ชาจีนต่างกับชาญี่ปุ่นอย่างไร
|

ชาจีนต่างกับชาญี่ปุ่นอย่างไร

ไม่ว่าที่ประเทศจีน และที่ญี่ปุ่น ก็มีชาเป็นเครื่องดื่มหลักเหมือนกัน เพราะชา เป็นเครื่องดื่มที่อุดมด้วยสารอาหาร ดีต่อสุขภาพ เช่นเดียวกัน เมื่อพูดถึงชาจีนเรามักเข้าใจว่าเป็นชาเขียวในความเป็นจริงแล้ว ชามีหลายประเภท ตามเวลาในการเก็บใบชา และสถานที่เก็บ โดยชาจีน จะแบ่งเป็น ชาขาว, ชาเขียว, ชาอู่หลง, ชาดำ กรรมวิธีทำชาแต่ละประเภทแตกต่างกัน อย่างเช่นชาขาวและชาเขียว จะทำให้ได้รับความร้อน เพื่อรักษาสารต้านอนุมูลอิสระให้ยังคงอยู่ ส่วนชาอู่หลง ชาดำ พวกนี้ถูกเอาไปหมัก ชาอู่หลงจะหมักให้ถูกอ๊อกซิไดน์เพียงส่วนหนึ่ง ส่วนชาดำจะถูกอ๊อกซิไดน์ทั้งหมด ในทางกลับกันชาเขียวญี่ปุ่นเป็นชาที่เก็บสดๆ เอามา stream ด้วยไอน้ำ เพื่อหยุดออกซิไดซ์ ได้สีเขียวสวย และรสตามธรรมชาติ การที่ใบชาที่ได้นั้นไม่ผ่านขั้นตอนการหมัก จึงทำให้ใบชามีสารประกอบฟีนอล หลงเหลืออยู่มาก จึงทำให้ชาเขียวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากกว่าชาชนิดอื่น และเมื่อเอามาบดผ่านเครื่องจนเป็นผง จึงกลายเป็นผงมัทฉะ ที่เรานิยมใช้ในพิธีชงชา และการทำขนมนั่นเอง นอกจากความต่างของกรรมวิธีการผลิตแล้ว การเสิร์ฟชาของชาจีนและชาญี่ปุ่นก็แตกต่างกัน ประเทศจีนส่วนมากจะใช้กาใหญ่ เมื่อมีแขกเข้าบ้าน ก็ใส่ใบชาในกาและเทน้ำร้อนใส่ลงไป เมื่อแช่ไว้จนได้กลิ่นและสีชาแล้วจึงรินใส่แก้วให้แขกดื่ม แต่ก็มีบางท้องถิ่นของจีนเช่นเมืองจางโจวของมณฑลฮกเกี้ยนจะมีอุปกรณ์กังฮูเต๊ โดยมีเครื่องถ้วยชากาชาเป็นชุดและมีวิธีการชงชาที่พิเศษ จึงทำให้กลาย เป็นศิลปะชาที่มีเอกลักษณ์ของพื้นเมือง ส่วนที่ญี่ปุ่น พิธีการชงชา จะมีลักษณะที่เป็นแบบแผนที่ได้พัฒนาภายใต้อิทธิพลของพุทธศาสนานิกายเซ็น มีขั้นตอนและกรรมวิธีการชงที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนมากกว่าของจีน…

