Iced Matcha Latte มัทฉะลาเต้เย็น
| |

Iced Matcha Latte มัทฉะลาเต้เย็น

เปลี่ยนชาเขียวเย็นให้กลายเป็นพรีเมียมมัทฉะลาเต้ เมนูยอดฮิตของร้านที่อร่อยจนต้องบอกต่อ!! ผงมัทฉะคุณภาพดีจะให้สีเขียวที่สวยงาม เมื่อเทราดลงบนนมสดจะเห็นเป็นชั้นสีเขียวมรกต ค่อยๆซึมลงมาด้านล่างซึ่งวิธีทำก็ไม่ยาก ยิ่งถ้ามีอุปกรณ์ช่วยจะใช้เวลาชงไม่นานเลย เราไปดูวัตถุดิบและวิธีชงกันเลยดีกว่าครับ ^^ อุปกรณ์ช่วยละลาย กระชอนร่อนผงมัทฉะ Chasen (茶筅) เป็นไม้ไผ่ใช้สำหรับบดผงชาเขียวไม่ให้จับตัวเป็นก้อน เครื่องตีฟองนมบบพกพา (Mini milk mixture) กระบอกเชค วัตถุดิบสำหรับแก้ว 16 Oz. ผงมัทฉะ MATCHAZUKI เกรด Excellent           3  กรัม (~1.5 ช้อนชา) น้ำอุ่น                                           …

ชาเขียวใส่นม ดื่มแล้วไม่ดีต่อสุขภาพจริงมั้ย?
|

ชาเขียวใส่นม ดื่มแล้วไม่ดีต่อสุขภาพจริงมั้ย?

อย่างที่รู้กันอยู่แล้วว่าประโยชน์สูงสุดของการดื่มชาเขียว คือ ต้องดื่มแบบเพียวๆ ไม่ใส่นม น้ำตาล แต่ก็ใช่ว่าการใส่นมลงไป จะทำให้สูญเสียคุณค่าทางอาหารของชาไปทั้งหมด เพราะนมก็มีหลายประเภท ทั้งนมสด นมผง นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ แต่ละชนิดก็ให้ประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป หากคุณต้องการได้รับประโยชน์สูงสุด การดื่มชาเขียวใส่นม จะทำให้คุณประโยชน์ของชาลดลงเท่านั้น แต่จะไม่สามารถขจัดประโยชน์ทั้งหมดได้ ประโยชน์ต่อสุขภาพที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาเขียว คือ ประโยชน์จากคาเทชินซึ่งดีต่อหัวใจการไหลเวียนของเลือด คาเทชินเป็นอาวุธสำคัญของธรรมชาติที่เข้าไปทำหน้าที่ป้องกันการเกิดอนุมูล อิสระ และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งในร่างกาย ชะลอความเสื่อมของร่างกายและช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งอีกด้วย ซึ่งในนมจะมีโปรตีนที่พบ เรียกว่า เคซีน ตัวนี้จะทำปฏิกิริยาทางเคมีกับคาเทชินและลดประโยชน์ต่อสุขภาพ เพียงแค่ลดประโยชน์ที่ดีลง แต่ไม่ได้ผลิตสารเคมีที่ไม่ดีต่อร่างกาย ดังนั้น หากจะช่วยเพิ่มประโยชน์ในการดื่มชาเขียวลาเต้แก้วโปรดของคุณ มีทางเลือกอีกมากมายในการใส่นมลงไป เช่น การเลือกนมถั่วเหลืองแทนนมวัว นมถั่วเหลืองมีเลซิตินซึ่งมีโครงสร้างโมเลกุลที่แตกต่างจากเคซีนดังนั้นคุณจะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากคาเทชิน เพียงแค่รสชาติจะแตกต่างกันเล็กน้อยเท่านั้น และยังเป็นทางเลือกสำหรับคนที่แพ้นมวัวอีกด้วย แต่ถ้าาใครไม่ชอบนมถั่วเหลือง ก็ยังมีนมถั่วพิตาชิโอ้ และนมอัลมอนด์ ที่มีคุณค่าทางสารอาหารไม่แพ้กัน อย่างไรก็ตามสามารถเพลิดเพลินกับการดื่มชาเขียวได้เหมือนเดิม แทนนิน กรดแกลลิก และคาเฟอีน คุณประโยชน์ในชายังคงทำหน้าที่ได้ดีตามปกติเมื่อคุณดื่มชาเขียวใส่นม ข้อควรระวังสำหรับการดื่มชาเขียวใส่นมโดยเฉพาะอย่างยิ่งร้านที่ขายเครื่องดื่มชาเขียวในราคาถูกมากๆ อาจจะมีการใช้นมผง แทนนมสด จริงๆแล้วนมผง เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกใหม่ๆที่เก็บรักษาง่ายเพราะเป็นผงไม่ต้องแช่เย็น แต่บางร้านไม่ได้ใช้นมผงแท้ๆ ราคาจึงถูกกว่านมผงทั่วไปก็มีพบได้ในตลาดทุกวันนี้ หากคุณเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการร้านเครื่องดื่มชา…

