Understanding the Differences Between Ceremonial Grade and Cooking Grade Matcha Powder

Matcha Powder

เคยสังเกตมั้ยว่าชาเขียวที่เราซื้อกินตามท้องตลาด หรือจากร้านคาเฟ่ต่างๆมีสีเขียวที่เข้มอ่อนแตกต่างกันไป ทั้งที่เป็นชาเขียวเหมือนกัน นั้นเป็นเพราะผงมัทฉะมีหลายเกรด ซึ่งแต่ละเกรดก็จะมีลักษณะ รสชาติ กลิ่น สี ที่ไม่เหมือนกันเกิดจากใบชาที่ผ่านกระบวนการเก็บเกี่ยวที่แตกต่างกัน ซึ่งผงมัทฉะแต่ละเกรด ก็เหมาะกับการใช้งานที่ไม่เหมือนกัน กล่าวคือ

ผงมัทฉะสามารถแบ่งออกเป็น 2 เกรดกว้างๆ คือ 1. Ceremonial grade ( มัทฉะพิธีการ ) และ  2. Cooking grade หรือ Culinary Grade ( มัทฉะสำหรับทำอาหาร ) ซึ่งการแบ่งผงมัทฉะออกเป็น 2 เกรดนี้ มีลักษณะที่คล้ายกับการแบ่งประเภทไวน์ที่แบ่งเป็นไวน์ชั้นดีสำหรับการดื่มเพียวๆ กับไวน์ที่ใช้ปรุงอาหาร

 

Ceremonial grade ( มัทฉะพิธีการ ) ด้วยรสชาติที่นุ่มนวล และหอมหวานตามธรรมชาติ และไม่มีรสขมเลยของผงมัทฉะที่มีสีเขียวสดใส ให้สีที่ชัดกว่า Cooking Grade มัทฉะพิธีการจึงเป็นชาเกรดสูงจึงเทียบได้กับไวน์ชั้นดี ที่มีรสชาติที่ละเอียดอ่อน แม้ใช้ปริมาณเพียงเล็กน้อยในการชงก็ทำให้ได้รสชาติที่ดีได้ ผงมัทฉะเกรดนี้เนื้อผงชาจะเนียนเหมือนผงแป้ง และให้รสสัมผัสที่ดีมาก จึงเหมาะสำหรับชงดื่มร้อนๆ หรือปรุงรสแบบธรรมดาที่สุด เพื่อให้ได้สัมผัสที่นุ่มนวลพร้อมความหวานเบาๆ คนญี่ปุ่นนิยมใช้ชาเกรดนี้ในพิธีชงชา ตามแบบวัฒนธรรมของญี่ปุ่นดั้งเดิม ไม่นิยมนำไปทำขนมหรืออาหาร เพราะถ้าไปชงเป็นมัทฉะลาเต้ หรือทำขนม รสชาตินุ่มนวล หอมหวาน อาจจะโดนวัตถุดิบอื่นกลบ และที่สำคัญชาเกรดพิธีการนี้ เป็นชาที่ราคาค่อนข้างสูงมาก หากใช้ทำขนมหรือลาเต้อาจจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นด้วย

ส่วน Cooking grade หรือ Culinary Grade ( มัทฉะสำหรับทำอาหาร ) เป็นชาเกรดใช้กับการทำขนม อาหาร สมูตตี้ ไอศครีมและเครื่องดื่มร้อนเย็น เมื่อนำไปปรุงกับส่วนผสมอื่นจะยิ่งทำให้รสชาติของชาเขียวในเมนูนั้นๆโดดเด่นยิ่งขึ้น สีของผงชาเกรดนี้ไม่ได้เขียวสดใสเหมือนมัทฉะพิธีการ เพราะมาจากใบชาที่เก็บเกี่ยวครั้งหลังๆ ซึ่งผงมัทฉะชนิดนี้ก็มีการแตกย่อยลงไปอีก ตามกลิ่น สี และรสชาติของผงชาเพื่อให้เหมาะกับเมนูที่แตกต่างกัน หากใครที่ชื่นชอบความเข้มและออกรสขมของชาเกรดนี้ สามารถเลือกมาชงชาเขียวเพียวๆดื่มได้ แต่จะไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าตัว Ceremonial Grade

Matcha Quality

อย่างไรก็ตาม ชาทั้ง 2 ชนิดจะมีลักษณะที่ต่างกัน เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ดังนี้

  1. การเก็บเกี่ยว มัทฉะพิธีการจะมาใบยอดอ่อนใบแรกของชาที่เป็นใบที่ดีที่สุด ในช่วงประมาณปลายเดือนเมษายนหรือต้นเดือนพฤษภาคมเท่านั้น ซึ่งเป็นการเก็บเกี่ยวครั้งแรก มักจะได้ใบชาที่ดีที่สุดเนื่องจากต้นชายังคงรักษาสารอาหารที่สะสมไว้ในช่วงฤดูหนาว โดยยอดใบชาที่เลือกเก็บจะให้รสชาติที่หวานกว่าใบล่างๆ แต่มัทฉะสำหรับทำอาหารมาจากการเก็บเกี่ยวครั้งที่ 2 ซึ่งใบชาจะมีรสที่ขมกว่า สีไม่สดใสเท่าชาเกรดพิธีการและตัวใบชาจะแข็งกว่าCeremonial grade&Cooking grade
  2. สีของผงชา สีเขียวสดใสเป็นสิ่งสำคัญและบ่งบอกถึงความสดชื่น และคุณภาพของชาเกรดสูง ผงมัทฉะเกรดพิธีการที่มีคุณภาพชาสูง จึงมีสีเขียวสดใสกว่าเมื่อเทียบกับมัทฉะสำหรับทำอาหาร เนื่องจากเป็นใบชาที่เก็บเกี่ยวครั้งแรกซึ่งมีคลอโรฟิลล์และแอล – ธีอะนีนสูงที่สุด ส่วนผงมัทฉะสีเขียวค่อนไปทางเหลือง หรือสีเขียวไม่สดใสแสดงให้เห็นว่ามาจากใบชาที่เติบโตมานานแล้ว เป็นใบที่เก็บเกี่ยวจากด้านล่างของต้นชานั่นเอง อย่างไรก็ตามชาบางสายพันธุ์ของญี่ปุ่นที่ปลูกด้วยดินภูเขาไฟอยู่โดยรอบเยอะ ก็ส่งผลต่อสีของชาเช่นกัน เช่น  พันธุ์ Kagoshima matcha เป็นที่รู้จักกันดีว่า มีสีเขียวเข้มเล็กน้อย แต่ พันธุ์ Seimei จะมีสีเขียวสดใสมาก

Matcha Powder2นอกจากความต่างข้างต้นแล้ว หากใบชามาจากไร่ชาออร์แกนิค ก็จะมีรสชาติที่แตกต่างไปกับไร่ชาปกติที่อาจจะมีการใช้สารเคมีในการปลูกอีกด้วย ข้อควรระวังสำหรับการเลือกใช้มัทฉะสำหรับปรุงอาหารที่มีอยู่ในท้องตลาดทุกวันนี้ หากเลือกเกรดที่ราคาถูกมากๆอาจจะมีรสฝาดเกินไปแทบจะไม่เห็นรสชาติของมัทฉะเลย

