A Tale of Two Beverages: The Love for Tea and Coffee

ถ้าพูดถึงเครื่องดื่มที่เป็นที่นิยมทั่วโลก คงหนีไม่พ้น ชาและกาแฟเห็นได้จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่ให้ความนิยมเครื่องดื่ม 2 ชนิดนี้มากขึ้น ไม่ว่าจะไปที่ไหนๆ ก็มีร้านชา หรือกาแฟ เต็มไปหมด แน่นอนว่า ทั้งชาและกาแฟมีคาเฟอีนเหมือนกันทั้งคู่ ซึ่งหลังจากเราดื่มชาหรือกาแฟเข้าไปแล้วจะรู้สึกตื่นตัวด้วยฤทธิ์ของคาเฟอีน และรู้สึกว่ากระหายน้ำ เพราะร่างกายจะพยายามกำจัดคาเฟอีนที่สูงออกไปนั่นเอง หากเปรียบเทียบปริมาณคาเฟอีนระหว่างใน 1 แก้ว ระหว่างชากับกาแฟ กาแฟจะมีปริมาณคาเฟอีนอยู่ที่ 90-170 มิลลิกรัม ส่วนชาจะมีคาเฟอีนอยู่ที่ 25-70 มิลลิกรัม จะเห็นได้ว่าปริมาณในชาพบได้น้อยกว่ามาก ดังนั้นคนที่มองหาตัวเลือกเพื่อสุขภาพ ก็อาจจะเลือกชาเป็นตัวเลือกแรก

ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าชา หรือกาแฟอันไหนดีกว่ากัน แต่ตามหลักความเป็นจริงแล้ว ทั้ง 2 ชนิดมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะการดื่มของแต่ละคนด้วย หากดื่มในสัดส่วนที่พอดี จะให้ประโยชน์ต่อร่างกาย แต่หากดื่มในปริมาณมากๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น มะเร็งหลอดอาหารที่มาจากการดื่มชา โรคกระดูกพรุนจากการดื่มกาแฟ เป็นต้น

coffee

อย่างไรก็ตาม ชาและกาแฟก็มีประโยชน์ต่อร่างกายในด้านอื่นๆเช่นกัน เช่น เมื่อคุณมีอาการหนาว สิ่งที่ควรดื่มคือกาแฟเพราะหลังจากดื่มเพียงแค่ 10 นาที คาเฟอีนในกาแฟจะทำให้มีการเต้นของหัวใจและความดันเลือดที่ดีขึ้น และสิ่งที่ผสมลงไปในกาแฟ เช่น พวกนม น้ำตาล ยังกลายเป็นพลังงานซึ่งทำให้ร่างกายอุ่นขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ ประโยชน์ของการดื่มกาแฟ ยังช่วยในเรื่องของการลดความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ ลดอาการปวดหัวไมเกรนได้ ลดความเสี่ยงเป็นโรคเกาต์ในผู้ชายได้ และหากดื่มในปริมาณที่เหมาะสม สามารถลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ด้วย นอกจากนี้ในกาแฟมีโพแทสเซียมและฟอสฟอรัสสูงกว่าชา ซึ่งช่วยในเรื่องของการบำรุงกระดูก

สเน่ห์ของกาแฟ ที่คอกาแฟชื่นชอบกัน คือ กลิ่นหอมของการคั่วกาแฟจะไปทำปฏิกิริยากับโปรตีนในสมอง ตัวที่เกี่ยวกับความเครียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเครียดที่เกิดจากการนอนไม่หลับ แค่ได้กลิ่นกาแฟก็จะผ่อนคลายลง

ข้อควรระวังในการดื่มกาแฟ คือ กาแฟมีปริมาณคาเฟอีนสูงกว่าชา ถ้าดื่มมากเกินไปเกิน 3-4 แก้วต่อวัน หรือ 400 มิลลิกรัม อาจทำให้เกิดอาการหัวใจเต้นเร็ว หรือเต้นผิดจังหวะ วิตกกังวล รวมถึงอาการนอนไม่หลับได้ นอกจากนั้นยังทำให้ฟันเหลืองอีกด้วย หากดื่มกาแฟเกินวันละ 8 แก้วต่อวัน ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่มากเกินไปจะเพิ่มอัตราการแท้งบุตรได้ และกาแฟยังไปลดการไหลเวียนของเลือดเข้าสู่หัวใจอีกด้วย

การดื่มกาแฟขณะที่ท้องว่าง อาจทําให้ปฏิกิริยาตอบสนองต่อกาเฟอีนรุนแรงขึ้น และในขณะเดียวกันอันตรายจากการระคายเคืองในกระเพาะอาหารก็จะสูงขึ้นด้วย ซึ่งหมายความว่า หากไม่ต้องการเสี่ยงต่อโรคกระเพาะอาหารอักเสบหรือใจสั่นก็ไม่ควรดื่ม

Tea or Coffee

ในทางกลับกัน หากคุณต้องการให้อารมณ์ดีขึ้น ต้องการความรู้สึกผ่อนคลาย สิ่งที่คุณควรดื่มคือ ชาเพราะกลิ่นของชาจะช่วยทำให้ใจเย็น และผ่อนคลาย เช่น ชามะลิ หรือ ชาผลไม้ หรือไม่ก็ชาเขียวเองก็ตาม แนะนำให้ก่อนดื่ม สูดกลิ่นที่ของชาร้อนๆก่อน แล้วค่อยๆจิบ แค่นี้ก็ช่วยสร้างรอยยิ้มในยามบ่ายได้ดี นอกจากนั้นแล้ว ชายังมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยต้านโรคมะเร็งได้  ช่วยป้องกันโรคมะเร็งและช่วยบำรุงผิวพรรณ ทำให้ไม่แก่ง่าย การดื่มชา 4 ครั้งต่อวันอย่างต่อเนื่อง 6 สัปดาห์ จะช่วยลดระดับฮอร์โมนความเครียดได้ นอกจากนี้ชายังมีส่วนช่วยในการลดโรคมะเร็งหลอดอาหารในผู้หญิงได้ถึง 60% ชาสามารถช่วยกระตุ้นระบบประสาท ช่วยหมุนเวียนโลหิตได้ ทำให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติ ป้องกันไขมันส่วนเกินสะสมในร่างกาย ลดอาการของโรคอัลไซเมอร์ได้เช่นเดียวกับกาแฟ อีกทั้งยังเพิ่มฤทธิ์ในการรักษาโรคไมเกรนได้ด้วยเช่นกัน

แต่หากดื่มชามากเกินไปทำให้เป็นโรคกระดูกพรุน และในชายังมีสารทานินจำนวนมาก ซึ่งสารตัวนี้จะช่วยลดการดูดซึมธาตุเหล็ก ทำให้เสี่ยงเป็นโรคโลหิตจางได้ หากดื่มชาร้อนมากไป อาจทำให้เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารได้อีกด้วย

ชาแต่ละชนิด ก็มีปริมาณคาเฟอีนที่แตกต่างกันไปอีก อย่างชาดำจะมีปริมาณคาเฟอีนมากที่สุด เฉลี่ย  23 – 110 มิลลิกรัม รองลงมาเป็นชาอูหลง อยู่ที่ 12 – 55 มิลลิกรัม และชาเขียว 8 – 36 มิลลิกรัม ตามด้วย ชาขาว ที่มีแค่ 6 – 25 มิลลิกรัม

Tea

จะเห็นว่าทั้งชา และกาแฟ มีประโยชน์และโทษด้วยกันทั้งคู่ หากดื่มในปริมาณที่มากเกินไป ดังนั้นการเลือกดื่มในปริมาณที่เหมาะสม ส่วนใครที่เป็นสายรักสุขภาพ ก็จะนิยมหันมาบริโภคชา มากกว่ากาแฟ เพราะในชายังมีสารที่สําคัญอื่นๆ อีก เช่น แทนนิน คาเทชิน เพิ่มเติ่มอีก หรือหากต้องการดื่มชา หรือ กาแฟ จริงๆ แนะนำให้ชงดื่มเองได้ ก็จะยิ่งดีต่อร่างกาย เพราะสามารถควบคุมปริมาณนม น้ำตาล ครีม ที่เป้นสาเหตุให้เกิดโรคอ้วนได้

ที่มา

https://www.sweetrevolution.co.uk/

https://www.pinterest.com/pin/841962092818083327/

บทความจาก : Fuwafuwa

Elevating Dessert Craftsmanship with Matcha

เทคนิคในการดัดแปลงส่วนผสมและสูตรต่างๆให้เป็นรสชาติที่หลากหลาย เป็นสิ่งที่เจ้าของร้านขนมและร้านคาเฟ่ควรรู้ บางครั้งหลายคนไปเรียนทำขนมมา แต่พอต้องการดัดแปลงขนมที่เรียนมาเป็นรสชาติที่ต้องการ กลับใส่ส่วนผสมไม่ถูก

การทำครีมชาเขียวเป็นไส้ขนม บางเจ้าก็นิยมซื้อสำเร็จตามที่มีขายอยู่แล้วในท้องตลาดมาใช้เลยเพื่อความสะดวก แต่รสชาติความเข้มข้นรวมทั้งสีของชาเขียว อาจจะไม่ได้เป็นอย่างที่ตั้งใจไว้

Matchazuki เลยอยากจะมาแชร์ การทำไว้ครีมชาเขียวอย่างง่าย และถ้าใครเป็นคอชาโฮจิฉะ ก็สามารถเปลี่ยนผงชาเขียวตามสูตรเป็นผงชาโฮจิฉะได้ในปริมาณเท่าๆกัน แต่แนะนำให้การทำขนมใช้ผงชาเขียวจะอร่อย สีสวย และได้รสชาติที่ดีกว่าใช้ชาใบ

