Iced Matcha Latte มัทฉะลาเต้เย็น
| |

Iced Matcha Latte มัทฉะลาเต้เย็น

เปลี่ยนชาเขียวเย็นให้กลายเป็นพรีเมียมมัทฉะลาเต้ เมนูยอดฮิตของร้านที่อร่อยจนต้องบอกต่อ!! ผงมัทฉะคุณภาพดีจะให้สีเขียวที่สวยงาม เมื่อเทราดลงบนนมสดจะเห็นเป็นชั้นสีเขียวมรกต ค่อยๆซึมลงมาด้านล่างซึ่งวิธีทำก็ไม่ยาก ยิ่งถ้ามีอุปกรณ์ช่วยจะใช้เวลาชงไม่นานเลย เราไปดูวัตถุดิบและวิธีชงกันเลยดีกว่าครับ ^^ อุปกรณ์ช่วยละลาย กระชอนร่อนผงมัทฉะ Chasen (茶筅) เป็นไม้ไผ่ใช้สำหรับบดผงชาเขียวไม่ให้จับตัวเป็นก้อน เครื่องตีฟองนมบบพกพา (Mini milk mixture) กระบอกเชค วัตถุดิบสำหรับแก้ว 16 Oz. ผงมัทฉะ MATCHAZUKI เกรด Excellent           3  กรัม (~1.5 ช้อนชา) น้ำอุ่น                                           …

วิธีเช็คผงมัทฉะ ว่าได้คุณภาพจริงหรือไม่
|

วิธีเช็คผงมัทฉะ ว่าได้คุณภาพจริงหรือไม่

ด้วยความนิยมของผงมัทฉะ และชาเขียวที่ได้รับอิทธิพลจากประเทศญี่ปุ่น ทำให้มีแหล่งซื้อขายผงมัทฉะ และใบชาเขียวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในไทย ไม่ว่าจะเป็นนำเข้าจากญี่ปุ่น จีน หรือแม้กระทั่งผลิตในไทย ซึ่งที่มาของชาแต่ละที่ก็ส่งผลต่อรสชาติ และกลิ่น ที่แตกต่างกัน และที่ต้องระวังอีกประเด็นคือ การไม่บอกคุณสมบัติที่แท้จริงของใบชา ทุกร้านจะบอกว่าเป็นชาต้นตำรับจากญี่ปุ่นแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ร้านไหนเป็นผงชาเขียวของจริงบ้าง สังเกตได้จากปัจจัยเหล่านี้ สี เป็นสิ่งที่ต้องต้องสังเกตอย่างแรก คือ สีของมัทฉะยิ่งเขียวสดเข้ม ยิ่งมีความขมน้อยมากๆ เพราะเป็นมัทฉะที่ได้รับการดูแลอย่างดี สายพันธุ์ดี มีสีเขียวสดเข้ม ใช้ดื่มแบบ ชงข้น(Koicha) ได้เลย ผงมัทฉะที่ใช้ในการทำเบเกอรี่ แนะนำให้ใช้เกรดรองๆลงมา เพราะจะได้รสชาติที่เข้มข้นกว่า เมื่อไปผสมกับส่วนผสมตัวอื่นก็จะทำให้ได้รสชาติที่เข้มข้นขึ้น นอกจากนี้อย่าลืมดูภาชนะ หรือแพ็คเกจที่ใส่ชา เพราะผงชาเขียวที่ดีจะมีอายุประมาณ 6 เดือนและหลังจากเปิดก็ควรจะใช้ให้หมดภายใน 4 เดือน หากเก็บไว้นานกว่านั้น สีจะเริ่มอ่อนลงและกลิ่นก็จะหอมน้อยลง เนื่องจากในกระบวนการผลิตจะมีการอบใบชาด้วยไอน้ำที่อุณหภูมิสูงเพื่อหยุดปฏิกิริยาออกซิเดชัน แต่เมื่อเวลาผ่านไปใบชาสัมผัสกับออกซิเจนเรื่อยๆก็จะทำให้สีออกเหลืองเหมือนกับใบไม้ทั่วไปที่เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลือด้วย 2. ส่วนผสม ผงมัทฉะบางเจ้าราคาถูกจริง ส่วนนึงมาจากการตีผงมัทฉะผสมแป้ง ไม่ใช่ชาเขียวล้วนๆ จึงสามารถทำราคาถูกมากๆได้ อย่าลืมที่จะพลิกข้างซองเพื่ออ่านส่วนผสมที่ชัดเจนก่อนซื้อผิด 3. รีวิวจากลูกค้าคนอื่น อย่าลืมดูรีวิวสินค้าจากผู้ที่เคยซื้อไปบริโภคด้วยว่านำไปทำเมนูอะไรอร่อย ใช้ในปริมาณแค่ไหน เพื่อเอามาเป็นไอเดีย และให้ผู้ที่ดูรีวิวเกิดความรู้สึกอยากซื้อมาลองทำตามบ้าง 4. ที่มา เช็คแหล่งที่มาให้ชัดเจนว่ามาจากเมืองไหนของที่ญี่ปุ่น อย่างเมืองขึ้นชื่อเรื่องชาเขียวที่ทุกคนนิยมใช้คือจาก อูจิ…