Matcha Powder
อย่างไรก็ตามมัทฉะทั้งสองเกรดได้รับการออกแบบมาเพื่อการใช้งานที่แตกต่างกันจึงไม่อาจเอามาเทียบกันได้อย่างชัดเจน ซึ่งผงมัทฉะสำหรับการทำอาหารก็ยังสามารถแบ่งออกเป็นประเภทย่อยๆอีกหลายประเภทได้ ตามลักษณะการใช้งาน ซึ่งการเลือกใช้ผงมัทฉะทั้ง 2 เกรด ขึ้นอยู่กับความชอบและผลลัพธ์ที่เราต้องการให้ออกมามากกว่า ว่าอยากกินเป็นไอศครีม นามะช็อคโกแลต พุดดิ้ง ชีสเค้กที่ได้รสชาติชาและสีชาเขียวที่ค่อนข้างชัด ที่เหมาะกับการใช้ชาเกรดสูงสุดของชาสำรับทำอาหาร ส่วนตัวที่เกรดรองๆลงไปก็ใช้ทำขนมที่ต้องการความเข้มข้นออกขมๆ เช่น บราวนี่ เค้ก หรือเส้นโซบะ หรือถ้าใช้แต่สีไม่เน้นรสชาติชัดเจนมาก็อาจจะใช้ชาเขียวเกรดรองลงมาในการทำขนมปัง ใช้โรยหน้าขนมนั่นเอง แต่หากต้องการชงดื่มกับน้ำเปล่าเพียวๆ เพื่อให้ได้รสอูมามิของชา แนะนำเป็นชาเกรดพิธีการจะเหมาะกว่านอกจากการแบ่งเกรดชาตามระะเก็บเกี่ยวแล้ว ยังสามารถแบ่งออกได้อีก 2 ประเภทตามลักษณะการชงชา เรียกว่า การชงแบบ KOICHA และ USUSHA ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2RrD29N

ที่มา

https://www.matchaeologist.com/blogs/explore/ceremonial-vs-culinary-matcha

https://naokimatcha.com/articles/ceremonial-gradematcha/

http://fullleafteacompany.com/products/matcha

บทความจากFuwafuwa

เพิ่มสีสันให้เมนูชา รับเทศกาลคริสมาสต์

ใกล้ช่วงสิ้นปีแบบนี้ หลากหลายร้านเริ่มออกเมนูใหม่ต้อนรับเทศกาลความสุข ทั้งเครื่องดื่มและเบเกอรี่ แต่ถ้าใครยังไม่รู้ว่าจะสร้างสรรค์เมนูยังไง Matchazui ได้รวบรวมไอเดียและสูตรเครื่องดื่มและขนมชาเขียว ให้คอชาเขียวได้ลองปรับเปลี่ยนเมนูที่ร้านให้สนุกขึ้น

เริ่มจากมัทฉะลาเต้ร้อน เมนูแนะนำของหลายๆร้าน ที่เพิ่มสีสันรับเทศกาล คริสมาสต์ง่ายๆเพียงใส่มาชแมลโลว์ snowman น่ารักๆลงไปทานคู่กัน วิธีทำไม่ยากมากเพราะเริ่มจากทำมาร์ชแมลโลว์ทรงสี่เหลี่ยมตามสูตรมาชแมลโลว์ที่ร้านชื่นชอบ ให้มีขนาดใหญ่พอที่จะตัดเป็นก้อนกลมเล็ก ๆ  ใช้ไม้จิ้มฟันที่มีปลายแหลมด้านใดด้านหนึ่งหักออกแล้วจุ่มไม้จิ้มฟันลงในไวท์ช็อคโกแลตสีส้มที่ละลายแล้วและวาดจมูกลงบนมาร์ชแมลโลว์ ส่วนตาใส่ดาร์กช็อกโกแลตชิพ 2 ช้อนโต๊ะกับน้ำมันมะพร้าว 1/4 ช้อนชาลงในจานเล็ก ๆ และไมโครเวฟทีละ 20 วินาทีกวนทีละน้อยจนดาร์กช็อกโกแลตละลายอย่างสมบูรณ์และเนียน ใช้ไม้จิ้มฟันที่มีปลายแหลมจุ่มลงในดาร์กช็อกโกแลตที่ละลายแล้วตบที่ตาและปากของ snowman แล้วปล่อยให้ช็อคโกแลตหน้ามนุษย์หิมะตั้งไว้ที่อุณหภูมิห้องก่อนเสิร์ฟคู่มัทฉะลาเต้ร้อนแก้วโปรด

เมนูชาเขียว

ต่อด้วย Matcha Cookie Christmas Tree เริ่มจากตีเนยจืด 1 ถ้วย ผงมัทฉะ 2 ช้อนโต๊ะ และน้ำตาล  1 ½  ถ้วยจนฟู ใส่ไข่แดง 1 ฟอง และวานิลลา 1 ช้อนชาลงไปแล้วผสมจนเข้ากัน แล้วร่อนแป้ง เบกกิ้งโซดาและเกลือเข้าด้วยกันพักไว้อีกชาม ใส่ส่วนผสมทั้งหมดลงในชามแล้วผสมให้เข้ากัน ปิดฝาแป้งและแช่เย็น 30 นาที เปิดเตาอบที่ 180 องศา วางกระดาษรองอบลงในถาดอบ

หั่นแป้งเป็นครึ่ง ๆ หรือสี่ส่วนแล้วรีดให้มีความหนาประมาณ 1/6 – 1/4 นิ้ว ใช้พิมพ์ต้นคริสมาสต์ตัดลงไปแล้ววางบนกระดาษรองอบที่เตรียมไว้ อบแต่ละชุดเป็นเวลา 7-9 นาที  ตกแต่งลวดลายด้วยไวท์ช็อคโกแลตที่ละลายด้วยไมโครเวฟ 20 วินาที หรือผสมสีแดงเล็กน้อยเพื่อให้ได้ลวดลายที่แตกต่างไป

ความเข้มอ่อนขอสีต้นคริสมาต์ขึ้นอยู่กับปริมาณผงมัทฉะที่ใส่ลงไป เพิ่มความน่ารักด้วยการผูกโบว์ หรือแพ็คใส่ถุงแก้วใสๆเพื่อโชว์ลวดลายคุ้กกี้ก็ได้

เทคนิคเพิ่มความน่ารักให้คุ้กก้คริสมาสต์คือ ตอนกดแป้งเป็นรูปต้นคริสต์มาสต์ สามารถกดเป็นรูปดาว หลายๆขนาดได้ เพื่อหลังจากอบเสร็จ มาวางเรียงสลับชั้นกัน โดยแต่ละชั้นเชื่อมด้วยไวท์ช็อคโกแลตเล็กน้อย ปักดาวด้านบนด้วยเมล็ดอัลมอนด์ แล้วโรยไอซิ่งเล็กน้อย ก็ได้เมนูคุ้กกี้ชาเขียวรับเทศกาลคริสมาต์นี้แล้ว

เมนูชาเขียว

อีกเมนูที่แค่เห็นก็นึกถึงต้นคริสมาต์เลย คือ Matcha Mont Blanc สามารถใช้สูตรมองบลังค์ปกติที่ทำได้เลยเพียงแต่เปลี่ยนส่วนผสมครีมเกาลัดที่บีบด้านบนเป็นครีมชาเขียว แล้วประดับตกแต่งด้วยคุ้กกี้ไอซิ่งสีสันสดใส ก็กลายเป็นมองบลังค์ชาเขียวที่ใครได้ทานต้องประทับใจ

นอกจากเมนูชาด้านบนที่เป็นตัวอย่างให้ร้านชาของคุณได้เห็นไอเดียเบื้องต้นสำหรับดัดแปลงเมนูแล้ว ยังมีเมนูชาเขียวอีกหลายหลายเมนูที่สามารถทำขายช่วงคริสมาสต์ได้ เช่น Matcha Hot Chocolate หรือ Matcha Macaron หรือจะเป็น Matcha Cake ที่เน้นการเติมสีแดงด้วยสตอเบอรี่ 

เมนูชาเขียว เมนูชาเขียว  

แต่ถ้าใครไม่ถนัดทำขนมที่ต้องใช้เทคนิคเยอะๆ ลองเอาเมนูขนมชาเขียวแบบไม่อบ ( ดูเพิ่มเติมได้ที่ shorturl.at/dpDS7 ) มาปรับให้เป็นสไตล์คริสมาต์ดูก็เป็นอีกไอเดียที่น่าสนใจ ยิ่งถ้ามีเมนูใหม่ๆออกมาพร้อมกับจัดแคมเปญส่งท้ายปีด้วยโปรโมชั่นหรือกิจกรรมที่น่าสนใจ ยิ่งช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าอยากมาที่ร้านได้มากขึ้น ( ดูเพิ่มเติมได้ที่ shorturl.at/ceqKP ) เพราะไม่จำเป็นว่าช่วงเทศกาลแบบนี้ทุกร้านจะต้องมีเมนูใหม่ๆออกมา มันอาจจะเป็นการยากไปสำหรับบางร้านที่ต้องคิดเมนูใหม่ๆตลอด เพราะตามควมเชื่อของคนญี่ปุ่นนั้น แค่ซื้อชาเขียวมอบให้กันในเทศกาลต่างๆ ก็ถือว่าเป็นการอวยพรให้มีสุขภาพที่ดีแล้ว ( ดูเพิ่มเติมได้ที่ shorturl.at/bcCHK )