How to ใช้ฉะเซ็น ….ใช้ยังไงให้ใช้ได้นาน
|

How to ใช้ฉะเซ็น ….ใช้ยังไงให้ใช้ได้นาน

หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมการชงชามัทฉะ ไม่สามารถใช้ช้อนคนเหมือนเวลาเราชงกาแฟ หรือโกโก้?? คำตอบก็คือ มัทฉะ คือ ผงชาที่บดมาจากใบชา ไม่เหมือนสารละลายที่นำไปผ่านกระบวนการอบให้เป็นผงพร้อมชงอย่างโอวัลตินหรือน้ำตาลทราย จึงไม่มีคุณสมบัติละลายน้ำการใช้แปรงชงชา หรือที่เรียกว่า ฉะเซ็น ในการตีผงชาจะทำให้ผงชาละลายได้หมดและได้กลิ่นและรสชาติแบบต้นตำรับสไตล์ญี่ปุ่นมากกว่านั่นเอง แต่บางคนก็อาจจะใช้ตะกร้อที่ใช้ทำขนมมาตีผงชาแทน แต่มีข้อเสีย คือ ตีมัทฉะออกมาแล้วฟองจะใหญ่ไม่ละเอียด ทำให้มัทฉะดูไม่น่าทาน ฉะเซ็น ปกติจะทำจากไม้ไผ่ มีจำนวนซี่ประมาณ 80 ซี่ หากน้อยกว่านี้ จะเป็นฉะเซ็นที่มีไว้สำหรับการชงโคอิฉะ หรือมัทฉะแบบเข้มข้น ที่จำเป็นต้องใช้ฉะเซ็นในการนวดผงชาให้เป็นเนื้อเดียวกันกับน้ำร้อน ต่างจากการชงอุสึฉะ หรือมัทฉะแบบบางที่จะใช้ฉะเซ็นตีผงชาให้ขึ้นฟอง แต่ฉะเซ็นบางรุ่นที่มีจำนวนซี่เยอะ อย่าง 100 ซี่ หรือ 120 ซี่ มีข้อดีคือตีมัทฉะให้ขึ้นฟองได้ง่ายและฟองละเอียดกว่าในสมัยก่อนฉะเซ็นที่จำนวนซี่เยอะๆ มีไว้สำหรับให้โชกุนหรือขุนนางผู้สูงศักดิ์ใช้เพียงเท่านั้น การใช้งานฉะเซ็นครั้งแรก ควรแช่ฉะเซ็นในน้ำอุ่น 15-30 นาที เพื่อให้เนื้อไม้คลายตัวก่อน นอกจากนนั้น เพื่อยืดอายุการใช้งานฉะเซ็น ทุกๆครั้งก่อนใช้ควรแช่ฉะเซ็นในน้ำอุ่นประมาณ 5-10 นาทีเพื่อให้เนื้อไม้ยืดหยุ่นรับแรงจากการใช้งานโดยไม่แตกหัก และควรใช้งานฉะเซ็นกับถ้วยที่ก้นแบนกว้างทรงเตี้ย หลีกเลี่ยงการใช้กับถ้วยชาทรงสูงปากแคบก้นมีมุมเพราะอาจทำให้ปลายแปรงกระแทกมุมจนแตกหักได้ ที่สำคัญ คือไม่ควรกดแปรงฉะเซ็นกับก้นถ้วย แต่เน้นการสะบัดฉะเซ็นโดยการใช้ข้อมือโดยหลีกเลี่ยงการสะบัดแปรงแรงจนชนข้างถ้วย หลังการใช้งานทุกครั้ง ควรนำไปแกว่งในน้ำอุ่น โดยแกว่งเฉพาะส่วนที่สัมผัสกับมัทฉะ ไม่ต้องล้างน้ำทั้งอัน…

ซะโด พิธีชงชาที่แฝงปรัชญาการใช้ชีวิต
|

ซะโด พิธีชงชาที่แฝงปรัชญาการใช้ชีวิต

พิธีชงชาญี่ปุ่นเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างของประเทศญี่ปุ่นว่าด้วยการใช้เวลาอย่างสุนทรีย์ ซะโดมีลักษณะที่เป็นแบบแผน ได้พัฒนาภายใต้อิทธิพลของพุทธศาสนานิกายเซ็น จุดประสงค์ของพิธีนี้ คือ เพื่อทำวิญญาณให้บริสุทธิ์โดยการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ ใช้แนวคิด ความงามในความเรียบง่ายและความสงบ อย่างอุปกรณ์ชงชาอย่างกาต้มน้ำ ถ้วยชา เป็นสิ่งเรียบง่าย นอกจากนี้เพื่อที่จะค้นหาความงามในความไม่สมบูรณ์ ของถ้วยชามที่ขรุขระ การชงชาแบบญี่ปุ่นจึงเป็นพิธีกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ทรงคุณค่าฝั่งรากลึกมานาน ซะโดยังมีบทบาทสำคัญในด้านศิลปะของชาวญี่ปุ่น เกี่ยวข้องกับการชื่นชมห้องที่ประกอบพิธี ส่วนที่ติดอยู่ในห้องนั้น เครื่องใช้ในการชงชา เครื่องประดับบริเวณพิธี เช่น ภาพแขวนหรือการจัดดอกไม้ สถาปัตยกรรมญี่ปุ่น การจัดสวน เครื่องปั้นดินเผาเซรามิก สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้รับอิทธิพลมาจากพิธีชงชา และความเป็นพิธีการที่ถือปฏิบัติในพิธีชงชาได้มีอิทธิพลต่อการพัฒนามารยาทของชาวญี่ปุ่นในลักษณะที่เป็นพื้นฐาน พระ Rikyu ถือเป็นอาจารย์แห่งพิธีชงชา ได้ทำให้ผู้คนรอบข้างประหลาดใจ ด้วยการเสนอไอเดียใหม่เกี่ยวกับการเลือกใช้ชามในพิธีชงชาที่เรียกว่า “koma”หรือความมืด ใช้ถ้วยชงชาสีดำอันเป็นงานฝีมือของช่างชาวญี่ปุ่น แทนที่จะใช้ภาชนะที่นำเข้าจากจีน เพื่อสื่อให้เห็นถึงความเรียบง่ายอันเป็นหัวใจของ“wabi-cha” วิถีแห่งความสงบเรียบง่ายแห่งชา หลายคนอาจจะพอรู้ขั้นตอนพิธีการดื่มชาญี่ปุ่นอยู่แล้ว จะรู้สึกว่าเป็นพิธีที่ยุ่งยาก ขั้นตอนเยอะ ไหนจะต้องหมุนชาม ไหนจะต้องโค้งคำนับ แต่ถ้าใครมีโอกาสได้ภาพยนตร์ญี่ปุ่นเมื่อสิ้นปีที่ผ่านมาเรื่อง Every Day a Good Day หัวใจ ใบชา ความรัก จะได้ซึมซับถึงเสน่ห์ของศิลปะการชงชา และเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าการชงชาเป็นเรื่องที่ไม่รีบร้อนและต้องใช้เวลาในการเข้าใจถึงแก่นแท้มีความเกี่ยวข้องผสานเข้ามาอยู่รวมกันกับอิคิไกความหมายของการมีชีวิตอยู่ เป็นนัยยะว่า…