ไส้มัทฉะ ไส้มัทฉะ

หากใครอยากลองทำไส้คัสตาร์ดชาเขียวเอง ลองทำได้ง่ายๆเพียงแค่อุ่นนม 125 ml. ในหม้อ แค่พออุ่นๆ ไม่ถึงกับต้องเดือด ดูถ้ามีไอลอยขึ้นมาก็ปิดไฟเลย หลังจากนั้น ตีไข่แดง 1 ฟอง กับน้ำตาล 35 กรัม จนเป็นสีเหลืองอ่อน ร่อนแป้งเค้ก 13 กรัม กับผงชาเขียว 1 ช้อนชา 5 กรัมลงไปตีต่อ จากนั้นค่อยๆเทนมอุ่นลงไปผสมลงไปในหม้อ อุ่นด้วยไฟเบา คนด้วยไม้พายตลอดเวลา จนครีมเริ่มข้น ถ้าเห็นมีฟองขึ้นมาปุ๊บ อุ่นอีก 1 นาทีแล้วปิดไฟเลยค่ะ จากนั้นใส่เนยลงไป คนจนเนยละลายเข้ากัน หลังจากนั้นเทครีมใส่จานแบนๆ ปิดด้วยแรปใสแล้วเอาเข้าตู้เย็นแช่ไว้สัก 1 ชม.เนื้อครีมประเภทนี้จะมีความหนืดเหมือนเวลาเราทานซาลาเปาไส้ครีม เหมาะกับเอาไปเป็นไส้ขนมปัง หรือทำไส้พายนั้นเอง

matcha cream

แต่ถ้าเป็นครีมชาเขียว เนื้อสัมผัสนุ่มละมุน ไว้ปาดเป็นไส้เค้กอย่างเครปเค้ก ไส้ชูครีม หรือไส้โรลเค้ก ตัวไส้กลุ่มนี้ครีมจะมีลักษณะที่เป็นเนื้อบางเบา นุ่มละมุนลิ้น ทานได้เรื่อยๆ ไม่หนักหรือเลี่ยน เพราะเกิดจากวัตถุดิบอย่างง่ายเพียงแค่ 3 อย่าง ได้แก่ วิปปิ้งครีม 400 มิลลิลิตร ผงชาเขียว 1/3 ถ้วย และ น้ำตาลทราย 1/3 ถ้วยที่มาเทผสมกัน แล้วตีด้วยหัวตีตะกร้อ จนตั้งยอดอ่อนวิธีการสังเกตว่าเป็นยอดอ่อนคือ มือหยุดตีแล้วยกหัวตะกร้อขึ้น ตัวครีมที่ปลายตะกร้อจะงอลงเล็กน้อย เนื้อครีมแบบนี้จะมีความนุ่มละมุน มักนิยมใช้กับเบเกอรี่สไตล์ญี่ปุ่น แต่ถ้าตีนานเกินไป ไส้ครีมชาเขียวนุ่มๆของเราจะกลายเป็นครีมเนื้อหนักที่ไว้ปาดรอบเค้กเพื่อตกแต่งหรือบีบครีมขึ้นรูปเป็นลวดลายต่างๆ

matcha cream

หรือถ้าเป็นเสปรดชาเขียวที่ไว้ทานคู่กับขนมปังนั้นแค่นำผงชาเขียว 12 g นมจืด 50 ml นมจืด 150 ml วิปครีม 100 ml น้ำตาลทราย 40 g ผสมรวมกันในหม้อ เคี่ยวใช้ ’ไฟอ่อน 15 นาที สังเกตได้ว่าส่วนผสมจะลดลง 50% และมีความหนืดขึ้นั้นเอง

matcha custard

แต่ถ้าเป็นพวกไส้ชาเขียวลาวา วิธีทำเริ่มจากผสมผงเจลาติน 1 ½ ช้อนชา กับน้ำ  2 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากันแล้วพักไว้ จากนั้นตีไข่ไก่ 2 ฟอง น้ำตาล ½ ถ้วย และแป้งข้าวโพด 4 ช้อนโต๊ะ เข้าด้วยกัน แล้วพักไว้ ใส่นม 2 ถ้วย วิปปิ้งครีม  1 ถ้วย ผงชาเขียว  ¼ ถ้วย และเกลือ ½ ช้อนชา ลงไปในหม้อตั้งไฟอ่อน ใช้ตะกร้อมือคนให้เข้ากันจนผงชาเขียวละลายดี แล้วจึงเทส่วนผสมของไข่ไก่ตามลงไป คนจนส่วนผสมข้นขึ้นมา เมื่อส่วนผสมนมข้นขึ้นแล้วให้ปิดไฟ จากนั้นใส่เจลาติน และเนยที่เตรียมไว้ลงไปคนให้เข้ากัน นำไปพักในตู้เย็นจนกว่าจะเย็น นำมาใส่ขนมปัง ซาลาเปา หรือขนมที่ต้องการให้เป็นไว้ลาวาได้เลย ตัวนี้ที่เป็นไส้ลาวาได้เพราะมีการใช้เนยในการทำไส้นั้นเอง เวลาอุ่นร้อนๆ หั่นขนมออกมา มันจึงมีลักษณะไหลเยิ้มเป็นลาวา

หากใครมีสูตรขนมอื่นๆแล้วต้องการทำเป็นรสชาติชาเขียวแต่ไม่รู้จะเริ่มปรับยังไง อย่างเช่นมีสูตรไส้ช็อคโกแลต ก็สามารถเปลี่ยนผงโกโก้ ให้เป็นผงชาเขียวได้เลยในปริมาณที่เท่ากัน หรือถ้าใครที่อยากได้ความเข้มข้นหรือสีที่ชัดขึ้น ริ่มแรก ให้ลองแอดผงชาเขียวเข้าไปครั้งละ 2-5 กรัมก่อน เพื่อให้รสขมชาเขียวไม่โดดจนเกินไป หรือถ้าใครแพ้นมวัว ก็สามารถเปลี่ยนนมวัวเป็นนมถั่วเหลืองได้เช่นกัน ทีนี้เราก็จะปรับเปลี่ยนดัดแปลงขนมให้มีหลากหลายเอาใจ MATCHA LOVER กันได้ง่ายๆไม่ต้องพึ่งไส้สำเร็จที่อาจจะใส่สารกันบูด แต่งกลิ่น และใช้สีเขียวสังเคราะห์แทนผงมัทฉะแท้ๆ 🙂

ที่มา

https://www.proportionalplate.com/dalgona-matcha-latte/

http://www.matcha.my/Blog/matcha-milk-jam-recipe

https://www.oliveandartisan.com/การทำไส้ขนมจากผง Matcha

https://minimalistbaker.com/vegan-matcha-buttercream-frosting-1-bowl/

บทความจาก : Fuwafuwa

Unveiling the Unique Aroma of Genmaicha

ถ้าพูดถึงชาเขียวของญี่ปุ่น หลายคนคงนึกถึง “มัทฉะ” เป็นชื่อแรก เพราะ “มัทฉะ” เป็นชาเขียวชั้นดีที่นิยมใช้ในพิธีชงชาของชนชั้นสูงในญี่ปุ่น ด้วยกรรมวิธีการบดยอดอ่อนใบชาอย่างพิถีพิถัน จนได้รสชาติที่กลมกล่อม ส่วนชาเขียวอีกประเภทหนึ่งที่คนทั่วโลกนิยมดื่มกันมากที่สุด ด้วยรสชาติที่สดชื่น ดื่มง่ายอย่าง “เซนฉะ” แต่มีชาเขียวอีกหนึ่งประเภทที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยกลิ่นหอมที่แตกต่างจากชาประเภทอื่นของ “เก็นไมฉะ”

genmaicha genmaicha

เก็นไมฉะ ( 玄米茶: Genmaicha)  เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอยู่น้อยมาก ถือว่าน้อยกว่าชาเขียวประเภทอื่นๆเลยก็ว่าได้ จึงสามารถดื่มได้ทุกที่ทุกเวลา และทุกเพศทุกวัย แถมราคายังไม่แพงชงง่าย

เก็นไมฉะ แตกต่างจากชาเขียวประเภทอื่นที่เห็นได้ชัดอีกประการ คือ กลิ่นหอมที่เกิดจากการเบลนด์ชาร่วมกับข้าวคั่วนั่นเองเห็นได้จากสีของใบชาที่ไม่ได้มีสีน้ำตาลเหมือนสีข้าวคั่ว 100% และก็ไม่ได้เขียวมากเหมือนสีของใบชาเขียวปกติ แต่จะเป็นสีเหลืองทอง ที่เกิดจากข้าวคั่วที่นำมาผสมผสานกันในเก็นไมฉะ ข้าวที่ต้องคัดสรรสายพันธุ์ดีงามของญี่ปุ่น ผ่านกรรมวิธีการคั่วด้วยอุณหภูมิที่เหมาะสม แล้วมาตากแห้งและอบเข้ากับใบชา ในอัตราส่วน 1 : 1  ผสมผสานกันออกมาเป็นชากลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์หาไม่ได้จากชาเขียวประเภทอื่น รสชาติที่ฝาดกำลังดี หวานน้อย การดื่มเก็นไมฉะคู่กับเมนูอื่นๆ ก็นับเป็นตัวเลือกที่เข้ากันได้ดีทีเดียว

รสชาติที่ดีของเกนไมฉะ ส่วนนึงมาจากคุณภาพของข้าว มากกว่าคุณภาพของใบชา การนำข้าวกล้องไปคั่วต้องระวังอย่าให้แตก เหมือนกับป็อบคอร์น เรียกว่า “ข้าวตอก” เพราะถ้าแตกมากคุณภาพความอร่อยของชาขะลดลงเมื่อนำไปผสมกับชาเขียว