มาศึกษาต้นกำเนิด ผงชาเขียวมัทฉะ
|

มาศึกษาต้นกำเนิด ผงชาเขียวมัทฉะ

ว่ากันว่า ชาเขียวได้ถูกค้นพบโดยจักรพรรดิเสินหนงซึ่งเป็นบัณฑิตและนักสมุนไพรผู้รักความสะอาดเป็นอย่างมาก ดื่มเฉพาะน้ำต้มสุกเท่านั้น วันหนึ่งขณะที่เสินหนงกำลังพักผ่อนอยู่ใต้ต้นชาในป่า และกำลังต้มน้ำอยู่นั้น ปรากฏว่าลมได้โบกกิ่งไม้ เป็นเหตุให้ใบชาร่วงหล่นลงในน้ำซึ่งใกล้เดือดพอดี เมื่อเขาลองดื่มก็เกิดความรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาก ชาเขียวถูกพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ชาวบ้านก็เริ่มหันมาปลูกชาและพัฒนาต่อกันมาเรื่อยๆ มีทั้งการเติมเครื่องเทศน์ หรือดอกไม้ลงไป เพื่อให้มีกลิ่นและรสชาติที่แตกต่างมากยิ่งขึ้น ซึ่งชาที่ปลูกในจีนทั้งหมดเป็นชาเขียว กระบวนการผลิตชาจะเกิดจากการรวมใบชา นำมานึ่ง และอบแห้ง ซึ่งจะเก็บได้ไม่ดีนัก สูญเสียกลิ่นได้ง่าย และรสชาติไม่ดี ในช่วงศตวรรษที่ 17 มีการค้าขายกับชาวยุโรปการผลิตเพื่อจะรักษาคุณภาพชาให้นานขึ้น โดยการหมักแล้วก็จะนำไปอบ ซึ่งก็เป็นที่มาของชาอูหลง และชาดำ ในประเทศจีน การเข้ามาของชาในประเทศญี่ปุ่นนั้น เริ่มราวต้นสมัยเฮอัน ในสมัยนั้นจีนและญี่ปุ่นเริ่มมีการติดต่อทางด้านศาสนาพุทธและวัฒนธรรมกัน บ้างแล้ว นักบวชญี่ปุ่นได้เดินทางไปเป็นทูตเรียนรู้เรื่องต่างๆ จากประเทศจีนรวมทั้งการศึกษาตัวยาสมุนไพรจากจีนอีกด้วย ชาจีนจึงเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกๆ โดยพระสงฆ์นั่นเอง เริ่มจากนักบวชจากจังหวัดไอจิ ได้นำชาอัดแข็ง (ต้องฝนกับหินก่อนแล้วจึงใส่น้ำร้อนถึงจะดื่มได้) และเมล็ดชาจำนวนไม่มากเข้ามาที่ญี่ปุ่นก่อน เมื่อจักรพรรดิได้เข้ามาเยี่ยมพระที่วัด พระ จึงชงชาใส่ถ้วยนำมาถวาย เมื่อองค์จักรพรรดิได้ดื่มชาก็เกิดความประทับใจในรสชาติ จึงสั่งให้นำเมล็ดชาไปปลูกที่สวนสมุนไพรภายในบริเวณราชวัง ชาได้แพร่หลายไปในแถบภูมิภาคคิงคิ (เกียวโต) แต่ความนิยมยังคงมีอยู่แต่ในเฉพาะกลุ่มชนชั้นสูงเท่านั้น ต่อมาในช่วงตอนต้นสมัยคามาคุระ (Kamakura) นักบวชในพุทธศาสนาเซน ได้นำเมล็ดชามาจากจีนเป็นจำนวนมากพร้อมกับกรรมวิธีการผลิตชากลับมาด้วย วิธีการผลิตดังกล่าวนั่นก็คือ การนำใบชามาบดโดยครกหินที่ทำให้เกิดความร้อนน้อยที่สุด เพื่อรักษารสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ไว้…