ที่มา 

https://encha.com/pages/matcha-recipes

https://www.stephaniesuen.com/2018/12/08/mini-matcha-christmas-tree-sugar-cookies/

https://steemit.com/food/@alwayssmile/elegant-noble-french-dessert-mont-blanc

https://hostthetoast.com/matcha-cookie-christmas-tree-stacks/

Mastering the Art of Adding a Matcha Shot to Your Beverage

Matcha Shot

เวลาสั่งกาแฟ จะเห็นว่าในเมนูบางร้าน นอกจากเมนูกาแฟปกติ ก็จะมี option เพิ่ม Espresso shot อยู่ในนั้นด้วยเพื่อเอาใจคนชอบดื่มแบบเข้มๆ แต่ถ้าเป็นเมนูชา ไม่ว่าจะเป็นชาเขียว ชาโฮจิฉะ หรือชาไทย เราแทบจะไม่เห็นการเพิ่มช็อตชา เพื่อให้ชามีความเข้มข้นมากขึ้น ซึ่งจริงๆแล้ว ในต่างประเทศมี Option เพิ่มช็อตชา หรือแม้กระทั่งการขาย Matcha shot เหมือนการขาย Espresso shot ก็มีเช่นกัน ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพพสมควรเลยทีเดียว แต่คนไทยจะไม่ค่อยคุ้นชินกับการดื่มชาเป็นช็อตแบบนี้

หากใครเป็นคนที่รักการดื่มชาเขียว จะพอทราบว่าการชงชาเขียวตามแบบฉบับคนญี่ปุ่น จะมีการชงแบบ Usucha และ Koicha  ( ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2RrD29N ) ซึ่งการทำ Matcha Shot ก็เป็นการดื่มที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้คนพยายามหาวิธีการใหม่ๆ เพื่อให้ได้ลิ้มรสของชาเขียวเข้มข้น

ซึ่งความน่าสนใจของ Matcha shot คือ อัตราส่วนของน้ำต่อมัทฉะที่ใช้ในการชงนั้นใกล้เคียงกับ Usucha เพราะ Matcha shot ประกอบไปด้วยผงมัทฉะ กับน้ำร้อนเท่านั้น

ผงมัทฉะชนิดใดที่คุณควรใช้ในการทำ Matcha Shot ?

แนะนำเป็นเกรดพิธีการ ( Ceremonial Grade ) เพราะ Matcha shot มีจุดเด่น คือ รสชาติและสีของชา ซึ่งจะมาจากคุณภาพของผงมัทฉะล้วนๆ เพื่อให้ได้ Matcha shot ที่สีเขียวสดใส และ รสขมที่ชัดจากผงมัทฉะเพียวๆ การเสิร์ฟ Matcha shot ตามมาตรฐานคือ

ผงมัทฉะ 1 ช้อนชาหรือ 2 กรัม กับน้ำ 70 – 100 ม.ล. โดยน้ำมีอุณภูมิอยู่ที่ 80 องศาเซลเซียส หากเป็นน้ำที่เพิ่งต้มเดือดๆเลย แนะนำเป็นให้วางทิ้งไว้สัก 5 นาทีเพื่อให้อุณหภูมิน้ำลดลง

how to make Matcha Shot

how to make Matcha Shot2how to make Matcha Shot

หลังจากเทน้ำผสมกับผงมัทฉะแล้วให้ปิดฝาขวดแล้วเขย่าประมาณ 30 วินาที หรือจนกว่าผงมัทฉะจะละลาย เสิร์ฟเป็น Matcha shot ได้เลย แต่ถ้าใครที่ถนัดกับการใช้ฉะเซ็นตี ก็สามารถทำได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม Matcha shot อาจจะไม่เหมาะสำหรับทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งเริ่มหัดดื่มชาเขียว เพราะ Matcha shot จะมีความเข้มข้นกว่ามากในช่วงแรกที่ดื่ม ( คล้ายกับดาร์กช็อกโกแลต 70% ) หลังจากนั้นไม่กี่วินาทีความเข้มข้นนั้น จะเปลี่ยนเป็นรสอูมามิที่ค้างอยู่ในคอ และมีรสชาติชาขมๆค้างอยู่ในปาก  หากเพิ่งเริ่มดื่มมัทฉะแนะนำให้ดื่มเป็นมัทฉะลาเต้ หรือเป็นมัทฉะเพียวแบบเย็นจะดื่มง่ายกว่า

Green tea

หากถามว่าการดื่ม Matcha shot กับ Espresso shot แบบไหนได้คาเฟอีนที่มากกว่ากัน สังเกตได้จากปริมาณคาเฟอีนในมัทฉะขึ้นอยู่กับปริมาณผงมัทฉะที่คุณใช้ ผงมัทฉะ 1 ช้อนชาจะมีคาเฟอีนประมาณ 70 มก. ดังนั้น Matcha shot จะมีคาเฟอีนประมาณ 70 มก. หากเปรียบเทียบกับ Espresso shot ในปริมาณที่เท่ากัน Espresso shot จะมีคาเฟอีนอยู่ที่ประมาณ 80 มก.

ความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง Espresso shot และ Matcha shot  คือ คาเฟอีนใน Matcha shot จะถูกปล่อยออกมาอย่างช้าๆเนื่องจากมีแอล – ธีอะนีน นั่นหมายความว่า แม้ว่าเครื่องดื่ม 2 ชนิดจะมีคาเฟอีน แต่ Espresso จะมีคาเฟอีนอยู่ในร่างกายเพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น ดังนั้นหากใครที่อยากให้คาเฟอีนอยู่ในร่างกายได้นานขึ้น เพื่อให้มีสมาธิ และช่วยให้สงบนิ่งมากขึ้น แนะนำเป็นให้ดื่ม Matcha shot แทนจะดีกว่า

Matcha Shot

Matcha shot เป็นเครื่องดื่มชาเขียวที่มีคุณค่าทางโภชนาการค่อนข้างสูง จึงแนะนำให้ดื่มทันทีที่ชงเสร็จ เพื่อความสดใหม่ และเพื่อเพิ่มพลังงานได้ในทันทีหลังจากดื่ม จึงเหมาะกับการดื่มในเช้าวันใหม่ หรือเมื่อรู้สึกเหนื่อยล้าจากการทำงานหนักมาตลอดทั้งวัน หรือจากการนอนไม่เพียงพอ การดื่ม Matcha shot จะช่วยให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้น เพราะการทำ Matcha shot ถูกดัดแปลงวิธีการชงให้ชงง่ายรวดเร็ว และเพื่อให้ดื่มได้ง่ายๆเพื่อรีบูสความสดชื่นในร่างกาย ทำให้บางคนที่อยากได้คุณค่าทางสารอาหารเต็มๆ

มาเริ่มต้นเช้าวันใหม่ ด้วย Matcha shot อุ่นๆสักแก้ว ดีมั้ยคะ 🙂

Matcha Shot

ที่มา

https://naokimatcha.com/recipes/matcha-shot/

http://hungarianhousewife.com/afternoon-boost-matcha-shot

บทความจาก : Fuwafuwa

Matcha Fruities Idea: Refreshing Green Tea and Fruit Pairings to Energize Your Menu