ส่วนคุณค่าทางสารอาหารก็มีเยอะไม่แพ้ชาเขียวประเภทอื่นๆ ไล่มาตั้งแต่เก็นไมฉะมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ช่วยในเรื่องปรับสมดุลระบบความดันโลหิต ช่วยลดความเสี่ยงจากมะเร็งและโรคหัวใจได้อีกด้วย

genmaicha

มีบางตำราที่เล่ากันว่าเกนไมฉะเกิดจากพ่อค้าชาชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง รู้สึกเสียดายข้าวหลังจากนำไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษ จึงนำมาคั่วแล้วนำมาผสมกับชานั่นเอง แต่ก็มีบางตำราเล่าว่ากิดขึ้นที่เมืองเกียวโต เมื่อพ่อค้าใบชาเขียวผู้มั่งคั่ง และเต็มเปี่ยมด้วยความคิดสร้างสรรค์ จับเอาวัตถุดิบต่างๆ มาผสมผสานเข้ากับใบชาเขียว เพื่อให้ได้ความพรีเมียมที่แปลกใหม่ วันหนึ่งพ่อค้าใบชาเขียวนึกสนุก จึงทดลองนำข้าวคั่วและใบชาเขียวมาลองชงดื่มดู จนได้มาซึ่งเก็นไมฉะที่มีทั้งกลิ่นและรสชาติไม่เหมือนใคร

ชาที่นำใบชาเขียว มาผสมกับข้าวกล้อง โดยข้าวกล้องที่นำมาผสมจะถูกนำไปนึ่ง แล้วนำมาผัดจนมีสีน้ำตาลอ่อน ผสมกับใบชาในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 นั่นคือเหตุผลหลักที่เวลาเราดื่ม” เกนไมฉะ ” (玄米茶: Genmaicha) หรือ “ชาข้าวกล้องคั่ว” จะได้กลิ่นหอมที่ไม่เหมือนชาเขียวประเภทอื่น นั่นเอง จริงๆแล้ว” เกนไมฉะ ” เป็นชาธรรมดา ราคาไม่แพง เวลาชง ต้องชงด้วยน้ำร้อน 100 องศาเซลเซียส ในเวลาเพียง 30 วินาที เพราะถ้าแช่นานไป ชาจะเริ่มมีรสชาติขมจนทานลำบาก

สำหรับวิธีการการต้มชาเขียวชนิดนี้ แนะนำให้ใช้น้ำร้อนที่มีอุณหภูมิประมาณ 80–85 ° C และใช้เวลาต้มชาที่ประมาณ 3-5 นาที หากต้มนานกว่านี้จะทำให้ชามีรสฝาดมากขึ้น

genmaicha

ที่มา

https://www.rishi-tea.com/product/gram-tin-genmai-matcha-organic-japanese-green-tea-blend/loose-leaf-tea

http://www.stocksy.com/22595

https://www.teasource.com/products/genmaicha-green-tea-blend

กลิ่นหอมที่แตกต่างของ “เก็นไมฉะ”บทความจาก : Fuwafuwa

How to ……. present TEA ?

ชาเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ด้วยรสชาติ กลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ และคุณประโยชน์จากสารอาหารในชา การดื่มชา ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก ทั้งอังกฤษ จีน ญี่ปุ่น หรือแม้แต่ที่ไทยเอง ซึ่งลักษณะการเสิร์ฟชาของแต่ละประเทศก็มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป เพราะรูปลักษณ์การนำเสนอ และเสิร์ฟชา แต่ละครั้งต้องอาศัยความละเอียดอ่อนในการชง บรรยากาศแวดล้อมในการนั่งดื่มชา ที่อาจจะต้องเพิ่มความสุนทรีย์ในการดื่มด้วยต้นไม้ ดอกไม้เพื่อผ่อนคลายความเครียดจากการทำงาน ร้านไม่ควรให้มีกลิ่นกับข้าวมารบกวนกลิ่นหอมของชา รวมไปถึงคุณภาพของภาชนะในการดื่มนั้นก็มีผลอย่างมากต่อระดับของอร่อยและความประทับใจของผู้ดื่มเช่นกัน

tea set tea set

การเสิร์ฟด้วยถ้วยเซรามิคที่หยาบและหนานั้นจะทำให้เกิดผลที่แตกต่างอย่างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับชาแบบเดียวกันที่เสริฟในพอร์เซเลนที่ดี โบนไชน่า หรือ แก้ว หรือการนำเสนอชาที่หลายคนอาจจะลืมคิดไป คือ การนำเสนอในสามด้าน นั้นคือ การมองเห็น กลิ่น และ รสชาติเพื่อให้แขกได้สัมผัสผ่านทางประสาทสัมผัสให้ครบถ้วน บางร้านจึงมีรูปแบบการเสิร์ฟที่นำเสนอที่แตกต่างกันไป เช่น ให้ลูกค้าดริปชาเอง เสิร์ฟทั้งกาชาเพื่อให้ชุดชา เป็นอีกองค์ประกอบที่ทำให้ภาพถ่ายของลูกค้ามีความน่าทานมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตามถ้าร้านไหนอยากเสิร์ฟชาเป็นแก้วๆให้ลูกค้า แนะนำเป็นการชงสดๆร้อนๆใหม่ๆทุกครั้ง และเพิ่มอรรถรสในการดื่มชาให้ลูกค้าด้วยการเดินมารินชาให้ลูกค้าที่โต๊ะ จะทำให้ลูกค้าได้สัมผัสถึงกลิ่นของชาอย่างชัดเจนในขณะที่รินชา ดีกว่าเทจากหลังร้าน กว่าจะยกมาเสิร์ฟลูกค้า สุนทรียะของการดื่มชาก็ลดลงไปอย่างน่าเสียดาย

tea set

หากใครยังไม่มีไอเดียว่าจะเสิร์ฟชารูปแบบไหนดี ลองดูก่อนว่า ชาที่ร้านของคุณเป็นชาสไตล์ไหน

  1. การเสิร์ฟชาสไตล์อังกฤษคนอังกฤษนิยมดื่มชาดำเป็นหนึ่งในชาที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ซึ่งสามารถเสิร์ฟชาจากแก้วได้เลย แต่หากต้องการอารมณ์ของการจิบชาแบบอังกฤษแท้ๆ ควรเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม ได้แก่ กาน้ำชา (กาน้ำชาจีนหรือเซรามิค) ถ้วยชาพร้อมจานรอง โถน้ำตาล เหยือกครีม กาต้มน้ำ ถ้วยสำหรับทิ้งน้ำชาหรือใบชาที่เหลือ และจานของว่าง

โดยปกติเวลาดื่มชาของอังกฤษมักจะเริ่มประมาณ 4 โมง หากที่ร้านอยากเสิร์ฟเป็นเซ็ต Afternoon Tea ที่เสิร์ฟชาคู่กับของว่าง สามารถเสิร์ฟชาได้ตลอดเวลาตั้งแต่ บ่าย 2-5 โมง Afternoon tea ดั้งเดิมมักทานคู่กับแซนด์วิชชิ้นเล็กๆ สโคน และขนมอบหลากหลายชนิด อัลมอนด์ชอร์ตเบรด ชีสเค้ก มาการอง บิสกิต หรือเค้กกล้วยหอมก็ได้

หาร้านไหนอยากเสิร์ฟพร้อมกับนม น้ำตาล หรือเลม่อน แนะนำเป็นให้จัดวางเรียงแยกไปในชุดน้ำชา เพื่อให้ลูกค้าสนุกและเปิดประสบการณ์กับการเติมส่วนผสมที่แตกต่างกันเพื่อให้ได้รสชาติตามชอบ แต่ไม่แนะนำให้เติมเลมอนและนมพร้อมกัน เพราะกรดซิตริกของมะนาวจะทำให้โปรตีนในนมแข็งเป็นก้อน ลำดับที่แนะนำ คือ เทชาก่อน เติมน้ำตาล แล้วค่อยวางมะนาวลงบนชาเบาๆ เป็นอันดับสุดท้าย

Afternoon tea afternoon tea

นอกจาก Afternoon Tea แล้ว ยังมี High Tea นิยมจิบชากันประมาณ 5 โมงเย็น ถึง หนึ่งทุ่ม อาหารที่เสิร์ฟคู่กับชาเวลานี้ จะเป็นอาหารที่หนักกว่า Afternoon Tea เช่น อาหารจานร้อนชนิดหนึ่ง ขนมปัง มันฝรั่ง ผัก ชีส เนื้อ สตูว์ มัฟฟินแบบชาวเวลส์ พายหรือไข่เจียว นั่นเอง

ลองดูว่าถ้าร้านของคุณเป็นร้านชาสไตล์อังกฤษ การจัดชุดเมนู ชาแบบ Afternoon Tea และ High Tea ก็เป็นชุดเมนูที่น่าสนใจดึงดูดลูกค้าได้ดีทีเดียว

  1. การเสิร์ฟชาสไตล์ญี่ปุ่นเชื่อว่าหลายคนคงจะคุ้นเคยกับการเสิร์ฟแบบสไตล์ญี่ปุ่นอยู่แล้ว ที่เน้นความเรียบง่ายของดีไซน์ภาชนะที่ใช้ในการเสิร์ฟ ขนมที่นิยมเสิร์ฟด้วยก็นิยมเป็นขนมชิ้นเล็กเช่นเดียวกัน ที่เรียกว่า วากาชิ ซึ่งคนญี่ปุ่น นิยมทานขนมให้หมดก่อนถึงจะนำชามาเสิร์ฟ แต่ถ้าร้านไหนต้องการเพิ่มความเป็นญี่ปุ่นเข้าไป อาจจะมีมุมเล็กๆของที่ร้าน หรือที่เคาน์เตอร์บาร์ ที่โชว์การชงชาตามพิธีดั้งเดิมของญี่ปุ่นโดยใช้ฉะชะขุในการตักผงชา ใช้ฉะเซ็นในการตีผงชาให้ละลาย และมีการหมุนถ้วยชาก่อนดื่มอย่างที่เรานิยมเห็นตามรายการท่องเที่ยวญี่ปุ่นนั่นเอง