การทำไส้ขนมจากผงชาเขียวมัทฉะ
|

การทำไส้ขนมจากผงชาเขียวมัทฉะ

เทคนิคในการดัดแปลงส่วนผสมและสูตรต่างๆให้เป็นรสชาติที่หลากหลาย เป็นสิ่งที่เจ้าของร้านขนมและร้านคาเฟ่ควรรู้ บางครั้งหลายคนไปเรียนทำขนมมา แต่พอต้องการดัดแปลงขนมที่เรียนมาเป็นรสชาติที่ต้องการ กลับใส่ส่วนผสมไม่ถูก การทำครีมชาเขียวเป็นไส้ขนม บางเจ้าก็นิยมซื้อสำเร็จตามที่มีขายอยู่แล้วในท้องตลาดมาใช้เลยเพื่อความสะดวก แต่รสชาติความเข้มข้นรวมทั้งสีของชาเขียว อาจจะไม่ได้เป็นอย่างที่ตั้งใจไว้ Matchazuki เลยอยากจะมาแชร์ การทำไว้ครีมชาเขียวอย่างง่าย และถ้าใครเป็นคอชาโฮจิฉะ ก็สามารถเปลี่ยนผงชาเขียวตามสูตรเป็นผงชาโฮจิฉะได้ในปริมาณเท่าๆกัน แต่แนะนำให้การทำขนมใช้ผงชาเขียวจะอร่อย สีสวย และได้รสชาติที่ดีกว่าใช้ชาใบ หากใครอยากลองทำไส้คัสตาร์ดชาเขียวเอง ลองทำได้ง่ายๆเพียงแค่อุ่นนม 125 ml. ในหม้อ แค่พออุ่นๆ ไม่ถึงกับต้องเดือด ดูถ้ามีไอลอยขึ้นมาก็ปิดไฟเลย หลังจากนั้น ตีไข่แดง 1 ฟอง กับน้ำตาล 35 กรัม จนเป็นสีเหลืองอ่อน ร่อนแป้งเค้ก 13 กรัม กับผงชาเขียว 1 ช้อนชา 5 กรัมลงไปตีต่อ จากนั้นค่อยๆเทนมอุ่นลงไปผสมลงไปในหม้อ อุ่นด้วยไฟเบา คนด้วยไม้พายตลอดเวลา จนครีมเริ่มข้น ถ้าเห็นมีฟองขึ้นมาปุ๊บ อุ่นอีก 1 นาทีแล้วปิดไฟเลยค่ะ จากนั้นใส่เนยลงไป คนจนเนยละลายเข้ากัน หลังจากนั้นเทครีมใส่จานแบนๆ ปิดด้วยแรปใสแล้วเอาเข้าตู้เย็นแช่ไว้สัก 1 ชม.เนื้อครีมประเภทนี้จะมีความหนืดเหมือนเวลาเราทานซาลาเปาไส้ครีม…

ช้อนไม้ไผ่ Chashaku (茶杓) จำเป็นจริงหรอ?
|

ช้อนไม้ไผ่ Chashaku (茶杓) จำเป็นจริงหรอ?