ช่วงนี้จะมีผลไม้ตามฤดูกาลออกมามากมาย ซึ่งร้านที่ขายขนม ขายอาหารหลายร้านจะสนุกสนานกับการคิดเมนูใหม่ให้ตรงตามเทศกาล แต่สำหรับร้านขายชาเขียวเอง เชื่อว่าต้องมีหลายร้านที่รู้สึกว่าเป็นเรื่องยากที่จะนำผลไม้น่าทานๆเหล่านี้มามิกซ์กับเมนูชาที่ร้านได้ยังไง วันนี้ Matchazuki เลยมาแชร์ไอเดีย มัทฉะฟรุ๊ตตี้… จับคู่กับชาเขียวและผลไม้ เช่น มะม่วง แตงโม สับปะรด ให้ที่ร้านเกิดเมนูใหม่สร้างความสดชื่น สดใส และเป็นไอเดียให้หลายๆ ท่านที่กำลังมองหาเครื่องดื่มเติมความสดชื่นระหว่างวันไห้ได้ไปลองทำตามกัน

fruity matcha drinks

เริ่มที่ ชาเขียวมะม่วงไข่มุก ที่ได้ความหวานจากน้ำตาลบราวน์ชูการ์ที่เคลือบไข่มุก และจากมะม่วงสุกแทนการใส่ไซรัป ส่วนตัวไข่มุกสามารถหาซื้อแบบสำเร็จ หรือใครจะใช้ไข่มุกแบบมาต้มเองก็สามารถทำได้เช่นกัน เราจะใส่ไข่มุกไว้ชั้นล่างสุดของแก้ว ตามด้วยมะม่วงเพียวเร่  ½ ถ้วย เติมน้ำแข็งจนเต็มแก้วและเทนม ½  ถ้วย ลงไปเป็นชั้นที่ 3 หลังจากนั้นให้ชงมัทฉะในถ้วยชงชาอีกใบจากผงมัทฉะ 1 ช้อนชา กับน้ำ ¼ ถ้วย ตีด้วยฉะเซ็นให้เข้ากัน แล้วเทชาเขียวที่ตีลงบนแก้วที่เตรียมไว้เมื่อสักครู่ เป็นอันเรียบร้อย

ส่วนใครที่ไม่อยากซื้อมะม่วงเพียวเร่แบบแพ็คสำเร็จขาย สามารถซื้อมะม่วงสุกแล้วมาหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าเล็กๆแทนได้เช่นกัน หรือสามารถใช้ม่วงสุกแช่ฟรีซ มาปั่นหยาบรวมกับน้ำเล็กน้อยได้เช่นกัน ตามความเข้มข้นของมะม่วงที่ต้องการ ซึ่งขนาดของมะม่วงที่หั่นก็จะทำให้ได้ texture ของเนื้อมะม่วงมากขึ้น

fruity matcha drinks

เมนูถัดมาแปลกจนอาจจะทำให้หลายคนนึกถึงรสชาติไม่ออก แต่แนะนำให้ลอง คือ ชาเขียวแตงโม เป็นสูตรไม่ผสมนม รสชาติเหมือนดื่มชาเขียวเพียวๆแต่ได้กลิ่นอายของแตงโมเพื่อลดความขมของชาเขียว และเพิ่มความหวานจากแตงโมแทน

เริ่มด้วยการปั่นแตงโม 2 ถ้วยแล้วเทใส่แก้วประมาณ ⅓ ของแก้วไว้ชั้นล่างสุด ใส่น้ำแข็งให้เต็มแก้ว หลังจากนั้นเทชาเขียวที่ใช้ผงมัทฉะ 1 ช้อนชา ตีด้วยฉะเซ็นกับน้ำร้อน ¼  ถ้วย ลงไปทับแตงโม เทน้ำแตงโมปั่นที่เหลือลงไป ตกแต่งด้วยแตงโมหั่นชิ้นเพื่อความสวยงาม

fruity matcha drinks

เมนูแนะนำถัดมา ได้แก่ ชาเขียวสับปะรด ซึ่งเมนูนี้เองร้านกาแฟชื่อดังอย่าง starbucks ก็เคยนำมาขายแล้วเช่นกัน แถมยังขึ้นแท่นเป็นเมนู Non-diary ที่ให้ความสดชื่นมากๆ

วิธีทำแสนง่ายเพียงนำ ผงมัทฉะ 1 ช้อนชา + น้ำสับปะรด 5 ออนซ์  + ขิง ⅛ ช้อนชา + นมมะพร้าว ¼ ถ้วย + น้ำตาล 1 ช้อนชา  + น้ำเย็น 6 ออนซ์ หลังจากปั่นรวมกันเสร็จเรียบร้อยแล้วก็เทลงไปในแก้วที่ใส่น้ำแข็งเตรียมไว้ เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

fruity matcha drinks

เมนูเปรี้ยวสดชื่น ช่วยรีเฟรชความเหนื่อยล้าจากการจ้องคอมทั้งวันได้เป็นอย่างดี อย่าง ชาเขียวน้ำผึ้งมะนาว  ใช้ผงมัทฉะ ½ ช้อนชา ตีกับน้ำร้อน 2 ช้อนโต๊ะ แล้วใส่น้ำผึ้งลงไป 3 ช้อนโต๊ะคนให้ละลายไปด้วยกัน หลังจากนั้นเทใส่ลงในแก้วที่เตรียมน้ำแข็งไว้แล้ว ตามด้วยโซดา ½ ถ้วย และน้ำมะนาวหรือน้ำเลม่อน 2 ช้อนชา แต่งด้วยเลม่อน หรือใบสาระแหน่ เป็นอันเรียบร้อย แต่เวลาดื่มแนะนำให้คนให้เข้ากันก่อนดื่มเพื่อความกลมกล่อม

fruity matcha drinks Kitkat yuzu

และผลไม้ชนิดสุดท้ายอย่างส้มยูซึ ที่ในไทยราคาค่อนข้างแพง แต่ที่ญี่ปุ่นนิยมนำไปผสมในขนมและเครื่องดื่ม คิทแคทเองก็ไม่พลาดที่จะนำส้มยูซึ ส้มที่มีกลิ่นหอมสดชื่นเป็นเอกลักษณ์ รสเปรี้ยวเหมือนเลม่อน มาผสมในขนมเพื่อเพิ่มความน่าสนใจและแปลกใหม่ให้สินค้าเช่นกัน

อย่างไรก็ตามการหาผลส้มยูซึแบบลูกเลยอาจจะค่อนข้างยากและราคาสูง ช่วงนี้ก็มีหลายบริษัทในไทยที่ขายน้ำส้มยูซึเพียวๆสำหรับทำขนมหรือเครื่องดื่ม สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์เบเกอรี่ หรือตามจากเพจของบริษัทโดยตรง

มาดูในส่วนของเมนูชากับส้มยูซึกัน… เมนูชาเขียวยูซึ เป็นเมนูที่หลายๆร้านมีเป็นหนึ่งในเมนูของที่ร้านอยู่แล้ว วิธีทำก็คล้ายๆกับตัวชาเขียวเลม่อนโซดา แต่อีกไอเดียที่น่าลองและค่อนข้างใหม่คือ โฮจิฉะลาเต้ยูซึ

Houjicha yuzu

สูตรนี้เราจะใส่เป็น yuzu marmalade ลงไปชั้นล่างสุด 2 ช้อนโต๊ะ ตามด้วยน้ำแข็ง ½ ถ้วย แล้วค่อยๆเทนมลงไป 200 ml. หลังจากนั้นตีผงชาโฮจิฉะ 2 ช้อนชา กับ น้ำร้อน 100 ml. ให้ละลายเข้ากันเข้ากัน แล้วเทบนสุดจะได้เป็น 3 layer สวยงามตามภาพ

อย่างไรก็ตามส้มยูซึ สามารถนำไปทำขนมชนิดอื่นๆคู่กับผงมัทฉะได้เป็นขนมที่อร่อยลงตัวอีกหลายชนิด เช่น ชีสเค้กชาเขียวยูซึ ทาร์ตชาเขียวยูซึ หรือเป็นมูสชาเขียวทานคู่กับมาการองยูซึ

