายิ่งจดจำได้ง่าย มีเอกลักษณ์ ก็จะยิ่งช่วยให้ลูกค้าเกิดการบอกต่อได้ง่ายขึ้นด้วย หลักการในการออกแบบโลโก้ที่ดี ให้จดจำง่ายไม่ซ้ำร้านอื่นมีเทคนิคอะไรบ้าง มาดูกัน เริ่มจากต้องมีเอกลักษณ์ของร้านเพราะโลโก้ของร้านควรจะสื่อสารถึงตัวตนของร้าน สไตล์อาหารที่ขาย มองแล้วรับรู้ทันทีว่านี่คือร้านอาหารอะไร มีลักษณะที่สัมพันธ์กับการตั้งชื่อร้าน ถ้าไม่ไปซ้ำซ้อนกับร้านอื่นๆได้จะยิ่งดีเพราะป้องกันความสับสนของลูกค้า อย่างร้านที่ขายชาเขียวแท้ๆจากญี่ปุ่น ก็อาจจะมีการใช้ภาษาญี่ปุ่น เพื่อสื่อถึงที่มาของวัตถุดิบพระเอกของร้าน หรือใช้ดีไซน์ที่เป็นเหมือนอินตัง ( ตรายาง ) ของคนญี่ปุ่น เพื่อดึงเอกลักษณ์ดีไซน์ความเป็นญี่ปุ่นออกมาสื่อถึงที่มาของวัตถุดิบแท้ๆ โลโก้ที่ดีควรสื่อความหมายเพราะโลโก้ที่ดีจะต้องสามารถสื่อความหมายได้มากกว่าแค่บอกชื่อร้าน อย่างเช่นการใช้รูปใบชา ถ้วยชงชา หรือฉะเซ็นที่เป็นอุปกรณ์ชงชา เพื่อบ่งบอกถึงความเชี่ยวชาญในรสชาติของชาที่้ร้าน รูปที่อยู่ในโลโก้ควรจะผ่านการคิดว่ามีความหมายอย่างไร เห็นเข้าใจและจดจำได้ง่าย เพื่อสื่อสารไปให้ถึงลูกค้าได้ตรงประเด็น ซึ่งนอกจากรูปภาพ ที่ใช้ในการสื่อความหมายแล้ว สีของโลโก้ ก็ยังเป็นอีกส่วนสำคัญที่ช่วยให้นึกถึงสินค้าในแบรนด์ได้ง่ายขึ้น  อย่างเช่นการใช้สีเขียวในโลโก้ ทำให้นึกถึงชาเขียวได้ง่ายขึ้น สื่อถึงความเป็นธรรมชาติ ไม่ผ่านการปรุงแต่งจากสารสังเคราะห์ ให้โลโก้สื่ออารมณ์ของร้าน  ต้องรู้ก่อนว่าอยากให้ภาพออกมามีอารมณ์แบบไหน สอดคล้องกับร้านของเราอย่างไร เช่น ร้านขายชา ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้หญิง ไม่ได้เน้นชาที่เข้มข้น แต่เน้นการปรับสูตรไปให้หลากหลาย ผู้หญิงทานง่ายขึ้นและมีขนมอื่นๆที่ทำจากชา จะต้องใช้โลโก้ที่มีโทนสีชมพูปนเข้ามา เพื่อดึงดูดสายตาผู้หญิงที่มีความอ่อนหวาน หรือปรับเป็นโลโก้ที่เรียบๆนิ่งๆ แต่เน้นแพคเกจจิ้งสีหวานเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้หญิง ไม่ใช้สีสันที่มากจนเกินไปจำนวนสีที่ใช้บนโลโก้ควรอยู่ที่ 1 –…