บางร้านหากไม่เชี่ยวชาญเรื่องวัฒนธรรมในการชงชามากนัก มักเปิดเพลงบรรเลงในร้านสไตล์ญี่ปุ่น หรืออาจะมีเสียงน้ำไหลเบาๆ เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นนั่นเอง

Japanese tea Japanese tea

แล้วการเสิร์ฟชาที่ร้านคุณเป็นแบบไหน ลืมจุดสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามไปของ เอกลักษณ์ชา ไปรึเปล่า ลองใช้เวลาว่างสักวัน ดื่มด่ำการชาที่คุณชอบ อาจจะได้ไอเดียที่จะ PRESENT ชาในแบบของคุณได้นะ ^^

ที่มา

http://casatreschic.blogspot.com

http://thecharmofhome.blogspot.com

https://thestrawberrynight.tumblr.com

http://teaismycupoftea.tumblr.com

Kinarino.jp

บทความจาก : Fuwafuwa

ถุงชาอันตรายจริงหรือ…… ?

ชาที่เราซื้อตามซุปเปอร์เพื่อมาชงทานเองที่บ้าน มีทั้งแบบใบ ให้เรามาใส่ที่กรองชาเอง สำหรับคนที่ชื่นชอบการชงชาเองและมีเวลาในการพิถีพิถันดื่มด่ำกับการดื่มชา แต่ถ้าสายเร่งด่วน ขอสะดวกไว้ก่อนก็จะนิยมซื้อชาแบบที่แพ็คในถุงชา ที่จะมีเชือกยาวๆห้อยออกมาพร้อมติดแท็กโลโก้แบรนด์ เพียงแค่นำถุงชานั้นมาใส่น้ำร้อนแล้วก็ทิ้งไว้ ก็จะได้ดื่มด่ำกับชาอุ่นๆเข้มข้น

ถุงชา

แต่ช่วงหลังๆมาที่ทุกคนเริ่มหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ถึงกับมีงานวิจัยออกมาเลยว่า ถุงชาพลาสติก 1 ใบ ปล่อยไมโครพลาสติก 11.6 พันล้านอนุภาค และปล่อยนาโนพลาสติกซึ่งขนาดเล็กจิ๋วยิ่งกว่า อีกจำนวน 3.1 พันล้านอนุภาค คิดรวมเป็นปริมาณละอองพลาสติกประมาณ 16 ไมโครกรัมต่อชา 1 แก้ว เป็นปริมาณที่สูงกว่าการปนเปื้อนพลาสติกในอาหารทุกชนิดที่เคยมีการรายงานก่อนหน้านี้ แม้จะยังไม่มีรายงานถึงผลของการกินไมโครพลาสติกเข้าไป แต่เพื่อสุขภาพที่ปลอดภัย และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยแล้ว ควรเริ่มจากการสังเกตง่ายๆว่าถุงชาแบบไหนที่ไม่ควรใช้

tea bag

ถุงชาพลาสติกที่มีเนื้อผ้าตาข่ายดูวาวๆ ส่วนใหญ่เป็นถุงทรงปิระมิดฐานสามเหลี่ยม เป็นถุงชาที่ไม่ควรใช้เลย ถ้าจำเป็นต้องใช้ถุงชาจริงๆ แนะนำให้เลือกแบบถุงสีขาวที่ดูคล้ายกระดาษ ซึ่งอาจจะหายากหน่อยในท้องตลาดบ้านเรา ถ้าเป็นไปได้ แนะนำให้ใช้การชงด้วยการกรองใบชาออกด้วยที่กรองแสตนเลสที่มีให้เลือกหลายรูปแบบ หลายขนาดตามปริมาณใบชาที่ต้องการชง ล้างซ้ำใช้ได้บ่อยเท่าที่ต้องการ หรือถ้าใครยังเคยชินกับการชงชาโดยใช้ถุงชา แนะนำให้หาซื้อเฉพาะถุงชากระดาษ 100% ที่ไม่ฟอกขาว แล้วซื้อใบชาเป็นห่อใหญ่ๆมาตักใส่ถุงชาเองอีกวิธีคือถุงกรองชาชนิดผ้ากรองเศษใบชาเล็กๆ ได้ดีกว่าตะแกรงกรองสเตนเลส แถมยังล้างตะกอนใบชาออกง่าย และใช้ซ้ำได้นานหลายรอบเช่นกัน

ตะแกรงร่อนชา

อย่างไรก็ตามใครที่ใช้ถุงชากระดาษเสร็จแล้ว อย่าเพิ่งเอาไปทิ้งทันทีนะ เพราะมันยังมีประโยชน์มากกว่าที่คิด เช่น

  • ถุงชาที่ใช้แล้วรองก้นกระถาง โดยวางปิดไว้ที่รูระบายน้ำ จากนั้นก็ค่อยเทดินและปลูกต้นไม้ลงไป ถุงชาก็จะช่วยรักษาความชื้นและน้ำในดินเอาไว้ ไม่ให้ระบายออกมาเร็วเกินไป แถมยังเป็นการเพิ่มสารอาหารให้กับดินไปพร้อมกันด้วย
  • กลิ่นติดมือที่ใช้สบู่ล้างไม่ออก ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นกระเทียมหรือหัวหอมก็กำจัดไม่ยาก โดยนำถุงชามาถูมือให้ทั่ว ทั้งฝ่ามือและตามซอกนิ้ว จากนั้นก็ใช้สบู่ล้างมือตามปกติ เพียงแค่นี้กลิ่นเหม็นก็หายไปแล้ว
  • เอาถุงชาที่ใช้แล้วนำไปตากแห้ง แล้วใส่ทิ้งไว้ในรองเท้า 1 คืน ก็ไม่เหลือกลิ่นเหม็นจากรองเท้าให้กังวลอีกต่อไป
  • หย่อนถุงชาที่ใช้แล้ว 2-3 ถุงลงไปในอ่างจานล้างจานที่แช่จาน แล้วทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที ถุงชาก็จะช่วยดักจับคราบมันเอาไว้ แค่ล้างตามปกติ จานที่มีคราบมันมากๆก็จะกลับมาสะอาดวิ้ง
  • หยดน้ำมันหอมระเหยกลิ่นเปเปอร์มินต์ลงไป แล้ววางไว้ตามกล่อง ลิ้นชัก ตู้เก็บของ หรือบริเวณที่มักจะมีแมลงมาทำรัง ก็ช่วยป้องกันไม่ให้สัตว์อันตราย เช่น มดหรือแมงมุม กลับมาอีก
  • แก้ปัญหาตาบวม เนื่องจากชามีสารแทนนินที่มีคุณสมบัติสามารถลดอาการบวมได้ ดังนั้น หลังจากที่เราใช้ถุงชาเสร็จแล้ว ควรนำถุงชาที่กำลังอุ่นๆ อยู่นั้นมาวางแปะลงบนเปลือกตาประมาณ 5-10 นาที อาการตาบวมก็จะค่อยๆ บรรเทาลงและหายไปได้
  • บรรเทาอาการแสบร้อนจากแสงแดด เพียงนำถุงชาไปแช่ตู้เย็นสักครู่เพื่อให้ความเย็น จากนั้นนำมาประคบลงบนผิวที่มีอาการแสบร้อน นอกจากผิวที่ได้รับความแสบร้อนจากแดดเผาแล้ว การที่ผิวของเราไปถูกความร้อนอย่างอื่นมาก็สามารถใช้ถุงชาเย็นๆ มาประคบได้เช่นเดียวกัน

ที่มา

https://theherbalacademy.com/free-ebook-herbal-tea-throughout-the-seasons/

http://katescreativespace.com/2012/09/09/tea-with-a-twist/

https://www.sanook.com/women/79957/

บทความจาก : Fuwafuwa

ช้อนไม้ไผ่ Chashaku (茶杓) จำเป็นจริงหรอ?