อยู่บ้านกันนานๆ ลองเปิดเตาเข้าครัว หยิบโน้นผสมนี้ ก็จะได้เมนูใหม่ๆน่าทานอีกเพียบเลย เพราะชาเขียวทานกับอะไรก็อร่อย ดูสูตรขนม และเครื่องดื่มอื่นๆของชาเขียวได้ที่ https://bit.ly/2QYsheW 

fruity matcha

ที่มา

https://www.davidstea.com/us_en/tea/yuzu-matcha/10812US01VAR0059386.html

https://kumikomatcha.fr/blogs/recettes/entremet-yuzu-matcha

https://hojicha.co/blogs/recipes/yuzu-hojicha-latte

https://www.hola.com/cocina/recetas/2014081873169/tarta-yuzu-te-matcha/

บทความจาก : Fuwafuwa

Enhancing Japanese Desserts: Matcha Powder with Three Classic Toppings

“โยคัง วาราบิโมจิ ดังโงะโมจิ” ขนมญี่ปุ่น 3 ชนิดนี้ เห็นได้ทั่วไปในร้านขนมญี่ปุ่น บางร้านก็เสิร์ฟแบบเดี่ยวๆ บางร้านก็เสิร์ฟคู่ชาเขียวร้อนๆ ตามร้านคาเฟ่ จะถูกนำมาเป็นท้อปปิ้งบนพาร์เฟต์ ไอศครีม หรือน้ำแข็งใส เพื่อให้ขนมจานนั้นได้กลิ่นอายและสัมผัสรสชาติความเป็นญี่ปุ่น

ในปัจจุบันได้มีการดัดแปลงปรับสูตรให้รสชาติของขนมทั้ง 3 ชนิดนี้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น และมีวิธีจัดเสิร์ฟแบบทันสมัยแต่ได้กลิ่นอายความเป็นวากาชิ หรือขนมญี่ปุ่น หลากหลายไอเดียและวิธีทำขนมแบบง่ายๆให้คนรักมัทฉะเอาไปปรับสูตรทำเองที่ร้านได้

Matcha YokanMatcha Yokan

เริ่มจาก “โยคัง”(羊羹) โยคังเป็นวุ้นถั่วแดงกวน ปกติจะมีรูปทรงเป็นแท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้า สีน้ำตาลแดงจากถั่วรสชาติหวานจัด ส่วนใหญ่จะทานคู่กับชาเขียวร้อนในพิธีชงชารสชาติจะตัดกัน เดิมทีมีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน เป็นขนมที่ทำด้วยเจลาตินจากเนื้อแกะ ในยุคคามาคุระมีนักบวชศาสนาพุทธนิกายเซน เป็นผู้นำขนมโยคังเข้ามาเผยแพร่ในญี่ปุ่น แต่เนื่องจากศาสนาพุทธห้ามการฆ่าสัตว์ จึงมีการเปลี่ยนจากเจลาตินจากสัตว์ มาเป็นแป้ง ถั่วแดง และวุ้น และมีการใช้วุ้นเข้ามาผสมในภายหลัง จนกลายมาเป็นโยคังในปัจจุบัน

โยคังเป็นวุ้นญี่ปุ่นซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน มีลักษณะเป็นก้อนสี่เหลี่ยมสีน้ำตาลแดงโดยทำจากถั่วแดงกวน (Anko) ถ้าเป็นโยคังสีเขียวก็ทำจากชาเขียว ที่มีวิธีทำแสนง่าย

  1. นำถั่วแดงบดเนื้อเนียน 225 กรัมและน้ำตาลทรายขาว 70 กรัมผสมลงในหม้อ นำไปต้มด้วยไฟกลาง คอยคนตลอดด้วยไม้พายเพื่อไม่ให้ไหม้
  2. ต้มไปซักพัก แล้วลองลากไม้พายลงไปตรงกลางแล้วยังเหลือเป็นรอยลาก คือถั่วแดงไม่ไหลกลับมากลบรอยก็ถือว่าโอเค จากนั้นตักออกมาแผ่บนถาดเพื่อให้เย็นลง
  3. ในหม้อต้มอีกใบผสมน้ำ 180 มล. + ผงชาเขียว 5 กรัม กับผงวุ้นหรือผงคันเทน 2 กรัม  ต้มจนเดือดแล้วจึงลดเป็นไฟเบา ต้มต่ออีก 2 นาทีแล้วจึงปิดไฟ
  4. ผสมน้ำตาลทรายแดง  20 กรัม และ (2) ลงไปใน (3) ผสมจนเข้ากัน นำไปต้มจนเดือดแล้วจึงลดเป็นไฟเบา ต้มต่ออีก 2 นาที
  5. เทใส่พิมพ์แล้วนำไปแช่เย็น 30 นาที เอาออกมาหั่นเสิร์ฟเป็นชิ้นๆ อาจเสิร์ฟคู่กับถั่วแดงเชื่อมด้านบน

คุณสมบัติอีกอย่างที่คาดไม่ถึงของขนมโยคัง คือ เก็บไว้ได้นาน อย่างเช่นมากถึง 5 ปี 6 เดือน เพื่อสามารถเก็บเป็นอาหารยามฉุกเฉินเวลามีเหตุภัยพิบัติธรรมชาติ นอกจากนี้ร่างกายยังดูดซึมสารอาหารได้ง่าย และเก็บไว้ในอุณหภูมิปกติได้แม้ไม่ได้นำเข้าตู้เย็น

Warabi MochiWarabi Mochi

ส่วน” วาราบิโมจิชาเขียว “เป็นขนมญี่ปุ่นที่ทำด้วยแป้งจากต้นวาราบิ เนื้อแป้งหนึบ ๆ คล้ายกับแป้งโมจิ นิยมนำไปคลุกกับ คินาโกะ (Kinako) ซึ่งเป็นผงถั่วเหลืองได้กลิ่นหอม ๆ แบบถั่วคั่ว หรือทานคู่ซอสน้ำตาลทรายแดง เรียกว่า คุโรมิสึ (Kuromitsu) หรือโรยผงชาเขียว ก็เป็นขนมที่ได้รับความนิยมมากๆ ในช่วงหน้าร้อน ตามร้านคาเฟ่จะมีวาราบิโมจิเป็นท้อปปิ้งบนพาร์เฟต์ ไอศครีม วิธีทำก็ไม่ยาก เริ่มจาก

  1. ผสมแป้งวาราบิโมจิเขียว100 กรัม นํ้าตาล 50 กรัม ผงมัทฉะ  1 ช้อนชา นํ้าเปล่า 500 มล. ในอ่างผสม
  2. เอาหม้อใส่นํ้าต้มให้เดือด วางอ่างผสมลงไปด้านบน กวนไปเรื่อยๆ พอแป้งเริ่มสุก ก็ยกลงกวนต่อจนแป้งสุกและใสทั่ว เป็นเนื้อเดียวกัน โรยผงถั่วบนถาดหรือภาชนะที่จะใช้ใส่วาราบิโมจิ เสร็จแล้ววางในอ่างที่ใส่นํ้าแข็ง ทิ้งไว้ให้เย็นและเซ็ตตัว ประมาณ 20 นาที
  3. เทออกมาหั่น สังเกตจากแป้ง แป้งจะนุ่ม ใส และไม่คงรูป หั่นแล้วไม่เป็นชิ้นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าเป็นเพราะแป้งนุ่มมากๆ ทำเสร็จแล้วรีบทานให้หมด
  4. หากใครอยากทานกับน้ำตาลคุโรมิทสึ ให้เอาน้ำตาลดำ หรือน้ำตาลทรายแดงบ้านเรา 50 กรัม ต้มละลายกับน้ำ 200 มล.  ปริมาณน้ำขึ้นอยู่กับความหวานที่ต้องการ เพียงเท่านี้ก็เหมือนได้ไปคาเฟ่ที่ญี่ปุ่นเลย