ไขข้อสงสัย ทำไมชาไทย จึงต่างจาก ชาญี่ปุ่น
|

ไขข้อสงสัย ทำไมชาไทย จึงต่างจาก ชาญี่ปุ่น

ดูเผินๆอาจจะไม่รู้ว่า เครื่องดื่มชาเขียวที่เราทานอยู่นั้น มาจากญี่ปุ่นแท้ๆ หรือผลิตจากในไทยกันแน่หากไม่ได้มีการระบุไว้ที่ชัดเจน ก็แยกยากอยู่เช่นกัน เพียงแต่จะสังเกตได้จากลักษณะของการบริโภค กล่าวคือ 1. คนญี่ปุ่นหลายคนยังคงมีความคิดว่า ชาเขียวกับน้ำตาล เป็นสิ่งที่ไม่เข้ากัน และยังนิยมบริโภคชาเขียวรสจืด ซึ่งเป็นรสดั้งเดิมเหมือนเมื่อสมัยโบราณ เป็นชาเขียวเพียวๆที่ดีต่อสุขภาพมากๆ แต่คนไทยจะบริโภคแบบนี้ไม่ค่อยได้กัน ชาเขียวไทย จึงได้มีการใส่น้ำตาลลงไปเพื่อปรับให้เข้ากับความชอบของคนไทย 2. คนญี่ปุ่นมีวิธีชงชาที่พิถีพิถัน จนเกิดเป็นวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ วิธีการดื่มชาของญี่ปุ่นส่วนมากจะดื่มแบบร้อนเท่านั้น แต่ที่ไทย ด้วยความที่อากาศร้อน คนจึงนิยมบริโภคแบบเย็นมากกว่า 3. ในส่วนของกรรมวิธีการปลูกชาเขียวทางภาคเหนือของไทย กับของญี่ปุ่น ด้วยสภาพอากาศ และอุณหภูมิ ความชื้น ความสูงจากระดับน้ำทะเลต่างกัน ย่อมส่งผลให้คุณลักษณะของชา สี กลิ่น รส แตกต่างกันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละที่ การปลูกที่ไทย ส่วนมากจะปลูกช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงที่ดินมีความชุ่มชื้นเพียงพอ แต่ชาเป็นพืชที่ต้องการความชื้นสูง และสม่ำเสมอตลอดทั้งปีเพื่อให้มีการแตกยอด ที่ญี่ปุ่นชาจึงแตกยอดได้ดีกว่าด้วยสภาพภูมิอากาศของประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกียวโต เมืองที่รยล้อมด้วยภูเขา จึงทำให้ไม่ร้อนมากและมีความชื้นอยู่ในปริมาณที่เหมาะ อย่างไรก็ตามสวนชาของไทยส่วนใหญ่ยังอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติเป็นแหล่งสำคัญ ทำให้สวนชามีผลผลิตมากน้อยแตกต่างกันไปตามปริมาณน้ำฝนในแต่ละปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศและปริมาณน้ำฝนนั่นเอง 4. ชาเขียวญี่ปุ่นไม่ได้ถูกนำไปคั่วบนกระทะเหมือนของไทย แต่กลับถูกนำไปผ่านความร้อนโดยการนึ่ง และอบแห้ง ใบชาเขียวญี่ปุ่นจึงมีสีเขียวที่สด และน้ำชาก็มีสีเขียวอ่อนๆตามธรรมชาติ 5….

หลายคนอาจสงสัย น้ำแร่ใช้ชงชาได้มั้ย ?
|

หลายคนอาจสงสัย น้ำแร่ใช้ชงชาได้มั้ย ?