ตามเทรนด์รักสุขภาพแบบสาย RAW SWEETS
|

ตามเทรนด์รักสุขภาพแบบสาย RAW SWEETS

ช่วงนี้โควิดกำลังระบาดหนัก หลายคนอาจจะเริ่มหันมาสนใจสุขภาพมากขึ้น แต่หลายคนก็ยังรู้สึกว่าการทานขนมหวานที่มีความหวานมัน ช่วยเติมเต็มความสุขในช่วงสถานการณ์เครียดๆแบบนี้ได้ แต่จริงๆแล้ว ยังมีขนมหวานอีกประเภทหนึ่งที่ดีต่อสุขภาพมากๆ ได้วิตามิน เกลือแร่ และคุณค่าทางสารอาหารที่ครบถ้วน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการย่อยอาหาร และกระบวนการเผาผลาญเป็นไปอย่างสมบูรณ์ ขนมหวานแบบนี้ เรียกกันว่า Raw Sweets Raw Sweets เป็นขนมที่ทำจาก ผลไม้สด ผัดสด และวัตถุดิบทั้งหมดที่ผ่านกระบวนการปรุงแต่งด้วยความร้อน ไม่เกิน 46 องศา ไม่มีส่วนผสมของแป้ง และน้ำตาล แต่จะใช้ข้าวกล้องหรือธัญพืชไม่ขัดขาวที่เป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนแทน นับว่าเป็นขนมที่ทำจากวัตถุดิบจากธรรมชาติจริงๆ จุดเด่นของขนม Raw Sweets คือ ไม่ใช้ความร้อน ไม่ว่าจะการอบ นึ่ง ต้ม ไม่ว่าจะเป็นในส่วนผสมหรือ การเตรียมใดๆ จะใช้แค่การผสมวัตถุดิบเข้าด้วยกัน และนิยมใช้การแช่เย็นแทนการอบสุก หรือการตากแห้งของผลไม้ตามธรรมชาติแทน ส่วนผสมหลักที่มักนิยมใช้สำหรับการทำ Raw Sweets ได้แก่ 1.นมอัลมอนด์มีรสชาติเข้มข้น เหมาะสำหรับเติมลงไปในไอศครีม หรือไส้เค้ก แทนครีมสดหรือนมสด ส่วนตัวกากอัลมอนด์ที่เหลือจากการนำมาคั้นนมอัลมอนด์ สามารถนำมากรุฐานเค้ก หรือทาร์ตได้อีกด้วย 2.ครีมเม็ดมะม่วงหิมพานต์ที่ใช้อากาเว่ไซรัป และน้ำมันมะพร้าวในการผสม ได้รสชาติกลมกล่อมเหมือนครีมสดจากนม…

กว่าจะเป็นผงชามัทฉะ
|

กว่าจะเป็นผงชามัทฉะ

ชาเขียว กับมัทฉะ เป็นเครื่องดื่มที่นิยมของชาวญี่ปุ่น ผลิตจากใบชาจากแหล่งปลูกในญี่ปุ่นที่เหมือนกัน ความเหมือนที่แตกต่างของ “มัทฉะ” และ “ชาเขียว ที่ชัดเจนที่สุด คือ ลักษณะของการใช้ เพราะมัทฉะจะมาในรูปแบบผงละเอียด ในขณะที่ชาเขียวโดยปกติจะมาในรูปแบบของใบชาแห้ง เวลากิน ชงกับน้ำร้อนกินแต่น้ำชา ส่วนใบชากรองออก ส่วนชาเขียวที่เราเรียกมัทฉะ มีลักษณะเป็นผงชาเขียวที่นำใบชามาบดจนละเอียด เวลากินนำผงชาไปผสมกับน้ำร้อน คนให้เข้ากันแล้วดื่มได้ทั้งหมด ไม่ต้องกรองส่วนใดออก ซึ่งกรรมวิธีการแปรรูปจากใบชาเขียว มาเป็นผงมัทฉะต้องอาศัยความละเอียดอ่อนพอสมควร ชาเขียวญี่ปุ่นแท้ เป็นชาที่ไม่ผ่านกระบวนการหมัก เสร็จแล้วนำไปนวดเพื่อให้ใบชาม้วนตัว จากนั้นนำไปอบแห้ง สีของน้ำชาจึงมีสีเขียว ต้นชาที่จะนำมาผลิตเป็นมัทฉะ จะมีการปลูกและดูแลที่ซับซ้อนกว่าชารูปแบบอื่น ช่วงที่ใบชาแตกยอด ก่อนเก็บเกี่ยวต้องคลุมป้องกันไม่ให้ชาได้รับแสดงแดดโดยตรง เพื่อหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดโดยตรง เป็นการลดการสังเคราะห์แสงชะลอการเจริญเติบโตของใบชา เพื่อกระตุ้นการผลิตคลอโรฟิลและกรดอะมิโนใบชาจึงมีสีเขียวเข้ม เหมาะกับการนำไปทำมัทฉะ โดยนำใบชามาบดโดยครกหินที่ทำให้เกิดความร้อนน้อยที่สุด เพื่อรักษารสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ไว้ บดจนออกมาป็นผงละเอียดเหมือนแป้ง ใช้เวลานาน กว่าจะได้ผงชาออกมาจำนวนหนึ่ง ทำให้มัทฉะมีราคาสูงกว่าชาเขียวชนิดอื่นๆ ในสมัยก่อนมัทฉะจึงเป็นชาที่ถูกนำไปใช้ในพิธีชงชาของประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันนิยมนำผงมัทฉะมาชงเครื่องดื่ม ร้อน เย็น ทำขนม หรือไอศกรีม เพราะมัทฉะมีสีเขียวสดสวย อีกทั้งยังมีคุณค่าทางอาหารจากใบชาทั้งใบอีกด้วย ทำให้มัทฉะเป็นที่ได้รับความสนใจจากกลุ่มคนรักสุขภาพมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ชาเขียวสามารถใช้ชงเครื่องดื่ม ร้อน เย็นได้ แต่ไม่เหมาะที่จะไปทำขนม ประโยชน์ของชาเขียว…