Warabi Mochi

ขนมตัวสุดท้าย “ดังโงะโมจิชาเขียว” ขนมที่ทำจากแป้งโมจิ ปั้นเป็นก้อนกลมๆ รสชาติเค็มๆ แต่ก็มีบางสูตรอาจเติมเนื้อเต้าหู้เข้าไปผสมด้วย แล้วนำไปนึ่ง หรือ ต้มในน้ำเดือดจนสุกก่อน ย่างบนเตาถ่าน ก่อนจะราดด้วยสารพัด หน้าต่างๆ เช่น โชยุ มิโสะ ถั่วแดงกวน มันเทศหวาน งาดำบด หรือ ซอสชาเขียว ด้วยรสสัมผัสนุ่ม หนุบหนับ ทำให้เป็นที่ชื่นชอบของคนส่วนใหญ่ แม้วิธีการเสิร์ฟจะเปลี่ยนไปแค่ไหน แต่ขนมดังโงะก็ยังถือได้ว่าเป็นขนมที่ได้รับความนิยมมาโดยตลอด เพราะเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงขนบธรรมเนียมและประเพณีอันเก่าแก่ในอดีตของญี่ปุ่นมานับร้อยๆปี มาลงมือทำดังโงะตามสไตล์คนรักชาเขียวกันดีกว่า โดยสามารถผสมผงชาเขียวลงไปในแป้งเลยก้ได้เพื่อให้ได้แป้งสีเขียว หรือที่เห็นกันทั่วไปจะทำเป็นลูกสีขาวธรรมดา แต่ตกแต่งด้วยท้อปปิ้ง หรือซอสแบบต่างๆ

DangoDango

  1. เริ่มจากผสมแป้งข้าวเหนียว 100 g. แป้งข้าวจ้าว 100 g. และน้ำตาล 2 ช้อนชา เข้าด้วยกัน
  2. เติมน้ำ ⅔ ส่วน ในส่วนผสม ค่อยๆนวดจน เป็นเนื้อเนียน แล้วปั้นแป้งเป็นก้อนๆ เล็กใหญ่ตามต้องการ
  3. ค่อยๆย่อนลงต้มในน้ำเดือด ประมาณ 1 นาที หรือจนตัวดังโงะลอยขึ้น จากนั้นตักขึ้นแล้วนำมาน็อคด้วยน้ำเย็นจัด
  4. ปล่อยให้สะเด็ดน้ำแล้วนำมาเสียบไม้ แล้วนำไปย่าง ประมาณ 4 นาทีแล้วเอาขึ้น
  5. ส่วนน้ำซอสหรือท้อปปิ้งที่ใช้ราดดังโงะ สามารถดัดแปลงได้ตั้งแต่ใช้ถั่วขาวผสมผงชาเขียว หรือราดด้วยซอสมิทาราชิ ที่ทำจากน้ำตาล 5 ช้อนโต๊ะ + ซอสถั่วเหลือง 1 ช้อนโต๊ะ + มิริน 1 ช้อนโต๊ะ + น้ำเปล่า 5 ช้อนโต๊ะ + แป้งข้าวโพด 1 ช้อนโต๊ะ เคี่ยวจนเข้ากัน หรือจะทานคู่กับไอศรีมชาเขียวก็เป็นมื้ออร่อยของเด็กๆอย่างแน่นอน

Matcha DangoMatcha DangoMatcha Dango

ที่มา

teanobi.com

8days.sg

http://kyotofoodie.com/kyoto-cafe-jouvencelle-gion/

recetasgratis.net

https://www.flickr.com/photos/bananagranola/2529983071

บทความจากFuwafuwa

Sakura & Matcha : A Perfect Match for Spring

ช่วงนี้ของทุกปี หลายคนคงนึกถึงดอกซากุระสีชมพูบานสะพรั่ง นั่งทานขนมญี่ปุ่นไปเพลินๆ พร้อมจิบชาอุ่นๆ ทั่วญี่ปุ่นก็จะมีขนมที่มีส่วนผสมของซากุระออกใหม่แทบจะทุกร้าน

โดยเฉพาะการจับคู่กับเมนูชาเขียวยิ่งช่วยดึงรสชาติและความกลมกล่อมของซากุระออกมาได้อย่างลงตัว เช่น ซอฟต์ครีมชาเขียวซากุระ ชาเขียวลาเต้ซากุระ หรือจะเป็นโดนัทที่นำซากุระมาเป็นส่วนผสมในเกลซที่เคลือบโดนัท ก็เป็นการปรับสูตรจากเดิมที่ไม่ยากและสามารถทำได้กับทุกเทศกาล อย่างไรก็ตามความสนุกในการดื่มด่ำบรรยากาศเช่นนั้นของปีนี้คงเป็นไปได้ยาก ด้วยสถานการณ์โควิด 19 ที่กำลังระบาด Matchazuki เลยเอาใจคนคิดถึงญี่ปุ่นด้วยสูตรขนมที่ทำไม่ยาก และได้กลิ่นอายซากุระ

Sakura & MatchaSakura & Matcha

เริ่มด้วย “แพนเค้กชาเขียวโมจิไส้ถั่วขาวซากุระถั่วแดง”

Sakura & Matcha

 

เพียงนำน้ำ 150 cc. เทลงไปในแป้งโมจิ หรือแป้งข้าวเหนียว 30 กรัม แล้วคนให้เป็นเนื้อเดียวกัน หลังจากนั้น ร่อนแป้งเค้ก 30 กรัม และเติมผงมัทฉะ 2 กรัม กับน้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะลงไป คนให้เข้ากัน พักไว้ในตู้เย็นประมาณ 30 นาที

หลังจากนั้นทาน้ำมันบางๆ บนกระทะที่อุ่น ตักแป้งที่เตรียมไว้เกลี่ยให้เป็นวงรี ทอดด้วยไฟอ่อน จนสุกทั้ง 2 ด้านเป็นอันเรียบร้อย สอดไส้ด้วยถั่วขาวกวนมาผสมกับผงซากุระ 2 กรัม หรือปรับระดับรสชาติตามชอบ หากใครทำไส้รสชาติซากุระอ่อน แนะนำให้เอาใบซากุระดองเกลือมาห่อและแต่งด้วยดอกซากุระดองเกลืออีกชั้นเป็นอันเรียบร้อย

เมนูถัดมาที่แนะนำเลยคือ “ฮานามิดังโงะ” ดังโงะ 3 สี สีเขียว ขาว ชมพู ดังโงะชนิดนี้นิยมทานช่วงซากุระในระหว่างดูดอกไม้ ซึ่งมีหลายความเชื่อว่าดังโงะ 3 สี แทนการผลิบานของดอกซากุระ โดยสีเขียวแทนใบซากุระ สีขาวแทนดอกซากุระที่กำลังตูม และสีชมพูแทนดอกซากุระที่กำลังบานสะพรั่งนั้นเอง

มาเข้าครัวเริ่มทำกันเลย…..

เริ่มจากแบ่งชามนวดออกเป็น 3 ชาม

  • ชามที่ 1: นำแป้งโมจิ 40 กรัม, เต้าหู้ 40 กรัม, น้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ ผงซากุระ 2 กรัม มานวดให้เข้ากันจนนิ่ม
  • ต่อมาในชามที่ 2: นำแป้งโมจิ 40 กรัม, เต้าหู้ 40 กรัม, น้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ. ผงมัทฉะ 2 กรัม  มานวดให้เข้ากันจนนิ่ม หรือบางร้านจะใช้เป็นแป้งโมจิผสมโยโมกิเลยก้ได้ (โยโมกิ คือหญ้าญี่ปุ่นชนิดหนึ่ง มีกลิ่นและรสชาติคล้ายผัก นิยมเอามาทำขนมวากาชิ)
  • ส่วนสุดท้ายชามที่ 3: นำแป้งโมจิ 40 กรัม, เต้าหู้ 40 กรัม, น้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ มานวดให้เข้ากันจนนิ่มหลังจากนั้น ต้มน้ำให้เดือด แล้วใส่แป้งดังโงะลงไปต้มให้ดังโงะลอยขึ้นมา(ประมาณ 2-3 นาที) ใช้ตระกร้อช้อนขึ้นมาจากน้ำเดือด แล้วล้างด้วยน้ำเพื่อให้ดังโงะหายร้อน แล้วพักไว้ นำไม้เสียบมาเสียบดังโงะ. 3 ชิ้นต่อไม้ เป็นอันเรียบร้อยพร้อมทาน