หากพูดถึงน้ำที่ต้องใช้ในการชงชา เชื่อว่าทุกคนต้องนึกถึงอุณหภูมิของน้ำที่ควรใช้ มากกว่าชนิดของน้ำที่ใช้ชงชา เพราะปกติแล้วเราก็จะใช้น้ำสำหรับดื่มทั่วไป อาจจะเป็นน้ำขวดธรรมดาแบบที่วางขายทั่วไป นำมาต้มให้เดือดก็เป็นอันใช้ได้ แต่บางคนอาจจะสงสัยว่า แล้วน้ำแร่สามรถใช้ชงชาได้มั้ย? น้ำแร่ได้ชื่อว่าเป็นน้ำที่มีแร่ธาตุอยู่มาก หากเอามาชงชาแล้ว จะได้ชาที่ยิ่งคุณภาพดีจริงรึเปล่า?? น้ำแร่ มี 2 ชนิด แบ่งชนิดตามปริมาณของแร่ธาตุแมกนีเซียมและแคลเซียมที่พบในน้ำ ซึ่งถ้ามีปริมาณของแร่ธาตุสูง จะเรียกว่า “น้ำกระด้าง” (Hard Water)เป็นน้ำที่มีหินปูนและแมกนีเซียมละลายอยู่ด้วยค่อนข้างมาก แต่ถ้ามีปริมาณของแร่ธาตุต่ำ ก็จะเรียกว่า “น้ำอ่อน” (Soft Water)ส่วนมากน้ำแร่ นำเข้าจากต่างประเทศจะเป็นน้ำแร่ธรรมชาติแบบน้ำกระด้าง แต่ถ้าในไทยจะเป็นน้ำแร่ธรรมชาติแบบน้ำอ่อน โดยหลักแล้วน้ำทั้ง 2 ชนิด สามารถชงชาได้รสชาติดีเหมือนกัน แต่กลิ่น สีจะแตกต่างกัน ในการชงชา นิยมใช้น้ำอ่อนมากกว่าน้ำกระด้าง เพราะในน้ำมีปริมาณแร่ธาตุน้อย ชาที่ได้จึงมีสีเข้ม รสชาติเข้มกลมกล่อมกว่า ทำให้สามารถดื่มด่ำกับรสชาติของชาได้มากที่สุด ตรงกันข้ามกับการใช้น้ำกระด้าง ซึ่งรสชาติของแร่ธาตุจะไปกลบรสชาติของชา ทำให้เวลาดื่ม นอกจากจะไม่ได้ดื่มด่ำกับรสชาติของชาอย่างเต็มที่แล้ว และอาจมีกลิ่นคล้ายๆกับโลหะเจืออยู่ในน้ำชาอีกด้วย รสชาติและกลิ่นหอมจะอ่อนๆ สีน้ำชาจางๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่สามารถใช้น้ำกระด้างในการชงชาได้เลย เพราะสุนทรียของการดื่มชาของแต่ละคนแตกต่างกันไปตามความชอบนั่นเอง อย่างไรก็ตามก็มีบางคนที่เน้นความสะดวก นำน้ำประปามาต้มแล้วเอามาใช้ชงชาดื่ม ซึ่งน้ำต้มที่ได้จะมีคลอรีนที่ใช้สำหรับฆ่าเชื้อโรคในน้ำละลายปนอยู่ด้วย จะมีกลิ่นอื่นเจือปนอยู่ ถ้าอยากจะใช้น้ำประปาไปต้มชงชา ควรต้มน้ำในภาชนะที่ไม่มีฝาปิดและควรเพิ่มเวลาต้ม…