พิชิตใจลูกค้าด้วย Emotional Value
|

พิชิตใจลูกค้าด้วย Emotional Value

ธุรกิจร้านอาหารทุกวันนี้ แต่ละร้านจะมีเอกลักษณ์ของร้านตัวเองที่ดึงดูดลูกค้าเข้าร้าน บางร้านใช้วิธีจัดโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม บางร้านใช้การจัดอีเว้นต์ เชิญ Influencer ดังๆเข้ามา แต่จริงๆแล้ว วิธีเหล่านี้เป็นเหมือนเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพราะในบางครั้งที่จบช่วงโปรโมชั่น หรืออีเว้นต์นั้นๆไป ลูกค้าก็อาจจะหายไปเหมือนเดิมได้ เป็นการแก้ปัญหาระยะสั้นเพียงเท่านั้น วิธีการพิชิตใจลูกค้าที่ยั่งยืนจริงๆแล้ว ควรให้ความสำคัญสิ่งที่เรียกว่า Emotional Value (คุณค่าทางอารมณ์) เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการทำ Emotional Value ของแต่ละร้านย่อมมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป ว่าจะใช้ในเรื่องของการชูโรงเรื่องความพรีเมี่ยมของวัตถุดิบ หรือ การสร้างคอนเทนต์ในรูปแบบของร้านนั้นๆเองให้มีเอกลักษณ์ แต่ถ้าใครไม่มีไอเดีย มาดูเทคนิคง่ายๆที่ทำให้ลูกค้าเลือกมาร้านของเรา แทนที่จะไปร้านอื่นๆบ้าง Emotion : Caring การดูแล ห่วงใย เอาใจใส่ ครอบครัวบางครอบครัวมักจะมีปัญหาเวลาไปทานข้าวด้วยกันที่บางคนชอบอย่าง อีกคนชอบอีกอย่าง ถ้าร้านนนั้นๆ มีเมนูที่หลากหลายเหมาะกับคนในครอบครัวทุกเพศทุกวัย ก็เป็นการเอาใจใส่ลูกค้าเล็กๆน้อยๆ ที่อาจจะทำให้ลูกค้าประทับใจได้โดยไม่รู้ตัว เช่น มีเมนูชาเขียวเลือกระดับความเข้มได้ คนที่ไม่ชอบชาเขียว ก็สามารถเลือกเลเวลเจือจาง ผู้ใหญ่สายเข้ม สามารถเลือกชาเขียวเข้มข้นมากๆ ทำให้ในครอบครัวเดียวกัน สามารถใช้เวลาด้วยกันได้ หรือเป็นเมนูที่วางขายธรรมดาอยู่แล้วตามปกติ แต่ตกแต่งหน้าตาให้แตกต่างออกไปตามเทศกาลพิเศษ เช่นทาร์ตชาเขียว…