เลือกใช้ Pantone สีชายังไงให้เป๊ะ
|

เลือกใช้ Pantone สีชายังไงให้เป๊ะ

ทำไมเราจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการทำสื่อและการถ่ายภาพเมนูของที่ร้านมากๆ  ??? เพราะ สี คือ ส่วนสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในงานออกแบบ เพราะสีจะกำหนดความรู้สึกและสร้างอารมณ์ของผู้รับชม ไม่ว่าจะเป็นสีโทนเดียว(monochromatic), สดใส(bright), สดชื่น(cool), อบอุ่น(warm), หรือการเติมเต็มเฉดสีที่หลากหลายให้ทำหน้าที่ที่แตกต่างกันในหนึ่งชิ้นงานออกแบบ ชาแต่ละชนิด ให้สีที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีเก็บเกี่ยวและผลิต สเน่ห์ของสีชาที่ไม่ฉูดฉาด ดูแล้วสบายตาตามธรรมชาติ เช่น มัทฉะ ให้สีเขียวเข้ม ชาโฮจิฉะให้สีน้ำตาลแดงที่เกิดจากการนำชาเขียวไปคั่ว หรือชาอู่หลงที่ค่อนออกไปทางสีเหลืองทอง สีเหล่านี้ หากมาอยู่ในโปสเตอร์ หรือแพคเกจของร้าน การดึงจุดเด่นและเลือกใช้คู่สีที่เหมาะกัน เลือกใช้ชุดสี Pantone ที่ช่วยกันส่งเสริมให้ภาพดูเต็ม จะช่วยทำให้ภาพนั้นๆดูแล้วสบายตา ดึงดูดได้ง่ายขึ้น และที่สำคัญหากมีชุดสีในใจจะช่วยให้คุณบรีฟงานกราฟฟิคดีไซน์ที่ออกแบบไม่ว่าจะเป็นเมนูชา แพคเกจจิ้งของที่ร้าน เข้าใจไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าPantone ที่ว่าหมายถึงอะไร ?? Pantone คือ ชื่อบริษัทที่ทำธุรกิจการพิมพ์และการออกแบบในสหรัฐอเมริกา หลายคนจะรู้จักกันในนามผู้ที่กำหนดมาตรฐานการเทียบสีที่เรียกว่า Pantone Matching System (PMS) เพื่อใช้ในโรงพิมพ์ทั่วโลก เวลาเราพิมพ์โปสเตอร์ ทำฉลากออกมา หรือหาคู่สีสำหรับการทำสื่อของผลิตภัณฑ์ชาเขียว เชื่อว่าหลายคนคงเจอปัญหาที่ว่าเลือกยังไง สีชาก็เพี้ยนไม่ตรงตามต้องการอยู่ดี การมี Pantone ไว้เทียบสีที่ชอบสักชุด ก็จะช่วยให้ได้งานที่เป๊ะมากขึ้น…