ทำความรู้จักครกหินญี่ปุ่น อุปกรณ์คู่ใจของคนทำผงมัทฉะ
|

ทำความรู้จักครกหินญี่ปุ่น อุปกรณ์คู่ใจของคนทำผงมัทฉะ

ทุกวันนี้มีการให้ความสำคัญน้อยมากกับเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการสร้างผงมัทฉะ เครื่องมือนั้นคือ “อิชิอุสุ” (石臼: Ishi-usu) หรือ “ครกหิน”นั่นเอง “ครกหินญี่ปุ่น” มีลักษณะเป็นหินทรงกระบอกสองชิ้น วางทับกัน โดยมีที่จับสำหรับหมุนที่หินด้านบน สามารใช้สำหรับบดอาหารจำพวกเมล็ดข้าว ธัญพืช และใบชา ซึ่งไม่ว่าจะหมุนด้วยแรงคนหรือพลังงานไฟฟ้า การบดมัทฉะโดยครกอิชิอุสุนั้น ถ้าหมุนโดยไม่หยุดพักเลย 1 ชั่วโมงจะได้ผงมัทฉะออกมาแค่ 40 กรัมเท่านั้น จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้มัทฉะมีราคาแพงกว่าใบชา อิชิอุสุ มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 1400 ปี สมัยก่อน คนญี่ปุ่นแทบทุกครัวเรือนจะมีอิชิอุสุไว้ใช้ ทั้งบดเมล็ดข้าวเพื่อนำแป้งไปทำเส้นอุด้ง หรือบดถั่วเหลืองเพื่อนำไปทำเต้าหู้ โดยใส่อาหารที่ต้องการบดที่รูด้านบน แล้วหมุนครกไปมา ให้หินสองก้อนเสียดสีกัน และผงที่บดออกมาก็จะตกลงมาที่ถาดรอง การใช้ครกอิชิอุสุต้องใช้แรงเยอะ สมัยก่อน เวลาหนุ่มสาวจีบกัน แม่ฝ่ายหญิงจะให้ฝ่ายชายช่วยบดแป้งจากเมล็ดข้าว แล้วให้ฝ่ายหญิงเอาแป้งที่ได้ไปทำมันจู ( ซาลาเปาญี่ปุ่นลูกเล็กๆ ไส้ทำจากถั่วแดงหรือเกาลัดกวน ) เป็นวิธีการจีบ และเรียนรู้นิสัยซึ่งกันและกันของคนญี่ปุ่นในสมัยก่อน น่าเสียดาย ที่ปัจจุบัน บ้านญี่ปุ่นที่มีครกหินแบบนี้เหลืออยู่น้อยแล้วครับ อีกทั้งครกอิชิอุสุยังมีราคาแพงมาก โดยครกเล็กๆแบบในรูปข้างล่าง มีราคาตั้งแต่ 20,000 ถึง 70,000 กว่าบาท…

ทำความรู้จักการปลูกชาเขียวแบบออร์แกนิค
|

ทำความรู้จักการปลูกชาเขียวแบบออร์แกนิค

ทำไมรสชาติของชาญี่ปุ่นออร์แกนิคจึงมีกลิ่นหอม และหวานละมุน? เพราะการปลูกชาออร์แกนิคเป็นการปลูกชาที่ต้องงดปุ๋ยเคมีหรือยาฆ่าแมลง ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ไม่มีการดัดแปลงพันธุกรรม (ไม่มีจีเอ็มโอ) รวมทั้งเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้ตัดต่อทางพันธุกรรม หรือวัตถุสังเคราะห์ใดๆ ซึ่งการเตรียมหน้าดินก่อนปลูก ต้องทำให้ปลอดสารพิษไม่น้อยกว่า 3 ปี และในกระบวนการผลิตต้องมีการอนุรักษ์ดินและแหล่งน้ำ เพื่อให้ผลผลิตเจริญเติบโตตามธรรมชาติอย่างแท้จริง และปลอดภัยต่อสุขภาพไม่มีสารตกค้างจากสารเคมี เนื่องจากการปลูกชาโดยทั่วไปยังมีการใช้สารเคมีและยาปราบศัตรูพืชซึ่งอาจจะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว ปัจจุบันแม้ชาส่วนใหญ่ที่ญี่ปุ่นเป็นเพียงชาปลอดสารพิษ มีเปอร์เซ็นต์น้อยมากๆ ที่เป็นออร์แกนิค 100% เพราะเป็นเรื่องยากที่จะสร้างไร่ชาออร์แกนิคนั่นเอง เนื่องจากมีไร่ชาปลอดสารพิษมากมายอยู่ในพื้นที่ติดกัน และมีการแพร่กระจายของปุ๋ยเคมีหรือสารกำจัดศัตรูพืชและสารเคมีที่แทรกซึมผ่านดินจากฟาร์มโดยรอบสามารถเข้าสู่ฟาร์มอินทรีย์ ดังนั้นไร่ชาออร์แกนิคจำเป็นต้องสร้างพื้นที่กันชนหรือที่พักพิงระหว่างไร่ชาออร์แกนิกและไร่ชาปลอดสารพิษ เพื่อให้สภาพดินไร้สารเคมีอย่างแท้จริง ชาออร์แกนิคมีรสชาติที่เรียบง่ายเพราะชาได้รับสารอาหารที่มีอยู่ในดินโดยตรง และรสชาติชาจะขึ้นอยู่กับสภาพอากาศด้วย การคัดเฉพาะยอดอ่อน 3 ใบบนเท่านั้น และเก็บเฉพาะช่วงเช้าก่อน 7 โมงเช้า เทคนิคที่ทำให้ชาออร์แกนิคมีรสชาติที่ละมุนพิเศษ เพราะใบชาจะผลิใบรับแสงแดดอ่อนๆ อย่างเต็มที่ และมีละอองน้ำค้างที่จะขับกลิ่นหอมและรสชาติหวานละมุนของชาให้ออกมาได้อย่างเต็มที่ในช่วงเวลาเช้านี่เองสภาพอากาศจึงเป็นอีกตัวแปรสำคัญที่ทำให้รสชาติชาเป็นเอกลักษณ์ อีกสาเหตุที่การปลูกชาออร์แกนิคได้รับความนิยมไม่มากนักเพราะว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ให้ออกผลผลิตได้รวดเร็วตามที่ต้องการ ปุ๋ยอินทรีย์จะทำงานช้าเป็นเวลา 3 ถึง 9 เดือน ในทางตรงกันข้ามปุ๋ยเคมีจะทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในเวลาประมาณ 1 เดือนเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับต้นทุนการผลิต ที่ปุ๋ยอินทรีย์จะทำงานช้า ดังนั้นต้นชาอินทรีย์จึงมีภาระมากกว่าต้นชาที่ไม่ใช่ออร์แกนิก ในทางกลับกันปุ๋ยเคมีในไร่ชาปลอดสารพิษทำให้กระบวนการปลูกง่ายขึ้นมาก ออกผลผลิตเร็ว ดินในไร่ชาออร์แกนิกโดยทั่วไปมีอากาศมากกว่าและนุ่มกว่าดินในไร่ชาที่ไม่ใช่อินทรีย์ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณปุ๋ยที่ใช้ด้วย หากใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในปริมาณมากทำให้ดินนุ่มและโปร่งสบายขึ้น นี่เป็นเรื่องจริงสำหรับทั้งไร่ชาออร์แกนิคและไม่ใช่ออร์แกนิค ดินจะโปร่งสบายเนื่องจากแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในดินและสร้างสารอาหารและสภาพแวดล้อมที่ดีต่อใบชา ในพื้นที่ไร่ชาที่เมืองอูจิ เกียวโต…