เสิร์ฟชาเขียวยังไงให้เหมือนไปทานที่ญี่ปุ่น
|

เสิร์ฟชาเขียวยังไงให้เหมือนไปทานที่ญี่ปุ่น

ชาเขียว กลายเป็นอีกหนึ่งเมนูยอดฮิตไปแล้วสำหรับคนไทย โดยเฉพาะในหมู่ของคนที่ชื่นชอบความเป็นญี่ปุ่น ซึ่งในหลายๆร้านก็จะมีการนำผงชาเขียวปชงเป็นเครื่องดื่ม หรือเอาไปเป็นส่วนผสมของขนมสไตล์ตะวันตก อย่างเค้ก พาย ทาร์ต หรือขนมปัง แต่รากฐานจริงๆของการดื่มชาเขียวร้อนนั้น มักจะเสิร์ฟคู่กับขนมวากาชิขนมชิ้นเล็กพอดีคำ ที่ถูกตกแต่งอย่างประณีต ในพิธีชงชา ซึ่งเป็นประเพณีดั้งเดิมของญี่ปุ่น วากาชิจึงเป็นจึงเป็นอีกไอเดียที่เจ้าของคาเฟ่ หรือคนที่อยากมีร้านเป็นของตัวเอง สามารถหยิบจับไอเดียไปต่อยอดได้ เพราะเป็นขนมที่ยังไม่แพร่หลายนักในไทย แต่ไม่ว่าใครที่ไปญี่ปุ่น ก็ต้องหาทานกันทุกครั้ง จึงเป็นไอเดียที่น่าสนใจมากสำหรับเจ้าของคาเฟ่ หรือผู้ที่สนใจเปิดคาเฟ่ในการสร้างเอกลักษณ์ให้กับเมนูในร้าน ที่มา http://masoupedujour.tumblr.com/post/3928153619/clover-by-green-piglet พูดถึงวากาชิ (和菓子/ Wagashi) หรือขนมหวานญี่ปุ่น หลายคนอาจจะยังนึกไม่ออกว่า คืออะไร?? วากาชิ ดั้งเดิมแล้วเป็นขนมหวานแบบแห้งที่ทำด้วยน้ำตาล ในสมัยนั้นน้ำตาลเป็นสิ่งที่หาได้ยากมาก ถูกจำกัดให้ชนชั้นสูงและผู้ผลิตขนมหวานที่ถูกเลือกเท่านั้น ขนมหวานตามฤดูกาลจึงเริ่มถูกคิดค้นขึ้นและนำไปใช้ประกอบพิธีชงชาในยุคนี้เอง ขนมวากาชิแบบแห้ง หรือที่เรียกว่าฮิงะชิ ที่มาhttps://www.flickr.com/photos/lotus-aki/15441310123/ ต่อมาได้มีการดัดแปลง ใช้ถั่ว น้ำตาล แป้งข้าวต่างๆ และแป้งชนิดอื่นๆ เป็นส่วนผสมหลัก และมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะและรสชาติไปตามฤดูกาล เช่น ในฤดูหนาว จะมีวากาชิแบบนึ่งทานอุ่นๆ ที่คล้ายกับซาลาเปา ทำจากแป้งผสมกับน้ำตาล สอดไส้ถั่วแดงหวาน เรียกว่ามันจู และยังมีขนมถั่วแดงต้มร้อนๆ ที่นิยมทานกันในช่วงที่อากาศหนาวอีกด้วย ขนมมันจู ที่มา…

ชาชนิดเดียวกัน ทำไมรสชาติถึงแตกต่างกัน?
| |

ชาชนิดเดียวกัน ทำไมรสชาติถึงแตกต่างกัน?

การปลูกชาเขียว แต่ละไร่ แต่ละที่ก็มีวิธีการเคล็ดลับที่แตกต่างกันออกไป ส่งผลให้รสชาติชาแต่ละที่ไม่เหมือนกัน แต่จริงๆปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อรสชาติ คือ อากาศ ดิน และคนปลูกถ้าปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งมีความต่างกัน กระบวนการผลิต และรสชาติย่อมออกมาแตกต่างกัน แม้ชาที่ใช้ปลูกจะเป็นสายพันธุ์เดียวกันก็ตาม ที่มา http://blog.davidstea.com/en/get-to-know-loose-leaf-tea/ ปัจจัยแรกที่ส่งผลต่อรสชาติชาเป็นอย่างมาก คือ  ดิน เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ชาแต่ละที่มีคุณภาพแตกต่างกับอีกที่ ซึ่งนอกจากดินตามธรรมชาติของแหล่งปลูกแต่ละแหล่งจะมีผลแล้ว  การคัดเลือกดิน รวมถึงการใส่ปุ๋ยแต่ละไร่ชาก็จะมีสูตรพิเศษของตนเองที่ทำให้ชารสชาติออกมาตามที่ต้องการแตกต่างกันสภาพเนื้อดินบนที่สูงจะมีแดงเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเกิดจากการซะล้างและบางพื้นที่เกิดจากการสลายตัวของภูเขาหินปูน ทั้งนี้ดินที่เหมาะสมสำหรับการปลูกชามีค่าความเป็นกรดด่างอยู่ระหว่าง 4.5-5.5 ซึ่งมีสภาพเป็นกรดเล็กน้อย ปัจจัยต่อมา คือ อากาศ  ชาเขียว จำเป็นต้องปลูกในทั้งอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสม ควรเป็นพื้นที่มีหมอก ที่เกิดจากอุณหภูมิที่มีความแตกต่างกันสูง ในตอนกลางวันและกลางคืน ถึงแม้ว่าชาสามารถทนอุณหภูมิต่ำได้ดี แต่ก็ไม่ควรให้เกล็ดน้ำแข็งเกาะใบชา จะทำให้ใบชาเสียคุณภาพ จึงจะสังเกตได้ว่าในญี่ปุ่นจะมีพัดลมเป่าความร้อนขนาดใหญ่เกือบทุกไร่ชา เพื่อเป่าไม่ให้เกล็ดน้ำแข็งเกาะใบชาในฤดูหนาวนั้นเอง ซึ่งคุณภาพของใบชาโดยเฉพาะด้านกลิ่นและรสชาติส่วนนึงจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ฉะนั้นจึงมีความเกี่ยวข้องกับสภาพพื้นที่ปลูกอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้พื้นที่ที่มีความสูงมากจะมีอากาศหนาวเย็นและอุณหภูมิคงที่เกือบตลอดทั้งปี จะส่งผลให้ผลผลิตใบชาสดมีคุณภาพแต่จะให้ผลผลิตต่ำ ซึ่งตรงข้ามกับพื้นที่ต่ำ อุณหภูมิสูง จะให้ผลผลิตสูงแต่คุณภาพต่ำ ที่มา http://chaehbae.tumblr.com/post/90942615222/tea-fields-zhejiang-china-awesome-amazing ปัจจัยต่อมาที่สำคัญไม่แพ้กัน คน คือ หัวใจของกระบวนการทั้งหมด ที่นอกจากจะต้องใช้ผู้มีประสบการณ์สูงในแต่ละขั้นตอนแล้ว ยังต้องใช้ความเอาใจใส่ ความละเอียดรอบคอบในการดูแลชาเพื่อให้ได้มาตรฐานที่ควรจะเป็น ที่มา http://www.trekearth.com/gallery/Asia/Indonesia/Java/Jawa_Barat/Ciwalini/photo633381.htm…