ช้อนตักผงชามัทฉะ หรือที่เรียกว่า Chashaku (茶杓)มีที่มาจากในสมัยก่อนช่วงที่ชาเขียวจากจีนถูกนำเข้ามาสู่ญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นใช้ช้อนตักชาที่ทำจากงาช้าง นำเข้าจากประเทศจีน แต่พอเข้าสู่ช่วงหลังๆมา ช้อนตักชาที่ทำจากไม้ไผ่ปลายดัดก็เริ่มมีปรากฏให้เห็น โดยมีการคาดกันว่าผู้ที่คิดค้นรูปร่างฉะชะขุแบบในปัจจุบันขึ้นมา คือ มุราตะ จุโค ผู้พัฒนาพิธีชงชาแบบเซนเป็นคนแรก ซึ่งเหตุผลที่เลือกใช้ไม้ไผ่แทนงาช้าง เพราะว่า ต้องการให้ช้อนตักผงชานั้นมีความเรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อหรูหราแบบงาช้าง เพราะนิกายเซน มีพื้นฐานแนวคิดอย่างเรียบง่ายมาจากศาสนาพุทธแบบเซนนั่นเอง

ChashakuChashaku

ลักษณะที่ดีของ Chashaku ส่วนมากจะทำจากไม้ไผ่ มีปลายช้อนกว้าง 1 ซม. เพื่อให้การตักผงชา 1 ครั้งได้ในปริมาณที่เหมาะสม คือ ประมาณ 1 กรัม ซึ่งในพิธีชงชาจะใช้ชา 2 กรัม กล่าวคือ ตักชาด้วย Chashaku 2 รอบนั่นเองโดยไม่ต้องผ่านการใช้เครื่องชั่ง นอกจากนี้ตัวด้ามควรยาว 19 ซม. เป็นความยาวที่พอดีกับการใช้ในพิธีชงชาของญี่ปุ่น

ChashakuChashaku

การตักผงชาเขียวเพื่อชงชานั้น จริงๆสามารถใช้ช้อนสแตนเลส หรือช้อนประเภทอื่นได้เช่นกัน ไม่จำเป็นจะต้องใช้ Chashaku ก็ได้ แต่จะเห็นว่าหลายๆร้านคาเฟ่ และตามพิธีชงชาของญี่ปุ่นเอง จะนิยมใช้ Chashaku เพราะด้วยคุณสมบัติของไม้ไผ่ ที่เมื่อสัมผัสกับผงชาเขียวแล้ว จะทำให้รสชาติคงที่ และด้วยปริมาณชาที่ Chashaku สามารถตักได้ในแต่ละครั้งนั่นเอง นอกจากนี้ไม้ไผ่ของช้อน Chashaku ยังทำให้สรรพคุณสารอาหารต่างๆของชาเขียวคงเดิม ใช้งานง่ายด้วยการใช้ผ้าแห้ง หรือทิชชู่เช็ดบริเวณปลายช้อนให้แห้งก่อนเก็บเข้ากล่อง ไม่ควรล้างด้วยน้ำเปล่า และ Chashaku ยังทำให้รู้สึกถึงความเป็นญี่ปุ่นแท้ๆนั่นเอง อย่างไรก็ตามช้อน Chashaku นี้มีไว้สำหรับการตักผงชาเท่านั้น ไม่ได้มีไว้สำหรับตักใบชาประเภทอื่นๆ

Chashaku

แต่ในปัจจุบันนี้ช้อน Chashaku ได้มีการผลิตด้วยวัสดุอื่นเพิ่มมากขึ้นนอกจากไม้ไผ่ ตามกาลสมัยที่เปลี่ยนไป เช่น แสตนเลส โลหะ หรือไม้เนื้อแข็งประเภทอื่นๆ ซึ่งช้อนที่ทำด้วยโลหะ จะมีปลายช้อนที่กลมคล้ายกับช้อนชาทั่วไปที่เราใช้ทำขนมกัน แต่ก็ต้องเลือกให้ดีเพราะบางครั้งอาจจะทำให้ตักชาได้ในปริมาณที่ไม่คงที่

ที่มา

https://www.edenfoods.com/store/matcha-spoon.html

https://oideyasu.tumblr.com/post/64615700994

https://www.taketora.co.jp/fs/taketora/sa00235

https://www.pinterest.com/pin/353110427034464612/

บทความจาก : Fuwafuwa

3 ขนมยอดนิยมของคนญี่ปุ่น ที่ชอบทานคู่ชาเขียว

การกินชาเขียวให้อร่อย หลายคนคงทราบอยู่แล้วว่าคนญี่ปุ่นนิยมทานคู่กับขนมหวานญี่ปุ่น หรือที่เรียกว่า วากาชิ แม้ว่าที่จริงแล้วในพิธีชงชามีขนมอื่น ๆ อีกมากมายที่สามารถทานคู่ชาเขียวได้ แต่ขนมที่ติดอันดับคนนิยมกินคู่กับการดื่มชาและคนไทยรู้จักกันดี ได้แก่

วากาชิวากาชิ

อันดับ 1 คือ ไดฟุกุขนมแป้งโมจินุ่มหนึบที่พิเศษด้วยไส้ที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นไส้ชาเขียวลาวา ไส้ชาเขียวถั่วแดง บางเจ้าก็ใส่ผลไม้เข้าไปด้วยเพื่อเพิ่มรสชาติความอร่อย ขนมรสชาติออกหวาน ได้ชาเขียวร้อนๆเสิร์ฟคู่กัน เป็นความอร่อยที่ลงตัว

Daifuku Daifuku

ส่วนใครที่อยากลองปั้นขนมไดฟุกุเอง เสิร์ฟคู่กับชาที่ร้าน เพิ่มสไตล์ความเป็นญี่ปุ่นให้กับเมนูในร้านสามารถทำได้เองง่ายๆ และต่อยอดเปลี่ยนรสชาติแป้งได้ฟุกุ หรือไส้ได้ตามชอบ

 

 

เมนู ไดฟุกุชาเขียว สตอเบอรี่

  1. แป้งข้าวเหนียว 100 กรัม
  2. แป้งมัน 20 กรัม ( สำหรับทำแป้งนวล )
  3. ผงมัทฉะ 10 กรัม
  4. น้ำตาลทราย 50 กรัม
  5. น้ำเปล่า 150 มล.
  6. ถั่วขาวกวนสำเร็จ  200 กรัม + ผงชาเขียว 5 กรัม
  7. สตรอเบอร์รี่

วิธีทำ

  1. แป้งข้าวเหนียว, ผงมัทฉะ, น้ำตาลทราย ผสมให้เข้ากัน ในภาชนะที่เข้าไมโครเวฟได้ ค่อยๆเติมน้ำผสมจนแป้งไม่เป็นเม็ด ลักษณะจะเหลวข้น
  2. นำส่วนผสมแป้งเข้าไมโครเวฟ โดยใช้พลาสติกแรพไว้ หรือ หา ภาชนะปิดไม่ให้แป้งหน้าแห้ง ใช้ไฟแรงสุดนาน 3 นาที นำออกมาเกลี่ยทุกๆ 1 นาที สังเกตแป้ง ถ้าสุกจะเปลี่ยนเป็นแป้งใส และจะจับตัวเป็นก้อน
  3. นำแป้งที่กวนสุกแล้ว คลุกกับแป้งนวล ตัดแบ่งให้เท่าๆกัน แผ่แป้งให้เป็นแผ่นกลม ใส่ไส้ถั่วขาวที่ผสมกันกับผงชาเขียวเป็นเนื้อเดียวกันที่ห่อลูกสตรอเบอร์รี่ไว้ ปั้นเป็นก้อนกลม คลุกแป้งนวลเพื่อไม่ให้ไดฟุกุติดกัน เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

โดยปกติของการเสิร์ฟไดฟุกุ จะมีไม้เล็ก ๆ หรือที่เรียกว่า คุโระโมจิ (黒文字)ก็จะเป็นสัญลักษณ์ว่า ให้ทานขนมโดยการตัดแบ่งให้พอดีคำก่อนทานส่วนใหญ่จะเป็นขนมชิ้นไม่ใหญ่มากตัดได้ประมาณ 3-4 ครั้ง นั่นเอง

เซมเบ้

ต่อมาอันดับ 2คือ เซมเบ้ ขนมข้าวกรอบที่มีหลายรูปทรง ขนาด และรสชาติ โดยปกติแล้วจะเป็นรสเค็ม(เป็นรสชาติของโชยุ)​ แต่รสหวานก็มีให้เห็น ส่วนใหญ่แล้วเซ็มเบจะรับประทานคู่กับชาเขียว เป็นขนมและจัดให้แขกที่มาเยี่ยมเยียนที่บ้านนั่นเอง โดยปกติแล้วเซ็มเบจะทำโดยการอบ หรือย่างถ่านแบบดั้งเดิม ระหว่างปรุงอาจมีการทาเซ็มเบด้วยซอสปรุงรส ซึ่งส่วนมากทำจากซอสถั่วเหลืองและมิริน จากนั้นอาจห่อด้วยสาหร่ายและปรุงด้วยเกลือ การเสิร์ฟเซมเบ้คู่กับชานั้นจะไม่มีไม้คุโระโมจิเหมือนอย่างไดฟุกุ จะเป็นที่รู้กันว่าให้ใช้มือทานได้เลยไม่เสียมารยาทนั่นเอง

ดังโงะดังโงะดังโงะ

มาถึงอันดับ 3 คือ ดังโงะ  ขนมญี่ปุ่นที่ทำโดยการนำแป้งข้าวเจ้ารสชาติหวานอ่อนๆมาปั้น แล้วต้ม บางครั้งก็ทานโดยการราดด้วยซอสโชยุหวาน ถั่วแดงกวน หรือชาเขียว หรือบางที่ก็นำไปย่างไฟอ่อนๆ ก่อนมาทานคู่กับซอสต่างๆ เพื่อเพิ่มกลิ่นให้น่าทานยิ่งขึ้น ขนมดังโงะสามารถดัดแปลงได้หลายรสชาติ และเสิร์ฟด้วยการเสียบไม้ก่อนเพื่อย่างหรือราดซอสอยู่แล้ว สามารถหยิบทานได้ง่ายสะดวก จึงกลายเป็นขนมที่คนญี่ปุ่นนิยมรับประทานคู่กับชาเขียว และจะมีรสชาติอร่อยที่สุดเมื่อทานคู่กับชาเขียวเรียวคุฉะว่ากันว่าในญี่ปุ่นเองมีการนำแป้งข้าวเจ้ามาทำอาหารตั้งแต่ในอดีต ซึ่ง Mitarashi dango นี้ได้มาจากฟองอากาศที่เกิดขึ้นตอนกรองน้ำบริสุทธิ์จากบ่อน้ำมิตาราชิ ซึ่งไหลอยู่บริเวณทางเข้าศาลเจ้าชิโมะกาโมะ มิตาราชิดังโกะ ในสมัยก่อนเสียบดังโงะ 5 ลูกต่อไม้ โดยดังโงะลูกบนสุดหมายถึงหัว 2 ลูกถัดมาหมายถึงแขน ส่วนอีก 2 ลูกหมายถึง ขา ถ้าเกิดนำดังโงะไปถวายเทพเจ้า มีเชื่อว่าจะกลายเป็นตัวแทนช่วยรับเคราะห์ร้ายแทนเจ้าตัวนั่นเอง