3 ขนมติดอันดับของคนญี่ปุ่น ที่ชอบทานคู่ชาเขียว
|

3 ขนมติดอันดับของคนญี่ปุ่น ที่ชอบทานคู่ชาเขียว

หลายคนอาจจะพอทราบอยู่แล้วว่าคนญี่ปุ่นนิยมเสิร์ฟชาเขียวร้อนๆคู่กับขนมวากาชิในพิธีชงชา ซึ่งจริงๆแล้วขนมวากาชิมีหลากหลายแบบ เพื่อให้ได้สัมผัสถึงรสชาติ ความอร่อย และบรรยากาศ ความรู้สึกเหมือนไปทานที่ญี่ปุน รู้มั้ยว่าเมนูขนมยอดฮิตที่คนญี่ปุ่นนิยมเสิร์ฟคู่ชาเขียว คือ เมนูไหน????

แอบบอก สูตรเค้กชาเขียวญี่ปุ่น เหมาะกับคนแพ้ง่าย !!
|

แอบบอก สูตรเค้กชาเขียวญี่ปุ่น เหมาะกับคนแพ้ง่าย !!

ไม่มีเตาอบก็ไม่ต้องกังวล สำหรับสูตรนี้ ได้ความอร่อยแบบฉบับญี่ปุ่นแท้ๆ แถมเหมาะกับคนที่ชอบทานขนม แต่แพ้นม ไข่ เนย ถือว่าเป็นสูตรที่ทำง่าย และอร่อย ตามแบบฉบับเค้กญี่ปุ่นเลย