ช้อนตักผงชามัทฉะ หรือที่เรียกว่า Chashaku (茶杓)มีที่มาจากในสมัยก่อนช่วงที่ชาเขียวจากจีนถูกนำเข้ามาสู่ญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นใช้ช้อนตักชาที่ทำจากงาช้าง นำเข้าจากประเทศจีน แต่พอเข้าสู่ช่วงหลังๆมา ช้อนตักชาที่ทำจากไม้ไผ่ปลายดัดก็เริ่มมีปรากฏให้เห็น โดยมีการคาดกันว่าผู้ที่คิดค้นรูปร่างฉะชะขุแบบในปัจจุบันขึ้นมา คือ มุราตะ จุโค ผู้พัฒนาพิธีชงชาแบบเซนเป็นคนแรก ซึ่งเหตุผลที่เลือกใช้ไม้ไผ่แทนงาช้าง เพราะว่า ต้องการให้ช้อนตักผงชานั้นมีความเรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อหรูหราแบบงาช้าง เพราะนิกายเซน มีพื้นฐานแนวคิดอย่างเรียบง่ายมาจากศาสนาพุทธแบบเซนนั่นเอง ลักษณะที่ดีของ Chashaku ส่วนมากจะทำจากไม้ไผ่ มีปลายช้อนกว้าง 1 ซม. เพื่อให้การตักผงชา 1 ครั้งได้ในปริมาณที่เหมาะสม คือ ประมาณ 1 กรัม ซึ่งในพิธีชงชาจะใช้ชา 2 กรัม กล่าวคือ ตักชาด้วย Chashaku 2 รอบนั่นเองโดยไม่ต้องผ่านการใช้เครื่องชั่ง นอกจากนี้ตัวด้ามควรยาว 19 ซม. เป็นความยาวที่พอดีกับการใช้ในพิธีชงชาของญี่ปุ่น การตักผงชาเขียวเพื่อชงชานั้น จริงๆสามารถใช้ช้อนสแตนเลส หรือช้อนประเภทอื่นได้เช่นกัน ไม่จำเป็นจะต้องใช้ Chashaku ก็ได้ แต่จะเห็นว่าหลายๆร้านคาเฟ่ และตามพิธีชงชาของญี่ปุ่นเอง จะนิยมใช้ Chashaku เพราะด้วยคุณสมบัติของไม้ไผ่…

โรยผงมัทฉะบนขนมยังไงให้ดูน่าทาน?
|

โรยผงมัทฉะบนขนมยังไงให้ดูน่าทาน?

ตามปกติแล้วชาเขียวที่ใช้ทำเบเกอรี่นั้น ใช้ได้ทั้งชาเขียวแบบใบและแบบผง ถ้าใช้แบบใบต้องนำไปชงในน้ำร้อนแล้วกรองใบชาออกก่อนใช้ เราจึงนิยมใช้แบบผงมากกว่าเพราะใช้งานได้กว้างกว่า สามารถใช้ได้ทั้งแบบแห้งหรือนำไปชงแล้วใช้แบบน้ำได้ด้วย ซึ่งหลายคนที่เลือกใช้แบบผงมาทำขนมแล้ว แต่ก็ยังเกิดปัญหากับการแต่งหน้าขนมที่ไม่เป็นตามที่คิดไว้ การโรยผงมัทฉะลงไปที่ขนมแล้วซึมลงไปในเนื้อเค้กนั้นเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ เพราะผงชามันจะดูดความชื้นเข้ามาจนเปียกเมื่อทิ้งไว้นานๆ นั้นเอง สีจึงอาจจะไม่เรียบเนียน ทริคเล็กๆน้อยๆสำหรับการแต่งหน้าขนม คือ ให้โรยตอนที่จะเสิร์ฟ หรือใกล้ๆช่วงเวลาที่จะทานเพื่อให้สีเขียวเรียบเสมอกัน และแนะนำให้ก่อนโรยผงมัทฉะ พักหน้าเค้กไว้ในตู้เย็นไม่ต้องเอาอะไรคลุม ให้หน้าเค้กแห้งขึ้น สัก 2 ชม. จะทำให้ผงมัทฉะติดง่ายขึ้นไม่ละลายซึมลงไป หรือในกรณีที่ต้องการตกแต่งหน้าขนมเป็นลวดลาย หลังจากนำเค้กออกจากตู้เย็น วางกระดาษทาบไปบนหน้าเค้ก ไม่ต้องกด แล้วโรยผงมัทฉะด้วยกระชอนตาถี่ๆให้ทั่วตามรอยที่บุไว้ (ขั้นตอนนี้ต้องทำให้รวดเร็ว) อย่างไรก็ตามบางคนก็นำผงมัทฉะผสมน้ำตาลไอซิ่งเล็กน้อย จะช่วยได้พอประมาณ เพราะในน้ำตาลไอซิ่งมีแป้งข้าวโพดจะช่วยกันความชื้นระดับหนึ่ง หรือใช้ผงมัทฉะเฉพาะสำหรับโรยหน้าขนม แต่ราคาจะค่อนข้างสูงกว่าผงมัทฉะปกติ มีขายตามร้านทำขนมที่ญี่ปุ่น ส่วนใครที่ไม่มีน้ำตาลไอซิ่ง สามารถน้ำตาลไปป่นจนละเลียดและผสมแป้งข้าวโพดเข้าไปประมาณ 3% ก็จะมีลักษณะที่เป็นเหมือนน้ำตาลไอซิ่ง ใช้แทนกันได้ อีกข้อควรระวังในการโรยผงมัทฉะลงบนขนม คือ เรื่องสี รสชาติ และกลิ่น กล่าวคือ สีของผงมัทฉะ ยิ่งเขียวสดเข้ม จะยิ่งมีความขมน้อยมากๆเป็นมัทฉะที่ได้รับการดูแลอย่างดี สายพันธุ์ดี แต่ถ้าสีเขียวอ่อน คือผลิตจากใบชาที่เกรดรองลงมา ผลิตจากใบชาเขียวใบโตที่ได้รับแสงแดดมานาน ใครที่เป็นขั้นเทพเรื่องชาเขียวพอเห็นหน้าตาขนมเลยจะรู้ได้เลยว่าใช้ชาเขียวเกรดไหนในการทำขนม แต่วิธีเพิ่ม value…