หากร้านไหนอยากลองทำดังโงะเองที่ร้านก็สามารถทำได้ วิธีทำคล้ายกับการปั้นบัวลอยบ้านเราเลยทีเดียว

วัตถุดิบ ได้แก่ เต้าหู้ขาว 250 กรัม แป้งข้าวเจ้า (หรือแป้งโมจิ) + น้ำตาล 200 กรัม

วิธีทำแสนง่าย :ก่อนอื่นให้ใช้มือนวดผสมเต้าหู้และแป้งข้าวเจ้าเข้าด้วยกัน ให้แป้งมีความนุ่มกำลังดี ไม่นิ่มและไม่แข็งจนเกินไป หลังจากนั้นปั้นเป็นก้อนกลม ต้มน้ำในหม้อขนาดใหญ่จนเดือดและใส่ดังโงะก้อนกลมลงไป ต้มไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะลอยขึ้นมา เมื่อลอยขึ้นมาเหนือผิวน้ำแล้วให้ต้มต่อไปอีกประมาณ 2 – 3 นาทีและตักออกมาพักไว้บนจานรองกระดาษ นำไปเสียบไม้ ทานคู่ซอส หรือย่างไฟอ่อนๆก่อนก็ได้ตามชอบ เสิร์ฟคู่ชาเขียวร้อนของที่ร้าน รับรองว่าลูกค้าที่มาที่ร้านต้องรู้สึกเหมือนได้ไปญี่ปุ่นแน่นอน

ที่มา

https://www.pinterest.com/pin/325807354293426536/

https://moichizen.exblog.jp/13348925/

https://www.pinterest.com/pin/14707136267674817/

https://www.japancentre.com/en/recipes/1669-matcha-ganache-filled-strawberry-daifuku

บทความจาก : Fuwafuwa

What Causes Tea to Form Sediment as It Cools?

เคยทานชาเขียวแล้วมีผงชาเขียวนอนก้นเป็นตะกอนกันมั้ยคะ?

ตะกอนที่เห็นอยู่นั้นแท้จริงแล้ว คือ ผงชาที่ละลายไม่หมด เป็นผลมาจากการชงที่ไม่ดีส่วนนึง เพราะผงมัทฉะที่ดีจะค่อนข้างละเอียดมาก ไม่สามารถละลายได้หมดด้วยน้ำร้อนจากการใช้ช้อนคนธรรมดา แต่ควรใช้แปรงชา หรือที่เรียกว่า ฉะเซ็นในการชง จะทำให้ละลายได้ง่ายกว่า หรือถ้าร้านไหนที่ไม่มีฉะเซ็น สามารถลองใส่พวกกระบอกเชคเกอร์ หรือใช้ตระกร้อมือคนแทนก็พอคนให้ผงชาละลายได้อยู่

ตะกอนชา

อย่างไรก็ตามในการบางครั้งที่ใช้ฉะเซ็นในการชงแล้ว บางคนอาจจะพบว่า เมื่อทิ้งไว้ระยะหนึ่งก็จะเกิดการแยกชั้นได้ ไม่เว้นแม้กระทั่งชาเขียวที่บรรจุขายทั่วไป เราจะได้เห็นข้างขวดเขียนไว้เสมอว่า “อาจมีตะกอนตามธรรมชาติ ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย” จึงถือว่าเป็นเรื่องปกติมากที่ชาแต่ละขวดหลังจากชงแล้วอาจจะมีตะกอนหลุดรอดออกมานั่นเองMatcha Matcha

พูดถึงตัวผงฝุ่นในชาเป็นผลมาจากการตกตะกอน ซึ่งเรียกว่า ‘ครีมชา’ จะเกิดขึ้นเมื่อชามีอุณหภูมิเย็นลงต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส สารประกอบในชา อย่างระหว่างคาเฟอีนและโพลีฟีนอลจะจับตัวกันอย่างอ่อนๆ ซึ่งหากชาเมนูไหนที่มีการใส่นม ก็จะเกิดปฏิกิริยาระหว่างโปรตีนในนม และ โพลีฟีนอลต่างๆ มีผลให้เกิดตะกอนมากขึ้นนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม การผสมชาและน้ำใหม่ที่ต้มแล้วเข้าด้วยกัน จะทำให้ใบชาตกตะกอนอยู่ด้านล่างของกาที่ใช้ชงชาได้เช่นกัน เพื่อเป็นการลดการสัมผัสระหว่างใบชาและน้ำ แนะนำให้ทำการคนชาทุกครั้งเพื่อกระตุ้นชาและทำให้มีการละลายที่เหมาะสม

กรณีที่ชาของบางร้านไม่ตกตะกอนเลย จึงอาจเป็นที่น่าสงสัยได้ว่า ร้านนั้นไม่ได้ใช้ผงมัทฉะจริงๆ แต่ อาจจะเป็นการใช้เป็นไซรัปรสชาเขียวแทน หรืออาจใช้ผงชงสำเร็จรูปเพื่อลดระยะเวลาในการชง ซึ่งทำให้ราคาก็จะลดหลั่นกันไปตามวัตถุดิบที่ใช้นั่นเอง

นอกจากตะกอนที่มักเกิดที่ก้นถ้วยแล้ว ในบางครั้งจะเจอกรณีที่กากชา หรือ ใบชาสีเข้ม ที่ลอยอยู่ด้านบนของชาที่ชงแล้วแทนนอนก้น กรณีดังกล่าว เป็นผลของส่วนประกอบน้ำหนักโมเลกุลที่สูง เกิดจากแคลเซียม และ ไบคาร์บอเนตไอออน ที่ผิวหน้าของน้ำ ตามปกติแล้ว กากชาจะเกิดขึ้นในชาที่มีความเข้มข้นสูง อย่างไรก็ตามการบริโภคกากชา หรือตะกอนชาที่มีปริมาณน้อยกว่า 1 มิลลิกรัมของกากชาที่เกิดขึ้นในถ้วยชานั้น จะไม่เป็นอันตรายใดๆต่อสุขภาพของผู้ดื่ม

Matcha Matcha

ที่มา

https://japanesegreenteaonline.com/

https://www.stylecraze.com/trending/tea-drinks-for-weight-loss/

http://www.honannchasou.net/shihou_18.html

บทความจาก : Fuwafuwa

The Art of Designing Beverage Packaging to Delight Your Customers

เคยสงสัยมั้ยว่าสินค้าดีมีคุณภาพ บางทีก็อาจจะไม่ดึงดูดใจลูกค้า เพราะในยุคสมัยนี้ Packaging เป็นอีกเรื่องที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญไม่แพ้กัน ยิ่งช่วงนี้ผู้บริโภคหันมาสั่งอาหารดิลิเวอรี่กันมากขึ้น ขวดบรรจุชาพร้อมดื่ม ที่ไว้ใส่เครื่องดื่มให้ลูกค้าที่สั่งดิลิเวอรี่ จึงกลายเป็นอีกสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญไม่แพ้คุณภาพและรสชาติของชาขวดนั้นๆ

matcha package

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบขวดชาพร้อมดื่ม

1. ขวดชาต้องมีเอกลักษณ์ ง่ายต่อการจดจำจะทำให้สินค้าของเราโดดเด่นออกมาจากสินค้าชนิดเดียวกันที่อยู่ตามท้องตลาด อาจใช้สีในการแบ่งแยกประเภทชา เช่นชาเขียว ขวดสีเขียว ชาโฮจิฉะ ชวดสีเทา ชาอู่หลงขวดสีเหลือง หรือการใช้รูปทรงของฉะเซ็นที่ช่วยให้ลูกค้าจำและนึกถึงชาของที่ร้านได้ง่ายขึ้น เป็นต้น

matcha packaging

2. ขวดต้องเปิดง่าย ใช้งานได้สะดวก หลายครั้งที่บรรจุภัณฑ์มีฟังก์ชันและลูกเล่นที่โดดเด่น น่าสนุก แต่กลับต้องเสียกลุ่มลูกค้าไปเพราะใช้งานยาก ขนส่งแล้วหก ถือแล้วเปื้อนมือ จะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าสินค้าของเรานั้นเป็นภาระนั่นเอง