4 เหตุผลของการตีชาเขียวแล้วไม่เกิดฟอง
|

4 เหตุผลของการตีชาเขียวแล้วไม่เกิดฟอง

ปกติของการชงชาเขียวด้วยผงชาเขียวนั้น จะมีการใช้ฉะเซ็น หรือ ที่ตีฟองนมช่วยในการตีชาให้ละลายไปกับน้ำ บางครั้งตีผงชาด้วยอุปกรณ์และเทคนิคแบบเดิม กลับได้ผลลัพธ์ที่ไม่เหมือนเดิม ผงชาอาจจะไม่ละลาย ตีแล้วไม่ขึ้นฟองที่สวยงาม ทำให้เวลาถ่ายภาพเมนูอาหารไม่น่าทาน สาเหตุเกิดจากอะไรนั้น ลองมาสังเกตไปพร้อมๆกัน 1. ไม่ได้กรองชาเขียวก่อนตีโดยทั่วไปแล้วผงมัทฉะไม่จำเป็นต้องผ่านการร่อน แต่ถ้าต้องการให้เกิดฟองที่สวยงามในตอนตี ควรจะผ่านการร่อนสักรอบเหมือนก่อนที่เราจะนำแป้งมาใช้ทำขนม เพาะ ผงชา และแป้งพวกนี้เมื่อถูกเก็บอยู่ในภาชนะนานๆ อาจเกิดการจับตัวเป็นก้อนได้อีกครั้ง การร่อนก่อนที่จะตีจะช่วยให้คุณได้เครื่องดื่มชาเขียวที่นุ่มขึ้น และยังทำให้ได้ฟองเป็นชั้นๆสวยงาม 2.ปริมาณน้ำกับชาไม่ได้สัดส่วนกัน  หากใส่น้ำในปริมาณที่มากเกินไปฟองมัทฉะก็ทำได้ยาก และอาจจะได้ฟองอากาศขนาดใหญ่จำนวนมากซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการ เพราะการชงมัทฉะที่สวยงามน่าทานจะต้องเป็นฟองน้อยๆ หากใส่ผงมัทฉะในปริมาณที่มากเกินไปคุณจะได้ชาเขียวที่เข้มข้นมาก ๆ แต่มักจะเกิดกรณีที่เมื่อใช้ผงมัทฉะมากขึ้นเพื่อรสชาติที่เข้มขึ้น แต่ปริมาณของเหลว คือ น้ำ อยู่ในเรทเท่าเดิม ซึ่งไม่เพียงพอต่อการทำละลายของผงมัทฉะ จึงเป็นเรื่องยาก โดยปกติแล้วปริมาณความเข้มข้นของชาจะขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน แต่อัตราส่วนทั่วไปในการตีผงชามัทฉะคือ ไม้ไผ่ 2 ช้อน (หรือ 1 ช้อนชา) ต่อน้ำ 2-3 ออนซ์ หากต้องการปรับระดับความเข้นข้นเอง อย่าลืมที่จะเติมน้ำมากขึ้นตามระดับที่สามารถทำละลายผงชาได้ 3. อุณหภูมิของน้ำต่ำลงเกินไปหากน้ำเย็นเกินไปการพักมัทฉะในน้ำจะเป็นเรื่องยาก ซึ่งจะส่งผลให้มีการจับตัวเป็นก้อนมากกว่าฟอง อุณหภูมิของน้ำขึ้นไม่ได้มีสูตรบังคับตายตัว เพียงแต่มีคำแนะนำ เพื่อรสชาติที่ดีท่สุดเท่านั้นตามแบบฉบับของแต่ละร้านว่าควรใช้อุณหภูมิที่เท่าไหร่ ซึ่งแน่นอนว่า การใช้น้ำร้อนเกินไปก็ไม่ได้ทำให้การตีผงชาละลายได้ดีที่สุด…