ส่งต่อความอร่อย เพิ่มยอดขายด้วยกลยุทธ์ OEM
|

ส่งต่อความอร่อย เพิ่มยอดขายด้วยกลยุทธ์ OEM

ในยุคที่เศรษฐกิจไม่ค่อยดี ร้านค้าหลายร้านก็ถูกปิดตัวลง ร้านที่ยังอยู่รอดก็พยายามงัดหลากหลายกลวิธี ทั้งออกสินค้าใหม่ จัดกิจกรรม จัดโปรโมชั่นต่างๆ เพื่อดึงดูดลูกค้าให้กลับเข้าร้านมากขึ้น แต่มีอีกวิธีหนึ่งที่หลายแบรนด์อาจจะมองข้ามไป นั่นคือ การรับผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่างๆ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ OEM OEM ย่อมาจาก Original Equipment Manufacturer คือ การที่ร้านค้าไหน หรือแบรนด์ใดที่มีจุดเด่นในเรื่องการผลิตสินค้าสามารถเข้ารับจ้างผลิตสินค้าให้กับบริษัทอื่นๆได้ โดยเป็นลักษณะของการ Collaboration หรืออาจจะเป็นการผลิตให้แบรนด์อื่นๆเพื่อไปขายในแบรนด์ของตัวลูกค้าเองขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าโดยการใช้กระบวนการผลิตของโรงงานหรือร้านค้าเองตั้งแต่ฝ่ายผลิต ไปจนถึง เครื่องจักรต่างๆสำหรับการผลิต ซึ่งลูกค้าที่มาจ้างร้านค้าหรือโรงงานผลิต อาจจะมีความเชี่ยวชาญไม่มากพอในการทำสินค้าชนิดนั้นๆ หรือเล็งเห็นถึงความสามารถและเอกลักษณ์ของโรงงานหรือร้านค้านั่นๆว่าสามารถผลิตสินค้าตามเสปคได้  ในมุมมองลูกค้าหรือแบรนด์อื่นๆที่มาจ้าง ถือว่าช่วยลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงได้เพราะสามารถย้ายฐานการผลิตไปที่อื่นๆที่ต้นทุนต่ำกว่าได้ตลอด เจ้าของแบรนด์ไม่ต้องมีโรงงานเป็นของตัวเอง ง่ายต่อการเปลี่ยนลักษณะหรือกลยุทธ์ทางธุรกิจ มีผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาทางการผลิตคอยดูแลให้ ได้วัจถุดิบตามมาตรฐานที่ต้องการโดยไม่ต้องลงแรงในการเสาะหาเองตั้งแต่ขั้นแรก แต่ถ้ามองในมุมมองของร้านค้าหรือโรงงานที่รับผลิตสินค้าให้ มีร้ายได้อีกช่องทางเพิ่มมากขึ้นโดยที่ไม่ต้องลงทุนคิดสินค้าเองตั้งแต่ต้นจนจบ เพราะมีสูตรจากทางผู้ว่าจ้างมาให้แล้ว ประหยัดต้นทุนทางการตลาดในการโฆษณาสินค้านั้นๆ เพราะผู้ผลิตไม่ได้เป็นคนขายสินค้าเอง ไม่ต้องคำนึงถึงการบริหารจัดการสต็อกสินค้าเอง เพียงแค่ทำตามออเดอร์ที่แบรนด์อื่นๆมาว่าจ้างให้ผลิต อย่างไรก็ตามการรับทำ OEM ให้แบรนด์อื่นๆ นอกจจากจะต้องคิดต้นทุนให้รอบคอบก่อนนำเสนอราคาขายให้แบรนด์ที่มาว่าจ้างแล้ว ยังต้องคำนึงถึงราคาที่แบรนด์นั้นๆจะไปขายต่อผู้บริโภคด้วย เพราะถ้าเราตั้งไว้สูงตั้งแต่แรก เจ้าของแบรนด์เขาต้องไปบวกราคาเพิ่มอีกกว่าจะถึงลูกค้า สินค้าชิ้นนั้นๆอาจจะราคาสูงเกิน ทำให้ยอดขายไม่ดีได้เช่นกัน นอกจากนั้นแล้วการรับ OEM ต้องคำนวนถึงค่าขนส่งสินค้า ด้วยเช่นกันว่า ราคาที่เราตั้งนั้นรวมถึงค่าขนส่งหรือยัง…

รวมเทคนิคการถ่ายชวนลูกค้าเข้าร้าน
|

รวมเทคนิคการถ่ายชวนลูกค้าเข้าร้าน

ยุคโซเชียลแบบนี้ภาพที่เราใช้โพสต์ลงโซเชียลของร้าน ส่งผลต่อลูกค้าอย่างมาก ยิ่งภาพสวย ดูแล้วน่าทาน ยิ่งทำให้ลูกค้าอยากเข้ามาลองมากขึ้น มาดูเทคนิคการถ่ายภาพที่ใครเห็นแล้วก็อยากเข้าร้าน โดยต้องคำนึงไว้เวลาถ่ายว่า ถ่ายอย่างไรให้เพื่อนหิว ทำได้โดยการเข้าไปใกล้ๆ แล้วดูว่าในจานนี้มีสิ่งใดที่น่าจะยั่วน้ำลายได้ดีที่สุด ซูมถ่ายโดยให้สิ่งสิ่งนั้นเด่นที่สุดไปเลย 1. เน้นใช้สีโทนอุ่นในการถ่าย  ลดแสงสว่างของภาพลงหน่อย แต่อย่าลดมากเกินไปจะทำให้อาหารดูหมอง ไม่เห็นรายละเอียดของสิ่งที่กำลังถ่าย ถ้าจะให้ดีให้ใช้แสงธรรมชาติจะดีที่สุด พยายามเลี่ยงการใช้แฟลชของมือถือที่ใช้ถ่ายภาพ เนื่องจากจะทำให้เกิดเงา และทำให้อาหารดูแบน ไม่มีมิติ หากแสงไม่พอจริงๆ ควรใช้มือถือเครื่องอื่นส่องไฟมาในระยะห่างๆ จะดีกว่า  และให้ความสำคัญกับเงาจกแสงธรรมชาติ เพราะจะทำให้ภาพเูสมจริง น่าค้นหามากขึ้น 2.ถ่ายด้วยมุมที่เรานั่งทานอาหาร และมี Action กับอาหารบ้างเป็นการช่วยเพิ่มชีวิตชีวาและเรื่องราวให้กับภาพถ่าย การจับภาพช่วงเวลาต่างๆ เช่น ขณะกำลังเทนมลงในแก้วชา ขณะที่กำลังจะยกชาขึ้นมาดื่ม เห็นมือ หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายบ้าง จะทำให้ภาพดูมีมิติมากขึ้น 3.ทำขนาดภาพเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสเป็นขนาดอัตราส่วน 1:1 หรือ Square เป็นที่นิยมค่อนข้างมาก เพราะรูปขนาดนี้จะช่วยทำให้เราเห็นดีเทลของอาหารได้ชัดขึ้น เห็นได้ใกล้ขึ้น ก็จะดูน่าทานมากขึ้นไปด้วย 4.ลองเพิ่มองค์ประกอบอื่นๆเข้าไปในภาพ ภาพอาหารแบบที่ใส่ในจานหรือถ้วยแบบเดิมๆอาจจะดูน่าเบื่อเกินไปสำหรับบางคน ลองวางของตกแต่งอื่นๆที่แปลกตาไว้ข้างๆจาน อาจจะเป็นของที่เกี่ยวข้องกันอย่างฉะเซน กาชา ในขณะชงชา หรือ ต้นไม้  ผ้าสวยๆสักผืน…