Matcha DangoDango

ซึ่งตัวฮานามิดังโงะนั้นที่ญี่ปุ่นนิยมเอาไปเป็นท้อปปิ้งกับพาร์เฟต์ชาเขียว หรือซอฟท์ครีมชาเขียว เป็นการจับคู่ที่กลมกล่อมลงตัว

Sakura & MatchaSakura & Matcha

ต่อด้วย “เครปเค้กชาเขียวซากุระถั่วแดง” ที่เกิดจากเค้กชิฟฟ่อนชาเขียว สลับชั้นกับครีมสด ถั่วแดงและเครปซากุระ ซึ่งวิธีทำเครปซากุระก็ไม่ต่างกับการทำเครปเค้กปกติเลย โดยตีไข่ 4 ฟอง ให้เข้ากัน และใส่น้ำตาลทราย ⅓ ถ้วยลงไปคนพอละลาย ร่อนแป้งสาลี 2½  ถ้วย พร้อมผงซากุระลงไป 2 ช้อนโต๊ะ หลังจากนั้นค่อยๆ เทนม 400 ml. ลงในแป้ง แบ่งใส่ 3-4 รอบ คนให้เข้ากันจนไม่เหลือเม็ดแป้ง

ใส่เนยละลาย ¼ ถ้วย ลงไป คนให้เข้ากัน กรองส่วนผสมทั้งหมด แล้วพักแป้งในตู้เย็นอย่างน้อย 4 ชั่วโมง พอครบเวลาให้คนแป้งก่อนจะนำมาทอด โดยทาเนยที่กระทะเทฟล่อน ใช้ไฟอ่อน หยอดส่วนผสมแป้งเกลี่ยให้เป็นวงกลม วิธีสังเกตว่าแป้งสุก คือ จะมีฟองอากาศใหญ่ ๆ ดันแผ่นแป้ง ทอดจนแป้งหมด หลังจากพักแป้งโดยการนำไปแช่เย็นประมาณ 2-4 ชั่วโมงก็สามารถนำมาประกอบชั้นเป็นเครปเค้กซากุระชาเขียวได้เลย ส่วนวิธีการทำเค้กชาเขียว สามารถใช้ตามสูตรเค้กชาเขียวของ Matchazuki นี้ได้เลย หรือที่ร้านไหนมีสูตรของตัวเองก็เอามา Mix ได้ ( อ่านสูตรเค้กชาเขียวได้ที่ shorturl.at/abuR5 ) แล้วเปลี่ยนพิมพ์ขนมให้เป็นขนาดเดียวกับเครปซากุระที่ทำ ก็เป็นอันเรียบร้อย

Sakura & Matcha

จะเห็นได้ว่า ซากุระที่ใช้ในการทำขนมมีทั้งแบบที่เป็นผงซากุระที่สกัดมาจากซากุระดอง หรือแบบที่เป็นดอกซากุระดองเลยก็มี ขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกใช้แบบไหน และนอกจากสูตรขนมข้างต้นที่ทำให้เราได้สัมผัสกับความกลมกล่อมของชาเขียว และซากุระ คู่ความอร่อยลงตัวแล้ว ยังมีอีกหลากหลายเมนูที่สามารถนำซากุระไปช่วยเพิ่มความอร่อย และได้กลิ่นอายกับ Seasonal นี้ เช่น มาการองชาเขียวครีมสดซากุระ โรลเค้กชาเขียวครีมสดซากุระ หรืออย่างขนมยอดฮิตอย่างไดฟุกุ ก็หยิบจับชาเขียวและซากุระมาผสมผสานกันได้อย่างลงตัว

Sakura & MatchaSakura & Matcha
Sakura & Matcha

ที่มา

http://paogohan.blog42.fc2.com/blog-entry-513.html

https://www.travelsintranslation.com/2015/04/recipe-of-the-month-cherry-blossom-sugars/

https://arigatojapan.co.jp/sakura-and-matcha-a-perfect-match-for-spring/

https://matcha-jp.com/en/1695

https://soranews24.com/2021/03/11/sakura-and-matcha-star-in-new-mister-donut-collection/

https://nagoyafoodie.com/soft-serve-ice-cream-in-japan/

https://constellationinspiration.com/2020/04/dango-mochi.html

บทความจากFuwafuwa

Matcha Bingsu & Kakigori: Effortless Homemade Indulgence

เชื่อว่าพอเข้าหน้าร้อน ขนมที่ทุกคนต้องนึกถึงคงหนีไม่พ้น น้ำแข็งใส หรือในภาษาญี่ปุ่น ที่เรียกว่า คากิโกริ ซึ่งกล่าวกันว่า การกินน้ำแข็งไสมีมาตั้งแต่สมัยเฮอัน (Heian Period) โดยในสมัยนั้นจะเอาน้ำแข็งก้อนที่ได้จากธรรมชาติมาฝนด้วยมีดและเหล็กจนกลายเป็นเกล็ด แล้วนำมากินคู่กับน้ำหวานจากผลไม้และดอกไม้ ซึ่งลักษณะเด่นของคากิโกริ คือ เกล็ดน้ำแข็งของคากิโกริจะมีความละเอียดนุ่ม ส่วนใหญ่จะไม่มีรสชาติ แต่จะเน้นการเติมนมหรือไซรัปรสชาติต่างๆ เพื่อให้มีความหวานหอมจัดจนทั่ว ด้านบนนิยมเป็นครีมรสชาติต่างๆ ตกแต่งด้วยผลไม้สด หรือเผือกกวน ถั่วกวน ส่วนข้างในก็จะมีไส้ความอร่อยซุกซ่อนอยู่ตามแต่จะครีเอต ราดด้วยซอสรสต่างๆ มาเพิ่มรสชาติ

ส่วนบิงซูของชาวเกาหลีที่ได้รับวัฒนธรรมการกินจากชาวญี่ปุ่น คือ น้ำแข็งไส ที่มีลักษณะเด่นๆ คือ ต้องมี 3 ส่วนผสมหลัก ได้แก่ ถั่วแดง แป้งต๊อก (เค้กข้าวเกาหลีสีขาวเหนียวๆ ) และผงแป้งที่ทำจากถั่วและธัญพืช นับเป็นขนมหวานเย็นเพื่อสุขภาพของชาวเกาหลี บิงซู จะมีลักษณะเป็นเกล็ดน้ำแข็งนุ่มคล้ายปุยหิมะขาวโพลนไม่ต่างกัน อาจจะมีการทำน้ำแข็งให้เป็นรสชาติต่างๆบ้าง รสชาติน้ำแข็งจะมีรสหวานนมอ่อนกว่า เพราะต้องกินกับท็อปปิ้งนานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นซอสนมข้น ผลไม้สด ไอศกรีม ชีส ครีมสด ผงแป้งหลากรสชาติ และที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ “แป้งต๊อก” ที่ต้องซ่อนอยู่ ร่วมด้วย ส่วนซอสก็มีนมให้ราดด้วยเหมือนกัน หรืออาจจะเป็นน้ำเชื่อมรสต่างๆ น้ำผลไม้ เรื่อยไปจนถึงค็อกเทล

หากจะเทียบกันชัดๆก็คากิโกริดูเรียบง่ายคล้ายกับภูเขาขนาดย่อมที่ซ่อนความอร่อยหอมหวาน ขณะที่บิงซูจะมีความวาไรตี้และไร้แบบแผน นั่นเอง หากใครที่ชอบกินชาเขียว แน่นอนว่าคากิโกริ และบิงซูชาเขียวต้องเป็นอีกหนึ่งเมนูที่อยากลองทำทานเอง วิธีทำแค่เพียง ผสมผงมัทฉะ 1 ช้อนโต๊ะ และน้ำตาล 50 กรัมให้เข้ากันในภาชนะ เทน้ำร้อนตามลงไป 60 ml. และตีให้เข้ากัน เตรียมน้ำแข็งใสที่ปั่นจากเครื่องให้พร้อม และราดมัทฉะไซรัปลงไปได้เลย ตกแต่งได้ตามใจชอบเลย ว่าจะเสิร์ฟคู่กับแป้งต็อกราดนมสไตล์บิงซู หรือถ้าสไตล์ญี่ปุ่นต้องเสิร์ฟคู่ถั่วแดง โมจิ และไอศครีมรสชาเขียว จะเข้ากันดีที่สุด