3. อย่าลืมเรื่องราวของแบรนด์และสินค้าไม่ว่าจะเป็นแนวคิด แรงบันดาลใจ ภูมิหลัง ถือเป็นกิมมิคเล็กๆ ที่จะช่วยสร้างการรับรู้และทำให้ผู้บริโภครู้จักแบรนด์และสินค้าของเราได้ลึกซึ่งยิ่งขึ้นเอาเรื่องราวมาสร้างสรรค์ด้วยกราฟฟิคดีไซน์บางจุด อาจจะเป็นการใช้ไอค่อนเล่าเรื่องราว หรือเป็นการติดแท็กเพิ่มเติมที่ขวด ก็ช่วยให้ลูกค้าอินไปกับสินค้าเราได้มากขึ้น แทนการเขียนทุกอย่างลงบนขวดชา

tea packaging

หลังจากที่คำนึงถึงเรื่องราวนี้แล้ว มาดูในเรื่องของเทรนด์การออกแบบบ้าง

1. Simple or Minimalน้อยแต่มาก เรียบแต่โก้ เป็นหนึ่งเทรนด์การออกแบบบรรจุภัณฑ์มาแรงที่เอาชนะใจลูกค้าได้อย่างดีเยี่ยม เทรนด์นี้เป็นที่นิยมในกลุ่มคาเฟ่ และร้านขนมช่วงนี้ ดีไซน์ที่ขาวสะอาด สีสันสบายตา มีภาพและตัวอักษรน้อยๆ ออกแบบอย่างเรียบง่าย แต่อัปโหลดลงอินสตาแกรมได้อย่างมีสไตล์ สามารถครองใจลูกค้ายุคนี้ได้แน่นอน

green tea package

2. Collaboration เป็นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ผ่านการร่วมมือกันของแบรนด์ 2 แบรนด์ โดยการนำโลโก้หรือจุดเด่นของแบรนด์นั้นๆ มารวมกันไว้บนบรรจุภัณฑ์เกิดเป็นดีไซน์ใหม่ที่น่าสนใจ อย่างเช่น การให้นักวาดภาพ illustor ชื่อดัง มาช่วยสร้างสรรค์ผลงานบนขวดชา หรืออย่างที่พบเห็นได้บ่อยในบ้านเราจะเป็ฯ น้องมะม่วง ที่มักจะไปโลดแล่นบนผลิตภัณฑ์ต่างๆนั้นเอง แต่ทั้งนี้ ก็อย่าลืมที่จะเลือกการ Collab ให้เหมาะกับสินค้าของทางร้านด้วย

3. Intelligent Packagingคือการนำเอาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมาใช้ในการออกแบบ เช่น การใส่ QR code ลงไปเพื่อสแกนดูรายละเอียดของสินค้า หรือการใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะช่วยให้บรรจุภัณฑ์เปลี่ยนสีเมื่ออาหารใกล้ถึงวันหมดอายุ ซึ่งในไทยมีการใช้นวัตกรรมนี้ค่อนข้างน้อย จึงสามารถเพิ่มโอกาสทางการตลาดได้ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว

4. Personalized packaging เป็นการให้ลูกค้าออกแบบบรรจุภัณฑ์นั้นๆได้เอง เช่น สามารถเขียนข้อความลงไปได้ หรือวาดรูปลงไปเองได้ เพื่อให้ชาขวดนั้นๆ มีความแตกต่างและแสดงความรู้สึกของลูกค้าคนนั้นๆได้

matcha design package

เพราะการได้ซื้อของที่มีแพคเกจที่สวย เหมาะกับการถ่ายรูปลงโซเชียลนั้น นอกจากจะทำให้สินค้านั้นมี Value มากขึ้นในการที่จะส่งมอบให้คนอื่นๆในเทศกาลต่างๆแล้ว ยังเป็นการบอกต่อของผู้บริโภคด้วยกันเองโดยที่ทางร้านไม่ต้องเสีย Budget ในการทำการตลาดเลย

matcha bottle

ที่มา

https://www.pinterest.com/pin/542894930081180183/

https://www.pinterest.com/pin/628955904180276261/

https://www.packagingoftheworld.com

บทความจาก : Fuwafuwa

 

Matcha Magic: Crafting Exquisite Green Tea Donuts for Every Occasion

จะเห็นว่าช่วงนี้เทรนด์โดนัทกำลังมา หลายๆร้านเริ่มทำโดนัทในรูปแบบต่างๆ ร้านขายเฉพาะโดนัทอย่างเดียวเปิดใหม่ก็เยอะขึ้น แม้กระทั่งแบรนด์ไก่ทอดชื่อดังก็มีการเอาเมนูโดนัทเข้ามามิกซ์กับเมนูที่ร้าน Matchazuki จึงพลาดไม่ได้ที่จะพาไปดูไอเดียดีๆจากร้านโดนัทน้องใหม่ที่เกียวโต อย่างร้าน Koe Donut และร้านโดนัทที่ขึ้นชื่อเรื่องความน่ารักอันดับต้นๆของญี่ปุ่นอย่างร้าน Floresta nature donuts

Koe Donutsภายในร้านจะพบกับโดนัทหน้าตาไม่คุ้นเคย และรสชาติใหม่ๆที่ไม่มีในไทยหลายตัวที่น่าลอง เช่นโดนัทชาเขียว โรยตกแต่งด้วยถั่วพิซาชิโอ เป็นต้น แม้ว่าโดนัทในร้านทุกชิ้นจะทำจากส่วนผสมที่เรียบง่ายที่ให้รสชาติโดนัทแบบดั้งเดิมแต่ด้วยความสดใหม่ที่ผลิตโดนัทขึ้นเองทุกเช้าประกอบกับไอเดียการสร้างสรรค์โดนัทมากมาย ทำให้ร้านนี้ไม่ว่าใครผ่านไปมาที่เกียวโต ต้องแวะเข้าไปอย่างแน่นอน ภายในร้านยังมีโซน “Powder Factory” ที่สามารถชมวิธีการทำโดนัทได้สดๆ  ขณะที่นั่งรับประทานไปได้ด้วย ซึ่งความตั้งใจของแบรนด์จริงๆแล้ว คือ อยากจะสร้างความเชื่อมโยงกันระหว่างวัฒนธรรมญี่ปุ่น แฟชั่น งานออกแบบที่ทันสมัย และอาหาร และส่งเสียงนี้ออกไปให้โลกได้รับรองในหลากหลายรูปแบบโดนัทที่ทำออกมาแต่ละตัวจึงมีความสวยงาม ไม่ซ้ำโดนัทแบบเดิมๆ อย่างเช่นการเอาถั่วเม็ดโตที่เป็นเอกลักษณ์ในการทำขนมวากาชิของญี่ปุ่นมาตกแต่งเป็นหน้าขนมโดนัท หรือที่เมืองเกียวโตขึ้นชื่อเรื่องความอร่อยของชาเขียว ทางร้านเลยจัดเมนู Uji matcha tiramisu Donut melt ที่เปลี่ยนภาพลักษณ์การเสิร์ฟโดนัทที่คุ้นตาให้เป็นในรูปแบบเค้กนี่เอง

Koe Donuts Koe Donuts

ดูแผนที่ https://goo.gl/maps/cpa9MAamNvmZMzDb8

ดูไอเดียเพิ่มเติมได้ที่https://www.instagram.com/koe_donuts/?hl=en

Floresta nature donuts

อีกร้านที่หลายคนคุ้นชื่ออยู่แล้วอย่างFloresta nature donutsในย่าน Koenji โตเกียว โดนัท ร้านนี้ใช้แป้ง  organic เนื้อโดนัทออกจะหยาบตามสไตล์แป้ง wholewheat ทำออกมาหลายรูปทรง และมีโดนัทที่ทำเป็นรูปสัตว์น่ารักๆมากมายที่ใช้ส่วนผสมของเกลซรสชาติต่างๆทั้งชาเขียว ช็อคโกแลต สตอเบอรี่ ให้ขนมออกมาน่ารักสดใส ลืมภาพโดนัทกลมๆมีรูตรงกลางปกติไปเลย ร้านนี้มีหลายสาขานอกจากที่โตเกียวก็ยังมีที่นารา เกียวโต โอซาก้า

Floresta nature donuts Floresta nature donuts

หลังจากได้ไอเดียการสร้างสรรค์โดนัทรูปแบบต่างๆแล้ว จะพามาต่อยอดไอเดียกับเมนูโดนัทชาเขียว ด้วยการตกแต่ง 3 รูปแบบ ที่ใช้ส่วนผสมน้อย และทำง่ายมาก ได้แก่

  1. Matcha Glaze ทำง่ายมากเพียงเอาผงชาเขียวและไอซิ่งผสมกัน แล้วเทนมอัลมอนด์ลงไปคนจนเข้ากัน แล้วเอาโดนัทมาชุบเป็นเกลซชาเขียวได้เลย ส่วนผสมสูตรนี้ ได้แก่
  • น้ำตาลไอซิ่ง ½ ถ้วย
  • ผงชาเขียว ⅛ ถึง ¼ ช้อนชา ขึ้นอยู่กับว่าอยากได้ขนมที่มีความเขียวมากน้อยแค่ไหน
  • นมอัลมอนด์ 1 ช้อนโต๊ะ

   2.  Matcha Cane Sugar ตัวนี้สีชาเขียวจะไม่เข้มมาก เริ่มจากการเอาโดนัทที่ทำเสร็จแล้วมาชุบน้ำมันมะพร้าวก่อน แล้วถึงเอาไปคลุกกับน้ำตาลอ้อยและผงชาเขียวที่ผสมรอไว้ก่อนแล้ว จะได้โนนัทสีเขียวอ่อน ส่วนผสมสูตรนี้ ได้แก่

  • น้ำตาลอ้อย ½ ถ้วย
  • ผงชาเขียว ¼ ถึง ½ ช้อนชา ขึ้นอยู่กับว่าอยากได้ขนมที่มีความเขียวมากน้อยแค่ไหน
  • น้ำมันมะพร้าว ⅓ ถ้วย

   3. Matcha Powdered Sugar หลังจากทอดโดนัทสร็จก็เอาไปชุบผงชาเขียวกับไอซิ่งที่ผสมกันไว้ก่อนแล้ว ตัวผงจะเกาะที่แป้งโดนัท ทำให้เห็นเป็นสีเขียวอีก texture ส่วนผสมสูตรนี้ ได้แก่

  • น้ำตาลไอซิ่ง ½ ถ้วย
  • ผงชาเขียว ¼ ถึง ½ ช้อนชา ขึ้นอยู่กับว่าอยากได้ขนมที่มีความเขียวมากน้อยแค่ไหน

หรือใครจะทำตัวโดนัทจากแป้งชาเขียว แล้วตกแต่งด้วยไวท์ช็อคโกแลต หรือไอซิ่งที่ขาวให้ตัดกันกับโดนัทก็สสวยน่าทานไปอีกแบบ หรือแม้แต่การเปลี่ยนรูปทรงของโดนัท ชาเขียวที่เคยทำให้เป็นทรงอื่นๆ ก็เพิ่มความน่าทานของโดนัท และอยากถ่ายรูปแชร์ลงโซเชียลแน่นอน

Matcha Donut Matcha Donut Matcha Donut

ที่มา

https://twitter.com/hashtag/florestadoughnuts

https://thesweetwanderlust.com/sweets-eats/best-desserts-in-tokyo/

http://www.supertastermel.com/2015/05/cute-animal-donuts-at-floresta.html

https://www.loveandlemons.com/matcha-baked-doughnuts/

บทความจาก : Fuwafuwa

ชา ทำ cold brew ได้มั้ยนะ…?