เปิดกรุประวัติศาสตร์ ชาเขียวในไทย
|

เปิดกรุประวัติศาสตร์ ชาเขียวในไทย

การดื่มชาได้เริ่มขึ้นในประเทศจีน คาดว่าไม่น้อยกว่า 2,167 ปีก่อนคริสตกาล ตำนานการเริ่มต้นของการดื่มชามีหลายตำนาน บ้างก็กล่าวว่าจักรพรรดิเสินหนิงของจีน (Shen Nung) ค้นพบวิธีชงชาโดยบังเอิญ เมื่อพระองค์ทรงต้มน้ำดื่มใกล้ๆ กับต้นชา ขณะรอคอยให้น้ำเดือด กิ่งชาได้หล่นลงในหม้อชา สักพักหนึ่งกลิ่นหอมกรุ่นก็โชยออกมา เมื่อพระองค์เอากิ่งชาออกแล้วทรงดื่ม ก็พบว่า มันทำให้สดชื่น การดื่มชาจึงแพร่หลายมากขึ้นในเวลาต่อมา นอกจากทรงค้นพบสรรพคุณของชาแล้ว พระองค์ยังทรงค้นคว้าและทดสอบสมุนไพรชนิดต่างๆ กว่า 200 ชนิด จนได้มีการเผยแพร่ไปยังประเทศต่างๆ ทั้งญี่ปุ่น อินเดีย รวมถึงที่ไทยเอง ในสมัยสุโขทัยช่วงที่มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีน พบว่าได้มีการดื่มชากัน แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่านำเข้ามาอย่างไร และเมื่อใด แต่จากจดหมายของท่านลาลูแบร์ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้กล่าวไว้ว่า คนไทยได้รู้จักการดื่มน้ำชาแล้ว โดยนิยมชงชาเพื่อรับแขก การดื่มชาของคนไทยสมัยนั้นดื่มแบบชาจีนไม่ใส่น้ำตาล แต่บางตำราก็บอกว่าคนสมัยนั้นจะอมน้ำตาลกรวดใส่ปากก่อน แล้วจิบน้ำชาร้อนๆตาม ระหว่างนั้นเจ้าบ้านก็จะรินน้ำชาใส่ถ้วยให้เรื่อยๆ ถ้าแขกดื่มพอแล้วก็ให้คว่ำถ้วยชาลงเป็นการส่งสัญญาณว่าน้ำตาลในปากละลายหมดเกลี้ยง แต่น้ำชาร้อนก็ไม่ได้เป็นเครื่องดื่มที่นิยมกันทุกบ้านทุกครัวเรือน เพราะคนไทยชอบกินน้ำเย็นดับร้อนอย่างน้ำฝนมากกว่า น้ำชาร้อนจึงจัดเสิร์ฟเฉพาะในจวนข้าราชการหรือถวายพระเท่านั้น แต่ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดนักว่าเป็นชาสายพันธุ์ไหน แล้วมีปลูกที่ไทยหรือเป็นเพียงชาที่ทูตใช้ชงดื่มกันในราชสำนัก หลักฐานที่เห็นได้ชัดอีกประการ คือ ชาที่ปลูกในเมืองไทย เริ่มเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประภาสยุโรปเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกล่าอาณานิคมจากชาวยุโรป เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านได้เสด็จประพาสยุโรปโดยเฉพาะที่อังกฤษ ที่นั่นนิยมดื่มชาและ…

ดื่มชาเขียวร้อนดีกว่าชาเขียวเย็นจริงมั้ย ?
|

ดื่มชาเขียวร้อนดีกว่าชาเขียวเย็นจริงมั้ย ?

ชาเขียว เครื่องดื่มที่อุดมด้วยคุณค่าทางสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย สามารถดื่มได้ทั้งแบบร้อนและแบบเย็น แต่ในทางกลับกันการดื่มชาเขียวอาจไม่ได้ช่วยให้เกิดประโยชน์อะไรต่อร่างกายเลยหากดื่มไม่ถูกวิธี ซึ่งที่ทุกคนทราบกันอย่างแน่ชัด คือ การดื่มน้ำชาไม่ว่าจะชาร้อนหรือชาแช่เย็น ไม่ควรแต่งรสด้วยน้ำตาล หรือ นมทุกชนิด ไม่ว่าจะนมสด นมข้นหรือนมผง เพราะโปรตีนในนมจะไปจับกับสารสำคัญในชา และทำลายประสิทธิภาพสารออกฤทธิ์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพ จึงควรดื่มน้ำชาล้วนๆไม่ปรุงแต่ง อย่างไรก็ตาม แม้จะดื่มชาเขียวเพียวๆ แต่ก็มีคนเข้าใจว่าการดื่มชาเขียวเย็นไม่เกิดประโยชน์แล้วกลับทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย เพราะชาเขียวเย็น ก่อให้เกิดการเกาะตัวแน่นของสารพิษที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง นอกจากนี้ชาเขียวเย็นยังส่งผลให้ไขมันในร่างกายก่อตัวมากขึ้นตามผนังหลอดเลือด และอุดตันตามผนังลำไส้ ทำให้เกิดโรคร้ายตามมา เช่น หลอดเลือดหัวใจอุดตัน มะเร็งลำไส้ เส้นเลือดตีบ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานการวิจัยยืนยันอย่างชัดเจนว่าชาเขียวเย็นส่งผลเสียแบบนั้นจริงมั้ย บางกระแสก็บอกว่า หากดื่มแบบเย็นที่มีน้ำแข็งผสม ความเย็นจากน้ำแข็งจะทำให้ประสิทธิภาพของชาเขียวเจือจางไปพร้อมน้ำแข็ง แทนที่จะได้รับประโยชน์แบบเต็มที่ก็ทำให้ได้รับคุณประโยชน์น้อยกว่า แต่สำหรับใครที่อยากดื่มชาเขียวแบบเย็นก็สามารถทำได้ เพียงให้ดื่มชาที่ชงด้วยตัวเองแล้วนำไปแช่เย็นไว้ แค่ไม่ใส่น้ำแข็งไปผสมเพิ่มก็พอ และเพื่อให้สารต้านอนุมูลอิสระจากในชาเขียวยังคงมีอยู่ ในทางกลับกัน มีสมมติฐานที่ยังคงเป็นที่ถกเกียงกันว่าการดื่มชาเขียวร้อนที่ว่ากันว่าช่วยยับยั้งการเกิดมะเร็งได้ เพราะยอดใบชาจะมีสารต้านอนุมูลอิสร แต่ก็ยังไม่ได้มีวิจัยที่ชัดเจน และบางคนก็เชื่อว่าการดื่มชาเขียวร้อน ยิ่งเสี่ยงมะเร็งหลอดอาหาร แม้จะยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน แต่คนเลิฟชาเขียวก็ควรดื่มชาในปริมาณที่พอเหมาะ และดื่มอย่างถูกวิธี เพื่อให้ได้คุณค่าทางสารอาหารมากที่สุด สำหรับผู้ที่นิยมดื่มน้ำชาร้อนๆ สารสำคัญที่เป็นประโยชน์ คือ คาเทคชินส์ (Catechins) จะถูกความร้อนทำลายไปเกือบหมด คงเหลือแต่ความหอมและรสชาติ ถ้าต้องการให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายแต่ยังนิยมชาร้อนๆ…