พูดถึงมัทฉะ ทำไมต้องเป็นอุจิมัทฉะ
|

พูดถึงมัทฉะ ทำไมต้องเป็นอุจิมัทฉะ

ในญี่ปุ่น สินค้าที่เรียงรายในซุปเปอร์มาเก็ต ขนมในร้านขนมต่างๆ ที่ใช้มัทฉะเป็นส่วนผสม ไม่ว่าที่ไหนต่างก็พยายามโฆษณาว่าใช้อุจิมัทฉะทั้งนั้น หมู่นี้ในไทยเองก็คงเริ่มคุ้นเคยกับชื่อ “อุจิ” บ้างแล้ว สงสัยกันบ้างไหมครับ ว่าทำไมถึงต้องเป็นอุจิมัทฉะ ไม่ใช่มัทฉะที่อื่น   นิยามของอุจิมัทฉะ “อุจิ” คือชื่อเมืองหนึ่งในจังหวัดเกียวโต รากฐานของวัฒนธรรมญี่ปุ่นตั้งอยู่ที่นี่มากว่าพันปี เห็นได้จากมรดกโลกอย่างวัดเบียวโดอิน รวมถึงเป็นแหล่งของผู้ผลิตชาในญี่ปุ่นด้วย เมื่อคริสตศตวรรษที่ 12 สมัยราชวงศ์ซ่งของจีน ตอนที่พระภิกษุเอไซนำชาและโม่บดจากจีนมายังญี่ปุ่นครั้งแรก ก็นำมายังเกียวโต กล่าวได้ว่าชาชนิดแรกที่ดื่มกันในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นก็คือมัทฉะนี้เอง ขณะที่จีนได้เลิกวิธีดื่มโบราณนี้และกลายมาเป็นวิธีสกัดร้อน เอาน้ำชาออกจากใบชาอย่างปัจจุบัน แต่ว่า ความจริงแล้ว ชาอุจิในปัจจุบันไม่ได้ปลูกในเมืองอุจิอย่างเดียวหรอกนะครับ สำนักงานกิจการชาจังหวัดเกียวโตให้นิยามชาอุจิไว้ว่า เป็นชาที่ปลูกใน 4 จังหวัดที่มีพัฒนาการมาแล้ว โดยพิจารณาแล้วถึงด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ และสภาพอากาศ อันได้แก่จังหวัดเกียวโต นาระ ชิกะ และมิเอะ ซึ่งทำการแปรรูปชาโดยกิจการชาในจังหวัดเกียวโต ที่จังหวัดเกียวโต นอกจากนี้การขึ้นทะเบียนสินค้าอุจิมัทฉะยังให้นิยามเพิ่มไว้อีกว่า มัทฉะคือชาที่แปรรูปขั้นสุดท้ายจากชาซึ่งผลิตในสี่จังหวัดดังกล่าวภายในจังหวัดเกียวโตด้วยวิธีการอันกำเนิดมาจากอุจิ อีกด้วย ด้วยเหตุนี้ชาอุจิที่ได้รับการนับถือว่าคุณภาพยอดเยี่ยมแท้จริงแล้วอาจประกอบไปด้วยชาจากสี่จังหวัดซึ่งอยู่ติดๆ กันข้างต้น แต่ยังคงความเป็นอุจิไว้ด้วยวิธีการผลิตนั้นเอง   ปริมาณการปลูกมัทฉะอันดับหนึ่งในญี่ปุ่น ในปี 2018 ประเทศญี่ปุ่นผลิตเท็นฉะ (คำเรียกใบชาที่จะนำมาทำมัทฉะ)…