หลายคนอาจจะคุ้นชินกับกาแฟ Cold Brew ซึ่งเป็นกาแฟที่มีความหวานมากกว่ากาแฟที่ชงด้วยวิธีอื่นเนื่องจากมีกรดต่ำ เพราะใช้น้ำเย็นสกัดระดับคาเฟอินในปริมาณต่ำเมื่อเทียบกับกาแฟที่ชงด้วยน้ำร้อน ซึ่งคอชาเลยอาจจะสงสัยว่า ชา สามารถนำไปผ่านกรรมวิธีเช่นเดียวกับการทำ Cold Brew กาแฟได้มั้ยนะ?

Tea Cold Brew

หลักของการทำ Cold Brew คือ การสกัดเย็น สามารถใช้ได้ทั้งน้ำที่อุณหภูมิห้อง หรือจะใช้น้ำเย็น 5-15 องศาก็ได้ ตามปกติแล้ว ถ้าเราใช้น้ำร้อนชงชา คาเตชินและคาเฟอีนในใบชาจะออกมากับน้ำร้อน เพราะสารสองตัวนี้ละลายที่อุณหภูมิสูง ราว 80-90 องศาขึ้นไป สารสองตัวนี้จะให้รสขม ในขณะที่รสอุมามิของชาที่หลายคนชอบดื่มด่ำ ซึ่งเกิดจากกรดอะมิโน จะละลายที่อุณหภูมิตั้งแต่ 60 องศาขึ้นไป ดังนั้น พวกชาเขียวที่อุดมไปด้วยรสอุมามิ อย่างเกียวขุโระ จึงต้องชงด้วยน้ำอุณหภูมิ 40-60 องศา

ดังนั้นหากเราแช่ใบชาในน้ำเย็น รสขมของชาจะออกมาน้อยกว่าการชงแบบร้อน เหมาะสำหรับคนชอบดื่มชารสนุ่มๆ แบบอูมามินั่นเอง

Tea Cold Brew Tea Cold Brew

วิธีการทำชา cold brewทั้งชาดำ ชาอู่หลง

  1. ใช้ใบชา 4 กรัม ต่อน้ำ 200-250 มล
  2. นำใบชาใส่ถุงชาใช้แล้วทิ้ง
  3. นำถุงชาที่ใส่ใบชาแล้วแช่ลงไปในน้ำ ปิดฝาให้แน่น
  4. นำชาแช่ในตู้เย็น เป็นระยะเวลา 6-12 ชั่วโมง
  5. พอครบ ให้ดึงถุงชาออก ชาที่เย็นแบบนี้ สามารถเก็บได้ในตู้เย็นราว 3-4 วัน รสชาติก็ไม่เปลี่ยน ไม่มีความขมเพิ่ม

แต่ข้อควรระวังสำหรับชาเขียว จะขมได้ง่ายมาก ให้ลดปริมาณชาลง เหลือใบชา 3 กรัม ต่อน้ำ 500 มล. และแช่ชาเพียง 3-6 ชั่วโมง  และปกติแล้ว เวลาชงร้อนเรามักได้ กลิ่นหอมจากการชง แต่การชงชาแบบ Cold brew จะไม่มีกลิ่นหอมชวนดื่ม

แม้ว่าใบชาที่ผ่านการ cold brew แล้ว อาจจะนำมาชงร้อนซ้ำได้อีกสักครั้ง แต่รสชาติจะเหลือน้อยแล้ว แนะนำให้ทิ้งไปเลยจะดีกว่า

ส่วนการใช้ผงชาเขียวทำ Cold Brew นั้น ให้ใช้ผงชา 1 ช้อนชาลงไปในขวดที่มีฝาปิด และเทน้ำลงไป 1.5 ถ้วย ปิดฝาแล้วเขย่าประมาณ 15 วินาทีเป็นอันเรียบร้อย

Tea Cold Brew

ที่มา

https://pickledplum.com/cold-brew-tea/

https://theteacupoflife.com/2019/04/cold-brew-matcha.html

https://matchaoutlet.com/blogs/recipes/cold-brew-summer-matcha-drink

บทความจาก : Fuwafuwa

Can You Reboil Tea Without Affecting Its Quality?

หลายคนคงเคยชินกับการชงชาจากถุงชาซ้ำสองถึงสามรอบ หรือใช้ใบชาที่ผ่านการชงแล้วมากกว่า 1 ครั้ง แม้จะมีความสงสัยกับการชงชาว่าหลังจากต้มน้ำแล้ว เอามาชงซ้ำอีกรอบได้มั้ย เพราะดูๆแล้วยังชงดื่มได้อีก สักรอบถึงสองรอบ

Green tea Green tea

โดยปกติแล้วผงชา หรือใบชาบดทุกชนิด มีความเข้มข้นในตัวเอง หากมีการนำมาต้ม หรือโดนน้ำร้อน จะทำให้น้ำร้อนสกัดรสชาติและความเข้มข้นของชาออกมา และเมื่อตอนเราบีบน้ำให้ออกมาจากใบชา ยิ่งบีบแรงเท่าไหร่ ก็จะได้ความเข้มข้นของชามากขึ้น เมื่อผงหรือใบชาที่ผ่านการกรองกากมาแล้วหนึ่งครั้ง ในตัวของผงหรือใบชานั้น ก็ยังคงเหลือรสชาติ และความเข้มข้นอยู่ แต่ไม่เข้มเท่าครั้งแรก ยิ่งชงซ้ำหลายครั้ง รสชาติของน้ำชา ก็จะจืดลงไปเรื่อยๆนอกจากนั้นสีและกลิ่นของชาก็จะลดลง โดยเฉพาะชาที่ผสมนมอย่างเช่น ชาไต้หวัน ชาเขียว ชาไทยแล้วความหวานและกลิ่นของนมจะกลบกลิ่นชาไปอีกด้วย

Green tea Green tea

นอกจากนี้รสชาติ สีสัน และ ความรู้สึกที่สัมผัสจากการดื่มชานั้นมาจากสององค์ประกอบหลักของชา คือ โพลีฟีนอล และ คาเฟอีนแต่ละส่วนประกอบมีรสฝาดในตัวเอง แต่เมื่อมารวมกันความฝาดก็จะลดลง การต้มน้ำให้เดือดอีกครั้งจะทำการลดระดับของ CO2 ซึ่งมีผลในการลดความเป็นกรดลง มีผลต่อองค์ประกอบของคาเฟอีนและโพลีฟีนอล และจะทำให้เกิดการเปลี่ยนสีรวมทั้งลักษณะของชาที่ชง น้ำที่ต้มสองครั้งจะมีผลต่อรสชาติของชาเท่านั้น ไม่ได้มีอันตรายใดๆ และสารอาหารก็ไม่ได้หายไปไหนอีกด้วย

matcha

อย่างไรก็ตามเมนูชาเย็นแนะนำใช้ชงครั้งเดียว เพราะเมนูชาเย็น ความอร่อยที่แท้จริง คือ รสชาติต้องเข้มข้น กลิ่นต้องหอมนั้นเอง

อย่างไรก็ตามอาจจะมีบางคนที่อ่านบทความนี้แล้วรู้สึกว่างั้นการชงชาแค่ครั้งเดียวแต่ทิ้งไว้ในกาชาให้นานขึ้นเพื่อให้ได้รสชาติที่เข้มข้นเลยน่าจะดีกว่าการเอามาชงซ้ำ ต้องขอบอกก่อนเลยว่าเป็นความคิดที่ไม่ดีนัก เพราะอีกตัวแปรที่ส่งผลต่อกลิ่นและรสชาติของชา คือ ระยะเวลาที่เราทิ้งชาเอาไว้ในกาน้ำชา ที่ไม่ต่างอะไรกับการอบขนม ถ้าอบนานเกินไปเค้กอาจจะค่อยๆ แห้งไปเรื่อยๆ จนไหม้ ถ้าทิ้งใบชาไว้ในกานานๆ รสชาติก็จะค่อยๆ ขมขึ้นเรื่อยๆ จนไม่อร่อยไปเอง ถ้าอยากได้รสชาติหอมหวานจากใบชาเพิ่มมากขึ้น แนะนำว่าให้เพิ่มปริมาณใบชา แทนที่จะใช้วิธีทิ้งใบชาแช่ในกาให้นานขึ้น ไม่เช่นนั้นน้ำชาอาจจะออกมาขมจนดื่มไม่ลงเลยก็ได้ หรือเอาชาใบเก่า กลับมาชงได้อีกรอบจะเป็นวิธีที่ดีกว่านั้นเอง

ที่มา

https://www.pinterest.com/pin/244461086010500412/

https://kinarino.jp/cat8/25451

https://e-yamamotoen.com/?pid=105742195

บทความจาก : Fuwafuwa