ชาเขียว ที่สีไม่เขียว
| |

ชาเขียว ที่สีไม่เขียว

หลายคนจะเข้าใขว่าชาเขียวจะต้องมีแต่สีเขียวเท่านั้น ถ้าเป็นชาสีอื่นก็จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้วชาเขียวยังมีสีอื่น ที่ไม่ใช่สีเขียว แต่มีต้นกำเนิดจากชาเขียวเหมือนกัน เพียงแต่ต่างกันที่กระบวนการผลิต เวลาในการเก็บใบชา กระบวนการคั่วชา ทำให้ชาเขียวที่ปกติสีเขียว หรือที่เราคุ้นในชื่อของ “มัทฉะ”ที่มักนิยมใช้ผงชามัทฉะในการชงเครื่องดื่มเป็นมัทฉะลาเต้ หรือนำไปทำขนมต่างๆที่ให้ให้สีเขียวเป็นหลัก แต่เมื่อผ่านกระบวนกรรมวิธีการผลิต จะกลายเป็นสีน้ำตาลได้ ชื่อที่เรียกกันอย่างคุ้นหู คือ ชาโฮจิฉะ นั้นเอง ปกติแล้วชาเขียวมัทฉะ มาจากชาเทนฉะที่ถูกเลี้ยงในที่ร่มเหมือนชาเกียวคุโระก่อนจะนำไปบดเป็นผงด้วยหินอย่างพิถีพิถัน มักจะใช้ในพิธีชงชา มีหลายเกรด เช่น สำหรับทำขนม เครื่องดื่ม ชงในงานพิธีการ เป็นต้น สามารถสังเกตได้จากสีของมัทฉะ ยิ่งมัทฉะสีเข้มเท่าไหร่ คุณภาพก็ยิ่งดี หากดื่มมัทฉะ 1 ถ้วย จะได้รับสารอาหารเท่ากับดื่มชาเขียวประเภทอื่น 10-15 แก้วเลยทีเดียว       ที่มา https://www.takaski.com/product/ochaski-kyoma-kyoto-organic-matcha-made-japan/ ส่วนชาเขียวที่สีไม่เขียว….ชาโฮจิฉะ  คือใบชาที่เก็บเกี่ยวในช่วงสุดท้าย เป็นใบชาที่โตแล้ว ไม่ใช่ใบชาอ่อน จึงมีขนาดใบชาที่ใหญ่ และนับว่ามีคุณภาพรองลงมาจากชาเขียวเซนฉะ แต่โฮจิฉะมีความพิเศษ คือ ชาที่ผ่านการคั่วทำให้ชามีสีน้ำตาลอมแดง กลิ่นหอม ได้รสชาติที่เข้มข้มรสชาเขียวแท้ๆ ได้กลิ่นหอมให้ชวนดื่มมากกว่ามัทฉะ รสชาติมักจะถูกเปรียบเทียบกับคาราเมล ชาร์โคล หรือถั่วคั่ว…