สารอาหารในมัทฉะและปริมาณมัทฉะที่ดีต่อสุขภาพ
|

สารอาหารในมัทฉะและปริมาณมัทฉะที่ดีต่อสุขภาพ

ก่อนที่จะเฉลยเรามาดูกันผ่านๆ ดีกว่าว่ามัทฉะมีสารอาหารอะไรอยู่บ้าง มัทฉะปริมาณ 100 กรัมมีสารอาหารดังต่อไปนี้ “พลังงาน 324 kcal, น้ำ 5 กรัม, โปรตีน 29.6 กรัม, โปรตีนจากกรดอะมิโน 22.6 กรัม, ไขมัน 5.3 กรัม, 0.68 กรัม, ไตรกลีเซอไรด์ 3.3 กรัม, กรดไขมันอิ่มตัว 0.68 กรัม, กรดไขมันไม่อิ่มตัวพันธะคู่เดี่ยว 0.34 กรัม, กรดไขมันไม่อิ่มตัวพันธะคู่หลายคู่ 2.16 กรัม, คอเรสเตอรอล 0 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 39.5 กรัม, คาร์โบไฮเดรตที่นำไปใช้ได้ 1.6 กรัม, ไฟเบอร์ที่ละลายได้ในน้ำ 6.6 กรัม, ไฟเบอร์ที่ไม่ละลายในน้ำ 31.9 กรัม, ปริมาณไฟเบอร์ทั้งหมด 38.5 กรัม, ปริมาณเถ้า (ส่วนของสารอนินทรีย์ในอาหาร) 7.4…

Matcha Ice-cream with Red Bean ไอศกรีมมัทฉะถั่วแดง

Matcha Ice-cream with Red Bean ไอศกรีมมัทฉะถั่วแดง

สวัสดีครับแฟนเพจทุกท่าน เป็นอย่างไรกันบ้างครับ ช่วงนี้อากาศเริ่มร้อนแล้วนะครับ วันนี้ทางเพจ MATCHAZUKI ผงชาเขียวมัทฉะเกรดพรีเมี่ยมจากญี่ปุ่น เลยขอเสนอเมนูดับร้อนที่ง่ายยยยแสนง่ายมาฝากกันครับ นั่นก็คือไอศครีมชาเขียวถั่วแดงนั่นเอง แน่น่อนว่าอากาศร้อนๆแบบนี้ จะมีอะไรดีไปกว่าไอศครีมใช่มั๊ยครับ และยิ่งทานกับถั่วแดง เพิ่มความหวานเข้มข้น ความอร่อยยิ่งลงตัวจริงๆครับ ไปดูส่วนผสมและวิธีทำกันเลยดีกว่าครับ ส่วนผสมสำคัญ นมสดชนิดจืด 450 มิลลิลิตร ผงมัทฉะ MATCHAZUKI เกรด Medium 1 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย 40 กรัม เกลือเล็กน้อย น้ำร้อน เล็กน้อย ถั่วแดงต้มสุก ตามชอบ ขั้นตอนการทำ นำนมสด น้ำตาล เกลือ ผสมกัน ตั้งไฟให้ร้อน นำผงชาเขียวละลายน้ำร้อนเล็กน้อย ผสมลงไปในส่วนของนมสด เทส่วนผสมลงในพิมพ์ของไอศครีม และใส่ถั่วแดงลงไปตามชอบ นำไปแช่ในช่องฟรีซ นานประมาณ 2 ชั่วโมง หรือจนไอศครีมพอเซ็ตตัว นำไม้ไอศครีมปักลงไป และแช่ต่อจนไอศครีมแข็งตัวดี ไอศครีมชาเขียวถั่วแดงสูตรนี้เป็นสูตรง่ายๆ ที่มีวิธีการทำไม่ยุ่งยาก ทานดับร้อนได้ดี ได้ประโยชน์จากทั้งชาเขียวและถั่วแดงเลยครับ ———————————- MATCHAZUKI –…