อีกสูตรที่แนะนำให้ลองเป็นคากิโกริชาเขียวทีรามิสุ ที่ชงชาเขียวลาเต้แบบปกติก่อน แล้วนำไปเทลงแม่พิมพ์น้ำแข็ง แช่จนแข็งดี ผสมครีมมัทฉะทีรามิสุโดยเท ชีสมาสคาโปน 100 กรัม + ผงชาเขียวมัทฉะ 1 ช้อนโต๊ะ + น้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ + ครีมสด 100 มล แล้วใช้ตะกร้อคนให้เข้ากัน หลังจากนั้นนำน้ำแข็งชาเขียวลาเต้ที่ทำไว้ออกมาเข้าเครื่องบดน้ำแข็ง ใส่ชามให้เรียบร้อย จึงค่อยราดด้วยครีมชาเขียวทีรามิสุ ตกแต่งด้วยผงมัทฉะ หรือเสิร์ฟคู่กับผลไม้สดก็อร่อยตัดรสกันได้ดี

ลองทำทานดูที่บ้านแล้วเปลี่ยนท้อปปิ้งที่ทานคู่กับน้ำแข็งไสชาเขียวไปเรื่อยๆ อาจจะเป็นขนมปังบ้าง ไอศครีม โยคัง วาราบิโมจิหรือ ขนมประเภทต่างๆ ก็อาจจะเจอรสชาติใหม่ที่ลงตัว

ที่มา 

trip.kyoto.jp

reddit.com

fashion-press.net

letempsduthe.fr

บทความจาก : Fuwafuwa

Tea Pairing: A Guide to Flavorful Food Combinations

เป็นที่ทราบกันดีว่า ชาเป็นอีกหนึ่งเครื่องดื่มที่จะช่วยเพิ่มและดึงกลิ่นและรสชาติที่ละเอียดอ่อนของอาหารหลายประเภทออกมาได้ เช่นเดียวกับไวน์ ที่พวกเราจะคุ้นเคยกับกฎพื้นฐานที่ว่า ไวน์แดง จะเสิร์ฟกับอาหารที่มีเนื้อแดง ส่วนไวน์ขาวเสิร์ฟพร้อมกับเนื้อปลาและอาหารมังสวิรัติ ดังนั้นการเรียนรู้ว่า ชาชนิดใดสามารถเติมเต็มรสชาติของอาหารได้บ้าง จึงเป็นศาสตร์ที่คนรักชาควรศึกษาเพิ่มเติมไว้เพื่อช่วยให้รสชาติชาเขียวทำให้เมนูอื่นๆในร้านอร่อยมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

Tea pairing

ชาแต่ละชนิดก็จับคู่กับอาหารอะไรเพื่อช่วยดึงรสชาติได้แตกต่างกัน เช่น ชาดำที่มีกลิ่นรสที่ strong และค่อนข้างเข้มข้นไปจนถึงขม ซึ่งมีความคล้ายกับความ Full-bodied ของไวน์แดง จับคู่ได้ดีกับอาหารเนื้อแน่น รสชาติหนักๆ พวกเนื้อย่าง (วัว, แกะ) พาสต้าเนื้อแน่นอย่างลาซานญ่า ชาขาวรสชาติเบาๆ ควรจับคู่กับอาหารที่เบามากเช่น ปลาเนื้อขาวเช่น ปลากะพงหรือชีสอ่อน ๆ ส่วนชาอู่หลงจะแตกต่างกันออกไป จะเข้ากันได้ดีกับของหวาน ผลไม้ ชีส และเนื้อสัตว์รมควัน แต่ถ้าเป็นชา Earl Grey จะเหมาะกับผลไม้และขนมหวาน เค้ก และดาร์กช็อกโกแลต

จะเห็นว่า ชา นอกจากจะสามารถเพิ่มรสชาติของอาหารบนจานของคุณได้อย่างแท้จริง ในทางกลับกันการจับคู่ผิดก็อาจจะทำให้อาหารและชามื้อนั้นรสชาติแย่ไปเลยก็มี มาดูกันว่าชาเขียว เหมาะกับการจับคู่กับอาหารชนิดใดบ้าง

  1. อาหารญี่ปุ่นและชาเขียว ถือเป็นส่วนผสมที่ดีต่อสุขภาพและเข้ากันที่สุด

อาหารของญี่ปุ่นที่ประกอบด้วยซา ชิมิ ข้าวปั้น ราเมง อาหรกลุ่มนี้จะเข้ากันได้ดีกับชาเขียว โดยเฉพาะเซนฉะที่มีความสมดุลของความเป็นกรดและความหวานที่เข้ากันได้ดีกับรสชาติของอาหารญี่ปุ่นนั่นเอง

  1. อาหารซีฟู้ด ชาเขียวโดยเฉพาะเซนฉะจะเข้ากันได้ดีกับอาหารทะเล เพราะช่วยเพิ่มรสชาติของกันและกัน ซึ่งส่งผลให้เกิดการผสมผสานที่เป็นเอกลักษณ์ในปากและทิ้งรสขมเล็กน้อยที่ค้างอยู่ในปากซึ่งทำให้ต้องการอาหารซีฟู้ดมากขึ้น
  2. ขนมที่ใช้ช็อคโกแลต ช็อคโกแลตมีโกโก้ซึ่งให้รสขม หรือจะเป็นดาร์กช็อกโกแลตที่มีโกโก้มากกว่าเมื่อเทียบกับช็อคโกแลตอื่นๆ ทำให้มีรสขมอย่างเข้มข้น หากจับคู่กับชาเขียวที่ผสมผลไม้ จะได้รสชาติที่ลงตัวจากความขมของโกโก้และความหวานจากชาเขียว หากต้องการทานช็อคโกแลตประเภทหวานๆ เช่น ช็อกโกแลตนม ชาเขียวก็เป็นคู่ที่ดี เพราะรสขมเล็กน้อยของชาเขียวจะช่วยเพิ่มรสหวานของช็อกโกแลต
  3. ไก่ทอดรสชาติที่ได้จากชาเขียวจะเข้ากันได้ดีกับไก่ทอด เพราะชาเขียวจะช่วยลดอาการปากมันเยิ้มที่ได้จากการกินไก่ทอด
  4. ขนมปังโฮลวีตและชาเขียวเป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีเยี่ยมและสามารถทำเป็นอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางโภชนาการได้การจับคู่นี้สามารถกระตุ้นการเผาผลาญได้เป็นอย่างดี

จะเห็นว่าชาเขียวเป็นเครื่องดื่มสารพัดประโยชน์ที่สามารถจับคู่กับอาหารได้เกือบทุกชนิด การทานชาแต่ละชนิดกับอาหารแต่ละอย่างจึงมีรสชาติแตกต่างกันไป ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคลด้วย หากร้านชาไหนที่ไม่มีเมนูของคาวทาานคู่ชาแล้ว ลองดูส่วนผสมอื่นที่มาผสมกับชาเขียวแก้วโปรดของคุณให้ได้รสชาติที่แตกต่างกันออกไป ยิ่งไปกว่านั้นชาเขียวมัทฉะของญี่ปุ่นมักจะมีกลิ่นหอมของแอปเปิ้ลและดอกกุหลาบที่เด่นชัดมากขึ้นเมื่อผสมกับกลิ่นหอมของแตงกวาสีเขียวบางชนิด บางคนผสมกับตะไคร้ ขิง หญ้าฝรั่น แอปเปิ้ล สับปะรด แอปริคอท มะเขือเทศ หรือเหล้ารัม ก็ให้รสชาติที่แตกต่างออกไป เพราะชาเขียวจับคู่กับอะไรก็อร่อย ^^

ที่มา

https://www.teavivre.com/info/how-to-pair-tea-and-food.html

https://www.pinterest.com/pin/100768110397035818/

https://www.letempsduthe.fr

https://www.japanesegreenteain.com

บทความจาก : Fuwafuwa