How to ……. present TEA ?
|

How to ……. present TEA ?

ชาเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ด้วยรสชาติ กลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ และคุณประโยชน์จากสารอาหารในชา การดื่มชา ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก ทั้งอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น หรือแม้แต่ที่ไทยเอง ซึ่งลักษณะการเสิร์ฟชาของแต่ละประเทศก็มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป เพราะรูปลักษณ์การนำเสนอ และเสิร์ฟชา แต่ละครั้งต้องอาศัยความละเอียดอ่อนในการชง บรรยากาศแวดล้อมในการนั่งดื่มชา ที่อาจจะต้องเพิ่มความสุนทรีย์ในการดื่มด้วยต้นไม้ ดอกไม้เพื่อผ่อนคลายความเครียดจากการทำงาน ร้านไม่ควรให้มีกลิ่นกับข้าวมารบกวนกลิ่นหอมของชา รวมไปถึงคุณภาพของภาชนะในการดื่มนั้นก็มีผลอย่างมากต่อระดับของอร่อยและความประทับใจของผู้ดื่มเช่นกัน การเสิร์ฟด้วยถ้วยเซรามิคที่หยาบและหนานั้นจะทำให้เกิดผลที่แตกต่างอย่างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับชาแบบเดียวกันที่เสริฟในพอร์เซเลนที่ดี โบนไชน่า หรือ แก้ว หรือการนำเสนอชาที่หลายคนอาจจะลืมคิดไป คือ การนำเสนอในสามด้าน นั้นคือ การมองเห็น กลิ่น และ รสชาติเพื่อให้แขกได้สัมผัสผ่านทางประสาทสัมผัสให้ครบถ้วน บางร้านจึงมีรูปแบบการเสิร์ฟที่นำเสนอที่แตกต่างกันไป เช่น ให้ลูกค้าดริปชาเอง เสิร์ฟทั้งกาชาเพื่อให้ชุดชา เป็นอีกองค์ประกอบที่ทำให้ภาพถ่ายของลูกค้ามีความน่าทานมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามถ้าร้านไหนอยากเสิร์ฟชาเป็นแก้วๆให้ลูกค้า แนะนำเป็นการชงสดๆร้อนๆใหม่ๆทุกครั้ง และเพิ่มอรรถรสในการดื่มชาให้ลูกค้าด้วยการเดินมารินชาให้ลูกค้าที่โต๊ะ จะทำให้ลูกค้าได้สัมผัสถึงกลิ่นของชาอย่างชัดเจนในขณะที่รินชา ดีกว่าเทจากหลังร้าน กว่าจะยกมาเสิร์ฟลูกค้า สุนทรียะของการดื่มชาก็ลดลงไปอย่างน่าเสียดาย หากใครยังไม่มีไอเดียว่าจะเสิร์ฟชารูปแบบไหนดี ลองดูก่อนว่า ชาที่ร้านของคุณเป็นชาสไตล์ไหน การเสิร์ฟชาสไตล์อังกฤษคนอังกฤษนิยมดื่มชาดำเป็นหนึ่งในชาที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ซึ่งสามารถเสิร์ฟชาจากแก้วได้เลย แต่หากต้องการอารมณ์ของการจิบชาแบบอังกฤษแท้ๆ ควรเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม ได้แก่ กาน้ำชา (กาน้ำชาจีนหรือเซรามิค) ถ้วยชาพร้อมจานรอง โถน้ำตาล…

ออกแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม ให้โดนใจลูกค้า

ออกแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม ให้โดนใจลูกค้า

เคยสงสัยมั้ยว่าสินค้าดีมีคุณภาพ บางทีก็อาจจะไม่ดึงดูดใจลูกค้า เพราะในยุคสมัยนี้ Packaging เป็นอีกเรื่องที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญไม่แพ้กัน ยิ่งช่วงนี้ผู้บริโภคหันมาสั่งอาหารดิลิเวอรี่กันมากขึ้น ขวดบรรจุชาพร้อมดื่ม ที่ไว้ใส่เครื่องดื่มให้ลูกค้าที่สั่งดิลิเวอรี่ จึงกลายเป็นอีกสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญไม่แพ้คุณภาพและรสชาติของชาขวดนั้นๆ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบขวดชาพร้อมดื่ม 1. ขวดชาต้องมีเอกลักษณ์ ง่ายต่อการจดจำจะทำให้สินค้าของเราโดดเด่นออกมาจากสินค้าชนิดเดียวกันที่อยู่ตามท้องตลาด อาจใช้สีในการแบ่งแยกประเภทชา เช่นชาเขียว ขวดสีเขียว ชาโฮจิฉะ ชวดสีเทา ชาอู่หลงขวดสีเหลือง หรือการใช้รูปทรงของฉะเซ็นที่ช่วยให้ลูกค้าจำและนึกถึงชาของที่ร้านได้ง่ายขึ้น เป็นต้น 2. ขวดต้องเปิดง่าย ใช้งานได้สะดวก หลายครั้งที่บรรจุภัณฑ์มีฟังก์ชันและลูกเล่นที่โดดเด่น น่าสนุก แต่กลับต้องเสียกลุ่มลูกค้าไปเพราะใช้งานยาก ขนส่งแล้วหก ถือแล้วเปื้อนมือ จะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าสินค้าของเรานั้นเป็นภาระนั่นเอง 3. อย่าลืมเรื่องราวของแบรนด์และสินค้าไม่ว่าจะเป็นแนวคิด แรงบันดาลใจ ภูมิหลัง ถือเป็นกิมมิคเล็กๆ ที่จะช่วยสร้างการรับรู้และทำให้ผู้บริโภครู้จักแบรนด์และสินค้าของเราได้ลึกซึ่งยิ่งขึ้นเอาเรื่องราวมาสร้างสรรค์ด้วยกราฟฟิคดีไซน์บางจุด อาจจะเป็นการใช้ไอค่อนเล่าเรื่องราว หรือเป็นการติดแท็กเพิ่มเติมที่ขวด ก็ช่วยให้ลูกค้าอินไปกับสินค้าเราได้มากขึ้น แทนการเขียนทุกอย่างลงบนขวดชา หลังจากที่คำนึงถึงเรื่องราวนี้แล้ว มาดูในเรื่องของเทรนด์การออกแบบบ้าง 1. Simple or Minimalน้อยแต่มาก เรียบแต่โก้ เป็นหนึ่งเทรนด์การออกแบบบรรจุภัณฑ์มาแรงที่เอาชนะใจลูกค้าได้อย่างดีเยี่ยม เทรนด์นี้เป็นที่นิยมในกลุ่มคาเฟ่ และร้านขนมช่วงนี้ ดีไซน์ที่ขาวสะอาด สีสันสบายตา มีภาพและตัวอักษรน้อยๆ ออกแบบอย่างเรียบง่าย แต่อัปโหลดลงอินสตาแกรมได้อย่างมีสไตล์…