5 เทคนิคการเสิร์ฟเมนูชาเขียวให้ดูญี่ปุ่นมากขึ้น
| |

5 เทคนิคการเสิร์ฟเมนูชาเขียวให้ดูญี่ปุ่นมากขึ้น

ช่วงนี้ไปร้านไหนก็ต้องเจอกับเมนูชาเขียว ไม่ว่าจะเครื่องดื่ม หรือ ขนม อาจจะเป็นเทรนด์ญี่ปุ่นที่กำลังมาแรงเลยก็ว่าได้ ทำให้ลูกค้าหลายคนอาจจะรู้สึกได้ว่าไปร้านไหน ก็เหมือนกัน จนตัดสินใจไปในร้านที่ใกล้และสะดวกกว่าแทน ส่งผลต่อยอดขายที่อาจตกลงได้ วิธีสร้างจุดต่างให้กับเมนูในร้าน สิ่งแรกที่หลายคนนึกถึงคงเป็นโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม ซึ่งเป็นวิธีการเพิ่มยอดขายในระยะสั้นเท่านั้น อีกวิธีที่จะช่วยสร้างจุดเด่นของร้าน ให้ต่างจากร้านอื่น คือการเพิ่มเอกลักษณ์ ที่ไม่เหมือนใครให้กับสินค้า ยิ่งถ้าเป็นร้านชาด้วยแล้ว หลายคนต้องนึกถึงร้านคาเฟ่เก๋ๆในญี่ปุ่นแน่นอน มาดู5  เทคนิคการเสิร์ฟเมนูชาเขียวให้ดูญี่ปุ่นมากขึ้นง่ายๆ สร้างความครีเอทให้ลูกค้าได้เข้ามาแชะ แชร์ เหมือนได้ไปคาเฟ่ที่ญี่ปุ่นจริงๆ เพิ่มวัตถุดิบความเป็นญี่ปุ่น หลากหลายเมนูที่ญี่ปุ่นมักมีส่วนประกอบของ ถั่วแดง เพราะถั่วแดงเป็นพืชที่เติบโตมาพร้อมกับชาวญี่ปุ่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยสภาพภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้ถั่วแดงเจริญงอกงาม นำมาเป็นส่วนผสมของขนมได้ตลอดทั้งปี จึงเป็นวัตถุดิบหลักที่ควรเอามาใช้เป็นส่วนหนึ่งของเมนูที่ร้าน เช่น จากมูสชาเขียว เพิ่มถั่วแดงเข้าไปเป็นส่วนประกอบด้วยจะยิ่งน่าทานมากขึ้น หรือชาเขียวลาเต้ธรรมดา เพียงแค่ใส่ถั่วแดงเข้าไป ยิ่งเพิ่มความน่าทานให้มากกว่าปกติอีก มูสชาเขียวถั่วแดง    มูสชาเขียวถั่วแดง     มัทฉะถั่วแดงเฟรปเป้ ที่มา http://mykitchenoflove.wordpress.com/2012/09/01/our-anniversary-cake-matcha-and-red-bean-mousse/ http://www.facebook.com/mofcafe ดอกซากุระ ที่ไม่ว่าใครเห็นก็ต้องนึกถึงญี่ปุ่น ช่วงฤดูใบไม้ผลิ หลายๆที่นิยมนำดอกซากุระหมักเกลือมาเป็นส่วนผสมหนึ่งในขนม ซึ่งในไทยถือว่าเป็นวัตถุดิบที่หายาก เหมาะกับการนำมาต่อยอดเมนูที่ร้าน เช่น มัทฉะลาเต้ร้อนๆท้อปปิ้งด้วยซากุระ ให้กลิ่นอายฤดูใบไม้ผลิเบาๆ มัฟฟินธรรมดา เพิ่มความน่าทานด้วยการท้อปปิ้งซากุระครีมสด ซากุระมัทฉะลาเต้…

วิธีแก้ปัญหามัทฉะเป็นก้อนไม่ละลาย
|

วิธีแก้ปัญหามัทฉะเป็นก้อนไม่ละลาย

ปัญหาหนึ่งที่มักเกิดขึ้นและเป็นเรื่องที่นักดื่ม (ชา) หลายคนติเตียนก็คือก้อนมัทฉะผงๆ ที่ไม่ละลายน้ำที่เจอตอนดื่ม ปัญหานี้อยู่ที่คนชงล้วนๆ ครับ ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจว่ามัทฉะไม่เหมือนนมผง เหมือนโกโก้ ความจริงแล้วมันไม่ใช่สิ่งที่ละลายน้ำได้ เพราะมันคือใบชาที่นำมาบด และใบไม้นั้นไม่ละลายน้ำโดยเด็ดขาด เชื่อว่าหลายท่านคงมีวิธีแก้ปัญหากันอยู่แล้วแต่ครั้งนี้ผมอยากแบ่งปันวิธีแก้ปัญหาที่ผมมีให้ทุกคนครับ เอาไปร่อน เรียกได้ว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดก็ว่าได้ มัทฉะที่ปกติจะจับตัวกัน หากเอาไปร่อนเหมือนแป้งจะละเอียดขึ้น ทำให้ผสมน้ำได้ง่ายดาย แถมสัมผัสน้ำชาเวลาดื่มยังนุ่มละมุนกว่าอย่างไม่น่าเชื่อด้วย เสียอย่างเดียวคือวิธีนี้เป็นขั้นตอนที่อาจเสียเวลามาก และพิถีพิถันเกินไปในยามที่เร่งรีบ คนกันน้ำน้อยๆ ให้เข้ากันก่อน ถ้าขี้เกียจร่อนมัทฉะ เราอาจแก้ไขได้ด้วยการใส่น้ำทีละน้อย ค่อยๆ ใส่มัทฉะทีละนิด นึกถึงตอนทำแพนเค้กดูสิครับ ถ้าเราใส่ทุกอย่างไปพรวดเดียวแล้วผสม แป้งจะเป็นก้อนๆ ต้องเสียแรงมากทีเดียวกว่าจะเข้ากันได้ มัทฉะก็เหมือนกันครับ หากใครรู้วิธีชงมัทฉะชนิดข้น (โอะโคอิฉะ) จะใช้วิธีเดียวกันก็ได้ครับ ตักผงชาใส่ถ้วย เติมน้ำร้อนก่อนนิดเดียว ใช้แปรงกวาดซ้ายกวาดขวา นวดๆ ให้เข้ากัน ก็จะได้สสารคล้ายโคลนสีเขียวสดแบบในรูปครับ หลังจากนั้นค่อยเติมน้ำที่เหลือลงไป ใช้กระปุกมัทฉะที่มีฝาแบบร่อนได้ อุปกรณ์นี้ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหานี้อย่างสะดวกรวดเร็วโดยแท้จริง มันก็เหมือนกระปุกเกลือพริกไทยบนโต๊ะอาหารนี่แหละครับ แต่ยังมีปัญหาอีกคือ มัทฉะที่โดนความชื้นไประยะหนึ่งและจับตัวเป็นก้อนจะลงมาด้วยแรงเขย่ายากมาก มัทฉะที่ไม่ได้แกะใหม่สุดท้ายก็ต้องใช้วิธี 1 หรือ 2 อยู่ดีครับ เขย่าด้วยกระบอกเชค เป็นวิธีที่อาจจะง่ายที่สุดในการทำเครื่องดื่มมัทฉะ โดยเฉพาะเมื่อเขย่าผสมกับนมจะได้ฟองปริมาณมาก แถมยังละเอียดสุดๆ…