White Choc Matcha Truffles
|

White Choc Matcha Truffles

สวัสดีครับ กลับมาพบกันอีกครั้งเป็นประจำทุกวันศุกร์ วันนี้ทางเพจ MATCHAZUKI ผงมัทฉะเกรดพรีเมี่ยมจากญี่ปุ่น ขอเอาเมนู White Choc Matcha Truffles หรือไวท์ช็อคมัทฉะทรัฟเฟิล มาฝากแฟนๆกันนะครับ ทรัฟเฟิลเป็นขนมยอดนิยมของชาวต่างชาติ เป็นขนมที่เหมาะสำหรับทานคู่กับการดื่มชาในยามบ่ายหรือ Afternoon Tea นั่นเอง ด้วยรสชาติหวานและหอมกลิ่นชาของ White Choc Matcha Truffles เมื่อทานคู่กับชาร้อนๆ จะเหมาะเป็นเมนูยามบ่ายมากๆ แถมส่วนผสมน้อยวิธีการทำก็ยังง่ายมากๆอีกด้วย เราไปดูส่วนผสมและวิธีทำกันเลยดีกว่าครับ ^^ ส่วนผสมสำคัญ 1. ไวท์ช็อคโกแลต 240 กรัม 2.ผงมัทฉะ MATCHAZUKI เกรด Medium  2 ช้อนโต๊ะ (สำหรับผสม) 3. วิปปิ้งครีม 100 มิลลิลิตร 4. ผงมัทฉะ MATCHAZUKI เกรด Medium (สำหรับคลุก) ขั้นตอนการทำ 1. เทวิปปิ้งครีมใส่ชามทนความร้อน นำเข้าไมโครเวฟ ความร้อนสูงสุดประมาณ 30 วินาที…

Matcha Cheese Tart มัทฉะชีสทาร์ต
|

Matcha Cheese Tart มัทฉะชีสทาร์ต

สวัสดีครับ กลับมาพบกันเป็นประจำทุกวันศุกร์ วันนี้ทางเพจ MATCHAZUKI ผงมัทฉะเกรดพรีเมี่ยมจากญี่ปุ่น จะขอแนะนำอีกสูตรขนมยอดฮิต ที่สาวกชีสไม่ควรพลาดครับ นั่นก็คือ Matcha Cheese Tart ที่หวานมันถึงรสชีสและเข้มข้นถึงรสชาเขียว จะทานตอนร้อนก็ให้ความรู้สึกเหมือนทานชีสแบบลาวา หรือทานตอนเย็นก็เนื้อหนึบแบบชีสเค้ก มาดูส่วนผสมและวิธีทำกันเลยดีกว่าครับ ^^ ส่วนผสมสำคัญ ส่วนทาร์ต 1. แป้งอเนกประสงค์ 100 กรัม 2. เนย 60 กรัม 3. น้ำตาลไอซิ่ง 25 กรัม 4. เกลือ 4 กรัม 5. ไข่ครึ่งฟอง (ตีไข่ให้แตกแล้วใช้ครึ่งเดียว) 6. ถาดพิมพ์ ตามต้องการและไม้คลึงแป้ง ส่วนคัสตาร์ดชีสมัทฉะ 1. ครีมชีส 150 กรัม 2. มาสคาโพเน่ชีส 70 กรัม 3. เนย 30 กรัม 4. นมสด…

Matcha Strawberry Daifuku ไดฟุกุชาเขียวถั่วแดง
| |

Matcha Strawberry Daifuku ไดฟุกุชาเขียวถั่วแดง

Matcha Strawberry Daifuku 抹茶いちご大福 ไดฟุกุชาเขียวถั่วแดงสุดชุ่มฉํ่า ได้ลองแล้วต้องหลงรักก^^ เปรี้ยวหวาน กลมกล่อม ลงตัวสูตรนี้เลย… เพียงใช้ MATCHAZUKI Medium มัทฉะแท้ที่ให้กลิ่นหอม เข้มข้น เนื้อเนียนละเอียด ทำง่ายๆไม่ว่าจะเมนูไหน ไปรับชมสูตรกันเลยค่า ส่วนผสมสำคัญ ส่วนที่ 1 ถั่วแดงกวน                                        400  กรัม สตรอว์เบอร์รี่ (ขนาดเล็ก)                       …