Matcha Breakfast Dish เมนู Matcha Yogurt
|

Matcha Breakfast Dish เมนู Matcha Yogurt

หลายคนอาจคิดว่าการได้จิบชาอุ่นๆ ในตอนเช้านั้นเป็นอะไรที่เพอร์เฟ็กต์ แต่ความจริงแล้วตอนเช้าเป็นช่วงที่ท้องกำลังว่าง หากเราดื่มชาเขียวเข้าไปจะกระตุ้นให้เกิดกรดในกระเพาะอาหาร จนอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะได้ แถมคาเฟอีนที่อยู่ในชาเขียวยังจะกระตุ้นให้ร่างกายขับน้ำออกมา อาจทำให้เรารู้สึกขาดน้ำ สมองช้า ไม่สดชื่นอีกด้วย ทางที่ดีควรกินอาหารเช้าให้เรียบร้อยก่อนแล้วค่อยตามด้วยชาเขียวสัก 1 แก้ว หรือถ้าอยากทานชาเขียวจริงๆ ลองเอาไปผสมในซุป โยเกิร์ต หรือเมนูอื่นๆที่เหมาะกับการเป็นมื้อเช้า ทำให้ได้มื้อเช้าแสนอร่อยสไตล์คนเลิฟมัทฉะ และยังเป็นการเพิ่มเมนูมื้อเช้าให้ร้านคาเฟ่ของคุณได้อีกด้วย เริ่มกันที่เมนูเบาๆง่ายๆไม่หนักท้องและดีต่อสุขภาพ อย่าง Matcha Yogurtเมนูที่หลายคนลืมนึกไปว่าชาเขียวก็ทานคู่กับโยเกิร์ตได้ เพียงแค่นำโยเกิร์ตรสธรรมชาติ 300 กรัม มาผสมกับผงมัทฉะ 1 ช้อนโต๊ะ เมเปิ้ลไซรัป 2 ช้อนชา คนให้เข้ากันแล้วท้อปปิ้งด้วย กีวี ลูกพีช บลูเบอรี่ แอปเปิ้ล หรือผลไม้อื่นๆตามที่ชอบ แต่ถ้าใครไม่ชอบทานโยเกิร์ แนะนำเป็น Matcha Breakfast Bowl ที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหาร ด้วยการนำเมล็ดเจีย 2 ช้อนโต๊ะ ผสมกับนมอัลมอนด์ หรือนมแมคคาดีเมีย หรือนมวัวแล้วแต่ชอบในปริมาณ 1 ถ้วย และผงมัทฉะ 2 ช้อนชา ปั่นรวมเข้ากัน สามารถเติมน้ำผึ้งเล็กน้อยเพื่อเพิ่มความหวานได้ตามชอบ…