พูดถึงมัทฉะ ทำไมต้องเป็นอุจิมัทฉะ
|

พูดถึงมัทฉะ ทำไมต้องเป็นอุจิมัทฉะ

ในญี่ปุ่น สินค้าที่เรียงรายในซุปเปอร์มาเก็ต ขนมในร้านขนมต่างๆ ที่ใช้มัทฉะเป็นส่วนผสม ไม่ว่าที่ไหนต่างก็พยายามโฆษณาว่าใช้อุจิมัทฉะทั้งนั้น หมู่นี้ในไทยเองก็คงเริ่มคุ้นเคยกับชื่อ “อุจิ” บ้างแล้ว สงสัยกันบ้างไหมครับ ว่าทำไมถึงต้องเป็นอุจิมัทฉะ ไม่ใช่มัทฉะที่อื่น   นิยามของอุจิมัทฉะ “อุจิ” คือชื่อเมืองหนึ่งในจังหวัดเกียวโต รากฐานของวัฒนธรรมญี่ปุ่นตั้งอยู่ที่นี่มากว่าพันปี เห็นได้จากมรดกโลกอย่างวัดเบียวโดอิน รวมถึงเป็นแหล่งของผู้ผลิตชาในญี่ปุ่นด้วย เมื่อคริสตศตวรรษที่ 12 สมัยราชวงศ์ซ่งของจีน ตอนที่พระภิกษุเอไซนำชาและโม่บดจากจีนมายังญี่ปุ่นครั้งแรก ก็นำมายังเกียวโต กล่าวได้ว่าชาชนิดแรกที่ดื่มกันในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นก็คือมัทฉะนี้เอง ขณะที่จีนได้เลิกวิธีดื่มโบราณนี้และกลายมาเป็นวิธีสกัดร้อน เอาน้ำชาออกจากใบชาอย่างปัจจุบัน แต่ว่า ความจริงแล้ว ชาอุจิในปัจจุบันไม่ได้ปลูกในเมืองอุจิอย่างเดียวหรอกนะครับ สำนักงานกิจการชาจังหวัดเกียวโตให้นิยามชาอุจิไว้ว่า เป็นชาที่ปลูกใน 4 จังหวัดที่มีพัฒนาการมาแล้ว โดยพิจารณาแล้วถึงด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ และสภาพอากาศ อันได้แก่จังหวัดเกียวโต นาระ ชิกะ และมิเอะ ซึ่งทำการแปรรูปชาโดยกิจการชาในจังหวัดเกียวโต ที่จังหวัดเกียวโต นอกจากนี้การขึ้นทะเบียนสินค้าอุจิมัทฉะยังให้นิยามเพิ่มไว้อีกว่า มัทฉะคือชาที่แปรรูปขั้นสุดท้ายจากชาซึ่งผลิตในสี่จังหวัดดังกล่าวภายในจังหวัดเกียวโตด้วยวิธีการอันกำเนิดมาจากอุจิ อีกด้วย ด้วยเหตุนี้ชาอุจิที่ได้รับการนับถือว่าคุณภาพยอดเยี่ยมแท้จริงแล้วอาจประกอบไปด้วยชาจากสี่จังหวัดซึ่งอยู่ติดๆ กันข้างต้น แต่ยังคงความเป็นอุจิไว้ด้วยวิธีการผลิตนั้นเอง   ปริมาณการปลูกมัทฉะอันดับหนึ่งในญี่ปุ่น ในปี 2018 ประเทศญี่ปุ่นผลิตเท็นฉะ (คำเรียกใบชาที่จะนำมาทำมัทฉะ)…